ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
9 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
พบหลักฐานใหม่ ณ เขาพระวิหาร !?

หากว่าเขาพระวิหาร ที่คนไทยคนอยู่ เคยเที่ยว เคยมีประวัติศาสตร์มายาวนานไม่ใช่ของไทย คิดแล้วใจหาย...แต่หลักฐานใหม่อาจจะทำให้เรามีความหวังมากขึ้นแน่นอน..

พบหลักฐานใหม่ ณ เขาพระวิหาร !?


ภาพ ปราสาทพระวิหารบนหน้าผาสูงชัน



นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ประชาชนชาวไทยหลายคนเพิ่งจะได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลความผิดปกติในเรื่องข้อผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชาในเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ที่ฝ่ายไทยได้เริ่มกลับมายอมรับเป็นครั้งแรกในการเจรจากับกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2543

เวลาทำให้เราได้เรียนรู้กฎหมายระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในกรณีนี้จาก ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้ที่ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง นอกจาก ศ.ดร.สมปองจะทำงานในคณะทนายความของฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหารที่พยายามโน้มน้าวให้ตัดคำฟ้องอำนาจการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารแล้ว ศ.ดร.สมปอง ยังเป็นที่ยอมรับด้านกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก โดยเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการและรองประธานกรรมาธิการด้านกฎหมายขององค์การสหประชาชาติด้วย

ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ได้เตือนและทำความเข้าใจถึงความหวาดกลัวอย่างผิดๆของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ และนักการเมืองไทยต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าไทยอาจเสียดินแดนมากกว่านี้หากไม่ยอมใส่แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ตามที่กัมพูชาร้องขอในบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 หรือ MOU 2543 เพื่อให้คนไทยได้รู้เท่าทันว่า ไม่มีใครในโลกมาบังคับให้ประเทศไทยต้องเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้


ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ



ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ได้ชี้ประเด็นให้ทราบว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะไม่สามารถพิพากษาหรือขยายผลนอกประเด็นไปจากผลคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารได้ และแม้แต่ปราสาทพระวิหารที่ศาลตัดสินว่าอยู่บนอธิปไตยและดินแดนของกัมพูชานั้น ฝ่ายไทยก็ยังสงวนสิทธิ์นั้นได้จนมาถึงปัจจุบัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักฐานที่มีอยู่ในเว็บไซต์ปัจจุบันของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ระบุอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในรายชื่อของประเทศที่ประกาศยอมรับการบังคับของคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนับตั้งแต่คำตัดสินคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา

ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ได้เขียนบทความสอนให้ประชาชนรู้เท่าทันนักการเมือง ที่ทำให้คนไทยหลงเข้าใจผิดในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงว่า MOU 2543 และ JBC คือกระบวนการเดียวเท่านั้นที่ทำให้องค์การสหประชาชาติ และนานาชาติไม่เข้ามาแทรกสอดระหว่างไทย-กัมพูชา ทั้งๆ ที่องค์การสหประชาติและนานาประเทศไม่สามารถมาข้องเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชาได้หากข้อพิพาทนั้นไม่ได้ส่งผลสะเทือนสันติภาพของโลก ตามกฎบัตรสหประชาชาติและกฎบัตรอาเซียน รวมถึงประเพณีปฏิบัติของทุกประเทศ

และหากตั้งสติข้อคิดจาก ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล และย้อนไปดูเหตุการณ์ในอดีตก็จะยิ่งเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าข้อพิพาทระหว่างทวิภาคี (2 ประเทศ) ไม่มีใครที่ไหนมาข้องเกี่ยวได้ ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในการปะทะกันในอดีตระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ก็ไม่เห็นว่าจะมีองค์การสหประชาชาติหรือประเทศไทยเข้ามาเกี่ยวข้องได้แม้แต่น้อย



ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ



นอกจากนี้ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก คณบดีคนแรกของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจบการศึกษาทั้งปริญญาโทและเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยตรงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าให้ยกเลิก MOU 2543 เพื่อล้มกระดานในความผิดพลาดทั้งหมด โดยศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญยังได้ให้ข้อมูลต่อสาธารณะที่เป็นประโยชน์ด้วยว่าหากไทยถอนตัวออกจากเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะทำให้เป็นผลดีที่ทำให้ประเทศไทยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ทำให้ต้องเสียผลประโยชน์ของประเทศชาติในกรณีเขาพระวิหาร โดยไม่มีข้อกำหนดใดๆที่จะมีการเพิกถอนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยไทยซึ่งขึ้นทะเบียนไปแล้วก่อนหน้านี้


นายนาม ยิ้มแย้มผู้พิพากษาผู้ทรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง กล้าหาญ และยุติธรรม


รวมถึง นายนาม ยิ้มแย้ม ผู้ที่มีอาชีพเป็นตุลาการมาตลอดชีวิต เป็นผู้ที่วางตัวเป็นกลาง ยุติธรรม และไม่มีเรื่องด่างพร้อย ไม่เคยมาชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และไม่เคยได้รับตำแหน่งหรือผลประโยชน์ใดๆกับรัฐบาลประชาธิปัตย์ ก็ยังให้ความเห็นว่าน้ำหนักเหตุผลของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีมากกว่ารัฐบาล ส่วนเหตุผลของฝ่ายรัฐบาลนั้นฟังไม่ขึ้นและอาจทำให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดน

ผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของสังคม ได้ออกมาแสดงความเห็นในทิศทางเดียวกันถึง 3 คน ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนายนาม ยิ้มแย้ม ผู้พิพากษาที่วางตัวเป็นกลางและมีความกล้าหาญ ต่างไม่เห็นด้วยกับการกอด MOU 2543 ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะทั้งสิ้น

ถึงเวลาที่รัฐบาลจะฟังแล้วหรือไม่?

