A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 

'สุโค้ยย์'กับ'อสุโค้ยย์' สำหรับซีรีย์ญี่ปุ่นประจำปีมะโรงศก





 วาระดิถีสิ้นปีอีกหน .....ไม่ลืมที่ผู้เขียนจะต้องมาประเมินอรรถภาพในการรับชม
 ในซีรีย์ประจำปีนักษัตร ที่ประจำเป็นศาสนกิจปีนี้ก็ย่างปีที่๔ เข้าไปแล้ว
นับตั้งแต่ล่วงยามปีฉลู ขาล และเถาะศก มาตามลำดับ


 แล้วก็เป็นไปตามคาด ประสิทธิภาพในการรับชมก็ค่อยๆถดถอยไปตามลำดับ
 จากที่เคยพีคๆอาทิตย์ละเรื่อง บัดนี้ก็เขยิบมาเป็นรายปักษ์ครึ่งเดือนเอากันสักที
 (บางทีก็หายไปตามสภาพลูกหนี้ที่ควรจะเป็น) แต่อย่างไรเสีย .........
 ไหนๆก็อุตสาห์ลาก เพื่เป็นหนึ่งกระบอกเสียงเล็กๆสำหรับทางเลือกที่ริจะลองยล
โดยเฉพาะ "ซีรีย์ญี่ปุ่น" ที่ค่อนข้างมีจำกัด อีกทั้งเป็นการประเมินคุณภาพชีวิต
หลังจากผ่านการกล่อมเกลาทางศีลธรรมผ่านซีรีย์บันเทิงสอนใจ



ถือเป็นธุลีสำนึกที่ไปหาดู-หาโหลดซีรีย์เค้ามาแล้ว ก็ควรมีการตอบแทน
ในความเป็นตัวตนของผู้ผลิต ผู้สร้าง ผู้ก้อป ผู้แปลซับและจำหน่ายตามแผง
ซึ่งสุดท้าย....มั่ว-ไม่มั่? ขึ้นกับวิจารณ์ญาณของท่านผู้ชมเอง






 เกณฑ์กาการตัดสิน


ปีนี้ขอเปลี่ยนกติกาสักนิด เนื่องจากจำนวนรีวิวที่ไม่สอดคล้องให้พอกับเงือ่นไขเก่าๆ
ดังนั้นปีนี้จึงเล่นง่าย ที่จะขอคัดเอา ๓ เรื่องสุโค้ยย์กับ ๓ เรือ่งอสุโค้ยย์แห่งปี
โดยนับเอาจากผลงานที่รีวิวในปีนี้ อันมีสภาพบังคับทางคดีที่เกิดจาก
ลายลักษณ์อักษรตัวโต้งๆ ที่เคยได้แฉสภาพไปแล้วในแต่ละเรื่อง
ที่ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขหรือทำให้สอดคล้องเพื่อให้เข้าพวก
ไปกับกระแสนิยมในภายหลัง เคยว่ากันอย่างไรก็ตัดแปะไปตามนั่น
ามาตราฐานอะไรมาเป็นตัวชี้วัดกับการตัดสินในครั้งนี้ได้ยาก
เพราะเป็นอคติส่วนตัว เป็นมายาคติที่ได้รับการปลูกฝังและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อิทธิพลของดาราสาวค่อนข้างจะมีผลอย่างมาก ในการช่วยตัดสินให้ง่ายขึ้น
ดังนั้นอย่าช้าอยู่ใย......เข้าเรือ่งกันเลยดีเกวื่อย Smiley





Smiley ซีรีย์ญี่ปุ่นสุโค้ยย์ประจำปีมะโรงศก ๓ เรื่อง ได้แก่




  1. Title: ストロベリーナイト
  2. Title (English): Strawberry Night
  3. Genre: Crime, Detective
  4. Broadcast network: Fuji TV
  5. Format: Renzoku
  6. Episodes: 11
  7. Viewership rating: 15.3% (kanto)
  8. Broadcast period: 2012-Jan-10 to 2012-Mar-20
  9. Air time: Tuesday 21:00

  Strawberry Night

ด้วยเหตุผลที่ว่า




".......ในความเป็นคดี เรื่องนี้ดูจะไม่เปรี้ยงหงายเหงิบสักเท่าไรนัก แต่จะไปได้ในส่วนของความเป็นดราม่าเสียค่อนข้าเยอะ...แต่ถ้านับเอาประเภทที่เป็นเรื่องราวเป็นราวจริงๆก็มีเพียงแค่๖ตอน และมีประเภทจบในตอนเพียงแค่๒ตอนเท่านั้น ที่เหลือล้วนเป็นภาระที่ท่านผู้ชมควรจะต้องติดตามตอนต่อไปในสัปดาห์หน้า ซึ่งผู้เขียนเองก็ค่อนข้างเห็นด้วย ซีรีย์ประเภทตอนเดียวจบหลายต่อหลายเรื่องความจริงพล็อกก็ดี แต่เมื่อต้องรีบไปขมวดให้จบภายในตอนเดียวแล้วรู้สึกเสียของ ตลอดจนเสียดายทรัพยากรในการที่ต้องบีบอัดกระชับพื้นที่แล้วดูผิดแปร่งอย่างไรชอบกล ... ความจริงแค่การได้รู้ว่า จะได้ดูยูโกะ ทาเคอุชิ แค่นี้ก็การันตีในงานคุณภาพได้ระดับหนึ่งเป็นการถาวรอยู่แล้ว .... และที่น่าแปลกใจอยู่อย่างหนึ่ง คือการกำกับของยูอิจิ ซาโต้ ปกติงานที่แกกำกับมักจะไม่ค่อยสมูทและไหลลื่นสักเท่าไร มักจะต้องมีลูกขาดๆเกินๆโผล่มาบ้าง แต่กับเรื่องนี้ทำได้ในระนาบที่รู้สึกได้ว่าเป็นเนื้อเดียวกัน ถือว่าจังหวะการนำเสนอดี ....ซีรีย์จึงเดินเรือ่งไปได้เร็วจนบางทีรู้สึกเอาเองว่า ซีรีย์เนื้อหาค่อนข้างเยอะทั้งๆที่ไม่ได้มีการขยายเวลามากกว่าเรื่องอื่นๆแต่อย่างใด....."


เขียนไว้เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๕




  1. Title: 鍵のかかった部屋
  2. Title (romaji): Kagi no Kakatta Heya
  3. Title (English): The Locked Room Murders
  4. Tagline: 密室は、破れました。
  5. Tagline (romaji): Misshitsu wa, yaburemashita.
  6. Format: Renzoku
  7. Genre: Locked room mystery
  8. Episodes: 11
  9. Viewership rating: 16.0% (Kanto)
  10. Broadcast network: Fuji TV


Kagi no Kakatta Heya

ด้วยเหตุผลที่ว่า




  ".......จะหาว่าม้ามืดเลยก็คงไม่ชัดเจนนัก เพราะได้ถูกจัดตารางให้ลงถ่ายทอดในช่วงไพร์มไทม์เวลาสามทุ่มวันจันทร์ของค่ายฟูจิทีวี ได้สามนักแสดงแม่เหล็กที่มีฐานแฟนคลับและประสบการณ์สูงอยู่แล้วอย่าง โฮโนะ ซาโตชิ ,โทดะ เอริกะ และซาโต้ โคอิชิ มาประกบกันเป็นทีมเฉพาะหน้า-ล่าเฉพาะกิจ สู่การไขปริศนาแต่ทว่า เงื่อนไขคราวนี้ถูกจำกัดแบบชัดเจนขึ้น เพราะต้องมาเล่นในประเด็นที่เป็นข้อจำกัด สู่ความเป็น
"ห้องที่ถูกปิตาย"(Locked Room Murders) ......ซีรีย์นี้ก็ออกแบบตัวละคร "ไค" ให้เป็นที่จดจำได้ชัดเจนเช่นกัน โดยเฉพาะการกำหนดพฤติกรรมหมกมุ่นในสไตล์โอตาก....วิธีการนี้ก็ได้ผลลัพธ์ชัดเจนในแง่เสียตอบรับที่ดี คิดว่าคงจะมีตัวละครเทรนด์นี้โผล่มาอีกหลายเรื่อง เป็นการแสดงที่ใช้พลังน้อยที่ให้ผลเยอะ ส่วนหนึ่งคงด้วยข้อดีในชุดคำอธิบายระบบกลไกโดยเฉพาะลูกบิดประตูหลายลักษณะที่คนเขียนบทเขาทำการบ้านมาอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังได้เพื่อนตัวละครที่สามารถทำให้คนดูอมยิ้มได้อยู่ตลอดและที่ส่วนเสริมหนึ่งที่เด่นกว่าซีรีย์นักสืบทั่วไป ตรงความเป็นซาวด์สังเคราะห์...."




เขียนไว้เมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕





  1. Title: いま、会いにゆきます
  2. Title (romaji): Ima Ai ni Yukimasu
  3. Also known as: Be With You / I'm coming to see you now
  4. Genre: Romance, human drama
  5. Episodes: 10
  6. Viewership ratings: 11
  7. Broadcast network: TBS
  8. Broadcast period: 2005-Jul-3 to 2005-Sep-18
  9. Air time: Sunday 21:00
//i.dramacrazy.net/tn_Ima-drama.jpg

Ima,Ai ni Yukimasu


ด้วยเหตุผลที่ว่า




   "......เอาเข้าจริงการแปรสภาพจากหนังดังมาสู่อาณาจักรซีรีย์ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่เลวร้ายแต่อย่างใด มันยังมีประเด็นปลีกย่อยอื่นให้ได้เล่นและได้ตีความตามความพอเหมาะพอควร ด้วยข้อจำกัดของเวลาที่ให้ได้ไม่มากสำหรับโลกภาพยนตร์...กระทั่งดูไปได้ครึ่งเรื่อง อคติต่างๆที่เปิดตั้งไว้ก็ถูกทำลาย.....เป็นการขยายพื้นที่เดิมของความเป็นครอบครัวเดี่ยวไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์กับอาณาบริวารแวดล้อมที่หนังแตะได้แบบหยาบๆ......ทำให้คนดูเข้าใจเบื้องหน้าเบือ้งหลังอะไรมากขึ้น และสัมผัสความหมายของชีวิตครอบครัวหนึ่ง... แม้จะต้องอุทิศทั้งชีวิตเพียงเพื่อให้กำเนิดหนึ่งชีวิตเพื่อเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่แก่คนที่ตนรัก คนที่ตนเคยรักและได้กลับมาเริ่มต้นที่จะรักกับเขาคนนั่นอีกครั้ง.......โดยสัดส่วนของเรื่องทั่วๆไป ก็ยังเคารพในความเป็นต้นฉบับในเวอร์ชั่นหนัง ทั้งการใช้วิธีลำดับการแบบหนึ่ง-สอง-สามไปจนสู่ตอนจบ..."



เขียนไว้เมื่อ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๕






Smiley ซีรีย์ญี่ปุ่น "อสุโค้ยย์" ประจำปีมะโรงศก ๓ เรื่อง ได้แก่




  1. Title: 最高の人生の終り方~エンディングプランナー~

  2. Title (romaji): Saikou no Jinsei no Owarikata~Ending Planner~
  3. Format: Renzoku
  4. Genre: Family
  5. Episodes: 10
  6. Viewership rating: 10.9 (Kanto)
  7. Broadcast network: TBS
  8. Broadcast period: 2012-Jan-12 to 2012-Mar-15
  9. Air time: Thursday 21:00

Ending Planner

ด้วยเหตุผลที่ว่า




"...โดยภาพรวมแล้ว Saikou no Jinsei no Owarikata เป็นซีรีย์ที่แนวคิดผสมผสานแหวกดี โดยจับประเด็นเรื่องมรณสติและกฎไตรลักษณ์ ที่่เป็นจุดแข็งแบบแนวคิดตะวันออก จึงทำให้มีทั้งคำคมดีๆและข้อคิดในเรื่องสัจธรรมของชีวิตที่พลิกผัน ทั้งความไม่เที่ยงของชีวิต....... เพียงแต่ว่าจากเท่าที่ฟังคอมเมนต์มา (ซึ่งตอบรับไม่ค่อยดีอย่างที่หวัง) ซีรีย์มีจุดบิ้วที่ผ่านซึ้งได้ไม่ถึง พอไปได้ไม่สุดจะพลิกมาให้สนุกก็ทำไม่ได้ ทั้งๆที่โครงสร้างของเรื่องดูแข็งแรง ทั้งทีมหน้าตานักแสดง โปรดักชั่น องค์ประกอบฉากและเสน่ห์เฉพาะแบบญี่ปุ่น  อารมณ์ของซีรีย์ก็เล่าเรื่องไปแบบเรียบๆอยู่ในทิศทางเดียว ความน่าติดตามในความเป็นปริศนาก็ทำงานได้ระดับหนึ่ง ชวนให้สงสัยแต่ไม่ถึงขั้นต้องรู้ให้ถึงที่สุด และที่สำคัญที่ดูจะขาดแบบสู้เรื่องอื่นไม่ได้ คือ ความรู้สึกเอาใจช่วยตัวละคร.......แม้จะได้พลังป๊อปสตาร์จากยามะพีหรือมาเอดะจังแล้วก็ตาม..."



เขียนไว้เมื่อ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕



  1. Title: 東野圭吾ミステリーズ
  2. Title (romaji): Higashino Keigo Mysteries
  3. Format: Renzoku
  4. Genre: Mystery
  5. Episodes: 11
  6. Viewership rating: 08.4% (Kanto)
  7. Broadcast network: Fuji TV
  8. Broadcast period: 2012-Jul-05 to 2012-Sep-20
  9. Air time: Thursday 22:00


Higashino Keigo Mysteries


ด้วยเหตุผลที่ว่า




  "...มีทั้งตอนที่ชอบและไม่ชอบคละเคล้ากันไป เพียงแต่ว่าอ้ายส่วนที่ไม่ชอบค่อนข้างส่งผลในแง่ลบแบบติดตรึง และทำลายเกียรติภูมิดีๆที่สร้างสมตามติดกันมา อย่างไม่น่าเชือ่ว่าจะเป็นนักเขียนนามระบือในเรื่องดรามาฆาตกรรมมีหักมุม "ฮิงาชิโนะ เคย์โงะ" ที่เคยสร้างชื่อให้เป็นตำนานในซีรีย์หลายต่อหลายเรือ่งมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น
นักสืบฟิสิกส์Galileo,Shinzamono,Ryusei no Kizuna,Himtsu
ดังนั้นสำหรับซีรีย์Higashino Keigo Mysteriesที่เจตนาขายชื่อเห็นๆ
แต่ไม่รู้ทำไม?....ในHigashino Keigo Series กลับไปจำกัดคุณสมบัติของการเล่าเรื่องทางโทรทัศน์ หรือใช้ลูกเล่นเพียงไม่กี่อย่างโดยเชื่อมั่นในแง่คุณค่าของบทประพันธ์จนเกินไป เลยไม่ได้ผสมหรือประยุกต์อะไรที่พอเป็นอรรถรสให้กับบทละครดูมีสีสันเพิ่มขึ้น หรือมีจังหวะที่กระตุ้นเร้าใจ จึงเห็นใครหลายๆคนบ่นถึงความ "เบา" ในแง่ปริศนาทางคดีและการไล่แบบไป "เรื่อยๆ" จริงๆความรู้สึกแบบนี้....และหลักคลำหาเหตุผลที่พอคิดได้สี่ประการ คือ ข้อจำกัดของเวบลา,เปาะแปะแต่ไม่โป้ง,ช้า-อืด-เนื่อย-โยกโย้,ความสามัญชนของตัวละคร
ตกยุคตกสมัยหรือมาช้าก่อนกาล..."



เขียนไว้เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๕




    และสุดท้าย ..............


