บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
4 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 
2 กุนซือเศรษฐกิจ อดีตกับปัจจุบันการค้าโลกคนละมุม "สมคิดดัน FTA ศุภชัย ชู WTO




2กุนซือศก.-อดีตกับปัจจุบัน การค้าโลกคนละมุม "สมคิด"ดันFTA-"ศุภชัย"ชูWTO

*หมายเหตุ*...สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเสวนา "เตรียมอุดมฟอรั่ม" ครั้งที่ 1 เรื่อง "ยุทธศาสตร์ไทยในกระแสโลก" โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษก่อนสัมมนาเรื่อง "ยุทธศาสตร์ไทยในกระแสโลก : เลิกวิกฤตเป็นโอกาส" และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษก่อนสัมมนาเรื่อง "ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมหลักของไทยในกระแสโลก" เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่หอประชุมใหญ่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา



"สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์


จากการเดินทางไปร่วมประชุมเอเปคที่เวียดนามในช่วงที่ผ่านมา ได้มีโอกาสพบกับผู้นำของประเทศต่างๆ ทำให้พบว่า ขณะนี้ มีพันธกิจจำนวนมากที่ต้องสะสาง ทั้งในส่วนของการเจรจาเอฟทีเอ (ข้อตกลงเขตการค้าเสรี) ระหว่างไทยกับสหรัฐ ที่คงจะต้องมีการเจรจากันหลายรอบเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย และยังต้องมีการชี้แจงข้อมูลให้ประชาชนรับทราบถึงผลประโยชน์ในการเจรจาครั้งนี้ว่า ไทยจะไม่เป็นเพียงประเทศที่ส่งมอบของขวัญล้ำค่าให้กับต่างชาติ

นอกจากนี้ ในส่วนของการเจรจาความร่วมมือทางการค้ากับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ การเจรจาสำเร็จลุล่วงไปแล้วกว่า 99% และทางการญี่ปุ่นก็ต้องการให้มีการลงนามก่อนที่นายจุนอิชิโร โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะก้าวลงจากตำแหน่ง ในขณะที่รัฐบาลไทยยังอยู่ระหว่างการรักษาการ ซึ่งจะต้องมีการหารือกันภายในว่าจะมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดที่จะร่วมลงนามในครั้งนี้

นอกจากนี้ ในส่วนของการเจรจาทางการค้า ด้านส่งออกสินค้าผักและผลไม้ไปยังประเทศจีน ไทยก็ควรจะต้องรุกมากกว่านี้ โดยเฉพาะการผลักดันให้ความสำคัญระหว่างไทยกับจีนเป็นมากกว่าแค่ประเทศที่ทำการค้า โดยเฉพาะการส่งตัวแทนเข้าเจรจากับผู้นำมณฑล 11 มณฑลใหญ่ของจีน ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำธุรกิจการค้าระหว่าง 2 ประเทศ มากกว่าแค่การเจรจากับรัฐบาลส่วนกลาง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมนโยบาย

ทั้งนี้ จากการที่ได้เดินทางไปเวียดนาม พบสิ่งที่น่ากังวลใจสำหรับไทย คือ การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเวียดนาม เนื่องจากปัจจุบันถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งในเรื่องของปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน และความสามารถของคน โดยเฉพาะเรื่องระบบสารสนเทศ

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา คงต้องยอมรับว่าภายหลังการก้าวเข้ามาบริหารประเทศของพรรคไทยรักไทย ได้มีการพัฒนาประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะการกู้วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ให้เข้าสู่สภาพปกติ และมีการต่อยอด โดยเฉพาะการชูภาพลักษณ์ของประเทศให้เป็นประตูแห่งอาเซียนที่จะเปิดให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุน ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจของไทยหายใจรดต้นคอประเทศมาเลเซีย

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นแก้ปัญหาระบบเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนแอด้วยการเร่งรัดนโยบายการส่งออกสินค้า ในลักษณะของการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งในเร็วๆ นี้คงจะเห็นได้จากตัวเลขจีดีพีในไตรมาสแรกที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะมีการแถลง ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่สูงและน่าพอใจ อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการส่งเสริมให้นักธุรกิจมีการพัฒนาระบบการส่งออกสินค้าก็ยังมีอุปสรรคเล็กน้อย เพราะหลายคนยังไม่เข้าใจ จึงทำให้ภาพลักษณ์ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นเพียงประเทศผู้รับจ้างผลิตสิ่งของเท่านั้น

ดังนั้น ในช่วงขณะนี้ที่ไทยกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาต่อเนื่อง แต่ก็มีอุปสรรคเกิดขึ้น จนทำให้มีลักษณะเหมือนหยุดการพัฒนา และกำลังจะถอยหลัง ถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงและอยากเรียกร้องให้คนไทยหันกลับมามองผลประโยชน์ของชาติ โดยการร่วมแรงร่วมใจขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าต่อไป

