Group Blog
 
All Blogs
 
ัคัมภีร์ห้าห่วง วิถีแห่งดาบ มิยาโมโตะ มุซาชิ : บทแห่งไฟ

ธรรมชาติของไฟนั้น เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แปรเปลี่ยนขาดได้ตลอดเวลา และเปี่ยมไปด้วยอันตราย บทนี้จึงว่าด้วยการต่อสู้ทั้งแบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือการโรมรันทั้งกองทัพ การต่อสู้ก็เปรียบเสมือนกับ “ไฟ” ดังนั้นยุทธวิธีต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่งชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ จะถูกนำมาอธิบายไว้ในบทนี้ โดยทั่วไปมีความเชื่อว่า เคล็ดลับของชัยชนะคือความรวดเร็ว หลายสำนักเน้นฝึกฝนความรวดเร็วของร่างกาย เพราะเชื่อว่าความเร็วเพียงน้อยนิดจะนำมาซึ่งชัยชนะแต่วิถีแห่งกลยุทธ์ “มุซาชิ” มุ่งเน้นว่า การเล็งเห็นถึงยุทธวิธีของฝ่ายตรงข้าม อย่างรู้แจ้งแทงตลอด เข้าใจถึงจุดเด่น จุดด้อย ของกลยุทธ์ที่ฝ่ายตรงข้ามใช้ จึงเป็นหนทางที่แท้จริงสู่ชัยชนะ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการพิชิตชัย คือการเลือกทำเลสถานที่ จะต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่สูงกว่าของฝ่ายตรงข้ามเป็นการข่มขวัญ ให้แสงสว่างอยู่ด้านหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสายตา และเป็นทิศทางที่แสงจะรบกวนคู่ต่อสู้ในขณะที่เราจู่โจม ในขณะที่ต่อสู้จู่โจม จะต้องไม่เปิดโอกาสให้ศัตรูเห็นตำแหน่งทิศทางตลอดจนสภาวะแวดล้อมที่ก้าวผ่าน และบีบคั้นฝ่ายตรงข้ามเข้าสู่จุดอับ แม้แต่การต่อสู้ในห้องหับก็ต้องคำนึงถึงข้างของเครื่องใช้ในห้อง เพื่อใช้ประโยชน์ในการกีดขวงคู่ต่อสู้

“มุชาชิ” กล่าวถึงการเคลื่อนไหวแรกว่า มีเพียง 3 กรณีเท่านั้นคือ หนึ่ง จู่โจมเพื่อมุ่งเป็นฝ่ายรุก สอง ตั้งรับการจู่โจมจากฝ่ายตรงข้าม และสาม การจู่โจมพร้อมกับฝ่ายตรงข้าม

ในรูปแบบที่หนึ่ง ต้องพิจารณาถึงตำแหน่งแง่มุมที่จะลงมือ แล้วลงมือทันทีโดยปราศจากการลังเล ด้วยพลังและความเร็วที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม หากแต่ต้องออมรั้งพลังสำรองไว้อีกส่วนหนึ่ง ไม่ควรทุ่มเทพลังทั้งหมดลงไปกับการโจมตีครั้งแรก เพียงครั้งเดียว

ในรูปแบบที่สอง เมื่อตั้งรับให้อยู่ในสภาวะว่างเปล่าผ่อนคลายเหมือนไร้กำลัง แต่เมื่อฝ่ายตรงข้ามโถมเข้าใส่ ให้ถอยหลังเพิ่มระยะห่างอย่างรวดเร็ว และเมื่อสภาวะจู่โจมของคู่ต่อสู้ถึงที่สุด ก็จะเป็นจังหวะรุกไล่กลับเพื่อเอาชัย

ในรูปแบบที่สาม จะต้องอาศัยการตอบโต้ที่สงบเยือกเย็น ประกอบกับการเคลื่อนไหวหลอกล่อ และเมื่อคู่ต่อสู้อยู่ในระยะหวังผลจึงฉกฉวยโอกาสจู่โจมพิชิตศึกอย่างรวดเร็ว

การจะบรรลุถึงผลของการเคลื่อนไหวแรก จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจกับฝ่ายตรงข้าม ทั้งในแง่ของบุคลิกภาพและการเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ ที่จะสะท้อนถึงจุดแข็งและจุดอ่อนออกมา ในแง่ของการศึกสงครามก็คือ ศึกษาถึงรูปแบบการเดินทัพ ขวั_และกำลังใจไพร่พล ตลอดจนหลักจิตวิทยาของฝ่ายตรงข้าม และพื้นที่ในการทำสงครามเพื่อสืบค้นถึงจังหวะและช่องว่างในการจู่โจม เมื่อเรียนรู้ถึงฝ่ายตรงข้ามก็จะสามารถหยุดยั้งความคิดที่จะจู่โจม จนอยู่ในสถานะที่ชักนำคู่ต่อสู้ แทนที่จะถูกชักนำ ต้องล่วงหน้าก่อนการกระทำของฝ่ายตรงข้ามเสมอเพื่อก่อกวนสิ่งที่คู่ต่อสู้จะดำเนินการให้กลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เช่นในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามโถมเข้าประชิด ให้หยุดยั้งการจู่โจมด้วยการฉากหนี กล่าวคือไม่ยอมให้คู่ต่อสู้อยู่ในสภาวะที่ได้เปรียบแม้แต่น้อย

