0041. THE POWER OF MINDS AT WORK : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร




The Power of Minds at Work
ผู้แต่ง : Karl Albrecht
สำนักพิมพ์ : AMACOM
ปีที่จัดพิมพ์ : ค.ศ. 2003 จำนวนหน้า: 260 หน้า
องค์กรแต่ละองค์กรจะประสบความสํ าเร็จได้ต้องมีปัจจัยที่สำคัญหลาย
ประการ คือ การผสมผสานความหลากหลายของความรู้ความสามารถของ
บุคลากรที่มี สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี การนำความผิดพลาดในอดีตเป็น
บทเรียน ในปัจจุบัน ความฉลาดขององค์กร (Organizational Intelligence) เป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน ความฉลาดขององค์กรประกอบ
ด้วยปัจจัยทีสำคัญ เช่นองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ ที่มีกลยุทธ บุคลากรมีการทำงาน
และร่วมมือเป็นอย่างดี องค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโครงสร้าง
องค์กรที่ชัดเจน ฯลฯ
ความสํ าเร็จขององค์กรเป็นจุด หมายที่ทุกคนต้องการ ผู้บริหารองค์กรต้องเป็น
ผู้ที่มุ่งมั่น กำหนดทิศทางการทำงานขององค์กรอย่างชัดเจน ประกอบกับ
ความร่วมมือในการทำงานของบุคลากรในองค์กร และการประเมินผล
การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ...


เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวในปาฐกถาพิเศษเรื่อง "วิสัยทัศน์ และ ยุทธศาสตร์การพัฒนากองทัพด้วยการพึ่งพอตนเอง" ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า....

..." หากว่าเรามีข้อมูลที่รู้จริง ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงรู้ข้อมูลจริง และ ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา ตรงนั้น ได้เปรียบมา กองทัพเต็มไปด้วยวิศวกรทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจะต้องเอาความที่รู้จริง ความเก่ง มาอยู่ด้วยกัน มีหนังสือเล่มหนึ่ง เรื่อง The Power of Minds at Work ปรากฏว่า หนังสือเล่มนี้ เขาพูดถึงเรื่อง Organization of Intelligence คือ ความฉลาดขององค์กร องค์กรไหนเป็นองค์กรที่ฉลาด องค์กรนั้นจะมีการแบ่งปันวิสัยทัศน์ มีผู้ที่อยู่ในองค์กรนั้น จะต้องการแบ่งปันวิสัยทัศน์ ด้วยกัน จะต้องมีเป้าหมาย มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน แล้วก็ต้องมีหัวใจ ซึ่ง หัวใจนี้ คือ มีความพยายามเป็นพิเศษ"


บทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร
THE POWER OF MINDS AT WORK

Click://suthep.ricr.ac.th/mgnt46.pdf




เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวในหัวข้อ "ทิศทางประเทศไทย" จัดโดยองค์กรกลาง เพื่อประชาธิปไตย ที่โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า....

...." มีหนังสือเรื่อง The Power od Minds at Work ซึ่งพูดถึงเรื่อง Collective Intelligence องค์กรใดก็แล้วแต่ ใช้ปัญญาของคนในองค์กรรวมกัน หรือ คือ นำปัญญาสะสมของคนในองค์กรมาทำงานร่วมกัน ซึ่งต้องมีจุดเริ่มต้นคือ มีวิสัยทัศน์ที่เห็นพ้องต้องกัน มีความกระหาย อยากจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น แล้วมีความกระตือรือร้นอย่างสูง และ มีวัฒนธรรมที่มุ่งความสัมฤทธิ์เป็นหลัก แบบนี้จึงเรียกว่า Collective Intelligence แต่ ถ้าไม่มีอย่างนี้ ถึงแม้คนเก่งจะมารวมกันเขาเรียกว่า Collective Stupidity"



เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "รัฐบาลอิเล็คทรอนิกส์" ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า....