  1. Title: 家政婦のミタ
  2. Title (romaji): Kaseifu no Mita
  3. Format: Renzoku
  4. Genre: Mystery, family
  5. Episodes: 11
  6. Viewership rating: 24.8 (Kanto)
  7. Broadcast network: NTV
  8. Broadcast period: 2011-Oct-12 to 2011-Dec-21
  9. Air time: Wednesday 22:00



Kaseifu no Mita
ด้วยความเหตุผลที่ว่า




    ".....แต่ที่ผู้เขียนเอง รู้สึกว่ารับไม่ค่อยจะได้กับซีรีย์เรือ่งนี้ ต้องขอยืมศัพท์เท่ๆจากหนังสือสตีฟ จ๊อบส์คำหนึ่งที่เรียกว่า "สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน" กล่าวคือ เป็นการประชดประชันตรรกะเหตุผลของการกระทำจากตัวละครของเรื่องที่ดูลอยๆ อย่างไงชอบกล ตัวอย่าง พ่อที่เป็นถึงหัวหน้าแผนกบริษัท แต่กลับไร้ความสามารถในการตัดสินใจหรือคอนโทรลลูกในบ้านปล่อยให้ลูกชกหน้าพ่อสักงั้น หรือตอนที่แม่บ้านมิกะรับคำสั่งจากชิโอริให้ไปแจกใบปลิว เพื่อที่จะแฉเรือ่งประวัติของพ่อตัวเองแอบไปมีกิ๊กกับเพื่อนร่วมงาน กลางสำนักงานจนเป็นเหตุให้ถูกปลดจากตำแหน่งหัวหน้าโครงการบ้านจัดสรรเพื่อครอบครัวสุขสันต์ สุดท้ายของเคนอิชิก็ยังคงจ้างแม่บ้านมิกะและไม่ได้ลงโทษลูกสาวชิโอริแต่อย่างใด อย่างมาก็แค่เดินคอตกกลับบ้าน อันนี้ยังไม่รวมผลโหวตจากบรรดาลูกๆ ที่ไล่พ่อออกจากบ้านจนต้องไปนอนตามโรงแรมชั่วคราว.......ความไม่สมเหตุสมผลในตอนที่เฉลย อันนี้ไม่รู้สิ ..อาจจะเกิดขึ้นกับผู้เขียนคนเดียวก็ได้ แล้วยิ่งกระเป๋าเอนกประสงค์ ที่คล้ายว่าจะมีทุกอย่างแบบรู้การณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นล่วงหน้า อันนี้ก็รู้สึกว่าจะตอบได้ไม่เคลียร์ ยิ่งมาเสริมความขัดอกขัดใจจากสภาพสภาวะความเป็น "ครอบครัวล้มเหลว"ใจก็นึกอยากจะด่าซีรีย์เรือ่งนี้อย่างเต็มที่ แต่พอมาเจอะว่าเรตติ้งมหาชนอย่างงี้ จึงต้องอ่อนน้อมนอนพับเพียบอย่างเจียมตน และเกาะกระแสซีรีย์ประวัติการณ์มหาชนอย่างกล้ำกลืน..."



เขียนไว้เมื่อ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๕




 

Create Date : 30 ธันวาคม 2555    
Last Update : 31 ธันวาคม 2555 18:28:59 น.
Counter : 7228 Pageviews.  

Doctor X พยัคฆ์สาวจ้าวฟรีแลนซ์




เมื่อปลายปีที่แล้วได้เกิดปรากฎการณ์แม่บ้านมิตะ ที่ทำให้Kaseifu no Mitaกลายเป็นซีรีย์
ที่มีเรตติ้งคนดูสูงสุดในปี๒๐๑๑ และเป็นปรากฎการณ์ประวัติศาสตร์ทางซีรีย์ทีวีของญี่ปุ่น
โดยเฉพาะในตอนอวสาน(ตอนที่๑๑) เรตติ้งทะยานแบบฉุดเกือบไม่อยู่ ขึ้นสูงถึงร้อยละ๔๐
ของยอดคนดูทีวีทั้งหมดในช่วงนั้น ถือเป็นประวัติศาสตร์ของซีรีย์เรื่องแรกในสหัสวรรษนี้
และยังเป็นที่๓ตลอดกาล นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติยอดผู้ชมคนดูกันมา
(แน่นอนว่าสถิตินี้นับเฉพาะcommercial broadcasting เท่านั้น)




ดังนั้นปลายปีนี้ .............ก็ดูทำท่าว่าจะมาซ้ำรอยเหมือนกับปีที่แล้ว
เมื่อDoctor X แห่งค่ายอาซาฮีทีวี ที่เริ่มฉายไปในฤดูกาลปลายปีรับใบไม้ผลิ
ทำสถิติซีรีย์ที่มีคนดูสูงสุดประจำปีโลกแตก๒๐๑๒ ด้วยค่าเฉลี่ยแปดตอนอยู่ที่๑๙.๑%
ซึ่งถือว่าสูงกว่าซีรีย์ทุกค่ายนับตั้งแต่ต้นปีมา และที่ดูจะคล้ายกับKaseifu no Mita
ก็ตรงที่มีจุดขายหลัก เป็นดารานำหญิงรุ่นวัยกลางคนเป็นหัวหาดของเรือ่งเสียด้วย
(จะว่าไปปีนี้มีซุป'ตาร์สาวคราวรุ่นที่หายหน้าไป กลับคืนวงการค่อนข้างเยอะ อย่าง
ยามากูชิ โทโมโกะก็คืนวงการมารับเล่นGoing my Homeทางช่องฟูจิ
โทกิวะ ทากาโกะก็กลับมาคืนจอหลังจากหายไปสามปีกว่าเพื่อมาเล่นมูฟวีซีรีย์
Tonbi ของค่ายTBS เหมือนจะรู้ว่ารสนิยมในการโหนกระแสดารานำชายจะไม่ค่อยเวิร์ก
เลยไปลากดาราสาวก้นครัวคืนสู่วงการเป็นทิวแถว เพราะทำแล้วเรตติ้งดี!)







Doctor X หรือชื่อเต็ม Doctor X ~ Gekai Daimon Michiko
เป็นเรื่องของศัลยแพทย์สาว "ไดมอน มิชิโกะ" ผู้มารับงานในโรงพยาบาลแห่งนี้
โดยอาศัยการรับรองผ่านจดหมายจากตัวแทนนายหน้าที่จัดหาแพทย์ผู้ชำนาญ
(doctor placement agency) ไปตามโรงพยาบาลต่างๆที่กำลังขาดแคลนบุคลากรมีฝีมือ
ซึ่งโรงพยาบาลที่เธอเพิ่งจะรับเข้าทำงาน กำลังมีนโยบายเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่
ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์หลายคนต้องลาออกหรือไม่ก็ขอย้าย
เนื่องด้วยสภาพการทำงานหนักขึ้น และเต็มไปด้วยภาวะกดดันนานาประการ
การมาอย่างฉุกละหุกของเธอ เท่ากับเป็นการยืนยันสถานะไม่ต่างจากพนักงานfreelance
ด้วยเงื่อนไขที่จะไม่ได้รับการเข้าถูกบรรจุ ไม่ถือเป็นบุคลากรถาวรของโรงพยาบาล
และในทุกเคสต์ปฏิบัติการ มีผลสภาพโดยตรงที่ตัวเธอเองจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว..........




Averse to Crowds,Averse to authority,Averse to constraints.

(รังเกียจฝูงชน-อำนาจ-ข้อจำกัด)



A Medical specialist's license&her self-honed skill are her only weapons.

(ใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์และทักษะเฉพาะตัวที่เพิ่มพูนขึ้น
คืออาวุธเพียงไม่กี่อย่างของเธอ)



Surgeon Daimon Michiko.Also known as Doctor X.

(ศัลยแพทย์ไดมอน มิชิโกะ หรือที่รู้จักกันดีในด็อกเตอร์เอ็กซ์)











ซึ่งก็ต้องบอกว่าการเป็นFreelance มันช่างเข้ากับลักษณะนิสัยส่วนตัวของไดมอน มิชิโกะ
ด้วยบุคลิกที่ไม่ชอบปฏิบัติตามกรอบวินัยหรือประเพณีที่เธอเห็นว่าไม่เข้าท่า เป็นคนรักอิสระ
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง พูดจาขวานผ่าซาก และชอบแต่งตัวตามแต่ใจของเธอ
(straight forward personality)
เธอจึงถูกมองว่าจะเป็นตัวปัญหาสำหรับโรงพยาบาลมาตั้งแต่ต้น
(จนเพื่อนร่วมงานล้อเลียนชื่อของเธอใหม่ว่าเป็นตัวDemonมากกว่าที่จะเป็นDaimon Michiko)
แต่ด้วยความสามารถและพรสวรรค์ด้านศัลยแพทย์ชั้นเซียน (brilliant sergeon doctor)
ชนิดมือฉมัง รวดเร็ว และที่สำคัญ


"เธอไม่เคยทำงานผิดพลาด !"


ที่จะกลายเป็นวลีฮิตติดปากของเธอ จึงไม่มีใครหน้าไหนแม้แต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ที่จะกล้าไปแตะต้องหรือเซ็นต์คำสั่งยกเลิกสัญญา เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีประโยชน์ต่อกันและกัน
แต่ขณะเดียวกัน ทางโรงพยาบาลก็หาทางกลั่นแกล้งด้วยการกำหนดเคสต์การรักษาที่ยาก
หากผ่าตัดทำสำเร็จ ชื่อเสียงและหน้าตาก็มักจะตกกับโรงพยาบาลหรือหมอคนไหนก็ได้ที่ไม่ใช่เธอ
แต่สุดท้าย เธอก็มักจะแก่เผ็ดด้วยการใช้ประโยชน์จากความเป็นfreelance surgeon
ด้วยตามเก็บค่ารักษาที่แพงสุดกู๋เพื่อสู้ราคากับทางโรงพยาบาล โดยจัดเก็บผ่านนายหน้า
ทั้งค่ารักษาที่คิดเป็นชิ้นงานพิเศษ ค่าล่วงเวลา และอินเซนทีฟการรักษาในอัตราก้าวหน้า
เบ็ดเสร็จแม้เล็กน้อยก็คิดทบกันไม่เหลือ จึงมองข้ามเส้นมิตรภาพความสัมพันธ์ระยะยาวไปได้เลย











ความเป็นซีรีย์ "หมอขบถ" พล็อกนี้  ที่ต้องเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า hospital authority hierarchy
ดูจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับวงการบันเทิงซีรีย์หมอด็อกฯนัก ดูไปดูมา ออกจะคล้ายกับซีรีย์สองหมอ
คือ บทของหมอเรียวทาโระ อาซาดะ จากTeam Medical Dragon (ที่เป็นหน้าเป็นตาของค่ายฟูจิ
ซึ่งถูกสร้างมา๓ภาค) กับบทของหมอชินโด้ อิซเซะ ในKyumei byoto 24 ji (ก็เป็นฟูจิเจ้าเดิม
แต่สร้างมา๔ภาคแล้ว) คือ เป็นกบฎต่อทุคติองค์กรแต่สะท้อนจริยธรรมทางการแพทย์
โดยใช้พรสวรรค์ที่ร่ำเรียนมาพร้อมกับอุดมการณ์ที่มุ่งมั่น ฝ่าฟันนาวารัฐองค์กรที่เน้นชื่อเสียง
จากงานวิจัยและเม็ดเงินตามลัทธิทุนนิยม เพียงแต่Doctor Xจะมีความต่างไปจากสองเรื่องที่ว่า
อย่างแรกๆ คือ หลุดไปจากความเป็นอุดมคติแบบมิยาโมโต้ มูซาชิ (ซามูไรในตำนาน)
ที่ต้องเคร่งครึมเข้าว่า ดำรงชีวิตแบบสิงห์พเนจร ไม่แสดงออกทางอารมณ์แม้จะสุดช้ำมาก็ตาม
มีภาพลักษณ์แบบปากอย่างใจอย่าง จนกว่าอีกฝ่ายจะบรรลุเข้าใจปริศนาธรรมกันเอาเอง
แต่จะปลดปล่อยสิ่งพิสูจน์ความท้ายทายเหล่านั้นผ่านปลายมีด





ความที่Doctor Xเป็นซีรีย์ที่ใช้นักแสดงหญิงนำ ที่แม้รูปแบบโครงสร้างจะดูคล้ายๆกัน
แต่ไดมอน มิชิโกะก็มีทิศทางการใช้ชีวิตที่ต่างออกไป มีโลกของผู้หญิงกลางคืนที่เริงร่า
และโลกของผู้หญิงบ้างานในภาคกลางวัน แสดงออกทางอารมณ์ผ่านทางนิสัยและการแต่งตัว
มิชิโกะจึงมีอวตารในคนๆเดียวอยู่หลายร่าง แต่เป็นมนุษย์ที่สัมผัสได้มากกว่าตัวละครหมอเทพ
แม้จะชำนาญในด้านผ่าตัด แต่ในวงไพ่นกกระจอกเธอเป็นแค่มือรองบ่อน
ถึงจะขาดอัธยาศัยในการเข้าสังคม จะพูดจะจาแต่ละครั้งเป็นต้องวงแตกในยามที่เพื่อนพูดซึ้ง
แต่เธอก็เปิดใจรับความแตกต่างและรู้จักโน้มน้าวทางเลือกที่ดีให้กับผู้อื่น ทั้งแก่ทางคณะและคนไข้
มิชิโกะจึงไม่ใช่คนประเภทที่ปะทะกันตรงๆเล่นไม่เลิก เพียงทว่าจะไม่ให้ค่าในเชิงโลกธรรม
จำพวก การมีชื่อเสียงเงินทอง ลาภยศ หรือคำสรรเสริญ ที่แม้จะเป็นคุณค่าเทียม
จากหลักวิชาชีพแต่ก็มีบุคลากรทางการแพทย์ไม่น้อยถวิลหา ซึ่งจะคิดไม่เหมือนกับมิชิโกะ
ที่ให้คุณค่าแท้กับการแคร์ชีวิตหรือเห็นอกเห็นใจในตัวคนไข้เป็นประการแรก
(sympathetic towards the patients) แม้ว่า ......บางทีจะเป็นการก้าวก่ายข้ามแผนก
ไม่ได้รับการเซ็นรับรองของญาติ หักหน้าเพื่อนร่วมงานที่เป็นเจ้าของคนไข้
หรือเปลืองแรงเปลืองตัวจากสิ่งไม่ใช่เรือ่ง ด้วยทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากสำมัญสำนึกทางวิชาชีพ
ที่ดูจะผิดกับรูปลักษณะภายนอก อีกทั้งตัวเธอเองก็ไม่ได้รู้สึกผิดบาปอะไรนัก
กับการที่จะต้องแคร์กลุ่มหรือคนรอบข้างตลอดจนวัฒนธรรมองค์หรือยี่หระต่อกฎวินัย
เพราะงานฟรีแลนซ์ จะเน้นถึงผลสัมฤทธิ์ของตัวงานเป็นสำคัญ









อย่างที่สอง ถ้าซีรีย์ที่หยิบยกมาข้างต้นอย่างTeam Medical Dragon และ
จากKyumei byoto 24 ji จะเน้นรูปแบบการทำงานเป็นทีมเวิร์ก โดยให้ความสำคัญในแง่
คนเก่งก็เหนือ่ยเป็นถ้าไม่เห็นหัวเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมงานแย่ๆต้องหาทางแก้
ด้วยดึงคนเก่งๆมาแอ็คทีฟ ซีรีย์Doctor Xเกือบจะมีส่วนคล้ายอยู่ตรงนั้น
เพียงแต่..........ความเป็นทีมมันไม่ได้ถูกนำมาใช้ชัดเจนเหมือนกับสองเรื่องที่หยิบยกข้างต้น
แต่จะถูกวางไว้ในส่วนของแต่ละแผนกที่มีผลต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมแกมบังคับ
ระหว่างผอ.กับตัวมิชิโกะ ส่วนจะเป็นเพื่อการแก้เผ็ดที่ชอบหักหน้าหรือสถานการณ์บังคับก็สุดแท้แต่









ส่วนหนึ่งที่พอเข้าใจว่าทำไมDoctor Xจึงครองใจคนสว่นมากได้ ก็เพราะแต่ละเคสต์
ที่มิชิโกะต้องเข้าไปแก้มันสอดรับกับการวางแผนจากเบือ้งบน ที่มองว่าเธอเป็นผู้มาใหม่
ที่เต็มไปด้วยนิสัยดื้อรั้น-ทิฐิสูง แต่สำหรับตัวเธอ มองเป็นความเชื่อมั่นที่เต็มเปี่ยม
โดยเฉพาะcatchphrase หรือวลีเด็ดเชิงอหังกาที่ว่า "Watshi, shippai shinai no de"
ประมาณว่า "อั๊วะไม่เคยทำอะไรผิดพลาดสักอย่าง" มันน่าจะมองได้สอง-สามนัยยะ

-นัยยะแรก พูดเพื่อให้อีกฝ่ายเกิดความหมั่นไส้จนอยากจะสั่งงานอะไรสักอย่างเพื่อลดทิฐิ

-นัยยะที่สอง เป็นการพูดเพื่อท้าชนต่อความไร้ประสิทธิภาพขององค์กร โดยเฉพาะด้านบุคลากร
ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักอันดับแรกของนโยบายการบริหาร ที่จะมีผลสืบเนื่องยังปัญหาอื่นๆ
อันเป็นสาเหตุให้เธอได้มาทำงานเป็นfreelance ณ ที่แห่งนี้

-นัยยะที่สาม การกระทำก็สอดรับกับคำพูด-มิชิโกะไม่เพียงแค่เป็นสาวนิรนามที่เก่งแต่พูดเท่านั้น
ตรงกันข้ามแนวทางการรักษาที่หมออื่นยังท้อ หมอมิชิโกะก็สามารถหาวิธีการอื่นที่คาดไม่ถึง
มันจึงเป็นปริศนาตั้งแรกเริ่มว่า ความเก่งฉกาจแต่ยังอาดทำตัวเป็นฟรีแลนซ์ลอยชายไร้สังกัด
อยู่เช่นนี้ย่อมที่จะต้องถูกตั้งคำถาม ซึ่งซีรีย์ก็ค่อยๆปล่อยทะยอยบอกไปทีละนิดให้คนดูติดตรึม
โดยจะเน้นในส่วนเฉพาะของหมอมิชิโกะเป็นสำคัญ ประมาณว่าเกี่ยวพันกับข่าวลือในตำนาน
ว่าด้วยเรื่องของDoctor Xและเสียงซุบซิบว่าเธอหน้าเงินจนทำให้เกิดความผิดพลาด
ในการรักษา จนเป็นเหตุให้คนไข้คนดังกล่าวเสียชีวิตในอีกหนึ่เดือนต่อมา





Who the heck is this Daimon Michiko?

