A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
Last Lecture แม้Lecturerก็หาไม่






ความที่ส่วนตัวชอบฟังปาฐกถาของเหล่าวิทยากรมาก

ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติตัวบุคคลแล้ว............จะยิ่งชอบมากเป็นพิเศษ

ยิ่งถ้าหากรู้มาว่า................เป็นการปาฐกถาครั้งสุดท้ายของชีวิตด้วยแล้ว

ชอบไม่ชอบ....................ไม่รู้

แต่จะต้องไม่พลาดด้วยประการทั้งปวง!!!!!

เหมือนกับหนังสือเล่มล่าสุดที่อยู่ในมือ

ปัจจุบันผู้แสดงปาฐกถา........ได้ลาโลกไป เมื่อกลางปีที่แล้ว

ด้วยโรคร้ายที่คร่าทรัพยากรมานักต่อนักแล้ว .....................ว่าด้วย "โรคมะเร็ง"

คราวก่อนหน้าโน้น ลุงมอร์ลีกับลุงยูจีน สองท่านผู้เป็นมะเร็ง

ก็ได้ทิ้งสิ่งดีๆที่เป็นข้อคิดให้กับการใช้ชีวิตในโลกใบที่เรากำลังยืนอยู่ (บ้างก็หลับนอนตอนกลางวัน)

ล่าสุด พี่เพาช์ศาสตราจารย์ผู้ชำนาญด้าน Visual Reality จากมหาลัย Carnegie Mellon

ได้สร้างปรากฎการณ์แก่คนทั่วโลก เมื่อคลิปใน youtube เกี่ยวกับการปาฐกถาที่น่าจดจำครั้งหนึ่งของโลก ถูกดาวน์โหลดไปมากกว่าล้านกว่าครั้ง จนได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือก็ถูกนำไปแปลกว่า 30 ภาษา

ขายดีในระดับ Best Seller ยาวนานกว่าสิบสัปดาห์ เขาปรากฏตัวในรายการสุดฮิต The Oprah Winfrey Show และรายการสารคดีของDiane Sawyer

แม้แต่ จบข. ลองsearch ชื่อของคำว่า "Last lecture" ผ่านใน google

ก็เป็นคำที่ถูกค้นหากว่า 12ล้าน3แสนครั้งแนะ



ล่าสุด หนังสือที่ชือ่ The Last Lecture หนังสือที่เขาเขียนร่วมกับผู้สื่อข่าว Wall Street Journal (Jeffrey Zaslow) ก็ถูกนำไปแปลเป็นภาษาไทย

ผ่านนักแปลสายอัจฉริยะ อย่างคุณ หนูดี หรือ วนิษา เรซ ผู้ที่เขียนหนังสือขายดี

อย่าง อัจฉริยะสร้างได้

แต่ทีแรก คุณหนูดีทำท่าว่าไม่ริอยากจะแปล ด้วยความที่ไม่ใช่สาย แต่ถูกรบเร้าอีกรอบ

บอกว่าเอาไปอ่านฟรีๆสักครั้ง แล้วค่อยว่ากัน จนสุดท้ายตรงหลุมรสเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้เข้า เล่นเอาน้ำตาคลอปน

ความประทับใจ (ว่าไว้ในคำนำ หาได้นั่งเทียนเอา) เลยตกลงปลงใจของละเลงฝีมือการแปลจนออกเป็นรูปเล่มดังกล่าว (แต่แหล่งข่าวไม่ได้บอกว่า ได้คืนเล่มที่ให้ลองอ่านไปรึเปล่า?)



จะขอเล่าสิ่งที่ได้สูญเสีย (ก็สตางค์ส่วนตัวไง) เพื่อแลกกับสิ่งที่ได้มา (ต้องบอกว่ามากมาย) กันแบบไม่ต้องเมื่อยตุ้ม

หลังจากได้รับการติติงกันมา ขอให้เข้าใจว่า จะเก็บไว้อ่านยามแก่เป็นเริ่มต้น

ส่วนท่านผู้อ่านในบล็อกนี้ ก็จะได้รับรายละเอียดของเรื่องราวมากกว่าที่จะฉาบฉวย

ซึ่งไม่ต้องคิดมากสิ่งใด โปรดเข้าใจว่า จบข. ได้ควักทุนรอนส่วนตัว ทุกตัวอักษรในบล็อกแห่งนี้ จึงเป็นการถอนทุนล้วนๆ

