* * * * เพลงชาติ * * * * บล็อกที่ 863










* เพลงชาติ *




2
Uruguay Flag







เพลงชาติอุรุกวัย เป็นเพลงชาติที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวห้องเสียง 105 บาร์ เรียบเรียงทำนองโดย ฟรันซิสโก โคเซ เดบาลี ประพันธ์คำร้องโดย ฟรันซิสโก อาร์กูญา เด ฟิกเกโร ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1848 (2391) อนึ่ง ฟรันซิสโก อาร์กูญา เด ฟิกเกโร เป็นผู้ประพันธ์คำร้องและเรียบเรียงทำนองเพลงชาติปารากวัยอีกด้วย




#1 Himno Nacional de Uruguay ความยาว 4.34 นาที









3
Mexico Flag







4
Netherlands Flag








เพลงชาติใด เก่าแก่ที่สุดในโลก? คำถามนี้ ยากจะตอบ เพราะหลายเพลงชาติไม่อาจระบุวันเดือนปีของการถือกำเนิดของเพลงชาติของตนได้แน่ชัด คืออาจจะเกิดเพลงขึ้นมาตามความนิยมของคนในประเทศก่อน ซึ่งคนในประเทศรู้จักกันดี ร้องเพลงนั้นได้ แต่มาประกาศใช้เป็นเพลงชาติในภายหลัง หรือบางเพลงชาติ ทำนองสร้างขึ้นมาก่อนคำร้อง ตอนนั้นยังไม่ใช่เพลงชาติ และบางเพลงชาติ คำร้องหรือบทกลอน เขียนขึ้นมาก่อนทำนอง ตอนนั้นยังไม่ใช่เพลงชาติ ไม่ได้เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ทำให้เปรียบเทียบกับเพลงชาติทั่วไปได้ยาก




บางเอกสารบอกว่า เพลงชาติเนเธอร์แลนด์ ‘Wilhelmus’ เก่าแก่ที่สุด แม้คำร้องจะไม่เก่าแก่เท่า เพลงชาติญี่ปุ่น ซึ่งคำร้องของเพลงชาติญี่ปุ่นนำมาจากบทกวีสั้น ที่ไม่ทราบชื่อผู้เขียน เขียนขึ้นเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.800 เศษ (ประมาณ 1,000 ปีเศษที่แล้ว) และแม้จะประกาศว่า เป็นเพลงชาติเนเธอร์แลนด์เมื่อปี ค.ศ.1932 (2475) แต่เพราะเป็นเพลงชาติที่บางเมืองของประเทศเนเธอร์แลนด์ขับร้องมา ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1574 (2117) จึงอาจถือได้ว่าเป็นเพลงชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็ได้





เพลงชาติฝรั่งเศส ชื่อเพลง ‘ลามาร์แซแยซ’ (La Marseillaise) แปลว่า ‘เพลงแห่งเมืองมาร์แซย์’ ก็เป็นเพลงชาติที่เก่าแก่อีกเพลงหนึ่ง ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย โกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล เมื่อปี ค.ศ.1792 (2335) ที่เมืองสทราซบูร์ ในแคว้นอาลซัส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า ‘Chant de guerre de l'Armée du Rhin’ แปลว่า ‘เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์’ เดอ ลีล ผู้ประพันธ์คำร้องและทำนอง โดยได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย ซึ่งเดิมทีแคว้นนี้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส แต่ปัจจุบันแคว้นนี้อยู่ในประเทศเยอรมนี คือ จอมพลนีกอลา ลุคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์แซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส




ปี ค.ศ.1795 (2338) สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ได้ประกาศรับรองให้เพลง ‘ลามาร์แซแยซ’ เป็นเพลงชาติฝรั่งเศส แต่เพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1, พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 จนเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี ค.ศ.1879 (2422)




เกี่ยวกับประเทศไทย เพลง ‘ลามาร์แซแยซ’ ได้เป็นแรงบันดาลใจให้คณะราษฏร คิดเพลงชาติขึ้นใหม่ในช่วงการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และมีการนำทำนองของเพลงนี้ไปใช้ในเพลงมาร์ช ‘มาร์ช ม.ธ.ก.’ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ.2490 ประพันธ์โดย ทวีป วรดิลก และเพลง ‘มาร์ชลาดยาว’ เมื่อปีพ.ศ.2503 - 2505 ประพันธ์โดย จิตร ภูมิศักดิ์




