บพข. กองทุน ววน. MOU 22 องค์กร ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ท่องเที่ยวไทยด้วยรถไฟ

บพข. กองทุน ววน. เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมมือ รฟท. มรภ.ลำปาง และภาคีเครือข่ายรวม 22 หน่วยงาน ลงนาม MOU ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการท่องเที่ยวไทยบนเส้นทางรถไฟ
 
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัยระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายรวม 22 หน่วยงาน

ทั้งนี้เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แผนงานวิจัย “การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ - ลำปางไปยังพิษณุโลก)” ที่สนับสนุนทุนวิจัยโดย บพข. กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ผ่านช่องทางระบบออนไลน์ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า บพข. เป็นองค์กรที่บริหารจัดการทุนวิจัยพัฒนา และบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อเร่งการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างผลิตภัณฑ์และมูลค่าสูงสู่เชิงพาณิชย์ โดยมุ่งเน้นการยกระดับผู้ประกอบการ อุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของบริหารจัดการแผนงานวิจัยการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 จวบจนปัจจุบัน บพข.มุ่งขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยเส้นทางรถไฟนี้ นับว่าเป็นผลงานที่มีศักยภาพสอดคล้องกับนโยบายการท่องเที่ยวมูลค่าสูงของประเทศเป็นอย่างมาก รวมถึงครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาการ วิจัยและพัฒนา ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ด้วยการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปี บพข. ได้มีแผนการส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวทางรถไฟเชิงสร้างสรรค์ขยายไปทั่วประเทศผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ 4 แห่งร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยครอบคลุม 4 ภูมิภาคในปี 2567 ดังนี้

1) เส้นทางภาคเหนือ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในเส้นทาง (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกและ สุโขทัย) แผนงานวิจัย “การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ผ่านการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือ ต่อส่วนขยายไปยัง (เชียงใหม่ - ลำปาง ไปยัง สวรรคโลก)" 
2) เส้นทางภาคใต้ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในเส้นทาง (สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช) แผนงานวิจัย “การเชื่อมโยง การท่องเทียวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟในเส้นทางศักยภาพของภาคใต้บนฐานอัตลักษณ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หาดใหญ่ - สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราชและตรัง)”

3) เส้นทางภาคอีสานตอนบน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในเส้นทาง (ขอนแก่น อุดรธานีและหนองคาย) แผนงานวิจัย “การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้างมูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงในเส้นทางอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย)"

4) เส้นทางภาคอีสานตอนล่าง โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในเส้นทาง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี) แผนงานวิจัย “การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้าง มูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรมและความเชื่อในเส้นทางอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี)"
ทั้งนี้ “สกสว. และ บพข.เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศ ในการจัดทำแผนพัฒนาการวิจัย บริหารจัดสรรงบประมาณการวิจัย รวมทั้ง มีระบบติดตามการใช้ประโยชน์จากการวิจัย จึงได้จัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 สนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์/เชิงสาธารณประโยชน์ หรือ Research Utilization : RU เพื่อเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยรถไฟของประเทศไทย จำนวน 25 ล้านบาท 

คาดการณ์ไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวร่วมเดินทางแสวงหาประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรถไฟ ราว 5,000 คน ใน 19 จังหวัดเป้าหมายทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสานตอนบนและตอนล่าง มีมูลการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นราว 475 ล้าน ภายในปี 2570 หรือ เฉลี่ยจังหวัดละ 25 ล้านบาท”

โดยความร่วมมือของ 22 หน่วยงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 2.สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 4.การรถไฟแห่งประเทศไทย 5.จังหวัดลำปาง 6.จังหวัดลำพูน 7.จังหวัดเชียงใหม่ 8.จังหวัดแพร่9.จังหวัดอุตรดิตถ์ 10.จังหวัดพิษณุโลก
11.กรมการท่องเที่ยว 12.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำปาง 13.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน 14.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ 15.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแพร่ 16.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์ 17.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพิษณุโลก 18. ตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง (ผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5) 19.ตำรวจภูธรภาค 6 20.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 21.มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 22.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



Create Date : 08 สิงหาคม 2566
Last Update : 8 สิงหาคม 2566 19:59:11 น.
Counter : 680 Pageviews.

0 comments
»FFF#94« "กินเพลินเกินห้ามใจ" ขนมปังคีโตฯ สูตรบ้านคุณแม่ตุรกี nonnoiGiwGiw
(19 เม.ย. 2567 14:29:33 น.)
สงกรานต์หรรษา จันทราน็อคเทิร์น
(18 เม.ย. 2567 11:24:41 น.)
The Proud Exclusive Hotel นครปฐม ที่พักทันสมัยใจกลางเมือง แมวเซาผู้น่าสงสาร
(17 เม.ย. 2567 09:22:45 น.)
春和歌山市 : My First Hanami @ Wakayama Castle mariabamboo
(16 เม.ย. 2567 12:49:02 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tathaitravel.BlogGang.com

travelistaนักเดินทาง
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด