Group Blog
 
All Blogs
 

คัมภีร์ห้าห่วง วิถีแห่งดาบ มิยาโมโตะ มุซาชิ : บทแห่งลม

บทแห่ง “ลม” กล่าวถึงกลยุทธ์ของสำนักดาบอื่น ที่แทบทั้งหมดยึดติดอยู่กับกระแสเดิม ๆ ลมจึงเปรียบได้ดั่งกระแสดังกล่าว หากไม่สามารถรู้ถึงขีดความสามารถของคู่ต่อสู้ ก็เป็นการยากที่จะรู้จักตนเอง สำหรับสำนักอื่นแล้วเมื่อพูดถึง “กลยุทธ์” ก็จะให้ความสำคั_ไปที่ “เพลงดาบ” ซึ่งแตกต่างกับวิถีของ “มุซาชิ” โดยสิ้นเชิงและเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และหากผู้ใดเริ่มต้นด้วยจุดเล็ก ๆ ที่ไม่ถูกต้องแล้ว ที่สุดแล้วย่อมขยายไปสู่ข้อผิดพลาดอันยิ่งให_่ “มุซาชิ” จึงมุ่งกล่าวถึงรูปแบบและวิธีการของสำนักดาบอื่น โดยชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดและจุดด้อยของแต่ละรูปแบบ โดยเห็นว่าการที่แต่ละสำนักให้ความสำคั_กับรูปแบบอย่างตายตัวนั้น เป็นเพียงแนวทางการปรุงแต่งให้เพลงดาบเป็นเพียงการค้าขายเท่านั้น การจำกัดอยู่เพียงกระบวนท่าที่ตายตัว แม้จะมีการฝึกฝนขัดเกลาอย่างหนักหน่วงแต่ก็ยังห่างไกลจากวิถีแห่งกลุทธ์ที่แท้ และไม่ใช่กลยุทธ์แห่งการพิชิตชัย “มุซาชิ” ได้ประมวลรวบรวมแนวทางดาบของสำนักอื่นที่ปรากฏอยู่ทำการวิเคราะห์แยกแยะแบ่งออกเป็น 9 หมวดหมู่โดยได้ให้ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ไว้ดังนี้

แนวทางของ “ดาบยาวพิเศษ”

“มุซาชิ” กล่าวว่า มีบางสำนักที่ให้ความสำคั_กับการเลือกใช้ดาบที่ยาวกว่าคู่ต่อสู้ ด้วยความคิดที่ว่า “ยาวหนึ่งนิ้ว ได้เปรียบหนึ่งส่วน” แนวทางนี้สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจที่อ่อนแอ และผิดเพี้ยนไปจากวิถีแห่งกลยุทธ์ที่แท้ เพราะในความเป็นจริง ดาบที่ยาวกว่า ก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีเปรียบเสมอไป ในกรณีที่ระยะห่างระหว่างเรากับคู่ต่อสู้ยิ่งชิดกันมาก ดาบยาวก็ยิ่งยากต่อการกวัดแกว่างฟาดฟัน แทนที่จะเป็นประโยชน์ก็จะกลับกลายเป็นภาระของผู้ใช้ ถึงแม้ผู้มุ่งเน้นแนวทางของดาบที่ยาวกว่า จะยกเหตุผลต่าง ๆ มากมายที่จะชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบ แต่ในความเป็นจริง ก็ไม่ใช่ว่าผู้ที่ใช้ดาบสั้นกว่าจะต้องพ่ายแพ้เสมอไป เพราะในบางพื้นที่อาจมีสิ่งกีดขวางต่อดาบที่ยาวเป็นพิเศษ ดาบที่ยาวเป็นพิเศษและมีน้ำหนักมาก ยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีพละกำลังไม่เพียงพอ การใช้ดาบที่ยาวกว่า อาจเปรียบได้กับการศึกที่ใช้กองทัพที่มีกำลังพลมากกว่า ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า ฝ่ายที่มีลำลังพลให_่กว่าจะต้องชนะเสมอไป มีตัวอย่างอยู่มากมายที่กองกำลังขนาดเล็กสามารถมีชัยเหนือกองกำลังที่ให_่กว่าได้

แนวทางของ “ดาบทรงพลัง”

บางสำนักเน้นหนักที่การใช้กำลังในการฟาดฟันดาบ สำนักเหล่านี้มีความเห็นว่าการใช้กำลังอันรุนแรง เป็นหนทางในการทำลายล้างคู่ต่อสู้ แต่ในมุมมองของ “มุซาชิ” แล้ว ดาบที่ใช้ออกด้วยความรุนแรงเพียงอย่างเดียวเป็นของหยาบ การศึกที่แท้ยากที่จะเอาชัยด้วยพลังอันป่าเถื่อนเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ดาบฟาดฟันออก ความคิดไม่ควรยึดติดอยู่กับการใช้กำลังว่า ดาบนั้นจะฟันออกอย่างรุนแรงหรือแผ่วพลิ้ว วิถีที่เที่ยงแท้คือเมื่อดาบฟาดฟันออก ความคิดคำนึงจะมุ่งอยู่ที่การทำลายล้างคู่ต่อสู้เท่านั้น การฟาดฟันที่รุนแรงจะผกผันย้อนกลับในรูปแบบของแรงดีดสะท้อน ที่จะนำไปสู่การเสียสมดุล ขาดหลักยึดอันมั่นคง และตกเข้าสู่สภาวะที่เสียเปรียบ การโหมใช้แรงอย่างรุนแรง ยังกระทบถึงระดับความเร็วที่ชะลอเชื่องช้าลง เช่นเดียวกับการศึก การใช้กำลังหา_หักเพียงอย่างเดียว จะนำไปสู่ความสู_เสีย ซึ่งไม่อาจยืนยันได้ว่าจะพบกับชัยชนะเสมอไป

แนวทาง “ดาบสั้น”

บางสำนักมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการใช้ดาบสั้น (โดยทั่วไปนักสู้ชาวญี่ปุ่นจะพกดาบสองเล่ม คือดาบยาวเล่มหนึ่งเรียกว่า “ทาจิ” และดาบสั้นอีกเล่มหนึ่งเรียกว่า “คาตานะ”) โดยมักฝึกฝนให้ใช้ออกเมื่อต้องตกอยู่ในสภาวะตั้งรับ ความเห็นของสำนักโดยทั่วไปก็คือ ดาบสั้นเหมาะสมที่จะใช้ในการปัดป้องหลบหลีก “มุซาชิ” เห็นว่าสภาวะการตั้งรับนั้นเกิดขึ้นจากการถูกชักจูงของฝ่ายตรงข้าม หรือการที่ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังคนมากว่า การบุกเข้าไปในดงของคู่ต่อสู้จำนวนมากด้วยการใช้ดาบสั้นเพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะดาบสั้นจะตกอยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการปัดป้อง แนวทางที่แท้ในการตั้งรับคือ การป้องกันอย่างรัดกุม แล้วจึงหาจังหวะที่จะสร้างความสับสนให้กับฝ่ายตรงข้าม แม้ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังพวกมากกว่าก็ต้องตัดทอนกระจายกำลังของคู่ต่อสู้ลง เมื่อสบโอกาสจึงเข้าบดขยี้ทำลาย การฝึกฝนเน้นใช้ดาบสั้น จะทำให้ผู้ฝึกติดยึดกับความคิดในการตั้งรับเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ถูกคู่ต่อสู้ชักจูงไปในที่สุด

แนวทางของ “ดาบหลายเล่ม”

บางสำนักมุ่งเน้น ให้ผู้ฝึกฝนสามารถใช้ดาบที่มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันออกไป เพื่อใช้ในสภาวการณ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับ “มุซาชิ” แล้ว แนวทางดังกล่าวสะท้อนถึงความวอกแวกสับสนในตัวของผู้ฝึกฝนเอง สำนักที่มุ่งเน้นแนวทางดังกล่าว ก็เป็นเพียงแค่การสร้างความหลากหลาย เพื่อที่ประดับประดากลยุทธ์ของตนเองให้สามารถซื้อขายเท่านั้น การเน้นรูปแบบดาบ ตลอดจนให้ความสำคัญกับท่วงท่าในการฟาดฟัน ย่อมไม่ใช่วิถีแห่งกลยุทธ์ สิ่งพื้นฐานที่แท้คือการเหยียบย่ำไปยังเหล่าคู่ต่อสู้ให้สับสน ทำลายขวัญและกำลังใจให้ฝ่ายตรงข้ามสูญเสียกระบวนท่า

แนวทางของสำนัก “จรดกระบวนท่า”

บางสำนักเน้นที่รูปแบบการจรดท่าดาบ โดยมากจะเน้นให้ผู้ฝึกฝนตั้งท่าจรดดาบ ด้วยท่วงท่าที่แข็งเกร็ง ซึ่งตามความคิดของ “มุซาชิ” แล้ว เป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ใดเลย เพราะการจดท่านั้น เป็นสิ่งที่พึงทำเมื่อไร้ศัตรูเท่านั้น การจรดท่าดาบที่แท้ไม่ใช่สิ่งดายตัวต้องแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อม จึงสามารถพิชิตชัย การจรดท่าสะท้อนถึงรูปแบบการให้ความสำคัญกับการตั้งรับ ซึ่งขัดกับแนวทางการรุก เมื่อฝ่ายตรงข้ามมุ่งเน้นการจรดท่า ก็จะเปิดโอกาสให้เราสามารถสังเกตค้นหาจุดอ่อน ที่จะเข้าจู่โจมทำลายอย่างเหนือการคาดเดา ทั้งการสร้างสถานการณ์อันสับสน ก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงในจิตใจของฝ่ายตรงข้าม ตลอดจนการสร้างความตื่นตระหนกหวาดกลัว การจรดท่าที่แข็งเกร็งตายตัวก็เปรียบเหมือนกับการตั้งทัพในรูปแบบเดิม ๆ และขาดความยืดหยุ่น ง่ายที่จะคาดเดาและไม่อาจแปรผันไปตามสภาวการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจึงยากที่จะมีชัย

แนวทางของสำนัก “จุดเพิ่งสมาธิ”

แต่ละสำนักจะฝึกฝนให้มีจุดในการเพ่งมองไปยังคู่ต่อสู้แตกต่างกันออกไป บางแห่งเน้นการเพ่งสมาธิไปยังดาบของฝ่ายตรงข้าม บ้างก็เพ่งไปยังใบหน้า บ้างก็ให้ความสำคัญกับมือหรือการย่างเท้า “มุซาชิ” เห็นว่าการเพ่งสมาธิมองไปยังจุดหนึ่งจุด ทำให้ละเลยไม่อาจเห็นสภาพโดยรวมที่แท้จริง อีกทั้งสมาธิจิตใจยังอาจถูกทำให้วอกแวกสับสนจากจุดปลีกย่อย ที่ฝ่ายตรงข้ามจงใจเปิดเผยล่อลวง มีเพียงจิตใจของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น ที่จะเป็นจุดเพ่งสมาธิ กล่าวกันว่านัยน์ตาคือหน้าต่างของหัวใจ เมื่อเพ่งมองนัยน์ตาของฝ่ายตรงข้าม ก็จะสะท้อนถึงจิตวิญญาณแท้จริงที่ซ่อมเร้นอยู่ ย่อมเห็นถึงสภาพการณ์ที่แท้จริง ชัดเจนถึงระยะและความเร็วของวิถีดาบ ตลอดจนจังหวะขึ้นลงแห่งกำลังใจของคู่ต่อสู้ เช่นเดียวกับการรบทับจับศึก ที่จะต้องพึงสังเกตและรับรู้ถึงสภาพอันแท้จริงของฝ่ายตรงข้าม ค้นหาจุดอ่อนจุดแข็ง ไม่ควรใส่ใจสิ่งปลีกย่อยที่จะสร้างคามไขว้เขว

