ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
65 วิธีพูดดีดีได้ใจคน

บังเอิญไปเจอ E-book ฉบับหนึ่งน่าสนใจก็เลยนำมาลงเพื่อจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันครับ

การพูดดีดีไม่มีต้นทุน ไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องเป็นนักพูด ใช้แค่ความจริงใจและความตั้งใจจริงบวกกับการฝึกฝนอีกเล็กน้อย แต่ผลที่ได้กลับมานั้นคุณค่ามหาศาลจึงมีข้อคิดพัฒนาตนเอง ด้วยการรู้จักการใช้คำพูด สร้างมนุษยสัมพันธ์ มิตรภาพความรัก และ ความสำเร็จในชีวิต “ 65 วิธีพูดดีดีได้ใจคน” มีดังนี้

วิธีที่ 1 พูดด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
คนเย่อหยิ่งอวดดีย่อมไม่ได้รับการต้อนรับจากผู้อื่น คนที่ชอบคุยโวโอ้อวดย่อมสร้างความเบื่อหน่ายเอือมระอาให้กับผู้อื่น การอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ใช่การลด
คุณค่าของตัวเองให้ต่ำลง แต่เป็นสุดยอดวิธีในการแสดงความคิดความรู้สึกของตนเองออกมา

วิธีที่ 2 รู้จักใช้คำพูดที่ยืดหยุ่น
คำพูดที่ยืดหยุ่นไม่ผูกมัด ก็คล้ายกับนักแสดงที่แสดงละคร ใช้บ่อยเข้าก็ย่อมจะคล่องไปเอง

วิธีที่ 3 พูดผิดพูดใหม่ให้ทันท่วงที
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ก้าวพลาดไปก็ลุกขึ้นมาใหม่ได้ คนเมื่อพูดผิดพลั้งไปแล้ว ก็หาคำพูดที่น่าฟังมาชดเชยได้

วิธีที่ 4 ใช้คำพูดเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร
อย่าไปหาเรื่องกับศัตรู ขอเพียงในใจเรามีคำพูดที่น่าฟัง จะยังมีใครเป็นศัตรูกับเราได้อีก

วิธีที่ 5 รู้จักใช้คำพูดชื่นชมผู้อื่น
คำพูดหวานหูทำให้คนฟังรู้สึกอบอุ่นแม้อากาศจะหนาว คำพูดที่ทำร้ายจิตใจคนแม้จะอยู่ในฤดูร้อนคนฟังก็ยังรู้สึกหวานเหน็บหัวใจ บางครั้งคำพูดดีดีเพียงประโยคเดียวก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคนทั้งชีวิตได้

วิธีที่ 6 พูดแค่สามส่วนก็พอ
เปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่ได้หมายความว่าให้พูดจาไม่เหลือทางหนีทีไล่ พูดมากเกินไปบางครั้งอาจก่อให้เกิดภัยขึ้นได้ จงจำไว้ว่า ภัยเกิดจากปาก

วิธีที่ 7 รู้จักเอาตัวเองมาล้อเล่น
หากเราสามารถเอาส่วนที่น่าขำของตัวเองมาพูดเป็นเรื่องตลกให้คนอื่นได้หัวเราะอยู่เสมอก็จะสามารถชนะใจได้รับมิตรภาพจากผู้อื่นอย่างแน่นอน เพราะการที่เราให้ความสำคัญผู้อื่นหัวเราะเยาะตัวเอง ก็เท่ากับแสดงให้เห็นว่าท่านมองตัวเองกับผู้อื่นอยู่ในระดับเดียวกัน

วิธีที่ 8 ไม่ใช้วาจาแสดงการปฏิเสธผู้อื่น
ถ้าในระหว่างการพูดจา หากใครชอบแสดงท่าทีปฏิเสธไม่รับฟังผู้อื่นอยู่เสมอ ก็จะทำให้อีกฝ่ายทนไม่ไหวโกรธหรืออาจทำให้เกิดการปะทะกันทางวาจาหรือใช้
กำลังได้

วิธีที่ 9 ไ ม่ใ ช้คำ พูด ก ร ะ ท บ ก ร ะ เ ทีย บเหยียดหยาม
อย่าคิดว่าเรื่องหยุมหยิมเล็กน้อยจะไม่สร้างปัญหาใหญ่ได้ ตรงข้าม ควรให้ความใส่ใจโดยเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ สร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้สมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน สุดท้าย ต้องฝึกตนให้รู้จักใช้คำพูดที่เหมาะสม

