A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
เศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลตัวแม่



เคยคิดเสมอว่า ในแต่ละปี เรื่องของการแจกรางวัล
เป็นสิ่งที่สร้างชีวิตชีวาให้กับการดำรงอยู่ยังผืนโลกใบนี้
แม้จะทำได้แค่เพียงตามลุ้น ตามเชียร์และร่วมดีใจไปกับเขา
ประมาณว่า........เล็งเอาว่าจะได้ใคร และถ้าตรงใจ ก็จะได้เอาไปอวดภูมิพยากรณ์
แต่ถ้าพลาด!.........ก็ช่างมันปะไร ในเมือ่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย อีกทั้งก็ไม่ได้เป็นสายญาติห่างๆ
เคยจินตนาการในวัยเด็กว่า.........ถ้าสมมติเผลอเกิดได้เข้ารอบลึกๆ แล้วกรรมการดันไปพร้อมใจกัน
มอบรางวัลชนะเลิศให้ จะต้องเตรียมท่าดีใจและประโยคเก๋ๆอย่างไร ที่ยังทำให้เราดูดี
ผ่านมาหลายสิบปี.............ก็ยังคิดท่าดีใจนั่นไม่ออก
ที่สำคัญ! ตกม้าตายในสายรางวัลตั้งแต่เนิ่นๆ นับแต่เข้ารอบประกวด




ถึงกระนั้น...........รางวัลก็เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมบุคคล
ในฐานะได้สร้างสรรค์คุณงามความดีและการอุทิศแรงกายแรงใจ จนมีผลงาน
ที่ช่วยเหลือสังคมในแง่นวัตกรรม ความสามารถและแนวคิด
ที่จะขับเคลื่อนให้สังคม ได้ก้าวต่อไปอย่างที่มันควรจะเป็น
แม้ว่า............ในหลายๆครั้ง จะเกิดคำถามต่อความเหมาะสมของผู้ที่ได้รับเลือก
กับเหล่าตัวเลือกที่เหลืออยู่ อันน่าที่จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ตราบใดที่ใจเรา ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในใจของกรรมการที่ตัดสินอย่างเป็นทางการ
ก็เป็นใจคนละดวงเดียวกัน คิดได้ ............แต่ก็ได้แต่คิด อาจชดเชยด้วยซุปไก่สักขวด
เพื่อชดเชยส่วนความคิดที่สึกหร่อด้วยความฟุ่งซ่านไป




เหมือนล่าสุด กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ดังระงม
ในผลของการประกาศรางวัลโนเบลประจำปี ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา
ที่ดูจะเพ่งเล็งอยู่กับสองสาขา สาขาแรกว่าด้วยเรื่อง สาขาสันติภาพ
อยู่ๆ ประธานาธิบดีโอบามา จากตัวเต็งในฐานะผู้เข้าชิงตำแหน่งผู้นำชาติสหรัฐ
แต่กลับเป็นม้ามืดในสายรางวัลโนเบล สาขาที่ผู้คนจับตามองมากที่สุด
งานนี้จึงกลายเป็นพันธกิจที่มัดมือชก หากสุนทรพจน์ในครั้งที่เคยปราศรัย ว่าจะกู้ศักดิ์ศรีชาติ
และสร้างสันติภาพให้แก่โลก ถูกเสริมให้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยรางวัลระดับโลกเช่นนี้แล้ว
แม้ว่าโอบามาจะเพิ่งเป็นประธานาธิบดีได้ไม่นาน อย่างน้อยๆ ก็ตบหน้าพี่จอร์จ บุช ซีเนียร์
เพราะอยู่มาตั้งสองสมัย แปดปี แค่การเสนอชื่อเข้าชิง ยังไม่มีด้วยบุญญาธิการบนหน้ากระดาษ
สักครั้งในชีวิต




