Group Blog
 
All blogs
 
โรคยั้งคิดยั้งทำ (Obsessive-Compulsive Disorder)

โรคยั้งคิดยั้งทำ (Obsessive-Compulsive Disorder

เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง (anxiety) ที่มีลักษณะความคิดและการกระทำที่ซ้ำๆ ซึ่งไม่มีเหตุผลและทำให้เกิดความตึงเครียดแก่ผู้ป่วย อาการที่เกิดมีตั้งแต่เป็นน้อย ๆ จนกระทั่งรุนแรง หากไม่รักษาอาจจะทำให้สูญเสียความสามารถทางด้านการเรียน การงาน หรือแม้กระทั่งอยู่ที่บ้าน อาการเหล่านี้อาจจะเป็นตลอดชีวิต โรคนี้จะเริ่มเป็นตอนวัยรุ่นแต่ก็พบว่าผู้ป่วยหนึ่งในสามเป็นตั้งแต่วัยเด็ก

อาการที่สำคัญประกอบด้วย

Obsessive

เป็นความคิดหรือแรงผลักดัน หรือภาพที่จะกระทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำๆ ที่เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ป่วยและเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยมักจะพยายามหยุดความคิดเหล่านี้ ผู้ป่วยมักจะมีความกลัวอันตรายที่จะเกิดกับตัวเองหรือคนรัก ความคิดว่ามีความสกปรกของอวัยวะ ความคิดที่จะต้องทำให้สมบูรณ์ ผู้ป่วยมักจะมีความคิดว่ามือสกปรกต้องล้างมือบ่อยๆ ผู้ป่วยมักคิดว่าลืมปิดก๊าซ หรือมีความคิดว่ากำลังจะทำร้ายลูก ความคิดที่ซ้ำๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาเองโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถหยุดความคิดเหล่านี้ได้ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก

Compulsion

เป็นพฤติกรรมที่กระทำซ้ำๆอันเนื่องจากแนวความคิดข้างต้น ลักษณะที่พบบ่อยคือการล้างมือ และการตรวจของ การสวดมนต์ซ้ำๆ การนับ การทำแบบซ้ำๆ การจัดเรียงวัตถุ การพูดประโยคซ้ำๆ พฤติกรรมของผู้ป่วยส่วนใหญ่เพื่อป้องกันอันตราย ขณะที่ไม่มีอาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้ว่าความคิด และพฤติกรรมกระทำซ้ำๆไม่ถูกต้อง

ผู้ป่วยมักจะพยายามที่จะสะกดความคิดและการกระทำที่ซ้ำๆ หลายคนก็ประสบผลสำเร็จในการควบคุมอาการในระหว่างทำงาน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถสะกดความคิดและ การกระทำ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำซ้ำซากและเป็นมากขึ้นเรื่อยจนไม่สามารถที่จะทำงานได้

ผู้ป่วยมักจะพยายามสะกดอาการแทนที่จะปรึกษาแพทย์ ในระยะแระมักจะประสบผลสำเร็จ ผู้ป่วยสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการทำงานและอยู่ร่วมกับครอบครัวโดยที่ไม่ได้รับการรักษา

สาเหตุ

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการทำงานของเซลล์สมองที่ผิดปกติโดยพบว่ามีเซลล์สมองน้อยกว่าคนปกติในสมองบางส่วน หรือเกิดจากการหลั่งสารบางอย่างผิดปกติโดยเฉพาะ serotonin และขบวนการเรียนรู้

การรักษา

          การรักษามีทั้งการใช้ยารับประทานและการใช้พฤติกรรมบำบัด ผลการรักษาขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน

ยาที่ใช้รักษาได้แก่ยาในกลุ่มยาต้านการจับตัวของ serotonin [serotonin reuptake inhibitors] เช่น tricyclic antidepressant clomipramine,flouxetine,fluvoxamine,paroxetine,sertraline หลังให้ยาจะเริ่มดีขึ้นในสามสัปดาห์ 

พฤติกรรมบำบัด จะช่วยผู้ป่วยลดความวิตกกังวลวิธีการจะให้ผู้ป่วยประสบกับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวที่สุด(this is called exposure)ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุ จินตนาการหรือภาพ และห้ามผู้ป่วยมีพฤติกรมซ้ำซาก(this is called response prevention) เราเรียกวิธีการนี้ว่า exposure and response prevention เช่นผู้ป่วยอยากล้างมือแนะนำให้รออีก3-4 ชั่วโมงค่อยล้างมือโดยมีผู้ช่วยเหลือซึ่งอาจจะเป็นคนที่ผู้ป่วยเชื่อฟังหรือนักจิตวิทยา พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 76 จะมีอาการดีขึ้นตั้งแต่ 3 เดือนถึง 6 ปี การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย

• หากรับประทานยาต้องรับยาให้สม่ำเสมอ
• หากอยู่ในช่วงพฤติกรรมบำบัดก็ให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
• รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
• หลับให้พอ
• อาจจะเข้ากลุ่มโรคนี้เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา
• สอนครอบครัวให้เข้าใจโรค


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

//icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id=12&id=3289




Create Date : 31 ตุลาคม 2556
Last Update : 31 ตุลาคม 2556 19:35:39 น. 0 comments
Counter : 1088 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jureeporn
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




src='http://roomsite.freeserverhost.com/blogproject/toolbar.js'>
FC Barcelona


Google
จำนวนผู้ชมบล็อกทั้งหมด คน




















[Add jureeporn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.