...ส บ า ย ๆ ส ไ ต ล์ มื อ ไ ม่ PRO แ ถ ม ยั ง... LOWFESSIONAL ...

<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
23 พฤศจิกายน 2552
 

ThinClient เครื่องลูกไม่ต้องมีัฮาร์ดดิสก์ ด้วย Ubuntu


[รวมเรื่องที่ผ่านมา]

*** บันทึกเพื่อใช้ในการทำงาน มิใช่การอ้างอิง อาจมีข้อผิดพลาดที่ยังไม่พบ หรือหากท่านใดพบ จะแจ้งไว้บ้างก็ยินดีครับ ***

Server

- ติดตั้งการ์ดแลนไว้ 2 ใบ (ออนบอร์ดอยู่แล้ว 1 ใบ ติดตั้งเพิ่มอีก 1 ใบ)
- ถ้าใช้แผ่นติดตั้งแบบ Alternate เช่น ubuntu 9.04 alternate หรือ ubuntu 9.10 alternate ขณะเริ่มติดตั้ง ให้กด F4 เพื่อเลือกการติดตั้งแบบ LTSP ได้เลย
แต่ในที่นี้ ต้องการให้รองรับภาษาไทย จึงใช้ Ubuntu 9.07 Prompt Edition จากเว็บ //www.ubuntuclub.com/ ที่ได้ปรับแต่งให้ใช้งานได้เป็นอย่างดีแล้ว จากนั้นก็ดำเนินการต่อไปนี้

  1. ติดตั้ง Ubuntu 9.07 Prompt Edition ในแบบภาษาไทยให้เรียบร้อย

  2. เพิ่ม User ที่ต้องการใช้งาน (สามารถเพิ่มได้ในภายหลัง)

  3. ตั้งค่าให้การ์ดแลน โดยสั่ง
    nano /etc/network/interfaces
    จากนั้นเพิ่มคำสั่งในไฟล์นี้ให้เป็น

    # The loopback network interface
    auto lo
    iface lo inet loopback


    # The primary network interface --this goes to the internet.
    auto eth0
    iface eth0 inet static
    address 192.168.64.105
    #ไอพีหลัก ที่เครื่องแม่ Ubuntu 9.07PE
    network 192.168.64.0
    broadcast 192.168.64.255
    netmask 255.255.255.0
    gateway 192.168.64.100
    #ไอพีเร้าท์เตอร์ต่อเน็ต

    # This interfaces is where DHCP will be served.
    auto eth1
    iface eth1 inet static
    address 192.168.0.105
    #ไอพี สำหรับ LTSP เครื่องแม่เช่นเดียวกัน
    network 192.168.0.0
    broadcast 192.168.0.255
    netmask 255.255.255.0

    จากนั้นกด Ctrl+x ตอบ y แล้ว enter เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง

  4. พิมพ์คำสั่ง
    nano /etc/resolv.conf
    แล้วแก้ไขคำสั่งในไฟล์ให้เป็น
    nameserver 192.168.64.100
    เป็นการชี้ไปที่เร้าท์เตอร์/โมเด็ม เพื่อให้เครื่องแม่สามารถเข้าเน็ตได้
    จากนั้นกด Ctrl+x ตอบ y แล้ว enter เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง

  5. รีเครื่อง 1 ครั้ง เมื่อรีเครื่องกลับมาแล้ว ให้ทดสอบการเข้าอินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยก่อน ถ้ายังไม่ได้ ให้ทบทวนและหาข้อผิดพลาดให้พบ เพราะในขั้นตอนต่อไป จะต้องมีการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆค่อนข้างมากและนาน

  6. ติดตั้ง LTSP โดยสั่ง
    aptitude install ltsp-server-standalone

  7. ติดตั้ง openssh โดยสั่ง
    aptitude install openssh-server

  8. สร้างข้อกำหนดต่างๆให้เครื่อลูกของ LTSP โดยสั่ง
    ltsp-build-client
    คำสั่งนี้ต้องสังเกตด้วยว่า การดึงไฟล์ต่างๆจากเน็ตนั้นสำเร็จหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องเปลี่ยนแหล่งดาวน์โหลดใหม่ เพราะจะมีการดึงไฟล์ต่างๆเป็นจำนวนมากและใช้เวลานาน