การก้าวไปข้างหน้าของไทย ควรจะเน้นเรื่องการพัฒนาคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นหลังที่จะขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งไม่ควรคำนึงถึงเรื่องความเก่งกาจเพียงอย่างเดียว แต่ควรเน้นปลูกฝังจริยธรรม เพราะน่าจะส่งผลประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่า



"ศุภชัย พานิชภักดิ์"

เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด)

(อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์)


เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันแม้จะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีความสับสนเกิดขึ้นมาก แต่มองว่าแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในทิศทางที่ดี สังเกตได้จากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา การขยายตัวของเศรษฐกิจติดต่อกันในอัตรา 4% ต่อปี เป็นผลจากปัจจัยต่อไปนี้ 1.ประเทศในแถบอาเซียน และมหาอำนาจใหม่ของโลก อาทิ จีน อินเดีย บราซิล เริ่มเข้ามามีบทบาทในการเจรจาในเวทีการค้าโลกมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสินค้าหลากหลายชนิดมาให้เลือกมากขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเห็นได้ชัดจากผลกระทบทางด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงมากจากอดีต หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน เศรษฐกิจโลกคงล่มสลายไปแล้ว สินค้าจะมีราคาแพงมาก ดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงมาก แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น และในทางตรงกันข้ามประเทศที่เข้ามาร่วมเหล่านี้ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสินค้าอุปโภคที่มีราคาสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น ยางพารา และน้ำตาล ซึ่งในส่วนยางพาราก็เป็นผลจากปัจจุบันมีหลายประเทศมีความต้องการใช้สูง ส่วนน้ำตาลก็มีการนำไปผลิตเป็นเอทานอล ก็เป็นสินค้าที่หลายประเทศต้องการสูงมากเช่นกัน

2.หลังจากผ่านพ้นช่วงวิกฤตเมื่อปี 2540 ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมหลายประเภทล่มสลายไป โดยเฉพาะด้านไอที ธนาคารกลางของประเทศหลายแห่งได้มีการอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจของโลก ส่างผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของโลกยังดีอยู่ แต่เป็นเรื่องธรรมดาที่ว่าสิ่งที่ดีมักย่อมมีอันตรายแอบแฝงโดยเฉพาะหากเกิดความไม่สมดุลทางการค้าระหว่างประเทศ เห็นได้จากปัจจุบันที่สหรัฐเริ่มขาดดุลการค้าเพิ่มมากขึ้นกว่า 9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นไปอีก

สัญญาณที่เป็นตัวชี้ให้เห็นประเด็นเหล่านี้ก็เกิดขึ้นจากปัจจัยดังนี้ 1.แนวโน้มที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มชะลอตัว 2.ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เริ่มพยายามสอนให้คนรู้จักการออมเงินมากขึ้น จึงมีการชะลอตัวในเรื่องการอัดฉีดเงิน อาจจะส่งผลทำให้การเปลี่ยนแปลงด้านดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3.แนวโน้มการเจรจา โดยเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา อาทิ สินค้าเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูป และภาคบริการ อาจจะมีการชะลอตัวลง และ 4.นโยบายของประเทศมหาอำนาจและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ในการดูแลประเทศด้อยพัฒนาในลักษณะพิเศษ จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาสะดุด และส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจโลกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ขณะนี้เริ่มมีการพูดถึงเอฟทีเอ (ข้อตกลงเขตการค้าเสรี) ซึ่งเป็นการเจรจาแบบทวิภาคีก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจากล่าสุดธนาคารโลกและองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ก็สำรวจข้อมูลพบว่าประเทศที่มีขนาดเล็กหากมีการเจรจาเอฟทีเอกับประเทศมหาอำนาจก็อาจไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร เพราะการเจรจาลักษณะนี้หากจะได้รับประโยชน์สูงสุดควรเป็นประเทศที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารประเทศต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ และโดยส่วนตัวเชื่อว่าการเจรจาแบบพหุภาคีน่าจะเป็นแนวทางที่ดีมากกว่า

ในส่วนของไทยที่เกี่ยวกับการเจรจาเอฟทีเอ อยากจะฝากไว้ว่าต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่อาจต้องสูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิด้านแรงงาน เพราะการเจรจาอาจมีการสร้างเงื่อนไขบางประการที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์

จากประสบการณ์ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก ระบบเศรษฐกิจที่น่าจะมีความเหมาะสมสำหรับประเทศที่ด้อยพัฒนาน่าจะเป็นประเด็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนี้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำลังเตรียมการนำเรื่องเข้าที่ประชุมก่อนที่จะทำเป็นหนังสือและมีการนำตัวอย่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้กับประเทศที่สนใจได้เข้ามาศึกษา เพราะระบบการค้าในโลกยุคนี้สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่จะต้องแข่งขันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะการค้าถือเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการพัฒนาประเทศให้เกิดผลตอบแทนที่ดี

ในนามส่วนตัว ขอเรียนอย่างจริงใจว่าทุกวันนี้แม้จะต้องไปทำงานอยู่ในที่ห่างไกลประเทศไทย แต่หากมีโอกาสก็ยังคิดเสมอในเรื่องของการที่จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศของเราเพื่อจะได้รับการยกย่องในเวทีการค้าโลก







Create Date : 04 มิถุนายน 2549
Last Update : 5 มิถุนายน 2549 16:17:01 น. 12 comments
Counter : 642 Pageviews.