ต้องระวังเอาไว้ว่าหากยังดื้อรั้นต่อไป ไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่ฟังเสียงผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ทั้งๆ ที่เหตุผลสำคัญของรัฐบาลในการกอด MOU 2543 ได้ถูกหักล้างไปหมดแล้ว หากยังไม่มีการแก้ไขความสุ่มเสี่ยงทั้งหลายที่เป็นผลมาจากการผูกพันแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 แล้ว อาจถูกประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่า…

“เสียชาติเขาไม่ว่า เสียหน้ามาร์คไม่ยอม” หรือไม่?

อันที่จริงนอกจากผู้อาวุโสทั้ง 3 ท่าน ที่ให้องค์ความรู้อย่างมีน้ำหนักชี้ทางสว่างให้กับประชาชนและนักการเมืองในประเทศแล้ว ในอีกด้านหนึ่งมีบุคคลอีกจำนวนไม่น้อยที่พยามมหาหนทาง และหลักฐานในการต่อสู้กับกัมพูชา หนึ่งในหลักฐานที่น่าสนใจคือการใช้เทคโนโลยีที่มนุษย์ในโลกสามารถเข้าถึงได้ด้วยตัวเองนั่นก็คือ กูเกิล เอิร์ธ (Google Earth) ที่รวบรวมภาพถ่ายทางดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงบอกตำแหน่งเส้นรุ้งและเส้นแวงทั่วโลกอย่างละเอียดยิ่งนัก

วิธีการก็คือ นำตำแหน่งดาวเทียมใน กูเกิล เอิร์ธ มาวาดแล้วทาบลงไปกับ แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งฝ่ายกัมพูชากำลังอ้างอิงอยู่นั้น ก็จะเห็นความผิดพลาดของแผนที่อย่างใหญ่หลวงประจานไปทั่วโลก จนอาจถึงขั้นสรุปเป็นหลักฐานชิ้นใหม่ เพื่อพิสูจน์ว่าแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 เมื่อ 103 ปีที่แล้ว เป็น “แผนที่เท็จ”



Chayut Ratanapong เพื่อนชาวเฟสบุ๊กที่รักชาติช่วยค้นหาความเป็นเท็จของแผนที่ฝรั่งเศส



หนึ่งในผู้ที่มีความพยายามและน่าชื่นชมที่ทุ่มเทค้นหาความจริง คือเพื่อนในเฟสบุ๊คคนหนึ่ง ชื่อ Chayut Ratanapong ได้เขียนบทความลงในเฟสบุ๊คของตัวเองชื่อ “แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จงใจเลื่อนตำแหน่งเขาพระวิหารหรือไม่? ซึ่งได้นำแผนที่ของกัมพูชาซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1908 มาเทียบกับเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิล เอิร์ธ แล้วพบว่า:

แผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นเท็จ โดยเฉพาะแนวสันปันน้ำตามแนวหน้าผาในระวางดงรักนั้นคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก เป็นผลทำให้แผนที่ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวผิดพลาดห่างจาก “สันปันน้ำและหน้าผาจริง” กินเข้ามาในดินแดนไทยถึง 4.49 กิโลเมตร ในขณะที่บางจุดก่อนถึงช่องสะงำผิดพลาดกินล้ำเข้ามาในดินแดนไทยไปถึง 9.78 กิโลเมตร โดย ขออนุญาตนำความบางตอนที่สำคัญในบทความของ Chayut Ratanapong ดังนี้



ภาพแสดงเปรียบเทียบ เส้นสีแดงได้มาจาก กูเกิล เอิรธ์ วัดตำแหน่งเส้นรุ้งและเส้นแวง เทียบกับแนวหน้าผาและเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งเป็นเท็จและไม่สามารถยึดตามแผนที่ของฝรั่งเศสได้



โดยในภาพนี้อธิบายสีของแต่ละเส้นดังนี้คือ เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N), เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก(E) , เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน, เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง, เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km, เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km, รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 km

เส้นสีแดงคือแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000

เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า เส้นชั้นความสูงที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude 14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร

ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนโดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร

การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรุ้งเส้นแวง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร

ถ้าใช้หลักการนี้ ก็จะพบว่าบางพื้นที่อย่างเช่นกรณีใกล้ๆกับช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ แผนที่ของฝรั่งเศสผิดพลาดจากแผนที่ตาม กูเกิล เอิรธ์ ถึง 9.78 กิโลเมตร



ภาพแสดง ตำแหน่งที่แท้จริงของเส้นเขตแดนตาม กูเกิล เอิรธ์ (สีแดง)ระวางดงรัก เทียบกับ เส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ของฝรั่งเศส (สีม่วง)



หากรัฐบาลไม่ใจแคบ ลดอัตตาลง และเห็นประโยชน์ของชาติ มากว่าการรักษาหน้าด้วยการปกป้องความผิดพลาดในอดีต สิ่งที่ควรทำก็คือระดมพลังคนในชาติมาร่วมกันขจัดและหยุดยั้งแผนที่อัปยศของฝรั่งเศส จะไม่ดีกว่าหรือ !?

ที่มา
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000157524


Create Date : 09 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2553 17:37:52 น. 2 comments
Counter : 1061 Pageviews.

 
อยากให้ปัยหาไทย-กัมพูชา สงบลงเร็วๆ


โดย: ผู้หวังดี IP: 125.26.123.91 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:10:17:11 น.  

 
อยากให้ทั้งสองประเทศรักกัน จะได้ไม่มีเหตุการณ์


โดย: ขอความช่วยเหลือ IP: 125.26.123.91 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:10:21:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.