  9. ตรวจสอบว่าการ์ดที่จะให้เป็นการ์ดหลักของ LTSP ถูกต้องหรือไม่ โดยสั่ง
    nano /etc/default/dhcp3-server
    ดูที่บรรทัดนี้
    INTERFACES="eth1"

  10. พิมพ์คำสั่ง
    nano /etc/ltsp/dhcpd.conf
    ได้แก้ไขค่าในไฟล์ตามเงื่อนไขตามนี้
    #------------------------------------------
    #
    authoritative;
    #
    #------------------------------------------
    # For Fix IP
    # สำหรับเครื่องที่ต้องการ FIX IP เพราะต้องใช้เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งอยู่
    # ต้องหาเลข mac address ของเครื่องลูก แล้วกำหนดไอพีที่ต้องการ
    #------------------------------------------
    host local01 {
    hardware ethernet 00:0C:29:66:4D:39; #mac address
    fixed-address 192.168.0.1; #Fix Client IP
    filename "/ltsp/i386/pxelinux.0";
    }
    host local02 {
    hardware ethernet 00:0C:29:FB:AB:EF;
    fixed-address 192.168.0.2;
    filename "/ltsp/i386/pxelinux.0";
    }
    #-------------------------------------------
    # For DHCP
    # แจกไอพี สำหรับเครื่องนอกเหนือจากข้างบน
    # ควรกำหนด range ให้เลยชุดที่ Fix ip ไว้ก่อน
    #-------------------------------------------
    subnet 192.168.0.0 netmask 255.255.255.0 {
    range 192.168.0.20 192.168.0.250;
    option domain-name "example.com";
    option domain-name-servers 192.168.0.1;
    option broadcast-address 192.168.0.255;
    option routers 192.168.0.1;
    # next-server 192.168.0.1;
    # get-lease-hostnames true;
    option subnet-mask 255.255.255.0;
    option root-path "/opt/ltsp/i386";
    if substring( option vendor-class-identifier, 0, 9 ) = "PXEClient" {
    filename "/ltsp/i386/pxelinux.0";
    } else {
    filename "/ltsp/i386/nbi.img";
    }
    }


    *** ระวังเครื่องหมายปีกกา ให้ครบถ้วนเป็นคู่ๆไป
    *** ถ้ามีการแก้ไขภายหลัง ให้สั่ง

    /etc/init.d/dhcp3-server restart

    เพื่ออัพเดทข้อมูลใหม่ด้วย
    *** จริงๆแล้ว ควรทดลองทำงานกับค่ามาตรฐานก่อน ซึ่งจะเป็นการแจกไอพีอัตโนมัติ เมื่อทำงานมาตรฐานได้แล้ว จึงค่อยมาทำระบบกำหนดไอพี ***

  11. คัดลอก /opt/ltsp/i386/etc/lts.conf มาไว้ที่ /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf โดยสั่ง
    cp /opt/ltsp/i386/etc/lts.conf /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf
    (ทำไมไม่เอาไว้ให้ถูกที่ซะตั้งแต่แรกก็ไม่รู้เหมือนกัน)
    จากนั้นพิมพ์
    nano /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf
    ส่วนนี้เป็นค่ามาตรฐานต่างๆ

    [default]
    X_COLOR_DEPTH=16 #8, 16, 24(default)
    LOCALDEV=True
    SOUND=True
    XSERVER = vesa #normal monitor

    #---------------------
    #LDM_AUTOLOGIN = True #ถ้าตั้งค่านี้ไว้ (เอา # ข้างหน้าออกก่อน) จะสามารถล็อคอินอัตโนมัติได้ ด้วยการกำหนดไอพี หรือ แมค ข้างล่างนี้ หรือจะเอาไปไว้รวมกับแมคของการตั้งค่าเครื่องพิมพ์ก็ได้
    *** ระวัง!!! ถ้าเปิดใช้บรรทัดนี้ จะต้อง FIX IP ทั้งหมด และมีบรรทัด user + pass ทั้งหมด เพราะจะไม่มีหน้าล็อคอินอีกต่อไป เครื่องใหนลืมก็จะจอดำอย่างเดียวเลย

