A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
เทวรูปซิลิกอน หยุดไม่ง่ายแค่การshutdown


หลายคนในที่นี้ คงรู้จักเจ้า "คอมพิวเตอร์" กันใช่ไหม?
หน้าตาเป็นอย่างไรเหรอ! ก็ของที่ท่านกำลังดูอยู่ ตรงหน้าคุณนั้นเเหละ....
แม้ทุกวันนี้ วิทยาการของมันจะปรากฎแบบเเทรกซึมแลละดัดแปลง
ให้ไปอยู่ในเครื่องโทรศัพท์มือถือ เจ้าเครื่องเกมส์ออนไลน์
หรืออะไรต่างๆ ที่มันแลดูไฮเทคโคตร จนผมตามไม่ทัน.........


ผมว่าในที่นี้ ท่านทุกคนสามารถปิดตาคลำปุ่มเปิด-ปิด แล้วเข้าพิมพ์งาน
และใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์จนคล่องมือ หรือกล้าแชตกับคนเเปลกได้สนิทใจ
ชนิดที่ว่่า กับสมาชิกในครอบครัวด้วยแล้ว อาจจะยังไม่สนิทเท่า
แต่ทว่า .........จะให้ลงลึก ถึงหลักการการทำงาน
ของเจ้าเครื่องที่อยู่บนหน้าท่าน ว่ามันมีประวัติความเป็นมา
รวมถึงส่วนของการสร้างและอิทธิพลที่เจ้าคอมพวกนี้ จะลุถึงอำนาจภายภาคหน้า
อันนี้..........ไม่รู้ก็ไม่ถึงกับตาย
แต่รู้ไว้.............ก็น่าจะพอมีประโยชน์อยู่บ้าง
ในฐานะที่เป็นเจ้าของเครื่องมือสามัญประจำบ้าน ที่ใช้มันมากกว่า
กล่องยาสามัญฯ ที่อาจจะสัมผัสจับต้องนานๆสักที (จนมีหมดอายุ ก็ยังเคย)


"วิพากษ์ คอมพิวเตอร์:เทวรูปแห่งยุคสมัย"
เป็นหนังสือในหมวดทลายกองดอง ที่ซื้อมานานพอสมควร
ครั้งงานสัปดาห์หนังสือฯ ปีใดก็ไม่กล้าฟันธง...กลัวจะฟันผิด
ด้วยความที่ดองหนังสือ จากช่วงเวลาของงานสัปดาห์ฯทุกครั้ง ที่ได้เยี่ยมชม
แล้วมักมีอะไรติดไม้ติดมืออย่างพะรุงพะรัง แต่เอาเข้าจริง
ได้ใช้ประโยชน์ในทันที เพียงไม่กี่เล่ม
ความจริงแล้ว หนังสือเล่มนี้กะว่า จะซื้อตั้งแต่ที่พิมพ์ออกมาอุ่นๆ
ด้วยความที่เป็นงานแปลของภิกษุที่ผมศรัทธาในงานเขียนและเสวนาธรรม
อย่าง "พระไพศาล วิสาโล"
ภิกษุที่ไม่ต้องหยิบยกสมาณศักดิ์เพื่อเรียกคนมาฟังธรรม
แค่เสนอมุมมองด้วยวิธีการที่แยบยล เข้าใจง่ายและมักเป็นมุมที่เรามองข้ามเสมอ
(เหมือนทีท่านว่ารู้ว่าล้างมือให้หายเหม็น แต่เราก็จะก้มไปดมเพื่อให้แน่ใจว่าหายเหม็นรึยัง
แทนที่เลิกสนใจในความเหม็นนั้นซะ)
ท่านเคยเป็นนักศึกษาผ่านเหตุการณ์สี่สิบตุลา ถือเป็นพระสายก้าวหน้า
ที่แตะงานอะไรก็ดูจะสอดรับกับยุคสมัยในปัจจุบัน
ดูอย่างงานในหนังสือเล่มนี้ ก็ยังไปแตะแปลกับอะไรที่เป็น
"ไมโครโปรเฟสเซอร์" "เมกาบิทต่อวินาที" "ซิลิกอนไดออกไซด"
อ่านไปยังต้องกลับมาหันมามองหน้าปกอีกครั้งว่า

"เอ๊...........นี้มันใช่หนังสือธรรมะ อย่างที่เราตั้งใจอ่านรึเปล่าหว่า?"







