Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
3 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
8 โรคเสี่ยงที่ห้ามผู้สูงอายุขับรถ



โดยส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุ มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถน้อยกว่าคนหนุ่มๆ สาวๆ
สาเหตุก็เพราะว่าผู้สูงอายุมักจะขับรถช้ากว่า มักคาดเข็มขัดนิรภัย และไม่ดื่มก็จะเพิ่มมากขึ้น
และยิ่งเพิ่มขึ้นถ้าหากอายุเกิน 80 ปี
และถ้าเมื่อไรที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง ได้รับอันตรายมากกว่า
และโอกาสถึงแก่ชีวิตก็สูงกว่าคนหนุ่มสาวถึง 9 เท่า

เนื่องจากผู้ สูงอายุมีภาวะต่างๆ ที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของร่างกาย
ความว่องไวในการตอบสนองต่อเหตุการณ์คับขันช้าลง การทำงานระหว่างอวัยวะต่างๆให้ประสานกันได้ไม่ดี
สมาธิลดลง และเกิดความอ่อนล้าง่ายถ้าต้องขับรถนานๆ
นอกจากนี้ โรคต่างๆ ที่เข้ามารุมเร้าก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

โดยเฉพาะ 7 โรคเด่นๆ ที่มีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

1. โรคตาชนิดต่างๆ
เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้ขับรถในเวลาโพล้เพล้หรือตอนกลางคืนแล้วมองไม่ชัด
ในผู้ป่วยต้อหินยังอาจมีลานสายตา ที่แคบทำให้มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี
ผู้ป่วยโรคต้อหินจะมองเห็นแสงไฟบอกทาง ไฟหน้ารถพร่าได้

2. โรคสมองเสื่อม
ใน ที่นี้หมายถึงเพิ่งเป็นไม่มาก ผู้ที่สมองเสื่อมมักมีอาการหลงลืม ขับรถหลงทาง เลี้ยวผิดเลี้ยวถูก
การตัดสินใจและสมาธิไม่ดีก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ

3. โรคอัมพฤกษ์
จาก โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้พอสมควรในผู้สูงอายุ
ทำให้แขนขาไม่มีแรงที่จะขับรถเหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ได้ดี
บางคนมีอาการเกร็งมากจนขากระตุกเวลาเหยียบคันเร่งหรือเบรก บางคนมีการประสานงานระหว่างแขน ขาไม่ดี
หรือสมองสั่งให้แขนขาทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิม ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ลดลง

4. โรคพาร์กินสัน
มี อาการแข็งเกร็ง มือสั่น บางทีมีเท้าสั่นด้วย ทำอะไรเชื่องช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี

5. โรคลมชัก พบได้ในผู้สูงอายุมากกว่าคนหนุ่มสาว
เมื่อมีอาการชักจะเกร็ง และกระตุกไม่รู้สึกตัว ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

6. โรคข้อเสื่อม
ข้อ อักเสบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับรถ เช่น
ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่
ข้อเท้าอักเสบปวด จากโรคเก๊าต์ ทำให้ขยับลำบาก
โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้ปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบาก
หรือมีอาการปวดหลังจากกระดูกหลังเสื่อม ทำให้นั่งขับรถได้ไม่นาน

7. โรคอื่นๆ
เช่น โรคหัวใจ ทำให้อาจมีอาการแน่นหน้าอก เมื่อขับรถนานๆ เครียดจากรถติด
โรคเบาหวาน ทำให้มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง

8. ยา
ผู้ สูงอายุส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาบางคนรับประทานหลายชนิด
บางชนิดมีผลทำให้ง่วงซึม เช่น ยาแก้เวียนศีรษะ ยาลดน้ำมูก ทำให้ง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ
และทำให้การตัดสินใจ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ไม่ดี


ที่มา //www.goodhealth.in.th/web/node/824
ภาพจาก //scrapetv.com/News/News%20Pages/Sports/pages-2/


สารบัญ ความรู้เรื่องรถ
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 03 ธันวาคม 2552
Last Update : 3 ธันวาคม 2552 20:33:51 น. 0 comments
Counter : 986 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.