(คนที่ชื่อไดมอน มิชิโกะนี้ใครหว่า?)


She volunteers to take on any operation for money.

(หล่อนก็เป็นพวกมืออาสาที่ทำอะไรสักอย่างเพื่อเงินไง)


No Matter how great the risk to the parient.She's a filthy mercenary.

(ไม่สำคัญว่างานชิ้นนั้นจะเสี่ยงต่อคนไข้แค่ไหน หล่อนก็เป็นพวกมือรับจ้างแบบสกปรก)











ส่วนประเด็นการขึ้นเขียงผ่าตัด หลายเคสต์ทำให้นึกถึงซีรีย์ของค่ายฟูจิทีวี เพราะใช้วิธีการรักษา
เหมือนจะคล้ายกับซีรีย์Team Medical Dragon ที่ตัดส่วนโน้นมาปะส่วนนี้
(เพียงแต่ตัวเอกเขาไม่อวดดีเท่ากับเรื่องนี้)  ด้วยศัพท์แสงและสูตรวิธีที่ฟังแล้วดูมึน
แต่ก็ดูสนุกในแบบที่คนเขียนบทต้องทำการบ้านอย่างหนัก
"นาคาโซโนะ มิโฮะ" ที่ดูไลท์ไทม์ไม่น่าจะเคยเอาดีในสายซีรีย์แพทย์มากอ่น และที่่ผ่านมา
ก็ดูจะเอาดีในสายคอเมดี้ อาทิ Anego กับCall Center no Koibito และสองปีที่แล้ว
ก็เคยได้ร่วมงานกับโยเนกุระ เรียวโกะนางเอกเรือ่งนี้มาแล้ว จากเรื่องNasake no Onna
ที่ตอนนั้นเรียวโกะรับบท female leopard นักสืบสาวด้านภาษีซึ่งก็ฉายทางช่องอาซาฮีเช่นกัน









จะว่าไป ซีรีย์เรื่องนี้ก็มีตัวนักแสดงสมทบตามสูตรซีรีย์แนว Medical Drana
ที่ใส่ความเป็นเอนเตอร์เทน ที่สามารถเข้ากันได้กับโลกความเป็นจริงชนิดเต็มสูบ
โดยอาศัยแยกไปตามแผนกความรับผิดชอบเฉพาะด้านของตน เพียงแต่ว่า
ในDoctor X ตัวสมทบเหล่านี้ดูจะไม่ค่อยเด่นเมื่อเทียบกับแนวซีรีย์คล้ายๆกัน
แม้ว่าภาพรวมนักแสดงเหล่านี้ดูจะไม่ขี้ริ้วขี้เหร่และเคยผ่านงานซีรีย์แนวนี้มาบ้าง
ไม่ว่าจะเป็นยูกิ อุชิดะ (Team Medical Dragon 2,Gyne,Innocent Love)
มาซาโนบุ คัตซึมุระ (Doctor in Love,Code Blue,Smile) โคสุเกะ ซุสุกิ
(Kosuke Suzuki,Ns' Aoi) ยาสุโนริ ดันตะ  (My Husband,Good Luck!!)
แม้แต่ดารานำฝ่ายพระเอกอย่าง ทานากะ ไค (HimitsuDiplomat Kosaku Kuroda,
Taiyo no uta) ที่เดิมปกติมักจะได้รับบทตัวรอง พอมาคราวนี้เหมือนจะยกระดับขึ้น
แต่เอาเข้าจริงทั้งบทและทั้งการแสดง ก็ยังปฏิบัติให้เขาเหมือนตัวรองเช่นเดิม
แต่ตัวฝ่ายชายที่โดดเด่นกับตกอยู่กับรุ่นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นชิโระ อิโตะ ที่รับบทเป็น
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล อิโตกุ คิชิอิ (Team Medical Dragon,Tomorrow)
ที่รับบทเป็นผู้จัดหาแพทย์อิสระให้กับโรงพยาบาล ชิเกรุ มุโรอิ (Samurai High School,4 Shimai Tantei Dan) เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารแผนนโยบายให้กับโรงพยาบาล
กลายเป็นว่าเธอต้องมาปะฉะดะชกข้ามรุ่นกับพวกอาวุโส ยิ่งเป็นตัวเสริมความเด่นให้กับ
ตัวละครไดมอน มิชิโกะมากขึ้นกว่าเดิม เลยไม่เป็นที่สงสัยว่ารางวัลTDAAซีซันนี้
เธอคงจะเข้าวินมาแน่นอน! แม้ตัวพล็อกจะดูธรรมดาตามเส้นขนบในสายMedical Drama
แต่ในแง่การจับจุดตัวละครเอกในมุมมองที่หลากหลาย มีความเป็นมนุษย์มิใช่เทพประทาน!
และที่สำคัญเธอเป็นผู้หญิงนี้สิ! ซึ่งยังนึกไม่ออกว่า จะเคยมีตัวละครเอกที่เป็นหญิงมาก่อนรึป่าว?
เพราะไม่ว่าจะเป็นTeam Medical Dragon,Kyumei byoto 24 ji,Dr.KotoShinryosho
หรือTeam Batista ล้วนแล้วแต่ให้ชายเป็นใหญ่มาโดยตลอด จึงน่าจะเป็นเรือ่งแรก (มั้ง?)
ที่มาเป็นปากเป็นเสียงให้กับสตรีเพศ และที่สำคัญมาครั้งนี้ ...... เสียงมันมาดังเสียด้วย!!
ส่วนภาคสเปเชียลต่อจะมีไหม? ไม่ต้องห่วงเพราะป้าเรียวโกะเธอสัมภาษณ์แย็บเปิดทาง
เอาไว้แล้วว่า ตัวละครไดมอน มิชิโกะกับคนดู เราคงได้กลับมาพบกันใหม่.....
พูดก่อนโปรดิวเซอร์จะประกาศแผนงานสร้างภาคต่อเสียอีก!









ความจริงผู้เขียนก็หาได้สนิทอะไรกับป้าโยเนกุระ เรียวโกะเท่าไรนัก
เหตุที่ใช้สรรพนามว่า "ป้า" เพราะว่าปัจจุบันอายุป้าแกเข้าหลักเลข "๓๗"
เป็นชาวโยโกฮามา ที่เริ่มต้นเข้าวงการจากการถ่ายแบบตามนิตยสาร
แต่มีผลงานทางการแสดงจริงๆ คงน่าจะยุุคปี๒๐๐๐ โดยซีรีย์เรื่องแรกของป้าเธอ
เธอเล่นเป็นตัวละครเล็กในเรือ่งKoi no Kamisama ทางช่องTBS
จากนั้นเส้นทางในผลงานที่ผ่านมา แค่ไม่โคจรทางสายตากับผู้เขียนสักเรือ่งเลย
อาจจะมีLove Revolutionในปี๒๐๐๑ แต่ผู้เขียนก็ความจำสั้นสิ้นคิดไปนานแล้ว
แต่ผลงานที่สร้างชื่อเธอมากที่สุด คงจะเป็นซีรีย์เรือ่งKoshonin (Negotiator)
เฉพาะซีรีย์ทีวีก็มีถึงสองภาค สเปเชียลอีกหนึ่ง และลงโรงภาพยนตร์อีกด้วย ป้าแกเล่น
เป็น"อุซางิ เรอิโกะ" สมาชิกของหน่วยสืบสวนพิเศษSIT (Special Investigation Team)
และถ้าดูตามBuzz NewsในTokyohive ป้าเรียวโกะเธอน่าจะเป็นนักแสดงแม่เหล็ก
ของค่ายอาซาฮีทีวี เพราะเป็นตัวสร้างเรตติ้งที่ดีให้กับซีรีย์ที่เธอเลือกเล่น ไม่ว่าจะเป็น
Kurokawa no Techo (๒๐๐๔) - ๑๗.๖%,Kemonomichi (๒๐๐๖) - ๑๖.๔%
,Koshonin (๒๐๐๘) ๑๖.๗% และ “Nasake no Onna” (๒๐๑๐) - ๑๗.๖%
สถิติขนาดนี้ผู้เขียนยังพลาดผลการรับชม เพราะมัวไปหลงฝีหน้ามากกว่าฝีมือการแสดงไปได้ไง!









เมื่อพูดถึง "โยเนกุระ เรียวโกะ" กันมาก เพราะเรือ่งนี้บทส่งให้เธอเกิดจริงๆ
เธอเป็นทั้งตัวเดินเรื่อง ตัวสร้างความขัดแย้ง เป็นคู่กรณีโดยตรง ทั้งผู้นำ
และบางทีก็เล่นบทผู้ตาม เป็นทั้งคนธรรมดา และพร้อมจะเป็นวีรสตรีในยามวิกฤต
มีคนรักเท่าฝาบ้านแต่คนชังเท่าฝาโค้กส่งไปชิงโชค มีทั้งอดีตอันมืดหม่น
จนถึงปัจจุบันที่จวนอยู่เจียนไป  และด้วยสีสันจากวีรกรรมหลายวัน
แบบที่ทั้งต่างกรรม ต่างวาระและต่างแผนก ที่ยังไม่รวมบุคลิกที่ฉีกกฎและแหวกแนว
จากแพทย์เพื่อนร่วมงานทั่วไป รวมถึงภาพของความเป็นฟรีแลนซ์ในอาชีพศัลยแพทย์
ที่ไม่นึกไม่ฝันว่ามันจะมีเคยมีมาก่อน แค่ตัวบทมันก็มีความน่าสนใจเป็นเบือ้งต้นแล้ว
ไม่แปลกที่เรตติ้งเปิดตัวตอนแรกจะออกตัวแรง แม้จะได้เป็นเพียงที่สองรองมาจาก
Aibou Elevenซึ่งเป็นซีรีย์ของค่ายเดียวกัน แต่แน่ละเรือ่งหลังจะได้เปรียบกว่า
เพราะสร้างมาก่อนแล้ว๑๐ภาค (โดยAibouเปิดตัวที่๑๙.๙%ขณะที่Doctor X
เปิดตัวที่๑๘.๖%)  จากนั้นDoctor Xก็รักษาระดับทรงตัวที่ไม่ต่ำกว่าร้อละ๑๗
จนเข้าสู่ตอนที่แปดซึ่งเป็นตอนสุดท้าย ซีรีย์สร้างระดับที่ต้องถือว่าล้นหลาม ๒๔.๔%
(เห็นว่าช่วงเวลาสี่ทุ่ม มีแตะไปถึง๒๙.๙%ด้วย) แม้จะไม่สูงเวอร์แบบKaseifu no Mita
ที่ทำไว้ในปีที่แล้วแบบ๔๐%ในตอนอวสาน (และดูเหมือนแม่บ้านมิตะจะคงไม่มีวันมีภาคต่อเพราะ
คนเขียนบทประกาศออกตัวเป็นที่เรียบร้อย NTVจึงแก้ลำได้เพียงการรีรันนำมาฉายซ้ำต่อเท่านั้น)
ถ้านับเอาเวลานี้ ก็ต้องถือว่าDoctor Xยังเป็นซีรีย์ที่มีเรตติ้งสูงสุดประจำปีนี้ ที่ "๑๙.๑%"
ซึ่งตามทฤษฎี ซีรีย์ที่ไล่ตามจ่อก้นอันดับสองเป็นของค่ายฟูจิทีวี Pricelessของทาคุยะ
ยังพอมีโอกาสเฉือนชนะแต่บอกตามตรงว่ายากมาก เพราะช่วงต้นเริ่มต้นได้ไม่ดีนัก
แต่เริ่มมาดีขึ้นเอาช่วงท้ายๆ ตอนนี้ออนแอร์ไป๘ตอนอยู่เฉลี่ยที่ ๑๗.๕๕%
ซึ่งในตอนที่เหลือคนดูจะต้องก่อม็อบในตัวเลขที่เวอร์แบบก้าวกระโดด และช่วงท้ายเดือน
มักเป็นช่วงเวลาแผ้วปลาย เพราะคนดูอยากจะออกไปช้อปปิ้งมิดเยียร์เซลล์
ผู้เขียนจึงมาขอแสดงความยินดีล่วงหน้าให้กับป้าเรียวโกะตั้งแต่ไก่ง่วงโห่ข้ามวันคริสต์มาส ....
........








อ้างอิง Dramacrazy,Wikipedia,Tokyohive.Asianwiki







 

Create Date : 22 ธันวาคม 2555    
Last Update : 2 มกราคม 2556 21:41:33 น.
Counter : 11739 Pageviews.  

Juunen Saki mo Kimi ni Koishite ขอข้ามเวลาเพื่อหย่ารัก




ด้วยประสบการณ์ที่พอเคยได้ดูซีรีย์ของทางช่องNHKมาบ้าง
ถ้าเอาประเภทที่รับรู้ รับทราบและพอเข้าใจเอาเอง โดยเฉพาะตัวผู้เขียนแล้ว
น่าจะแยกย่อยออกมาได้เพียง๒แนวทางใหญ่ คือ ประเภทย้อนยุคขุนศึกซามูไร
(Taiga Drama) ส่วนอีกประเภทจะร่วมสมัยหน่อย คือประมาณว่ากะมาส่งเสริม
ให้ใฝ่รู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Technology Drama)
ดังนั้นที่ผ่านมา.........ผู้เขียนจึงพยายามจะหลีกเลี่ยงซีรีย์หัวข้อแนวแรกเป็นอย่างมาก
เพราะนอกจากจะต้อง"อึดมาราธอน"จริงๆแล้ว ด้วยความยาวระดับมหากาพย์ไล่บี้
ด้วยรายละเอียดยิบย่อยที่มีจริงบ้าง มั่วบ้างเพื่อเอามัน ล้วนเป็นอุปสรรคขนาดหนาชิ้นเติบ
ที่ผู้เขียนพยายามร่างไว้สาม-สี่งาน เป็นต้องถอยตั้งแต่พารากราฟแรกเสียทุกที





แต่ก็อีกปัญหานั่นแหละ.......พอจะไปส่องซีรีย์ในหมวดหลัง
แม้จำนวนตอนจะสั้น(อย่างมากไม่เกินหกตอน) และเหตุการณ์ก็ดำเนินไปอย่างร่วมสมัย
แถมยังเจาะตลาดวัยรุ่น (ที่กลางคนอย่างผู้เขียนพอดูได้) อีกทั้งต้นฉบับที่เอามาทำ
ก็ไม่ใช่ไก่กาหาเอาจากข้างทางกันเสียที่ไหน ถ้าไม่เป็นวรรณกรรมนิยายคลาสสิก
ก็มักจะลงเอยเอาจากมังงะการ์ตูน ที่เด็กหัวซอยท้ายซอยต่างก็รู้จักกันดี
ส่วนมากเห็นมีแปลลิขสิทธิ์ภาษาไทยเป็นที่เรียบร้อย แต่ข้อดีทั้งหมดที่กล่าวมา
สุดท้ายก็โดนสิ่งที่เรียกว่า "วัฒนธรรมซีรีย์" ของทางสถานีNHK
แปลงเรือ่งออกมาไม่สนุก หรือเหมือนจะสนุกแต่ก็เป๋ออกทะเลในท้ายครึ่งเรื่อง
บางเรื่องก็ออกสะเปะสะปะคล้ายจะจับเอาทุกทาง ส่วนมากจึงเข้าใจเอาเองว่า
สถานีคงต้องเปิดเวที ให้ดาราวัยรุ่นหน้าใหม่ที่สถานีไหนยังไม่กล้าลอง
ให้ลองมาแจ้งเกิดเปิดประสบการณ์ และด้วยความหน้าใหม่นี้แหละ
หลายครั้ง.....ก็เป็นสว่นหนึ่งในการทำลายเนื้องานของตัวซีรีย์ แม้ดูจะตั้งใจเล่นก็ตาม






แต่พอได้เห็นหน้าหนังของซีรีย์ที่ชื่อ Juunen Saki mo Kimi ni Koishite
ซีรีย์จำนวน ๖ตอน ของค่ายNHK ที่ออกอากาศปลายปี๒๐๑๐ ก็ค่อนข้างแปลกใจ
เพราะถ้านับเอาระดับสตาร์ "อุเอะโต อายะ" นักแสดงสาวระดับแถวหน้าเบอร์ต้นๆ
ไม่น่าเชื่อว่า เธอจะหาเวลามาลงจอให้กับช่องแซทเทินไลฟ์ทีวีกึ่งรัฐวิสาหกิจกึ่งเอกชน
ไหนงานซีรีย์ช่องทีวีเอกชนก็แน่นเอียด อีเว้นท์โฆษณาก็เป็นเจ้าแม่เบอร์หนึ่งของที่โน้น
เมื่อสังเกตในจุดขายอื่นจะว่าไป มันก็ไม่ได้เป็นซีรีย์ที่ขายตัวนางเอกอายะเพียงอย่างเดียว
ทว่า............มันยังมีจุดที่น่าสนใจ ที่พอเรียกสีสันคนดูทั้งจานในและจานนอก อาทิ.......