ความจริงแล้ว หนังสือเล่มนี้ท่านไม่ได้แปลเพียงหนึ่งเดียว
แต่แปลร่วมกับ ฆราวาส อย่าง "สมควร ใฝ่งามดี" ที่เคยร่วมทำงานใน
นิตยสารธรรม ใน ปาจารยสาร งานแปลหนังสือเล่มนี้จึงดูสอดคล้อง
เป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้รู้สึกความต่างในสำนวนแปลแบบ Core2Duo อะไรปานนั้น


เหตุที่เข้าใจว่า ไม่ได้สนองกิเลสทางปัญญา
ที่เห็นปุบ แล้วจำต้องควักตังค์ซื้อปับ นับแต่เพิ่งออกจากโรงพิมพ์ใหม่ๆ
ส่วนหนึ่ง การออกแบบปกที่แสนเชย ไม่มีสีสัน-ลูกเล่น
ส่วนหนึ่ง เกิดจากการตั้งชื่อหนังสือเป็นภาษาไทย ออกไปทางกึ่งเทวปรัชญา
ทั้งๆที่ ถ้าตั้งตามชื่อภาษาอังกฤษทับศัพท์เลยว่า
"Silicon Idol" โดยผู้เขียน ไมเคิล แชลลิส
ดูท่าจะเวริคกว่า อย่างน้อยๆ ก็มีอะไรคอนๆ ดอลๆ เล่นเสียง-เล่นคำ
และความที่แย่ในความรู้สึกส่วนตัว คือ บันทึกของผู้แปลกับกถามุขของผู้เขียน
ไม่สามารถดึงดูดใจผู้ซื้อ อีกทั้งบทเริ่มเรื่องออกจะเป็นประเภท
เขียนอะไรที่เด็กอย่างผมก็รู้และทราบเอาเองได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งปรโตโฆษะจากท่าน
จึงเกิดอคติกับหนังสือเล่มนี้ ตอนที่ยืนพลิกหน้าอ่านอย่างคร่าวๆ
หยิบตรงไหนมา ก็วางคืนไว้ตรงนั้น ไม่ได้นำกลับมาเป็นสมบัติในหมวด
กลุ่มนักเขียนจากปากกาของท่านพระไพศาล อย่าง ฉลาดทำใจ ประตูสูสภาวะใหม่
สันติ-สุขภาวะ ว่ายทวนน้ำ เป็นต้น


แต่สุดท้าย ก็อดห้ามใจที่จะครอบครองไม่ได้
อันไม่ได้เกิดจากเนื้อหา แต่ว่ากันด้วยราคา ที่ลดได้อย่างไม่เกรงใจว่า
จะพิมพ์อีกเป็นครั้งที่สาม จากราคาปก ๒๐๐ ถูกลดตามวันเวลาที่ล่วงเลย
มาตกอยู่ที่เล่มละ ๕๐ บาท ถูกกว่าการซื้อสเลอปี้เเก้วใหญ่ ๒ แก้วซะอีก
จนกระทั่งวารกาลติดสัตว์ทางวิทยาศาสตร์มาเกิดขึ้นกับผมในช่วงนี้
จึงได้มารื้อๆ หนังสือที่ซื้อมาดองให้ทลายเล่มซะงั้น และอารมณ์เดิมจากหนังสือ
เล่มนี้ก็ตามคาด คือ ๕๔ หน้าแรกแสนจะน่าเบื่อ เออ...ตูรู้แล้ว อืม...แล้วไงต่อ
กลับกลายเป็นว่า ความสนุกสนานจากความไม่รู้ในช่วงหลัง กลับทำให้ผม
รู้สึกสนุกกับมันมากขึ้น ชนิดที่ต้องขออ่านที่เหลือ อีกสองร้อยกว่าหน้าเสร็จโดยพลัน

