สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข: Restless legs syndrome

แม้ว่าจะไม่เคยมีการเก็บข้อมูลที่แน่ชัดว่า คนไทยมีอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome) มากน้อยแค่ไหน แต่ก็สามารถพบได้เสมอโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหลายๆ อย่าง อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยกลับไม่ได้รับการวินิจฉัย จึงไม่ได้รับการรักษา จึงนำมาซึ่งความลำบากกายและทุกข์ใจของผู้ป่วยไม่น้อย ทั้งๆ ที่โรคนี้มีทางแก้

คุณป้าภาวนาอายุ 59 ปี ไปพบแพทย์ตามนัดเรื่องโรคหัวใจ ไตเสื่อม และความดันโลหิตสูง ระหว่างที่พบแพทย์ คุณป้าบ่นให้แพทย์ฟังว่า ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีอาการนอนไม่หลับ รู้สึกยุบยิบที่ขาทั้ง 2 ข้าง บางครั้งเหมือนถูกไฟช็อต มีกล้ามเนื้อกระตุก เป็นๆ หายๆ อยู่ตลอดคืน เวลาขยับหรือพลิกตัว อาการดังกล่าวจะดีขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนท่าทางหรือขยับขาอยู่บ่อยครั้งจนนอนไม่หลับ แต่ช่วงเวลากลางวันกลับมีอาการดังกล่าวเพียงเล็กน้อย คุณป้าจึงถามแพทย์ว่าจะให้ยานอนหลับ ยาแก้ปวด หรือยาอื่นเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าวได้หรือไม่ แพทย์ประจำตัวคุณป้าจึงทำการตรวจเพิ่มเติม และให้การวินิจฉัยว่าเป็น “กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข”

จากกรณีดังกล่าว ผู้อ่านคงมีคำถามมากมายและแปลกใจว่า “กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข” คืออะไร ทำไมต้องเรียกว่า “ขาอยู่ไม่สุข” และมีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับโรคนี้บ้าง

กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุขคืออะไร

โรคนี้เป็นโรคทางระบบประสาทที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Restless legs syndrome (RLS) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Ekbom’s syndrome ตามชื่อของแพทย์ที่รายงานเกี่ยวกับโรคนี้เมื่อปี ค.ศ.1945 ผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการนี้มักมีความรู้สึกไม่สบายที่ขาทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะเมื่อนั่งหรือนอนพัก ทำให้ต้องขยับขาเพื่อบรรเทาอาการทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกติดังกล่าว อาการทางประสาทสัมผัสที่ผิดปกตินี้มีได้หลายรูปแบบ เช่น รู้สึกเหมือนมีอะไรมาไต่ที่ขาหรือเท้า รู้สึกแสบ เป็นตะคริว คัน ปวดตื้อ ปวดแปลบ เหมือนไฟช็อต ยุบยิบ กล้ามเนื้อตึง ซึ่งมักเกิดซ้ำๆ เป็นช่วงสั้นๆ ตลอดช่วงเวลานั้น ผู้ป่วยจึงต้องขยับขาตลอด จนอยู่นิ่งไม่ได้ และทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับในที่สุด

แต่เป็นที่น่าแปลกใจคือ อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นเมื่อผู้ป่วยขยับแขนขา ร่างกาย ยืดกล้ามเนื้อ หรือออกเดิน แต่เมื่อกลับมานั่งนิ่งๆ หรือนอน อาการก็จะกลับมาอีก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการมากในช่วงเย็นหรือค่ำ ส่งผลให้นอนหลับได้ยาก

กลุ่มเสี่ยงและสาเหตุของโรค

มีการประมาณว่าประชากรทั่วไปราวร้อยละ 10 จะเคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน และมีผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังจำนวนถึง 12 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการวินิจฉัย ซึ่งน่าจะเกิดจากความรุนแรงของโรคนี้มีระดับแตกต่างกันมาก โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิง มักไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ โดยจะค่อยๆ มีอาการเพิ่มขึ้นช้าๆ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 50 มีประวัติครอบครัวร่วมด้วย จึงเชื่อว่าโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม โดยอาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า โดปามีน (dopamine)