 
คัดจากมติชน

ห่วงเอฟทีเอ "ศุภชัย"ชี้ไทยต้องศก.พอเพียง

ยูเอ็นเตรียมนำเข้าที่ประชุม เผยแพร่แนวคิดไปทั่วโลก "สมคิด-โกร่ง"ยังดันทวิภาคี

"ศุภชัย พานิชภักดิ์"โชว์วิสัยทัศน์ แนะเศรษฐกิจพอเพียงเหมาะสำหรับไทยที่สุด เผยยูเอ็นเตรียมนำเข้าที่ประชุมเพื่อเผยแพร่ เตือนเจรจาเอฟทีเอระวังเสียสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลและแรงงาน



เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดเสวนาเตรียมอุดมฟอรั่ม ครั้งที่ 1 เรื่องยุทธศาสตร์ไทยในกระแสโลก โดยรายได้จากการสัมมนาจะนำขึ้นทูลเกล้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า จากการเดินทางไปร่วมประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (เอเปค) ที่เวียดนาม ได้มีโอกาสพบกับผู้นำของประเทศต่างๆ ทำให้พบว่า ขณะนี้มีพันธกิจจำนวนมากที่ต้องสะสาง ทั้งในส่วนของการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับสหรัฐ ที่คงจะต้องมีการเจรจากันหลายรอบเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย และยังต้องมีการชี้แจงข้อมูลให้ประชาชนรับทราบถึงผลประโยชน์ในการเจรจาครั้งนี้ว่า ไทยจะไม่เป็นเพียงประเทศที่ส่งมอบของขวัญล้ำค่าให้กับต่างชาติ

นายสมคิดกล่าวว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หลังจากพรรคไทยรักไทยเข้าบริหารประเทศ ได้มีการพัฒนาประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะการกู้วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ให้เข้าสู่สภาพปกติ และมีการต่อยอด โดยเฉพาะการชูภาพลักษณ์ของประเทศให้เป็นประตูแห่งอาเซียนที่จะเปิดให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุน ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจของไทยมีลักษณะหายใจรดต้นคอประเทศมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นทำให้ไทยเหมือนหยุดการพัฒนาและกำลังจะถอยหลัง ถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงและอยากเรียกร้องให้คนไทยหันกลับมามองผลประโยชน์ของชาติ โดยการร่วมแรงร่วมใจขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าต่อไป

"การก้าวไปข้างหน้าของไทย ควรจะเน้นเรื่องการพัฒนาคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นหลังที่จะขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งไม่ควรคำนึงถึงเรื่องความเก่งกาจเพียงอย่างเดียว แต่ควรเน้นปลูกฝังจริยธรรม เพราะน่าจะส่งผลประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่า" นายสมคิดกล่าว

นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันแม้จะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีความสับสนเกิดขึ้นมาก แต่มองว่าแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในทิศทางที่ดี เนื่องจากประเทศมหาอำนาจใหม่ของโลก เช่น จีน อินเดีย เข้ามามีบทบาทในการเจรจาในเวทีการค้าโลกมากขึ้น

นายศุภชัยกล่าวว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะยังดีอยู่ แต่ก็ย่อมมีอันตรายแฝงอยู่ด้วย โดยเฉพาะหากเกิดความไม่สมดุลทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเห็นได้จากสัญญาณต่างๆ เช่น นโยบายของประเทศมหาอำนาจและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ในการดูแลประเทศด้อยพัฒนาในลักษณะพิเศษ จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาสะดุด และส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจโลกด้วย โดยในส่วนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ขณะนี้เริ่มมีการพูดถึงการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ซึ่งเป็นการเจรจาแบบทวิภาคีก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจาก ล่าสุดธนาคารโลกและองค์การการค้าโลก ก็สำรวจข้อมูลพบว่าประเทศที่มีขนาดเล็กหากมีการเจรจาเอฟทีเอกับประเทศมหาอำนาจก็อาจไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร ดังนั้น ผู้บริหารประเทศต่างๆ ต้องระวังเป็นพิเศษ

