บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
30 พฤศจิกายน 2548
 
All Blogs
 

วิเคราะห์โลกด้วยภูมิปัญญาตะวันออก(ต่อ)





ยังคงลงบทความนี้อย่างต่อเนื่องเป็นวันที่สองนะครับ โปรดติดตาม

--------------------------------------------

วิเคราะห์โลกด้วยภูมิปัญญาตะวันออก (2)

โดย ยุค ศรีอาริยะ 23 พฤศจิกายน 2548 18:34 น.


มองวัฒนธรรมผ่านมิติแห่งหยินกับหยาง

นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้น และตั้งคำถามว่า

"อาจารย์กำลังบอกว่า วัฒนธรรมตะวันตก "เลว" ตะวันออก "ดี" ใช่ไหม"

ผมกล่าวตอบ

ถ้าเรามองโลกแบบนี้ ก็เท่ากับว่า เรามองโลกแบบดีและเลวอีก หรือแยกเป็นสองขั้วแบบง่ายๆ อีก ตามวิถีการมองโลกแบบตะวันตก

ความจริงแล้ว วัฒนธรรมที่ก่อตัวขึ้นในโลกนี้ มีความหลากหลาย

ในแต่ละชุดวัฒนธรรมที่ปรากฏขึ้นในโลกนั้น มีทั้งข้อดี และข้ออ่อน ในตัวเอง เพียงแต่เราไปหลงยึดติดเอง หรือยึดถือว่า ปรัชญา ทฤษฎี ความรู้ และวัฒนธรรมตะวันตกเท่านั้นเป็นวิทยาศาสตร์ สูงสุด หรือจริงแท้แน่นอน

การเรียนรู้ที่ผ่านมาจึงไปให้ "ค่า" ความรู้และวิถีวัฒนธรรมแบบตะวันตกอย่างมาก เพราะไปถือว่า คำสอน หรือการเรียนรู้จากตะวันตกเป็น "วิทยาศาสตร์" ส่วน "ความรู้" และ "ชุดภูมิปัญญา" หรือวัฒนธรรมอื่นๆ นั้นล้วนแล้วแต่เป็น "Myths" หรือ "ไสยะ" ซึ่งต่ำค่ากว่า หรือถูกอธิบายว่าเป็นเรื่องลึกลับที่จับต้องได้ยาก และพิสูจน์ให้เห็นจริงอย่างแน่นอนไม่ได้

ผมกล่าวเพิ่มอีกว่า

ความจริงแล้ว วัฒนธรรมไม่ได้แบ่งออกเป็น "ตะวันออก" หรือ "ตะวันตก"

วัฒนธรรมของมนุษยชาติมีความหลากหลาย และมีการประสมประสานกัน

ในขณะเดียวกัน กระแสวัฒนธรรมนั้นเคลื่อนไปอย่างไม่มีพรมแดนสังกัดที่แน่นอน และพัฒนาสู่ความไร้พรมแดน ราวกับการเคลื่อนตัวของสายน้ำ ที่มีแหล่งก่อเกิดจากต้นกำเนิดที่หลากหลาย แต่ก็ไหลมาบรรจบกันจนเกิดสายน้ำขนาดใหญ่ และในที่สุด ก็จะไหลไปรวมกันในทะเล หรือมหาสมุทร

เหตุที่ระบบการศึกษาที่เราเรียนแยกวัฒนธรรมออกเป็น "ตก" และ "ออก" ก็เนื่องจากชนชั้นนำทางโลกตะวันตกเองได้สร้างคำว่า "วัฒนธรรมตะวันตก" ขึ้นมา โดยพยายามอ้างว่า สายวัฒนธรรมตะวันตกนั้นมีความเป็นมาที่พิเศษกว่าสายวัฒนธรรมอื่นๆ ซึ่งมีพัฒนาการมาจากนครรัฐกรีก และโรมัน และมาพัฒนาเติบใหญ่ในยุโรป

สายวัฒนธรรมนี้เท่านั้นคือที่มาของคำภาษาอังกฤษว่า "Civilization" ที่แปลว่า วัฒนธรรมที่รุ่งเรือง หรือใช้ความว่า "อารยธรรม" ส่วนสายอื่นๆ เป็นสายวัฒนธรรมที่ป่าเถื่อน และไม่เป็นวิทยาศาสตร์

เมื่อชนชั้นนำในโลกตะวันตกสร้างคำว่า "วัฒนธรรมตะวันตก" ขึ้น การแยกโลกวัฒนธรรมออกเป็น "ตะวันออก" เป็น "ตะวันตก" ก็ก่อเกิดตามมา