    #[192.168.1.101]
    #LDM_USERNAME = user1
    #LDM_PASSWORD = password1
    #---------------------

    แล้วเพิ่มคำสั่งเพื่อเตรียมติดตั้งเครื่องพิมพ์ ตามเลข mac address ของเครื่องที่ต้องการ

    ตัวอย่างนี้ ติดตั้งที่พอร์ทขนานเครื่องเดียว
    [00:0C:29:66:4D:39] #local01
    PRINTER_0_DEVICE=/dev/lp0 #พอร์ทเครื่องพิมพ์แบบเข็ม (พอร์ทขนาน)

    ตัวอย่างนี้ ติดตั้งที่ยูเอสบีเครื่องเดียว
    [00:0C:29:66:4D:39] #local01
    PRINTER_0_DEVICE=/dev/usblp0 #พอร์ท USB


    ตัวอย่างนี้ติดตั้ง 2 เครื่อง คนละพอร์ท
    [00:0C:29:66:4D:39] #local01
    PRINTER_0_DEVICE=/dev/lp0 #ใช้พอร์ท 9100
    PRINTER_1_DEVICE=/dev/usblp0 #ใช้พอร์ท 9101


    คำสั่งนี้ จะนำพอร์ทที่ระบุมาจากเครื่องลูก เพื่อมา Add Printer ที่เครื่องแม่ จากนั้นเครื่องลูกก็จะใช้เครื่องพิมพ์ที่ต่ออยู่ได้

    การติดตั้งไดรฟ์เวอร์เครื่องพิมพ์ที่เครื่องแม่ กรณีที่เครื่องพิมพ์ต่ออยู่กับเครื่องลูก
    - นำเครื่องพิมพ์มาลองต่อตรงกับเครื่องแม่ดูก่อน เพื่อดูว่า ลีนุกส์ตรวจพบว่าเป็นชื่ออะไร ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับรุ่นจริงๆ แล้วลองพิมพ์ดูว่าออกเป็นปกติใหม เวลาแอดใหม่จะได้ได้ชื่อที่ถูกต้อง ไม่งั้นจะพบแต่พิมพ์ไม่ออก จากนั้นจึงนำไปต่อกับเครื่องลูกอีกที
    - ที่เครื่องแม่ System/Administration/Printing/New/Printer
    - กลุ่ม Network Printer เลือก AppSocket/HP JetDirect
    - ช่อง Host พิมพ์ไอพีของเครื่องลูก ช่อง Port ปล่อยเป็น 9100 แล้วกด Forward
    - เลือกยี่ห้อและรุ่นที่พบจากการต่อตรง จากนั้นตอบตกลงไปจนถึงหน้าสุดท้าย เป็นอันจบ

    *** ถ้าต้องการแชร์ ต้องติดตั้ง SAMBA ด้วย
    *** แก้ไขใน /etc/samba/smb.conf ในจุดต่อไปนี้ เพื่อให้การแชร์เครื่องพิมพ์ทำได้โดยสะดวก
    security=share
    encrypt passwords=no
    .....
    .....
    [printers]
    comment = All Printers
    browseable = yes
    path = /var/spool/samba
    printable = yes
    guest ok = yes
    read only = yes
    create mask = 0700

    # Windows clients look for this share name as a source of downloadable
    # printer drivers
    [print$]
    comment = Printer Drivers
    path = /var/lib/samba/printers
    browseable = yes
    read only = yes
    guest ok = yes

  12. พิมพ์
    ltsp-update-sshkeys
    แล้วพิมพ์
    ltsp-update-image
    *** 2 คำสั่งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงเลขไอพีต่างๆ ต้องสั่งทุกครั้ง คำสั่งที่ 2 จะใช้เวลาทำงานนานนิดนึง หลังจากสั่งแล้วก็รีเครื่อง 1 ครั้ง แต่ถ้าย้ายข้อมูลตามข้อ 11 ด้วยคำสั่ง cp /opt/ltsp/i386/etc/lts.conf /var/lib/tftpboot/ltsp/i386/lts.conf แล้ว ก็จะไม่ต้อง update-image ลองๆสังเกตเอานะครับ