วิธีที่ 10 บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องพูดตรงเกินไป
ในการพูดจาควรเรียนรู้จักคำ ว่า อ้อมค้อมเรือเดินสมุทรที่สามารถหลบหลีกโขดหินโสโครก จนไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น นั่นก็เป็นเพราะมีความเชี่ยวชาญในการอ้อมนั่นเอง

วิธีที่ 11 อย่าใช้คำพูดขวานผ่าซาก ทำร้ายจิตใจผู้อื่น
คำพูดตรงไปตรงมาคือมีดที่แหลมคมทำร้ายจิตใจผู้อื่นแล้วยังทำร้ายจิตใจตัวเอง คำพูดที่นุ่มนวลคือลมพัดในฤดูใบไม้ผลิ การปลอบใจผู้อื่นก็คือการปลอบใจตัวเอง

วิธีที่ 12 ไม่พูดมากพร่ำบ่น
หวัด ไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรงอะไร แค่กินยาก็หายแล้ว แต่การพูดมาก พร่ำบ่น พิรี้พิไร เป็นโรคทางจิตใจที่รักษายากโรคหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อทุกคนในครอบครัวได้

วิธีที่ 13 รู้จักใช้ภาษาท่าทาง
การแสดงออกทางอารมณ์และความคิดที่ปรากฏบนใบหน้าและกริยาท่าทาง มีพลังมากกว่าการแสดงออกทางคำพูด

วิธีที่ 14 พูดคำ “ขอโทษ” ให้เป็น
พลั้งปากพูดผิดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเมื่อพูดผิดไปแล้วมารู้สึกเสียใจภายหลังหาใช่เรื่องสำคัญที่สำคัญก็คือเราจะทำอย่างไรให้ได้ผลเสียอันเกิดจากการพูดผิดไปนั้นลดลงให้เหลือน้อยที่สุด

วิธีที่ 15 รู้จัก “ติชม” ดีกว่าชมอย่างเดียว
เอาแต่ยิ้มแย้มพูดจาให้กำลังใจผู้อื่นอย่างเดียวหาใช่วิธีที่ดีที่สุด บางครั้งบางเวลาในขณะพูดคุยสนทนาถ้าสอดแทรกคำติไปบ้างกลับจะทำให้ผู้อื่นยอมรับได้ง่ายกว่า

วิธีที่ 16 อย่าไปพูดเปิดโปงแผลเก่าของคนอื่น
การเปิดโปงแผลเก่าของผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมีแต่คนโง่หรือคนบ้าเท่านั้นที่จะไม่โกรธ

วิธีที่ 17 อย่าเอาแต่พูดจากล่าวโทษผู้อื่น
ผลักภาระความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้ผู้อื่นผลประโยชน์ต่าง ๆ ตัวเองผูกขาดไว้คนเดียว คนประเภทนี้คือคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์

วิธีที่ 18 จงพูดจาด้วยเหตุผล อย่าใช้อารมณ์
สมมติว่าเราเกิดโทสะแล้วอาละวาดใส่ผู้อื่นไปบางทีความโกรธของเราอาจมลายจมหายไป หลังจากนั้นใจคอก็สบายขึ้น แต่เมื่อเราว่าผู้อื่นแล้วเราสบายใจเขาได้แบ่งปันความรู้สึกเช่นนั้นกับเราบ้างหรือเปล่า

วิธีที่ 19 รับฟังคำพูดของผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมจริงใจ
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก ไม่ควรเอาแต่คุยโวให้ผู้อื่นฟัง เพียงเพราะตนเองได้รับความสำเร็จเพียงเล็กน้อยหากแต่ควรสดับรับฟังคำพูดของผู้อื่นอย่างตั้งอกตั้งใจ ยังจะมีประโยชน์เสียกว่า

วิธีที่ 20 พูดจากับใคร ต้องรู้จักและเข้าใจคนฟัง
พูดมาก ก็ใช่ว่าคนอื่นจะรู้สึกดีกับท่าน พูดน้อยก็ใช่ว่าคนอื่นจะรู้สึกว่าท่านโง่เขลา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ก่อนจะจุดธูปก็ต้องดูให้แน่ใจว่า จะไหว้พระโพธิสัตว์องค์ไหน จะพูดจาก็ต้องดูว่า พูดกับใคร