ก) การกลับมารับบทย้อนเวลาของลุงอุชิโนะ มาซาอากิอีกครั้ง หลังจากเรียกเสียงฮือฮา
ในบทซากาโมโตะ เรียวมะ ในหมอย้อนเวลาJinทั้งสองภาค (ภาคแรกออนแอร์ปี๒๐๐๙)

ข) ได้เจ้าแม่มือเขียนบทแนวเลิฟคอเมดี้ "โอโมริ มิกะ"  ที่เคยสร้างสรรค์ผลงานดังๆหลายเรือ่ง
อาทิ My Boss My Hero,Buzzer Beat,Kimi wa Pet และล่าสุด Hungry!

ค) แม้แต่คนแต่สกอร์เพลง ก็ไม่น่าเชื่อว่าจะได้ "โคโนะ ชิน"  ที่คร่ำหวอดทางด้านดนตรี

ให้กับซีรีย์ทีวีตั้งแต่ปี๒๐๐๐ งานที่พอรู้จักน่าจะมี Byakuyako,Iryu,Tokyo Tower,Koizora
Hanazakari no Kimitachi e,Ninkyo Helper และล่าสุดATARU





แต่เหนืออื่นใด ...........ผู้เขียนว่า เริ่มต้นแค่บทย่อของเรื่อง มันก็น่าสนใจแล้ว
ที่ถึงจะเป็นเรื่องของ "การย้อนเวลา" ที่ว่าโหล๋โคตร!สำหรับวงการซีรีย์ญี่ปุ่น
แต่ที่มันไม่ธรรมดาเพราะว่าการข้ามมิติเวลาครั้งนี้ มันมาเพื่อทำให้ความร้าวฉาน!





ซีรีย์ว่าด้วยเรื่องของบรรณธิการสาวโสดวัย๒๖ "โอโนซาวะ ริกะ" (แสดงโดยอายะ)
เธอได้ทำงานในสิ่งที่เธอชอบมาจากการเป็นหนอนนักอ่าน นั่นคือ การได้เป็นบก.หนังสือ
ซึ่งหน้าที่หลักๆของเธอ จะต้องทำตัวเป็นพี่เลี้ยงของนักเขียนที่เซ็นสัญญากับทางสำนักพิมพ์
ทั้งในเรื่องการดูแลเอาใจใส่ ช่วยค้นคว้าข้อมูล เป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิต และติดตามทวงงาน
ด้วยความที่รักในงานหนังสือมาก จึงทำให้เธอมุมานะต่องานจนดำรงความโสดถึงปัจจุบัน
แล้วอยู่มาวันหนึ่ง ............ ก็ได้มีชายแปลกหน้าร่างใหญ่แต่งตัวด้วยชุดคลุมปกปิด
สะกดย่องตามเธอจนเป็นที่ผิดสังเกต ริกะจึงเชื่อว่าน่าจะเป็นพวกสตอร์กเกอร์โรคจิต
ด้วยความกล้าๆกลัวๆสุดท้ายจึงรวบรวมความกล้าถามกับเขาตรงๆ  คำตอบที่ได้กลับมา
กลับเป็นประโยคที่เตือนการกระทำในอนาคต อีกเพียงไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าว่า ............



"อย่าขึ้นรถเมล์คันที่กำลังรออยู่ เพราะนั่นมันจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเธอไปตลอดกาล"










แน่นอนว่า...........ความที่เธอไม่เชื่อถือคำพูดของคนแปลกหน้า
ริกะจึงได้ขึ้นรถเมล์คันนั่น แม้ว่าสิ่งที่เขาได้บรรยายเกี่ยวกับรายละเอียดในรถเมล์คันดังกล่าว
จะตรงกับสิ่งที่เขาพูดทุกประการ จนเมื่อรถมาจอดถึงปลายทาง ทำให้เธอ
ได้พบกับนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังทดลองการติดสัญญาณจีพีอาร์เอสบนกระต่ายโดดร่ม
เป็นเหตุให้ทั้งสองรู้สึกถูกชะตาตั้งแต่แรกเห็น สุดท้ายเขาก็แนะนำตัวเองให้เธอรู้จัก
ว่าตัวเขาเองมีชื่อว่า "มารุยามะ ฮิโรชิ" อายุ๔๐ สังกัดการทดลองให้บริษัทเอกชนที่กำลัง
ทำงานวิจัยเรื่อง "ลิฟต์อวกาศ" ที่เป็นจินตนาการตอนหนึ่งในหนังสือของไอแซค อาซิมอฟ
ซึ่งตัวริกะเองที่เป็นหนอนหนังสือตัวยง ก็เคยอ่านหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน








แต่สิ่งที่ริกะไม่เคยรู้เลย ก็คือว่า ................
ชายที่สะกดรอยตามเธอคนดังกล่าว จริงๆแล้วเขาก็คือ มารุยามะ ฮิโรชิในสิบปีข้างหน้า
ซึ่งตอนนั้นเขาและเธอ กำลังมีเรื่องระหองระแหงถึงขั้นรอการเซ็นใบหย่า หลังจากที่ได้
ใช้ชีวิตคู่แต่งงานร่วมกันมาเกือบสิบปี การที่ฮิโรชิสามารถย้อนเวลากลับมาได้
ก็ด้วยอานิสงส์ของผลงานการวิจัยในเรื่องลิฟต์อวกาศ ที่เป็นผลพ่วงสืบเนื่องกันมา
และเป้าหมายหลักที่ย้อนเวลากลับมา คือ การโน้มน้าวใจทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ริกะ
เลิกสนใจในตัวเขาที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน เพื่อที่จะไม่ให้เธอต้องมาเสียใจทุกข์ระทม
กับการครองชีวิตสมรสที่ไม่สมรัก ในการร่วมหัวจมท้ายไปพร้อมกับเขา
และหันหาใครสักคนที่ดีกว่าซึ่งก็มีคนที่แอบเล็งเธอไว้เช่นกัน










ซีรีย์พยายามพูดถึงประเด็น "ความจริง" สองด้าน ที่ย้อนแย้งกันทางมิติเวลา
การจริงใจต่อความรู้สึกของตัวเองในปัจจุบันกับความเป็นไปที่เป็นจริง
ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เมื่อปัจจุบันที่ไม่อาจจะหยั่งรู้ถึงอนาคต ต้องมาพบกับ
คนของโลกอนาคตที่รู้ฐานะทั้งอดีตและอนาคต
และพยายามนำสาสน์ของอนาคต
มายับยั้งต้นตอของเหตุแห่งปัจจุบัน อันมีผลบั้นปลายในอนาคต
ปัญหาชีวิตคู่ที่ต่าง
ก็ต้องแบกรับร่วมกันถึงแม้ว่าจะอยู่ในมิติเวลาคนละภพ และวัยที่เติบโตต่างกัน

ฮิโรชิแห่งโลกอนาคตที่เริ่มต้นค่อนข้างจะเชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง
ที่จะมาเปลี่ยนแปลงอดีต
เพราะรับไม่ได้กับการปฏิบัติที่หมางเมินของศรีภรรยาริกะ
ส่วนริกะในโลกปัจจุบัน จากเดิม
ที่จะปักใจว่าจะลงหลักปักฐานกับคนที่ใช่อย่างฮิโรชิ
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็เริ่มเกิดความไขว้เขว้
ด้วยคำตอบที่แน่ชัดว่าอนาคตของคนทั้งคู่
จะต้องล่มสลาย ที่ตัวเธอเองก็ยากสุดจะประเมิน
และความอิหลักอิเหลื่อมนี้
ก็ไปบั่นทอนระยะคบหาดูใจกันระหว่างตัวริกะที่มีต่อฮิโรชิในยุคปัจจุบัน












แต่สุดท้าย.......เมื่อทั้งสองแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ต่างฝ่ายต่างมีและพบเห็น
โดยเฉพาะฮิโรชิที่ละเลยความรู้สึกแรกพบ ที่จางหายไปนานจากการปฎิบัติที่ชาชิน
ทั้งตัวเขาเองที่คลุกเวลาทำงานให้กับงานวิจัยจนมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จ
แต่กับล้มเหลวในความเป็นสามีที่ไม่มีเวลาให้กับภรรยา เพราะเขาเชื่อว่าการบรรลุ
ซึ่งงานวิจัยเรื่องลิฟต์อวกาศ จะสามารถทำความฝันตามที่เขาเคยได้ให้สัญญากับริกะ
ซึ่งคำตอบที่ได้กลับกลายเป็นการยื่นขอหย่า ส่วนทางริกะในโลกปัจจุบัน
เธอได้พยายามมองโลกที่กว้างกว่าความเป็นจริงในกรอบของปัจจุบัน และเชื่อมั่นว่า
ตัวเธอเองจะสามารถหมั่นทบทวนความรู้สึกของตัวเองที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปนับแต่นี้
และเชื่อว่า...........สิ่งที่เธอเลือกเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวเธอเป็นที่สุด
โดยเริ่มต้นจากการซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวเอง และปล่อยให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์











ในบรรดาซีรีย์ร่วมสมัยใส่ใจวิทยาศาสตร์ของค่ายNHKนี้
ผู้เขียนคงต้องยกให้เรือ่งนี้เป็นเรื่องที่น่าประทับใจที่สุด ด้วยประเด็นของเรือ่งที่น่าสนใจ
ตรึงคนดูให้ชวนติดตามได้ตลอด ขยายมิติของความเป็นซีรีย์ย้อนเวลาที่มีเกลื่อนตลาด
ถึงแม้ว่า.......... ตัวซีรีย์จะไม่ข้ามพ้นความเป็นNHKซีรีย์ในแนวร่วมสมัย อาทิ
รายละเอียดที่หยุกหยิกน่ารำคาญ ทิศทางของซีรีย์ที่ดูกล้าๆกลัวๆ พวกลูกกักลุูกหลุด
ไคล์แม็กซ์ตอนจบที่ไร้พลัง บางฉากก็เยินเย้อบางครั้งก็รวบรัด มิติตัวละครก็ถ่ายทอดอย่างตื้นๆ
เป็นต้น แต่ด้วยมือเขียนบทซีรีย์ชั้นเทพีอย่างโอโมริ มิกะ ประกอบกับความเก๋าของซูเปอร์สตาร์
อย่างลุงอุชิโนะกับน้องหนูอายะ ที่ดูไม่น่าจะเล่นเป็นคนรักกันได้ ถึงแม้เคมีทั้งสองตลอดทั้งเรื่อง
ก็ยังดูจะไม่น่าอินเท่ากับบทพี่กับน้องหรือน้ากับหลาน ยิ่งอุชิโนะตอนหนุ่มต้องมาแต่ง
ทรงแบบแบยองจุน
แม้ว่าใบหน้าแบนๆจะไม่ใกล้เคียงทางเกาหลี แต่ก็เป็นจิตวิทยา
ที่แยกตัวตนของสองมิติเวลาได้ชัดเจน
เลยมีอาการอ๊ะๆเอ๋อๆอยู่บ้าง แต่พอดูไป
ซีรีย์ก็ค่อยๆกลืนจากเป็นโทษ ก็ชักจะเริ่มเห็นประโยชน์ขึ้น

ส่วนดาราสมทบคนอื่นๆอย่าง"โซเมตานิ โชตะ" (จากHimizu)ในบทน้องชายของนางเอก
และ"ทัตสึยะ ฟูจิ"ในบทศาตราจารย์ที่เป็นหัวหน้างานของพระเอก ยังคงเป็นอะไรที่ส่งมาเพื่อ
สร้างความน่ารำคาญตามสูตรNHK ที่ต้องมีปรากฎมาสักตัวสองตัว ถึงแม้ว่าจะเป็น
ประเภทกุมความลับในเรื่องของการย้อนอดีตของตัวพระเอกก็เหอะ แต่มีช่วงหนึ่งตอนที่
ศาสตราจารย์พูดถึงความหลังที่ผิดพลาด ไม่ได้ดูแลภรรยาที่ล้มป่วยให้ดีพอเพราะความบ้างาน
ไม่ต่างจากพระเอกที่กำลังเป็นอยู่ได้ ก็สะกิดจุดจีีดไปได้เหมือนกัน





No matter how much and What kind of intelligence human have.


(มันไม่สำคัญหรอกว่า มนุษย์จะมีความฉลาดไปมากแค่ไหน)



You can't change the past.Frankly speaking,That's why time is precious.


(อย่างไรเธอก็ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอดีตมันได้ พูดให้มันตรงๆเวลามันเป็นสิ่งมีค่า)



You can change the future as much as want.


(อนาคตต่างหากที่เธอสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรือ่ยๆตามแต่ใจเธอต้องการ)











ยังดีว่า......ทีมสมทบฝ่ายข้างตัวนางเอก ดูจะเป็นผู้เป็นคนมากหน่อยทั้ง "เกงคิดัน ฮิโตริ"
ในบทนักเขียนแนวรักโรแมนติกที่นางเอกต้องค่อยเป็นบรรณาธิการให้ "วาตานาเบ้ เอริ"
ในบทหนึ่งในนักเขียนที่นางเอกต้องมั่นตามต้นฉบับและเป็นนักเขียนในดวงใจนับแต่เริ่มอ่าน
"คินามิ ฮารุกะ" เพื่อนร่วมงานของนางเอก เป็นสาวช่างฝันและมั่นนัดเดทเพื่อเป็นตัวเป็นตน 
"ทากาชิมา เรอิโกะ" รับบทเป็นหัวหน้าบรรณาธิการและชอบซอกแซกอยากรู้ถึงสถานะเนื้อคู่
ของตัวเองในสิบปีข้างหน้า โดยนักแสดงสมทบฝ่ายหลังนี้ยังพอยอมรับได้ มีส่วนผสม
ที่แม้จะขาดพลังในแง่บทบาทแต่ก็ยังพอเป็นตัวเสริมอรรถรสให้กับเรื่อง แม้ว่าความประทับใจ
จากตัวละครโดยหลักทางNHKแต่ไหนแต่ไร ก็ยังยกให้พระเอกนางเอกเป็นลำดับต้นเช่นเคย











แต่ที่ยอมรับว่าตัวที่เด่นจริงๆ เห็นจะไม่มีใครพ้นนางเอกที่เล่นโดย อุเอะโตะ อายะ
ที่โดยตำแหน่งตัวละครมันเด่นเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว และที่ผู้เขียนเคยผ่านตามาบ้าง
ในงานซีรีย์ของเธอแต่ก็ดูไม่มาก เพราะไม่ค่อยปลื้มกับการแสดงของเธอที่ดูสะดีดสะดิ้ง
หรือเล่นน้อยก็ดูด๋อยๆ อาทิAttention Please,HotelierหรือNagareboshi
ต่างก็เป็นงานที่ผู้เขียนดูเนื้อเรื่องมากกว่าเนื้อหนังขาวๆที่ถือเป็นของแถมติดกันมา
แต่ยอมรับว่าในซีรีย์เรื่องนี้ อายะเธอปล่อยเสน่ห์ในอีกด้านที่ผู้เขียนไม่เคยได้สัมผัส
ผลก็เลยทำเอาผู้เขียนหลงหัวปัก กับความเป็นธรรมชาติของตัวละครริกะที่เธอเล่น
ด้วยบุคลิกที่ดูเข้ากับบท เล่นได้เป็นธรรมชาติ แถมต้องเล่นเป็นริกะในสองช่วงเวลา
มันเลยมีทั้งความรักและความชังในคนๆเดียว แต่สามารถเเปรเปลี่ยนไปด้วยห้วงของเวลา
แม้ว่าเคมีปฏิกิริยาระหว่างหนูอายะกับลุงอุชิโนะ จะไม่เข้ากันตามมติเอกฉันทน์ในเว็บบอร์ด
ซึ่งผู้เขียนก็เห็นดีด้วย เพราะไม่ว่าซีรีย์แนวนี้ของค่ายnhkที่เคยรีวิวมาบ้าง อย่าง
Futatsu no Spica,Nanase Futatabi หรือQED ล้วนแล้วแต่มาอีหรอบเดียวกันทั้งสิ้น










