[สารบัญ] [อ่านเรื่องอื่น]
นำมา
(เพียงส่วนหนึ่ง)จากบทความ เรื่อง
Demagogue ของ
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตีพิมพ์ใน
มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1358
...น่าสนใจมากเลยครับที่ดิคชันนารี "พูดได้" ของผมแปลคำ
demagogue ว่า
"ผู้นำฝูงชน, ผู้ที่ตั้งตัวเป็นหัวหน้าคนโดยวิธีล่อหลอก, นักกวนเมือง, ผู้ปลุกระดม, นักการเมืองที่ปลุกปั่นประชาชน"ไม่มีใครที่อยู่ในอำนาจจะเป็น demagogue ได้เลย แม้แต่คนที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจแต่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจให้ใช้สื่อสาธารณะ เช่น คุณสมัคร สุนทรเวช ก็ดูไม่น่าจะใช่ demagogue ตามความหมายในดิคชันนารีของผม
คำนี้ไม่เคยมีในภาษาไทยและยังไม่มีจนถึงทุกวันนี้ ผมขอนิยามความหมายของ demagogy ตามสารานุกรม
Wikipedia ว่า
"ยุทธศาสตร์ทางการเมืองเพื่อได้อำนาจทางการเมืองโดยอาศัยอคติ, ความกลัว, ความหวังของสาธารณชน โดยทั่วไปแล้วก็ใช้วาทศิลป์และการโฆษณาชวนเชื่อ และมักมีเนื้อหาออกไปทางชาตินิยมและประชานิยม"ตรงกันข้ามกับนิยามในดิคชันนารี "พูดได้" ของผมเลยนะครับ เพราะ
คนที่น่าสงสัยที่สุดว่าเป็น demagogue ก็ควรเป็นคนที่อยู่อำนาจนั่นแหละ แต่ไม่ได้ตัด "พันธมิตร" ออกไปเสียเลย อยู่หรือไม่อยู่ในอำนาจก็เป็นได้ทั้งนั้น...
...อันที่จริง demagogue ในโลกที่เป็นจริงนั้นไม่ได้ "โกหก" ตรงๆ หรอกครับ แต่ใช้กลวิธีอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น มีคนเขาศึกษาแล้วแยกประเภทออกมาได้หลายอย่างมาก ผมขอยกกลวิธีให้ดูเพียงไม่กี่อย่างพอให้เห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น
บิดเบือนหลักตรรกะที่คนมักไม่ทันคิด เช่น "คนไทยหรือเปล่า" ประหนึ่งว่าในโลกนี้มีจุดยืนอยู่เพียงสองจุดคือไทยและไม่ไทย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว จุดยืนย่อมมีเป็นล้านจุดและคนไทยเองก็หาได้มีจุดยืนเดียวกันในทุกเรื่องไม่ และความเป็นคนไทยไม่อาจนิยามกันกันได้ด้วยจุดยืนทางการเมืองหรือเศรษฐกิจหรือสังคม แม้แต่มีเป้าหมายเพื่อชาติ" เหมือนกัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิถีทางเดียวกัน
"หากจะเป็นประชาธิปไตยก็ต้องตัดสินกันที่วันเลือกตั้ง ประชาชนว่าอย่างไรก็อย่างนั้น หากยังไม่ยอมหยุดก็ต้องจัดการกันด้วยกฎหมายอย่างเด็ดขาด" นี่ก็เป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกหลักตรรกะอีกนั่นแหละ...
...ว่ากันที่จริง
ในโลกแห่งสื่อมวลชนอย่างในทุกวันนี้นักการเมืองที่ไหนๆ และทุกฝ่ายก็มีความโน้มจะเป็น demagogue กันทั้งนั้น ฉะนั้น สังคมที่จะอยู่กับการเมืองฐานมวลชนได้ โดยไม่ปล่อยให้ demagogue มาทำอันตรายสังคม จึงต้องเป็นสังคมที่รู้ทันสังคมที่รู้ทันในโลกสมัยปัจจุบันเกิดขึ้นได้จากสองอย่าง คือ จากสถาบันแห่งความรู้ทั้งหลาย นับตั้งแต่มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย, พิพิธภัณฑ์, องค์กรทางวิชาความรู้ต่างๆ ฯลฯ ต้องผลิตความรู้ขึ้นมาตรวจสอบนักการเมือง เช่น ศึกษาวิจัยจนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของโครงการสามสิบบาท, ธนาคารหมู่บ้าน, เอสเอมอี, โอท็อป ฯลฯ
และอย่างที่สอง ต้องมีสื่อที่เป็นอิสระและมีกึ๋นผมคิดว่าเราไม่มีทั้งสองอย่างข้างต้น หรือมีก็ไม่มีประสิทธิภาพนัก นักการเมืองไทยทุกพรรคจึงมีแนวโน้มที่จะเป็น demagogue ง่ายและมาก จนกระทั่งแม้แต่คำว่า "การเมือง" ในภาษาไทย ก็มีความหมายถึงอะไรที่ไม่จริง, ไม่ตรง, ไม่ซื่อสัตย์, หรือไม่น่าไว้วางใจ...

[สารบัญ] [อ่านเรื่องอื่น][หน้าแรก Blog]