ผมกล่าวกับนักศึกษาว่า

"ถ้าพวกคุณจำได้ เวลาเราเข้าเรียนขั้นมหาวิทยาลัย เราต้องเรียนวิชา 2 วิชา วิชาหนึ่งคือ วิชาว่าด้วย อารยธรรมตะวันตก อีกวิชาเรียกว่า อารยธรรมตะวันออก"

ผมกล่าวย้ำว่า

ผมเองไม่เห็นด้วยกับการแยกสายวัฒนธรรมอย่างที่นักวิชาการตะวันตกอ้าง

และที่เลวร้ายกว่าคือ การบ่งบอกว่า อะไรคือระบบวัฒนธรรม หรือใช้คำว่า "อารยธรรม" ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Civilization" ยิ่งสร้างปัญหา เนื่องจากคำว่า "civil" มาจากคำว่า "เมือง" และเจาะจงเฉพาะเมืองขนาดใหญ่ หรือนครรัฐ โดยเฉพาะนครรัฐกรีกเท่านั้น

นี่หมายความว่า การเข้าใจแบบตะวันตกอธิบายว่า มนุษยชาติก่อนยุคเมืองขนาดใหญ่ และจักรวรรดิการเมืองโบราณ "ป่าเถื่อน"

วิชาประวัติศาสตร์ของตะวันตก รวมทั้งวิชาประวัติศาสตร์ไทย จึงเริ่มจากเมืองขนาดใหญ่ และอาณาจักรเท่านั้น ไม่มีประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้น เพราะถือว่า "ไม่สำคัญ"

ผมถามนักศึกษาว่า

"ใครบ้าง คิดว่า วัฒนธรรมชุมชนโบราณ ป่าเถื่อน"

นักศึกษาหลายท่านกล่าวว่า

"น่าจะป่าเถื่อน"

ผมจึงกล่าวแย้งว่า

"ลองไปเที่ยวทางภาคเหนือ คุยกับชาวเขา หรือไปเที่ยวหลวงพระบางคุยกับชาวบ้าน เราจะเห็นความน่ารัก และความเอื้ออาทรของบรรดาชาวเขา และคนหลวงพระบาง"

เราจะพบว่า ผู้คนชาวเขา และคนหลวงพระบางรักความสงบ และมีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ

นี่หรือคือ พวกป่าเถื่อน!!!

คนที่ป่าเถื่อนน่าจะเป็นพวกเมือง ที่มีชีวิตหลงใหลวัฒนธรรมของสงครามอย่างพวกเรา มากกว่าคนที่มีชีวิตอยู่ในชุมชน

หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง ผมเชื่อว่า วัฒนธรรมของมนุษยชาตินั้น เริ่มก่อกำเนิดขึ้นมาจากการก่อตัวขึ้นมาจากยุคชุมชนโบราณ ไม่ใช่ยุคเมือง หรืออาณาจักรขนาดใหญ่

นักศึกษาท่านหนึ่งถามสวนขึ้นว่า

"ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ที่กล่าวว่า ชุมชนก็มีวัฒนธรรม ... แล้วอาจารย์แยกแยะระบบ หรือ สายวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาในโลก อย่างไร"

ผมขยายความต่อว่า

เราสามารถแยกแยะความแตกต่างทางแบบ หรือสายวัฒนธรรมได้ โดยใช้ศาสตร์ตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสตร์ของเต๋าเรื่อง "หยาง กับ หยิน"

ถ้าใช้หลักหยาง และหยิน ผมคิดว่า เราอาจจะอธิบายแยกแบบวัฒนธรรมโลกออกได้เป็น 2 สาย

สายหนึ่งเป็นหยาง อีกสายหนึ่งเป็นหยิน

สายวัฒนธรรมหยินนั้นเริ่มก่อตัวขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของบรรดาชุมชนโบราณที่ชีวิตอยู่ตามลุ่มน้ำ มีชีวิตอยู่กับการกสิกรรม และการประมง ชุมชนเหล่านี้จะมีฐานการผลิตที่ค่อนข้างยั่งยืน และมั่นคง อาจจะย้อนนับไปตั้งแต่การก่อกำเนิดของอารยธรรมของมนุษยชาติ