ความจริงแล้ว พอทราบอยู่บ้างว่า คุณหนูดีมีงานแปลหนังสือเล่มล่าสุดเป็นเล่มแรก

เพียงแต่ไม่ได่คิดว่าจะเป็นหนังสือ Last Lecture ยิ่งหนุ่มเมืองจันท์ เอามาฉายซ้ำในทางวิทยุเมื่อเดือนที่แล้ว

นายคนนี้ไม่รู้เป็นไง! หากนำหนังสือเล่มไหนมาโม้ ต้องมีเหยื่ออย่างผม ตกหลุมพรางความโม้ของแกทุกที





"นี้เป็นภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ ที่เห็นถึงมะเร็งสิบจุดในตับอ่อนของผม"

คำเริ่มต้นในงานปาฐกถาประจำปีของทางมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ที่ทางพี่เพาช์ได้รับเกียรติในครั้งนี้

ก่อนหน้า พี่แกเองก็ได้รับเชิญหลายครั้ง แต่ด้วยความไม่พร้อมอะไรหลายอย่าง พี่เพาช์จึงปฏิเสธมาเสมอ

แม้ผู้เชิญเองจะรู้ว่า พี่เพาช์จะมีอายุอยู่ดูโลกได้อีกไม่กี่เดือน

การเทียบเชิญงานปาฐกถา ไม่ใช่ว่าจะสุ่มๆเดินไปหาอาจารย์ใครสักคนในห้องภาควิชา

ยิ่งพี่เพาช์ไม่ใช่หนุ่มสายอักษรศาสตร์ที่มีวาทศิลป์อันล้ำเลิศหรือสายวิทยาศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงฟิสิกส์กับหลักศาสนา

แต่พี่เพาช์เป็นสายคอมพิวเตอร์โปรแกรม ตอนถูกเชิญก็ด้วยเหตุผลว่า

คุยกับคนอื่นรู้เรื่องและพูดคุยได้ดีกว่าอาจารย์ท่านอื่นในสายวิชาเดียวกัน

งานปาฐกถาครั้งนั้น ผู้คนถือว่าแน่นหนากว่าครึ่งพัน แต่หลายคนก็ต้องผิดหวังกับสิ่งที่คาดคิดว่าจะได้รับ

จะได้เห็นคนกำลังป่วยมะเร็งในระยะสุดท้าย สภาพร่างกายซูบผอม ไร้เรี่ยวแรงและประเด็นในเรือ่งของความตาย

แต่พี่เพาช์กับลุกขึ้นพูดอย่างติดตลก ที่ว่า เพราะเพิ่งไปทำครีโมมาร่างกายจึงแลดูสดใส และแข็งแรงกว่า

ใครหลายๆคนในที่นี้ และผมมาพูดในหัวข้อ เรื่อง ทำฝันวัยเด็กให้เป็นจริงดิ (Really Achieving Your Childhood Dreams)



ถือเป็นงานปาฐกถาที่มีคำคมพรั่งพรูแบบไม่เคยได้ยินมาที่ไหน อีกทั้งฉลาดที่จะใช้ประสบการณ์วัยเด็ก

เป็นตัวเดินเรื่องอย่างมีจินตนาการที่เอกอุดมสมวัย โดยสอดแทรกแก่นเนื้อหาเชิงปรัชญาการใช้ชีวิตอยู่เป็นระยะๆ

เป็นความฉลาดที่พี่เพาช์เริ่มต้น ตัวงานปาฐกถาด้วยหยิบยกพระคุณบิดามารดา

เสมือนการถูกหวยครั้งใหญ่ พ่อแม่พี่เพาช์ก็แสนดีนักหนา ใช้ชีวิตมัธยัสถ์ไม่สมกับเป็นชนอเมริกัน (เขาประชดนะ)

ประหยัดชนิดที่ว่า ริหวังจะเข้าโรงหนังนั้นนานโคตร อยากดูความบันเทิงของฟรี ก็หันไปดูที่ทีวีไป

อยากอ่านหนังสือเหรอ อย่าได้ริอาจซื้อ โน่นเลย.........ห้องสมุดโรงเรียน

แต่ถ้าเรื่องของการศึกษาหาความรู้แล้ว .................ถึงไหนถึงกัน

สารานุกรมชุดหนึ่งประกอบไปด้วยหลายเล่ม เล่มหนึ่งราคาไม่ใช่น้อยๆ และประทานโทษอับเดททุกปี