ในกรณีของการศึกสงคราม หากฝ่ายตรงข้ามจู่โจมจากระยะใกล้ด้วยธนูหรือปืนไฟ เราก็จะต้องบุกจู่โจมเข้าใกล้ เพื่อทำลายระยะที่มีเปรียบของฝ่ายตรงข้าม และใช้ดาบด้วยจิตใจที่แข็งแกร่ง ในการเข้าต่อสู้โรมรัน แน่นอนว่า การฝ่าข้ามไปในลักษณะนี้ จะเต็มไปด้วยความยากลำบาก หากแต่เมื่อฝ่าข้ามไปได้ก็จะล่วงรู้ถึงจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ จึงต้องอาศัยความบากบั่นอดทน เช่นเดียวกับการล่องเรือข้ามมหาสมุทรจนถึงฝั่ง ต้องเข้าใจความรู้สึกนึกคิดจนเหมือนกับจะกลายเป็นฝ่ายตรงข้าม เมื่อบรรลุถึงขอบเขตนี้ ก็จะสามารถคาดการณ์ถึงดาบต่อไปของฝ่ายตรงข้ามได้ นำมาซึ่งความมีเปรียบอย่างต่อเนื่อง แม้เมื่อคู่ต่อสู้เข้าสู่ภาวะพังพินาศ เราก็สามารถที่จะรับรู้และฉกฉวยจังหวะเข้าพิชิตชัยได้ในที่สุด

หากเมื่อทั้งสองฝ่ายเข้าสู่ภาวะของการค้ำยัน เราจะต้องเปลี่ยนแผนที่วางไว้ทันที่ เพราะเป็นสั__าณว่าฝ่ายตรงข้ามอาจล่วงรู้ถึงสภาวะของเรา หากยังดื้อดึงยืนกรานก็รังแต่จะสู_เสียกำลัง การสร้างภาวะผ่อนคลาย ก็สามารถแพร่ระบาดสู่ฝ่ายตรงข้าม หากเราสามารถสร้างภาวะผ่อนคลายขึ้นจนมอมเมาให้ฝ่ายตรงข้ามย่อหย่อน เราก็จะโจมตีเข้าไปได้ เหมาะสำหรับใช้ออกในยามที่เผชิ_กับการศึกที่ยืดเยื้อ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการแทรกซึมเข้าไปยังฝ่ายตรงข้าม ในกรณีที่ไม่อาจคาดการณ์ถึงแผนการ หรือจิตเจตนาที่แท้จริงของฝ่ายตรงข้ามได้ กลยุทธ์ที่ควรจะใช้ออกเรียกว่า “การเคลื่อนเงา” อันเป็นรูปแบบการแสร้งโจมตี แบบดุเดือนดรุนแรง เพื่อบีบบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเผยแผนการที่แท้จริงออกมา เมื่อสามารถล่วงรู้แผนการของฝ่ายตรงข้ามได้ หากฝ่ายตรงข้ามเริ่มดำเนินกลยุทธ์ เราก็จะต้องชักจูงเปลี่ยนแปลงทิศทางของฝ่ายตรงข้าม ให้อยู่ในทิศทางและแง่มุมที่เราสามารถควบคุมไว้ได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เรียกว่ากลยุทธ์ “การพรางเงา”

แนวทางหนึ่งในการมีชัยเหนือคู่ต่อสู้คือ การทำให้ฝ่ายตรงข้ามอยู่ในสภาวะที่เสียสมดุล ปราศจากขวัญและกำลังใจ โดยมีแนวทางหลัก ๆ สามประการ คือ หนึ่ง สร้างความวิตกหวาดกลัวให้เกิดกับฝ่ายตรงข้าม สอง ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่าเราสามารถทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และสาม ทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดเดาสถานการณ์ที่แท้จริงได้

กลยุทธ์การขู่ขวั_มักถูกใช้ออกเพื่อทำลายความคิดต่อสู้ของฝ่ายตรงข้าม สามารถทำได้ทั้งจากรูปแบบของการจัดทัพให้ดูยิ่งให_่ ทั้ง ๆ ที่ความจริงมีไพร่พลอยู่ไม่มากนัก การจัดแบ่งกองทัพออกจู่โจมกระหนาบข้าง เพื่อตัดกำลังและสร้างความหวาดกลัวตลอดจนการใช้ฝุ่นควันในการพรางตาฝ่ายตรงข้าม หรือการใช้เสียงในการทำลายขวัญ

ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามมีความแข็งแกร่ง ไม่อาจเอาชัยได้ในการโจมตีทั้งหมดเราก็จะต้องศึกษาถึงแง่มุมสำคั_ของคู่ต่อสู้อันเป็นจุดยุทธ์ศาสตร์หลัก เพื่อโถมกำลังเข้าจู่โจมทำลาย เพราะหากสามารถควบคุมจุดยุทธ์ศาสตร์ได้ ก็จะมีชัยในขั้นสุดท้าย เช่นเดียวกับหลักการที่ว่า “จับโจรให้จับหัวหน้า” เราจะต้องสร้างความสับสนให้กับฝ่ายตรงข้ามด้วย เพื่อไม่ให้ล่วงรู้ถึงเส้นทางการเดินทัพและแง่มุมในการโจมตีที่แท้จริง ซึ่งสามารถทำได้จากการล่อหลอกด้วยเส้นทางการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งที่ไม่แน่นอนตลอดจนการเปลี่ยนระดับความเร็ว

ในกรณีพบกับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งหรือมีกำลังพลที่มากกว่า จะต้องทำให้กระบวนทัพของฝ่ายตรงข้ามตกอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง โดยการโจมตีเข้าไปยังจุดต่าง ๆ ของฝ่ายตรงข้ามเมื่อฝ่ายตรงข้ามทุ่มเทกำลังเข้ามารับมือ เราก็จะถอนกำลังไปโจมตียังจุดอื่นแทน รูแบบเช่นนี้จะสร้างความปั่นป่วนรวนเรให้กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่แท้จริงคือการเข้าประชิดเพื่อพิชิตชัยขั้นท้ายสุด เมื่อเราพบว่าคู่ต่อสู้อยู่ในสภาวะเพลี่ยงพล้ำ แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีไพร่พลมากกว่า แต่ก็ขาดซึ่งขวัญและกำลังใจ ก็นับเป็นโอกาสอันดีในการเข้าบดขยี้ทำลายล้างให้ย่อยยับ ไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ถอยหนี และจะไม่วนกลับมาได้อีก การจะให้ฝ่ายตรงข้ามพ่ายแพ้นั้นไม่ใช่เป็นเพียงความพ่ายแพ้ภายนอก หากแต่จะต้องเป็นการยอมรับทั้งกายและใจ เพราะจิตใจที่ไม่พ่ายแพ้ ย่อมสามารถรวบรวมกำลังขึ้นต่อสู้ใหม่อยู่เสมอ ในทางตรงกันข้ามหากเราต้องตกอยู่ในจุดอับ ที่สภาพเป็นเบี้ยล่าง จนไม่อาจแก้ไขสถานการณ์ได้ ควรที่จะเลิกล้มแผนที่ได้ วางไว้ทั้งหมดทิ้งไปเสีย และเข้าสู่ภาวะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะการแก้ไขปัญหานั้น ในบางสถานการณ์ยังยากยิ่งกว่าการเริ่มสร้างใหม่เสียอีก จะต้องดำเนินการในสิ่งที่ตรงข้ามกับความคาดหวังของฝ่ายตรงข้ามอยู่เสมอด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ควรที่จะใช้กลยุทธ์เดิม ๆ ซ้ำสอง และควรที่จะมุ่งให้ความสนใจกับหลักใหญ่ใจความ เพราะการให้ความสำคัญกับรายละเอียดปลีกย่อยจนมากเกินไป อาจนำไปสู่ความเข้าใจถึงสถานการณ์ที่แท้จริงอย่างผิดเพี้ยน

แนวทางของ “มุซาชิ” คือเน้นให้ความสำคัญกับการรุก ต้องสร้างโอกาสให้อยู่ในสภาวะรุกเสมอ ผู้ที่มีชัยได้จะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักหน่วง จนมีความแข็งแกร่งดุจหินผา สามารถรับมือกับการจู่โจมได้ในทุกรูปแบบ แก่นแท้ของชัยชนะคือการเรียนรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายตรงข้าม ในแง่ของการทำศึก ต้องเข้าใจไพร่พลของฝ่ายตรงข้ามดุจประหนึ่งว่าเป็นไพร่พลของตนเอง เมื่อบรรลุถึงขอบเขตนี้แล้ว “มีดาบ” กับ “ไร้ดาบ” ก็ไม่มีความแตกต่างกัน ผู้มีชัยไม่จำเป็นจะต้องมีดาบเสมอไป


Create Date : 14 กันยายน 2550
Last Update : 14 กันยายน 2550 7:53:01 น. 0 comments
Counter : 724 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

win_mma
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add win_mma's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.