ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 

ทราบกันหรือยัง... 9 กรกฎาคม 2554 นี้ คนไทยที่อายุ 7 ขวบ ต้องทำบัตรประชาชน

บังคับ 9 กรกฎาคม 7 ขวบ ทำบัตรประชาชน

ประกาศ 9 กรกฎาคมนี้ พ่อแม่ต้องพาเด็กอายุ 7 ปีไปทำบัตรประชาชน นักวิชาการชี้ด้านลบพ่อแม่เด็กลำบาก เสียเงิน-เวลาพาลูกไปทำบัตร เปิดช่องทุจริตโกงกิน คนต่างด้าวแฝงตัวทำบัตร ครูหยุยเสนอให้เด็กทำใบเหลืองแทนสมาร์ทการ์ด วอนประชาชนช่วยตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 สาระสำคัญของกฎหมายคือ กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

ด้าน นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือครูหยุย มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมว่า ที่ผ่านมาเคยให้เหตุผลคัดค้านมาตลอดว่าไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะบังคับให้เด็กอายุ 7 ปี ทำบัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครองอ้างจุดประสงค์เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสารสวมสิทธิ์สัญชาติไทยของบุคคลต่างด้าวนั้น ตนคิดว่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ สิ่งที่น่ากังวลคือ จะเปิดช่องให้มีการทุจริตโกงกินค่าทำบัตรสมาร์ทการ์ดของเด็กอายุระหว่าง 7-14 ปีที่มีอยู่ประมาณ 8 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม เมื่อกฎหมายมีผลบังคับแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องพาลูกไปทำบัตรประชาชนช่วยกันตรวจสอบการทำงานภาครัฐให้ดี เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและจะมีการฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากกลุ่มเด็กต่างด้าวที่แฝงตัวทำบัตรประชาชนกันอย่างมาก ส่วนเหตุผลที่บังคับเด็ก 7 ปีทำบัตรประชาชนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐนั้น ก็ไม่จำเป็นด้วย เพราะทุกวันนี้เด็กที่ใช้บริการต่างๆ จากรัฐ เช่น การรักษาพยาบาล การเข้าสถานศึกษา ก็สามารถใช้หลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรมาแสดงได้อยู่แล้ว

"ผมคิดว่าเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ก็อยากเสนอว่าแทนที่จะทำบัตรสมาร์ทการ์ด ก็ให้เปลี่ยนมาทำใบเหลืองที่ใช้กันอยู่แล้ว เพื่อป้องกันข้อครหาว่าจะมีการทุจริตกันอย่างมโหฬาร นอกจากนี้ยังควรแก้ไขโทษปรับ 200 บาทสำหรับผู้ไม่ทำตามกฎหมาย ผมเห็นว่าปรับสูงเกินไป เพราะพ่อแม่เด็กที่ยากจนและไม่มีเวลาพาลูกไปทำบัตรประชาชนจะได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้แก้ไขโทษปรับลดลงมาเหลือ 5-10 บาทก็พอ" นายวัลลภกล่าว

ขณะที่ นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวว่า กฎหมายมีผลบังคับให้เด็กอายุ 7 ปี ทำบัตรประชาชนตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคมนี้ ส่งผลกระทบต่อพ่อแม่เด็กได้รับความลำบาก ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวอำเภอก็ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำบัตรประชาชน อีกทั้งหน่วยงานรัฐก็ต้องระดมเจ้าหน้าที่มาถ่ายรูปทำบัตรประชาชน แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการสวมสิทธิ์สัญชาติไทยได้ เพราะรูปร่างใบหน้าเด็กอายุ 7-14 ปี จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจจะต้องกำหนดช่วงเวลาทำบัตรหลายครั้ง