ส่วนอีกรางวัลที่น่าจับตามองไม่แพ้กัน คือ สาขาเศรษฐศาสตร์
เพราะงานนี้ มีสตรีเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับเลือก และเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัลสาขานี้
(She is the first woman to win the prize in this category)
ถึงแม้ว่า ถ้าเทียบกับสาขาอื่นๆ โนเบลในสาขาเศรษฐศาสตร์จะถูกตั้งขึ้นได้ไม่นาน
แต่การถูกตั้งครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๖๘ ก็นานพอที่จะทำให้ผู้เขียนอย่างผม
ที่ยังไม่ลืมตาดูโลกร้อนๆ ใบนี้ ดังนั้น เธอจึงน่าจะถูกสดุดีให้เป็นเศรษฐศาสตร์ตัวแม่
ก็ไม่น่าจะผิดอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวิตของเธอก็ดูน่าสนใจ ลองศึกษาเงือ่นไขไว้
เพื่อใครที่จะเข้าข่าย จะได้สตาร์ทตัวเอง เผื่อมีรางวัลประดับหัวที่นอน
ส่วนในหนังสืองานศพในช่องเกียรติคุณ จะได้ไม่เงียบเหงา.............................




ชื่อของเธอ คือ "อีลินอร์ ออสตรอม" คนเคยสาวที่เลยวัยเกษียณไปสิบห้าปี
แต่ยังมีฐานะเป็นศาสตราจารย์ที่ผู้คนในแวดวงส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก
ทั้งในทางรัฐศาสตร์และยังเป็นศาสตราจารย์ทางสิ่งแวดล้อมและ
กิจการสาธารณะที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา
ประเทศเดียวกับประธานาธิบดีโอบามา ผู้ได้รางวัลสันติภาพ
(งานนี้ถ้าอยากรับรางวัล ด้วยเครื่องบินเที่ยวประหยัด ก็น่าจะนั่งพวงแอร์ฟอร์สวัน
ของประธานาธิบดีมาด้วยนะเออ แต่ต้องแวะจอดมาปล่อยป้าแกที่สวีเดน
ส่วนพี่โอบาม่าก็ไปรับที่นอร์เว เพราะเขาแจกรางวัลกันคนละประเทศ รู้ไหมเออ?)
เห็นสาขาที่เจ๊แกรับผิดชอบอยู่ ก็อย่าได้แปลกใจ ทำงานสายรัฐศาสตร์กับจำพวกสิ่งแวดล้อม
แล้วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ตรงไหน? เพราะคำให้สัมภาษณ์ ป้าแกก็ถูกแทงในคำถามนี้
ต้องถือว่าเป็นคำถามที่ตกเทรนด์ ด้วยรัฐศาสตร์สมัยนี้ เขามีสายแขนงที่เรียกว่า
"เศรษฐศาสตร์การเมือง" เป็นศาสตร์ที่ผมเคยได้ยินนิยามมาว่า
การเมืองที่ไม่มีเศรษฐศาสตร์ ก็ฉายภาพการเมืองที่ไม่ชัด
ส่วนเศรษฐศาสตร์ที่ไม่มีเรื่องการเมือง ก็เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ไม่มีจิตใจ
ก็เลยออกมาเป็นเศรษฐศาสตร์งึกๆงักๆ ฟังดูประหลาดแต่ก็เป็นเรื่องจริง
ต่อให้การเมืองไทยจะก้าวหน้า มีติดบัตรฝังไมโครชิพแก่พวกสส. แต่เวลาขอโควต้ารัฐมนตรี
เขาก็ยังกดเครื่องคิดเลขหารด้วยจำนวนสส. ในแต่ละมุ้งอยู่ดี