แต่งานอย่างนี้ พ่อแม่พี่เพาช์ไม่เคยเกี่ยง....................จัดให้ได้เสมอ

อาหารทุกมื้อ ก็จะมีการประลองเชาว์สรรหาการตั้งคำถาม หากตอบไม่ได้ จนตอ้งเอ่ยคำว่า "ยอม"

งานนี้ก็ไม่มีเฉลยกันง่ายๆ ดังนั้นที่หัวโต๊ะอาหารจะมี "พจนานุกรม" เตรียมไว้ราวกับ "เมนูอาหาร"

พี่น้องตระกูลเพาช์จึงไม่เคยขาด ทั้ง "อาหารสมอง" และ "อาหารการกิน" ไปพร้อมๆกัน



ว่ากันว่า การพูดบนเวทีของพี่เพาช์ ดึงดูดตาผู้คนอยู่เสมอ ไม่ว่ากินเวลานานเพียงใด

พี่เพาช์มักหยิบคำสอนของพ่อที่ให้ไว้เสมอว่า ถ้าหากมีช้างอยู่บนเวที ก็ไม่ลืมที่จะแนะนำมันไปด้วย

จนพี่น้องที่ร่วมรับฟังการปาฐกถาของพี่เพาช์มักจะบอกเสมอว่า บางเรื่องพ่อก็ไม่ได้สอนไว้

แต่พี่เพาช์ก็มักให้เกียรติ์สิ่งดีๆนั้น แก่พ่อเขาอยู่เสมอ

พี่เพาช์จึงใส่ผู้คนที่ร่วมรับฟังอยู่เสมอ และมักมีของติดไม้ติดมือมอบให้กับผู้ร่วมไม่ขาด

ในวัยเด็กครอบครัวเพาช์ ก็เป็นนักล่ารางวัลตัวยงในงานสวนสนุก โดยเฉพาะเหล่าตุ๊กตุ๋นตุ๊กตา

มักจะวัดความสำเร็จในการล่าแต่ละครั้ง กันที่ "ขนาด"

ใหญ่เท่าไร ก็ถือเป็นความสำเร็จเท่านั้น และจะมีความสุขเสมอ ยามที่เห็นผู้คนในสวนสนุก

มองด้วยสายตาอิจฉา เวลาที่เห็นตุ๊กตายักษ์ถูกแบบขี่คอ

แม้หลายครั้ง เขาจะมารู้ในภายหลังว่า บุคคลผู้พอ่แอบเตี๊ยมกับพนักงานจ่ายให้ 50 เหรียญ เพื่อให้ลูกได้เห่อ

แต่ระยะ เมื่อพี่เพาช์โตขึ้น บ้านใหม่ของเขาชักมีตุ๊กตายักษ์เต็มบ้าน จึงต้องปล่อยของทิ้งไปบ้าง

ส่วนหนึ่งมาจากเหตุเมียไม่ปลื้ม เพราะเม็ดโฟมที่ยัดอยู่ในตุ๊กตา มันจะไปปิดช่องทางเดินหายใจของลูกแก

ตุ๊กตาตัวสุดท้ายที่แกแจก ก็ไม่ได้ไปไกลที่ไหน เพราะตกในมือลูกศิษย์ของแก ลูกศิษย์ที่เป็นโรคมะเร็งเช่นกัน



ด้วยความที่จินตนาการวัยเด็กที่เต็มเปี่ยม

ส่วนหนึ่งที่ขาดไปเสียไม่ได้ คือ ความรัก ความปรารถนาดีของผู้เป็นพ่อเป็นแม่

ให้เสรีภาพในการเสพรายการทีวีที่เหมาะสม อีกทั้งเสรีภาพในการขีดๆเขียนๆ ดังนั้นแล้ว

ในพนังห้องนอนวัยเด็กของเขา จึงเต็มไปด้วยลายเส้นขีดๆเขียนๆและวาดๆไปทั่วห้อง อย่างที่ไม่กลัวว่าจะต้อง

มาตามลบ ในยามที่ต้องการขายบ้านไปเสีย เขาว่าอย่าได้ไปปิดจินตนาการของเด็กว่าไม่สำคัญ

แม้ตอนแรกแม่ของเขาจะไม่เห็นดีเห็นงามตามไปด้วย แต่มาตอนหลัง กลับยกย่องว่าเป็นงานศิลปะชิ้นเลิศ