ฐานรากของวัฒนธรรมนี้ มีแบบวิถีวัฒนธรรมที่สามารถแยกย่อยได้ ดังนี้

1. ความเอื้ออาทร และการรักกันฉันพี่น้อง

2. การเคารพ และบูชาธรรมชาติ

3. การเคารพบรรพบุรุษ หรือผู้อาวุโส รวมทั้งความเชื่อเรื่องผี และการบูชาผี

4. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย รวมทั้งการรักความสงบ และสันติ

5. การนับถือผู้หญิง หรือผู้หญิงเป็นใหญ่

ส่วนสายวัฒนธรรมแบบหยางนั้น ก่อเกิดขึ้นบนฐานวัฒนธรรมของชนเผ่าที่ร่อนเร่ เลี้ยงสัตว์ สายวัฒนธรรมนี้เติบโตขึ้นจากฐานการผลิตที่มีความจำกัด และไม่เพียงพอ จึงต้องอาศัยการปล้นชิง คนเหล่านี้จะเชี่ยวชาญเรื่องของสงคราม และการรบ โดยเฉพาะการใช้ม้า และธนู และวัฒนธรรมสายนี้จะถือความเป็นชายเป็นหัวใจ

ในสมัยโบราณนั้น กลุ่มที่เรียกว่าเป็นพวกป่าเถื่อนคือ พวกสายหยาง มีชนเผ่าที่สำคัญในประวัติศาสตร์ 4 ชนเผ่าที่น่าสนใจคือ ชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า อารยัน (ยุโรเอเชีย) ชนเผ่าไวกิ้งในยุโรป กับเผ่าที่เรียกตัวเองว่า มองโกลในเอเชีย และเผ่าอินเดียนแดงในทวีปอเมริกา

ชนเผ่าเหล่านี้จะดำเนินชีวิตเหมือนกับกองทัพที่เคลื่อนที่ขนาดเล็กๆ ชอบการต่อสู้ และสงคราม

ในที่สุด สงครามระหว่างสองสายวัฒนธรรมก็ปรากฏตัวขึ้น ชนเผ่าอารยัน 2 สาย สายหนึ่งได้เคลื่อนตัวลงมาทางเอเชีย (อินเดีย) อีกสายหนึ่งไปทางกรีก และทำสงครามรุกรานยึดครองพื้นที่ ที่กลุ่มสายวัฒนธรรมหยินเคยยึดครองมาก่อน

สายวัฒนธรรมหยางได้รับชัยชนะ นี่กลายเป็นที่มาของการประสานกันระหว่างวัฒนธรรมแบบหยางกับหยิน โดยมีวัฒนธรรมหยางเป็นหลัก จนก่อกำเนิดอาณาจักรขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นฐานรากของระบบวัฒนธรรม หรืออารยธรรมทั้งในยุโรป และในเอเชีย

ในเอเชีย ก็คือ วัฒนธรรมฮินดู

ในยุโรป ก็คือ วัฒนธรรมกรีก และสืบทอดด้วยวัฒนธรรมโรมัน

ทั้งสองสายวัฒนธรรมได้วางฐานคิดทางภูมิปัญญา โดยนำเสนอผ่านเป็นมหากาพย์ที่โด่งดังอย่างยิ่งในยุคโบราณ

ในขณะที่ อารยธรรมอินเดียได้ให้กำเนิดมหากาพย์เรื่อง รามเกียรติ์ และ มหาภารตะ นครรัฐกรีก ก็ได้ให้กำเนิด มหากาพย์ อิลเลียด (Iliad) และ ออตดิสซี (Odyssey)

ที่แปลกประหลาดก็คือ เรื่องราวของมหากาพย์ทั้งในอินเดีย และกรีก คล้ายคลึงกัน เป็นเรื่องราวที่สรรเสริญและยกย่องความยิ่งใหญ่ของ "สงคราม"
อธิบายการ "ฆ่า" และการ "ทำลายล้าง" ว่าไม่ใช่เรื่อง "บาป" แต่เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่พระเจ้า เป็นผู้กำหนดให้

ความเชื่อในเรื่องพระเจ้าก็คล้ายคลึงกัน มีพระเจ้าหลายองค์ที่มีชีวิตอยู่กับการต่อสู้ ช่วงชิง และทำสงครามกัน

ในกรณีของอินเดีย วัฒนธรรมหยางของอารยัน ได้กลายเป็นที่มาของการก่อเกิดอาณาจักรขนาดใหญ่ เกิดชนชั้นปกครอง ลัทธิวรรณะ และวัฒนธรรม "สงคราม"

ในที่สุด วัฒนธรรมสงครามก็เป็นบ่อเกิดของการทำลายล้าง และการรบราฆ่าฟัน ระหว่างชาวอารยันด้วยกันเอง