เพียงทว่า.......อานิสงส์เรือ่งนี้ด้วยมือเขียนบทมิกะ ที่เกลาให้พอเหมาะพอควรกับสิ่งที่
NHKยังแก้ไม่ตกเรือ่งการถ่ายทำ (ส่วนหนึ่งเพราะไม่อิงตลาดมากเท่ากับทีวีเอกชน)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขภาคบังคับของกฎมิติเวลาที่ถ้าวางไม่ถูกจุดหรือวางสั่วๆให้จบๆไป
มันก็จะมีผลไปทำลายตัววรรณกรรมของเรื่องและสิ่งดีๆที่ได้ปูมากันแต่แรก ขณะเดียวกัน
ถ้าไม่สร้างความแตกต่างที่ฉีกไปจากเรื่องอื่นที่เคยทำกัน มันก็จะย้อนมาทำลายตัวผู้เขียนเอง
ซึ่งชื่อของโอโมริ มิกะ ก็ไม่เคยทำให้ผิดหวังที่นอกจากจบลงอย่างสวยงาม ยังมีจุดหักมุม
ที่เก็บซ่อนไว้ตอนท้าย ที่คล้ายว่าจะมาจบแบบซีรีย์Jin2 แต่เรื่องนี้กับทำได้ในสเต็ปอีกขั้น
อีกด้วยประสบการณ์นักแสดงที่แม้ลุงอุชิโนะจะไม่เด่นแต่ก็พอไปได้ แล้วมาได้คะแนนจากอายะ
จากชนิดที่ว่าไม่เคยชอบหน้าก็พอจะว่าได้ แต่ในเรื่องนี้ชีใสจริงๆ เป็นตัวละครที่เราสัมผัสได้
และเข้าถึงหัวจิตหัวใจของผู้หญิงธรรมดาที่ใจมันรักไปแล้ว แต่เหตุผลบั้นปลายมันค้ำคอ
ผู้เขียนชอบตรงที่ปัจจัยทุกอย่างของเรื่องมันถูกใช้ให้สัมพันธ์กันผูกกันจนเป็นเรื่องราว
ที่มีการเชื่อมรอยต่อกัน และส่วนนี้ยิ่งส่วนเสริมให้ตัวละครริกะดูโดดเด่นด้วยเงื่อนไขปลีกย่อย
แม้จะมีข้อจำกัดนำเสนอได้มากสุด๖ตอน ซึ่งพอสมพอควรที่มากกว่านี้อาจเรียกเสียง "ยี้" ได้
และความดีที่เป็นจุดแข็งของเรือ่งนี้สองสามอย่าง ก็ประคองเรื่องท่ามกลางจุดด้อยจุดเสียเดิมๆ
ที่ซีรีย์ร่วมสมัยของNHKที่สิบปีก่อนเป็นมาอย่างไร สิบปีต่อมาก็ยังคงเป็นอย่างนั้น
แม้ได้เจ้าการประพันธ์เพลงซีรีย์อย่างโคโนะ ชิน ที่ไม่เคยจับงานของทางช่องNHKมาก่อน
ใส่ดนตรีเพื่อช่วยเสริมความรู้สึกของคนดูแล้วก็ตาม ก็ยังบิ้วอารมณ์ไม่ค่อยจะขึ้นเลย











แล้วไม่รู้เป็นไงสำหรับผู้เขียน ที่จะรับรู้พลังของสารฟิโรโมนในตันักแสดงสาว
โดยเฉพาะในช่วงรับงานใกล้วันวิวาห์จ่ออยู่หน้าหอเสียทุกที คงจะจริงอย่างที่
ผู้เฒ่าผู้แก่ว่า..........ผู้หญิงอินเลิฟะบั้นลงจากคานหล่อน
จะมีเสน่ห์กว่าปกติเป็นพิเศษ
ตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ ก่อนหน้านี้ "ฮิโรสุเอะ เรียวโกะ" แต่งงานครั้งแรกในปี ๒๐๐๔
ซีรีย์ก่อนหน้าทั้งMoto KareกับOtousan ชีก็ใสมากผิดมนุษยมนาอย่างที่เรียวโกะเคยเป็น
แม้แต่หนังที่เธอเล่นก่อนแต่งอย่างCollage of Our Life ที่เรื่องแสนสามัญธรรมดาน่าเบื่อ
ก็ยังตรึงผู้เขียนคนนี้ให้ใหลหลงได้ไม่ลืม หรืออีกสักตัวอย่าง "ทาเกอุชิ ยูโกะ"
แต่งงานในปี๒๐๐๕ หนังสามเรื่องของเธอทั้งSpring Snow ,Be With You กับ
Heaven's Bookstore ถ้าประเภทคนไม่ดูเอาหนังก็จะต้องพูดถึงหนังหน้างามแต๊ๆบ้าง
ขณะที่งานซีรีย์ก่อนหน้านั่น Prideที่ประกบกับทาคุยะ เรตติ้งทะยานเฉลี่ยร้อยละ๒๕
ฝั่งไม่เลือกข้างทาคุยะอย่างผู้เขียน จึงไม่แปลกใจที่ไม่เผื่อใจนางเอกตัวรองของเรื่อง
ที่ทุกวันนี้ใครเล่นยังจำไม่ได้และไม่อยากจะจำ ถือเป็นจุดพีคชีวิตของโลกความเป็นจริง
ที่นักแสดงสาวก็ต้องมีความฝันที่จะออกเรือนมีครอบครัวของตน แม้จะต้องแลกกับ
ความรู้สึกการมีส่วนร่วมเชิงอุปทานเป็นเจ้าข้าวเจ้าของคนดู ลดน้อถอยยลงหรือหายไป
แล้วเปลี่ยนมาเล็งเป้าหมายดาวดวงใหม่ที่ใสกว่า แม้ดาวดวงเก่าอาจจะเตียงหักกลับมาโสด
เสมือนหลอกให้เรากลับมามีความหวังอีกครั้งแต่อารมณ์กรุ่นครั้งนั่น ยอมรับว่า..ไม่เหมือนเดิม




ก็หวังว่าหนูอายะกับคุณพี่ฮิโระแห่งวงExile จะสมปรองครองรักกันยาวนาน
ผู้เขียนก็จะช่วยเป็น "แรงใจในวันที่สาย" เหมือนเช่นนางเอกคนอื่นๆที่ได้แค่ดมบนหน้าจอ




.ล. สิ่งหนึ่งที่ทางNHKน่าจะได้เสียงชื่ชมบ่อย แม้จะโดนแหวะโ้นสาดนี้ คือ
การเลือกเพลงเปิดประกอบซีรีย์ได้ดีเสมอมา แม้ว่าบางทีจะไม่ค่อยตรงกับเนือ้หาของเรือ่งนัก
ครั้งนี้ทางสถานีเลือกลูกครึ่งอเมริกัน-เกาหลีใต้ แต่ดันเกิดในโยโกฮามา
Crystal Kay
กับเพลงที่ชื่อและเนื้อหาดูจะเข้ากับเรื่องเป็นอย่างดีในเพลง Time of Love











อ้างอิง Jdorama,Dramawiki ,Wikipedia





 

Create Date : 09 ธันวาคม 2555    
Last Update : 9 ธันวาคม 2555 19:51:56 น.
Counter : 6070 Pageviews.  

Going My Home คืนสู่เหย้า ผ่องเรา และชาวมนุษย์จิ๋ว





ผู้กำกับหนังเจ้าฝีมือชาวญี่ปุ่นเกือบโดยทั้งหมด มักจะเข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนของ
การกำกับละครซีรีย์ทีวีกันแทบทั้งสิ้น ส่วนจะเคยกำกับเป็นล้ำเป็นสัน กะปิดกะปอย
หรือประมาณทำชิ้นเดียวเลิก! อันนี้ก็สุดแท้แต่บุญวาสนาของตัวผู้กำกับแต่ละท่าน
ไม่ว่าจะเป็นชุนจิ อิวาอิ (Love Letter,All About Lily Chou-Chou)
คนนี้ก่อนหน้าที่จะมาจับงานภาพยนตร์ ก็เคยเริ่มจากการกำกับทีวีซีรีย์ในช่วงต้นปี๙๐
Ghost Soupของช่องฟูจิทีวี และมูฟวีซีรีย์Fireworks ที่ว่าด้วยเรื่องมิตรภาพวัยเด็ก
เท็ตซึยะ นากาชิมา (Confession,Memories of Matsuko,Kamikaze Girls)
คนนี้ก็เคยไปร่วมแจมกินเล็กกินน้อยในช่วงต้นปี๒๐๐๑-๐๒ กับพวกซีรีย์ตอนชุดพิเศษ
Yonimo kimyo na monogatariกับ Shiritsu tantei Hama Maiku
อีกทั้งยังเคยไปช่วยวงSmap ทำมูฟวีทีวีชื่อX'smap ที่เป็นงานคั่นเวลาเล็กๆของสองฝ่าย
เอาแค่ปีนี้อย่างในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็มีผู้กำกับTokyo Sonata คุโรซาวา คิโยชิ
ผู้ซึ่งหายหน้าจากวงการทีวีซีรีย์ไปกว่าสิบปี ยังหวนกลับมากำกับซีรีย์ชุดจำนวนห้าตอน
Shokuzaiทางช่องเคเบิลWowow ให้แฟนที่ตามมาจากโรงได้หายคิดถึงกัน
ซึ่งโดยส่วนมากเจ้าฝีมือที่ว่ามานี้ มักจะผ่านงานที่ถ้าไม่เป็นTanbatsu Movie
ประเภทตอนเดียวจบ หรือไม่ก็จะเป็นพวกJam-Serieที่แบ่งกันสุ่มหัวทำคนละชิ้น
โดยที่งานส่วนเเจมที่ว่านี้ ก็มักจะอยู่ในนช่วงยังสะสมบารมี แสวงหาผลงานเพื่อสร้างชื่อ
กะหวังมาขายแพ็กเก็ตเฉพาะ ที่ให้ศิลปินอินดี้ได้มาปล่อยฝีมือภายใต้แผนงานเดียวกัน
และอีกหนึ่งคนที่ระยะหลังเริ่มให้ความสนใจ จากเดิมที่สนใจแต่กับกำกับหนังเป็นหลัก
ชักจะเขยิบมาแตะงานในวงการซีรีย์ทีวีบ่อยขึ้น ซึ่งหนังที่แกกำกับหลายเรื่อง
ก็มีแฟนหนังชาวไทยให้การพูดถึงเสมอ ทั้งแนะนำบ้าง บูชาผ่านหน้าบล็อกก็ไม่น้อย
ชนิดที่หลายคนแค่เห็นชื่อการันตีเป็นต้องตีตั๋วเข้าชม แม้จะยังไม่รู้เลยว่าเป็นหนังเรื่องอะไร






ฮิโรคาซุ โคเรอิดะ




เด็กจากมหาลัยวาเซดะ ที่มีมุมมองการกำกับหนังที่มีรูปแบบเฉพาะตัว
และสะท้อนปรัชญาพื้นฐานในตัวมนุษย์ ครอบครัวและสภาพสังคมได้อย่างลุ่มลึก
เงียบง่าย (มันสูงกว่านิยามคำว่า"เรียบ"แต่ยังคง"ง่าย" ได้อย่างพรั่งพร้อม)
ชนิดที่แม้หนังจะจบไปแล้ว แต่มันยังคงมีอะไรให้ขบค้างคาสมองไปเก็บคิดต่อที่บ้าน
แบบที่ "นรา" นักวิจารณ์หนังเคยนิยามความเป็นโคเรอิดะ ไว้ว่า

"นุ่มนวล ลึกซึ้ง เรียบง่ายและฉลาดล้ำ.....เล่าเนื้อเรื่องที่มีรายละเอียดเบาบาง
แต่ใช้องค์ประกอบด้านภาพทุกส่วนแทนการขยายความ ดึงเอาความรู้สึกเบื้องหลังในใจ
ของตัวละครมาตีแผ่ทางอ้อมได้อย่างงดงาม"


หรือแม้แต่นักวิจารณ์ชื่อโฆษะแห่งChicaco Sunday Timeอย่างโรเจอร์ อีเบิร์ก
ยังยกผู้กำกับโคริเอดะให้เป็นทายาทที่ยังมีลมหายใจในแบบฉบับของยาสุจิโระ โอสุ
(an Heir of Yasujiro Ozu)









และสิ่งที่น่ายกย่องเพื่อเป็นเกียรติ์ให้สำหรับตัวผู้เขียน คือ งานหนังของแก
ทุกชิ้นยังคงรักษาระดับการเข้าถึงง่าย พัฒนามุมมองทางปรัชญาแก่นสาร
ชนิดที่ไม่ต้องจับเข่าตีความก็สามารถเข้าใจสภาวธรรม ขึ้นอยู่กับว่า
จะไปจับประเด็นที่ปลีกย่อยส่วนไหน และที่สำคัญสามารถทำความเข้าใจใหม่
กับมันได้ไม่รู้จบ ไม่ว่าจะเป็นหนังในยุคเริ่มต้นจนไล่เรียงถึงปัจจุบัน
ตั้งแต่Maborosi,After Life,Nobody Knows,Still Walking
Air Dollและล่าสุดl wish จึงจะเห็นได้ว่า ในบรรดาผู้กำกับทั้งหลายแหล่
"โคเรอิดะ" เป็นผู้กำกับที่ผู้เขียนพยายามหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงมากที่สุด
อารมณ์ไม่ต่างจากงานของยาสึจิโร โอสุ คือ ไม่รู้จะสรรหากระบวนอักษรใดใด
เพื่อกระชับเนื้อความที่ดูแสนง่าย แต่หาอรรถาธิบายพรรณนาให้เข้ารูปเข้ารอย
(ที่่ส่วนใหญ่จะออกไปทางเข้ารกเข้าพง) ได้แสนยากชะมัด เพียงแต่หนึ่งสายตา
ที่จ้องมองวัตถุเพียงหนึ่งชิ้น แต่มันดันไปสัมพันธ์กับอะไรอีกร้อยแปด
ซึ่งต่อให้ตัวละครบอกความนัยอะไรออกไป บางทีสิ่งนั่นก็หาใช่ความจริง
ในสิ่งที่เป็นมากกว่าสิ่งที่เห็น ที่ลำบากกว่านั่น ผู้กำกับดันไปให้อิสระคนดูในการที่
เราจะไปตีความตามใจอยาก โดยไม่เอากรอบความคิดหลักในใจของผู้กำกับมา
จำกัดกรอบเสียหรืออธิบายเพิ่มเสียด้วยสิ









ดังนั้น .....พอหมดจากหน้าโปรโมทหนังl wish ในปีที่แล้ว
ก็ไม่ได้หมายความว่าตัวของผู้กำกับโคเรอิดะ จะพักงานตามไปด้วย
เพราะในปีนี้ทางสถานีฟูจิทีวี เขาเปิดตัวความร่วมมือกันครั้งแรกระหว่างสถานี
กับทางผู้กำกับฮิโรคาซุ โคเรอิดะ ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายอันดี และสร้างปรากฎการณ์
ที่ชวนตื่นเต้นขึ้นหลายด้าน ตั้งแต่ก่อนจะเปิดตัวรอบสื่อ (press conference) อาทิ




๑)เป็นงานกำกับซีรีย์ดราม่าชุดครั้งแรกของผู้กำกับโคเรอิดะ (แม้๒ปีก่อนจะมีโอกาสช่วย
ทางช่องNHKกำกับซีรีย์ผีชุดสี่ตอนจบKaidan โดยที่แกมาช่วยกำกับในตอนสุดท้าย)

๒)เป็นการกลับมาร่วมกันอีกครั้งระหว่างโคเรอิดะกับทีมนักแสดงอาเบะ ฮิโรชิและ
น้ายู หลังจากที่เคยทำงานร่วมกันในหนังStill Walkingเมื่อสี่ปีก่อน

๓)เป็นการคืนวงการในบ้านฟูจิทีวีของสองนักแสดงหญิงที่ห่างหายกันไปนาน
    ๓.๑) ๑๖ปีสำหรับยามากูชิ โทโมโกะ นับตั้งแต่ซีรีย์Long Vacation
    ๓.๒) ๑๐ปีสำหรับมิยาซาวา อาโออิ นับตั้งแต่ซีรีย์Kabushiki Gaisha o-daiba.com

๔)เป็นการปรับเปลี่ยนสไตล์Real Place-Real Timeครั้งแรก แบบไม่ได้จัดฉาก
เซ็ทสถานที่สำหรับผู้กำกับโคเรอิดะ เพื่อให้ได้บรรยากาศแลดูสมจริง