วิธีที่ 21 อย่าใช้คำพูดทำร้ายคน
คนเราทุกคนต่างรู้จักโกรธ รู้จักไม่พอใจด้วยกันทั้งนั้น เวลาที่มีใครมาพูดอะไรแล้วเรารู้สึกไม่เข้าหูก็ควรทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสียไม่จำเป็นต้องไปจริงจังจนเกินไป คิดแต่จะต้องโต้ตอบกลับไปให้เจ็บแสบ อะไรที่ไม่เกี่ยวกับเรา ก็ไม่ควรไปตอบโต้

วิธีที่ 22 รู้จักเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสมกับแต่ละคน
ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรขอเพียงบรรลุถึงเป้าหมายภาษาอะไรล้วนเป็นภาษาที่ไพเราะชวนฟัง

วิธีที่ 23 ฟังมาก พูดน้อย พยักหน้าอยู่เสมอ
ฟังมาก พูดน้อย พยักหน้าอยู่เสมอ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ถ้าทำได้ก็จะทำให้สามารถยืนหยัดในสังคมได้อย่างยาวนาน

วิธีที่ 24 กล้าพูดคำว่า “ไม่”
“ไม่” คำ นี้เขียนไม่ยาก แต่ถ้าจะเอามาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแล้ว กลับไม่ง่ายเลยที่จะเอ่ยออกมา มีคนมาก มายที่เป็นเพราะเงื่อนไขทางความสัมพันธ์หรือด้วยอุปนิสัยส่วนตัว หรือเป็นเพราะสถานการณ์บังคับทำให้ไม่อาจเอ่ยคำว่า “ไม่” ออกมาและเป็นเหตุให้ตัวเองได้รับความเสียหายอย่างมาก

วิธีที่ 25 “คำพูดที่ไม่จริง” ต้องพูดด้วยเจตนาดีเท่านั้น
ในชีวิตของคนเรานั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเรื่องโกหกอยู่มากมายในเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้างขอเพียงไม่ได้มีเจตนาไปทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย
คำโกหกนั้นเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์บังคับในทางที่เป็นไปได้

วิธีที่ 26 รู้จักหลีกเลี่ยง ไม่พูดในสิ่งที่เขาไม่ชอบ
การหลีกเลี่ยงไม่พูดในสิ่งที่ผู้อื่นไม่ชอบช่วยให้การคบค้าสมาคมดำเนินไปได้อย่างราบรื่น พยายามเข้าใจผู้อื่น ให้ความเคารพผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการทำให้
ผู้อื่นไม่สบายใจ

วิธีที่ 27 ยกย่องชมเชยด้วยความใจกว้างและจริงใจ
การยกย่องชมเชยทำ ให้คนยอมรับง่ายกว่าการตำหนิติเตียน ไม่ว่าใครต่างก็ยินดีเมื่อได้รับการยกย่องชื่นชม ด้วยเหตุนี้จึงควรเข้มงวดกับตัวเองแต่ใจ
กว้างกับผู้อื่นไว้เป็นดี

วิธีที่ 28 กล่าว “ขอบคุณ” ให้ติดปาก
ขอบคุณ สองคำนี้พูดไม่ยาก ทั้งยังมีประโยชน์อย่างมาก ทำให้คว้าจับหัวใจผู้อื่นไว้ได้

วิธีที่ 29 รู้จักใช้คำพูดพลิกแพลง คลี่คลายเหตุการณ์เฉพาะหน้า
ไม่ว่าใครก็ต้องเคยพบกับสถานการณ์ที่อึดอัดกลืนไม่เข้าคายไม่ออกด้วยกันทั้งนั้น เมื่อใดที่บังเอิญเจอสถานการณ์เช่นนี้เข้าก็อย่าเอาแต่มือไม้อ่อนทำอะไรไม่ถูก จงใช้ความสามารถที่มีอยู่มาพลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์

วิธีที่ 30 “ประจบ” ได้บ้าง แต่อย่า “สอพลอ”
การประจบสามารถพิชิตใจคนได้ ขอเพียงเข้าใจสรรหาคำพูด ชาวจีนมักเปรียบการประจบประแจงว่าเป็นการเอาหมวกสูงมาสวมให้

วิธีที่ 31 โต้ตอบอย่างมีชั้นเชิง
หนามยอกเอาหนามบ่ง วิธีนี้เอาไว้ใช้รับมือคนที่มีเจตนาร้ายแฝงอยู่

วิธีที่ 32 รู้จักใช้ “คำ ทักทาย” สร้างความสนิทสนม
คำทักทายพูดคุยดูแล้วเหมือนเป็นคำพูดตามมารยาทที่ไม่มีความสำคัญอะไร แต่หากปราศจากคำพูดทักทาย การคบค้าสมาคมระหว่างมนุษย์ด้วยกันก็คงจะ
เป็นไปอย่างจืดชืดขาดความสนิทสนมกลมเกลียว