เหตุที่ป้ามีหัวคิดที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ต่างจากสายตรงทางเศรษศาสตร์
ส่วนหนึ่งเพราะเจ๊มีสายหลักเติบโตมาจากสายรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่สิ่งแวดล้อมรอบกายเจ๊ ก็ถูกล้างสมองด้วยเศรษฐศาสตร์ได้ไม่ยาก
อย่างตอนที่เรียนปริญญาตรี เจ๊ก็มีครูเศรษฐศาสตร์ระดับกิตติคุณ เพื่อนร่วมงานปัจจุบัน
ก็จบมาจากสายเศรษฐศาสตร์ แต่กระทั้งคุณสามีก็ยังจบมาทางสายเศรษฐศาสตร์เช่นกัน
จะผิดอย่างเดียว ก็ตรงป้าแกเรียนรัฐศาสตร์นั้นแหละ
เพราอย่างงี้ ทุกการประชุมเศรษศาสตร์ ป้ามักจะบอกว่าเปลี่ยวเหงาเสมอ
ด้วยความที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์หญิงในที่ประชุมคนเดียว ท่ามกลางหมู่นักเศรษฐศาสตร์ชาย
ความที่ป้าแก มิได้เป็นตัวเต็งในส่วนผู้ที่จะได้รับรางวัล ซึ่งพอๆกับโอบามา
ในวงการพนันที่ชอบสรรหาอะไรแปลกๆ มาพนัน ก็ตั้งอัตราแต้มต่อสำหรับป้าแก
ไว้ที่ ๕๐ ต่อ ๑ ขณะที่ตัวเต็งถูกตั้งราคาไว้ที่ ๒ ต่อ ๑
(ดังนั้นทฤษฏีของป้าแก นอกจากสร้างประโยชน์ต่อโลกแล้ว ยังมีอานิสงส์ต่อนักพนันหน้ามืดอีก)





มาพูดในงานของป้าแก ที่ชวนให้คณะกรรมการสมควรที่จะมอบรางวัลดีกว่า
จากเดิมที่เคยมีความเชื่อกันว่า ปัญหาการจัดการเรือ่งทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน
จำเป็นที่จะต้องมีเรื่อง "กลไกตลาด" และ "ภาครัฐเข้ามาแทรกแซง"
งานวิจัยของป้าแก ได้ทำลายความเชื่อเดิมๆนั้นสิ้น โดยป้าแกหันให้ความสำคัญกับ
"การร่วมมือของชุมชน" กับ "ความเป็นมนุษย์" ในแง่การถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกัน (common ownership)
หลายครั้งที่ กลไกตลาด เร่งให้เกิดการตักตวงทรัพยากรอย่างบ้าคลั่ง เพราะราคาดี
คิดถึงประโยชน์ ณ ปัจจุบัน ไม่ได้คิดไกลถึงผลเสียในอนาคต
หลายครั้งที่ ภาครัฐแทรกแซง แต่คนก็ยังแหกกฏ เพราะเห็นป้าย แต่ไม่เห็นจ่า
บางครั้งออกกฎเกณฑ์ ที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่ด้วยสายตาคนนอก
เหมือนเจ้าหน้าที่ราชการที่มีพันธุกรรมบางอย่าง ที่เราทั้งหลายไม่เคยมี
แต่ป้าแกก็เคยเลยที่จะทิ้งศรัทธาต่อความเป็นมนุษย์ ศรัทธาที่ป้าแกมีอย่างเปี่ยมล้น จากจุดเล็กๆ
ที่ครั้งหนึ่งแม่ของแก รับบทเป็นแม่ครัวให้กับทหารฝ่ายสัมพันธมิตร จนประทับใจป้าตราบปัจจุบัน