Client
    เครื่องลูกไม่ต้องทำอะไรมาก ขั้นแรก ถอดสายจ่ายไฟและสายสัญญาณออกจากฮาร์ดดิสก์ได้เลย

  • ปรับตั้งค่าลำดับการบูตในไบออส ให้เริ่มบูตด้วย LAN หรือ Network หากบอร์ดหรือการ์ดแลนที่มีอยู่รองรับ ก็จะมองเห็นการอ่านค่าจากเครื่องแม่ โดยปกติแล้ว หากไม่สามารถบูตจากแลนได้ ถ้าฮาร์ดดิสก์ยังต่ออยู่ ระบบจะกลับมาบูตที่ฮาร์ดดิสก์ให้เอง แต่บางบอร์ดก็อาจไม่เป็นแบบนี้ก็ได้

  • ถ้าการ์ดแลนที่มีอยู่ไม่รองรับ ก็สามารถตั้งค่าให้บูตจากซีดีรอม โดยไปนำไฟล์ ISO จากเว็บ
    //rom-o-matic.net/
    ที่ลิ้งก์
    //rom-o-matic.net/gpxe/gpxe-git/gpxe.git/contrib/rom-o-matic/(หรืออื่นๆตามความเหมาะสม)
    จากนั้นให้เบิร์นซีดีจาก ISO ที่ได้ เมื่อนำมาบูตเครื่อง จะมองเห็นขั้นตอนการบูตเหมือนกับการบูตด้วยการ์ดแลน จะสามารถทำงานในระบบได้เช่นเดียวกัน

  • บอร์ด P5RD1 กับ P5SD2 บูตแล้วค้างอยู่แค่โลโก้ลีนุกส์ ไปไม่ถึงหน้าล็อคอิน...


*** การเพิ่มหรือลบโปรแกรมต่างๆ ทำที่เครื่องแม่เพียงเครื่องเดียวพอ แล้วทั้งระบบจะเหมือนกันหมด และสามารถเข้าอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่องทันที
*** ชื่อ User เดียวกัน สามารถล็อคอินเครื่องลูกเครื่องใดก็ได้ และหากมีการปรับแต่งพื้นจอไว้เป็นส่วนตัว ก็จะได้พื้นจอแบบนั้นติดไปด้วย
*** User สามารถล็อคอินได้พร้อมๆกันที่เครื่องลูกคนละเครื่อง แต่จะเปิดไฟล์งานเดียวกันไม่ได้ หรืออาจจะได้ แต่จะมีการถามยืนยัน

ระบบปัจจุบันคือ ติดตั้ง ubuntu 9.04 server เป็น OS หลัก แล้วรัน VirtualBox อีก 3 ตัว ประกอบด้วย
- Endian Firewall เพื่อควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ต
- Ubuntu 9.07 PE+LTSP เพื่อทำงานในระบบ ThinClient
- WindowsXP รีโมทเข้ามาทำจากลีนุกส์ เพื่อใช้งาน MS-OFFICE ไปอีกสักระยะ กำลังอยู่ในขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนไปสู่ Openoffice

ขอขอบคุณ
- ทุกๆท่าน ที่ผมเมล์ไปสอบถามขอความรู้
- ทุกๆเว็บ ที่ผมเข้าไปหาข้อมูล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

เพิ่มเติม
การติดตั้ง LTSP ตามบทความข้างต้นนี้ เป็นการติดตั้งจากการลง Ubuntu Desktop โดยใช้วิธีดาวน์โหลดส่วนประกอบของ LTSP ลงมาสดๆจากอินเตอร์เน็ต จะช้าหรือเร็วหรือไม่สำเร็จ ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วและความเสถียรของอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีอัตราเสี่ยงสูงเหมือนกัน