ส่วนผู้ป่วยอีกกลุ่มจะพบสาเหตุจากโรคหรือภาวะทางกายต่างๆ เช่น

- หญิงมีครรภ์ จะเกิดอาการดังกล่าวได้ในช่วงไตรมาสสุดท้าย และอาการจะหายไปภายใน 1 เดือนหลังการคลอด
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง โรคพาร์กินสัน เส้นประสาทเสื่อม ซึ่งหากโรคเดิมดีขึ้นอาการของโรคขาอยู่ไม่สุขก็จะดีขึ้นเองได้
- ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้จึงควรได้รับการตรวจนับเม็ดเลือด และความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง
- ผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาทางจิตเวช ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาต้านความเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยาแก้แพ้
- การสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา

อาการหลักของโรค
- ความรู้สึกผิดปกติมักเกิดที่ขา น่อง หรือเท้าทั้ง 2 ข้าง โดยมีอาการหลากหลายดังกล่าวข้างต้น แต่จะมีความรุนแรงต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย
- อาการจะเกิดขณะที่พักหรืออยู่นิ่งๆ เช่น นั่งในรถหรือเครื่องบินเป็นเวลานาน นั่งชมภาพยนตร์ หรือนอน และอาการจะดีขึ้นเมื่อได้ขยับขา ยืดขา ใช้ขาตบพื้น หรือออกเดิน
- อาการเหล่านี้มักแย่ลงในช่วงเย็นหรือกลางคืน โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้านอน
- ขากระตุกเวลากลางคืน โรคนี้มักมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวเป็นพักๆ ของแขนขาขณะหลับ (periodic limb movements of sleep) ทำให้เกิดอาการกระตุกของขา โดยที่ต้นขาจะงอเข้าและเหยียดออกขณะหลับ ผู้ป่วยเกิดการขยับโดยไม่รู้ตัวและเป็นได้ตลอดคืนโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

การวินิจฉัยโรค

ในรายที่ผู้ป่วยมีอาการข้างต้นและสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการต่างๆ โดยละเอียดโดยเฉพาะหากมีผลต่อการนอนหลับ ผู้ป่วยควรบันทึกอาการที่เกิดขึ้นโดยละเอียดว่ามีความรู้สึกอย่างไร เมื่อไร และอาการดีขึ้นหรือแย่ลงได้อย่างไร รวมถึงควรแจ้งข้อมูลโรคเดิมที่เป็น ยาที่ใช้ประจำและยาที่ได้รับชั่วคราวในขณะนั้น (เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้ไอ อาหารเสริม) นอกจากนี้อาจจะต้องสอบถามข้อมูลจากผู้ที่อาศัยในบ้านเดียวกันหรือคู่นอน เพื่อจะได้ทราบถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยระหว่างที่นอนหลับด้วย
เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุของโรค โดยเฉพาะโรคทางกายที่เกิดร่วมกับโรคนี้ เช่น โลหิตจาง ไตวาย แล้วให้การวินิจฉัยโรคนี้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ก่อนจะให้การรักษาและติดตามต่อไป

การรักษา

การรักษาทั่วไป ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก แพทย์จะใช้การรักษาทั่วไปเพื่อบรรเทาหรือป้องกันอาการในช่วงกลางคืน รวมถึงแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงหรืองดการบริโภคสุรา บุหรี่ และอาหารที่มีกาเฟอีน(เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม) โดยเฉพาะช่วงเย็นและค่ำ รวมถึงให้รับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม
2.มีสุขนิสัยการนอนที่ดี เช่น เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวัน หลีกเลี่ยงการงีบหลับ โดยเฉพาะในช่วงเย็น
3.ออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง 3 ครั้ง/สัปดาห์ในช่วงเวลากลางวัน หรือขยับร่างกายด้วยการยืนและเดินเป็นระยะในระหว่างที่นั่งนานๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
4.ใช้เทคนิคการผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น นวดขาและเท้า ประคบร้อน/เย็น
5.เบี่ยงเบนความสนใจจากอาการของโรคโดยการอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ หรือทำสมาธิ

การรักษาด้วยยา

ในผู้ที่มีอาการน้อยหรือชั่วคราว การรักษาโดยการปฏิบัติตัวทั่วไปมักได้ผลดีจึงควรใช้ยาเมื่อจำเป็นเท่านั้น สำหรับในรายที่มีภาวะโลหิตจางควรได้รับธาตุเหล็ก กรดโฟลิก แมกนีเซียม และวิตามินเสริมตามความเหมาะสม และให้การรักษาโรคทางกายที่เป็นอยู่เดิมควบคู่กันไป
สำหรับยาที่แพทย์มักใช้บ่อยก็คือ