วิธีที่ 33 รู้จักพูดปลอบใจ
การปลอบใจที่ปราศจากความเห็นอกเห็นใจก็เปรียบเสมือนกับอาหารที่ไม่ได้ใส่เกลือ แม้จะมีกลิ่นหอมเตะจมูกเพียงใดก็ยังคงจืดชืดไร้รสชาติ

วิธีที่ 34 รู้จักใช้ศิลปะและเทคนิคในการถาม
เวลาตั้งคำถาม จักต้องรู้จักใช้ศิลปะเทคนิค และวิธีการต่าง ๆ นานาให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้ได้รับข่าวสารมากที่สุดและเข้าใจอย่างแท้จริงว่าอีกฝ่ายกำลัง
คิดอะไรและมุ่งแสวงหาสิ่งใด

วิธีที่ 35 ยกย่องสรรเสริญผู้อื่นต้องพอเหมาะพอควร
การยกย่องสรรเสริญ ด้วยเจตนาดี ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ช่วยเพิ่มพูนมิตรภาพและความเข้าอกเข้าใจมีคุณประโยชน์อย่างมาก

วิธีที่ 36 อย่าพลั้งปากพูดสอดแทรก โพล่งปากพูดตัดบท
การตัดบทคำพูดของผู้อื่นไม่เพียงไร้มารยาทแต่ยังทำ ให้ไม่ว่าจะเจรจาอะไรก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้

วิธีที่ 3 7 รู้จัก “แ ส ร้งโ ง่” เ พื่อ ค ลี่ค ล า ยสถานการณ์
แสร้งโง่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์จำเป็นต้องใช้สติปัญญาที่สูงกว่าผู้อื่นในขั้นหนึ่งของภูมิหลัง รวมทั้งมีความเป็นตัวของตัวเอง

วิธีที่ 38 มีศิลปะในการใช้ “ข้ออ้าง” แก้ไข
สถานการณ์เอาตัวรอดข้ออ้างที่ฉลาด ช่วยปิดบังความหน้าบางได้ดี ทั้งยังช่วยให้หลุดพ้นจากสภาพที่อับจนได้เพราะเสียงหัวเราะจะช่วยกลบเกลื่อนทุกสิ่งทุกอย่างได้

วิธีที่ 39 ต้องรู้จักใช้คำพูดให้ “โดนใจ” คนฟัง
หัวใจของคนก็เปรียบได้กับป้อมปราการ หากสามารถทลายป้อมปราการลงได้การเกลี้ยกล่อมก็สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

วิธีที่ 40 บางขณะ การ “นิ่งเงียบ” คือ คำพูดที่ดีที่สุด
“นิ่งเสียตำ ลึงทอง” เป็นการนิ่งเงียบซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการเกลี้ยกล่อมที่เหนือชั้นอย่างหนึ่ง

วิธีที่ 41 หัดใช้ “คำ ชมบุคคลที่ 3” ให้เป็นประโยชน์
คำพูดเพียงประโยคเดียวของบุคคลที่ 3 ดีกว่าพูดเอง 100 ประโยค

วิธีที่ 42 ไม่ว่ากรณีใด จงอย่าใช้ “คำข่มขู่”
คนเหมือนกันจะให้ใครกลัวใครนั้นยาก คิดจะใช้คำข่มขู่เพื่อบรรลุเป้าหมาย สู้ใช้กำลังเลยจะดีกว่า

วิธีที่ 43 ไม่โน้มน้าวด้วยการหักหาญน้ำใจ
โน้มน้าวผู้อื่นให้คล้อยตามด้วยการหักหาญในด้านความคิดก็เท่ากับตบปากตัวเอง

วิธีที่ 44 ใช้ “หัวใจที่มีความรู้สึกร่วมกัน” ในการเกลี้ยกล่อมเจรจา
วิธีเกลี้ยกล่อมด้วยการทำให้เกิดความรู้สึกร่วมจะได้ผลดียิ่งขึ้น หากหลีกเลี่ยงเรื่องที่อีกฝ่ายหนึ่งถือสาและเริ่มพูดจากเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจ

