Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
การปะยางรถ



ถาม. ผมอยากรู้ว่าเมื่อยางแตกขึ้นมา เราควรเลือกปะยางด้วยวิธีไหนถึงจะดี
เพราะมีทั้งคำแนะนำที่บอกว่าการปะยางที่ดีควรปะแบบ "สติม"
บางคนก็แนะนำว่าควรปะแบบชนิด "สอดเส้นยาง" เข้าไปดีกว่า
ผมงงไปหมดแล้ว จึงขอให้ช่วยอธิบายข้อดีข้อเสียให้ด้วย


ตอบ. เรื่องของวิธีการปะยาง เป็นเรื่องที่เกิดถกเถียงกันขึ้นมาเมื่อสัก 15 ปีที่ผ่านมานี้เอง
เพราะคนใช้รถยนต์ยุคก่อนไม่มีใครรู้จักวิธีการปะยางแบบอื่น
นอกเหนือไปจากวิธีการที่เรียกกันว่าการสติมยาง
ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุก เมื่อยางรั่วขึ้นมาก็ต้องปะกันด้วยวิธีการสติมยางทั้งสิ้น

แม้แต่รถขนาดเล็กเช่นมอเตอร์ไซค์และจักรยาน ก็ต้องปะด้วยวิธีสติมเช่นกัน
แต่จะแยกออกไปเป็นแบบสติมเย็นและสติมร้อน
ซึ่งให้ผลต่างกันและมีราคาค่างวดในการปะต่างกันออกไป

การปะแบบสติมยาง ก็คือการเอายางที่รั่ว (ซึ่งในยุคแรกๆ หมายถึงยางใน) ออกมาแล้วตรวจหารูรั่ว
ด้วยการสูบลมเข้าไปในยางให้มากพอ จากนั้นก็เอายางลงไปแช่ในถังน้ำเพื่อดูฟองน้ำผุดพรายขึ้นมา
เมื่อพบรูรั่วแล้วก็เอายางในขึ้นมาจากน้ำ
เช็ดให้แห้ง แล้วจึงใช้กระดาษทรายหรือตะไบมาถูที่บริเวณรอยแผลที่รั่ว

การเอากระดาษทรายหรือตะไบมาถูเช็ดที่ผิวยางรอบรอยแผลนั้น คือการทำความสะอาดที่ผิวของยาง
ให้ปราศจากคราบมันหรือน้ำมัน ที่เป็นอุปสรรคต่อการเกาะติดกันของยางซึ่งถูกประสานกันโดยกาว

หากเป็นการปะแบบสติมเย็น ซึ่งมักจะใช้กับรถจักรยาน
เพราะมีขีดความสามารถในการทนต่อความร้อนได้ต่ำ รับแรงดันลมได้ไม่มากนัก
และรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อย แต่มีราคาค่าปะยางถูกมาก

การปะแบบสติมเย็นนั้นต้องมียางอีกแผ่นหนึ่งมาทำหน้าที่อุดรูรั่ว
โดยปกติก็จะใช้ยางในรถที่ถูกทิ้งหรือไม่ใช้งานแล้ว
เอามาตัดด้วยกรรไกรให้มีขนาดแผ่นโตกว่ารูที่รั่วสักหน่อย
ทั้งนี้รอยหรือรูที่รั่วนั้น ต้องเกิดจากการทิ่มตำของของมีคมขนาดเล็กเท่านั้น
เพราะสติมเย็นไม่สามารถปะยางที่มีรูรั่วขนาดใหญ่ได้

ทำความสะอาดรอบแผลที่มีการรั่วเรียบร้อยแล้ว
ก็ตัดยางอีกแผ่นหนึ่งส่วนใหญ่มีขนาดโตกว่าเหรียญสิบบาทเล็กน้อย
แล้วเอากระดาษทรายหรือตะไบมาถูทำความสะอาดยางแผ่นดังกล่าว ที่ด้านในของเนื้อยาง
หลังจากพบว่าทั้งยางที่ต้องการปะและยางแผ่นที่จะนำมาปะอุดรูรั่ว ถูกทำความสะอาดพื้นผิวดีแล้ว
จึงเอากาวสำหรับประสานยาง ที่นิยมกันมากก็คือกาวยี่ห้อ 3K

นำกาวมาทาไล้บางๆ ที่บริเวณซึ่งทำความสะอาดไว้แล้วทั้งที่ยางที่รั่ว และแผ่นยางที่จะนำมาปะ
รอสัก 1-2 นาที พอเห็นว่ากาวแห้งหมาดดีแล้ว จึงเอาแผ่นยางวางทาบปะลงไปบนยางที่รั่ว
ให้ส่วนที่ทากาวทับตรงรอยกันพอดี แล้วใช้มือดึงเบาๆ ตรงส่วนที่ปะทับกันอยู่นั่น
เพื่อให้ยางทั้งสองชิ้นยืดและขยายตัวกดเข้าหากัน แล้วจึงวางยางลง
จากนั้นก็หาค้อนมาทุบเบาๆ ลงไปตรงบริเวณที่ปะเพื่อให้ยางทับปิดกันสนิทมากยิ่งขึ้น ทิ้งไว้อีกสัก 5 นาที
พอกาวแห้งสนิทดีแล้วก็สามารถนำยางไปสูบลมใช้งานได้ต่อไป