"ทุกวันนี้เด็กใช้สูติบัตรและทะเบียนบ้านในการขอรับบริการจากรัฐ ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้สมาร์ทการ์ด แต่ควรจะจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรให้รัดกุมมากขึ้น เช่น ถ่ายภาพม่านตาแล้วบันทึกข้อมูลลงในใบเกิด ซึ่งจะช่วยป้องกันการปลอมเอกสารสวมสิทธิ์ของเด็กต่างด้าวได้ อย่างไรก็ตาม การให้เด็กอายุ 7 ปี ไปทำบัตรประชาชนไม่ได้กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กกำพร้าหรือเด็กไร้รากเหง้า เพราะไม่มีหลักฐานเอกสารการเกิดอยู่แล้ว เด็กกลุ่มนี้จะต้องเข้ากระบวนการพิสูจน์สัญชาติไทยให้ได้ก่อนทำบัตรประชาชน" นายสรรพสิทธิ์เผย

ด้าน รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร นักวิชาการเรื่องสัญชาติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงประชากร ทำให้ฐานข้อมูลในทะเบียนราษฎรแน่นมากขึ้น ส่วนการป้องกันคนต่างด้าวสวมสิทธิ์สัญชาติไทยนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว สำหรับข้อเสียคือ เป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริตในหน่วยงานราชการทุกระดับอย่างมาก

"สำหรับเด็กไร้รากเหง้าที่ไม่มีใบเกิดนั้น มีกฎหมายให้เข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และใช้ระยะเวลานานหลายปีในการให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย กฎหมายฉบับนี้ก็จะไม่มีผลกระทบต่อเด็กกลุ่มนี้" รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์กล่าว


นักวิชาการ ค้าน เด็ก 7 ขวบ ทำบัตรประชาชน

นักวิชาการต้านให้เด็ก 7 ขวบมีบัตรประชาชน หวั่นเกิดผลกระทบกับเด็กหลาย ๆ ส่วน ขณะที่อธิบดีกรมปกครองขอให้ผู้ถือบัตรประชาชนที่หมดอายุแล้วใช้ไปก่อน เหตุบัตรสมาร์ทการ์ดที่มีอยู่อาจไม่พอ ชี้ต้องเร่งติดตั้งระบบใหม่ ก่อนระบบล่ม

หลังจากที่เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้มีการออกกฏหมายให้ผู้มีสัญชาติไทยตั้งแต่อายุ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อยืนยันตัวบุคคล ภายใน 60 วัน ก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาจากหลายฝ่าย

โดยนายมนตรี สินทวีชัย หรือ ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก กล่าวถึงกฏหมายฉบับนี้ว่า ถือเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ตรวจสอบรายละเอียดให้รอบคอบ เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบกับเด็กหลาย ๆ กลุ่ม เช่น กลุ่มเด็กพิการ เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน ที่ตามหลักแล้วรัฐจะต้องคอยดูแลสงเคราะห์เด็กกลุ่มนี้ด้วย นอกจากนี้ หากเด็ก ๆ จะทำบัตรประชาชนต้องมีผู้ปกครองพาไปทำบัตรด้วย แต่ทว่าเด็กบางคนไม่มีผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองมีอาชีพไม่สุจริต ผู้ปกครองอยู่ในเรือนจำ จึงเกรงว่าเด็กกลุ่มนี้อาจไม่มีโอกาสทำบัตรประชาชน ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมเด็กหรือไม่

ครูยุ่น ยังกล่าวต่ออีกว่า ตามปกติแล้วการจะยืนยันว่าเป็นคนไทย สามารถตรวจสอบได้จากสูติบัตรอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้เด็ก ๆ ถือบัตรประชาชน โดยตามกฏหมายในอดีตได้ผ่านกระบวนการคิดที่ดีอยู่แล้วว่า ให้เด็กอายุ 15 ปีขึ้นไปค่อยมีบัตรประจำตัวประชาชน เพราะเด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดเป็นผู้ใหญ่แล้ว

ขณะที่นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กกฎหมาย และกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า เด็กในวัย 7 ขวบกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ดังนั้นทุก ๆ ปี รูปร่างหน้าตาของเด็กจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ซึ่งหากจะมีการทำบัตรจริง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนบัตรทุก ๆ ปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใช้สูติบัตรก็สามารถยืนยันตัวได้ โดยอาจเพิ่มรายละเอียดบางอย่างเข้าไป เช่น ดีเอ็นเอ ลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า เป็นต้น