หนังสือเล่มนี้ให้อารมณ์ที่เต็มอิ่มในฐานะที่เป็นหนังสือน้อยเล่ม
ที่จะเล่าเรื่องราวของคอมพิวเตอร์อย่างครอบคลุมในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น
ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา ปรัชญา ความคิด อนาคตศาสตร์
แต่จะแตะโดยกว้างๆ ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด ยกเว้นประวัติความเป็นมา
ของเจ้าคอมพิวเตอร์ที่อ่านดูก็น่าทึ่ง
เชื่อไหมว่า คอมพิวเตอร์ที่เรากดปุ่มกันอยู่นี้ มีผลพ่วงมาจาก
"เครื่องทอผ้าที่ควบคุมโดยเข้ารหัสในกระดาษเจาะรู"
เป็นสุดยอดนวัตกรรมในช่วงต้นศตวรรษที่ ๑๙ โดยช่างชาวฝรั่งเศส
แล้วเชื่อไหม (อีก) เขาก็ไปโยงกับ การปฏิวัติสมัยพระเจ้าหลุยส์
เพราะเจ้าฌัคการ์ผู้สร้าง เป็นบุคคลหนึ่งที่เข้าร่วมการปฏิวัติฝรั่งเศส
สู่ต้นแบบการผลิตแบบการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เน้นปริมาณมากๆ
เปลี่ยนการมองโลกแบบนามธรรม เพราะหันเหมาตราวัดแบบศักดิ์สิทธิ์
การมองมนุษย์แบบลดทอนและแยกเป็นส่วนๆ
เมื่อต้นแบบความคิดนี้ ไปมีผลต่อ "ชาลล์ แบบเบจ" ผู้ได้ชื่อว่าเป็น
"บิดาแห่งคอมยุคใหม่"
ดังนั้นวิธีคิดแบบ มีส่วนนำข้อมูลเข้า มีส่วนแสดงผลแล้วประมวลมันออกมา
รวมทั้งมีส่วนพื้นที่ความจำ ฟังดูแล้ว มันก็คือ ฮาร์ดแวร์กับซอฟแวร์ดีๆนี้เอง


แต่ที่ยากเกินความเข้าใจ สำหรับผมแล้ว เป็นบทที่สอง
ว่ากันด้วยหัวเรื่อง "ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์" (เพราะบทที่เหลือ ยังพอแลฝืนให้สู่รู้ไปได้)
เอาแค่นิยามคำว่า "คอมพิวเตอร์" ที่ว่า "เครื่องซึ่งทำตามคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับ และ
สามารถปรับขยายคำสั่งโดยอาศัยผลที่เกิดขึ้นระหว่างกลาง"
พูดอย่างงี้! เท่ากับว่า .....................
ความที่ว่าเห็นเครื่องหน้าสี่เหลี่ยมๆ "เดสท้อปต์"
บางอันพับเก็บได้ที่เรียก "โน๊ตบุ้ค" แล้วแทนมันว่าคอมพิวเตอร์
ก็ถือว่าเป็นอะไรที่หยาบมาก คอมพิวเตอร์จึงเป็นอะไรก็ได้
ที่สอดรับความหมายในแง่กระบวนการปฏิบัติตามที่ได้ลอกมาให้ได้อ่านกัน
เห็นอย่างนี้ว่ายากแล้วใช่ไหม? เเล้วถ้าคุณมาอ่านเจอ
เจ้ากระบวนการของคำว่า"ไบท์" แล้วจะไก่ตาแตกเหมือนผม เพราะภาษาคำที่เราเห็นกับ
สิ่งที่เครื่องเห็นก็ต่างกัน อย่างเราเห็นหน้าคอม มี ก ไก่ ข ไข่ ฮ นกฮูก a b c d
แต่กับชุดคำสั่งไบท์ที่คอมมันอ่านกัน จะมีเพียงกลุ่มเลขฐานสองประกอบ คือ 0 กับ 1
สองตัวแค่นั้น ไม่มีมากไปกว่านี้ ซึ่งเอามารวมกันแปดตัว ใช้แทนตัวเลข สัญลักษณ์
ตลอดจนถึงอักษร
ยกตัวอย่าง ถ้าเราพิมพ์คำว่า W ลงไป เครื่องมันจะแสดงผล มาเป็น 00010111
แล้วมันจะลำดับแทนค่าอัตโนมัติ ออกมาเป็นคำว่า W อย่างที่เราเห็น
นี้ยังไม่รวม "วงจรตรรกะ" ที่กว่าจะแสดงออกมาเป็นเลข 0 กับ 1 อีกนะ
ซึ่งก็มี and , or . not สามคำซื่อๆ ที่เขาถึงกับบัญญัติศัพท์ว่า Human Error
ว่าอย่างไรซะ คอมก็ไม่มีทางผิดหรอก ยกเว้นแต่ว่าคนกดนั้นนะ จะพิมพ์โจทย์ผิดๆ
ให้มันโต้ตอบ...........ต่างหากละ





