ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

"โรงหนังสยาม" อีกหนึ่งตำนานที่หายไป

ย้อนกลับไปเมื่อเกือบจะ 50 ปีที่แล้ว

หลังประสบความสำเร็จอย่างงดงามจากการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย กระทั่งกลายเป็นหนึ่งในตำนานของ "โรงมโหรสพ" ของบ้านเรา "พิสิฐ ตันสัจจา" โชว์แมนคนสำคัญในยุคนั้นก็ได้รับการติดต่อจาก "กอบชัย ซอโสตถิกุล" เจ้าของบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณสยามสแควร์(ในปัจจุบัน)ให้เข้ามาร่วมปรับปรุง พัฒนาออกแบบและก่อสร้างอาคารภายในพื้นที่ดังกล่าวที่เช่าจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

และนั่นเองจึงเป็นที่มาในการกำเนิดขึ้นของอีก 3 โรงภาพยนตร์ที่เป็นตำนานอย่าง สยาม, ลิโด และสกาลา ในเครือ Apex

ตามประวัติจาก //www.apexsiam-square.com/aboutus.htm ระบุไว้ว่าในส่วนของโรงภาพยนตร์สยามซึ่งถือได้ว่าเป็นพี่คนโตนั้นได้ทำการ เปิดฉายครั้งแรกด้วยความจุ 800 ที่นั่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2509 จากเรื่อง "รถถังประจัญบาน" (BATTLE OF THE BULGE) ของบริษัทภาพยนตร์ วอร์เนอร์ บราเดอร์สฯ นำแสดงโดย เฮนรี่ ฟอนด้า, โรเบิร์ต ชอว์ ฯลฯ

เดิมแต่แรกตอนเริ่มต้นก่อสร้างใหม่ ๆ บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ยังไม่มีร้านค้า สมัยที่โรงภาพยนตร์สยามสร้างเสร็จใหม่ๆ ยังต้องส่งปิ่นโตให้กับพนักงานทาน เพราะแถวนี้ไม่มีร้านอาหาร จะต้องไปไกลถึงสามย่าน ซึ่งสมัยนั้นกว่าจะถึงสามย่านก็ต้องใช้เวลานานมากมีรถเมล์น้อยสาย ไม่ทันที่จะกลับมาทำงาน ตามรอบได้ทันเวลา

ส่วนแสงสว่างรอบ ๆ โรงภาพยนตร์ จะต้องใช้ไฟของโรงภาพยนตร์ต่อไปใช้ตามที่จอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาชมภาพยนตร์รอบค่ำ

อย่างไรก็ตามสำหรับโรงภายนตร์สยามซึ่งผู้สร้างเองตั้งใจไว้ว่าจะใช้ชื่อว่า โรงภาพยนตร์ "จุฬา" แต่ถูกทาง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ทักท้วงด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นพระนามของรัชกาลที่ 5 และเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยในยุคนั้นก็ยังจัดได้ว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่ทัน สมัยที่สุด และมีบันได้เลื่อนขึ้นลงเป็นแห่งแรก โดยราคาตั๋วจะมีราคาตั้งแต่ 10 บาท 15 บาท สูงสุด 30 บาท

ขณะที่ในส่วนของโรงภาพยนตร์ลิโดนั้นเปิดฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2511 ความจุ 1,000 ที่นั่ง ด้วยภาพยนตร์เรื่อง "ศึกเซบาสเตียน" (GAMES FOR SAN SEBASTIAN) ของบริษัท เมโทร โควิลด์ฯจำกัด นำแสดงโดย แอนโธนี่ ควินส์ ฯลฯ และต่อมาวันที่ 31 ธันวาคม 2512 โรงภาพยนต์ สกาลา จำนวนที่นั่ง 1,000 ที่ก็เปิดฉายเป็นครั้งแรก ด้วยภาพยนตร์เรื่อง "สองสิงห์ตะลุยศึก" นำแสดงโดยจอห์น เวนย์, ร็อค ฮัดสัน และ ไท ฮาดีน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทั้ง 3 โรงภาพยนตร์ถือได้ว่ามีความ "โก้" มากที่สุดทั้งในเรื่องของระบบการฉาย มีการประชาสัมพันธ์ตนเองด้วยการจัดพิมพ์หนังสือ ซึ่งเรียกว่า "สูจิบัตร" ข่าวภาพยนตร์เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2513 แจกฟรีกับผู้ที่มาดูภาพยนตร์ รวมไปถึงการบริหารงานที่สอดประสานไปกับชุมชนในละแวกดังกล่าว ทั้งร้านค้า รวมถึงการสนับสนุนจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ

สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้โรงภายนตร์เก่าทั้งสามโรงสามารถยืนหยัดอยู่ ได้จนถึงปัจจุบันท่ามกลางการล้มหายตายจากของเพื่อนๆ โรงภาพยนตร์หลายต่อหลายโรงในอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน รวมถึงจากการผุดชึ้นของโรงภาพยนตร์ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ นอกจากจะเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้คงความทันสมัยอยู่ตลอด เวลา อาทิ ในเรื่องของระบบการฉายต่างๆ แล้ว

เรื่องของความมี "เอกลักษณ์" ทั้งในส่วนของรูปแบบการก่อสร้าง การอนุรักษ์ไว้ซึ่งบรรยากาศเดิมๆ เช่น เครื่องแต่งกายของพนักงาน บรรยากาศ ฯ รวมไปถึงในส่วนของการเป็นโรงภาพยนตร์ "ทางเลือก" ที่มีการจัดโปรแกรมฉายหนังที่หลากหลาย และแตกต่างไปจากโรงภาพยนตร์หลักๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

อย่างไรก็ตาม หลังยืนยาวมาอย่างสง่าผ่าเผยกินเวลานานร่วม 44 ปี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา โรงภาพยนตร์สยามก็ต้องถึงกาลอวสาน หลังบรรดากลุ่ม นปช. ได้ก่อเหตุจลาจล บุกเผา ทำลายสิ่งของ อาคาร สถานที่ต่างๆ ไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ โดยมีโรงหนังสยามเป็นหนึ่งในเหยื่อของความบ้าคลั่งที่ว่า

"ก็ถือว่าเป็นโรงหนังเก่า เป็นโรงหนังสแตนอโลน เป็นโรงหนังทางเลือกที่มีแฟนอยู่เป็นประจำ ซึ่งสำหรับคนที่ดูหนัง จริงๆ ผมว่ามันก็เหมือนกับโบสถ์น่ะครับ คือนอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว มันยังให้ความคิดและปัญญาอีกด้วย มันก็น่าเสียดายนะ..." โดม สุขวงศ์ หัวหน้างานอนุรักษ์ภาพยนตร์ หอภาพยนตร์แห่งชาติ กรมศิลปากรเผยถึงความรู้สึกหลังหนึ่งในโรงภาพยนตร์ที่เป็นตำนานที่มีลมหายใจ ของบ้านเราต้องถูกเผาวอดวาย

ถึงตอนนี้ แม้ "กัมพล ตันสัจจา" ที่รับช่วงดูแลโรงหนังนี้ต่อจากผู้เป็นบิดาอาจจะมีความคิดที่จะชุบชีวิตให้ โรงหนังสยามได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ทว่าในด้านของความรู้สึกแล้ว...เชื่อว่าคงอีกนานทีเดียวกว่าที่เหล่าแฟนๆ ซึ่งมีความผูกพันกับโรงหนังโรงนี้จะรู้สึกดีได้ต่อการสูญเสียอย่างไร้เหตุผล ในครั้งนี้

credit : ASTV ผู้จัดการออนไลน์


Create Date : 20 พฤษภาคม 2553
Last Update : 20 พฤษภาคม 2553 11:30:52 น. 0 comments
Counter : 1194 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]