แนวทางของ “การสืบเท้า”

แต่ละสำนักก็มีแนวทางการสืบเท้าในขณะต่อสู้ที่แตกต่างไป บ้างเน้นหนักที่จะก้าวย่อง บ้างฝึกฝนการกระโดดลอยตัว บ้างเน้นการทิ้งน้ำหนักในการก้าวย่าง บางแห่งค้นคิดการก้าวย่างด้านข้าง และยังมีรูปแบบการสืบเท้าต่าง ๆ อีกมากกมาย แต่สำหรับ “มุซาชิ” แล้ว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่สลักสำคัญ สภาพพื้นผิดที่แตกต่างจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการสืบเท้าเอง เพราะสมรภูมิที่แท้มีสภาพพื้นผิวที่เรียบสมบูรณ์ บางแห่งเป็นป่ารกชัฏ บางแห่งเป็นหล่มโคลน หรืออาจเป็นห้วยธารคลองบึง รูปแบบการสืบเท้าอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมไม่เหมาะสม การสืบเท้าที่ดี จึงควรเป็นเช่นการเดินดังปรกติ ที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เฝ้าสังเกตจังหวะของคู่ต่อสู้ รักษาระดับฝีเท้าความเร็วช้า ที่สามารถคุกคามให้ฝ่ายตรงข้าม ตกอยู่ในจังหวะที่เราสามารถควบคุม สำหรับการทำศึกแล้ว การเดินทัพจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และสถานะของฝ่ายตรงข้าม การหักโหมโจมตีโดยไม่รู้กลยุทธ์ของฝ่ายตรงข้ามจะนำมาซึ่งความพ่ายแพ้ เช่นเดียวกับการสูญเสียโอกาสที่จะมีชัย เพราะไม่อาจทราบถึงความระส่ำระสายที่เกิดขึ้นในฝ่ายตรงข้าม

แนวทางของ “ความเร็ว”

บางสำนักเน้นที่ความเร็วในการพิชิตชัย ทั้งความเร็วของท่าร่าง และความเร็วในการฟาดฟันดาบออก เพราะเชื่อว่าจะสร้างความได้เปรียบในการต่อสู้ แต่คำกล่าวที่ว่า “ยิ่งเร่งรีบ ยิ่งสู_เปล่า” สะท้อนให้เห็นว่าความเร็วไม่ใช่ตัวกำหนดชัยชนะเสมอไป “มุซาชิ” เห็นว่าบางสภาวะแวดล้อมนั้นไม่อาจใช้เร็วเข้าชิงชัย ความเร็วช้าที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมสะท้อนให้เห็นถึงการสู_เสียจังหวะในการต่อสู้ หากฝ่ายตรงข้ามเร่งรีบ เราควรจะตั้งอยู่ในความสงบ การใช้ความเร็วสู้ความเร็ว จะทำให้ตกอยู่ในจังหวะของคู่ต่อสู้ เมื่อนั้นย่อมยากที่จะมีชัย

แนวทางของ “เคล็ดลับ”

สำนักดาบบางแห่งมีการคัดเลือกผู้ฝึกฝนที่จะได้รับการถ่ายทอดเคล็ดวิชาลับสุดยอด แต่สำหรับ “มุซาชิ” แล้วมุ่งที่จะฝึกฝนให้ตามความพร้อมของแต่ละคน เน้นหนักที่การเล่าเรียนจากประสบการณ์ที่แท้จริง จึงไม่มีวิชาชั้นสูงที่เป็นเคล็ดลับ รูปแบบการถ่ายทอดแปรเปลี่ยนไปตามภูมิปัญญาของผู้ฝึกฝน โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ขจัดความสงสัยให้กับศิษย์ เป็นแนวทางที่ว่า “ครูคือเข็ม ศิษย์คือด้าย”




 

Create Date : 14 กันยายน 2550    
Last Update : 14 กันยายน 2550 7:48:03 น.
Counter : 937 Pageviews.  

ัคัมภีร์ห้าห่วง วิถีแห่งดาบ มิยาโมโตะ มุซาชิ : บทแห่งไฟ

ธรรมชาติของไฟนั้น เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แปรเปลี่ยนขาดได้ตลอดเวลา และเปี่ยมไปด้วยอันตราย บทนี้จึงว่าด้วยการต่อสู้ทั้งแบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือการโรมรันทั้งกองทัพ การต่อสู้ก็เปรียบเสมือนกับ “ไฟ” ดังนั้นยุทธวิธีต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ จะถูกนำมาอธิบายไว้ในบทนี้ โดยทั่วไปมีความเชื่อว่า เคล็ดลับของชัยชนะคือความรวดเร็ว หลายสำนักเน้นฝึกฝนความรวดเร็วของร่างกาย เพราะเชื่อว่าความเร็วเพียงน้อยนิดจะนำมาซึ่งชัยชนะแต่วิถีแห่งกลยุทธ์ “มุซาชิ” มุ่งเน้นว่า การเล็งเห็นถึงยุทธวิธีของฝ่ายตรงข้าม อย่างรู้แจ้งแทงตลอด เข้าใจถึงจุดเด่น จุดด้อย ของกลยุทธ์ที่ฝ่ายตรงข้ามใช้ จึงเป็นหนทางที่แท้จริงสู่ชัยชนะ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพิชิตชัย คือการเลือกทำเลสถานที่ จะต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่สูงกว่าของฝ่ายตรงข้ามเป็นการข่มขวัญ ให้แสงสว่างอยู่ด้านหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสายตา และเป็นทิศทางที่แสงจะรบกวนคู่ต่อสู้ในขณะที่เราจู่โจม ในขณะที่ต่อสู้จู่โจม จะต้องไม่เปิดโอกาสให้ศัตรูเห็นตำแหน่งทิศทางตลอดจนสภาวะแวดล้อมที่ก้าวผ่าน และบีบคั้นฝ่ายตรงข้ามเข้าสู่จุดอับ แม้แต่การต่อสู้ในห้องหับก็ต้องคำนึงถึงข้างของเครื่องใช้ในห้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการกีดขวงคู่ต่อสู้

“มุชาชิ” กล่าวถึงการเคลื่อนไหวแรกว่า มีเพียง 3 กรณีเท่านั้นคือ หนึ่ง จู่โจมเพื่อมุ่งเป็นฝ่ายรุก สอง ตั้งรับการจู่โจมจากฝ่ายตรงข้าม และสาม การจู่โจมพร้อมกับฝ่ายตรงข้าม

ในรูปแบบที่หนึ่ง ต้องพิจารณาถึงตำแหน่งแง่มุมที่จะลงมือ แล้วลงมือทันทีโดยปราศจากการลังเล ด้วยพลังและความเร็วที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม หากแต่ต้องออมรั้งพลังสำรองไว้อีกส่วนหนึ่ง ไม่ควรทุ่มเทพลังทั้งหมดลงไปกับการโจมตีครั้งแรก เพียงครั้งเดียว

ในรูปแบบที่สอง เมื่อตั้งรับให้อยู่ในสภาวะว่างเปล่าผ่อนคลายเหมือนไร้กำลัง แต่เมื่อฝ่ายตรงข้ามโถมเข้าใส่ ให้ถอยหลังเพิ่มระยะห่างอย่างรวดเร็ว และเมื่อสภาวะจู่โจมของคู่ต่อสู้ถึงที่สุด ก็จะเป็นจังหวะรุกไล่กลับเพื่อเอาชัย

ในรูปแบบที่สาม จะต้องอาศัยการตอบโต้ที่สงบเยือกเย็น ประกอบกับการเคลื่อนไหวหลอกล่อ และเมื่อคู่ต่อสู้อยู่ในระยะหวังผลจึงฉกฉวยโอกาสจู่โจมพิชิตศึกอย่างรวดเร็ว

การจะบรรลุถึงผลของการเคลื่อนไหวแรก จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจกับฝ่ายตรงข้าม ทั้งในแง่ของบุคลิกภาพและการเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ ที่จะสะท้อนถึงจุดแข็งและจุดอ่อนออกมา ในแง่ของการศึกสงครามก็คือ ศึกษาถึงรูปแบบการเดินทัพ ขวั_และกำลังใจไพร่พล ตลอดจนหลักจิตวิทยาของฝ่ายตรงข้าม และพื้นที่ในการทำสงครามเพื่อสืบค้นถึงจังหวะและช่องว่างในการจู่โจม เมื่อเรียนรู้ถึงฝ่ายตรงข้ามก็จะสามารถหยุดยั้งความคิดที่จะจู่โจม จนอยู่ในสถานะที่ชักนำคู่ต่อสู้ แทนที่จะถูกชักนำ ต้องล่วงหน้าก่อนการกระทำของฝ่ายตรงข้ามเสมอเพื่อก่อกวนสิ่งที่คู่ต่อสู้จะดำเนินการให้กลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เช่นในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามโถมเข้าประชิด ให้หยุดยั้งการจู่โจมด้วยการฉากหนี กล่าวคือไม่ยอมให้คู่ต่อสู้อยู่ในสภาวะที่ได้เปรียบแม้แต่น้อย

ในกรณีของการศึกสงคราม หากฝ่ายตรงข้ามจู่โจมจากระยะใกล้ด้วยธนูหรือปืนไฟ เราก็จะต้องบุกจู่โจมเข้าใกล้ เพื่อทำลายระยะที่มีเปรียบของฝ่ายตรงข้าม และใช้ดาบด้วยจิตใจที่แข็งแกร่ง ในการเข้าต่อสู้โรมรัน แน่นอนว่า การฝ่าข้ามไปในลักษณะนี้ จะเต็มไปด้วยความยากลำบาก หากแต่เมื่อฝ่าข้ามไปได้ก็จะล่วงรู้ถึงจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ จึงต้องอาศัยความบากบั่นอดทน เช่นเดียวกับการล่องเรือข้ามมหาสมุทรจนถึงฝั่ง ต้องเข้าใจความรู้สึกนึกคิดจนเหมือนกับจะกลายเป็นฝ่ายตรงข้าม เมื่อบรรลุถึงขอบเขตนี้ ก็จะสามารถคาดการณ์ถึงดาบต่อไปของฝ่ายตรงข้ามได้ นำมาซึ่งความมีเปรียบอย่างต่อเนื่อง แม้เมื่อคู่ต่อสู้เข้าสู่ภาวะพังพินาศ เราก็สามารถที่จะรับรู้และฉกฉวยจังหวะเข้าพิชิตชัยได้ในที่สุด

หากเมื่อทั้งสองฝ่ายเข้าสู่ภาวะของการค้ำยัน เราจะต้องเปลี่ยนแผนที่วางไว้ทันที่ เพราะเป็นสั__าณว่าฝ่ายตรงข้ามอาจล่วงรู้ถึงสภาวะของเรา หากยังดื้อดึงยืนกรานก็รังแต่จะสู_เสียกำลัง การสร้างภาวะผ่อนคลาย ก็สามารถแพร่ระบาดสู่ฝ่ายตรงข้าม หากเราสามารถสร้างภาวะผ่อนคลายขึ้นจนมอมเมาให้ฝ่ายตรงข้ามย่อหย่อน เราก็จะโจมตีเข้าไปได้ เหมาะสำหรับใช้ออกในยามที่เผชิ_กับการศึกที่ยืดเยื้อ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการแทรกซึมเข้าไปยังฝ่ายตรงข้าม ในกรณีที่ไม่อาจคาดการณ์ถึงแผนการ หรือจิตเจตนาที่แท้จริงของฝ่ายตรงข้ามได้ กลยุทธ์ที่ควรจะใช้ออกเรียกว่า “การเคลื่อนเงา” อันเป็นรูปแบบการแสร้งโจมตี แบบดุเดือนดรุนแรง เพื่อบีบบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเผยแผนการที่แท้จริงออกมา เมื่อสามารถล่วงรู้แผนการของฝ่ายตรงข้ามได้ หากฝ่ายตรงข้ามเริ่มดำเนินกลยุทธ์ เราก็จะต้องชักจูงเปลี่ยนแปลงทิศทางของฝ่ายตรงข้าม ให้อยู่ในทิศทางและแง่มุมที่เราสามารถควบคุมไว้ได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เรียกว่ากลยุทธ์ “การพรางเงา”