แต่มีอีกวิธีหนึ่ง คือใช้ Ubuntu Alternate โดยขณะเริ่มติดตั้ง ต้องกด F4 เพื่อเลือกติดตั้งแบบ LTSP วิธีนี้ จะใช้ส่วนประกอบของ LTSP ที่มีอยู่แล้วในแผ่นติดตั้ง ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ตเลย สามารถติดตั้งได้เร็วกว่าและผ่านชัวร์ๆครับ


Create Date : 23 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 16 พฤษภาคม 2553 23:38:58 น. 22 comments
Counter : 4787 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีครับ แวะมาเยี่ยมครับพี่ สบายดีนะครับ
 
 

โดย: ภูสูง วันที่: 3 ธันวาคม 2552 เวลา:14:30:36 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับที่นำงดีๆมาแบ่งปันนะคับ
 
 

โดย: ภิญโญ IP: 118.172.172.116 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:0:20:04 น.  

 
 
 
ผม ล๊อกอินเข้าไม่ได้นะคัรบ ขึ้น จอให้ ล๊อกอินแล้วนะคบ

ผมลืมอะไรหรือเปล่าคับ ผมไม่ ฟิก ไอพีนะคับ
 
 

โดย: pinyo IP: 118.172.174.109 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:0:26:28 น.  

 
 
 
ถึง pinyo

ถ้ามาถึงนี่แล้วยังเข้าไม่ได้ ลองสั่ง ltsp-update-sshkeys และ
ltsp-update-image ดูนะครับ สั่งแล้วก็รีเครื่องสักครั้งนึง

ถ้ายังไม่ได้ อาจต้องสั่ง ltsp-build-client ก่อนด้วย แต่คำสั่งนี้ จะต้องลบ /i386 ด้วย command line ออกก่อน เพราะจะติด permission อยู่ครับ

ผมอยากแนะนำให้ลองเล่นใน virtualbox ดูก่อนนะครับ สะดวกมากๆตรงที่สามารถทำ snapshort ไว้ได้ ถ้าต้องการย้อนกลับมาทดลองใหม่เมื่อไรก็แค่คลิกเดียว และยังสามารถเพิ่มเครื่องลูก เพื่อทดลองบูตดูก่อนได้ด้วย ไม่ต้องลุกไปใหนเลย ผมลอง 3-4 เครื่อง ก็นั่งทำอยู่ในเครื่องผมเครื่องเดียว พอได้จริงๆแล้วค่อยทำกับเครื่องจริงครับผม
 
 

โดย: Mitrapap IP: 117.47.190.153 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:8:19:55 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับผม ได้ลอง ทำการ ltsp-update-sshkeys และ ltsp-update-image แล้วครับ ผมลืมไปว่า ผมต้องกำหนด ltsp-update-image --arch i386
ขอบคุณคับ ไม่งั้นงงแย่เลย (ใช่เวลาทั่งคืนที่ผ่านมากับ --arch i386)
 
 

โดย: Mitrapap IP: 118.172.187.205 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:22:11:22 น.  

 
 
 
คุณ pinyo เอาชื่อผมมาตอบซะแล้ว

เรื่อง ThinClient, Diskless, LTSP รายละเอียดต่างๆเยอะมากครับ และก็ทำได้หลายๆแบบ บางตัวอย่างที่เสิร์จพบ เขาอาจจะชำนาญแล้ว เขาก็สามารถพลิกแพลงได้หลายทาง ผมทดลองไปก็งงไปเหมือนกัน แต่ทางง่ายที่สุดคือการปล่อย Default ไปก่อนครับ รับรองได้แน่นอนครับ
 
 

โดย: mitrapap วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:9:19:21 น.  

 
 
 
สวัสดีครับ เป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากครับ
ผมได้ลองทำตามดูแล้วตอนแรกก็ติดปัญหาบ้าง จนตอนนี้ทำได้แล้วครับ
ปัญหาที่ว่าคือ
คำสั่งที่ได้บอกมา ควรที่จะต้องใส่ sudo นำหน้าด้วยครับ ไม่เช่นนั้นจะsaveไม่ได้ครับ
และคำสั่ง
ltsp-update-image
ltsp-update-image --arch i386
ให้เลือกใช้อันใดอันหนึ่งครับ คำสั่งที่ได้ผล หลังจากกดENTER ไปแล้ว จะมีการdownload ข้อมูลอยู่สักพักหนึ่งแล้วแต่ความเร็วของinternet ของคุณ
 
 

โดย: teang IP: 117.47.199.12 วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:7:47:36 น.  