1.ยากลุ่มที่มีฤทธิ์เสริมการทำงานของระบบสารโดปามีน ซึ่งปกติใช้รักษาโรคพาร์กินสัน โดยเฉพาะการใช้ยาที่จับกับตัวรับโดปามีนโดยตรง (dopamine agonist) จะได้ผลดีมาก ตัวอย่างเช่น ropinirole และ pramipexole ที่ออกฤทธิ์ได้นาน จึงมักให้ยานี้ในขนาดต่ำๆ ก่อนนอน และปรับขนาดขึ้นช้าๆ เมื่อจำเป็น ส่วนยาในกลุ่มที่ช่วยสร้างโดปามีน เช่น levodopa มักได้ผลดีในช่วงแรก แต่ผู้ป่วยจะดื้อยาได้เร็ว คือจะทำให้อาการของโรคเกิดเร็วขึ้นกว่าเวลาเดิม เช่น มีอาการตั้งแต่ช่วงบ่าย-เย็นแทนที่จะเป็นเวลานอน จึงเป็นยาที่ไม่ได้รับความนิยม

2.ยากลุ่มเบนโซไดอะซีพีน ที่มีฤทธิ์คลายกังวล ลดกล้ามเนื้อกระตุก และช่วยนอนหลับ เช่น clonazepam, diazepam จะใช้ในรายที่มีอาการไม่มากและเป็นครั้งคราว มักมีผลข้างเคียงด้านง่วงซึมเวลากลางวันได้บ่อย จึงไม่ควรใช้ในระยะยาว

3.ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น โคเดอีนในขนาดต่ำๆ แต่สารนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเป็นวัตถุเสพติด

4.ยาอื่นๆ : เช่นยากันชัก หรือยานอนหลับบางชนิด

การพยากรณ์โรค

โดยทั่วไปโรคนี้ไม่มีอันตรายแต่จะก่อให้เกิดความรำคาญมากกว่า ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด ง่วงซึมในเวลากลางวันและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีโรคทางกายอย่างอื่นมักไม่พบสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นๆ หายๆ ตลอดชีวิต แต่จะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละช่วง ผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอาการในระยะยาว และใช้ยาในช่วงที่มีอาการมากเพื่อให้นอนหลับได้ตามปกติ และอาจพิจารณาหยุดยาได้หากมีอาการดีขึ้น

ข้อมูลงานวิจัยและแนวโน้มในอนาคต

ปัจจุบันมีงานวิจัยจำนวนมากในด้านการทำงานของระบบสารสื่อประสาทโดปามีนหรือความผิดปกติทางพันธุกรรมในโรคนี้ รวมถึงมีความพยายามในการสร้างแบบจำลองของโรคในสัตว์ทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็ยังมีการศึกษาวิจัยยาต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วยโดยเฉพาะในรายที่ใช้ยามาตรฐานไม่ได้ผล จึงเชื่อว่าการดูแลรักษาโรคนี้จะได้ผลมากยิ่งขึ้นในอนาคต




ข้อมูลจาก
รศ.นพ.ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร
อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา
//www.healthtodaythailand.com/




 

Create Date : 29 กุมภาพันธ์ 2555
7 comments
Last Update : 29 กุมภาพันธ์ 2555 11:35:36 น.
Counter : 1564 Pageviews.

 



มาเยี่ยมด้วยความระลึกถึงครับ

 

โดย: panwat 29 กุมภาพันธ์ 2555 12:59:04 น.  

 

 

โดย: ภูผา กะ วาริน 29 กุมภาพันธ์ 2555 14:21:51 น.  

 

 

โดย: ภูผา กะ วาริน 29 กุมภาพันธ์ 2555 14:31:42 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ



 

โดย: กะว่าก๋า 1 มีนาคม 2555 5:50:50 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดีกับเช้าวันแรกของเดือนมี.ค.ค่ะคุณกบ

 

โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว 1 มีนาคม 2555 7:56:50 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดีกับเช้าวันแรกของเดือนมี.ค.ค่ะคุณกบ

 

โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว 1 มีนาคม 2555 7:56:55 น.  

 


มาทักทายกัน อัฟblogใหม่ไว้เมื่อคืน แต่ไม่ได้ออกเยี่ยม เพลียสุดๆเพราะเมื่อวานไปซื้อผ้าที่พาหุรัดมา วันนี้ช่วงสายๆคงต้องเริ่มตัดเย็บชุดใหม่กันแล้วค่ะ ระลึกถึงอยู่เสมอค่ะคุณกบ

 

โดย: เกศสุริยง 1 มีนาคม 2555 9:07:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
29 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.