แนวทางหนึ่งในการมีชัยเหนือคู่ต่อสู้คือ การทำให้ฝ่ายตรงข้ามอยู่ในสภาวะที่เสียสมดุล ปราศจากขวัญและกำลังใจ โดยมีแนวทางหลัก ๆ สามประการ คือ หนึ่ง สร้างความวิตกหวาดกลัวให้เกิดกับฝ่ายตรงข้าม สอง ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่าเราสามารถทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และสาม ทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดเดาสถานการณ์ที่แท้จริงได้

กลยุทธ์การขู่ขวั_มักถูกใช้ออกเพื่อทำลายความคิดต่อสู้ของฝ่ายตรงข้าม สามารถทำได้ทั้งจากรูปแบบของการจัดทัพให้ดูยิ่งให_่ ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีไพร่พลอยู่ไม่มากนัก การจัดแบ่งกองทัพออกจู่โจมกระหนาบข้าง เพื่อตัดกำลังและสร้างความหวาดกลัวตลอดจนการใช้ฝุ่นควันในการพรางตาฝ่ายตรงข้าม หรือการใช้เสียงในการทำลายขวัญ

ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามมีความแข็งแกร่ง ไม่อาจเอาชัยได้ในการโจมตีทั้งหมดเราก็จะต้องศึกษาถึงแง่มุมสำคั_ของคู่ต่อสู้อันเป็นจุดยุทธ์ศาสตร์หลัก เพื่อโถมกำลังเข้าจู่โจมทำลาย เพราะหากสามารถควบคุมจุดยุทธ์ศาสตร์ได้ ก็จะมีชัยในขั้นสุดท้าย เช่นเดียวกับหลักการที่ว่า “จับโจรให้จับหัวหน้า” เราจะต้องสร้างความสับสนให้กับฝ่ายตรงข้ามด้วย เพื่อไม่ให้ล่วงรู้ถึงเส้นทางการเดินทัพและแง่มุมในการโจมตีที่แท้จริง ซึ่งสามารถทำได้จากการล่อหลอกด้วยเส้นทางการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งที่ไม่แน่นอนตลอดจนการเปลี่ยนระดับความเร็ว

ในกรณีพบกับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งหรือมีกำลังพลที่มากกว่า จะต้องทำให้กระบวนทัพของฝ่ายตรงข้ามตกอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง โดยการโจมตีเข้าไปยังจุดต่าง ๆ ของฝ่ายตรงข้ามเมื่อฝ่ายตรงข้ามทุ่มเทกำลังเข้ามารับมือ เราก็จะถอนกำลังไปโจมตียังจุดอื่นแทน รูแบบเช่นนี้จะสร้างความปั่นป่วนรวนเรให้กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่แท้จริงคือการเข้าประชิดเพื่อพิชิตชัยขั้นท้ายสุด เมื่อเราพบว่าคู่ต่อสู้อยู่ในสภาวะเพลี่ยงพล้ำ แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีไพร่พลมากกว่า แต่ก็ขาดซึ่งขวัญและกำลังใจ ก็นับเป็นโอกาสอันดีในการเข้าบดขยี้ทำลายล้างให้ย่อยยับ ไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ถอยหนี และจะไม่วนกลับมาได้อีก การจะให้ฝ่ายตรงข้ามพ่ายแพ้นั้นไม่ใช่เป็นเพียงความพ่ายแพ้ภายนอก หากแต่จะต้องเป็นการยอมรับทั้งกายและใจ เพราะจิตใจที่ไม่พ่ายแพ้ ย่อมสามารถรวบรวมกำลังขึ้นต่อสู้ใหม่อยู่เสมอ ในทางตรงกันข้ามหากเราต้องตกอยู่ในจุดอับ ที่สภาพเป็นเบี้ยล่าง จนไม่อาจแก้ไขสถานการณ์ได้ ควรที่จะเลิกล้มแผนที่ได้ วางไว้ทั้งหมดทิ้งไปเสีย และเข้าสู่ภาวะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะการแก้ไขปัญหานั้น ในบางสถานการณ์ยังยากยิ่งกว่าการเริ่มสร้างใหม่เสียอีก จะต้องดำเนินการในสิ่งที่ตรงข้ามกับความคาดหวังของฝ่ายตรงข้ามอยู่เสมอด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ควรที่จะใช้กลยุทธ์เดิม ๆ ซ้ำสอง และควรที่จะมุ่งให้ความสนใจกับหลักใหญ่ใจความ เพราะการให้ความสำคัญกับรายละเอียดปลีกย่อยจนมากเกินไป อาจนำไปสู่ความเข้าใจถึงสถานการณ์ที่แท้จริงอย่างผิดเพี้ยน

แนวทางของ “มุซาชิ” คือเน้นให้ความสำคัญกับการรุก ต้องสร้างโอกาสให้อยู่ในสภาวะรุกเสมอ ผู้ที่มีชัยได้จะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักหน่วง จนมีความแข็งแกร่งดุจหินผา สามารถรับมือกับการจู่โจมได้ในทุกรูปแบบ แก่นแท้ของชัยชนะคือการเรียนรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายตรงข้าม ในแง่ของการทำศึก ต้องเข้าใจไพร่พลของฝ่ายตรงข้ามดุจประหนึ่งว่าเป็นไพร่พลของตนเอง เมื่อบรรลุถึงขอบเขตนี้แล้ว “มีดาบ” กับ “ไร้ดาบ” ก็ไม่มีความแตกต่างกัน ผู้มีชัยไม่จำเป็นจะต้องมีดาบเสมอไป




 

Create Date : 14 กันยายน 2550    
Last Update : 14 กันยายน 2550 7:53:01 น.
Counter : 727 Pageviews.  

“คัมภีร์ห้าห่วง” โดย มิยาโมโตะ มุซาชิ

•ไม่ถูกความคิดเก่า ค่านิยมเก่าและประเพณีที่ครำครึครอบงำ
•ไม่ขายวิชาเพื่อการพาณิชย์
•แม้ยามสงบก็หมั่นลับเขี้ยวเล็บเอาไว้เสมอ
•จิตใจมิใช่สิ่งที่ฝึกฝนได้ด้วยตำรา แต่ต้องฝึกฝนโดยผ่านการต่อสู้จริงๆ โดยผ่านการปฏิบัติที่เป็นจริง
•“การเมือง” คือวิทยายุทธ์ของการต่อสู้แบบรวมหมู่
•หลักการต่อสู้ที่จะรบชนะปัจเจกได้ย่อมสามารถประยุกต์ใช้กับการต่อสู้เพื่อเอาชนะคนหมู่มากได้
•จงใช้อาวุธทุกชนิดที่มีอยู่ทั้งหมดในการต่อสู้
•จะต้องสำเหนียกให้ดีว่า อาวุธที่ตนเองมีอยู่คืออะไร
•ไม่ยึดติดกับการใช้อาวุธประเภทเดียว
•จงมีจิตใจที่หนักแน่น ราบเรียบ ไม่หวั่นไหวโดยง่าย จิตใจเช่นนี้จะได้มาจากการฝึกฝนเท่านั้น ไม่อาจเกิดขึ้นเองได้เป็นอันขาด
•การลำเอียงเข้าข้างตัวเอง เป็นอุปสรรคของการพัฒนาจิตใจ
•พยายามรักษาความคึกคักและกระตือรือร้นในชีวิตประจำวันเอาไว้ตลอดเวลา
•ไม่ติดกับ ‘กระบวนท่า’ หรือ ‘สามัญสำนึก’ ที่ตัวเองมีอยู่
•หัดวางตัวเองให้อยู่ในฐานะของคู่ต่อสู้
•‘ศัตรู’ มักอยู่ในพวกเดียวกันเอง
•ศัตรูเป็นสิ่งที่ไม่ถาวร เพราะศัตรูคือความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกับสถานที่ เวลา และผู้คน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงได้
•ก้าวแรกของชัยชนะอยู่ที่การขจัดเงื่อนไขของการเป็นศัตรู
•สร้างความหวั่นไหวให้กับจิตใจของคู่ต่อสู้
•แสวงหาวิธีที่จะเปล่งพลังและศักยภาพของตัวเองออกมาได้จนถึงขีดสูงสุด
•เป้าหมายคือสิ่งที่ตัวเองสามารถบรรลุได้
•จงอย่ากลัวการมีชีวิตอย่างโดดเดียว
•การฝึกฝนตนเองนั้นไม่มีที่สิ้นสุด
และสุดท้าย
•จงต่อสู้เมื่อคิดว่าจะชนะ




 

Create Date : 14 กันยายน 2550    
Last Update : 14 กันยายน 2550 7:38:50 น.
Counter : 664 Pageviews.  

โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม

อลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม

โดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร




(ซ้าย) ภาพถ่ายเก่าเสาชิงช้าที่โบสถ์พราหมณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (ขวา) ภาพพิธีโล้ชิงช้า ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร

หลักฐานเชื่อได้ที่เก่าแก่ที่สุดของพระราชพิธีตรียัมปวายปรากฏอยู่ในกฎพระมณเฑียรบาลของกฎหมายตราสามดวงที่น่าจะเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาว่าพิธีตรียัมปวายกลายมาจาก "ติรุเว็ม?ปาไว" ซึ่งเป็นการสวดกล่อมเทพเจ้า ก็จะเห็นได้ว่าดั้งเดิมนั้นพิธีนั้นคงจะไม่เกี่ยวกับการ โล้ชิงช้าใหญ่

หลักฐานจากดินแดนต้นแบบคือประเทศอินเดีย จะพบได้ว่ามีเฉพาะการนำเทวรูปมาไกวในชิงช้า เช่น พระราชพิธีมาฆวิธานำ ที่ชาวเมืองพาราณสีจะประกอบขึ้นในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 และงานโล้ชิงช้าสำหรับพระอิศวรในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือนไจต (ร(เดือน 5) เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ชวนให้นึกถึงพิธีการช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมปวายด้วย

แม้ว่าจะไม่มีการกล่าวถึงการโล้ชิงช้าในกฎมณเฑียรบาล แต่เอกสารที่น่าจะกำหนดอายุได้ในช่วงที่ใกล้เคียงกับฉบับอื่นคือ โคลงทวาทศมาส ได้กล่าวถึงพระราชพิธีตรียัมปวายโดยพรรณนาความเปรียบภาพในพระราชพิธีดังกล่าวกับหญิงอันเป็นที่รัก โดยบรรยายภาพบางส่วนในเทศกาลว่าประกอบพิธีในเดือนหัวกวางคือเดือนอ้าย มีพราหมณ์ทำพิธีแขวนแผ่นกระดาน มีขบวนรำและการรำเสนง เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติอยู่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

อย่างไรก็ดี การแขวนกระดานดังกล่าวไม่สามารถใช้พิสูจน์หรือยืนยันได้อย่างชัดเจนว่ามีการให้พราหมณ์นาลิวันขึ้นไปโล้ชิงช้า เนื่องจากโคลงดังกล่าวไม่ได้อ้างไว้อย่างชัดเจน ประกอบกับที่หลักฐานบางส่วนได้ระบุให้ทราบว่าการแขวนกระดานที่เสาชิงช้าไม่จำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้าเสมอไป เช่น หนังสือตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชที่มีข้อความที่กล่าวถึงพระราชพิธีตรียัมปวายในเขตพื้นที่ดังกล่าวโดยระบุว่า "...ฝั่งเสาชิงช้าผูกต้นกล้วยอ้อยแขวนบรมหงษ์..."

