Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
15 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
มารยาทในการขับรถที่คนไทย...ไม่ทำ

รอบรู้เรื่องรถ

การเดินทางด้วยรถยนต์บนถนนสาธารณะ นอกจากกฎหมายราชการแล้ว
ยังควรมีมารยาทและความเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้มีทั้งความราบรื่นและความปลอดภัยในการเดินทางอยู่เสมอ
ผู้ขับรถยนต์ไทยกับมารยาทในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันยังไม่มีมากนัก
หากไม่หันมารณรงค์ร่วมกัน การรักษามารยาทก็คงจะถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง
วิธีและมารยาทในการปฏิบัติต่อไปนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น



กะพริบไฟสูงขอทางหรือเตือน อาจสับสน
บางทีเรียกศัพท์สแลงกันว่า ดิฟไฟสูง คนไทยมักใช้เตือนเพื่อไม่ให้รถยนต์ทางโทตัดเข้ามาทางเอกหรือทางตรง
ในขณะที่บางประเทศใช้การกะพริบไฟสูงเมื่ออยากให้ทาง เพราะแสดงว่าเห็นแล้วและยอมให้ทาง
ขณะที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้เพื่อบอกว่าเห็นแล้วว่า มีรถยนต์กำลังจะตัดทางเข้ามาแต่ไม่ให้เข้ามา
ในกรณีนี้กฎหมายไทยไม่มีการกำหนดว่าให้ใช้การกะพริบไฟสูง เพื่อจุดประสงค์ใด
อาจเพราะไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นสากลได้ จึงยังพอใช้กันในสไตล์ไทยๆ ได้
แต่ก็มีผู้ที่ใช้เพื่อต้องการให้ทางอยู่บ้างซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะต้องเห็นก่อนจึงจะสามารถกะพริบไฟบอกได้
ก็คงต้องปล่อยวางและใช้กันไปตามกระแส




จอดในพื้นที่ห้ามจอด-เปิดไฟฉุกเฉิน
ถือเป็นการเอาเปรียบสังคมอย่างหนึ่ง แม้จะเป็นการจอดชั่วคราวก็ตาม เพราะการเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อแสดงว่าจอด
แต่ถ้าไม่ใช่เวลาและและพื้นที่ซึ่งควรจอดก็ไม่ควรปฏิบัติ อีกทั้งยังผิดกฎจราจรอีกด้วย
การเปิดไฟฉุกเฉินจอดในพื้นที่ห้ามจอด ไม่สามารถป้องกันการออกใบสั่งได้




ก้มศีรษะขอบคุณ ลืมไปแล้วหรือ ?
3-4 ปีที่ผ่านมา ผู้ขับมีการก้มหัวขอบคุณเมื่อได้รับการให้ทาง
นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมมาก เมื่อมีการขอบคุณให้หลังจากได้รับการให้ทาง
แต่ในระยะหลังมานี้เริ่มมีการถดถอยหรือหลงลืมกันไปบ้าง อาจะเป็นเพราะการรักษาศักดิ์ศรีโดยไม่จำเป็น
เช่น ผู้ขับรถยนต์ระดับหรูราคาแพง มักไม่ยอมขอบคุณผู้ขับรถยนต์ราคาถูกที่ยอมให้ทาง
หรือผู้ชายมักไม่ยอมขอบคุณผู้หญิง ฯลฯ




เบรก ต้องสนใจรถยนต์ที่ตามด้วย
ไม่ใช่แค่รักษามารยาทแต่เป็นการเพิ่มความปลอดภัยกันด้วย
ถ้าต้องมีการเบรก ผู้ขับส่วนใหญ่จะมองแค่เป็นการลดความเร็ว เมื่อมีสิ่งกีดขวางด้านหน้า
โดยไม่ค่อยสนใจมารยาทและความปลอดภัยของผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมา
หากมีเวลาพอ ก่อนการเบรกควรเหลือบมองกระจกหลัง
และเพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยจังหวะและน้ำหนักที่เหมาะสม




ข้าม 4 แยก / 3 แยก ตรงไป ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน
ถ้าจะขับรถยนต์แล้วต้องการข้าม 4 แยก หรือ 3 แยกแนวตรงแล้วต้องการตรงไป
การเปิดไฟฉุกเฉิน-กะพริบ 4 มุม เป็นวิธีที่ผิดและอันตราย

สาเหตุที่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินในกรณีนี้
เพราะผู้ขับรถยนต์ที่มาด้านซ้าย-ขวา อาจเห็นเพียงไฟกะพริบด้านหน้ามุมเดียว เสมือนเป็นการเปิดไฟเลี้ยว
โดยไม่ทราบเลยว่าเป็นการเปิดไฟฉุกเฉินกะพริบพร้อมกัน 4 มุมซ้าย-ขวา
หากสมมุติเหตุการณ์ขึ้นจะพบว่าไฟเลี้ยวด้านหน้า แม้จะกะพริบพร้อมกันซ้าย-ขวา
แต่ผู้ขับรถยนต์คันที่มาจากด้านข้างในแต่ละด้าน ก็ยังอาจเห็นไฟกะพริบเพียงมุมเดียว
โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถยนต์มาจากด้านซ้าย ก็อาจจะไม่ชะลอความเร็วลงหรือไม่ให้ทาง
ด้วยคิดว่ารถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉิน จะเลี้ยวซ้ายโดยไม่เกี่ยวกับเขา




สปอตไลท์/ไฟตัดหมอก ควรเปิดเมื่อไม่รบกวนคนอื่น
ไฟส่องสว่างนี้มีทั้งติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานและติดตั้งเพิ่มเอง
ตำแหน่งอยู่ตรงด้านล่างของกันชนหน้า 2 ดวงต่อรถยนต์ 1 คัน

