ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
3 มิติ การดู การทำแว่นตา การทำงาน ภาพยนตร์

ปัจจุบันใครไม่เคยดูภาพยนตร์ 3 มิติ โปรดจงรู้ว่ากำลังตกยุคเพราะสิ่งที่ทำให้เราต่างกับคนยุคก่อนนั่นคือการมองเห็นเป็น 3 มิติ มีหนังออกใหม่ หลายๆ เรื่องมักจะทำออกมาในรูปแบบ 3 มิติควบคู่ไปกับแบบปกติ เพราะเทคโนโลยีของบลูเรย์ที่มีภาพละเอียดสูงและดูสมจริงมากยิ่งขึ้น

การดูภาพจากสองมิติธรรมดาให้กลายเป็นสามมิตินั้นออกจากยุ่งยากสักหน่อยเพราะแล้วแต่ว่ามันจะดูภาพแบบไหน ลองมาทบทวนกันสักเล็กน้อยก่อน

แว่นตา 3 มิติ (Active Shutter Glasses) ทำงานอย่างไร?
(ข้อมูลจาก arip ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์)

หลักการพื้นฐานของการทำให้ผู้ชมเห็นภาพ 3 มิติก็คือ การทำให้ตาแต่ละข้างของผู้ชมมองเห็นภาพที่มีมุมมองต่างกัน เช่น การซ้อนภาพสีน้ำเงิน-แดง (ภาพสีแดง และภาพสีน้ำเงินที่ซ้อนกันอยู่จะมีมุมองต่างกัน) และใช้แว่นตาน้ำเงิน-แดงเป็นตัวแยกภาพสองภาพ โดยแว่นตาข้างสีแดงจะมองเห็นภาพสีน้ำเงิน ในขณะแว่นตาที่สวมข้างสีน้ำเงินทำให้มองเห็นภาพสีแดง เมื่อตาสองข้างมองเห็นภาพไม่เหมือนกันพร้อมกัน ภาพ 3 มิติจึงเกิดขึ้น



สำหรับ Active Shutter Glasses ก็ยังคงหลักการเดียวกันในการสร้างภาพสามมิติ นั่นคือ ทำอย่างไรให้ตาแต่ละข้างของผู้ชมมองเห็นภาพทีมีมุมมองต่างกัน แต่แทนทีจะใช้ภาพซ้อนกัน แล้วใช้แว่นตาแยกภาพด้วยการใช้สีแดงน้ำเงิน หรือช่องการมองเห็น แต่ด้วยวิธีที่ทีวีสามมิติรุ่นปัจจุบันใช้กัน (โดยเฉพาะ Samsung) จะใช้การแสดงภาพ 2 ภาพที่มุมมองต่างกันสลับไปมาอย่างรวดเร็ว ในขณะที่แว่นตา Active Shutter Glassses จะทำหน้าที่เหมือนชัตเตอร์ที่คอยปิดหน้าเลนส์สลับไปมาอย่างรวดเร็ว โดยที่การเปิดปิดของแว่นตาแต่ละข้างจะสอคคล้องกับภาพที่สลับบนหน้าจอ เพื่อให้ผู้ชมได้มองเห็นภาพสำหรับตาซ้าย และตาขวาในเวลาใกล้เคียงกันมาก ผลลัพธ์ก็คือ ผู้ชมเห็นภาพทีปรากฎบนหน้าจอเป็น 3 มิติขึ้นมานั่นเอง



ส่วนประวัติศาสตร์ภาพ 3 มิตินั้น มีความเป็นมาดังนี้

เวลาที่เราถ่ายรูปแล้วอัดภาพลงกระดาษ ภาพที่เรามองนั่นคือ ภาพ 2 มิติที่ขาดความลึก ท่านเซอร์ ชาลส์ วีทสโตน (Sir Charles Wheatstone) เลยคิดที่จะจำลองภาพ 3 มิติ ที่เรียกว่า หลักการมองภาพแบบสเตอริโอ (Stereopic Vision) ขึ้นมาเป็นคนแรก

หลักการเกิดภาพ 3 มิติ

การที่เรามองภาพเป็น 3 มิติได้นั้น เกิดจากมุมมองของสายตาที่เห็นภาพของวัตถุ ผ่านตาทั้ง 2 ข้างทำให้เห็นถึงความลึก-ตื้น และกระบวนการทางสมองจะประมวลภาพจาก 2 ตาให้เป็นรูปเดียวกัน ดังนั้นการจะทำภาพ 3 มิติจึงอาศัยหลักการทำงานนี้ในชื่อ Stereo Scope

วิธีการทำภาพ 3 มิติด้วยเทคนิค Stereo Scope

เพียงแค่หากล้องถ่ายรูปที่มีรุ่น - ยี่ห้อเดียวกัน ตั้งค่าการถ่ายให้เหมือนกันทุกประการ ทั้งค่าความไวแสง ISO ความเร็วชัตเตอร์ ความยาวโฟกัส (อย่าใช้โหมด Auto ปรับเองจะดีกว่า) แล้วตั้งกล้องทั้ง 2 ตัวบนขาตั้งหรือพื้นผิวในระดับเดียวกันให้เหมือนตา 2 ข้างของเรา (จำให้ได้ด้วยว่าภาพไหนมาจากกล้องตัวไหน) จากนั้นกดชัตเตอร์พร้อมๆ กัน แล้วเอาไฟล์ไปอัดลงกระดาษแยกไฟล์ทั้งข้างซ้ายและขวา