บทที่สามว่ากันด้วย "ชิบกับความเปลี่ยนแปลง"
อ่านแล้วก็รู้สึกขนลุก-ขนพอง ว่ากันด้วยลำดับของการพัฒนาการของสวิสต์ไฟ
มาสู่หลอดไฟ ทรานซิสเตอร์ จนมาสู่ความเป็น "ชิป" ที่เป็นองค์ประกอบหลัก
ของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กลายเป็นสิ่งจักรกลที่มีสมอง ตั้งแต่ของเล่นเด็กจากจีนแดง
ไปยันขีปนาวุธ ยิ่งมาเจออัตราเร่งทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทุนนิยม
จากชิปที่มีมูลค่าหลายหมื่นในปี ๖๐ มาสู่ปัจจุบันที่มีค่าไม่กี่สตางค์
จากเครื่องพิมพ์ดีดที่ประมวลข้อมูลไม่กี่บิทตอ่วินาที มาสู่ดาวเทียมที่ถ่ายเทขอ้มูล
สิบล้านบิทต่อวินาที มาสู่คำแนะนำที่น่าเคลือบแคลงของความเป็นคอมพิวเตอร์
จากผู้เขียนที่ว่า

- คำแนะนำของมัน ไม่เคยคำนึงถึงปัจจัยทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นประสบการณ์ของมนุษย์ (หน้า ๒๐๔)
- คอมพิวเตอร์ทำลายทักษะของผู้คน (หน้า๑๙๕) (ต้องถามว่าเราคูณเลขครั้งสุดท้าย
โดยไม่พึ่งเครื่องคิดเลข เมื่อไรกัน?) คอมพิวเตอร์ทำให้เราเข้าใจไปว่าเรานั้นไม่สามารถพอ
-ขวางกั้นความสัมพันธ์โดยตรงกับมนุษย์มิได้เกื้อกูลต่อสุขภาพจิต
-ลดจำนวนคนงานให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนการประกอบการ สร้างกิเลสบุคคลให้เพิ่มพูน
(สมัยจักรพรรดิโรมันชื่อเวสปาเชียน ยังต่อต้านพลังงานจากน้ำ ด้วยกลัวว่าจะทำให้คนว่างงาน)
-ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อมูลไม่ได้เป็นเรือ่งส่วนบุคคลอีกต่อไป รวมทั้งการสร้างข้อมูล
สนเท่ห์ที่มีอำนาจแพร่กระจายสูง เกิดแหล่งข่าวสารข้อมูลที่ท่วมท้น
-อิสรภาพที่เราได้รับ ก็คือ อิสรภาพในการถูกมอมเมาด้วยสิ่งเสพติดทางเทคโนโลยี
-ยุควิทยาศาสตร์เกิดจากโลกทัศน์ที่อยู่นอกแบบแผนทางศาสนา จึงไม่แปลกในผลที่ติดตาม
มา คือ ความเสื่อมของศาสนา

ขณะที่พิมพ์ไป ก็นึกเอะใจตัวเอง เหมือนผู้เขียนกำลังแอบด่าผ่านตัวหนังสือ
เลยต้องแก้เผ็ดด้วยการแฉงานของแกผ่านคอมพิวเตอร์ที่แกมองเป็นปีศาจร้ายสักเลย.........