"โดยส่วนตัวเชื่อว่าการเจรจาแบบพหุภาคีน่าจะเป็นแนวทางที่ดีมากกว่า ในส่วนของไทยที่เกี่ยวกับการเจรจาเอฟทีเอ อยากจะฝากไว้ว่าต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่อาจต้องสูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการรักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิด้านแรงงาน" นายศุภชัยกล่าว

นายศุภชัยกล่าวว่า จากประสบการณ์ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก ระบบเศรษฐกิจที่น่าจะมีความเหมาะสมสำหรับประเทศที่ด้อยพัฒนา น่าจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนี้องค์การสหประชาชาติกำลังเตรียมการนำเรื่องเข้าที่ประชุมก่อนที่จะทำเป็นหนังสือและมีการนำตัวอย่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ให้กับประเทศที่สนใจได้เข้ามาศึกษา" นายศุภชัยกล่าว (อ่านรายละเอียดหน้า 2)

นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊ดวานซ์อะโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กระแสโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ทิศทางการค้าโลก เกิดภาวะกระแสการไหลของเงินทุนไปในที่มีผลตอบแทนสูงพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และการผลิต นอกจากนี้ยังเกิดกระแสกดดันการค้าเสรี โดยต้องยอมรับว่าปัจจุบันการเจรจาในระดับพหุภาคียากขึ้น หรือเรียกได้ว่ามาถึงทางตัน เห็นจากการเจรจาการค้าในรอบโดฮาขององค์การการค้าโลกที่ผ่านมาพูดถึงแต่ด้านสังคม ทั้งที่รัฐมนตรีที่ไปร่วมประชุมเป็นรัฐมนตรีด้านการค้า ดังนั้น แนวโนมจึงจะมีการเจรจาในระดับทวิภาคีมากขึ้น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่หนีไม่ได้ คงต้องเกิดขึ้นแน่นอน

"ดังนั้น เราต้องติดตามวิเคราะห์ดูว่าไทยจะทำอย่างไร จะได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายหรือไม่ หากไม่ทำกับสหรัฐ และควรเตรียมความพร้อมอย่างไร อย่างไรก็ตาม ที่พูดมาไม่ใช่สรุปว่าจะต้องทำ เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าควรจะปรับตัวอย่างไรจึงพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้" นายวีรพงษ์กล่าว

นายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีปัจจัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก คือ ราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสินค้าราคาแพง มีการคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันในช่วง 3 ปีจากนี้จะไม่ลดลง ปัญหาคือประเทศไทยจะมีนโยบายการปรับดอกเบี้ยอย่างไรเพราะปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับ 6% แต่อัตราดอกเบี้ยอยู่เพียง 4% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเป็นลบ ประชาชนมีการบริโภคมากกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้เงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าเงินไหลเข้า

"ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้และน่ากังวลมากคือเรื่องดอกเบี้ย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพ ขณะที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยเพราะจะทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังมีปัญหาอยู่แล้ว ซึ่งในที่สุดไม่รู้ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวเห็นว่าควรปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้เกิดการใช้จ่ายเกินตัว"นายวรากรณ์กล่าว

นายวรากรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้เห็นว่าควรมีการใช้ดัชนีชี้วัดตัวอื่นมาคำนวณความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้นแทนการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีเพียงตัวเดียว เพราะไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเท่าที่ควร เช่น มีการคำนวณเฉพาะรายได้ที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีการซื้อขายในตลาดเท่านั้น ทั้งที่หากรวมรายได้ตัวอื่นๆ ตัวเลขจีดีพีจะสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีความพยายามจะดำเนินการอยู่ โดยดัชนีที่มีความเป็นไปได้คือดัชนีชี้วัดความสุขของประชาชนหรือที่เรียกว่าจีเอ็นเอช (Gross National Happiness) ปัจจุบัน ไทยให้ความสำคัญกับตัวเลขทางเศรษฐกิจมากเกินไป จนละเลยด้านสังคมและการศึกษา ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ไม่ควรโทษรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว ต้องโทษคนทั้งประเทศที่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อพัฒนาการศึกษา


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 4 มิถุนายน 2549 เวลา:10:36:52 น.  

 


โดย: โสมรัศมี วันที่: 4 มิถุนายน 2549 เวลา:12:26:17 น.  

 
ขอบคุณที่เอาข่าวเศรษฐกิจมาให้อ่านค่ะ ได้รู้อะไรขึ้นอีก ปรกติจะไม่ค่อยไปนั่งอ่านตามหน้าข่าวเท่าไหร่ ตัวหนังสือมันเล็กและไม่ค่อยน่าสนใจสำหรับฝน แต่พอเข้ามาในนี้มันดูน่าอ่านไปหมดเพราะว่าคุณทำบล๊อกสวย น่ารัก น่าอ่านดีค่ะ




โดย: Malee30 วันที่: 4 มิถุนายน 2549 เวลา:13:27:09 น.  