(ซ้าย) บรรยากาศในพิธีโล้ชิงช้า ภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 (ไม่ทราบปี พ.ศ. (ขวา) นาลิวันรำเสนง ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ข้อความในพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.2476 ที่กล่าวถึงการเสด็จชมโบสถ์พราหมณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่ามีนางกระดานสามแผ่น แต่เมื่อพระองค์ทรงถามพราหมณ์ผู้เฝ้ารักษากลับตอบว่า ไม่มีการถีบชิงช้า เพียงแต่นำกระดานขึ้นแขวนเท่านั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชอรรถาธิบายมาก่อนแล้วว่า การที่พราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชประกอบพิธีตรียัมปวายโดยการนำกระดานขึ้นแขวนเพียงสังเขปนั้น เป็นการทำพิธีพราหมณ์อย่างย่อๆ ตามมีตามเกิด แต่หากพิจารณาในมุมกลับกันแล้วก็อาจเป็นไปได้ว่า พิธีตรียัมปวายอย่างที่กลุ่มพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชประกอบนั้นเป็นพิธีอย่างเก่า ส่วนการประกอบพิธีโดยมีการให้พราหมณ์นาลิวันขึ้นไปโล้ชิงช้านั้นคงจะเป็นการขยายให้เกิดขึ้นภายหลังโดยมีหลักฐานยืนยันได้เก่าสุดในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิตที่เขียนขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแล้วเล่าย้อนไปในช่วงก่อนหน้า

บรรยากาศในพิธีโล้ชิงช้า ภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 (ไม่ทราบปี พ.ศ.)



ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับดังกล่าวมีข้อความที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า พระเจ้าแผ่นดินแห่งเมืองรามรัฐ (Rammaradt) ชายฝั่งโจฬะมณฑล (Coromandel) ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะหมายถึงเมืองราเมศวรัม ที่มีลักษณะเป็นเกาะ ได้ขอเจริญสันถวไมตรีหลังจากพ่ายแพ้ต่อบุญญาธิการของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ผู้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ) โดยได้ถวายกระดานโล้ชิงช้าและชิงช้า

พงศาวดารฉบับดังกล่าวอ้างว่าการโล้ชิงช้าเป็นการละเล่นไม่เคยเป็นที่รู้จักมาก่อนในสยาม พร้อมกันนี้ได้ส่งพราหมณ์ผู้ทรงความรู้อีกสองท่านให้แสดงวิธีโล้ชิงช้าเพื่อเป็นที่รู้จักและคงอยู่ในสยามตลอดไป ความตอนนี้คงจะเกี่ยวกับพระราชพิธีโล้ชิงช้าค่อนข้างแน่เนื่องจากฟาน ฟลีต หรือที่เรียกอย่างไทยว่าวันวลิต ได้อธิบายต่อไปว่าในสมัยที่ท่านเข้ามา (ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) ยังมีการละเล่นชนิดนี้อยู่ในอยุธยา โดยจัดเป็นงานฉลองพิเศษประจำปีที่ใช้เวลาหลายวัน

ข้อความข้างต้นชวนให้นึกไปได้ว่าพิธีโล้ชิงช้าอย่างไทยคงจะรับมาจากแขกอินเดียในสมัยดังกล่าว อย่างไรก็ดี เรื่องราวที่อ้างถึงการถวายชิงช้าดังกล่าวในเอกสารของฟาน ฟลีต ยังมีลักษณะเป็นตำนานที่เต็มไปด้วยพระกฤดาภินิหารของกษัตริย์อยุธยา

ตำนานดังกล่าวยังมีรายละเอียดที่ใกล้เคียงเป็นอย่างยิ่งกับข้อความในช่วงต้นของตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชที่กล่าวถึงการเข้าสู่ราชอาณาจักรสยามของพวกพราหมณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เว้นแต่ว่าชิงช้าที่กล่าวถึงนั้นกลายเป็นชิงช้าทองแดงที่ใช้ในการไกวขับกล่อมเทวรูป ดังนั้นข้อความที่ปรากฏในเอกสารของฟาน ฟลีต จึงน่าจะมีลักษณะเป็นตำนานที่ชาวอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองใช้ในการอธิบายเหตุของการโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโลกทรรศน์ของชาวอยุธยาในช่วงสมัยนั้นว่าการโล้ชิงช้าเป็นพิธีการที่รับมาจากพราหมณ์อินเดียในช่วงต้นกรุงฯนั่นเอง

จากหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงอาจจะอนุมานได้ว่าการโล้ชิงช้าใหญ่นั้นควรเกิดขึ้นในดินแดนอุษาคเนย์มากกว่า โดยแต่แรกเริ่มอาจจะมีที่มาจากการรับประเพณีการขับกล่อมเทพเจ้าบนชิงช้าขนาดเล็กจากอินเดียมาในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่เป็นและขยายกลายเป็นพิธีการโล้ชิงช้าใหญ่ซึ่งมีหลักฐานจากการบอกเล่าของฟาน ฟลีต อย่างน้อยตั้งแต่ในรัชสมัยของพระเจ้าปราสาททอง

ทั้งนี้เมื่อสืบค้นจากหลักฐานต่างๆ แล้วพบว่าประเพณีการโล้ชิงช้าอย่างพราหมณ์มีปรากฏเฉพาะในสยามประเทศเท่านั้น




 

Create Date : 13 กันยายน 2550    
Last Update : 13 กันยายน 2550 19:50:50 น.
Counter : 621 Pageviews.  