ที่ใครต่อใครที่มา จะต้องมาขอเยี่ยมชมห้องนอนของเขาก่อนห้องใดใด

และด้วยความที่วัยเด็กเป็นคนชอบหนังการ์ตูนของทาง วอลท์ ดิสนียมาก

ฝันไว้ว่า โตขึ้นจะต้องขอเข้าร่วมกับองค์การบริษัทนี้ให้จนได้ สมัครมาตลอดเรื่อย

แม้จนกระทั่งจบปริญญาเอกทางคอมพิวเตอร์ที่ Carnegie Mellon ก็ไม่ได้ละความพยายามที่จะส่งใบสมัคร

แต่สุดท้ายเขาก็ได้รับการตอบกลับมาอย่างสุภาพว่า

"เรายังไม่มีหน่วยงานที่เหมาะสมกับความสามารถที่มีอยู่ของคุณ"

แต่เหมือนฟ้ามาประทาน ไม่นานต่อมาหลังจากที่พี่เพาช์เป็นอาจารย์ในสถาบันที่แกร่ำเรียนมา

ทางดิสนีย์ มีโครงการสร้างหนังอนิเมชันทดแทนการ์ตูนลายเส้น จำต้องพึ่งหัวสมองของพี่เพาช์

ที่เป็นเอกอุทางด้านนี้ เอกอุแค่ไหน ก็ถึงขนาด Encycopedia of the World ต้องขอให้แกช่วยนิยาม

คำว่า Visual Reality ลงในสารานุกรมเป็นเกียรติยศประจำตระกูลด้วย

จากเดิมที่ต้องขอจดหมายไปไหว้วอนให้ขอช่วยรับแกเข้าทำงาน บัดนี้ทางดิสนีย์กลับต้องมาง้อพี่เพาช์เสียเอง

โลกเป็นไปได้เสมอ ตราบเท่าที่จินตนาการยังต้องมีความฝันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอยู่ไม่ขาด

ขอให้มีความเก่งจริงและตั้งใจที่จะทำ สุดท้ายเขาก็ต้องขอหยุดการสอนในสถาบันการศึกษาชั่วคราว

เหมือนครั้งหนึ่ง เขาต้องขอลาออกจากที่ปรึกษาโครงการๆหนึ่ง แล้วไปสมัครเป็นนักข่าวท้องถิ่น

เพียงเพราะว่า โครงการของลูกศิษย์แกไปชนะเลิศได้รางวัลจากองค์การนาซ่า จะได้ไปทดสอบห้องอวกาศ

ที่จำลองสภาพไร้น้ำหนัก แต่งานนี้ตั้งกฎไว้ว่า "เฉพาะลูกศิษยเท่านั้น ที่ปรีกษาไม่เกี่ยว"

แต่อย่างว่าสรรพสิ่งย่อมมีช่องว่างอยู่เสมอ แม้อะตอมก็ยังประกอบด้วยช่องระหว่างโปรตอนกับนิวตอน

เพื่อให้อิเล็กตรอนวิ่งเล่น แกก็ไปพอว่า ให้สิทธิ์นักข่าวได้เผยแพร่ข่าวสารร่วมเข้าโครงการได้

ใครจะไปคิดว่าพี่เพาช์ ระดับการศึกษาก็สูง จะเล่นลูกไม้ตื้นๆเช่นนี้

ด้วยการลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาแล้วไปสมัครตำแหน่งของ "นักข่าว" แทน

สุดท้ายแกก็ได้เข้าร่วมทดสอบในยานนั้น ตามช่องทางของแก




ความประทับใจครั้งนี้ ฮีโร่วัยเด็กของเขา คือ ชายผู้ที่รับบทบาท กัปตันเจมส์ จากละครชุด Star Trek

จะมาเยี่ยมหน่วยงานการวิจัยของเขาถึงห้องทดลอง Visual Reality สร้างความตื่นเต้นกับเขาอย่างมาก

ถึงขั้นตระเตรียมงานกันยกใหญ่ สร้างบรรยากาศเสมือนจริงในตัวยาน Star Trek



พี่นักแสดงไม่เคยรู้มาก่อนว่า ศาสตราจารย์ท่านนี้เป็นแฟนพันธ์แท้ตัวยงของแก

เท่านั้นแหละ! พอมีเสียงสัญญาณไซเรนดังในตัวเครื่องขึ้น พี่แกก็อุทานตามบทสคริปท์ในตัวหนังขึ้นว่า

"ยานเรากำลังถูกบุกเข้าให้แล้ว!"