นี่คือ ที่มาของมหากาพย์ "มหาภารตะ" สงครามระหว่างชาวอารยันด้วยกันเอง จนผู้คนต้องล้มตายนับแสนๆ คน

กล่าวอย่างสรุปคือ วัฒนธรรมหยางจะนำโลกสู่ "สงคราม"

สงครามในตัวเอง ก็ก่อให้เกิดพลวัตแห่งสงคราม และการทำลายตัวเอง ในที่สุดวัฒนธรรมอารยันที่ยิ่งใหญ่ เริ่มเสื่อมทรุดลง จนก่อเกิดสภาวะกลียุคขึ้นในอินเดีย

กลียุคครั้งนี้ กลายเป็นที่มาของการแสวงหาใหม่ และเป็นที่มาของการก่อเกิดสายวัฒนธรรมพุทธ และโยคะซึ่งเติบโตขึ้นมาจากเขตชุมชน หรือมีฐานมาจากวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งมีฐานวัฒนธรรมเป็นหยิน

พระพุทธเจ้า ท่านเกิดที่เนปาล ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนชายขอบรอบนอกของวัฒนธรรมอินเดีย แม้ว่าท่านจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ (นักรบ) แต่ท่านเกิดในชุมชน (เมือง) ท่านจึงเรียนรู้และเข้าใจ "ค่า" แห่งวัฒนธรรมชุมชน (แบบหยิน) มาตั้งแต่ยังเยาว์วัย

วัฒนธรรมแบบพุทธ เสนอแนวคิดที่ต่อต้านสงคราม และต่อต้านการแบ่งแยกคนออกเป็นชนชั้น

ในสมัยนั้น วัฒนธรรมพุทธแพร่กระจายไปยังบรรดาชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศอินเดีย จนถึงสมัยพระเจ้าอโศก ท่านได้หันไปยอมรับวัฒนธรรมพุทธ และนำเอาวัฒนธรรมพุทธมาปรับเพื่อรับใช้การก่อเกิดขึ้นของอาณาจักรขนาดใหญ่

นี่สะท้อนออกถึง การสร้างรัฐขนาดใหญ่ และ การประสานกันระหว่างหยางกับหยิน ในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีวัฒนธรรมหยินเป็นหลัก

นักศึกษาคนหนึ่งถามขึ้น

"อาจารย์กำลังบอกว่า อาณาจักรโบราณ แบ่งออกเป็นสองแบบ แบบหนึ่งหยางเป็นหลัก อีกแบบหนึ่งหยินเป็นหลัก อาจารย์ช่วยยกตัวอย่างอาณาจักรแบบหยินเป็นหลักให้ด้วย"

ผมจึงเล่าเรื่องจากบันทึกของท่านฟาเหียน ชาวจีนคนแรกที่เดินทางไปอินเดียประมาณศตวรรษที่ 5 เพื่อศึกษาพุทธศาสนา ท่านได้เดินทางไปที่จักรวรรดิแห่งราชวงศ์คุปต์ และนครมคธ ท่านได้จดบันทึกไว้ว่า

"ผู้คนในราชอาณาจักรมีความเป็นอยู่อย่างผาสุก กษัตริย์ไม่ลงอาญาแก่พสกนิกรด้วยการประทุษร้ายร่างกาย เช่น การเฆี่ยนตี หรือกักขัง ตลอดจนการประหารชีวิต อาชญากรทุกประเภทได้รับอาญาด้วยการปรับสถานเดียว แม้แต่โทษกบฏก็ไม่ถูกประหาร เพียงแต่ถูกตัดมือขวาเท่านั้น ผู้คนไม่ดื่มสุรา และประกอบบุญสุนทาน"

ในกรณีประเทศไทย ผมคิดว่า อาณาจักรสุโขทัยโบราณน่าจะเป็นอีกตัวอย่างที่ชัดๆ ของการสร้างอาณาจักรบนฐานวัฒนธรรมหยิน

ผมกล่าวต่อว่า

ในกรณีของอาณาจักรกรีกและโรมัน วัฒนธรรมกรีก และโรมัน ซึ่งมีฐานอยู่กับสงคราม ในที่สุดก็เสื่อมทรุดลงด้วยสงครามเช่นกัน และถูกท้าทายด้วยการก่อตัวใหม่ของวัฒนธรรมหยิน (ชุมชน) ซึ่งเป็นที่มาของคริสต์ศาสนา ซึ่งเสนอแนวคิดเรื่องความรัก การต่อต้านสงคราม และระบบชนชั้น

