Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
 
3 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
เกร็ดน่ารู้ เพื่อยืดอายุการใช้งานแอร์รถยนต์



1. ตรวจเช็คระบบปรับอากาศรถยนต์ของคุณทุก ๆ 3-6 เดือนจากร้านหรือศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน

2. ควรหมั่นสังเกตระบบแอร์รถยนต์ของคุณด้วยตนเอง
หากแอร์ในรถของคุณความเย็นเริ่มลดลง ให้สันนิษฐานว่าอาจมีการรั่วของน้ำยาแอร์
หรือท่อต่าง ๆ ในระบบอุดตัน
ให้รีบนำรถของคุณเข้าตรวจเช็คโดยด่วน

3. ต้องแน่ใจว่ารถยนต์ของคุณใช้ระบบปรับอากาศระบบ R-12 หรือระบบ R-134a กันแน่
เพื่อป้องกันการผสมกันของน้ำยาแอร์


4. อย่าผสมน้ำยาแอร์ระบบ R-12 และ R-134a เข้าด้วยกัน
เพราะจะทำให้ระบบแอร์รถยนต์ของคุณเสียหายได้

5. น้ำมันคอมเพรสเซอร์ของระบบ R-12 และ R-134a ไม่สามารถใช้แทนกันได้

6. หากคุณไม่แน่ใจว่ารถยนต์ของคุณใช้ระบบ R-12 หรือ R-134a
ให้เปิดตรวจเช็คจากห้องเครื่องที่กระโปรงรถของคุณ โดยดูที่หัวเติมน้ำยาแอร์
ถ้าเป็นระบบ R-12 หัวเติมจะเป็นแบบเกลียว แต่ถ้าเป็นระบ R-134a หัวเติมจะเป็นแบบตัวล็อค


7. จำไว้ว่ารถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ.2538 ใช้กับแอร์ระบบ R-12 เท่านั้น
ส่วนรถยนต์ที่ผลิตหลังปี พ.ศ.2538 เป็นต้นไปจะใช้ระบบแอร์ R-134a
(ยกเว้นรถกระบะต้องผลิตหลังปี พ.ศ.2539)


8. การรั่วซึมในระบบแอร์รถยนต์ อาจเกิดจากการหมดอายุการใช้งานของอะไหล่ได้

9. หากคุณต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยติด ๆ กันในเวลา 3 เดือน
อาจเกิดการรั่วในระบบแอร์ของคุณเข้าแล้ว

10. ระมัดระวังอย่าใช้น้ำยาแอร์ที่ติดไฟได้

11. การถ่ายเทอากาศ การสูบบุหรี่ในรถ ขณะเปิดแอร์ จะทำให้อากาศภายในรถไม่บริสุทธิ์
จึงควรเปิดช่องระบายอากาศเพื่อไล่ควันบุหรี่ออกไป
และเมื่อใช้แอร์เป็นระยะเวลานาน ๆ การเปิดช่องระบายอากาศเป็นระยะ จะทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น

12. เมื่อไม่ได้ใช้รถเป็นเวลานานหลายวัน ควรติดเครื่องยนต์แล้วเปิดแอร์ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที
เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำยาแอร์ที่ซีลคอมเพรสเซอร์


13. ควรจอดรถยนต์ในที่ร่ม
การจอดรถกลางแดดนาน จะทำให้ภายในรถร้อนอบอ้าว ต้องใช้เวลานานกว่าจะเย็นลงได้
ในกรณีนี้ควรเปิดประตูหรือกระจกไว้สักครู่ ก่อนจะขับรถออกจากที่จอดรถ

14. ควรปิดช่องระบายอากาศและกระจกให้มิดชิด ขณะใช้เครื่องปรับอากาศ
เพื่อป้องกันมิให้ลมร้อนภายนอกไหลเข้ามาภายในตัวรถ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ความเย็นลดลงได้

15. ในการขับรถขึ้นเขา เครื่องยนต์ต้องทำงานหนักขึ้น ควรปิดเครื่องปรับอากาศเป็นครั้งคราว
เพื่อลดภาระของเครื่องยนต์และป้องกันเครื่องยนต์ร้อนเร็วขึ้นด้วย

16. ควรทำความสะอาดแผงระบายความร้อนที่อยู่หน้าหม้อน้ำ โดยใช้ลมเป่าหรือใช้น้ำฉีด
แล้วใช้แปรงขนอ่อน ๆ แปรงสิ่งสกปรกที่อยู่ตามครีบออกให้สะอาด

เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยยึดอายุการใงานแอร์รถยนต์ของท่านให้ยาวนาน และยังทำให้แอร์เย็นขึ้นอีกด้วย


เอกสารเผยแพร่
หน่วยอนุรักษ์โอโซน สำนักงานควบคุมวัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม

อ้างอิง : เกร็ดน่ารู้ เพื่อยืดอายุการใช้งานแอร์รถยนต์


สารบัญ รู้เรื่องรถ


Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 9 กรกฎาคม 2554 14:04:29 น. 4 comments
Counter : 1414 Pageviews.

 
และสุดท้ายรู้ไว้ด้วยว่ารถทุกคันใช้ไปได้ระยะประมาณ100,000กม.ระบบแอร์จะต้องเสียเพราะทางผู้ผลิตได้ให้อายุการใช้งานเพียงแค่นั้นซึ่งเป็นเหตุผลทางด้านธุรกิจยกตัวอย่างเช่นตู้แอร์จะรั่วเป็นต้นที่อกสารเผยแพร่มานั้นเป็นเพียงคาดการโดยรวมเท่านั้นใช้งานจริงๆๆไม่เป็นแบบนั้นแน่นอน7


โดย: toto IP: 124.120.57.118 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:18:49 น.  