 
คัดจากกรุงเทพธุรกิจ Biznews


ธปท.หวั่นลงทุนต่ำฉุดศก.ขาดแรงส่ง

"แบงก์ชาติ " เริ่มหวั่นไหวเหตุตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนต่ำสุดในรอบ 4 ปี ชี้ต่ำเกินไปจนอาจกระทบการสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจระยะยาว ด้านนักวิชาการห่วงฉุดเศรษฐกิจเติบโตช้าไม่ทันประเทศเพื่อนบ้าน ระบุเอกชนต้องเร่งปรับตัว เน้นบริหารความเสี่ยงเพื่อช่วยเหลือตัวเอง ก่อนทุกอย่างหยุดชะงัก



สัญญาณการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา โดยหน่วยงานที่พยากรณ์ตัวเลขเศรษฐกิจหลายสำนักได้ปรับลดการขยายตัวของการลงทุนลดลง โดยเฉพาะสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง ประมาณการการลงทุนโดยรวมที่แท้จริงเหลือเพียง 1.5-2.5% หรือทั้งปีจะขยายตัวได้ประมาณ 2% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 4 ปี จากที่เคยขยายตัวต่ำสุด 1.1% ในปี 2544

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธทป.) ยอมรับว่าการประมาณอัตราการขยายตัวการลงทุนที่คาดไว้ 7.5-8.5% คงเป็นไปไม่ได้ และต้องปรับลดลง แต่จะเป็นเท่าไรต้องรอการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจซึ่งมีทุก 3 เดือนที่เป็นรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ ฉบับต่อไปคือเดือนกรกฎาคมนี้

"การเมือง-ดอกเบี้ย"เหตุยื้อลงทุน

นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจภายในประเทศ ธปท. ระบุว่า หากการลงทุนชะลอตัวลงมาก และเป็นอย่างที่สศค.ประมาณไว้ทั้งปี คือมีเพียง 2% คงเป็นการขยายตัวที่ต่ำเกินไป จนไม่สามารถจะสร้างศักยภาพให้กับเศรษฐกิจได้ในระยะยาว แต่ก็ถือว่ายังขยายตัวอยู่ เพียงแต่เป็นอัตราที่ชะลอลง

การลงทุนที่ชะลอลงนั้น นางสุชาดาระบุว่า มีสาเหตุจากความไม่แน่ใจในนโยบายภาครัฐ และความไม่แน่ใจในอัตราผลตอบแทนการลงทุนทั้งจากการปรับราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย และการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงภาระต้นทุนทั้งด้านราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

ปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนในปีนี้ชะลอตัวกว่าปีที่แล้ว แต่ธปท.เชื่อมั่นว่าการลงทุนน่าจะฟื้นกลับมาดีขึ้นได้ เพราะปัจจัยแวดล้อมค่อนข้างดี ทั้งอัตราการใช้กำลังการผลิตใกล้เต็มที่แล้ว ต้องขยายการลงทุนเพิ่ม และผลประกอบการที่มีกำไรทำให้มีเงินทุนที่จะลงทุนเพิ่ม

ส่วนสาเหตุที่ สศค.ประมาณการตัวเลขอัตราการลงทุนในปีนี้ต่ำมากแค่ 2% จากปีที่แล้วขยายตัว 11.3% มีปัจจัยหลักคือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่กระทบแผนการลงทุนภาครัฐที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนได้เท่าไร และส่งให้เอกชนไม่มั่นใจ นอกจากนั้นทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจนว่าจะหยุดขึ้นเมื่อไร ทำให้เอกชนขาดความเชื่อมั่นไม่กล้าตัดสินใจลงทุน หรือชะลอการลงทุนออกไปอีก

สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน เม.ย.ซึ่งยังปรับลดลงต่อเนื่องต่ำกว่าจากระดับ 44.8 ในเดือนก่อนหน้าเป็น 43 .5 ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 24 และดัชนีความเชื่อมั่นในสถานการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้าปรับลดลงอยู่ที่ระดับ 50.2 จากเดือนก่อน 50.4

ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ธปท.ประกาศล่าสุดเดือนเมษายน 2549 ลดลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยขยายตัวเพียง 1.5% จากเดือนก่อนที่ขยายตัว 2.2% ตามการลงทุนในหมวดเครื่องจักร ซึ่งการนำเข้าลดลง 4.1% และการลงทุนหมวดก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่อง เป็นไปทิศทางเดียวกันกับตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุนเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงต่อเนื่องเพียง 0.3% และสินค้าวัตถุดิบนำเข้าหดตัว 2.8%

ประเทศขาดศักยภาพเติบโต

นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งระบุว่า ตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณการชะลอตัวของการลงทุนที่ชัดเจน เนื่องจาก ตัวเลขการนำเข้าสินค้าทุน เป็นเครื่องชี้ทิศทางการผลิตในอนาคต ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบ จะเป็นเครื่องชี้การผลิตในปัจจุบัน ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่การลงทุนแท้จริงจะขยายตัวอยู่ในระดับต่ำอย่างที่สศค.ประมาณการ ซึ่งน่าเป็นห่วง

