Group Blog
 
All Blogs
 
เริ่มเรียกตัวเองว่า "คนไทย"

เริ่มเรียกตัวเองว่า "คนไทย"



กลุ่มชนที่เรียกตัวเองว่า คนไทย แล้วเรียกประเทศของตนว่า เมืองไทย มีหลักฐานเก่าสุดอยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่รัฐอยุธยาและรัฐสุพรรณภูมิ ถึงรัฐสุโขทัย โดยลักษณะเด่นชัดที่บอกความเป็นคนไทยคือพูด ภาษาไทย เขียน อักษรไทย ล้วนจัดอยู่ในตระกูลภาษาไทย-ลาว

ภาษาพูดมีมาก่อนหลายพันปีหรือมีมาพร้อมกำเนิดคน แต่อักษรไทยเพิ่งมีเมื่อหลัง พ.ศ.1700 โดยรับแบบแผนจาก อักษรเขมร หรือที่รู้จักทั่วไปว่า อักษรขอม แห่งรัฐละโว้ (ลพบุรี) หมายความว่าแต่เดิมเมื่อตระกูลไทย-ลาว เคลื่อนย้ายมาอยู่ทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา เริ่มจากราว 3,000 ปีมาแล้ว ปะปนกับตระกูลมอญ-เขมร ที่พัฒนาอักษรขึ้นใช้ก่อน

จากอักษรปัลลวะ (ทมิฬ อินเดียใต้) พวกไทย-ลาวก็ใช้อักษรเขมร แต่เขียนเป็นภาษาไทย แล้วเรียกอักษรขอมไทย (มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ อักษรไทยมาจากไหน? ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2548)

ภาษาไทยยุคแรกๆ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ก่อน พ.ศ.1700 หรือก่อนมีอักษรไทย จนหลัง พ.ศ.1700 หรือหลังมีอักษรไทยยุคต้นๆ ยังจัดอยู่ในวัฒนธรรมลาว หรือ ภาษาลาว เพราะมีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีว่าคนพวกนี้มีบรรพชนเป็นลาวตั้งแต่ราว 3,000 ปีมาแล้ว (มีรายละเอียดในหนังสือ คนไทย มาจากไหน? ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2549)

สอดคล้องกับเอกสารลาลูแบร์ที่เป็นราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสเข้ามากรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แล้วจดปากคำชาวสยามพระนครศรีอยุธยา บอกว่ามีบรรพบุรุษเป็น ไทยน้อย คือลาว แล้วยังมีคนอีกพวกหนึ่งเป็น ไทยใหญ่ ที่ไม่ใช่บรรพชนของตน แสดงว่าชาวสยามกรุงศรีอยุธยามีความทรงจำว่าบรรพชนเป็นคนลาว แต่เรีกยพวก ลาว ทั้งหมดว่า ไทย เหมือนพวกตน คือ ไทยน้อยกับไทยใหญ่ ส่วนคนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่สืบมาจากลาวล้วนเป็น ไทยสยาม (มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ ไทยน้อย ไทยใหญ่) ไทยสยาม โดย ศรีศักร วัลลิโภดม และ สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2534)

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีบรรพชนสายหนึ่งเป็นลาว ก็คือ ภาษาลาว ยังมีเค้าอยู่ในภาษาไทยในกลุ่ม คำซ้อน ที่ประกอบด้วยคำอย่างน้อย 2 คำมารวมกัน คำหนึ่งจะเป็นคำลาว แต่อีกคำหนึ่งอาจเป็นมอญหรือเขมรก็ได้ (มีรายละเอียดในรายงานการวิจัยเรื่อง ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษามอญ โดย วัฒนา บุรกสิกร สถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2541) ขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยใกล้ชิด เช่น

ทองคำ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า gold คำมอญใช้ "ทอง" คำเดียวก็เท่ากับ gold ส่วนลาวใช้ "คำ" เท่านั้น

ฝาละมี ฝาเป็นคำลาว ละมีเป็นคำมอญ หมายถึง ฝาหม้อดิน

สั่นคลอน สั่นคำลาว คลอนคำมอญ หมายถึง หลวม ง่อนแง่น

ฟ้อนรำ ฟ้อนคำลาว รำเป็นคำเขมร

เต้นระบำ เต้นคำลาว ระบำเป็นคำเขมร

ดั้งจมูก ดั้งคำลาว จมูกเป็นคำเขมร

ฯลฯ



#(ที่มา : "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน? ของ



Create Date : 12 มีนาคม 2550
Last Update : 12 มีนาคม 2550 20:51:01 น. 0 comments
Counter : 634 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

win_mma
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add win_mma's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.