วิธีที่ 45 รู้จักใช้เทคนิค “ยั่วยุแม่ทัพ”
หากฝ่ายตรงข้ามเป็นคนอนุรักษ์นิยม เวลาจะใช้ยุทธวิธียั่วยุแม่ทัพก็ควรใคร่ครวญดูก่อนว่า การกระทำของเราจะบรรลุเป้าหมายได้หรือเปล่า

วิธีที่ 46 เอาชนะการเจรจาด้วยการแสดงพลังอำนาจ
ใ น ข ณ ะ เ จ ร จ า เ ก ลี้ย ก ล่อ ม โ น้ม น้า ว ผู้อื่นพลังอำนาจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวด

วิธีที่ 47 ใช้ความจริงโน้มน้าวจิตใจ
ความจริงเท่านั้นที่จะทำให้คนเกิดความซาบซึ้งใจ เวลาเจรจาเกลี้ยกล่อมไม่ควรแสร้งทำเป็นจริงมิฉะนั้นแล้วผลที่ตามมาจะยิ่งแย่ลง

วิธีที่ 48 รู้จักหยอด “คำหวาน”
คนที่พูดจานุ่มนวลใช่ว่าจะต้องเป็นคนอ่อนแอเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะเขาเป็นคนใจกว้าง คนที่พูดจาแข็งกระด้างก็ใช่ว่าเป็นคนหยิ่งในศักดิ์ศรี แต่อาจเป็นเพราะเขาเป็นคนใจคอคับแคบ

วิธีที่ 49 ชี้ให้เห็นถึงข้อเสีย บอกให้รู้ถึงข้อดี
ไม่ว่าใครต่างก็ย่อมจะเลือกทางที่ได้มากกว่าเสียชี้ให้เห็นถึงข้อดี บอกให้รู้ถึงข้อเสีย และย่อมรู้จักเลือกในทางที่ฉลาด

วิธีที่ 50 หมั่นยกย่องพูดให้กำลังใจ
การให้กำลังใจที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่เสมอให้ผลดีมากกว่าการให้กำลังที่ไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ

วิธีที่ 51 สิ่งต้องห้ามในการพูดกับเจ้านาย
ผู้บังคับบัญชา คือ ผู้กำชะตาอนาคตทางการงานของเรา หากพูดจาไม่ดูกาลเทศะให้ดีอาจนำภัยพิบัติมาสู่ตัวเองได้ โปรดระวังให้ดี

วิธีที่ 52 จงระวัง อย่าใช้คำพูดล่วงละเมิดต่อหน้าเจ้านาย
หากเราใช้คำ พูดเอาชนะผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านายต่อหน้าผู้คน เราก็อาจโดนไล่ออกต่อหน้าผู้คนเช่นกัน

วิธีที่ 53 ต้องเรียนรู้เทคนิคในการเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชา
จงอย่าได้เป็นคนที่ว่า พอเห็นผู้บังคับบัญชาสีหน้าไม่ดีก็รีบเปลี่ยนความคิดในทันที จงยืนหยัดในความคิดของตัวเอง แต่อย่ายืนหยัดในการแสดงความคิดเห็นด้วยท่าทีที่ยโสโอหังแล้วผู้บังคับบัญชาก็จะมองเห็นความมุมานะอย่างไม่ระย่อท้อถอยของเรา

วิธีที่ 54 ล้อเล่นต้องดูกาลเทศะ
จะสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานนั้นทำ ได้แต่ต้องระวังอย่าทำ ให้เหตุการณ์เกิดกลับตาลปัตรมิฉะนั้นแล้วเรื่องตลกอาจทำให้เราหัวเราะไม่ออกก็ได้

วิธีที่ 55 อย่าโอ้อวดตัวเองต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน
ความสามารถที่แท้จริงไม่ใช่อยู่ที่การคุยโวออกมาหากคิดจะยืนหยัดอย่างมั่นคงในที่ทำงาน วิธีที่ดีที่สุด คือ การใช้สมองให้มาก และลงมือปฏิบัติให้มาก

วิธีที่ 56 เรื่องที่ยากจะเอ่ยปากใช้วิธีบอกทางอ้อม
อ้อมค้อม ไม่ใช่อ้อมโลก ไม่อย่างนั้นแล้ว พูดอยู่ครึ่งวันก็มีแต่คำพูดที่หาสาระไม่ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นสู้ไม่พูดยังจะดีกว่า

วิธีที่ 57 เวลาตำหนิหรือตักเตือนอย่าใช้ถ้อยคำรุนแรง
หากความผิดหรือเรื่องราวทำ นองเดียวกันมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดซ้ำ ก่อนที่จะตำหนิด่าว่าใครควรไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน

วิธีที่ 58 คำเตือนฟังแล้วขัดหู แค่จี้ถูกจุดก็พอ
“คำเตือนฟังแล้วขัดหู” คำพูดประโยคเดียวอาจทำให้ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาหรืออาจนำมาซึ่งภัยพิบัติสู่ตัวเองก็ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะเอ่ยคำเตือนใด ๆ ออก
จากปากต้องคำนึงถึงวิธีการที่จะใช้ให้มาก รอบคอบอย่างที่สุด เพียงจี้ถูกจุดก็พอ เผื่อเป็นช่องทางถอยให้กับอีกฝ่ายหนึ่งบ้าง

วิธีที่ 59 ชี้ให้เห็นความผิด แต่ไม่ทำให้เสียหน้า
หน้าตา คือ ป้ายบอกยี่ห้อที่ติดตัวเราไปตลอดชีวิต ความผิด คือ ฝุ่นละอองที่ติดอยู่บนป้าย เมื่อใดที่คนสองคนเกิดข้อขัดแย้งกับผู้ตำหนิต้องช่วยรักษาป้ายยี่ห้อของอีกฝ่ายไว้ก่อนแล้วจึงค่อยเช็ดฝุ่นละอองบนป้ายนั้นออก

วิธีที่ 60 เอาใจลูกน้อง มีวิธี
ประจบ ผู้ใต้บังคับบัญชาแค่คำพูดคำเดียวก็ทำให้เขาดีใจไปนาน

วิธีที่ 61 พูดกับตัวเอง ก็เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง
พูดกับตัวเอง หากใช้ได้ถูกที่ถูกเวลาแล้วยังจะได้ผลดีกว่าพูดตามความเป็นจริงเสียอีก ในเมื่อพบกับสถานการณ์ที่อึดอัดลำบากใจหรือไม่สะดวกที่จะพูดตรงๆ
ดังนั้น การพูดกับตัวเองอาจช่วยแก้ปัญหาได้

วิธีที่ 62 พูดในที่ชุมชนต้องสั้นและได้ใจความ
ต้องจดจำหลักการในการพูดในที่ชุมชนข้อหนึ่งที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นโอกาสไหน ในสถานที่เช่นไร หัวข้อที่จะพูดจะเป็นหัวข้ออะไรก็ตาม ก็จะต้องพยายามพูดให้
กระชับและได้ใจความมากที่สุด หลีกเลี่ยงการพูดซ้ำซากไม่ตรงประเด็น

วิธีที่ 63 จงศึกษาทำความรู้จักผู้ฟังก่อนขึ้นพูด
นักอภิปรายที่ประสบความสำเร็จ เป็นเพราะรู้ว่าต้องพูดอย่างไรจึงจะถูกใจคนฟัง พูดถูกใจ ไม่ใช่ประจบประแจง มิฉะนั้นแล้ว จะทำให้คนฟังเกิดความเอือมระอา

วิธีที่ 64 ฉลาดใช้เทคนิค “ยอมลดตัวลงต่ำก่อน เพื่อจะขึ้นสูงในภายหลัง”
ภูเขามีสูงมีต่ำ ชีวิตคนเราก็เช่นกัน มีตกต่ำมีขึ้นสูง ต้องรู้จักไขว่คว้าช่วงจังหวะที่จะนำชัยชนะมาสู่ตนเอง

วิธีที่ 65 คำพูดที่ออกจากใจ คือ สุดยอดคำพูดที่ได้ใจคนฟัง
เมื่อมีความเข้าใจและได้แลกเปลี่ยนความรู้สึกซึ่งกันและกันก็ย่อมจะมีพื้นฐานทางจิตใจที่จะยอมรับซึ่งกันและกัน คำพูดก็ย่อมจะเข้าถึงจิตใจของอีกฝ่าย

**************

ที่มา
จากหนังสือ 65 วิธีพูดดีดีได้ใจคน โดย ทิภาพร เยี่ยมวัฒนา แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คุณธรรม, 2552.


Create Date : 07 กันยายน 2555
Last Update : 7 กันยายน 2555 18:54:05 น. 2 comments
Counter : 26046 Pageviews.

 
ใคร


โดย: ชลธิชา การีม IP: 182.52.3.34 วันที่: 3 สิงหาคม 2556 เวลา:11:06:47 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ
//www.herb2016.com/อาหารเสริมลดน้ำหนัก


โดย: บอย IP: 118.174.211.79 วันที่: 15 สิงหาคม 2559 เวลา:15:36:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.