5
France Flag







#2 Long version of La Marseillaise ความยาว 4.41 นาที


เพลงชาติฝรั่งเศสที่ใช้กันโดยทั่วไป จะใช้เพียงบทแรกกับช่วงฮุค รวมความยาวประมาณ 1.25 นาที













6
Australia Flag







7
New Zealand Flag







8
United Kingdom Flag








เพลงชาติหนึ่งที่ได้ยินกันดีทั่วโลก คือเพลง ‘God Save the Queen’ (พระเจ้าคุ้มครององค์ราชินี) เป็นเพลงชาติ เพลงปลุกใจ และเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศสหราชอาณาจักร เพลงนี้ใช้เป็นหนึ่งในสองเพลงชาติของประเทศนิวซีแลนด์ ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ ในเครือจักรภพ ทั้งยังใช้เป็นเพลงคำนับสำหรับพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์อังกฤษด้วย หากประมุขทรงเป็นพระมหากษัตริย์ จะใช้ชื่อเพลงว่า ‘ก็อดเซฟเดอะคิง’ (จะเปลี่ยนเนื้อร้องสองวรรคสุดท้ายในบทที่ 3 เป็น "With heart and voice to sing, God Save the King") แต่ถ้าพระราชินีทรงเป็นประมุขก็จะใช้ชื่อเพลงว่า ‘ก็อดเซฟเดอะควีน’




เพลง ‘God Save the Queen’ ทำนองต้นฉบับ ไม่ทราบผู้แต่ง คำร้องต้นฉบับ ไม่ทราบผู้แต่ง และมีคำร้องหลายคำร้อง โดยไม่มีคำร้องใดถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอนว่า เป็นฉบับทางการ มีเพียงบางคำร้องถูกยึดถือว่าเป็นคำร้องสำนวนมาตรฐาน




9
United Kingdom Flag







#3 God Save the Queen ความยาว 2.49 นาที









10
ธงไตรรงค์ ธงชาติไทย







เพลงชาติไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อปี พ.ศ. 2475 ประพันธ์คำร้องฉบับแรกสุดโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เมื่อปี พ.ศ. 2475 ต่อมาได้มีการแก้ไขคำร้องอีกหลายครั้ง และได้เปลี่ยนมาใช้คำร้องฉบับปัจจุบัน ซึ่งพันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) เป็นผู้ประพันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2482




#4 เพลงชาติไทย ความยาว 1.03 นาที








11
ธงไตรรงค์ ธงชาติไทย














เพลงชาติ เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้นๆ อย่างเป็นทางการ หรือด้วยความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน




ในหนังสือ ‘เพลงชาติ’ โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ



1. สามารถแสดงถึงความเป็นชาติของประชาชนในชาตินั้นๆ ได้



2. สามารถแสดงถึงฐานะทางการเมืองว่า เป็นประเทศที่มีเอกราช ไม่ขึ้นแก่ใคร



3. เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายประจำชาติ



4. เป็นกลิ่นไอทางศิลปวัฒนธรรมของประชาชนในกลุ่มชนชาตินั้นๆ




เพลงชาติ มักถูกนำมาใช้ขับร้องหรือบรรเลงในงานพิธีการ เทศกาลสำคัญของชาติทั่วประเทศ และมีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมกีฬาอย่างใกล้ชิด ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั้นจะมีการบรรเลงเพลงชาติเป็นเกียรติแก่ผู้ชนะเลิศและได้รับเหรียญทองในพิธีมอบเหรียญรางวัล และยังใช้บรรเลงก่อนเริ่มการแข่งขันกีฬาด้วย ในบางประเทศจะมีการขับร้องเพลงชาติก่อนเข้าเรียนเพื่อฝึกหัดให้นักเรียนเกิดความคิดรักชาติ ในบางประเทศจะมีการบรรเลงเพลงชาติก่อนการเล่นหรือก่อนการแสดงมหรสพต่างๆ สำหรับประเทศไทยจะบรรเลงเพลงชาติเพื่อการเคารพธงชาติในเวลา 8.00 น. และ 18.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาและชักธงชาติลงจากยอดเสาของทุกวัน และใช้เป็นสัญญาณบอกเมื่อมีการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยทุกวัน




ส่วนใหญ่เพลงชาติของเกือบทุกประเทศ จะมีคำร้องประกอบทำนอง ยกเว้นเพลงชาติ สเปน บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นต้น ที่ไม่มีการใช้คำร้องฉบับทางการ




ในบรรดาเพลงชาติที่มีคำร้องนั้น มีอยู่จำนวนหนึ่งเป็นผลงานของนักเขียนรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม เช่น เพลงชาติอินเดีย ‘Jana Gana Mana’ (ชนะ คณะ มนะ) ผลงานของ รพินทรนาถ ฐากูร เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ.1913 (2456) เป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล รพินทรนาถ ฐากูร ประพันธ์คำร้องเพลงชาติอินเดีย เมื่อ ปี ค.ศ.1911 (2454) รัฐบาลอินเดียนำมาใช้เป็นเพลงชาติเมื่อ ปีค.ศ.1950 (2493) บทประพันธ์เดิมเป็นภาษาเบงกาลี แต่ขับร้องในฐานะเพลงชาติด้วยภาษาฮินดี .. เพลงชาติบังคลาเทศ ‘Amar Shonar Bangla’ ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของ รพินทรนาถ ฐากูร ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1906 (2449) รัฐบาลบังคลาเทศนำมาใช้เป็นเพลงชาติเมื่อ ปี ค.ศ.1972 (2515) และ เพลงชาตินอรเวย์ ‘Ja, vi elsker dette landet’ (ใช่แล้ว เรารักแผ่นดินนี้) ประพันธ์ขึ้นโดย บียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สัน เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ปี ค.ศ.1903 (2446) คำร้องเป็นผลงานการประพันธ์ของ บียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สัน ในระหว่าง ค.ศ.1859-1868 ริคาร์ด นอร์ราค ผู้เป็นญาติของบียอร์สัน ประพันธ์ทำนอง เมื่อปี ค.ศ.1864 (2407) เพลงนี้ได้ทำการบรรเลงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ.1864 (2407) เนื่องในวาระครบ 50 ปี ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ เพลงชาตินอรเวย์โดยปกตินิยมขับร้องเฉพาะบทร้องแรกและสองบทสุดท้ายจากบทร้องทั้งหมด 8 บท





12
Bangladesh Flag







13
Bahrain Flag







14
Norway Flag







15
Finland Flag







16
Belgium Flag







17
Germany Flag







18
Argentina Flag







19
American Flag








เพลงชาติสหรัฐอเมริกามีชื่อเรียกว่า ‘The Star-Spangled Banner’ (ธงดาราอันแพรวพราว) คำร้องของเพลงนี้ เป็นคำประพันธ์ของ ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1814 (2357) ในตอนนั้นเขาอายุ 35 ปี และเป็นนักประพันธ์สมัครเล่น โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์การยิงถล่มป้อมแมกเฮนรี ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ โดยเรือรบของกองทัพเรืออังกฤษ ที่อ่าว Chesapeake Bay ระหว่างสงครามปี ค.ศ.1802 (2345) .. ทำนองของเพลงนำมาจากเพลงอังกฤษ ชื่อเพลง The Anacreontic Song ที่ประพันธ์โดย John Stafford Smith เมื่อ ปี ค.ศ.1780 (2323) .. เพลง ‘The Star-Spangled Banner’ นิยมใช้อย่างเป็นทางการในกองทัพเรือสหรัฐก่อน คือเมื่อ ปี ค.ศ.1889 (2432) และต่อมา สภาคองเกรสสหรัฐ ในสมัยประธานาธิบดี Herbert Hoover จึงมีมติให้เป็นเพลงชาติสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1931 (2474)




20
American Flag







#5 The Star Spangled Banner ความยาว 1.59 นาที









21
China Flag







เพลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อว่า ‘March of the Volunteers’ มาร์ชทหารอาสา (จีนตัวเต็ม: 義勇軍進行曲; จีนตัวย่อ: 义勇军进行曲; พินอิน: Yìyǒngjūn Jìnxíngqǔ อ่านว่า อี่หย่งจินจิ้นสิงชวี) เดิมเป็นบทเพลงปลุกใจซึ่งประพันธ์คำร้องโดย เถียน ฮั่น ปี ค.ศ.1934 (2477) ประพันธ์ทำนองโดย เนี้ย เอ่อร์ เมื่อ ปี ค.ศ.1935 (2478) ตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยที่จีนยังปกครองโดย รัฐบาลสาธารณรัฐจีนภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง ขณะนั้นการเมืองภายในจีนกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก จากการแบ่งเป็นก๊ก เป็นเหล่าต่างๆ และเผชิญหน้ากับการรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วย




เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน สามารถปฏิวัติและสถาปนารัฐจีนใหม่ได้สำเร็จใน ปี ค.ศ. 1949 (2492) รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ใช้เพลงมาร์ชทหารอาสา เป็นเพลงชาติตลอดมา แม้ว่าในสมัยหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อร้องเพลงนี้ก็ตาม แต่เนื้อร้องเดิมก็ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า ภายหลังรัฐบาลจีนจึงนำเนื้อร้องเดิมที่ เถึยนฮั่น ประพันธ์ไว้ ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติจีนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งตราบจนทุกวันนี้




#6 China National anthem ความยาว 1.28 นาที














22
Russian Flag







เพลงชาติรัสเซีย หรือชื่อที่เป็นทางการคือ เพลงสรรเสริญสหพันธรัฐรัสเซีย ได้รับการดัดแปลงทำนองและคำร้องมาจากเพลงชาติสหภาพโซเวียต เพลงที่ได้รับการดัดแปลงนี้ประพันธ์ทำนองโดย อเล็กซันเดอร์ อเล็กซันดรอฟ และประพันธ์คำร้องโดย เซียร์เกย์ มิคาลคอฟ




ด้วยรัสเซียมองหาเพลงชาติใหม่ใน ค.ศ. 1990 (2533) เพื่อเริ่มต้นใหม่หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เพลง ‘ปาทริโอติเชสกายา เปสนยา’ ที่ไม่มีเนื้อร้อง ประพันธ์โดย มิฮาอิล กลินคา ซึ่งรับมาอย่างเป็นทางการ ใน ค.ศ. 1990 (2533) โดยสภาโซเวียตสูงสุดแห่งรัสเซีย และโดยประธานาธิบดีรัสเซีย บอริส เยลต์ซิน ไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจแก่นักกีฬารัสเซียในการแข่งขันระหว่างประเทศได้ ทำให้ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน รื้อฟื้นเพลงชาติโซเวียตขึ้น โดยรัฐบาลสนับสนุนการประกวดเนื้อร้อง กระทั่งไปลงตัวที่ผลงานการประพันธ์ของ เซียร์เกย์ มิคาลคอฟ ตามข้อมูลของรัฐบาล คำร้องเพลงนี้ถูกเลือกเพื่อทำให้ระลึกถึงและสรรเสริญประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมรัสเซีย เพลงชาติรัสเซียใหม่ได้ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2000 (2543)




#7 Russia National anthem ความยาว 3.51 นาที













23
Spanish Flag







24
Portugal Flag







25
Mongolia Flag







26
Morocco Flag







27
North Korea Flag







28
Pakistan Flag







29
Malaysia Flag







30
Philiphine Flag








31
Brazil Flag







32
Bhutan Flag







33
Canada Flag







34
Cambodia Flag







35
Switzerland Flag







36
Greece Flag







37
Japan Flag








เพลงชาติญี่ปุ่น ชื่อเพลง ‘คิมิงะโยะ’ Kimigayo อาจนับได้ว่าเป็น เพลงชาติที่สั้นที่สุดในโลก คือมีความยาวห้องเสียงเพียง 11 บาร์ มีตัวโน้ตเพียง 40 ตัว คำร้องมาจากบทกลอนประเภทวะกะ ในยุคเฮอังของญี่ปุ่น (ระหว่างปี ค.ศ. 794 - 1185) ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ใดแต่งไว้ ปรากฏอยู่ในหนังสือ ‘โคะคินวะกะชู’ หรือ ‘ประชุมบทร้อยกรองแบบวะกะ’ ทำนองเพลงประพันธ์ขึ้นใหม่เมื่อปี ค.ศ. 1880 โดย โยะชิอิสะ โอกุ อะกิโมะริ ฮะยะชิ กับ ฟรานซ์ เอ็คเคิร์ต .. สำหรับทำนองแรกเริ่ม ประพันธ์โดย จอห์น วิลเลียม เฟนตัน ผู้นำวงโยธวาทิตชาวไอริชเมื่อ ปี ค.ศ.1869 แต่ภายหลังราชสำนักญี่ปุ่น บอกว่ายังขาดความเคร่งขรึม จึงให้มีการสร้างทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ เมื่อปี ค.ศ.1880 (2423) และทำนองเพลงใหม่ก็มีการใช้เป็นเพลงชาติญี่ปุ่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเพลง ‘คิมิงะโยะ’ จะเป็นเพลงชาติญี่ปุ่นโดยพฤตินัยมานาน แต่การรับรองฐานะทางกฎหมายเพิ่งจะมีขึ้นในปี ค.ศ. 1999 (2542) จากการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยธงชาติและเพลงชาติของญี่ปุ่น