ลูกบ้าของแกยังไม่หมดอยู่เท่านั้น ยังไปจุดฝันของลูกศิษย์แกอยู่คนหนึ่ง

ลูกศิษย์แกท่านนี้ บ้าระดับสาวกสตาร์ วอร์ เอามากๆ ฝันไว้ว่า ถ้าหากมีการสร้างภาคต่อสตาร์ วอร์ เมื่อไร

เขาจะไม่ยอมพลาดที่จะไปคัดตัวด้วย พี่เพาช์ฟังเข้าก็ขำดิ!....................

สตาร์ วอร์ ถูกสร้างไว้ตั้งนานหลายสิบปี อวสานไปก่อนเรียบร้อย ได้อัศวินเจโด เจได แต่งงานมีสุขเกษม

มันจะเป้นไปได้อย่างไร?

บอกแล้วเรื่องฝัน อย่าได้ไปดูถูก จากนั้นไล่หลังไม่นาน จอร์จ ลูคัส มีโครงการสร้างภาคเริ่มต้นของดาร์กเวเดอร์เข้า

ไม่สร้างแค่ภาคเดียว แต่พี่ท่านล่อกันไปถึงสามภาค แล้วมาทราบในภายหลังว่า ศิษย์แกท่านนี้

ได้ไปมีส่วนร่วมในทีมงานชุดล่าสุดของสตาร์ วอร์ ว่าด้วยพี่ลูคัสไปติดใจภาษาประหลาดในโครงการของพี่แก

จึงได้มีหมายเทียบเชิญมาด้วย............................................

แล้วพี่เพาช์ก็ได้หน้า เพราะลูกศิษย์สำนึกบุญคุณส่งจดหมายเทียบเชิญนักศึกษาในห้องเรียนแก

มาดูงานที่ห้องถ่ายทำลูคัสฟิลม์ ลูกศิษย์ท่านนี้สารภาพอย่างหมดเปลือก ว่า

ที่มาจุดนี้ได้ ก็เพราะเลียนแบบการไล่ลาความฝันของพี่เพาช์ที่มีต่อสตาร์ เท็ก ผิดนิดหน่อยที่ เดอะ สตาร์ของเขา

กลับเป็น สตาร์ วอร์ แทน!................................................................................................



หนังสือเล่มนี้ยังมีจุดสนุกสนานหลายตอนที่ยังไม่ได้เล่า (เพราะหนังสือเขายังมีไว้ขาย)

และยังมีลูกซึ้งๆ ที่มีปรากฎ ทั้งในเรื่องของพ่อแม่ ครอบครัว และผู้ป่วยเช่นเดียวกับพี่ท่าน พี่เพาช์พยายามสนับสนุน

การให้เงินทุนสำหรับโรคมะเร็งตับอ่อน การแก่กรรมาธิการของวุฒิสภา และสร้างมุมมองให้ผู้คน

ที่ได้รับรับฟังปาฐกถาเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่และสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับเพื่อนมนุษย์

หนังสือยังมีการพูดถึง "เมืองไทย" ในฐานะ คุณูปาการที่พ่อแม่ของพี่เพาช์มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ข้ามโลก

อย่างเมืองไทย ด้วยการค้ำประกันที่อยู่อาศัยแก่คนยากไร้ ด้วยเงินจำนวนมาก ด้วยเกรงว่า

เขาเหล่านั้น หากไม่มีที่อยู่อาศัยที่เป็นปัจจัยยั่งชีพเสียแล้ว ก็อาจกลายไปเป็นอาชญากรหรือโสเภณี

ตามเมืองใหญ่ (โอ้! อ่านเท่านี้จำต้องรีบซื้อเป็นการตอบแทนคุณเสียแล้ว)



หลายคนคงตั้งคำถามถึงการรับมือโรคร้ายที่กำลังคร่าชีวิตเขาไปจากครอบครัวที่น่ารัก

อันประกอบด้วย ลูกชายวัยซน2คนกับ เด็กผู้หญิงวัยกำลังแบบเบาะน่ารักอีกหนึ่ง

พี่เพาช์ไม่ได้ตอบคำถามนี้ตรงๆ แต่ยังคงหยิบยกคำสอนของพ่อกับแม่สุดเลิฟของเขา

ที่สอนไว้อยู่เสมอ



"ชีวิตก็เหมือนกับการเล่นไพ่ เราไม่สามารถเปลี่ยนไพ่ที่เพิ่งจั่วอยู่ในมือได้ เราทำได้เพียง

