ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

77 ปี โรงมหรสพหลวง 'ศาลาเฉลิมกรุง'




สมัยรัชกาลที่ 7 ไม่มีสื่อบันเทิงใดจะรุ่งเรืองไปกว่าภาพยนตร์ และสมัยนั้นไทยมีโรงภาพยนตร์เพียง 20 โรง

จวบจนปีพ.ศ.2473 รัฐบาลมีการประชุมเตรียมงานสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่เพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการเฉลิมฉลอง 150 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าเชื่อมความเจริญระหว่างฝั่งพระ นครกับฝั่งธนบุรี

ด้วยเหตุที่โปรดการภาพยนตร์เป็นพิเศษ ในโอกาสเดียวกันนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสง่าราศีแก่บ้านเมืองและแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ของประเทศ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์กว่า 9 ล้านบาท

ในการก่อสร้างและโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร สถาปนิกผู้สำเร็จการศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พร้อมทั้งพระราชทานชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบและระลึกถึงการเฉลิม ฉลองพระนครว่า ‘ศาลาเฉลิมกรุง'

‘ศาลาเฉลิมกรุง' ได้รับการออกแบบอย่างเรียบง่าย แต่สง่างามสมเกียรติภูมิโรงมหรสพหลวง ด้วยการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างสถาปัตยกรรมร่วมสมัย (Contemporary Architecture) แบบตะวันตกกับศิลปกรรมไทย สามารถจุผู้ชมได้มากกว่า 2,000 ที่นั่ง สมบูรณ์แบบด้วยเทคนิค แสง สี เสียง ตระการตา มีระบบเปิด-ปิดม่านอัตโนมัติ จัดการแสดงได้ทุกรูปแบบทั้งฉายภาพยนตร์ ดนตรีและละครเวที เป็นโรงมหรสพแห่งแรกในประเทศไทยที่ฉายภาพยนตร์เสียง และมีการนำเครื่องปรับอากาศมาใช้ กล่าวได้ว่าไม่มีโรงภาพยนตร์ใดในเอเชียหรูหราและทันสมัยเท่า

ศาลาเฉลิมกรุงเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2473 โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีวาง ศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2476 โดยเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (หม่อมราชวงศ์มูล ดารากร) ผู้แทนพระองค์เป็นประธานในพิธีเปิด ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เปิดฉายในรอบปฐมฤกษ์นี้คือ ‘มหาภัยใต้ทะเล'

ใน การนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งบริษัทขึ้นมา ดูแล บริหารงาน และดำเนินกิจการเกี่ยวกับการค้าภาพยนตร์อย่างครบวงจรและโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สหศีนิมา" จำกัด (The United Cinema Company Limited) อันหมายถึง ‘แข็งแรงขึ้นร่วมกัน'

ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงมหรสพแห่งแรก ของเมืองไทยที่ใช้เครื่องปรับอากาศ แรกเปิดดำเนินการศาลาเฉลิมกรุง (พ.ศ.2476-สงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2486) จัดฉายภาพยนตร์เสียงในฟิล์มจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากภาพยนตร์ไทยยังมีน้อย จนเมื่อเข้าสู่ภาวะสงคราม วงการภาพยนตร์เริ่มซบเซา ศาลาเฉลิมกรุงจึงเปิดการแสดงละครเวทีร่วมด้วย ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีเช่นกัน

ยุคทองของวงการภาพยนตร์กลับมาอีก ครั้ง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การกลับมาครั้งนี้ทำให้ศาลาเฉลิมกรุงเฟื่องฟูขึ้นมายิ่งกว่าเก่า และเป็นศูนย์กลางความบันเทิงอยู่นานกว่า 2 ทศวรรษ

ในยุคที่รุ่งเรือง จนถึงขีดสุด ศาลาเฉลิมกรุงได้รับฉายาว่าเป็น ‘ฮอลลีวู้ดเมืองไทย' ด้วยเปรียบเป็น ‘สโมสร' ของชนชั้นสูงในสังคม เป็น ‘ศูนย์รวม' บุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงทุกสาขาอาชีพ เป็นศูนย์รวมของผู้เกี่ยวข้องในวงการภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่ผู้สร้าง ผู้กำกับ นักแสดง ตัวประกอบ ทีมงานพากย์ นักร้อง นักเขียนโปสเตอร์ เป็น ‘สถาบัน' ผลิตทรัพยากรบุคคลอันทรงคุณค่า ‘สร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ' ให้คนหลายต่อหลายรุ่นออกมาประดับวงการบันเทิงไทย ไม่จำกัดอยู่แค่เพียงวงการหนังและวงการละครเท่านั้น แม้แต่วงการเพลงไปจนถึงวงการตลก เวทีแห่งนี้ล้วนมีส่วนผลักดันให้ดาวหลายดวงเจิดจรัสขึ้นมาในวงการทั้งสิ้น

ความ สำเร็จของศาลาเฉลิมกรุงมิได้สิ้นสุดอยู่เพียงเท่านั้น แต่ยังได้แผ่ขยายความเจริญไปสู่ชุมชนรอบข้าง กลายเป็นย่านการค้าที่คึกคัก มีร้านรวงเกิดขึ้นมากมายและหลายๆ ร้านยังคงอยู่เคียงคู่ศาลาเฉลิมกรุงจวบจนทุกวันนี้

ศาลาเฉลิมกรุงได้ เดินทางข้ามผ่านวันวานแห่งความสุขและค่อยๆ เริ่มเงียบเหงา ด้วยบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้วิถีชีวิตและค่านิยมของผู้คนเปลี่ยนตาม พร้อมๆ กับเทคโนโลยีที่เริ่มพ้นสมัยตามกาลเวลา ศาลาเฉลิมกรุงจึงได้หยุดปรับปรุงกิจการใน พ.ศ.2534 และเปิดดำเนินการอีกครั้งในนาม "เฉลิมกรุง รอยัล เธียเตอร์" ใน พ.ศ.2536

แม้จะเผชิญกับภาวะ วิกฤติมากี่ครั้งกี่หน ด้วยความเหนียวแน่นของสายใยความผูกพันของผู้คนที่มีต่อสถานที่อันทรงเกียรติ แห่งนี้ ช่วยประคับประคองศาลาเฉลิมกรุงไว้อย่างทะนุถนอม รอวันชุบฟื้นคืนศักดิ์ศรีให้แก่ ‘โรงมหรสพหลวง' อนุสรณ์แห่งความสุขของชาวพระนคร

ศาลาเฉลิมกรุงกลับมามีชีวิตชีวาอีก ครั้ง ด้วยความร่วมมือของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับบริษัท สยามสินธร จำกัด ซึ่งเข้ามาเป็นแกนนำหลักในการดำเนินการศาลาเฉลิมกรุงยุคใหม่ อีกทั้งแรงศรัทธาจากผู้ที่ยังรักศาลาเฉลิมกรุงมิเสื่อมคลาย

ณ วันนี้ 2 กรกฎาคม 2553 ครบรอบการดำเนินการ ‘77 ปี โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง' สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและดำเนินการ ภายใต้นโยบายของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในนามของ บริษัท สหศีนิมา จำกัด อันเป็นชื่อพระราชทานจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 หมายถึง "แข็งแรงขึ้นร่วมกัน" เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันสืบต่อไป





ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก Voice TV //www.voicetv.co.th/


Create Date : 04 กรกฎาคม 2553
Last Update : 4 กรกฎาคม 2553 11:52:53 น. 0 comments
Counter : 1593 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]