A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
ธรรมโฆษณ์ โคตรธรรมของพุทธทาส




หากจะให้ใคร่ครวญว่า สำหรับประเทศไทยเมืองที่มีข้อ
จำกัดทางภาษาในเวทีโลกแล้ว มีชุดหนังสือที่มีอยู่มากมาย
หลายเล่มแล้ว นอกจาก ชุด ล่องไพรของ น้อย อินทนนท์
และสามเกลอ ของพล นิกร กิมหงวนแล้ว ถ้าให้ผมนึกอีก
ตัวอย่างหนึ่งแล้ว ภาพที่ผมมองเห็นชัดเจนอีกหนึ่งรายการ
คือ"ธรรมโฆษณ์" ชุดหนังสือระดับอภิมหาธรรม ที่เคยมี
นักมหาเปรียญหลายรูปกล่าวว่า "หากอ่านชุดธรรมโฆษณ์
ครบทุกเล่ม แล้วยังมีทุกข์ ก็ไม่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นศิษย์พุทธทาส"

ความทรงจำเกี่ยวกับชุดหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ กล่าวจะได้เข้าถึง
ก็แทบจะทิ้งช่วงจากครั้งที่ได้สัมผัสกับต้องครั้งแรก๕-๖ปี
ยังจำได้อย่างไร้สำนึกว่า ในสมัยที่เรียนมีสถาบันให้สังกัด
ชุดหนังสือธรรมโฆษณ์ที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบบนชั้นของ
ห้องสมุด มีการจัดตู้ไม้สลักใหญ่ลงรักปีทองอย่างสมบูรณ์
สวยงาม กินพื้นที่กว่าหนึ่งในสามของพื้นที่โดยรวมที่ทางห้อง
สมุดทำห้องพิเศษให้แก่หมวดหมู่ศาสนาโดยเฉพาะ ถือเป็น
ชั้นหนังสือที่แลดูเรียบร้อยที่สุด เมื่อเทียบกับหมวดหมู่วิชาการ
อื่นๆ (จะต่างอย่างสุดฤทธิ์เมื่อไปเทียบกับหมวดวรรณกรรม
ปัจจุบันที่ถูกรื้ออย่างกระจัดกระจายแทบทุกวัน) ห้องหมวด
ศาสนาจึงเหมาะแก่การเป็นห้องวิปัสสนา หลับนอนและจ้ำจี้
ของหนุ่มสาว (เพราะไม่ค่อยมีใครนิยมเข้าไปหยิบอ่าน)
เคยเผลอไปเปิดตู้ชั้นหนังสือธรรมโฆษณ์ตอนปีหนึ่ง
มือนี้เต็มไปด้วยฝุ่นผงเปรอะทั้งสองข้าง และคงโชคร้ายที่หนังสือเล่มแรก
ที่ผมไปหยิบเปิด"ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์" ซึ่งถือเป็นงาน
ยากระดับนักอภิปรัชญาธรรมอ่าน เปิดอ่านคร่าวๆไปได้
สัก๓๐-๔๐หน้า จากนั้นก็เดินออกไปอ่าน"โทษฐานที่รู้จักกันของ
โน้ต อุดม" โดยตลอดทั้งภาคเรียน ผมเองแทบไม่ได้ไปแยแส
กับชุดหนังสือธรรมโฆษณ์อีกต่อไป

ลักษณะพิเศษของชุดหนังสือธรรมโฆษณ์ที่เด่นไม่เหมือนกับ
เหล่าชุดหนังสือเล่มอื่นๆ คงด้วยรูปเล่มที่ออกจะคล้ายหนังสือ
วิทยานิพนธ์โดยทั่วไป วัสดุประกอบปกแข็งดำขลิบ
ลงตัวอักษรสีทองเด่นตัดกับสีปกหนังสือ เย็บกี่อย่างเหนียวแน่นอย่างคงทน
ใหญ่โตพอๆกับวิทยานิพนธ์เล่มขื่อ ขนาด ๘ หน้ายก ความหนาประมาณ
๔–๕ ร้อยหน้า เพียงว่า พุทธทาสภิกขุ ไม่ต้องมีอัญญประกาศ ไม่ต้องใช้ราชทินนาม
และที่สันหนังสือใช้กระดาษหนังเทียมสีต่างๆ ผนึกไว้
(ปัจจุบันใช้พิมพ์สีลงบนสันหนังสือแทน) เพื่อแสดงหมวดของหนังสือ. จนเมื่อ
ผมเคยนำไปให้เพื่อนที่มีพุทธศาสนาเพียงแค่บัตรประชาชน
มันก็กล่าวอย่างเหน็บแนมว่า"ถ้าเรียงกันสองเล่มใช้แทนหมอนหนุนหัว
เรียงกันสามเล่มใช้แทนเสื้อเกราะกันกระสุนได้เลย"
(แต่ภายหลังหมอนี่กลายเป็นคนไทยเพียงไม่กี่คน
ที่สามารถสะสมชุดหนังสือธรรมโฆษณ์ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองครบทุกเล่ม)
ถ้าจะถามว่าเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม อธิบายว่าด้วยเรื่องของประเด็นอะไรไว้บ้าง?
คงต้องตอบว่าค่อนข้างหลากหลาย
ตามแต่ละภูมิธรรมที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวปาฐกถาแสดงธรรม
ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างเทศะ แล้วแต่จะขึ้นต่อปัจจัยของผู้แสดงธรรม
และผู้แสวงธรรมจากท่านพุทธทาส ชื่อที่ตั้งชุดหนังสือว่า"ธรรมโฆษณ์"
ก็เนื่องด้วย ยุคสมัยของท่านนั้นการโฆษณาชวนเชื่อมีผลต่อการรับรู้
ของมวลชนโดยวงกว้าง การเผยแผ่ธรรมเฉยๆ อาจไม่สามารถกระตุ้น
ให้คนเกิดสนใจในธรรมะได้เท่ากับการต้องโฆษณาธรรมะ
กว่าจะได้พิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชนก็เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็่นต้นมา

หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ แบ่งออกเป็นห้าหมวด

๑ หมวดที่หนึ่ง ชุด "จากพระโอษฐ์" สันปกสีน้ำตาล ๑–๑๐
เป็นเรื่องเก็บมาเฉพาะที่ตรัสเล่าไว้เอง.

๒ หมวดที่สอง ชุด "ปกรณ์พิเศษ" สันปกสีแดง ๑๑–๒๐
เป็นคำอธิบายข้อธรรมะที่เป็นหลักวิชาและหลักปฏิบัติอย่างสมบูรณ์.

๓ หมวดที่สาม ชุด "ธรรมเทศนา" สันปกสีเขียว ๒๑–๓๐
เป็นเทศนาตามเทศกาลต่างๆ.

๔ หมวดที่สี่ ชุด "ชุมนุมธรรมบรรยาย" สันปกสีน้ำเงิน ๓๑–๔๐
เป็นการบรรยายในรูปปาฐกถาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด.

๕ หมวดที่ห้า ชุด "ปกิณกะ" สันปกสีม่วง ๔๑–๕๐
เป็นการอธิบายข้อธรรมะเบ็ดเตล็ดต่างๆ ประกอบความเข้าใจ.

ในแต่ละหมวด แต่ละหมายเลข อาจมีได้หลายเล่ม ซึ่งได้ใช้วิธีใส่อักษร ก ข ค… ต่อกันไปเรื่อยๆ.

โดยแท้จริงแล้วมีอยู่หลายสำนักพิมพ์ที่ปรารถนาจะนำผลงานของท่านพุทธทาส
ไปพิมพ์เผยแพร่ แต่มีบ่อยครั้งที่การย่อความทำให้กระบวนธรรม
ที่นำเสนอมีการคาดเคลื่อน ผิดเพลี้ยและทำให้เข้าใจผิดในข้อธรรมนั้นๆ
ทั้งโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ท่านจึงให้จัดประชุมคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่องานนี้
โดยท่านพุทธทาสเอง เป็นประธานร่วมกับธรรมทานมูลนิธิ สวนอุศมมูลนิธิ มูลนิธิเผยแพร่ชีวิตประเสริฐ วางโครงการจัดพิมพ์คำบรรยายทั้งหมด รวมเข้าชุดกันไว้ให้เป็นหมวดหมู่
โดยเฉพาะงานหมวดแรก ชุด "จากพระโอษฐ์" อาจถือเป็นงานที่นอกกรอบ
ทัศนะความคิด เพราะเป็นงานแปลฝีมือท่านพุทธทาส(ยุคพิมพ์หนังสือตอนต้นๆ)
เพราะนำเฉพาะการเทศนาธรรมจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีมาอธิบายแบบคำต่อคำ
เพื่อให้กระจ่างในหลักของธรรมข้อนั้นๆอย่างลงลึก อาทิ พุทธประวัติจากพระโอษฐ
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์
เป็นต้น ควรนอนให้อิ่ม กินให้น้อย และพักสายตาพอสมควร เพราะกว่า
จะถอดความและทำความเข้าใจได้ถ่องแท้ ถือเป็นงานแน่นๆที่ต้องทำใจ
ให้มั่นคงก่อนอ่านอยู่ไม่น้อย เหมาะเป็นหนังสือสำหรับคนนอนยากที่ควร
ตั้งไว้ข้างหัวเตียง (บางทีแค่ตกมาฟาดหัวอาจถึงสลบไสลได้) ส่วนชุดหมวดที่
เหลือ ถือว่าเหมาะกับผู้เริ่มต้นในการศึกษาธรรมและเข้าใจความคิดเชิงธรรม
ของท่านพุทธทาส อ่านแล้วบางทีอย่าตกใจนึกเอาว่าท่านพุทธทาสกำลังด่าว่า
ว่าเราอยู่ข้างๆหู แท้จริงท่านอ่านอวิชชาที่มีอยู่ในตัวเราเท่านั้น
บางเรื่องอ่านเพื่อเชื่อมให้เราเข้าถึงนิพพานอย่างง่ายๆ ไม่ต้องมานั่ง
บำเพ็ญเพียรอย่างเอาเป็นเอาตัว แม้ชื่อหนังสือหลายเล่มตั้งชื่อให้
แปลกพิสดารไม่คุ้นเสนาะหู แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอย่างไม่น่า
เชื่อสำหรับคนยุคปัจจุบัน อาทิ ตุลาการิกธรรม อตัมมยตาปริทัสน์
เตกิจฉกธรรม สันทัสเสตัพพธรรม เป็นต้น