..." ทั้งหมดนี้ อยู่ที่เราวางระบบโครงสร้าง เพราะจาก Data มาเป็น Information และ พัฒนามาเป็นความรู้ จากความรู้พัฒนามาเป็นความมีปัญญา คือ จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และ ยิ่งมีความรู้พัฒนามาเป็นความมีปัญญา คือ จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และ ยิ่งมีความรู้มากๆ ย่อมจะเกิดความรู้จริง การพัฒนาความรู้มาเป็นความมีปัญญา มีอยู่ในหนังสือ ชื่อ The Power of Minds at Work คือ Data Information Knowledge Wisdom"




เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2546 จากการประชุมเชิงวิชาการ "การพัฒนาผู้นำการบริหารกรเปลี่ยนแปลง" ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการพัฒนระบบราชการ (กพร.) นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ อีกครั้งว่า....

...."จุดอ่อนของวัฒนธรรมการบริหารระบบราชการไทย ต้องการเก็บไว้รู้เอง และ ผลสุดท้ายก็ไม่รู้จริง ต้องการให้ทุกอย่างมันจับผิดไม่ได้ เปรียบเทียบประสิทธิภาพไม่ได้ ต้องการอยู่แบบไม่มี Pressure นี่ คือ จุดอ่อนของระบบราชการไทย รวมทั้งองค์กรภาคเอกชนใหญ่ๆหลายองค์กรที่ไม่พัฒนาตัวเอง มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อเรื่อง The Power of Minds at work หนังสือเรื่องนี้พูดถึงว่า DATA มันจะ Lead to Information จาก Information มันจะ Lead to Knowkedge จาก Knowledge จะ Lead to Wisdom เบื้องต้นไม่มีซะแล้ว เหมือนพระพุทธเจ้าบอกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ขาดศีล ขาดสมาธิ ขาดปัญญาแน่นอน ไม่มี Information ไม่สามารถที่จะมี Knowledge เมื่อไม่มี Knowledge มันจะมีปัญญาได้ไง งั้นการจะมีปัญญาก็คือ มี Knowledge และ Apply Knowledge บ่อยๆ จนเกิดความคล่องตัว จนเป็นสัญชาตญาณ คิดโป๊ะก็ใช่ปั๊บ นั่นคือปัญญา เพราะฉะนั้น จังหวัด หรือ องค์กรทุกองค์กรที่ท่านบริหาร ท่านจะต้องมีระบบข้อมูลที่ดี แล้วรู้จักนำระบบข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความรู้ว่า อ้อ มันแย่ตรงนี้ มันดีตรงนี้ แล้วก็ปรับปรุงแก้ไขมันบ่อยๆ จนเกิดปัญญา ความฉับไว ความแม่นยำในการแก้ปัญหาในทุกเรื่อง นี่คือ Wisdom"




เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 นายกรัฐมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "คลังสมองเพื่อการพัฒนาประเทศ" ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ นักวิชาการเพื่อการพัฒนาประเทศ ครั้งที่ 1 ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ สถาบันคลังสมองของชาติ ซึ่งมีนักวิชาการที่จะบระดับดอกเตอร์มาไม่เกิน 10 ปี จากทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,000 คน ครั้งนี้ ท่านได้กล่าวถึงหนังสือรวม 6 เล่ม เล่นนี้ ก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังข้อความตอนหนึ่งว่า....

...." ความคิดของผมเกิดจากการอ่านหนังสือหลายๆเล่ม ถ้าใครคิดว่าวิชาของตนเองยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันหมด ทฤษฏีต่างๆ นำไปเกี่ยวพันกันได้หมด ท่านที่เรียนเรื่องกายวิภาค แล้ว ท่านที่เรียนบริหาร ถ้า 2 คน นั่งคุยกัน ท่านจะได้นักบริหารที่ดีขึ้นมาทั้ง 2 คน เพราะฉะนั้น ท่านต้องเข้าใจระบบการเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ ภายในร่างกายมนุษย์ เป็นเรื่องขององค์กรที่ไม่มีคำว่าอิสระ มีแต่คำว่าพึ่งพาซึ่งกันและกัน ฉะนั้นองค์กรต่างๆจะมีการส่งเสริมซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องความเข้าใจทางวิชาการที่มีความเชื่อมโยงอยู่มาก เวลาผมอ่านอะไรแล้วจะนำมาคิดถึงเรื่องประเทศ ข้อมูลดิบจะเข้าไปสู่องค์ความรู้จากปัญญา"