ในยุคแรก ชนชั้นนำโรมันจับพระเยซูตรึงไม้กางเขนจนตาย แต่บรรดาชาวชุมชนต่างๆ กลับหันไปนับถือ และศรัทธาต่อคริสต์ศาสนา จนในที่สุดโรมันต้องนำเอาคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาของรัฐ

ในกรณีของจีน การก่อเกิดอาณาจักรขนาดใหญ่แม้จะเริ่มจากวัฒนธรรมหยางในยุคของจิ้นซีฮ่องเต้ ทรราชผู้สามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่สายวัฒนธรรมและการปกครองแบบนี้ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน

ในที่สุด ก็เกิดกบฏชาวนา นำโดยหลิวปัง การกบฏครั้งนี้เป็นที่มาของวัฒนธรรมฮั่น และราชวงศ์ฮั่น วัฒนธรรมฮั่นนี้ได้วางรากฐานอยู่บนสายวัฒนธรรมหยินเป็นหลัก โดยมีฐานมาจากการประสานกันระหว่างปรัชญาเต๋า และขงจื้อ รวมทั้งพุทธในช่วงถัดมา เข้ากับการก่อเกิดขึ้นของอาณาจักรขนาดใหญ่

วัฒนธรรมฮั่นจะเน้นเรื่อง การวางฐานระบบอาณาจักร บนฐานรากจากระบบครอบครัว ที่สร้างสังคมที่ยั่งยืน และให้ความสำคัญต่อการศึกษา และการพัฒนาคน โดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ ซึ่งต่างจากโรม และอินเดียซึ่งเน้นความแตกต่างทางชั้นวรรณะอย่างมาก

ชาวจีนจนถึงทุกวันนี้ จะเรียกตัวเองว่า ชาวฮั่น และภาคภูมิในความเป็นฮั่นมาก

พอถึงช่วงปี ค.ศ. 1206 ถึง 1405 จีนก็ถูกยึดครองโดยมองโกล ชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีชีวิตอยู่กับฐานวัฒนธรรมแบบหยาง

ในยุคมองโกลนี้เอง อาณาจักรจีนสามารถแผ่อำนาจ และขยายอาณาจักรด้วยสงครามไปทั่วโลก

แต่ในที่สุด สงครามที่มีขอบเขตทั่วโลก ก็ทำให้อาณาจักรมองโกลอ่อนแอลง

Zhu Yuan Hang ชาวฮั่นซึ่งเป็นพระ และขอทานได้นำชาวนาจีนก่อกบฏขับไล่ชาวมองโกลออกจากประเทศจีน และฟื้นฟูวัฒนธรรมฮั่น และต่อมาได้สร้างราชวงศ์หมิงขึ้น

ในช่วงปี ค.ศ. 1368 ถึง 1644 ถือได้ว่าเป็นช่วงที่จีนรุ่งเรืองที่สุดทางด้านวัฒนธรรม ก่อนที่ยุโรปจะแผ่อำนาจครอบเหนือระบบโลก

มาถึงช่วงนี้ คงต้องหันมาศึกษายุโรป ถ้าเราศึกษารากวัฒนธรรมของชาวยุโรป เราก็จะเข้าใจว่า ชาวยุโรปมีฐานวัฒนธรรมแบบหยาง

ในสมัยโบราณ ผู้คนในยุโรปจะถูกจัดว่าเป็นพวกป่าเถื่อน ที่มีชีวิตอยู่กับสงครามและการปล้นชิง ไม่ต่างกับชาวอารยัน ชาวมองโกล พวกนี้จะนับถือพระเจ้าหลายองค์ พระเจ้าสูงสุดคือ โอดิน

วัฒนธรรม (ตะวันตก) ชุดนี้ ยิ่งใหญ่ขึ้นหลังสงครามครูเสด (การพ่ายแพ้ในสงคราม) ซึ่งส่งผลทำให้ระบบศักดินาในยุโรปพังตัวลง และทำให้อารยธรรมเมืองในยุโรปที่อยู่ติดทะเลและการค้าพัฒนาขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมยุโรป

นี่คือ ที่มาของระบบทุนนิยม

แต่เราต้องไม่ลืมว่า รากของวัฒนธรรมยุโรปเป็นหยาง

ในที่สุด ยุโรปได้ขยายอำนาจด้วยสงครามรุกรานล่าอาณานิคม นี่คือ ที่มาของระบบโลก และฐานวัฒนธรรมโลกสมัยปัจจุบัน ที่มีความเป็นหยาง (สงคราม ความเป็นชาย ความรวดเร็ว และการรวบอำนาจ และการสะสมความมั่งคั่งอยู่บนฐานผลประโยชน์ส่วนตัว แบบปัจเจกชนนิยม และแบบวัฒนธรรมสงคราม)

ผมกล่าวแบบสรุปว่า

"ที่ผมนำเสนอก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการอธิบายการเคลื่อนตัวของประวัติศาสตร์โลก โดยใช้ศาสตร์ตะวันออกเรื่อง หยาง กับ หยิน มาเป็นฐานคิด" เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า เราสามารถนำเอาปรัชญาตะวันออก มาใช้ในการอธิบายพัฒนาการของระบบโลกได้ (ไม่ด้อยกว่าการอธิบายโลกแบบตะวันตก) ได้เช่นเดียวกัน

แนวคิดแบบตะวันออกนี้ ไม่ได้มองโลกแบบสุดขั้วแบบ "ดี" หรือ "เลว" และจะให้ความสำคัญของเรื่อง ดุลยภาพระหว่างหยินกับหยาง แต่คำว่า "ดุลยภาพ" ไม่ได้หมายความว่า "เท่ากัน" โดยหลักของเต๋า ดุลยภาพ ต้องมีหลัก มีรอง

นอกจากนี้ วิถีตะวันออกจะถือว่า สังคมไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง แต่คือ สภาวะเลื่อนไหล จากหยินเป็นหยาง พอเป็นหยางอย่างสุดๆ ก็จะปรับกลับมาเป็นหยินใหม่

วัฒนธรรมสายหยางจะนำสู่ความยิ่งใหญ่ และการวิวัฒนาการขนาดใหญ่ แต่ในเวลาเดียวกันก็อันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากจะนำสู่การทำลายตัวเอง (ด้วยสงคราม)

ถ้าพิจารณาจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา วัฒนธรรมหยางไม่ว่าของอารยัน มองโกล และยุโรป ล้วนมีกำเนิดขึ้นจากสงคราม แม้จะนำความรุ่งเรืองมาสู่ระบบโลก แต่วัฒนธรรมนี้มักจะไม่ยั่งยืน เพราะสงครามก็นำไปสู่สงคราม และการทำลายล้าง

จุดจบของวัฒนธรรมหยางคือ สภาวะกลียุค ซึ่งเกิดขึ้นมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมยุโรปเองก็หนีสงครามไปไม่พ้น สงคราม และกลียุค ชาวยุโรปสร้างอาณาจักรด้วยการล่าเมืองขึ้นก็ต้องเผชิญกับสงครามที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และในที่สุดชาวยุโรปต้องทำสงคราม ฆ่าฟันกันเอง นี่คือ ที่มาของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2

บทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทำให้ชนชั้นนำยุโรป และชาวยุโรปจำนวนหนึ่ง เริ่มเห็นค่าของวัฒนธรรมแบบหยิน และก่อให้เกิดขบวนการสันติภาพขึ้นในยุโรป และดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน





 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2548
8 comments
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2548 10:17:30 น.
Counter : 696 Pageviews.

 

แวะมาอ่านต่อค่า

หวัดดีตอนเช้านะคะ

Image hosted by Photobucket.com

 

โดย: Batgirl 2001 30 พฤศจิกายน 2548 8:31:35 น.  

 

มาอ่านตอนต่อค่ะ

 

โดย: rebel 30 พฤศจิกายน 2548 8:45:05 น.  

 

อืม..น่าคิด น่าคิด

ขอบคุณนะพี่ที่เอาสิ่งๆดีๆมาให้เสมอๆ

 

โดย: erol 30 พฤศจิกายน 2548 9:13:14 น.  

 

เป็นเนื้อหาที่ดีมากครับ........

 

โดย: ครีเอทีฟ หัวเห็ด 30 พฤศจิกายน 2548 12:20:36 น.  

 

มาทักทายยามเที่ยงที่เมืองไทยอะค่ะ

 

โดย: อินทรีทองคำ 30 พฤศจิกายน 2548 12:31:12 น.  

 




 

โดย: erol 1 ธันวาคม 2548 1:13:08 น.  

 

2772

 

โดย: erol 1 ธันวาคม 2548 8:19:49 น.  

 

มใททใรนารนีเ

 

โดย: แพร บ.ว. IP: 61.7.173.165 13 มกราคม 2551 15:20:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.