คำร้อง เพลง ‘Kimigayo’ เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษ




May Japan’s reign


Last for ten thousand year,


Until the pebbles


Grow into boulders


Lush with moss





คำร้อง เพลง ‘Kimigayo’ เมื่อแปลเป็นภาษาไทย




ขอพระองค์


ทรงพระชนม์ยั้งหมื่นปี


ตราบเมล็ดกรวด


ก่อเป็นภูผา


ปกด้วยตะไคร่





#8 Kimigayo ความยาว 2.26 นาที













38
Ireland Flag







39
Italy Flag








เพลงชาติอิตาลี ชื่อเพลง ‘Il Canto degli Italiani’ (เพลงแห่งชาวอิตาลี) เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวอิตาลีในอีก 2 ชื่อ คือ ‘Inno di Mameli’ (เพลงสรรเสริญของมาเมลี) เรียกตามชื่อผู้ประพันธ์ กับชื่อ ‘Fratelli d'Italia’ (พี่น้องชาวอิตาลีทั้งหลาย) เรียกตามบทร้องวรรคแรกของเพลง .. คำร้องของเพลงชาติอิตาลีประพันธ์โดย กอฟเฟรโด มาเมลี (Goffredo Mameli) ขณะที่เขาอายุ 20 ปีและเป็นนักศึกษาชาวเจนัว ประพันธ์ขึ้นที่เมืองเจนัว ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1847 (2390) ท่ามกลางบรรยากาศการต่อสู้ของประชาชนเพื่อการรวมชาติ และการทำสงครามปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย อีกสองเดือนต่อมา มีเกเล โนวาโร (Michele Novaro) ซึ่งเป็นชาวเจนัวเช่นกัน ได้ประพันธ์ทำนองสำหรับบทร้องของมาเมลี ขึ้นที่เมืองโตริโน เพลงดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากชาวอิตาลีในยุคของการรวมชาติ




หลังการรวมชาติอิตาลีสำเร็จในปี ค.ศ. 1861 (2404) เพลงที่ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติอิตาลี กลับไม่ใช่เพลง ‘Il Canto degli Italiani’ แต่เป็นเพลง ‘Marcia Reale d'Ordinanza’ (เพลงมาร์ชหลวงตามพระราชโองการ) ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญประจำราชวงศ์ซาวอย อันเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์ผู้ปกครองอิตาลี หลังยุคการรวมชาติ และได้ใช้เป็นเพลงชาติอิตาลีจนถึงปี ค.ศ. 1946 (2489) เมื่ออิตาลีมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยยกเลิกระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐขึ้น เพลง ‘Il Canto degli Italiani’ ได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐอิตาลี เป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1946 (2489) และอีก 59 ปีต่อมา จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 (2548)




