ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

รำลึก 100ปี ไททานิค



12.13 น. ของวันที่ 31 พฤษภาคม ปี 1911 คือช่วงเวลาที่ไททานิค เรือรำราญชื่อดังถูกนำออกจากอู่ต่อเรือลงยังผืนน้ำเป็นครั้งแรกเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ที่เมืองเบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์เหนือ

ในเวลา 23.40 น. คืนวันที่ 14 เมษายน 1912 ไททานิคพุ่งชนภูเขาน้ำแข็งและจมดิ่งลงสู่ใต้ท้องมหาสมุทรแอตแลนติคเหนือ เรือสำราญที่ครั้งหนึ่งได้ชื่อว่าใหญ่และหรูหราที่สุดในโลกหลับใหลอยู่ ณ ที่แห่งนั้นจนถึงทุกวันนี้ เพราะความอลังการและความทันสมัยของไททานิค ทำให้ไม่มีใครจินตนาการถึงจุดจบของมันได้ ยิ่งเป็นการออกเดินทางรอบปฐมฤกษ์จากเมืองเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ไปยังเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และเพราะความยิ่งใหญ่นี้ทำให้โศกนาฏกรรมของมันถูกเล่าขานและนำมาตรวจสอบหาข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา

ตรงข้ามกับจุดจบ จุดเริ่มต้นของไททานิคกลับไม่ค่อยถูกนำมาพูดถึงมากนัก ทีมผู้เชี่ยวชาญจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค ที่กำลังผลิตสารคดีชุด ‘Rebuilding Titanic' เพื่อรำลึก 100 ปี ไททานิค จึงได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างอภิมหาตำนานเรือสำราญลำนี้ว่าน่าทึ่งไม่แพ้กัน

ไททานิคคือผลงานสุดยอดแห่งโลกอุตสาหกรรมยุคต้นศตวรรษที่ 20 โดยบริษัท Harland and Wolff ผู้สร้างไททานิคลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าของตัวเองในอู่ต่อเรือที่เมืองเบลฟาสต์ ประเทศไอร์แลนด์เหนือ เนื่องจากทุกขั้นตอนหลักในการสร้างไททานิคล้วนใช้เครื่องจักรไฟฟ้าทั้งสิ้น ส่วนบนเรือมีเครื่องผลิตพลังงานไอน้ำขนาดใหญ่ถึง 4 เครื่อง ที่สามารถผลิตกระแสไฟได้มากกว่าโรงไฟฟ้าบนฝั่งเสียอีก มีสายไฟความยาวกว่า 320 กิโลเมตรถูกติดตั้งไปทั่วเรือ เพื่อจ่ายไฟไปยังห้องพัก 835 ห้อง ลิฟต์ หรือแม้แต่อุปกรณ์ออกกำลังกายในห้องยิม และทำให้ไททานิคสว่างไสวราวปราสาทลอยน้ำยามค่ำด้วยดวงไฟจำนวนถึงหมื่นดวง

ในการต่อเรือไททานิค ซึ่งครั้งหนึ่งเคยครองสถิติยานพาหนะที่หนักที่สุดในโลก ด้วยน้ำหนักกว่า 46,000 ตัน ต้องใช้แรงงานชายฉกรรจ์ถึง 4,000 คน สร้างโครงกระดูกงู 600 ชิ้น และใช้เวลานานกว่า 2 ปี สร้างตัวเรือ...ทุกๆ เช้า ด้านหน้าประตูอู่ต่อเรือของ Harland and Wolff จะคลาคล่ำไปด้วยคนงานกว่า 15,000 คนที่รอคิวเข้างาน โดยมีหัวหน้าคนงานมายืนรับตั้งแต่ 6.20 น. คนที่มาไม่ทันประตูปิดจะอดได้งานและค่าแรงวันนั้น ส่วนคนที่ผ่านเข้าประตูไปแล้วจะถูกคุมเข้มตลอดเวลาทำงาน เวลากิน และแม้แต่เข้าห้องน้ำ

สมัยนั้น ช่างตอกหมุดที่มีประสบการณ์งานนานกว่า 5 ปี จะได้ค่าจ้างดีกว่างานส่วนอื่นๆ ในการต่อเรือ ซึ่งค่าแรงจะให้ตามจำนวนหมุดที่ตอกได้อย่างเรียบร้อย มีการบันทึกไว้ว่า ไททานิคใช้หมุดทั้งสิ้นกว่า 3 ล้านตัว และ 75% ของหมุดเหล่านั้นถูกตอกด้วยแรงงานมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักร

ส่วนผู้หญิงในเบลฟาสต์เองก็มีบทบาทในการเตรียมตัวไททานิคไม่น้อย 3 ใน 4 ของแรงงานหญิงของเมืองทำงานในโรงงานลินินและสิ่งทอ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลัก ถึงขนาดที่เมืองนี้ได้รับฉายาว่า ‘นครแห่งลินิน' บนเรือมีการจัดเตรียมผ้าเช็ดปาก 45,000 ผืน ผ้าปูเตียง 18,000 ชิ้น และผ้าเช็ดตัว 32,500 ผืน สำหรับผู้โดยสารและลูกเรือ 3,500 คน

ในเรื่องของอาหารการกิน ไททานิคมีจุดจัดเตรียมอาหารถึง 7 แห่ง ห้องอาหารและคาเฟ่ 6 ห้อง ร้านขนมปัง 3 ร้าน ร้านขายเนื้อ 1 ร้าน และอีก 2 ห้องที่ใช้สำหรับล้างมันฝรั่งเท่านั้น และถ้านับเป็นมื้อ เจ้าหน้าที่จะต้องจัดเตรียมอาหาร 6,000 มื้อในแต่ละวัน ส่วนผู้คุมคุณภาพอาหารบนเรือคือหัวหน้าพ่อครัวที่ชื่อว่า ‘ชาร์ลส พรอคเตอร์' ผู้มีเงินเดือนมากเป็นอันดับสองรองจากกัปตันเรือ ‘เอ็ดเวิร์ด สมิธ'

เมื่อเวลาผ่านไปครบศตวรรษ ไม่ว่าจุดเริ่มต้น การก่อสร้าง การเตรียมพร้อมของไททานิคจะเป็นงานใหญ่ขนาดไหน จุดจบของมันก็ทำให้ทุกเรื่องเป็นเพียงเรื่องธรรมดา ที่น่าตื่นเต้นเพียงชั่วประเดี๋ยว นั่นเป็นเพราะความแตกต่างในด้านความสูญเสียระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดจบของไททานิคนั้นแตกต่างกันเกินไป นั่นคือ ในช่วงที่สร้างเรือ มีผู้เสียชีวิต 8 คน แต่มีกว่า 1,500 ชีวิตจบลงพร้อมกับไททานิค

เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิค แชนเนล ขอเชิญชาวโลก ร่วมยกย่องความยิ่งใหญ่และรำลึกการจากไปครบ 100 ปี ของอภิมหาตำนานเรือสำราญ ไททานิค นี้ได้ทางสารคดีชุด ‘Rebuilding Titanic' ที่จะแพร่ภาพพร้อมกันทั่วเอเชีย ในเดือนกรกฎาคมนี้ ทางช่องทรูวิชั่น A24 และ D19



ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
//www.bangkok-today.com/node/9060
และบางส่วนจาก //news.thaipbs.or.th/







Create Date : 02 มิถุนายน 2554
Last Update : 2 มิถุนายน 2554 21:13:20 น. 0 comments
Counter : 1695 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]