 
 
 
เมื่อเราเรียก terminal ปุ๊บ จะอยู่ในโหมดของ user ธรรมดาก่อน ซึ่งจะสามารถใช้คำสั่งได้ในระดับนึงเท่านั้น แต่บางครั้งจำเป็นต้องใช้คำสั่งลึกๆที่เป็นของ root ก็จำเป็นจะต้องใส่ sudo นำหน้าก่อน เมื่อพิมพ์คำสั่งแล้ว ระบบก็จะถามรหัสผ่านของ root ก็จะใช้คำสั่งนั้นๆได้ครับ

แต่ถ้าต้องใช้คำสั่งลกๆบ่อยๆ เราก็ต้องประกาศตัวเป็น root ไว้เลยก็ได้ ด้วยการพิมพ์ su แล้วกด enter ระบบจะให้เรากรอกรหัสroot จากนั้นก็จะสามารถใช้ได้ทุกๆคำสั่งโดยไม่ต้องพิมพ์ sudo อีก

ก่อนจะสั่ง su ได้ จะต้องมีการตั้งรหัสของ root ไว้ก่อน ซึ่งต้องทำตั้งแต่ตอนติดตั้งลีนุกส์เสรจใหม่ๆครับ โดยสั่ง sudo passwd root แล้วก็ยืนยันรหัส user แล้วตั้งรหัส root ตามลำดับ
 
 

โดย: mitrapap วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:9:18:43 น.  

 
 
 
ขอถามหน่อยครับ
ตรงnetmask 255.255.252.0 ทำไม่จึงเป็น252 อยู่1ค่าครับ
แล้วถ้าใช่ LAN 1 อันจะได้ไหมครับ
ไฟล์ *.nbi สามารถแก้ไขได้ไหม อยู่ตรงไหน

 
 

โดย: teang IP: 117.47.199.12 วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:13:17:24 น.  

 
 
 
ผมก็เพิ่งสังเกตเห็นนี่แหละครับ ว่ามันเป็น 255.255.252.0 ผมเลยลองเสิร์จดูอีกที ก็พบว่ามีที่เขายกตัวอย่างไว้แบบนี้จริงๆ

พอค้นลึกๆไป พบว่าการคำนวณ netmask ลึกเกินภูมิปัญญาชาวบ้านแบบผมไปเยอะมากครับ คงเพราะว่าจำนวนเครื่องของผมไม่ถึง 20 เครื่อง ก็เลยยังมองไม่เห็นทางตันครับ

แต่ที่ผมใช้อยู่จริงๆแล้ว เกิดจากการป้อนค่า IP เข้าไปแทนการ DHCP ในขณะติดตั้งครับ จำได้ว่าตรงนั้นเป็น 255.255.255.0 จึงทำให้ค่าใน /etc/network/interfaces ออกมาเป็น 255 โดยทันที การ์ดใบที่ 2 ก็จึงเป็น 255 ตามไปด้วย ซึ่งลีนุกส์ตั้งค่าออกมาให้เองครับ ผมไม่ได้ไปกำหนดใบที่ 2 ครับ

ส่วนไฟล์ .nbi ในนั้น ก็มาจากลีนุกส์เขาทำให้ครับ ผมจึงไม่รู้ที่มาที่ไป ก็ไม่กล้าไปเล่นอะไรมาก แค่กว่าจะปล้ำเรื่องติดตั้งเครื่องพิมพ์ที่เครื่องลูกก็แย่แล้ว ยังต้องงม่ติดตั้งเครื่องพิมพ์ทั้งแบบเข็มและแบบอิ๊งค์เจ็ทในเครื่องเดียว หาข้อมูลยากมากครับ ลองผิดลองถูกถึงขนาดสิวขึ้นเลย