แต่เล่นไพ่ในมือไว้อย่างดีที่สุด"

"ครั้งนี้ผมระทมทุกข์อย่างมากกับปัญหาวิทยานิพนธ์ที่เลวร้ายรองลงมาจากการที่รู้ว่าตน

กำลังเป็นมะเร็ง แม่ของผมเข้ามาตบบ่าผมเบาๆและพูดว่า-ตอนพ่ออายุเท่าลูก ท่านกำลัง

รบเอาเป็นเอาตายกับทหารเยอรมันอยู่"



Last Lecture จึงเป็นหนังสือขายดีที่ดีพอให้ควรขายได้ หนังสือที่ให้เราย้อนในวัยเด็ก

ว่าเคยมีความใฝ่ฝัน แล้วยังคงปรารถนาให้มันยังควรจะกลายเป็นจริงอยู่อีกไหม

ถ้าไม่ได้เป้นจริงเสียแล้ว เรายังมองเห็นคุณค่าในปัจจุบันที่เรายังคงมีและยังหายใจเป็นปกติสุขได้อยู่

หันให้มองหาความรักแก่คนที่คุณรัก และคนที่ไม่ได้รักเรา ว่าควรแสดงออกในความรักที่เรามีอย่างไร

ชีวิตที่ก้าวเดินย่ำตลอดทั้งชีวิต ย่อมมีช่วงที่อ่อนล้า คึกคัก ลัดเลาะและหยุดเดิน ทุกรอยก้าวยังมีความหมายในใจ

เราอยู่รึไม่

แม้ปาฐกถาครั้งยิ่งใหญ่ของพี่เพาช์จะจบลง ด้วยชีวิตของผู้ปาฐกถาที่จากไป

แต่สิ่งหนึ่งของทั้งชีวิตที่พี่เพาช์ได้สร้างไว้ ได้รับการจารึกและพูดถึงอยู่ต่อไปไม่รู้จบ

พร้อมด้วยโรคร้ายที่อาจไม่ร้ายเท่ากับสิ่งที่มนุษย์ด้วยกันกระทำแก่กันและกันอย่างไร้มนุษยธรรม


เหมือนที่อาร์มสตรองเคยนิยามศัพท์ที่เขาบัญญัติคำว่า CANCER ว่า
C=Courage
A=Attitude
N=Never Give Up
C=Curability
E=Enlightenment
R=Remembrance

ขอบคุณสำหรับท่านxanaxสำหรับตรงจุดนี้

















Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 1 มีนาคม 2552 12:26:39 น. 6 comments
Counter : 852 Pageviews.

 
คุณชาญ...อ่านจบแล้ว เคยดู last lecture ที่ Youtube รึยังคะ...
ลองไปหาดูซิ...ต้นฉบับแบบแท้ๆ เลยนะเนี่ย

เรายังไม่ได้อ่านเล่มนี้เลย...ได้แต่บอกตัวเองไว้ว่า
เล่มนี้จะซื้อมาอ่าน...แน่ๆ ....


โดย: นัทธ์ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:23:06:04 น.  

 
เล่มนี้ยังไม่เคยอ่านเลยค่ะ แต่เห็นในร้านหนังสือบ่อย ๆ อ่านรีวิวแล้วน่าสนใจ เห็นมีคนรีวิวเล่มนี้อยู่บ่อย ๆ แสดงว่าหนังสือเล่มนี้ต้องดีแน่นอน ไว้มีโอกาสจะหามาอ่านบ้างค่ะ


โดย: payun-sai วันที่: 3 มีนาคม 2552 เวลา:8:52:21 น.  

 
เล่าได้ยาวจัง สักวันคงได้เป็นพิธีกรเองมั่งแน่ๆเลย เราไม่ค่อยมีเวลาอ่านหนังสือเลยอ่ะ


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:5:36:31 น.  

 
อ่านแล้วก็ยิ่งรู้สึกว่า เสียดายที่ไม่ได้ซื้อหนังสือเล่มนี้มาค่ะ แหะๆ

คราวหน้าๆ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:16:22:56 น.  

 
กำลังอยากอ่านพอดี...


โดย: กิ่งกระเด้ง (lovelyging ) วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:13:21:24 น.  

 
Last Lecture แม้Lecturerก็หาไม่ replica bags
replica bags //www.itbagonline.com


โดย: replica bags IP: 192.99.14.36 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:16:39:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.