การลงทุนที่ขยายตัวต่ำมากเกินไป ผลกระทบขั้นแรกที่จะเกิดขึ้นคือ ทำให้รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ไม่เพิ่มขึ้นมาก แต่ในระยะยาวถ้าไม่มีการลงทุนที่เป็นพื้นฐานการผลิตจริงๆ จะทำให้ประเทศพัฒนาไปได้ช้ากว่าประเทศคู่แข่ง และศักยภาพการเจริญเติบโต

“การพัฒนาประเทศจะต้องพยายามสร้างฐานการผลิต ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่า capital formation เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต ถ้าไม่มีการลงทุนหรือการผลิตที่เป็นพื้นฐาน โอกาสที่ประเทศจะเจริญเติบโตไล่ทันประเทศเพื่อนบ้านคงทำได้ยากขึ้น” เขา ระบุ

พร้อมกับให้ความเห็นว่า หากรัฐบาลไม่เร่งดำเนินการบริหารเศรษฐกิจโดยเน้นวางนโยบายที่เป็นระยะยาว โดยเน้นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และการลงทุน ทั้งด้านเทคโนโลยี และกำลังแรงงาน อาจกลายเป็นปัญหาการลงทุนในระยะยาวที่แก้ไขยากขึ้น เพราะจะกลายเป็นปัญหาโครงสร้าง ไม่ใช่ปัญหาเรื่องวงจรวัฏจักรการลงทุน ที่สามารถฟื้นตัวง่ายกว่า

“กระบวนการทางการเมืองต่างๆ ควรต้องเร่งดำเนินการให้ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาโดยเร็ว หากยืดเยื้อจะเป็นปัจจัยเสี่ยงมากยิ่งขึ้น และรัฐบาลควรเน้นทำนโยบายระยะยาวมากกว่านโยบายระยะสั้นที่ลดแลกแจกแถม เพราะไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม แต่เป็นเพียงแก้ปัญหาชั่วคราวและง่ายเกินไป”นักเศรษฐศาสตร์รายเดิมระบุ

สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในขณะนี้เขาบอกว่า ภาคเอกชนต้องปรับตัวช่วยเหลือตัวเอง โดยการตัดสินใจลงทุนแม้จะมีเรื่องความไม่เชื่อมั่นทางการเมือง แต่ควรดูที่ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่มีอยู่อย่างครบถ้วน เพื่อตัดสินใจได้ถูกต้อง ที่สำคัญต้องมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง ในระยะต่อไปการบริหารความเสี่ยงจะมีความจำเป็นมากขึ้นสำหรับภาคเอกชนที่ต้องปรับตัว

“หากภาคเอกชนไม่ปรับตัวเอง ใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างครบถ้วน แล้วตัดสินใจ อย่ามัวแต่รอความชัดเจนทางการเมือง อาจเป็นความเสี่ยงทำให้กลไกต่างๆ ชะงักงันได้” นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็น

ยันลงทุนหดยังไม่กระทบจ้างงาน

ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การลงทุนในปีนี้ที่ชะลอลงอย่างชัดเจน เป็นสิ่งที่คาดการณ์ไว้แล้ว รวมถึงการลงทุนในต่างประเทศก็มีทิศทางเดียวกัน เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันปรับตัวสูง แต่การลงทุนที่ลดลงนี้ เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศ เพราะเศรษฐกิจยังเจริญเติบโตขยายตัวได้ โดยธปท.ประมาณอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ 4.25-5.25% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการจ้างงาน และข้อมูลอัตราการว่างงานล่าสุดอยู่ที่ 2.2% ถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูง

อย่างไรก็ตามธปท.จะมีการติดตามและทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจเป็นประจำอยู่แล้ว โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 7 มิถุนายนนี้ ธปท.คงจะมีข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ซึ่งรวมถึงการลงทุนมาพิจารณาอย่างละเอียดเพิ่มเติมจากข้อมูลที่มีการประชุมก่อนหน้านี้

“อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ที่ชะลอลง โดยแบงก์ชาติก็ปรับประมาณการเศรษฐกิจลงมาครั้งหนึ่งแล้วนั้น สะท้อนให้เห็นว่าการลงทุน การบริโภค ชะลอตัว และอาจมีผลกระทบต่อการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้เป็นปัญหาต่อระบบโดยรวม ตราบใดที่เศรษฐกิจเติบโตอยู่”ดร.ธาริษากล่าว

