A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
ตระหนักในหน้าที่ หนทางที่ดีกว่าสแกนกรรมและลดความชีช้ำของหนูเรยา


ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหมือนตัวผู้เขียนจะ "ติดกรรม"

แม้ "กรรม" ที่ว่าจะไม่ได้เกิดจาก ตัวเองเป็น ประธาน 'Subject'

ในฐานะเจ้าของกริยาเพื่อสนองเหตุแห่ง "กรรม"

แต่ด้วยกระแสข่าวหน้าสังคม ที่ปะปนทั้งเรื่อง แม่ชีชี้ทางแก้กรรม
(เสียดาย ที่แม่ท่านน่าจะมาเลือกชี้การสะเดาะห์เมื่อสักสิบปีก่อน ช่วงที่กำลังเอาะๆ)

และเรื่องของ นางสาวเรยา ตัวละครอุปโลกป์ ที่ดันเข้ากับทางโลก ได้ดีชะมัด
(จน รัฐมนตรีท่านบ้าจี้ จนถูกสะท้อน 'ก้อนอิฐ' ' แทนที่จะเป็นดอกไม้' จากแวดวงวิชาการ)




ในท่ามกลางถึงการชี้ปัญหา จากนานาทัศนะในหน้าสื่อ

ที่กางสักสิบหน้า ต้องเจอเรื่องเช่นนี้สักหน้านึง

จึงไม่แปลกที่จะขอเพิ่มสักหน้า ที่เป็นของตัวเอง เพียงแต่ว่า..........

มันไม่ได้เป็นทัศนะของผู้เขียน ที่ผุดขึ้นได้เองหรอก แต่เป็นบุคคลที่เชือ่ว่า

ผู้คนส่วนใหญ่ พร้อมจะอ้ารับฟัง และคิดตาม

จากถิ่นที่มีชื่อว่า "สวนโมกข์" ที่ไม่ต้องโบกรถไป 'ไชยา สุราษฏร์ธานี'

เพราะเดี๋ยวนี้.......เขาจำลองสวนโมกข์ ให้มาอยู่กรุงเทพตั้งนานแล้ว!





ศุกร์ ๑๓ ฝันหวาน ที่หลายผับหลายบาร์ เขาสวมงานเพื่อ "มายาการตลาด"

แต่ศุกร์ ๑๓ ที่สวนโมกข์กรุงเทพ ยามบ่าย .....เขามีหัวข้อเสวนา ที่น่าสนใจ

“สแกนกรรมสังคมไทย เจาะใจ...คุณเรยา - 5 ตำราที่ชาวพุทธควรอ่าน”

แค่หัวข้อ ก็เก็ทพอตัวแล้ว

ยิ่งวิทยากร ยิ่งซูเปอร์เก็ทมากขึ้นไปกว่าเดิม โดยผอ.สถาบันวิมุตตยาลัย

ผอ. ชื่ออะไร หลายคนคงไม่ทราบ แต่ถ้าบอกว่า เป็น "ท่านว.วชิรเมธี" แล้ว

อันนี้ไม่รู้ ก็....ไม่รู้ด้วยแล้ว





แน่นอนว่า กระบวนทางออกของความคิดก่อนหน้าที่รับทราบ

"เปิดอิสระทางความคิด" ดูจะเป็นสายหลักที่มุ่งเน้นในแวดวงวิชาการหน้านสพ.

อิฐหลายก้อนที่ว่า จะเป็น 'อย่าทำเป็นคุณพ่อรู้ดี' 'อย่าอำนาจนิยม' 'แทรกแซงสื่อ'

แต่กับทัศนะของท่านวอ แล้ว ท่านให้ตระหนักถึง "หน้าที่"

หน้าที่ ที่ไม่ได้หมายความว่า ให้ไปอ่านหน้าที่ที่เท่าไร
(ถึงแม้ในงานจะแนะนำหนังสือพุทธ "ห้าเล่ม" ที่คนไทยสมควรต้องอ่าน-เสริมผู้เขียน)



แต่ "หน้าที่" ที่ถ้าจับจุดได้ถูกหลักแล้ว

อย่างที่ท่านวอ ว่าไว้ "ดูละครให้เป็นจะเห็นธรรม"

ธรรมจึงไม่ได้บรรจุ อยู่แค่ในวิชาพุทธศาสนา อยู่ในวัด อยู่ในชั้นหนังสือหมวด
ศาสนา

แต่ ธรรมทุกธรรม อยู่โดยทั่วไป แม้แต่ตัวพระพุทธเจ้าเอง

ยังดำริเลยว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"


เลยอดไม่ได้ว่า เราก็อาจจะเห็นพระพุทธเจ้าได้ ใน 'เรยา' ใน 'ดอกส้มสีทอง'

ท่านวอ เปรียบเทียบธรรมอันเกิดจาก "การทำหน้าที่" ในละคร

แทนที่จะมา "คัดพิษ" แบบที่นักวิพากษ์ทีวีทั่วไปเขามองกัน



-เจ้าสัวที่ไม่สำรวมในกามศีลข้อที่ 3 ทำให้คนภายในบ้านอยู่ไม่เป็นสุข นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ

-ตัวแม่เรยาเอง ไม่ทำหน้าที่แม่ที่ดี ไม่เคยสั่งสอนลูกให้เคารพผู้ใหญ่ มีแต่ยอมลูก
ตลอดเวลา