สรรพคุณแค่นี้ มันก็เป็นอะไรที่น่าตื่นตาและน่าตั้งตาคอยเป็นที่สุด








Going My Home จึงเป็นซีรีย์ดรามาเรื่องแรกที่ผู้กำกับโคเรอิดะพยายาม
เล่าถึงครอบครัวชนชั้นกลางตระกลูซึโบอิ ที่แม้จะมีความมั่นคงตามอรรถภาพทั้ง
หน้าที่การงาน ชีวิตสมรสและยืนหยัดปักฐานเพื่อส่งเสียเลี้ยงดูลูกให้ได้รับการศึกษาที่ดี
ทว่า......ชีวิตอีกด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพ่อก็ไม่สู้จะดีนัก
นับตั้งแต่เข้ามาทำงานในเมืองหลวง ก็แทบจะตัดขาดทางการสื่อสารกับครอบครัวในชนบท
โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อที่เขามีความบาดหมางเป็นการส่วนตัว กระทั่งวันที่พ่อล้มป่วยจนไม่ได้สติ
ในฐานะพี่คนโตจึงต้องกลับไปดูแลผู้ให้กำเนิด นำมาซึ่งการระแคะระคายในความจริง
บางอย่างที่ว่าพ่ออาจจะมีครอบครัวนอกสมรส ปริศนากลุ่มมนุษย์ตัวจิ๋ว "คูนะ" ที่สามารถ
เชื่อมสื่อสารระหว่างโลกของคนเป็นกับคนตาย และ "เรียวตะ" เป็นชื่อเดียวที่ผู้เป็นพ่อ
ละเมออยู่ตลอดเวลา จึงนำพาให้เขาต้องเผชิญกับความจริงและการสืบหาสิ่งลวงที่คาใจ
ที่ผู้เป็นพ่อปิดบังเขามาโดยตลอด  หรือที่แม้แต่คนใกล้ชิดในครอบครัวด้วยกันเอง
ก็ไม่เคยทราบมาก่อน 








การได้กลับมาสัมผัสยังแหล่งภูมิลำเนาที่เป็นรากเหง้าเดิมของตัวเอง ณ นาโกยา
ทำให้"เรียวตะ" (ที่แสดงโดยลุงอาเบะ) ได้กลับมาใกล้ชิดกับลูกสาววัยประถมต้น
"โมเอะ"(แสดงโดยดญ.หน้าใหม่มากิตะ อันจู) ที่เธอและพ่อไม่ค่อยจะสนิทสนมเท่าไรนัก
โมเอะมีความสนใจเรื่องมิติพิศวงและอำนาจพลังจิต โดยที่ผู้เป็นแม่ "ซาเอะ"
(เล่นโดยโทโมโกะ)
ระยะหลังก็ไม่ค่อยมีเวลาให้กับครอบครัว เพราะมั่วยุ่งกับงานทำอาหาร
เพื่อเอาไว้ถ่ายโฆษณาเป็นการเฉพาะ จึงพยายามผลักดันให้สามีมีเวลาให้กับลูกมากขึ้น
และแนะนำโอกาสนี้ให้เขาทำดีกับพ่อในช่วงที่พอจะมีโอกาส เมื่อลูกสาวโมเอะ
มีโอกาสได้กลับมาเยี่ยมคุณปู่พร้อมกับคุณพ่อของเธอ การได้รับฟังเรื่องราว
เสมือนมีตัวตนอยู่จริงของพวกมนุษย์จิ๋วคุนะ ทั้งจากปากของคุณปู่ของเธอ
รูปไม้แกะสลัก สมุดจดบันทึกของคุณลุงร้านหมอฟัน "โอโซมุ" (แสดงโดยลุงโตชิยุกิ)
ตำนานพื้นบ้านและสิ่งลักษณะคล้ายหมวกสีแดงตกกลางป่าลึก
ทำให้จากเดิมที่เรียวตะมองว่าเป็นเรือ่งที่เหลวไหล ชักเข้าเค้าผูกโยงเข้าเป็นเรื่องจริง
เปลี่ยนมุมมองที่เคยเห็นขัดแย้งกับลูกสาวกลายเป็นทิฐิเสมอกัน









ขณะเดียวกัน ตัวเขาเองก็ไม่กล้านำเรือ่งนี้ไปเล่าให้กับภรรยาหรือคนอื่นในครอบครัวฟัง
ด้วยสถานะความเป็นพี่คนโต เป็นถึงหน.ฝ่ายประสานทีมโฆษณา เป็นผู้นำของครอบครัว
ที่สำคัญ.......ดันออกตัวต้านเรื่องเหลวไหลนี้ตั้งแต่แรก จึงมีเพียงการเดินหน้าหาความจริง
กับรอเวลาที่พ่อของเขาจะฟื้นขึ้นมาเพื่อเฉลยความจริง  แต่สุดท้าย..ก็ไม่อาจที่จะแน่ใจได้ว่า
ตัวเขาเองจะซักไซ้ความจริงออกมาจากพ่อของเขาเอง ในเมื่อความสัมพันธ์ในปัจจุบัน
ระหว่างพ่อกับลูกที่หมางเมินมานาน ยังคงถูกห่อหุ้ม ด้วยทิฐิ-มานะ และความถือดีปิดกั้นเอาไว้









จนกระทั่งวันหนึ่ง มีหญิงสาวแปลกหน้าอุ้มช่อดอกไม้เข้ามาเยี่ยมอาการของพ่อถึงในห้อง
คำพูดคำจาค่อนข้างจะสนิทสนม ที่ตัวเขาและคนในครอบครัวต่างก็ไม่เคยคุ้นหน้ากันมาก่อน
จนเมื่อสอบถามความจริงจากปากของเธอ เธอมีชื่อว่า "นาโอะ" (แสดงโดยมิยาซากิ อาโออิ)
นาโอะเธอเป็นลูกสาวของเพื่อนพ่อ ที่พ่อของเรียวตะกับแม่ของนาโอะเคยเล่นสำรวจป่า
กันตั้งแต่เด็ก และดูเหมือนพ่อของเรียวตะจะผูกพันกับนาโอะคนนี้เป็นพิเศษ สืบเนื่องมาจาก
เธอมีใบหน้าคล้ายกับแม่ของเธอมาก และดูเหมือนประหนึ่งว่า พ่อของเรียวตะน่าจะมี
ปมในใจลึกๆอะไรบางอย่างที่พิเศษกับแม่ของนาโอะ ซึ่งปัจจุบันนาโอะมีสถานะ
เป็นแม่หม้ายลูกติด ทำงานให้เป็นเจ้าหน้าที่เทศบาลในท้องถิ่น และพยายาม
จะรักษาพื้นป่าในหมู่บ้านจากแผนการพัฒนาของภาคเมือง นาโอะกับลุงโอซามุที่ทำทันตกรรม
มีศักดิ์เป็นพ่อลูกกัน นับตั้งแต่นาโอะสูญเสียสามีไป เธอกับลูกก็ย้ายมาขออาศัย
การกลับมาเยี่ยมอาการป่วยของพ่อ ณ ยังที่ภูมิลำเนาบ้านเกิดพร้อมกับการเผชิญกับเรือ่งลี้ลับ
ก็ทำให้เรื่องที่เคยขัดแย้งเป็นอดีตในใจของเรียวตะ ค่อยๆคลี่คลายสลายลง
ทั้งปมความขัดแย้งระหว่างพ่อ ความใกล้ชิดระหว่างลูก และท่าทีในการเข้าใจชีวิต
ก็ค่อยๆแปรเปลี่ยนไปทีละนิดละน้อย จากจุดเล็กๆอันพอเพียง ที่เขาไม่เคยเข้าไปสัมผัส
โดยที่ผลลัพธ์ความจริงนั่น ไม่สำคัญว่า จะมีขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม .........................................









Going My Home เป็นซีรีย์ที่มีเรื่องเล่าในเส้นบางๆ
ตามวิธีถนัดในประเด็นปัญหาทางครอบครัว ที่ยังคงนำเสนอได้อย่างละมุ่นละไม
ค่อยๆเล่าไปตามลำดับเรื่องอย่างไม่ร้อนรน เก็บเล็กผสมน้อย มั่นเติมรายละเอียดในแต่ละตอน
ชนิดไม่โผงผางตามสูตรขนบซีรีย์ทั่วไป แต่จะบรรจงแต่งแต้มเนียนๆอย่างไม่ให้ผิดสังเกต
ไม่มีชนิดบิ้วจิตสัมผัส แต่สามารถทำให้คนดูเข้าถึงตัวละครตัวนั่นๆได้ ไม่ใช่ด้วยอรรถาธิบาย
แต่เป็นการสมานเรื่องราวของการเล่าเรื่องไปพร้อมๆกับการทำความเข้าใจ
ซึมซับไปทีละอณุอย่างค่อยๆถักทอร้อยเรียง จนคล้ายกับว่าสตอร์รีบอร์ดเป็นสิ่งไม่จำเป็น
อาศัย "การไหล" ของเหตุการณ์เป็นเสมือนตัวดำเนินเรื่อง ทั้งผ่านตัวบทสนทนา
กระทำโดยวิธีทางอ้อม และการตั้งคำถามที่ไม่หวังจัวคำตอบ ซึ่งทุกอย่างยังคงเป็นโคเรอิดะ
ที่คนดูเคยเห็นในเวอร์ชั่นภาพยนตร์กันอย่างไร ก็ยังคงเป็นอย่างนั่นในเวอร์ชั่นของซีรีย์ทีวี
และสิ่งหนึ่งที่ยังดำรงไว้ไม่จืดจาง คือ ดนตรีประกอบสไตล์อีซีลิสซึนิง
เพื่อให้เข้าวิธีการถ่ายทอดแบบอีซีวอชชิงนิง สำหรับซีรีย์ชุดเรื่องนี้
พี่แกเลือกใช้เฉพาะกีต้าร์โปร่งตัวเดียว...เอาอยู่ตลอดเรื่อง! พอให้ชมคล้อย
ไปกับบรรยากาศ และประคองน้ำหนักของเรื่องไม่ให้ปลุกเร้าเกินเหตุจนทำให้ผู้ชม
ทางสาธารณวิธีเข้าสู่ภาวะกดดันจนคนดูจุอกแตกตาย กลืนให้ง่ายและซึมซับโดยสะดวก
ซึ่งเป็นอรรถรสเฉพาะตัวของโคเรอิดะ ที่เป็นเสน่ห์ส่วนบุคคลให้นักดูหนังไหลหลงมานักต่อนัก









ส่วนการแสดงนี้คงไม่ต้องพูดถึงกันมาก เพราะได้นักแสดงที่เคยร่วมงานกันมา
ประกอบกับดาราฝีมือจัดจ้านหลายท่าน ทั้งๆที่เพิ่งจะเป็นการกำกับซีรีย์ตอนชุดครั้งแรกในชีวิต
จึงเป็นอื่นใดไปไม่ได้นอกเสียจากด้าน"บารมี" ที่ใครเห็นชื่อก็อยากร่วมเล่นเพื่อเป็นเกียรติ์
(จะว่าไป ถ้านับเอางานที่เป็นส่วนของทีวีจริงๆ โคเรอิดะถือว่าเกิดและเติบโต
มาจากการทำงานทางทีวีในช่วงต้นปี๙๐ เพียงแต่จะเป็นสายงานกำกับด้านสารคดี
และสำหรับซีรีย์เรื่องนี้โคเรอิดะก็มีโอกาสกลับมาฟื้นฝีมือสารคดีที่ห่างหายไปนาน)
นักแสดงหน้าคุ้นๆทั้งอาเบะ ฮิโรชิ,ป้ายู,ลุงโตชิยุกิ หรืออาโออิ ก็แสดงในแบบถนัด
ไม่ได้มีการฉีกบทดัดแปลงอะไรมากจากที่เคย ส่วนการกลับมาของป้าโทโมโกะ
ที่หายหน้าไปนาน นับจากแต่งงานกับดารารุ่นราวคราวเดียวโทชิอากิ คาราซาวา
ในปี๙๕ เธอก็กึงจะลาวงการไปกลายๆ เพราะหายไปจากสารบบบันเทิงทีวี

ก็ยังเป็นการแสดงเรียบๆ ไม่ได้ดึงศักยภาพอย่างที่เคยเห็นในครั้งก่อนๆอะไรมาก
ทางด้านอาโออิ เธอก็ได้หลุดจากโลกนางเอกสไตล์ไทงะซีรีย์จากช่องบอร์ดแคส
แซทเทลไลน์ทีวีอย่างNHKทีวีเสียที เพราะ๓เรื่องสุดท้ายแทบจะผูกขาดจนหมดความใส
ในสไตล์วัยรุ่นจ๊ะจ๋า แบบที่ดาราวัยรุ่นส่วนใหญ่เขามีโอกาสได้โชว์วัยผ่านจอแก้วทีวีกัน
พอกลับมาอีกที เธอก็ดันกลายเป็นมะม๊าใจดีไปกับเขาอีกหนึ่งคนเสียนั่น










จะมีที่น่าจับตาหน่อยคงเป็นนักแสดงเด็กหน้าใหม่ คือ
หนูอันจู ที่ตาตี๋ๆหน้าเบ้ๆดูบ้านๆ จะเข้ากับบทบาทเด็กที่มีโลกส่วนตัวสูง
และมีรัศมีดูดีเมื่อเข้ากล้อง น่าพอที่จะได้ร่วมงานกับโคเรอิดะอีกในอนาคต
(แม้ว่าโดยปกติโคเรอิดะจะไม่ค่อยนิยมกลับมาใช้นักแสดงเด็กเมื่อจบเรื่องไปแล้ว)
ซึ่งก็เป็๋นความเก่งของโคเรอิดะ ที่สามารถดึงศักยภาพของเด็ก ที่แม้โดยปกติ
ผู้กำกับจะนิยมปั่นเด็กหน้าใหม่ มากกว่าที่จะไปใช้บริการจากพวกเด็กมืออาชีพ
เพื่อไม่ให้ติดภาพมาจากซีรีย์เรื่องโน้นเรื่องนี้ ไม่ไปทำลายพลังของพวกนักแสดงรุ่นใหญ่
ขณะเดียวกัน ก็ได้ความสดความใสจากการชิมลางเปิดฤกษ์ และที่สำคัญ
ผู้กำกับมักจะปล่อยให้เด็กเล่นไปตามธรรมชาติอย่างที่เขาเคยเป็น มากกว่าที่จะ
ประดิษฐ์ประดอยประโลมหลอก อุปมาให้น้องหนูเป็นคนนั้นคนนี้เฟกตามเรื่องตามราว
ดังนั้น.....มันจึงเป็นงานชิ้วๆ ที่ไม่ได้ทำมาเพื่อหวังถ้วยมากไปกว่า
ความต้องการที่จะสื่อสารอะไรบางอย่างที่ตัวผู้กำกับโคเรอิดะอยากจะเล่า
เท่าที่มีกรอบของเวลาและทุนพอให้ได้อำนวย ส่วนจะเพื่อหวังผลขอทุนอุปถัมภ์ไป
ไว้สร้างหนังในภายภาคหน้าแบบที่ผู้กำกับท่านอื่นกระทำ?นั่น คงบอกได้ยาก









หากจะถามว่า ผู้กำกับโคเรอิดะได้สร้างความแตกต่างในโลกของซีรีย์
ที่ผิดรูปไปจากโลกของภาพยนตร์อย่างไร? ด้วยคุณสมบัติของซีรีย์ตอน ที่มีเวลา
อย่างเหลือเฟ้อให้สามารถ "เล่น" กับองค์ประกอบเสริมและองค์ประกอบขยาย
ไปตามเส้นทางของโครงเรื่องหลัก แบบที่เวลาของภาพยนตร์ทำได้จำกัดจำเขี่ย
มุกเล็กมุกน้อยที่ถูกใช้อย่างคร่าคร่ำอย่างยิบย่อย ชนิดไม่ต้องกังวลเรื่องการตัดทิ้งให้ได้เสียดาย
มิติของตัวละครก็ได้รับการขยายผ่านทางบทสนทนา และผ่านการกระทำสิ่งละเล็กละน้อย
แต่อย่างที่บอกความที่มัน"ไหล" กรอบเฉลี่ยเกี่ยกันไปของแต่ละตัวละครมันจึงไม่ค่อยเท่ากัน
ผลก็เลยอาจจะเห็น พื้นที่ของการให้เวลาของตัวนี้มาก ขนาดที่ตัวละครนี้หน่อยนึง
การขยายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการให้โอกาสของผู้กำกับที่ทำหน้าที่เขียนบทเป็นคนๆเดียวกัน
และยังคงสไตล์เดิม ที่ผู้กำกับจะให้โอกาสนักแสดงแต่ละคนได้ดีไซด์การแสดงออกของตัวละคร
ไปตามใจอยาก ใครเห็นดีอย่างไรก็ใส่ไปไม่ต้องยั่ง หรืออิงกับสคริปต์บทให้มันมาก
ซึ่งจากบทสัมภาษณ์ก็ดูเหมือนจะเป็นส่วนที่ชอบของบรรดานักแสดง ที่คล้ายจะมีส่วนร่วม
รับผิดชอบในบทมากขึ้นกว่าผู้กำกับท่านอื่นๆ ขณะที่ความปราณีตในองค์ประกอบศิลป์
อันนี้ยอมรับว่าแทบไม่รู้สึก แม้จะเป็นการจับงานในสว่นของหนังหรือซีรีย์เองก็ตาม
จะว่าไปงานซีรีย์ดูน่าจะยากกว่า เพราะไหนจะเวลาที่มากขึ้นและท่ายากจากสถานที่จริง









ส่วนไอ้ที่ผู้เขียนรู้สึกไปเเอง คือ อคติส่วนตัวที่รู้สึกว่าซีรีย์Going My Home 
เป็นอาณาจักรการเล่าเรื่องที่ไม่มีเส้นขอบของผู้กำกับโคเรอิดะ แม้จะมีพล็อกเรื่อง
แต่เงื่อนไขที่เป็นตัวกำหนดสถานการณ์ ดูจะทำงานได้ผลน้อยไปกว่าความต้องการ
ที่จะปาฏิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการของตัวละคร ซึ่งจุดหมายแท้จริง
คืออะไรบางทีก็บอกไม่ชัด บางครั้งก็มีผลลัพธ์ในอนาคต บางครั้งก็แค่บ่น
บางอย่างก็สร้างมาเพื่อเรียกอารมณ์ขัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไปเพื่อพัฒนาเหตุการณ์
เลยไม่แปลกใจ ที่หลายครั้งเรื่องเหมือนจะวนจมอยู่ตรงนั่น บางทีเหมือนจะไปหน้า
ก็ดันย้อนกลับมาหลังซะงั้น เหมือนจะเดินหน้าแต่ถูกทำให้ยื้อเพื่อดึงเวลาส่วนจะดึงเวลา
เพื่อประโยชน์ในการบริหารจำนวนตอน หรือเสริมความเป็นมนุษย์ของตัวละคร
อันนี้ก็คลุมเครือไปตามวิถีของผู้กำกับเขาทีเป็นมาแต่ไหนแต่ไร สร้างหนังมาให้คนดู
ได้"รู้สึก" ส่วนประเภทจะดูเพื่อ"เอาเรื่อง" อันนี้ไปหาบทย่ออ่านหน้าโรงเอาเองก็ได้มั้ง?