นอกจากนี้เชื่อว่าภาคธุรกิจเอกชนจะสามารถปรับตัวรองรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจการลงทุนที่ชะลอลง โดยหากธุรกิจใดอยู่ในช่วงขาลง ก็จำเป็นต้องปรับตัวหาธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมาชดเชยธุรกิจที่กำลังอยู่ขาลง เพราะหากไม่ทำอะไรเลยในที่สุดไม่มีกำไรระยะยาวก็อาจอยู่ไม่ได้ กระทบการจ้างงาน แต่ก็เป็นเฉพาะอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตามธุรกิจที่อยู่เป็นดาวรุ่งก็ต้องปรับตัวแตกต่างกันไป ในส่วนของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ ดร.ธาริษามั่นใจว่าไม่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนที่ชะลอลง เนื่องจากธนาคารปรับตัวได้ และยังมีผลประกอบการที่มีกำไร ฐานะการเงินมั่นคง และปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากที่หารือกับสถาบันการเงินก็ไม่น่าห่วง ดังนั้นในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ้างงาน หรือการทำธุรกิจ เชื่อว่ายังดำเนินการไปได้ไม่น่าเป็นห่วง


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:9:50:33 น.  

 
คัดจากกรุงเทพธุรกิจ Biznews


บทนำ : การเมืองกำลังสร้างความหายนะ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Business Sentiment Index) ในเดือนเมษายน 2549 ซึ่งเป็นการสำรวจจากธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ จำนวน 545 ราย ปรากฏว่าดัชนียังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง จากระดับ 44.8 ในเดือนก่อนเป็น 43.5 ถือเป็นระดับที่ต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 24



หากดัชนีอยู่ระดับต่ำกว่า 50 ถือว่าความเชื่อมั่นเลวร้ายลง และดัชนีที่ลดลงก็เนื่องมาจากต้นทุนของผู้ประกอบการ และคำสั่งซื้อปรับลดลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อต้นทุนวัตถุดิบอื่นๆ นอกจากดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ยังปรับลดลงเล็กน้อย จากระดับ 50.4 ในเดือนก่อน เป็น 50.2 นั่นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในสายตาผู้ประกอบการไม่แจ่มใสนัก

ดัชนีดังกล่าว แม้ไม่อาจนำมาใช้อ้างอิงถึงภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงได้ แต่ดัชนีก็มีความสอดคล้องกันกับการแถลงตัวเลขเศรษฐกิจของ ธปท.ในเดือนเมษายน 2549 โดย ธปท.สรุปว่าเศรษฐกิจโดยรวมนั้น ด้านอุปสงค์ชะลอตัวจากเดือนก่อน จากเครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แม้การส่งออกและรายได้รัฐบาลยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งปัญหาที่เคยกังวลกันว่ารัฐบาลจะถังแตกก็หายห่วงได้ เพราะในเดือนนี้ดุลเงินสดรัฐบาลเกินดุลเป็นเดือนแรกในปีงบประมาณ 2549 จำนวน 10,600 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ภาคส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจไทยนั้น ธปท.ประเมินว่าน่าจะขยายตัวได้ 11-13% ต่ำกว่าประมาณการของรัฐบาลที่ตั้งไว้ที่ 17.5% ซึ่งทำให้เศรษฐกิจปีนี้น่าจะโตต่ำกว่าที่คาดกันไว้ อย่างไรก็ตาม ธปท.ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ประกาศออกมามักจะได้รับความน่าเชื่อถือจากสังคมภายนอกมากกว่าจากรัฐบาล แต่ก็มักจะไม่พูดถึงปัญหาการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้อย่างตรงไปตรงมา เพียงแต่กล่าวเป็นนัยจากแนวโน้มการบริโภคและความเชื่อมั่นว่ามีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางใด

ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลจาก ธปท.ต้องไปตีความเอาเอง และปัญหาความอึมครึมทางการเมืองที่ยังหาทางออกไม่ได้ในกรณีข้อขัดแย้งต่างๆ ในสังคม ทั้งระหว่างองค์กรที่มีหน้าที่กำกับกติกาบ้านเมืองและระหว่างพรรคการเมือง ซึ่งบัดนี้ยังยืดเยื้อยาวนานและหาข้อยุติไม่ได้ จนกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

และยิ่งส่งผลชัดเจนขึ้นตามลำดับ

บรรดานักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ได้เตือนมาตลอดเวลานับตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤติทางการเมืองเมื่อปลายปีที่แล้ว จนมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ แต่หลังจากมีปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง ทุกคนก็ประเมินไปในทางเดียวกันว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและผลกระทบจากรายจ่ายภาครัฐ ดังความเห็นล่าสุดจาก นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ก็เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ชะลอตัวลง แต่ก็เชื่อว่าจะขยายตัวได้ 4.5-5% เพราะการประเมินเศรษฐกิจไทยอยู่บนพื้นฐานของการใช้จ่ายการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ หรือเมกะโปรเจค แต่เมื่อการเมืองอยู่ระหว่างเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ ทำให้ความล่าช้าของงบประมาณมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และระบุด้วยว่าการเมืองยืดเยื้อมากกว่าที่คาดไว้