เห็นตัวหนังสือเล่มปราณีต วิจิตรบรรจง อลังการอย่างนี้ อย่าคิดว่าราคา
จะแพงสุดโหดตามรูปลักษณะที่เห็น ตอนที่ผมสั่งซื้อทาง
ไปรษณีย์กับทางธรรมทานมูลนิธิ จ.สุราษฎร์ธานี ราคาตกเล่มละ
๒๕๐ บาท เท่านั้น (ยกเว้นเล่มพิเศษบางเล่มเท่านั้น) ซึ่งสมควรมีเก็บไว้
เป็นมรดกแก่ลูกหลาน (เพราะเศรษฐกิจยุคนี้ไม่อาจจะมีอะไรไว้ให้กับ
ลูกหลานอีกแล้ว) จะเก็บไว้สิบอีกยี่สิบปีครั้งหน้าก็ไม่มีคำว่าล้าสมัย
ตราบใดที่มนุษย์ยังคง"รักสุข เกลียดทุกข์" ธรรมโฆษณ์จะยังคงโฆษณา
เพื่อให้คนเข้ามาหาธรรม ดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจ อย่างธรรมใดผู้นั้นก็ได้ประ
โยชน์ดังนั้นถ้าเห็นว่าชุดนี้สำนวนของผมออกไปเชิงทางธรรมก็ขอให้เข้าใจว่า
อ่านธรรมโฆษณ์โคตรได้ใจธรรมอย่างที่ต้องออกนอกหน้าให้ใครๆได้ยิน

บางเรื่องและบางภาพจาก
//www.buddhadasa.org/html/life-work/dhammakot.html
//www.100bdd.org/index1.php



Create Date : 27 มิถุนายน 2551
Last Update : 27 มิถุนายน 2551 9:57:00 น. 5 comments
Counter : 1179 Pageviews.

 
อืมม์ .... หน้าตาหนังสือ ชวนให้นึกถึงเรื่องหนักๆ
แต่เรื่องหนักๆ จากท่านพุทธทาส คงอ่านเข้าใจได้ง่ายนะคะ
เราอ่านเล่มอื่นของท่านมาบ้าง
ไม่มากนักหรอกนะ
ดูเหมือนว่า พ่อกับแม่ จะซื้อหนังสือของท่านพุทธทาสไว้เยอะพอสมควรเลยล่ะ
หากละวางจากนิยายและเรื่องบันเทิงทั้งหลาย
จะหยิบธรรมะมาชะล้างจิตใจบ้างค่ะ


โดย: นัทธ์ วันที่: 27 มิถุนายน 2551 เวลา:22:25:42 น.  

 
มารู้จัก หนังสือ ธรรมโฆษณ์ค่ะ
ขอคุณมากนะคะ


โดย: whitelady วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:1:31:21 น.  

 
ขอยืม..พูดเล่นหรือพูดจริงคะ?
ถ้าอยู่ในอิตาลี...ให้ยืมแน่นอนค่ะ...อิอิ


โดย: nikanda IP: 87.0.195.34 วันที่: 14 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:32:08 น.  

 
สาธุ ท่านพุทธทาสค่ะ
ขอบคุณที่นำมาให้อ่านกันนะคะ


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 31 กรกฎาคม 2551 เวลา:6:45:48 น.  

 
ขอแชร์ด้วยนะคั๊บ
เวปนี้เขารวม ชุดธรรมโฆษณ์ ของท่านพุทธทาส ไว้เป็นเล่มๆ
เอาไว้ให้เลือกดูเป็น ภาพปกครับ
แต่ถ้าจะสั่งซื้อก็สามารถทำได้

//www.trilakbooks.com/index.php?mo=30&cid=167236


โดย: trilak_books@yahoo.com IP: 125.24.24.115 วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:19:15:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.