เช่นเดียวกับนางประทีป อึ้งทรงธรรม ประธานมูลนิธิดวงประทีป ที่กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับกฏหมายฉบับนี้ เพราะไม่เห็นว่ามีความเหมาะสมอะไรที่จะให้เด็ก 7 ขวบทำบัตรประชาชน เพราะในเรื่องธุรกรรมต่าง ๆ ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ดูแลให้อยู่แล้ว ซึ่งหากให้เด็กถือบัตรก็อาจทำหายได้ และที่ระบุว่า การให้เด็กทำบัตรประชาชนเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์บุคคลต่างด้าว ตรงนี้ตนมองว่าไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา เพราะหากจะแก้ไขปัญหานี้จริง ๆ ต้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้ป้องกันแก้ไขปัญหามากกว่า

ขณะเดียวกัน หลังจากกฏหมายดังกล่าวถูกประกาศใช้ ก็ยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องบัตรสมาร์ทการ์ดที่มีไม่เพียงพอจะรองรับอีก โดยนายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่า ปัจจุบันเพิ่งได้รับบัตรสมาร์ทการ์ดล็อตใหม่มา 26 ล้านใบ ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะออกบัตรให้กับทุกคนได้ เพราะที่ผ่านมาบัตรสมาร์ทการ์ดก็ขาดแคลนอยู่แล้ว และหากไม่เพียงพอจริงก็คงต้องจัดซื้อใหม่

นายมงคล กล่าวต่ออีกว่า ขณะนี้ทางกระทรวงมหาดไทยได้ออกมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ถือบัตรสมาร์ทการ์ดซึ่งหมดอายุแล้วยังไม่ต้องมาทำบัตรใหม่ สามารถใช้บัตรที่หมดอายุทดแทนไปก่อนได้ เพื่อรอให้ผู้ที่ยังถือบัตรเหลืองแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้รับบัตรล็อตใหม่เสียก่อน ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 7 ปีถึง 14 ปี อีกกว่า 8 ล้านคนที่จะกำลังจะมาทำบัตรก็ขอให้ทยอยกันมาทำบัตร เพราะบัตรอาจมีไม่เพียงพอ อีกทั้งเครื่องพิมพ์บัตรจำนวน 151 เครื่องยังเสียด้วย ดังนั้นจึงต้องเร่งติดตั้งระบบใหม่ เพื่อไม่ให้ระบบล่มทั้งประเทศ จะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล


[15 พฤษภาคม] อีก 2 เดือน เด็ก 7 ขวบ เตรียมทำบัตรประชาชน

หลังจากเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ที่ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 โดยกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 9 กรกฎาคม 2554)

โดยสาระสำคัญของกฎหมายคือ การกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ บัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตร และมีอายุ 8 ปี นับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตร ที่ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตร มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต

สำหรับอัตราค่าธรรมเนียม

(1) การออกบัตร ฉบับละ 100 บาท
(2) การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3) การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร ฉบับละ 10 บาท

อย่างไรก็ตาม เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทย ทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตน เพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน

ทางด้าน นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวถึงเรื่องนี้ โดยระบุว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการพูดคุยกันมานาน ซึ่งกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ในการยืนยันตัวบุคคล ทำให้มีการบันทึก และการสวมตัวบุคคลโดยคนต่างด้าวทำได้ยากขึ้น เป็นการรักษาสิทธิคนไทย อีกทั้งเจตนาของกฎหมายไม่ต้องการสร้างภาระให้ประชาชน และในประเทศที่ก้าวหน้าจะเริ่มทำบัตรประชาชนตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งอายุ 7 ขวบ ก็เป็นช่วงอายุที่เหมาะสม


อย่างยัยหนูคนนี้ยังไม่ต้องทำหรอกนะ ยังไม่ถึงเวลา


ที่มา
//hilight.kapook.com/view/58807




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
2 comments
Last Update : 17 พฤษภาคม 2554 10:44:01 น.
Counter : 935 Pageviews.

 

งง

 

โดย: ุุ IP: 2.202.226.203 18 พฤษภาคม 2554 3:55:18 น.  

 

ราตรีสวัสดิ์ นอนหลับฝันดีครับ News

 

โดย: bbandp 30 พฤษภาคม 2554 5:02:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.