 
รถผมแอร์ ไม่เย็น พัดลมทำงานปกติ
ให้ช่าง ตรวจพบ น้ำยาแอร์รั่ว เติมใหม่ 1 วัน เกิดปัญหาเดิม เติมน้ำยาแอร์ค่าแรง 500 บาท เสียฟรีไปเลย ไปหาช่างใหม่ให้หาจุดรั่ว พบรั่วที่ คอยล์เย็น
ใต้ คอนโซลหน้า ต้องเปลี่ยน ราคา ประมาณ5000 รวมค่าแรง หลังเปลี่ยนแล้วเย็นจนหนาวเลยพี่น้อง


โดย: เอ็ม nakorn_16@hotmail.com IP: 118.174.10.109 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:56:05 น.  

 
การดูแลคอยล์เย็นมันทำยากครับต้องเปิด ถอดคอนโซลหน้า ไม่รู้ว่าเปลี่ยนใหม่จใช้ได้นานไหม

แต่ที่สังเกตุ เกิดจาก ฝุ่นอุดตันรังผึ้ง และ คราบเหนียวจากน้ำหอม ผมทราบมาว่า มีการล้างคอยล์เย็นแบบไม่ต้องถอดคอนโซล แต่ไม่แน่ใจว่าจะสะอาดจริงอะป่าวไม่เคยลองครับ ใครรู้ช่วยหน่อยนะครับ แล้วจะหอมแก้มเป็นการตอบแทน


โดย: เอ็ม IP: 118.174.10.109 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:05:42 น.  

 
จะล้างแบบ ถอดตู้ ก่อสะอาดดี แต่ ใช้เวลานานและการประกอบกลับของตัวตู้อาจไม่เหมือนเดิม *ถ้าหากจุดบริการนั้นใช้โซดาไฟล้างด้วยแล้วก่ออาจรั่วได้ ถ้าตู้แอร์นั้นมีการใช้งานมามากกว่า 1 ปี หรือ รถนั้นๆ ใช้งานอยู่เป็นประจำ และวิ่งทางฝุ่นเป็นประจำ จะทำให้ตัวตู้อุดตันมากและพัดลมแอร์จะสกปรก ทำให้การทำงานของพัดลมผิดปกติ แล้วจะทำให้พัดลมแอร์ และresiter เสียต้องเปลี่ยนได้ (ควรตรวจสอบ และทำความสะอาด /10000 กม.ทีก่อยังดี)
ล้างแบบ ไม่ถอดตู้ สำหรับผม คิดว่า ควรตรวจเช็ค ทุกครั้งเมื่อเข้าเช็คที่ศูนย์บริการ ว่าการทำงานของระบบแอร์ปรกติหรือไม่ เพราะว่า ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้อุดตันมากๆๆ จะทำให้ คอมแอร์ทำงานหนักส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักไปด้วย หรือปล่อยไว้นานๆๆ จะทำให้การล้างแบบไม่ถอดตู้นี้ยาก และสภาพตัวตู้จะไม่เหมือนเดิม **เหนื่อยแหละ**

****การล้างแบบถอดตู้ และการล้างแบบไม่ถอดตู้ ตากก่อมีข้อดีแข้อเสีย ต่างกันไป (เพราะส่วน ตรงนี้ขึ้นอยู่กับ น้ำยาล้างแอร์ ช่างที่ล้าง และระยะเวลาในการล้าง กับสภาพตู้) ส่วนตรงนี้ผมคิดว่าทุกท่านควรอาจจะพิจารณาได้ว่าควรจะล้างแบบไหน เมื่อเห็นสภาพ ตู้ และข้อมูลของศูนย์บริการ ส่านผม จะล้างแบบไหนก่อขอดูตังก่อนน้า****

*-*T-Tขอเสนอหน่อย น้า ว่า --------------------------การล้างแบบไม่ถอดตู้นั้นจะต้อง ล้างเมื่อพบว่าตู้อุดตัน ระยะการตรวจเช็คอยู่ที่ประมาณ 20000 กม ถ้าพบว่าอุดตัน ควรล้างทันที //////////////////----------------------การล้างแบบถอดตู้นั้น ระยะตรวจเช็ คก่อ 20000 กม. เหมือนกัน (โดยทั่วไป) ผมคิดว่า รถใช้งานบ่อยควรล้างทุก 50000 กม. ส่วนรถที่ไม่ได้ไช้งาน หรือใช้งานไม่บ่อย ควร ตรวจเช็คสภาพตู้ก่อน แล้วตัดสินจัยน้าคร้า~บ ทุกท่าน ///////////////// ------------------------------------O_* ส่วนผมนั้นจะทำความสะอาด ห้องโดยสารอยู่เป็นประจำ และตรวจเช็ค ทุกครั้งเมื่อเข้ารับบริการจากทางศูนย์บริการ /////////-----แต่ที่สำคัญ ผมอยากจะบากให้ทุกท่าน ใส่กรองแอร์รถยนต์ ด้วย เพราะ กรองแอร์ช่วยได้มากเลยคับ แต่ก่อต้องทำความสะอาดกรองแอร์ด้วย อย่าปล่อยให้กรองแอร์ตันจนเกินไป ง่วงมากแล้วไปก่อนนะบ้าย บาย @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ต้องการสอบถามเบื้องต้นมาหากันได้ที่ .....................facebook///,มาหาดูเพื่อนๆๆ ที่นี้เยอะนะที่เป็นช่าง ที่ให้ความรู้ได้ ไม่มากก่อน้อย ดีกว่าไปเปิดเน็ต ไร้สาระ หื่นกาม


โดย: อาร์ทติส IP: 180.183.212.44 วันที่: 9 มิถุนายน 2554 เวลา:20:36:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.