และที่ประหลาดใจอยู่ไม่หาย ทำไม?Going My Homeถึงมีกลิ่นความเป็นการ์ตูนจิบลี
ปะปนอยู่ในส่วนนั่นส่วนนี้อยู่เต็มไปหมด หรือจะเป็นมิติใหม่ที่กะหวังกินรวบตลาดเด็ก
บังเอิญเด็กที่ว่าตัวมันโตกว่าที่เคยเป็นมา แต่ที่มันยกระดับเหนือกว่าความเป็นจิบลี
ตรงที่แนวทางของเรื่องไม่ได้ปลูกเร้าเพื่อให้เชื่อ หรือต้องการหลอกล่อเพื่อให้สมาทาน
ความเชื่อว่ามันควรมีอยู๋จริง ที่สำคัญมันก็ไม่ได้ปิดโอกาสถึงโอกาสในการมีอยู่ขึ้นจริง
ซึ่งการมีอยู๋จริงของมนุษย์จิ๋วคุนะ ถามว่ามีความสำคัญไหม? มันก็สำคัญแน่
เพราะเป็นเหมือน"จุดขาย"เพื่อตรึงรั้งความสนใจของผู้ชมเป็นอันดับต้น เพียงทว่า...
เสน่ห์ของเรื่องตามลายเส้นของโคเรอิดะ เขาไม่ได้ให้ความสำคัญต่อฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์
มากไปกว่าความสัมพันธ์ในเชิงมนุษย์ ที่รับอิทธิพลแรงจูงใจจากจุดเริ่มต้น
ในความเชื่อเรื่องสิ่งปาฏิหาริย์ิ และจะว่าไปผลสำเร็จนั่นได้เกิดขึ้นเป็นจริง
แม้จะเป็นเพียงโดยทางอ้อมอันไม่ใช่เป้าประสงค์หลัก อีกทั้งการดำรงอยู่จากความฝัน
ที่แม้จะเลื่อนลอยแต่กลับมีจำเป็นเพื่อสำหรับในการหล่อเลี้ยงศรัทธาของการดำรงชีวิต
ที่ทุกคนมีสิทธิ์ในอันที่จะฝัน และอำนาจในการปล่อยวางเพื่อที่จะกลับไปใช้ชีวิตตามเดิม
ด้วยคุณภาพทางจิตวิญญาณ และประสบการณ์ชีวิตที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆในโลกใบเดิม
ส่วนจะจริงเท็จแค่ไหนคงต้องไปวัดใจเฉลยในช่วงท้าย ซึ่งบังเอิญว่าผู้เขียนดันฝืนอยู่ได้ไม่ถึง











When you want to meet someone .Who's dead.


(เมื่อคุณต้องการพบใครสักคน โดยเฉพาะคนที่ตายไปแล้ว)



Those guy have strong wariness about them.
They're hardly ever found.



(พวกมนุษย์จิ๋วเหล่านั้นระวังตัวขั้นเทพ ยากหน่อยนะที่จะหาตัวพวกมัน)




This world isn't made up with just what you can see with your eyes.


(โลกใบนี้ยังมีบางสิ่งที่ถูกสร้างมาเพื่อไม่ให้เรามองเห็นได้ด้วยอายนะทางตา)





เลยไม่แปลกใจที่เรตติ้งซีรีย์จะไปได้ไม่ดีนัก เพราะผิดกลิ่นจากความเป็นงานซีรีย์ทีวีทั่วไป
ที่ไม่ได้ยึดใจคนดูเป็นหลัก นอกจากการเปิดพื้นที่เวลาทีวีเพื่อให้คุณพี่โคเรอิดะได้โชว์
ก็ใช่ว่าจะไม่ถนอมใจคนดูในฐานทีวีเสีย มันก็ยังมีกลิ่นแฟมิลีดราม่าโดยที่ดูคุ้นเคย
ยังคงสื่อสารในกรอบที่คนดูสามารถเข้าถึงและเป็นแรงขับในสิ่งที่คนปัจจุบันยังคงโหยหา
อีกทั้งไม่ได้เป็นงานจำกัดเกรดำชัพื้นที่
กลุ่มคนดู วิธีการเล่าก็ไม่ได้สูงจนสุดเอื้อม
ต้องคว้ากระไดเพื่อปีนมาดู โดยจุดใหญ่ใจความน่าจะเป็นความต้องการที่จะเสนอ
ความสำคัญในสายใยของคนในครอบครัว โดยเฉพาะหลักคิดและมุมมองในแบบคนตะวันออก
ที่ตัดกันไม่ขาด หรือถึงตายจากกันก็ยังคงมีความรู้สึกผูกพันที่เคยอยู่ร่วมกันมา
แม้อาจจะเป็นแค่อดีตที่ล่วงเลยมายาวนานแล้ว แต่สายสัมพันธ์นั้นก็ไม่เคยจางหาย
แต่กลับลงเหลือสายใยบางๆผูกรัด ที่กลายเป็นสำนึกร่วมอะไรบางอย่างที่ซีรีย์
พยายามจะทำให้คนดูรู้สึก ซึมซับ และรื่นรมย์ไปกับมัน
ประเด็นหลักของซีรีย์จึงอยู่ที่จุดเริ่มต้นของเรื่องราว แต่ไปอาศัยส่วนขยายที่เหลือต่อจากนั้น
เสริมต่อและอรรถาธิบายความในเบื้องลึกเบื้องหลัง และการกำหนดตัวประเด็นใหม่
ก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะต้องการขยายตัวเรื่องให้ดำเนินต่อไปข้างหน้า แต่ทว่า.......
เป็นเพียงแค่การทบทวนสามัญสำนึกของตัวละครภายใต้กรอบหลัก
ที่เริ่มต้นจากจุดเรือ่งนั่นเอง ซึ่งก็ถือว่าผิดกลิ่นจากความเป็นซีรีย์ทั่วไปอีกเช่นกัน

แต่ก็ยังพออุ่นใจได้อย่างว่า สถานีคงไม่ทำการอัตนิบากตอนเพื่อบริหารค่าโฆษณา
ตามฐานเรตติ้ง เพราะเป็นงานความร่วมมือกันระหว่างสองสถานี คือ
ฟูจิทีวีกับทางKTV ที่ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดไม่ได้พึ่งรายได้จากสถานีค่ายหลักทางเดียว
นี้ขนาดทีวีเกาหลียังเหมาซื้อสิทธิ์ในการถ่ายทอดชนิดข้ามประเทศอย่างนี้
โคเรอิดะกลายเป็นผู้กำกับมีแบนด์ ต่อให้ล้มเหลวทางเรตติ้งก็ไม่ระคายบารมีที่ได้สั่งสมมา









ส่วนจะให้ผู้เขียนสรุป Going My homeเรือ่งนี้
เอาเป็นว่า มันเป็นการบรรลุสัจธรรมขั้นสูง โดยเลือกดึงส่วนดีมาจากหนังหลายๆเรื่อง
ที่เขาเคยกำกับ ทั้งภรรยาลูกติดที่ผลัดพรากจากสามีจนต้องหลีกลับถิ่นในMaborosi
ประเด็นชีวิตหลังความตายในAfter Life เด็กที่ต้องแก้ไขปัญหาชีวิตของตัวเอง
แบบNobody Knows ลูกชายคนโตที่สำนึกผิดติดค้างในใจอย่างStill Walking 
และอำนาจศรัทธาต่อสิ่งปาฏิหาริย์ในl wish (ส่วนAir Dollดูจะเป็นงานหลุดโลก
สุดขอบจักรวาล จึงไม่แปลกใจหากแกต้องควบหน้าที่โปรดิวเซอร์ติดตามไปด้วย)
ถมยังสอดแทรกการถ่ายทำแบบสารคดี ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่วงการทีวี

แน่นอนว่า.......ทุกเรื่องของผู้กำกับโคเรอิดะ มีอะไรให้คนดูเก็บไปคิดเป็นการบ้าน
เพียงแต่ว่า ผู้เขียนขอตัดช่องน้อยแต่พอตัวก่อนที่จะถลำลึกเกรงว่าจะบ้าใบ้จนเขียนไม่ออก
เพราะตอนนี้ซีรีย์ฉายไปได้ห้าตอน ผู้เขียนจึงขอตัดหน้า ขอนำมารีวิวเพื่อรักษาสมอง
ก่อนจบตอน ให้เป็นต้องท้อใจสำหรับกับการรีวิวแบบอวสานครบตอนบริบูรณ์ ...........











อ้างอิง
ข้อมูล



Dramawiki/Wikipedia/Tokyohive/Asianwiki
/Dramacrazy/JpopAsia/IMDA





 

Create Date : 18 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 25 ธันวาคม 2555 14:34:40 น.
Counter : 3979 Pageviews.  

GTO (1998) ครูซ่าส์ปราบขาโจ๋







อนที่รู้ว่าทางฟูจิทีวีจะมีการนำ GTO ซีรีย์ กลับขึ้นมาทำใหม่
ก็ค่อนข้างเป็นที่ประหลาดใจกับนโยบายของสถานี ที่มีไม่บ่อยครั้งนักจะนำเอา
งานเก่าที่เคยฮิตโคตรกลับมาทำซ้ำ ทั้งๆที่ระยะเวลาก็ไม่ห่างจากคราวที่แล้วมากนัก
(ครั้งโน้นเคยฉายไว้ตอนปี๑๙๙๘ ถ้านับเนินกันแล้ว ก็ประมาณสิบสี่ปีเห็นจะได้)
เลยสงสัยข้องใจ จึงพยายามไปสืบเสาะเคาะค้นถึงวัตถุประสงค์ของการเอากลับมาทำใหม่
ก็ไม่ชัดเจนในเจตนาเบื้องต้นเลยคิดไปเองว่า อาจจะเป็นงานรีบูท เพื่อต้องการตีความใหม่
ในบางแง่มุมที่ยังดูไม่สมบูรณ์ ไม่ได้พูดถึง เห็นขัดใจ หรือเกิดจากความซุกซนส่วนตัว
ต้องการพยายามอธิบายจิตใจของตัวละคร ผู้เขียนเลยอาศัยการนั่งเทียนคิดไปเอง
โดยเทียบกับประเภทซีรีย์ที่ถูกโยกกลับมาทำใหม่ หลังจากที่เคยเป็นภาพยนตร์(และต้องยอดนิยม)
ที่มักมีการขยายมิติ เปิดมุมมองใหม่ และให้บทบาทตัวละครอื่นเพิ่มขึ้น



จนได้ยลฉบับจีทีโอใหม่ในปี๒๐๑๒ ที่เขาตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "GTO Shonan 14 Days"
ไปเสียหนึ่งตอน ก็เกิดอาการไม่ไหวในใจ เพราะมันหาใช่การรีบูทอย่างที่ได้อุปมา
แต่เป็นการรีเมกทำซ้ำจากของเดิม ที่คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สุดในความคิด
น่าจะมีเพียงแค่เปลี่ยนตัวนักแสดงรุ่นใหม่ให้มาสวมบทบาทเดิม ที่เลยกว่านั่น
ก็ดูจะไม่มีอะไรแตกต่างมากนัก ซึ่งถ้าผู้เขียนเป็นโปรดิวเซอร์คงจะรู้สึกเสียดายงบเป็นยิ่งนัก
สู้เอาตังค์ไปทำอะไรใหม่ที่มันดูสร้างสรรค์มากกว่า แต่ทว่า.....ไอ้เวอร์ชั่นที่เราเคยดู
มันก็ไม่พอที่จะแน่ใจได้ว่า มีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิมตรงไหนมั้ง?  จึงต้องแบกสังขาร
ขุดของเก่ามาดูซ้ำ เพื่อหาจุดใหญ่ใจความเดิม ให้หายซึ่งวิจิกิจฉาที่อาจติดตามมา







GTO ในฉบับที่เป็นซีรีย์หนแรกจากค่ายฟูจิทีวี ที่เคยฉายตอนปี๑๙๙๘
ในชื่อเต็มแบบเต็มยศว่า Great Teacher Onizuka
เคยถูกนำมาฉายทางไอทีวีในชื่อ "ครูซ่าส์ปราบขาโจ๋" (น่าจะปีต่อมา)
เป็นเรื่องที่สร้างมาจากต้นฉบับการ์ตูนโชเนนมังงะ ของปารามาจารย์ฟูจิซาวา โตรุ
ที่วาดไว้ในช่วงปี๑๙๙๗-๒๐๐๒ เป็นเรื่องของอดีตนักเลงแห่งแก็งค์มอเตอร์ไซด์ (Bosozoku)



"เอคิจิ โอนิซึกะ" ผู้ที่ฝันอยากจะเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ เพื่อมาเป็นครูตามที่ปรารถนา
แม้จะไม่ค่อยรู้ดีนักว่าการเป็นครูที่ดีต้องทำอย่างไร จนเมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัยนานกว่าชาวบ้านเขา
วันหนึ่งมีโอกาสเห็นโฆษณาประกาศรับสมัครครูระดับชั้นม.ปลาย จึงไม่รอช้าที่จะวิ่งแจ้นเพื่อไปสอบ
แต่ด้วยภาพลักษณ์ที่ยังติดความเป็นนักเลง ชอบพูดจาตรงไปตรงมา ลีลายีกวน  ขาดสัมมาคารวะ
เลยไม่แปลกที่จะตกสัมภาษณ์ตั้งแต่ไก่โห แต่ความที่เขาได้ช่วยชีวิตครูจากนักเรียนอันธพาลเอาไว้
จึงเข้าแผนของผู้อำนวยการของโรงเรียน ที่จะหยิบยืมพรสวรรค์ด้านการวิวาทของโอนิซึกะ
เพื่อไปสู่การกำราบของบรรดานักเรียนห้อง ๒-๔ ที่ขึ้นชื่อเรือ่งโหด-เฮี้ยว และนามสกุลใหญ่
จนเป็นที่เอือมระอาของบรรดาครูในโรงเรียน เพราะผอ.คำนวนแล้ว มีแต่ได้กับได้
โดยวางเงื่อนไขเป็นการส่วนตัวเบื้องต้นเอาไว้ ถ้าหากครูโอนิซึกะไม่สามารถปราบนร.ในชั้่นได้
ต้องแลกกับการลาออกอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งทางโอนิซึกะก็ยอมรับทราบแต่โดยดี







นอกจากโอนิซึกะผู้กำลังจะได้เป็นครูคนใหม่ ต้องเผชิญกับเหล่าบรรดานักเรียนสุดเฮี้ยวแล้ว
เขายังจะต้องเจอะกับแรงปะทะของเหล่าบรรดาครูที่ไม่ชอบหน้า วัฒนธรรมองค์กรแบบผิดๆของโรงเรียน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเข้มงวดกวดขันทางการสอบเพื่อชื่อเสียงของโรงเรียน คอรัปชั่นจากหนังสือแบบเรียน
อำนาจนิยมของบรรดาครูๆ การพินอบพิเทาแก่ลูกนักเรียนเจ้าสัว ความเห็นแก่ตัวของครูผู้สอน
เป็นต้น รวมถึงการขาดรักและเอาใจใส่ของพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาให้กับลูกเพราะติดเรื่องงาน
ซึ่งปัญหาที่เป็นจุดเริ่มต้นจากการต่อต้านของนักเรียนห้อง๒-๔ ซีรีย์พยายามสะท้อนว่า
ผลทั้งหมดเกิดจาก "ผู้ใหญ่" ที่ไม่ได้ทำตัวให้เหมาะสมกับหน้าที่และบทบาทที่เขาควรจะเป็น
และจากความคาดหวังของตัวเด็กที่ควรจะได้รับดูแลในฐานะผู้อยูใต้การปกครอง
นำมาสู่การสำแดงออกในปฏิกิริยาที่ต่อต้านทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทุกๆรูปแบบ
โดยอาศัยความสัมพันธ์รวมกลุ่มทางสมาชิกของชั้นเรียน ซึ่งหากใครไม่ยอมทำตาม
ก็เท่ากับขาดจากการเป็นสมาชิกของชั้นนั่นโดยปริยาย ผลที่ตามมา คือ
มาพร้อมกลั่นแกล้งทุกรูปแบบที่ครูคนใหม่จะต้องได้รับ แน่นอนว่าโอนิซึกะยอมจะหลีกกฎข้อนี้ไปไม่พ้น