#9 Italian National anthem ความยาว 1.37 นาที













40
India Flag







เพลงชาติอินเดีย ชื่อเพลง ‘Jana Gana Mana’ ‘ชนะ คณะ มนะ’ (เบงกาลี: জন গণ মন, Jôno Gôno Mono; แปลว่า ดวงมนแห่งชนผอง) เป็นเพลงที่ทั้งประพันธ์คำร้อง(ภาษาเบงกาลี) และประพันธ์ทำนองโดย รพินทรนาถ ฐากูร เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจำปี ค.ศ.1913 (2456) เป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.1911 (2454) รัฐบาลอินเดียนำมาใช้เป็นเพลงชาติ ขับร้องด้วยภาษาฮินดี เมื่อปี ค.ศ.1950 (2493) การบรรเลงเพลงชาติอินเดียแบบเต็มเพลงเป็นทางการ จะใช้เวลา 52 วินาที การบรรเลงแบบสังเขป จะใช้เวลา 20 วินาที โดยตัดเอาโน้ตท่อนแรกและท่อนสุดท้ายมาบรรเลง .. รพินทรนาถ ฐากูรได้แปลเพลงชาติจากภาษาเบงกาลีไปเป็นภาษาอังกฤษด้วยตนเอง บทแปลเพลงภาษาอังกฤษยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน




41
India Flag







รัฐบาลอินเดีย โดยกระทรวงวัฒนธรรม เยาวชน และกีฬา มอบหมายให้ เอ. อาร์. ราห์แมน นำเพลงนี้มาเรียบเรียงทำนองใหม่ เพื่อเฉลิมฉลองเอกราชของประเทศอินเดียครบรอบ 50 ปี ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์อินเดียในปี ค.ศ. 2000 (2543) มีนักร้องและนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของอินเดียจำนวน 35 คนมาร่วมทำงานครั้งนี้




#10 India National anthem ความยาว 1.52 นาที













42
Image Srilanka Flag on Face







บล็อกวันนี้ยาวมาก ทำจนเหนื่อย แต่จขบ.ทำบล็อกอย่างมีความสุข ตั้งใจจะรวบรวมสาระประโยชน์ให้กับผู้สนใจอ่าน


จาก สิน yyswim






Create Date : 09 มีนาคม 2555
Last Update : 9 มีนาคม 2555 0:57:04 น.
Counter : 19646 Pageviews.

14 comments
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ…วางแผนการเงินอย่างไร ให้เหลือใช้ถึงปลายเดือน! สมาชิกหมายเลข 7654336
(13 เม.ย. 2567 02:04:45 น.)
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)
  
สวัสดีค่ะพี่สิน..

แวะมาอ่านเพลงชาติด้วยคนค่ะ..

ทำไมธงชาติ มีอยู่3-4สีเท่านั้นนะค่ะ

แดง ขาว น้ำเงิน เห็นสีดำและสีเหลืองนิดหน่อยง่ะ..!

โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:1:58:43 น.
  


บางเรื่อง ที่อาจจะไม่รู้


1. ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ (ธงไตรรงค์)

//www.mrta.co.th/main/thai_.htm


2. ความหมายของสี ในธงชาติต่างๆ ของชาติอาเซี่ยน

//www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/06.html




โดย: yyswim วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:12:08:01 น.
  


ขอบคุณคุณอ้อมแอ้ม --- เกร็ดเกี่ยวกับธงชาติ มีดังนี้


ธงชาติเดนมาร์ก เป็นธงราชการที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน


ธงชาติเนปาล เป็นธงชาติเพียงธงเดียวในโลกที่ไม่ได้เป็นรูปสี่เหลี่ยม


ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ และธงชาตินครรัฐวาติกัน เป็นธงที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส


ลักษณะพิเศษของธงชาติฟิลิปปินส์ คือ เมื่อชักธงกลับด้านเอาแถบสีแดงขึ้นข้างบนแทนแถบสีน้ำเงิน หมายความว่าประเทศฟิลิปปินส์อยูในภาวะสงคราม



สีต่างๆ ที่นิยมใช้ในธงชาติทั่วโลกมีดังนี้:


สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน นิยมใช้ในหมู่ประเทศยุโรป และชาติตะวันตกอื่นๆ


สีแดง สีเหลือง และสีเขียว นิยมใช้ในกลุ่มประเทศในทวีปแอพริกา


สีแดง สีขาว สีดำ และสีเขียว นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามในแถบตะวันออกกลาง



ธงชาติลิเบีย เป็นธงชาติเพียงชาติเดียว ที่ใช้สีพื้นเพียงหนึ่งสี คือ สีเขียว


ธงชาติโมซัมบิก เป็นธงชาติเพียงชาติเดียว ที่มีรูปอาวุธปืนอยู่บนธง (ปืนเอเค 47)


ธงชาติที่แสดงรูปแผนที่ของประเทศตนเองในผืนธง ได้แก่ ธงชาติไซปรัส ธงชาติคอซอวอ ธงหมู่เกาะคริสต์มาส เป็นต้น




โดย: yyswim วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:12:18:59 น.
  