ท้องถิ่นก้าวหน้าแข็งแรงไม่ได้ หากไม่รู้จักข้อดี-ด้อยของตัวเอง

สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




แบบโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ลงในหนังสือพิมพ์รายวัน

"การศึกษาก้าวไกล ท้องถิ่นไทยก้าวหน้า" เป็นคาถาที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ลงทุนโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อประชาสัมพันธ์มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น 2550 (ดูในมติชน หน้า 16 วันพุธที่ 5 กันยายน 2550)

เห็นแล้ว อ่านแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดต้องลงทุนทำมหกรรมตาม "แฟชั่น" รุ่มร่ามให้สิ้นเปลืองอย่างตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเยี่ยงนี้ เลยไม่อยากไปงานนี้ เพราะไม่เชื่อว่าทำอย่างนี้แล้วจะส่งผลให้ "การศึกษาก้าวไกล ท้องถิ่นไทยก้าวหน้า"

แต่จะได้ผลตรงข้าม คือ อ่อนแอ, หยิบโหย่ง, รู้แต่ของปลอม, เอาแต่ได้เข้าตัวเอง, แม้ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ก็เอาด้วยคาถา, แสวงหาอำนาจเพื่อโกง ฯลฯ

การศึกษาจะก้าวไกล ท้องถิ่นไทยจะก้าวหน้าได้สมจริง ก็ต่อเมื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการบริหารจัดการวิชาความรู้ เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.), การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ฯลฯ ลด ละ เลิก "วัฒนธรรมอำนาจ" อย่างที่ทำอยู่นี้คือปลูกผักชีโรยหน้า, ขายผ้าเอาหน้ารอด, ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง ฯลฯ

ความจำเป็นเบื้องต้นที่สุด คือท้องถิ่นต้องรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างจริงจัง เพื่อให้มีสำนึกรักและผูกพันร่วมกันอย่างแข็งแรง จะทำให้รู้ "ข้อดี-ข้อด้อย" ของท้องถิ่นตนอย่างแท้จริง แล้วไม่หลอกตัวเองว่าดีวิเศษกว่าคนอื่นอย่างที่เป็นมาไม่รู้จักเลิก

จะรู้และเข้าใจท้องถิ่นได้จริงก็ต้องเริ่มแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเป็นมาของท้องถิ่น คือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทั้งในแง่ภูมิประเทศและสังคมวัฒนธรรม เรียกรวมๆ ว่าภูมิสังคมวัฒนธรรม ที่แต่ละท้องถิ่นมีทั้งส่วนคล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน เช่น วรรณคดีท้องถิ่น, สำเนียงและภาษาท้องถิ่น ฯลฯ ที่ล้วนเชื่อมโยงศูนย์กลาง จะช่วยลบปมด้อยสำเนียงท้องถิ่นลงได้อย่างดียิ่ง

จะเข้าใจภูมิสังคมวัฒนธรรมได้จริงก็ต้องลบเขตทางการปกครองออกจากหัวใจก่อน คือ ลบความเป็นจังหวัด, อำเภอ, ตำบล ฯลฯ แล้วทำความเข้าใจ "ภาพรวม" ร่วมกันทั้งลุ่มน้ำและหุบเขา เป็นต้น ดังตัวอย่างลุ่มน้ำบางปะกง เกี่ยวข้องตั้งแต่นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา และบางส่วนของจันทบุรีกับชลบุรี

สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นต้องร่วมกันเผยแพร่แบ่งปันวิชาความรู้ด้วย มิฉะนั้นท้องถิ่นก็แห้งตาย เช่น ลุ่มน้ำบางปะกงมีเมืองศรีมโหสถอายุราว 2,000 ปีมาแล้ว เป็นแกนสำคัญเก่าแก่เท่าเมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) และเก่ากว่าพระปฐมเจดีย์ (นครปฐม) ฯลฯ สถาบันท้องถิ่นของลุ่มน้ำบางปะกงต้องแบ่งปันเผยแพร่วิชาความรู้ชุดนี้ ไม่ใช่ทอดหุ่ยเฉยๆ เหมือนโรงเรียนบางอำเภอและ อบต.บางแห่ง ฯลฯ ที่ไม่เคลื่อนไหวอะไรนอกจากรอรับงบฯก่อสร้างไปแบ่งปันผลประโยชน์กันเอง

ต้องทำความเข้าใจร่วมกันและให้ตรงกันเป็นเบื้องต้นว่าวิชาความรู้ภูมิสังคมวัฒนธรรมความเป็นมาของท้องถิ่น เป็นวิชาความรู้พื้นฐานที่จะเชื่อมโยงถึงวิชาความรู้อื่นๆ เช่น เกษตร, ท่องเที่ยว จนถึงโอท็อป (OTOP)

ท่องเที่ยวจะทำเป็นพิมพ์เดียวเหมือนกันทุกท้องถิ่นทั่วประเทศไม่ได้เลย เพราะทรัพยากรอันเป็น "ทุน" มีต่างกันมาก ต้องร่วมกันค้นหาบุคลิกแท้จริงของท้องถิ่นนั้นๆ อย่างรู้จักตนเองกับรู้เท่าทันโลก ซึ่งต้องใช้พื้นฐานสำคัญคือภูมิสังคมวัฒนธรรมนั่นเอง

วิถีคิดของคนในระบบราชการไทยรับเรื่องอย่างนี้ไม่ได้ หรือได้ก็น้อย เพราะพวกเขาถูกหล่อหลอมด้วยสำนึกราชธานีที่มีเจ้านายชี้นิ้วออกคำสั่ง แล้วตัวเองต้องการเป็นเจ้านายของราษฎร ไม่ต้องยกตัวอย่างไกลๆ ขอให้ดูจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นท้องถิ่นหนึ่งก็ได้ เห็นชัดมาก




 

Create Date : 13 กันยายน 2550    
Last Update : 13 กันยายน 2550 19:21:59 น.
Counter : 561 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

win_mma
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add win_mma's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.