ตอนนี้ผมรัน LTSP ไปทั้งชั้นแล้ว แต่ยังต้องรีโมทไป xp เพื่อทำงานอยู่ ขณะเดียวกันผมก็ซ้อมมือกับ cal ผมเอาอยู่เมื่อไร ก็จะเลิกใช้เอ็กเซลครับ

อ้อ...ส่วนมากผมทดลองใน VMWARE ก่อนครับ ทำผิดพลาดก็สามารถลองย้อนมาย้อนไปได้ ทำเครื่องลูกมาทดสอบการคอนฟิกก็ได้ สุดยอดมากครับ virtualbox ก็เยี่ยมพอๆกันครับ

พบอะไร หรือเทคนิคอะไรดีๆก็นำมาบอกกล่าวได้ครับผม
 
 

โดย: Mitrapap IP: 117.47.51.35 วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:21:11:37 น.  

 
 
 
ระบบนี้สามารถรองรับมัลติมีเดียอย่างเช่นไฟล์VCD ดูหนัง ฟังเพลงได้ไหม คับ ถ้าได้เนี็ยจะสามารถใช้ได้กี่เครื่้องถ้าเปิดพร้อมกันนะคับสนใจนะคับ กำลังจะศึกษาพอดี ขอบคุณล่วงหน้าคับ
 
 

โดย: คนอยากรู้คับ IP: 110.164.135.196 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:16:37:37 น.  

 
 
 
ได้สบายๆครับ ถ้าเครื่องลูกฟ้องว่าขาดปลั๊กอินอะไร ก็กลับไปทำที่เครื่องแม่เท่านั้น

เชื่อผมเถอะ...ลองหาบทความเกี่ยวกับ virtualbox มาอ่านแล้วลองเล่นดู เวลาอยากทดลองอะไรกับคอม 2-3 เครื่อง สามารถทำได้ง่ายๆ ได้ผลแล้วค่อยซื้อเครื่องจริงครับ
 
 

โดย: MITRAPAP IP: 117.47.189.178 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:10:13:42 น.  

 
 
 
รายงานผลการทดสอบครับ
หลังจากที่ได้ทดลองทำใน Ubuntu9.07PE แล้วไม่ค่อยได้ผลที่ดีนัก
จึงได้ไปลองบน ubuntu9.10 Alternate ปรากฎว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจกว่ากันเยอะ
 
 

โดย: teang IP: 117.47.194.36 วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:10:48:24 น.  

 
 
 
ยินดีกับคุณ teang ด้วยนะครับ

9.07PE ผมก็ยอมแพ้ไปแล้วครับ เพราะเวลาใช้งานจริงกลับแฮ้งค์ไปแบบเงียบๆ ไม่ว่าจะ PB หรือ PB ที่ผ่านการโมมาแล้วมักไม่สเถียรสำหรับงานแบบเทอร์มินอล เหมาะกับเป็นเดสทอปธรรมดามากกว่าครับ

ตอนนี้ผมก็ใช้ 9.10 เช่นกัน แต่ได้เอาแบบเป็น DVD มาติดตั้ง จะไม่มีการดาวน์โหลดในระหว่างการติดตั้งมากนัก สะดวกขึ้นเยอะครับ (ผมไปถามไว้ที่บอร์ดไทยอูบันตู ตามลิ้งก์ไปโหลดได้ครับ)

สำหรับ 9.10 ถ้าจะให้รองรับภาษาไทยแบบเต็มๆโดยเราไม่ต้องปรับแต่งเอง สามารถไปอ่านเอาได้จากเว็บของ "ครูมนตรี" นะครับ หรือจะไปเอาจากหน้า "คำสั่งลีนุกส์ที่ใช้บ่อย" จากบล็อกบันทึกการทำงานของผม ที่ //mitrapap.exteen.com/ ก็ได้ครับ
 
 

โดย: มิตรภาพ IP: 114.128.26.71 วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:15:27:33 น.  

 
 
 
ผม มี ip 192.168.1.10 เป็น ltsp ส่วน 192.168.1.1 dhcp dns ต้องทำไงคับ
 
 

โดย: ภิญโญ IP: 192.168.1.100, 117.47.88.202 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:14:22 น.  