-ส่วนตัวเรยา เมื่อวัยเด็กไม่ชอบเรียน พอโตขึ้นเลยไม่ได้นำความรู้ความสามารถมาใช้ ประกอบกับเป็นคนทะเยอทะยาน คิดสบายทางลัด ก็เป็นที่มาของปัญหาเช่นกัน




ดูละคร แล้วย้อนดูตัว

จะได้เห็นปัญญาเป็นตัวๆ มากกว่าการด่าตัวละคร

อันนี้ ผมคิดหลังจากพักเบรคโฆษณา แต่อดไม่ได้ว่าบางทีเรยา she ก็แร็งแรง

แบบไม่มีตรรกวิทยาให้ผุดได้คิด ปานประหนึ่งว่าsheเป็นมนุษย์ต่างดาว (แบบที่
อ.นิธิ คิด)





ไม่มีมนุษย์คนใด ที่เกิดมาไม่มีหน้าที่

แม้แต่ในพระไตรปิฎก ยังเอ่ยถึง "ทิศหก" ที่สังคมหกคะเมนเพราะไม่ได้ปฏิบัติ

และหน้าที่นี้แหละ ยังไม่สัมพันธ์กับ "ลัทธิแก้กรรม"

เพราะเชื่อว่า "แก้กรรม" ได้ ก็ต้องเชื่อในฐานที่ว่าคนทุกคนนั้น "รับกรรม"

รับๆ แก้ๆ โดยทีไม่ยอมลุกขึ้นมาสู้ชีวิตให้หลุดพ้นจากอุปสรรคทั้งหลาย

เพราะ "จน" แล้วรอการแก้กรรม

ไม่ทำมาหากิน ไม่ขยัน ไม่เก็บออม ใช้จ่ายสุรุยสุหร่าย

เรียกได้ว่า แก้จนไม่ถูกที่จน (ผู้เขียนคิดเอง) ด้วยจนไป'แก้'ที่'กรรม'

จึงต้อง'เวรกรรม'ที่ยัง'จน' อยู่ร่ำไป




อีกปัจจัยหนึ่ง ที่ท่านวอ วิเคราะห์สภาพสังคมส่วนมาก

คือ "มักเอาชีวิตไปพึ่งบุคคลอื่น" อัตตาหิจึงต้องโธะโธ่ เมื่อไรน้อจึงจะพึ่งตนเอง

สังคมไทย จึงกลายเป็นสังคม "นักรับจ้าง" (ผู้เขียนฟุ้งซ่านเองอีก)


-จ้างเทพเจ้าให้มาช่วย (เซ่นแฟนต้า ผูกผ้าแดง แก้ผ้ารำถวาย)

-จ้างมือปืนให้มายิงสส. (แม้สส.จะรู้ตัวว่าเป็นคนที่ตนเคยให้ความเคารพ)

-จ้างติดสินบนเพื่อเม็กกะโปรเจ็ค (ให้มาประมูลแข่ง ดันมารวมหัวประมูล)

-จ้างแม้แต่ผีให้มาโม่แป้ง (แม้แต่ผีก็ยังถูกจ้างได้)




สังคมที่น้อยคน จะหันจากการ "แก้กรรม" มาเป็น "แก้การกระทำ"

หากเคยทำสิ่งใดไม่ดีให้เลิก แล้วปรับปรุงตัวเองเป็นคนใหม่ แก้พฤติกรรมที่ไม่ดี

ใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ดำรงชีวิตอยู่ด้วยสติปัญญา ไม่สยบยอมต่อปัญหาและอุปสรรค

ตนเองจึงสำคัญได้ ด้วยการกระทำ

เพราะจะนำมาซึ่งการลิขิตชีวิตของตัวเอง เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์

และที่สำคัญ เสียสตงสตางค์น้อยกว่าเห็นๆ





โดยปกติแล้ว ตัวผู้เขียนเชื่อในเรือ่งของ "บุญกรรม"
(ยิ่งในแง่ของการถูกทวงบุญคุณ ยิ่งตอกย้ำเรือ่งบุญกรรมมากขึ้นไปอีก)

บุญกรรม จึงไม่เหมือนกับระบบอัตราเงินกู้ ที่จะกำหนด 'ระยะเวลา' และ 'อัตรา
ดอกเบี้ย'

เชื่อในแง่ของพลวัตร ว่าแรงที่ถูกกระทำ ยอ่มต้องมีการสะท้อนกลับ

หรือไม่มีสสารใด ที่จะสลายสาปสูญ เพียงแต่ว่าได้ปรับเปลี่ยนสถานะเท่านั้น

และการ "แก้กรรม" ก็ไม่ได้เหมือนกับ "แก้ข้อสอบ"

คะแนนอาจจะได้เพิ่มแน่ แต่ "ความผิดในใจ" นี้มันติดตรึง

เพราะมันไม่ถูก "กติกา"

เสียบบอลข้างหลัง ยังมี "ใบเหลือง ใบแดง" ไว้ค่อยตักเตือน

ดังนั้น กับการ "แก้กรรม" ด้วยแล้ว ซึ่งดูจะผิดหลัก "กฎแห่งกรรม"

จะไม่เป็นการทำผิดธรรมชาติของกรรมด้วยรึเปล่า ถ้าโทษแบนในปรโลกมีจริงคง
ได้พักกันยาว ........






ฟังความข้างเดียวมาจาก....ว.วชิรเมธีชี้ทางแก้กรรมตามหลักพุทธศาสนาให้แก้ที่ตัวเอง โดย MCOT


Create Date : 15 พฤษภาคม 2554
Last Update : 15 พฤษภาคม 2554 17:46:49 น. 0 comments
Counter : 830 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.