อันที่จริง ปัจจัยทางการเมืองส่งผลกระทบเศรษฐกิจโดยรวมของไทยไม่มากนัก เพราะในอดีตการเปลี่ยนแปลงการเมืองหลายครั้ง เศรษฐกิจก็ยังเดินหน้าได้ตามที่ควรจะเป็น ซึ่งก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวอย่างมั่นอกมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งนี้จะไม่กระทบเศรษฐกิจ เพราะ ธปท.สามารถดูแลเสถียรภาพได้ อย่างไรก็ตาม อาจไม่มีใครคาดคิดว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน และเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนต่างๆ ที่สนับสนุนกลุ่มการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และเป็นการต่อสู้ทางการเมืองซึ่งดูเหมือนว่าเล่นกันตามกฎกติกา แต่เต็มไปด้วยเกมใต้ดินที่อยู่เบื้องหลังฉาก และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาอำนาจ

ดังนั้น สถานการณ์การเมืองในช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่าสร้างความกังวลและอึดอัดใจไม่น้อยสำหรับคนที่คิดตามสถานการณ์ และอาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยเบื่อหน่ายการเมือง เพราะเห็นมีแต่เรื่องวุ่นวายไม่รู้จบสิ้น แต่ขณะนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากเกมที่ห้ำหั่นกันว่าการเมืองขณะนี้กำลังทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ และทุ่มเททุกอย่างโดยไม่คำนึงเรื่องใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมือง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้สังคมไทยกำลังก้าวสู่อันตรายยิ่งกว่าในยุครัฐบาลเผด็จการทหาร ทั้งๆ ที่ฝ่ายการเมืองเองมีส่วนในเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไม่มากนัก ในอดีต มีคำกล่าวว่าการเมืองเป็นส่วนที่ล้าหลังการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งนอกจากล้าหลังแล้ว ขณะนี้การเมืองกำลังสร้างความหายนะให้กับประเทศ


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:9:53:39 น.  

 
แวะเข้ามา ขอบคุณสำหรับเพลงประกอบเพราะดี ถ้าให้ผมคิดผมเลือกฟังดร.สมคิดเพราะได้ทำในสิ่งที่พูด เวลาที่ผ่านมาผมเห็นในสิ่งที่ท่านได้ทำแล้ว ส่วนดร.ศุภชัยความจริงก็ดีนะแต่เพียงท่านไม่สามารถทำในสื่งที่ท่านคิด ขณะที่มีอำนาจก็ไม่สามารถทำได้ ขึ้นผู้นำWTOก็ไม่สามารถทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันได้เลย ขอบคูณเพลงเพราะถูกใจ


โดย: ช่างนำชัย IP: 124.120.186.42 วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:10:31:17 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่ะสบายดีนะคะ


โดย: รักดี วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:13:07:01 น.  

 
หายไปนานเลย
คุณคนเดินดินฯ
สบายดีนะคะ

นั้นแหละ สมัยนี้สถาบันครอบครัวมัยเปราะบางจังสงสารก็แต่เด็ก ๆ


โดย: run to me วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:13:53:43 น.  

 




สวัสดีตอนบ่ายๆของ อุดรธานี นะจ้า


คิดถึงจริง คิดถึงจัง
ห่วงใยจริง ห่วงใยจัง
ห่วงใยใคร คิดถึงใคร
ถ้าไม่ใช่ ...เธอ..เพื่อนที่แสนดี





** มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงเสมอนะจ้า **



ต้องขอโทษด้วยนะจ้าที่ไม่ได้มาเล่นด้วยหลายวัน แต่ว่า วันนี้จอมแก่น
มาเล่นด้วยแล้วน๊าจ้า..


โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:15:10:34 น.  

 
ได้แต่อ่านค่ะ ไม่มีความรู้พอจะเอ่ยวิจารณ์เลยสักนิด


โดย: ป้ามด วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:15:38:40 น.  

 
ได้ไปฟังวันที่ 3 มิถุนา เหมือนกันค่ะ
จดบ้างฟังบ้าง

แล้วก็เลยมาขอบคุณที่ทำให้ได้ทบทวนเนื้อหาและความสำคัญจากมุมมองlที่ต่างกันอีกที

ขอบคุณค่ะ :D :D :D


โดย: หมาเลี้ยงแกะ วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:22:42:07 น.  

 
ได้ไปฟังวันที่ 3 มิถุนา เหมือนกันค่ะ
จดบ้างฟังบ้าง

แล้วก็เลยมาขอบคุณที่ทำให้ได้ทบทวนเนื้อหาและความสำคัญจากมุมมองlที่ต่างกันอีกที

ขอบคุณค่ะ :D :D :D


โดย: หมาเลี้ยงแกะ วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:22:42:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.