แต่ด้วยคุณสมบัติพิเศษ ที่แตกต่างจากครูคนใหม่อื่นทั่วไป
ครูโอนิซึกะ......ไม่ได้ทำสิ่งใดที่แลดูประเสริฐสมกับความเป็นวิชาชีพครู ยกเว้นก็เพียงแต่
จิตวิญญาณที่อยากจะเป็นครู สิ่งใดที่เขาปฏิบัติอยู่ภายนอกห้องเรียนเป็นมาอย่างไร
แม้อยู่ในห้องเรียนที่เขามีอำนาจรับผิดชอบเต็มที่ เขาก็ปฏิบัติตัวเหมือนกับภายนอกอย่างนั่น
ไม่เคยตอบสนองต่อความคาดหวังของบรรดานักเรียนในชั้น ตรงกันข้ามกับปฏิบัติตนไปอีกอย่าง
โอนิซึกะเลยไม่เคยอยู่ในกรอบของระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติของทางโรงเรียน และดูเหมือน
จะชอบฝ่าฝืนวินัยอยู่ในข้อ ที่ตีกรอบความเป็นวัยรุ่นของเด็กมัธยมปลาย ไม่ว่าจะเป็นในเวลาใน
และนอกเวลาเรียน  ซ้ำร้ายบางที...เขาเองก็เป็นตัวตั้งตัวตีสนับสนุนทั้่งทางตรงและทางอ้อม
ให้บรรดานักเรียนของเขาแหวกกรอบระเบียบ กฎเกณฑ์ และความมุ่งหวังของพวกผู้ใหญ่
โดยหันมาตอบโจทย์ต่อความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง ท้าทายต่อเส้นที่หมิ่นเหม่เพื่อตั้งคำถามใหม่
แม้ว่าคำตอบนั่น อาจจะไม่เป็นที่สมอารมณ์กับผู้หลักผู้ใหญ่รุ่นเดอะ แต่มันกลับมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
อนาคตของตัวพวกเขาเอง ซึ่งพวกผู้ใหญ่อาจจะไม่ได้ฉุดคิด หรือคิดเพราะเข้าข้าง
โดยเอาตัวเองเป็นเกณฑ์มาตลอด ไม่ได้คิดถึงหัวจิตหัวใจของพวกเด็กๆ ที่จะเป็นเมล็ดพันธ์ของคนรุ่นต่อไป







จะว่าไป..........การกระทำของตัวโอนิซึกะเอง ก็ไม่ค่อยจะน่านับถือเท่าไรนัก
ด้วยการกระทำโดยพลการ ขาดการยั่งคิด และชอบใช้กำลังเป็นเครื่องตัดสิน
โดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ ทั้งต่ออนาคตบนเส้นด้ายในอาชีพครูของตนเอง และผลจาก
การกระทำผิดทางอาญาในหลายๆข้อหา (ซึ่งเกือบทั้งหมดล้วนแล้วแต่ยอมความด้วยผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง
ไม่ว่าจะเป็นการทุบกำแพงบ้าน เผาหนังสือเรียน พานักเรียนสาวเข้าโรงเเรม ท้านร.ยืนขวางหน้ารถสิบล้อ)







ส่วนหนึ่ง ........คงต้องโทษในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรของทางโรงเรียนที่สั่งสมกันมาแบบผิดๆ
ทำให้ภาพของคนๆเดียวดูเล็กประจิ๋วไป เมือ่เทียบกับปัญหาของหมู่คนโดยรวม
อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่อยากถือสาหาความ คงด้วยเจตนาการกระทำอันบริสุทธิ์ โดยคำนึงถึง
ประโยชน์ของตัวนักเรียนเป็นหลัก มากกว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง ซึ่งนักเรียนในชั้นต่างก็ทราบดี
ถึงชะนักที่ติดหลังข้อนี้ แม้ว่าต้นเหตุจริงๆแล้ว จะเกิดจากเหล่าบรรดานักเรียนที่ถูกยกเป็นตัวตั้งก็ตามที
สุดท้าย.......ครูโอนิซึกะก็ใช้สไตล์โหด-เลว แต่ดี ค่อยๆสยบนักเรียนนักเลงทีละคน ทีละกลุ่ม
แบบไม่ถือโทษ-โกรธเคือง,ไม่ถือยศ-ถือเจ้า,เป็นมิตรที่ติดดิน สลายความเป็นปรปักษ์ในใจของนักเรียน
ขณะเดียวกัน ก็ได้ใจจากกลุ่มบรรดาครูที่ไม่ชอบหน้ากันตั้งแต่แรกเห็น ด้วยคุณงามความดีที่ปรากฎ
เป็นเรื่องของการดึง "กลุ่มคนชายขอบ" หรือ "มิจฉาอาชีพ" ผู้มีใจปรารถนาภักดี
ต้องการกลับตัวกลับใจ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันที่ถูกสถาปนาอย่างมีระบบ-ระเบียบ
แต่ทว่า....สถาบันที่เป็นแบบแผนหลักทางตามการคาดหวังของสังคม ก็มีความพิกลพิการ
โดยพยายามหยิบยกในทุกแง่ของปัญหา มาตีแผ่ที่ดูเกินจริงเพื่อสะท้อนให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาปัจจุบัน
ผ่านการเล่าเรื่องสไตล์วาไรตี้ ที่ดูสนุก ขนาดเดียวกันก็ไม่พลาดซึ่งสาระที่มุ่งนำเสนอ
ในลักษณะที่ความมย้อนแย้งและสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน จนกลายเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกัน
จะว่าไป....พล็อกจากGTOเรือ่งนี้ ก็มีอิทธิพลต่อบรรดาซีรีย์ครูโหดปราบนักเรียนแสบในยุคหลังๆ
ไม่ว่าจะเป็นครูสาวยากุซาในGokusen,ครูอดีตทหารผ่านศึกในTaiyo to Umi no Kyoshitsu
ครูแยงกี้ในYankee Bokou ni Kaeru หรือครูหมัดหนักในRookies ทั้งหมดเข้าข่ายภาพลักษณ์ดูแย่
แต่การกระทำดูดีด้วยกันทั้งสิ้น







หากมาลองเทียบชื่อชั้นการแสดงของครูโอนิซึกะกันทั้งสองเวอร์ชั่น
เริ่มจากของปี๑๙๙๘ ซึ่งเล่นไว้โดยโซริมาจิ ทาเคชิ กับของปีนี้๒๐๑๒ ที่แสดงโดยอาคิระแห่งวงExile
บอกตามตรงว่า เอาเข้าจริงทั้งสองเวอร์ชั่นหน้าตานักแสดงก็ไม่ได้มีความใกล้เคียงอะไรกับการ์ตูนสักเท่าไร
เพราะในเวอร์ชั่นแท้แน่ฉบับมังงะ ออกจะเป็นโอนิซึกะที่ดูเป็นเด็กแหว๊นก๊วนโอ๊ยและหัวทองมาแต่ไกล
ถ้าเป็นฉบับโซริมาจิอาจจะได้ในเรื่องของวัยที่ดูใกล้เคียง ไม่แก่เหงิบแบบอากิระเขา
แต่ถ้าคัดส่วนเอาเฉพาะคิ้วกับตา อากิระดูจะมีความเข้าเค้ามากกว่า ส่วนลีลาท่าก๊วนดูเหมือนว่า
แต่ละคน ต่างก็ออกแบบความเป็นโอนิซึกะเฉพาะตน ไม่ดูเหนือ-แต่ดูล้ำเกินฉบับมังงะ







ทว่า........ให้เลือกฉบับ "ความชอบ" ด้วยแล้ว ผู้เขียนชอบเวอร์ชั่นซีรีย์ทีวีปี๙๘ มากกว่า
ส่วนหนึ่งคงเพราะเติบโตกันมา เห็นก่อน-อิบก่อน เป็นออริจินอลคนจริง ย่อมมีสิทธิ์เหนือกว่าของช้าทั้งหลาย
อีกเหตุผลหนึ่งคงเป็น ของปีล่าสุดที่ดันไปทำซ้ำลอกมาเกือบเป็ก แทนที่จะเป็นรีบูทเติมความใหม่ใส่ใข่อะไร
เพราะต้องทำความเข้าใจนิดว่า ตอนที่ฟูจิชิงเอาGTOมาลงจอ ก็ยังเป็นตอนที่ต้นฉบับการ์ตูนยังวาดไม่จบ
ยังมีทรัพยากรที่เหลืออีกตั้งสี่-ห้าปี เอามาปู้ยี้ปู้ยำได้อีกบานตะไท ไม่รู้สิของใหม่พอเอาเข้าจริง
ก็ดันทะลึ่งไปเล่าซ้ำกับซีรีย์เวอร์ชั่นสิบสี่ปีที่แล้ว แทนที่จะอิงหรือเสริมของใหม่ที่ซีรีย์รุ่นแรกเล่าไม่ถึง
เพราะกะชิงหวังตัดหน้าทีวีค่ายอื่นๆ เอาเสียก่อน เลยเป็นงานที่ดูจะกล้าๆกลัวๆ
ทำท่าว่าจะเล่นลูกจริงจังๆ แต่ก็ทิ้งเสน่ห์ในแบบที่ออริจินัลเคยทำออกเสียไม่ได้ เลยดูทีเล่นทีจริง
ไม่เอามันสักดอกที่จะฉีกจากของเก่ามาเล่าของใหม่ จะเฮฮาวาไรตี้ก็ไม่สุด จะจริงจังก็ดูกั๊กๆไว้
ไม่ไหลเฮเหมือนกับเวอร์ชั่นคลาสสิกในปี๙๘ทำเอาไว้ ที่ดูปล่อยให้นักแสดงเล่นได้ตามใจแบบเต็มที่
จะว่าอีกนั่นแหละ....หยิบงานเก่ากว่าสิบสี่ปีมาดูในพ.ศ.นี้ ผู้เขียนก็ยังว่าสนุก-ไม่ล้าสมัย
ดูเข้าท่า-ไม่ตกเทรนด์ ไม่มีเอาท์ แถมยังคลาสสิกิ้งอีกต่างหาก



/////////////////////////////////


Don't be so dam condescending with your "TRASH"

(อย่ามาเที่ยวประนามชาวบ้านว่าเป็นแค่ขยะอยู่เลย)



Can't you forgive them for what they did?

(แค่นี้ คุณเองก็ยังไม่สามารถที่จะให้อภัยในสิ่งที่พวกเขาได้เคยกระทำลงไป)



lt's because of teachers like you that kids like them
end up with nowhere to go.


(ก็เพราะมันมีแต่ครูอย่างพวกคุณไง เด็กเหล่านี้จึงหาแสงสว่างให้กับชีวิตตัวเองไม่ได้)



If that's what you're looking for,Then l've refuse to here! Idiots

(หากพวกคุณยังมีทัศนคติแคบๆอย่างนี้อยู่ อย่าหวังว่าจะจ้างผมเป็นครูเลย!บัดซบเอ้ย!)



//////////////////////////////////////////////



ถือเป็นบทหนึ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของโซริมาจิ ทาเคชิ ที่ฝากไว้กับซีรีย์ทีวี
แม้ว่าปัจจุบันจะหนักไปทางผุบๆโผล่ๆซีรีย์เรื่องนั่นเรื่องนี้ ไม่ค่อยมีเป็นตัวยืนเต็มๆ
เหมือนดั่งแต่ก่อน ขณะที่อากิระในเส้นทางการแสดง ก็พยายามค่อยๆชิมลาง
พัฒนาบทไปทีละขั้น จากนิ่งๆทื่อๆในปี๒๐๐๘ Around 40และสองปีต่อมาใน
Tumbling ตอนนั้นยังผมหยิกยาว พอมาเป็นโอนิซึกะที่ทองสั้น และได้การแสดง
ที่มีรสมีชาติมีเครื่องปรุงเพิ่มขึ้น และเป็นตัวแสดงหลักของทั้งเรื่องบอกไม่ได้เหมือนกัน
ว่าใครมันจะแสดงดีกว่ากัน โซริมาจิได้ลูกทะเล้นปนทะลึ่งติดเรทผิดกับตัวอากิระ
จะได้ลูกโฮกกระโชกฮากและดูเป็นครูสายนักบู๊ได้ดีกว่า แต่ลูกเล่นที่เหมือนกัน
แม้เวลาทำจะนานห่าง คือ การใช้ประโยชน์จากศิลปินความเป็นนักร้องเป็นทุนเดิม
โดยที่โซริมาจิ ทาเคชิ มีเพลงPoison ที่แต่งโดยทาคายุกิ ฮิโตริ
นักแต่งเพลงประกอบหนังชื่อดัง ขณะที่อากิระแห่งEXILE ก็ถือโอกาสปล่อยซิงเกิ้ลใหม่
24karats TRIBE OF GOLDเป็นธีมหลัก แต่เวอร์ชั่นใหม่ดูจะหวังผลนิดๆ
เพราะมีเด็กฝากจากทีมJohnny’s Jr.อยู่คนสองคน ซึ่งเวอร์ชั่นเก่าเขาไม่ทำกัน








ความที่ทนดูGTOเวอร์ชั่นล่าสุด แล้วไม่ค่อยได้รับสาระใหม่อะไรไปจากของเดิม
(แม้ว่าเรตติ้งเฉลี่ย๑๓.๑ต่อตอน แถมมีต่อภาคสเปเชียลด้วย ก็ถือว่าประสบความสำเร็จอยู่
แม้จะเทียบกันไม่ได้กับเวอร์ชั่นปี๙๘ ที่สูงถึง๒๘.๓ มีทั้งสเปเชียลและขึ้นโรงหนังใหญ่)
GTOยุคนั่น ก็มีคุณูปาการในการสร้างดาวจรัสในยุคต่อมา
แม้ว่าส่วนมากจะเกิดกับ นักแสดงชายก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทั้งคุโบะสุกะ โยซึเกะ
ในบทนักเรียนอัจฉริยะ,โอการิ ชุน ในบทนักเรียนขี้แย,ฮิโรยุกิ อิเกยุชิในบทนักเรียนหัวโจก
และไม่ใช่นักเรียนก็ดังได้อย่างนาโอฮิโตะ ฟุจิกิในบทตำรวจยาม สงสารก็แต่
นักเรียนสาวที่เล่นเพราะดูเหมือนแต่ละคน ไม่ค่อยจะมีอนาคตทางสายการแสดง
สักเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นคิราอิ (ที่เล่าแล้วในGift) คุโรดะ มิกิ ,นากามูระ ไอมิ
(คนนี้เบนไปเล่นสายหนังแทน) แต่ที่อยู่รอดและติดทนนานในฝ่ายหญิง
เห็นจะไม่มีใครเกินครูสาวนางเอกในเรื่อง มัตสุชิมะ นานาโกะ
ที่ถือว่าเป็นคู่พระคู่นางชนิดที่ต่อปากต่อคำได้สนุกเรื่องหนึ่งเท่าที่เคยดูซีรีย์กันมา
เธอเล่นเป็นครูสาวฟุจิสึกิ อาซุสะ ครูใหม่ก่อนหน้าโอนิซึกะได้ไม่นาน มักจะโดน
ครูรุ่นพี่จิกหัวใช้อย่างจำยอมแบบอกตม ที่มีความฝันใจจริงเธอ
อยากจะเป็นแอร์ฮอสเตสอยู่ลึกๆ การแสดงเป็นอะไรที่คนละเรื่องกับซีรีย์สุดฮิต
ประวัติการณ์ปลายปีที่แล้ว อย่างKaseifu no Mitaโดยสิ้นเชิง ความจริงก็เป็นเรื่อง
ที่น่าดีใจ เพราะจากซีรีย์เรื่องนี้สามปี นานาโกะกับโซริมาจิ ก็ได้เข้าวิวาห์ลบภาพ
วิวาทในเรื่อง แต่งจริงไม่ได้สร้างภาพ จนมีลูกสาวสองครองรักกันถึงทุกวันนี้
ซึ่งก็มีน้อยคู่ดารานัก ที่จะยืนระยะอยู่ทนได้นานขนาดนี้

แถมข่าวระหองระแหงก็ไม่เสนียดหูสักแอะ
เหมือนกับคู่รักในตำนานหลายๆคน ........








อ้างอิงข้อมูล ......   Dramawiki/Asianwiki/Wikipedia/Tokyohive/Youtube/JkDramas




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2555 14:56:27 น.
Counter : 17383 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.