ความที่ป้าแกได้ลงพื้นที่ภาคสนาม ทั้งในประเทศ อย่างเรื่องประมงกุ้งทะเลในมลรัฐเมน
และนอกประเทศอย่างใน เนปาล ทำให้ความเชื่อในแง่จัดการทรัพย์สินสาธารณะ (common property)
ที่สอนในมหาวิทยาลัย กลายเป็นเรื่องไม่น่าไว้วางใจ ตราบใดที่ผู้คนยังมองไม่เห็นความเป็นมรดกร่วมกัน
(เหมือนกับที่ป้าแกไม่ไว้ใจกฎ กลไกตลาดของอดัม สมิธ จะแก้ปัญหาครอบจักรวาล
และอดัม สมิธ เจ้าหน้าที่เว็บไซต์ทางการของมูลนิธิโนเบลในสตอกโฮล์ม ที่ชื่อพ้องกัน แต่ต้องโทร
แจ้งข่าวดีเกี่ยวกับรางวัล สำหรับผู้ที่ได้รับเลือก)
ยิ่งเจ้าพวกแผนการจัดการไม่ว่า จะเป็นของ ADB World Bank IMF ยิ่งชวนทำให้ชุมชนแตกแยก
กลายเป็นว่า..........ให้ชุนชนสร้างกรอบ ออกกติกาและแบ่งปันผลประโยชน์
ก็ได้ผลที่ยั่งยืนกว่า เหมือนกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ที่สงขลา
ไม่ต้องลงโทษสมาชิกด้วยกฎหมายแพ่ง แต่จะสาปแช่งต่อสมาชิกที่ไม่รักษาสัจจะ
ทุกวันนี้ ต่อให้มีวิกฤตการเงิน ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับพวกเขา
เหมือนกับงานวิจัยของป้าแก ที่บอกว่า "ธรรมภิบาลที่แท้" หาได้จากดินแดนหลังเขาอย่างเนปาล
มากกว่าประเทศเสรีการเงินอย่างอเมริกาสักอีก




รางวัลโนเบล จะเป็นถ้วยรางวัลหนึ่งที่เคียงถ้วยรางวัลก่อนหน้า
ทั้งรางวัลโยฮัน สไกต์ รางวัลเจมส์ แมดิสัน รางวัลวิลเลียม เอช. ไรเกอร์
และรางวัลทิสช์ ซีวิก อินเกจเมนต์ รีเสิร์ช ถือเป็นปีขาขึ้น ท่ามกลางข้อจำกัด
และความเสื่อมโทรมทางทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังเข้าสู่ขาลงอย่างต่อเนือ่งและรวดเร็วด้วยสิ




Ostrom identifies eight "design principles" of stable local common pool resource management:

1. Clearly defined boundaries (effective exclusion of external unentitled parties);
2. Rules regarding the appropriation and provision of common resources are adapted to local conditions;
3. Collective-choice arrangements allow most resource appropriators to participate in the decision-making process;
4. Effective monitoring by monitors who are part of or accountable to the appropriators;
5. There is a scale of graduated sanctions for resource appropriators who violate community rules;
6. Mechanisms of conflict resolution are cheap and of easy access;
7. The self-determination of the community is recognized by higher-level authorities;
8. In the case of larger common-pool resources: organization in the form of multiple layers of nested enterprises, with small local CPRs at the base level.
(From : Ostrom, Elinor (1990). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action)........




ข้อมูล

- รางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ปี 2009 โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
- เอลินอร์ ออสทรอม นักรัฐศาสตร์หญิงผู้คว้ารางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ โดย เกษียร เตชะพีระ
- เอลินอร์ ออสตรอม หญิงคนแรกคว้ารางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ คอลัมภ์ คนของโลก
และ wikipedia เช่นเคย


ภาพจาก หนังสือพิมพ์มติชน


Create Date : 01 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2552 15:22:25 น. 1 comments
Counter : 935 Pageviews.

 
Photobucket

ขอบคุณมากๆค่ะที่มา HBD ให้ มาช้าไปหน่อยนะคะ พอดีว่าป่วยวันเกิดตัวเองพอดีเลยอ่ะค่ะ แถมมีอาการหอบมาอีกด้วย นอนซมเลยค่ะ ไม่ได้เข้าเนตเลย เพิ่งจะมาตามขอบคุณเพื่อนๆเอาเมื่อวานนี้ได้ไม่กี่คนก็เนตช้า เลยพักผ่อนมาต่อเอาวันนี้เองค่ะ


โดย: แม่น้องแปงแปง วันที่: 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:45:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.