รถยนต์บางรุ่นติดตั้งให้ใช้เป็นไฟตัดหมอก ซึ่งก็ควรใช้เมื่อมีหมอกตามชื่อเรียก
แต่ทุกวันนี้ผู้ขับขี่บางคนกลับเปิดใช้ในขณะที่เส้นทางไม่มืดมาก ซึ่งไม่จำเป็นเลย
เพราะแสงสว่างที่แรงนั้นอาจแยงสายตาทั้งผู้ขับรถยนต์คันที่สวนมา และคันที่นำหน้าในเส้นทางปกติ
ดังนั้นไม่ควรเปิดใช้งาน เพราะสว่างอยู่คนเดียวแต่ทำให้คนอื่นตาพร่ามัว

ผู้ขับรถยนต์บางรายหนักข้อ ด้วยการเปิดเพียงไฟหรี่แล้วเปิดสปอตไลท์เพิ่มความสว่าง
นับเป็นการรบกวนสายตาของเพื่อนร่วมทางอย่างมาก

สำหรับคำถามที่ว่า แล้วเมื่อมีปัญหาอย่างนี้ผู้ผลิตรถยนต์ติดตั้งสปอตไลท์มาเพื่ออะไร
แล้วจะได้ใช้งานเมื่อไร เพราะกลัวไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายระบุในคู่มือว่าสปอตไลท์เมื่อจะใช้ ควรเปิดเมื่อไม่รบกวนผู้อื่น หรือควรเปิดเมื่อหมอกลง
และไม่ควรเปิดใช้ต่อเนื่องนาน ๆ เพราะจะร้อนเกินไปจนจานฉายอาจเสื่อมได้ง่าย

การติดตั้งสปอตไลท์เพิ่มเติมเอง
ถ้าไม่ถูกตำแหน่งหรือมีแสงแรงเกินกำหนดก็ผิดกฎหมาย ทั้งมีการเปิดใช้และไม่เปิด
จะไม่ผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อติดตั้งถูกตำแหน่งมีฝาครอบปิด และไม่ได้เปิดใช้บนเส้นทางเรียบปกติ




เปลี่ยนเลน-แซง-ขึ้นทางตรงได้แล้ว ควรเร่งความเร็วเพิ่ม
การเลี้ยวขึ้นทางตรงจากซอยหรือทางโท รวมถึงการเปลี่ยนเลน ควรกระทำเมื่อเส้นทางว่างพอ
เมื่อเปลี่ยนเข้าสู่เลนที่ต้องการได้แล้ว บางคนไม่สนใจมารยาทต่อผู้ขับรถยนต์คันที่ตามมา
เพราะคิดแต่เพียงว่าถ้าถูกชนด้านท้ายแล้วจะไม่ผิด เนื่องจากเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้ว

ด้านมารยาท เมื่อเข้าสู่เส้นทางได้เต็มคันแล้ว ควรเร่งความเร็วมากๆ กดคันเร่งหนักๆ
เพื่อไล่รถยนต์คันหน้าในระยะที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่ารถยนต์คันหลังห่างแค่ไหน
เพื่อมารยาทและความปลอดภัย ผู้ขับรถยนต์คันหลังจะได้ไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง
และไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้ายรถยนต์ของตนเองด้วย




ไฟเหลือง ควรเร่งหนีหรือเบรก ?
หลักการที่ถูกต้องและเป็นสากล แต่ไม่ค่อยมีปฏิบัติกันคือ ต้องเบรกและจอดเมื่อเห็นไฟเหลืองก่อนไฟแดง
ผู้ขับรถยนต์ไทยส่วนใหญ่ เมื่อเห็นไฟเหลืองกลับกลายเป็นไฟเตือนให้เร่งหนีการติดไฟแดง ซึ่งไม่ถูกต้องนัก

เพราะการที่ไฟเหลืองสว่างขึ้นก่อนจังหวะไฟแดง
ตามหลักการจริง เป็นการเตือนเพื่อให้ชะลอความเร็วลงและจอด และควรเหลือบมองกระจกหลังไว้หน่อย
เพื่อจะได้ตัดสินใจกดแป้นเบรกด้วยน้ำหนักและจังหวะที่เหมาะสม
เพื่อมารยาท ผู้ขับรถยนต์คันหลังไม่ต้องเบรกจนตัวโก่ง และไม่เสี่ยงต่อการเสียโฉมของบั้นท้ายรถยนต์ของตน




ไฟเลี้ยว ต้องเปิด-ปิดอย่างเหมาะสม
ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ถูกมองข้าม
การเปิดไฟเลี้ยวเป็นเรื่องจำเป็น เพราะกฎหมายกำหนดให้มีการเตือนผู้ร่วมทางล่วงหน้าตามระยะที่เหมาะสม
จึงควรเปิดไฟเลี้ยวเมื่อเตรียมเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวล่วงหน้าพอสมควร และไม่ควรเปิดค้างจนลืมปิด



ชิดซ้ายเสมอ
บนถนนหลายเลนมักมีการเตือนวา "ขับช้า ชิดซ้าย"
ซึ่งไม่ค่อยตรงกับหลักการขับปลอดภัยและมารยาทในการใช้ถนน
เพราะจะมีรถยนต์แล่นเลนขวาตลอด โดยคิดว่าความเร็วที่ใช้ในขณะนั้นถือว่าเร็วแล้ว
ซึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายไทยกำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เมื่อใช้ความเร็วเกินขึ้นไปแล้วก็มักจะคิดไปเองว่าเร็วพออยู่แล้ว จึงสามารถแล่นชิดขวาได้


ที่มา : //www.manager.co.th


สารบัญรถยนต์



Create Date : 15 พฤษภาคม 2553
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 13:57:46 น. 0 comments
Counter : 1257 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.