โดยเฉพาะในบทสุดท้าย "เทวรูปซิลิกอน"
ได้หยิบยก วาทะของศาตราจารย์เอ็มไอที อย่าง โจเซฟ ไวเซนบอร์ก (ที่แกอ้างอยู่ทุกบท)

"ข้าพเจ้าใกล้จะเชื่อแล้วว่า คอมพิวเตอร์นั้นเป็นปฎิปักษ์ต่อมนุษย์โดยธรรมชาติ
มันเป็นประดิษฐกรรมของปีศาจ"

แต่กระนั้นก็ตาม ความที่ผู้เขียนบ่งบอกอคติของตัวเองไว้แต่ต้น
ว่าอยู่ในกลุ่มของพวก Luddite (ต่อต้านความก้าวหน้า ต้องการกลับไปหาอดีตชวนฝัน)
แกเป็นถึงอาจารย์ในสถาบันออกฟอร์ดที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ แต่ตัวเองกลับไม่ยอมมีคอมฯ
และเคยใช้นาฬิกาดิจิตอลเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ปฏิญาณจะเลิกใช้ตลอดบั้นปลายที่เหลือ
แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ก็เป็นหนังสือที่คนไม่รู้เรื่องคอมฯ ก็สามารถอ่านได้ อย่างเข้าใจไม่ยาก
(ในบางบทนะขอรับ) ถือเป็นหนังสือเรียนลัดในแวดวงหลักๆทางคอมฯ ได้ดีชะงัก
เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นในปี ๑๙๘๕ แต่ก็ไม่ล้าสมัย
ออกจะเป็นปรัชญาเทวนิยมสมัยใหม่ ในฐานะเทวรูปที่สะท้อนคุณสมบัติอันไม่สมบูรณ์
ไร้ความเป็นมนุษย์กลับมายังผู้ที่เชื่อถือมัน ยิ่งเชื่อถือมันมากเท่าไร เราก็มีความเป็นมนุษย์
ที่น้อยลง
เหมือนกับหน้าสุดท้ายและท้ายสุด ที่บอกว่า..................

"เราจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรที่คิดได้ แต่เราควรละอายใจที่ใช้มัน"



ว่าแล้วก็กลับมาอัพบล็อกกันต่อดีต่อรึเปล่าหว่า?





Create Date : 21 มิถุนายน 2552
Last Update : 21 มิถุนายน 2552 17:35:46 น. 4 comments
Counter : 700 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ นั่งอ่านบล็อคคุณ Mr.Chanpanakrit เพลินมาก เป็นคนเขียนบล็อคที่เขียนสนุกมากนะค่ะ เรื่องพี่เสกนี่เราก็อ่านเพลินดีเชียว

อันที่บอกว่า "หรือกล้าแชตกับคนเเปลกได้สนิทใจชนิดที่ว่่า กับสมาชิกในครอบครัวด้วยแล้ว อาจจะยังไม่สนิทเท่า" 555 อันนี้เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง


โดย: มารีออง วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:19:05:42 น.  

 
Sawadee ka.


โดย: CrackyDong วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:21:13:39 น.  

 
สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายน่ะค่ะ ได้อ่านบล๊อกของคุณแล้ว ทำให้รู้สึกว่า เรามีเพื่อนละ เหมือนกันเลยค่ะคือ ซื้อหนังสือมาแล้วดองอยู่นานกว่าจะอ่านหมด

จากบล๊อกที่คุณแวะไปเยี่ยมA walk to remember และได้พูดถึงหนังสือเล่มใหม่ของ Nicholas Sparks ไม่แน่ใจว่าใช่ The wedding หรือป่าวคะ คุณได้อ่านหรือยังคะ


โดย: กองฟอน วันที่: 22 มิถุนายน 2552 เวลา:11:20:11 น.  

 
"เราจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรที่คิดได้ แต่เราควรละอายใจที่ใช้มัน" ชอบคำนี้มากๆเลยอ่ะคมดี ดูดิบาดเลย ^^


โดย: finalmix7172 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:19:38:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.