ส่วนการปะแบบสติมร้อนนั้นก็ทำคล้ายกันในขั้นตอนแรก
คือทำความสะอาดรอบรอยแผลที่ถูกของมีคมทิ่มตำจนรั่ว ด้วยกระดาษทรายหรือตะไบ
แต่ยางที่นำมาปะจะเป็นยางชนิดพิเศษทำสำเร็จสำหรับรถจักรยานยนต์
คือเป็นแผ่นยาง ที่ด้านหลังติดมากับแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

ส่วนอีกด้านหนึ่งของแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดนั้น จะมีเชื้อไฟสำเร็จรูปติดมาด้วย
เมื่อต้องการปะ ก็จะเอาด้านหน้าของยางวางทาบลงไปตรงแผลที่ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว
แล้วใช้เครื่องกดแผ่นยางให้ติดแน่นทับกันสนิท จากนั้นก็จุดไฟบนหลังแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

รอจนไฟที่ถูกจุดขึ้นมาลุกไหม้ไปทั่วทั้งแผ่นเหล็กและมอดดับลงหมด ทิ้งไว้อย่างนั้นอีกประมาณ 2-3 นาที
จึงทำการดึงเอาแผ่นเหล็กออกจากแผ่นยางที่นำมาปะ
ยางที่นำมาปะจะถูกความร้อนหลอมละลายและมีแรงกดจากเครื่องมือ กดให้ติดสนิทแน่นกันกับยางที่รั่ว
และสามารถนำไปสูบลมใช้งานได้ต่อไป

ส่วนยางรถยนต์ไม่ว่าจะมียางในหรือไม่มียางในก็ตาม จะต้องใช้การปะแบบสติมร้อนเท่านั้น
ด้วยกรรมวิธีเดียวกันกับสติมร้อนยางมอเตอร์ไซค์ แต่ใช้เครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
และใช้อุปกรณ์ที่ต่างกันออกไป
ข้อดีของการปะแบบสติมร้อนคือแผลจะติดสนิทแน่นหนาดี สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก
สูบลมได้เต็มที่

ข้อเสียของสติมร้อน
ก็คือความร้อนจะทำให้โครงสร้างของยางเสียหายได้ หากเป็นยางแบบไม่มียางใน
ส่วนยางที่มียางในก็จะเกิดความเสียหายของยางรอบๆ บริเวณแผลปะที่ถูกความร้อน

จนกระทั่งมีการนำเอากรรมวิธีการปะยางแบบที่เรียกกันว่า “สอดไส้” มาใช้
วิธีการดังกล่าวคือการเอายางที่รั่วมาถอนเอาของแข็งที่ทิ่มแทงออกไป
แล้วใช้ตะไบหางหนูมาแทงแยงเข้าไปตรงรูที่รั่วเพื่อทำความสะอาด
จากนั้นจึงใช้เส้นยางผสมกับใยสังเคราะห์มาชุบลงไปบนน้ำยา ที่มีส่วนผสมของยางดิบ
และกาวสำหรับประสาน จากนั้นก็ใช้เครื่องมือแทงยัดเส้นยางดังกล่าว อัดเข้าไปในรูแผลรั่วนั้น

ข้อดีของการปะแบบนี้คือไม่ต้องถอดยางออกจากกระทะล้อ
สามารถปะได้โดยไม่ต้องถอดกระทะล้อออกจากรถ ทำให้นอตล้อและกระทะล้อไม่ช้ำ
ใช้เวลาการปะรวดเร็ว สามารถถ่วงล้อได้ง่าย

ข้อเสียคือใช้ได้กับยางที่ไม่มียางในเท่านั้น
และรับน้ำหนักมากๆ หรือทนความร้อนสูงๆ สู้แบบสติมร้อนไม่ได้ครับ


โดย พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ
ที่มา : //www.bangkokbiznews.com


สารบัญ รู้เรื่องรถ


Create Date : 29 พฤษภาคม 2554
Last Update : 29 พฤษภาคม 2554 14:47:59 น. 1 comments
Counter : 6279 Pageviews.

 
รายละเอียดเกี่ยวกับยางรถยนต์ยางรถยนต์และการเลือกใช้ล้อแม็กซ์ครับ


โดย: ยางรถยนต์ (ภัควันต์ ) วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:12:30:03 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.