สีของธงชาติทั่วโลก



โดย: yyswim วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:12:32:44 น.
  

ถ้าเล่นทายะงชาติอะไร ของประเทศอะไร คงทายผิดเยอะเลยค่ะ



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:15:02:06 น.
  
ขอเป็นกำลังใจให้พี่สินในการทำบล็อกคุณภาพนะคะ

ธงชาติไตรรงค์ไทยเรา

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ของเรามีความยั่งยืนมาแต่ไหนแต่ไรแล้วค่ะ
เพลงชาิติ ร้องมาชั่วชีวิตยังไงก็ไม่มีทางลืมเนื้อร้อง

แต่กับเพลงอื่นๆ ร้องไม่กี่ปีก็ลืมแล้ว

โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:21:56:53 น.
  





ดื่มกาแฟไม่ใส่น้ำตาลเพื่อสุขภาพค่ะ

อ่านแล้วได้รับความรู้มากมาย โหวตให้ด้วยค่ะ
โดย: พรไม้หอม วันที่: 10 มีนาคม 2555 เวลา:12:17:44 น.
  

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

นอกจากเพลงชาติไทยของเรตาแล้ว เพลงชาติที่ได้ยินบ่อยที่สุดจนเกือบจะร้องได้แล้วน่าจะเป็นเพลงชาติของสหรัฐอเมริกาครับ

อิอิ
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:1:47:14 น.
  
สวัสดีค่ะ

เอาขนมมาฝากค่ะ กินกับกาแฟนะคะ

โดย: พรไม้หอม วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:11:02:11 น.
  
โดย: โสมรัศมี วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:12:40:29 น.
  
บางเพลงพอจะเคยได้ยินมาบ้างครับ แต่บางเพลงก็เพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกเหมือนกัน เพลงชาติไม่ว่าจะเป็นของชาติไหนก็ล้วนแล้วแต่สัมผัสได้ถึงพลังที่อยู่ในเพลง แม้ว่าเราจะฟังไม่ออกก็ตาม
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:14:15:10 น.
  
นาลโส วินฺทเต สุขํ
คนเกียจคร้าน ย่อมไม่ได้ประสบสุข

ดำเนินชีวิตด้วยความขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่ถูกที่ควร ตลอดไป...นะคะ



ป.ล. วันนี้ ปอป้ามีหนังสือดีมาแจก
ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่บล๊อก...นะคะ

โดย: พรหมญาณี วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:14:21:26 น.
  
สุดยอดอีกแล้วพี่สิน

เป็นการเรียบเรียงความรู้เรื่องเพลงชาติ และโชว์ผืนธงชาติที่น่าชมที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา เอีะ ไม่เคยเห็นมาน่าจะถูก

ชอบธงชาติเยอรมันที่สุดอะ ไม่รู้เป็นไง ดูแล้วดูอีก จ้องแล้วจ้องอีก 5555

เอาะ ปล.จากบล็อกผมครับ เรื่องกระเด็นกระดอน กระดอนกระเด็น
พี่แนะนำว่าคำถูกควรเป็นกระเด้ง ผมลองถามผู้รู้ได้รับคำแนะนำดังนี้ครับ กระเด้ง กับ กระเด็นใช้แทนกันได้ แต่นิยมกระเด้งมากกว่า แต่เมื่อจะมีกระดอนตามหลังไม่ค่อยปรากฏจะนิยมต่อท้ายกระเด้ง เท่าที่เห็นจะต่อหลังกระเด็นมากกว่าครับ เลยงงเลยคงเอาไว้ก่อนดีกว่า พี่สินมีคำแนะนำเพิ่มเติมมั้ยครับ ^^
โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:19:02:32 น.
  
แวะมาฟังเพลงชาติหลายๆชาติค่ะ..

ได้ความรู้ที่ไม่เคยรู้อีกเช่นเคย ขอบคุณพี่สินมากๆค่าาา..
โดย: ป้าโซ วันที่: 12 มีนาคม 2555 เวลา:17:17:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Yyswim.BlogGang.com

yyswim
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]

บทความทั้งหมด