 
 
 
เราสามารถจัดกลุ่ม user ได้ไหมครับ เช่นเราอยากได้โปรแกรมเพิ่มแต่เราอยากให้ user คนที่แรกใช้งาน อาจจะเป็น The Gimp
ส่วนคนที่สอง ก็ใช้งานที่กำหนดไว้ ประมาณนี้อ่ะครัย
 
 

โดย: Nong IP: 118.172.1.196 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:12:32:33 น.  

 
 
 
Nong:
ตรงนี้น่าจะใช้การกำหนดสิทธิ์ของยูสเซอร์เอาน่ะครับ ซึ่งสามารถทำในอูบันตูเองได้อยู่แล้ว

ผมเองก็ยังไม่ลึกซึ้งกับลีนุกซ์เท่าไรเลย แต่ถ้าเดาๆจากที่เคยทำมา ก็อาจสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาเพื่อเก็บตัวเรียกโปรแกรม แล้วก็กำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้โฟลเดอร์นี้ ก็จะเป็นการเลือกคนที่จะเข้ามาใช้โปรแกรมไปโดยปริยาย
 
 

โดย: Mitrapap IP: 117.47.113.149 วันที่: 3 เมษายน 2553 เวลา:13:32:23 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากครับ เดียวจะลองไปหาข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ การติดตั้งโปรแกรม ใน ltsp เพิ่ม
 
 

โดย: Nong IP: 61.19.144.194 วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:17:59:07 น.  

 
 
 
อีกนิดหนึ่งครับ ช่วยแนะนำสเปกของตัว Server LTSP หน่อยครับ ที่สามารถรองรับเครื่องลูกสัก 30 เครื่องได้
 
 

โดย: Nong IP: 61.19.144.194 วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:10:02:32 น.  

 
 
 
ตัว Ubuntu 9.07 PE ตอนที่ติดตั้งนี่ ลงแบบธรรมดาไปก่อนแล้วพอติดตั้งเสร็จแล้วจึงใช้คำสั่ง # aptitude install ltsp-server-standalone เพื่อติดตั้ง LTSPใช่ไหมครับ

 
 

โดย: Nong IP: 202.69.139.194 วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:16:59:59 น.  

 
 
 
Ubuntu 9.07 PE หรือครับ????

ตามคอมเม้นท์บนๆนะครับ...
ถ้าไม่ใช่ ubuntu รุ่น alternate ก็ลงแบบธรรมดาก่อน เซ็ตภาษาไทยให้เรียบร้อย แล้วค่อยเริ่มทำตามขั้นตอนของบทความนี้ครับ

ตอนนี้ผมใช้ 9.10 Alternate มีโหมด LTSP ให้เลือกตั้งแต่ตอนติดตั้งเลย ผมใช้งานได้ยาวมาถึงทุกวันนี้ครับ

ลองใช้งานที่ 10 เครื่อง แล้วดูปริมาณการใช้ RAM ดูก็ได้ครับ แล้วลองเพิ่มเป็น 20 ว่ายังไหวอยู่มั้ย ช้าเร็วเป็นอย่างไร หรือไม่ก็ลองค้นๆตามเน็ตเพื่อประมาณการดูก็ได้ครับ ผมใช้อยู่ 10 กว่าเครื่องก็ปกติดีครับผม
 
 

โดย: Mitrapap IP: 117.47.115.75 วันที่: 7 เมษายน 2553 เวลา:18:28:38 น.  

 
 
 
30 user น่าจะเน้นว่าcpuควรมี4core Ramเยอะๆ
ram บนvga ก็ควรมีเยอะๆ หน่อย เพราะต้องเก็บภาพหน้าจอจำนวนมาก
lan port ไม่น้อยกว่า 3port configอย่างไรไม่รู้เหมือนกันนะ

เป็นแค่ความคิดเห็นนะครับ
 
 

โดย: teang วันที่: 18 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:34:53 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

mitrapap
 
Location :
สระบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




Free Domain Names @ .co.nr!
[Add mitrapap's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com