จากนั้นนำทั้ง 2 รูปมาวางเพื่อดูโดยมีหลักการดู 2 แบบคือ
1. ดูแบบสลับตา (Cross-Eye View) โดยวางภาพจากกล้องซ้ายไว้ด้านขวา และภาพด้านขวาวางไว้ทางซ้าย จากนั้นจ้องด้วยตาเปล่าจนภาพรวมกันเกิดเป็นภาพ 3 มิติ (อาจจะดูยากนิดนึง)
2. ดูแบบขนาน (Parallel View) วางภาพตามปกติทั้ง ซ้าย-ขวา

เทคนิคการดูภาพ 3 มิติ
เอาหน้าเข้าไปจ้องภาพใกล้ๆ แล้วค่อยๆ ถอยออกมา ขณะที่ถอยออกมา ให้ใช้ตาทั้งสองข้าง มอง 'ทะลุ' ภาพไป เหมือนกับว่ามีจุดโฟกัสอยู่ด้านหลังของภาพ พอเริ่มเห็นภาพ 3 ภาพ ให้พยายามจ้องไปยังภาพที่อยู่ตรงกลาง จนกระทั่งตาสามารถปรับได้ และมองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ

หรือ ใช้อุปกรณ์ Stereo Viewer ที่ทำจากเลนส์นูนแทนแว่นตา จะช่วยให้มองเห็นภาพได้ง่ายกว่าการจ้องด้วยตาเปล่า (การดูแบบนี้ไม่ทำให้เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อตา หรือมึน)

ภาพเหลื่อม (Anaglyph Image)
ถ้าการมองภาพด้วยวิธีข้างบนมันลำบากนัก ลองเปลี่ยนมาใช้เทคนิคนี้กันดีกว่า เทคนิคนี้คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Du Hauron โดยอาศัยหลักการตัดกันของสี ซึ่งเป็นวิธีที่หลายคนคุ้นเคย



วิธีทำก็คล้ายกัน คือ ถ่ายภาพเดียวกันด้วยกล้อง 2 ตัว แยกซ้ายกับขวา จากนั้นเอาไฟล์ภาพที่ได้มาแยกสี โดยทำโหมดภาพใน Photoshop ให้เป็น RGB แล้วตัดสีภาพจากกล้องซ้ายให้เหลือแต่สีฟ้าอมเขียว หรือ น้ำเงิน แล้วตัดสีภาพขวาให้เหลือแต่สีแดง จากนั้นเอา 2 ภาพมาซ้อนกัน ซึ่งจริงๆ แล้วการวางภาพเหลื่อมนี้ไม่ได้บังคับตายตัวว่าสีไหนต้องอยู่ข้างใด แต่แว่นตาที่ใช้สำหรับดูภาพนี้ต้องใส่ Filter (ที่ทำจากกระดาษแก้ว) ให้สลับด้านเท่านั้น เช่น ถ้ากำหนดให้ภาพสีแดงเหลื่อมทางด้านขวา ก็ต้องใช้แว่นที่ filter สีแดงอยู่ที่ตาซ้าย เป็นต้น

ลองเอาไปทำกันดูนะจ๊ะ ใครทำออกมาแล้วได้ผลยังไงก็อย่าลืมเล่าให้เราฟังด้วยล่ะ ^^

ส่วนวิธีการทำแว่น 3 มิติไว้ดูกับภาพที่ใช้เทคนิคภาพเหลื่อมแบบบ้านๆ ก็ลองดูได้จากคลิปตัวนี้




Create Date : 14 ธันวาคม 2553
Last Update : 14 ธันวาคม 2553 0:03:29 น. 1 comments
Counter : 6655 Pageviews.

 
Gclubclick ศูนย์รวมคาสิโนดัง พนันบอล แค่คลิกเดียวที่มีให้ท่านได้ร่วมสนุกกับเราไม่ว่าจะเป็นคาสิโนยอดนิยม และคาสิโนใหม่ ๆ เช่น GClub , Royal1688 , Ruby888 , Holiday-Palace , Genting-Crown ,Reddragon88 ท่านจะได้สัมผัสบรรยากาศจริง sภายในคาสิโนจริงทุกเกมส์การ เล่นตื่น เต้นเราใจ และนอกจากคาสิโนคุณภาพที่เราคัดสรรมาให้ ท่าน แล้วทาง
Gclubclick.com เองยังมี SportBetting Onlineให้ท่านได้เลือกเดิมพนันกีฬาโปรด ที่ท่านชื่นชอบอย่างจุใจ อาทิ เช่น SBOBET ,IBCBET , WinningFT , MMMBET ท่าน สามารถเปิดเล่นกับเราได้แล้ววันนี้ ทางเรามีพนักงาน Call Center ไว้คอยบริการท่านด้วยความเป็นกับเองประทับ ในตลอด 24 ชม.
ติดต่อสอบถาม 24 ชัวโมง
081-122-5019 , 081-122-4019 , 080-559-7275
//www.Gclubclick.com
//gclubclick.blogspot.com/


โดย: gclubclick IP: 183.89.74.138 วันที่: 14 มีนาคม 2555 เวลา:17:58:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.