หัวข้อข่าว :. นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาเรื่องคลังสมองเพื่อการพัฒนาประเทศ
ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เรื่อง “คลังสมองเพื่อการพัฒนาประเทศ”
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 09.40 น.
****************************
กราบเรียนอาจารย์หมอประเวศ วะสี
รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ
ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาที่เคารพรักทุกท่าน
วันนี้เป็นวันที่ต้องถือว่ามีความสำคัญยิ่งของประเทศไทย ที่บรรดาผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ภายใน 10 ปี มีถึง 1,000 คน ได้มารวมกัน ณ ที่นี่ เพื่อที่จะให้ความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ ในการจะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศ แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า ประเทศไทยคนที่มีการศึกษาสูงมีมากกระจัดกระจาย แต่ทำอย่างไรถึงจะทำให้คนที่มีการศึกษาสูงเหล่านั้นได้พัฒนาการศึกษาของเขานั้นให้เป็นความรู้ เป็นปัญญาต่อสังคม และทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นได้สร้างประชาคมของคนที่มีความรู้มาสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ผมเรียนมาจบปริญญาเอกในฐานะที่ได้ทุนรัฐบาลที่มีจิตสำนึกว่าได้นำเงินภาษีอากรมาประชาชนไปเรียน อยากจะตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน สิ่งที่ได้ปัญญามาได้ความรู้มาให้กับสังคมมากที่สุด ท่านที่เรียนหนังสือทุกคนถือว่า ได้ใช้ภาษีอากรประชาชนทั้งสิ้น แม้กระทั่งจบมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัยจุฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเรื่องที่รัฐบาลสนับสนุนทั้งนั้นถึงแม้ท่านเสียค่าเล่าเรียน รัฐบาลก็คือ ภาษีอากรประชาชน วันนี้เราจะมารวมกันว่า ทำอย่างไรเราถึงจะตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ด้วยความสามารถที่เรามีอยู่ คนเราถ้าจะตอบแทนบุญคุณในฐานะอะไรก็ได้ ผมรู้สึกดีใจที่กระทรวงศึกษาธิการและมูลนิธิคลังสมองของชาติได้ช่วยกันจัดโครงการนี้ขึ้นมา ผมต้องขอบคุณอาจารย์หมอประเวศที่ให้เกียรติมานั่งฟังบรรยาย เพราะผมเจอคนที่เป็นนักวิเคราะห์ นักคิดอันดับหนึ่งของประเทศมานั่งฟังผมอยู่
วันนี้ท่านดูประเทศไทยนั้นไปไกลมาก ยกตัวอย่าง สมัยก่อนพูดถึงทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ต่อมา จะว่าอย่างไรนั้นคือ สิ่งที่กำลังมาในอนาคต เมื่อก่อนเราพูดถึงเรื่อง Light Speed คือความเร็วแสง แต่ วันนั้นจะพูดถึง Beyond Light Speed ไปไกลกว่าความเร็วแสงแล้ว ถ้าเราพูดถึงการส่งแฟกซ์ เราสแกนถึงชั้นบิตแล้วส่งออกไป แล้วต่อไปข้างหน้าเราสแกนถึงชั้นอะตอมได้หรือไม่ เราจะส่งวัตถุ 30 มิติ เช่น เราส่งขวดน้ำทั้งขวดไปได้หรือไม่ ส่งมนุษย์ไปได้หรือไม่ พูดกันแล้วในหมู่นักวิทยาศาสตร์ Science fiction (นิยายวิทยาศาสตร์) ที่พูดกันในสมัยก่อนที่เป็นตัวการ์ตูนผ่านเข้าไปในหลอดเลือด แล้วไปรักษาโรค ตอนนี้กำลังจะพูดในอดีตเป็นจริงหมดแล้ว เราต้องมาถามประเทศเราจะทำอย่างไรดี เรากำลังจะแก้ไขปัญหาความยากจนต้องแก้ไขพร้อม ๆ กัน เราจะต้องถามว่า เราจะสู้กับโลกเข้าได้อย่างไร เขาใช้ปัญญาสร้างเศรษฐกิจ เขาคิดอะไรที่ได้มูลค่าอัตราการเจริญเติบโตของประเทศทั้งประเทศ เขามีพูดกันถึงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาแต่เราไม่มี ถ้าถามว่ามีด๊อกเตอร์มากไหมแล้วนักวิจัยหายไปไหนหมด วิจัยที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ จนสามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ไปไหนหมด สิทธิบัตรที่เราจดก็อยู่ในขั้นประถม ถามว่าเราสู้เขาไม่ได้หรือ ผมไม่เชื่อว่าด๊อกเตอร์ที่ไปเรียนทั้งหลายรับรองไม่อยู่ในชั้นที่เกณฑ์ไม่ดีกับต่างประเทศ รุ่นผมที่จบปริญญาเอกที่ไปเรียนพร้อมกันที่จบรุ่นแรกมีผมกับฝรั่งอีกคน แต่ปัญหาคือ เราขาดการรวมพลังและวางระบบเพื่อให้คนไทยนั้นได้พัฒนาสมองได้อย่างต่อเนื่อง การวิจัยเพื่อเข้าไปสู่ข้อมูลของเราอ่อนแอไปหมด ฉะนั้นวันนี้ถึงต้องอยากได้คนอย่างพวกทานต้องมาช่วยกันคิดแทน เพราะว่าท่านสมัยใหม่กว่าผม ท่านต้องช่วยผมคิด
ประเทศไทยในวันนี้ เราจะทำมาหากินอะไร อย่าลืมว่ายังมีหลายประเทศที่ชะลอดูว่าจะไปแรงไปเร็ว และเราจะช้าอยู่ต่อไปไม่ได้ ใครที่เรียนบริหารเข้าใจทฤษฎีโบราณ คือ ทฤษฎี s curve สิ่งที่เราทำมาหากินทุกวันนี้ คือ อุตสาหกรรมการเกษตรที่ไม่ซับซ้อนมากนักนี้ คือ แกนการทำมาหากินของประเทศไทยเราในวันนี้ ถามว่า S ตัวนี้หัวจะตกแล้วใช่ไหม นั่นคือ ความที่จะทำมาหากินนั้นกำลังจะร่วง วันนี้รัฐบาลนี้เข้ามาก็พยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยนำสิ่งที่เป็นความแข็งของเรายืดหัวไม่ให้ตก เพื่อที่จะตกช้าก่อนที่จะสร้างเอสตัวใหม่มาคล้อง ฉะนั้นวันนี้เราต้องทำ 2 อย่างพร้อม ๆ กันในอดีตและปัจจุบัน ทั้งอนาล็อกและดิจิตอล เรื่องของความร่วมมือข้าว ความร่วมมือของยางพาราให้เกษตรกรมีรายได้ดีก่อนแล้วเศรษฐกิจในประเทศจึงจะหมุน เกษตรกรเป็นจำนวนประชากรที่มากที่สุด วิธีดิจิตอลคือ นำเทคโนโลยีมาใส่ความแข็งของเราเพื่อจะยืดหัวไป เช่น การถนอมอาหาร การปรุงอาหาร การเก็บอาหาร ที่เป็นวิทยาศาสตร์เข้าไป ฉะนั้นทั้งสองอย่างต้องทำไปอย่างไรนั้นไม่เกิน 10 ปีอยู่ได้ ผมบอกได้เลยว่าอีก 10 ปี ข้างหน้า ถ้าเรายังจมอยู่กับการทำมาหากินอย่างนี้ เราจะเห็นอัตราการเจริญเติบโตของประเทศเริ่มตก หรือถ้าเปรียบเทียบการแข่งขันของทุกประเทศเราจะลดน้อยลง และในที่สุดเราจะถูกคนซึ่งเขาปรับมาสร้างเอสตัวใหม่ได้เร็วกว่า เอสตัวใหม่นี้ต้องเป็นเอสบนสังคมฐานความรู้ อย่าลืมว่าสินค้าที่ผลิตด้วยสมองของมนุษย์ได้เม็ดเงินใหญ่กว่าสินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติแน่นอน ท่านขายข้าวทั้งประเทศที่ดินเต็มผืนนาทำให้หมด ซื้อเครื่องบินได้กี่ลำ ซื้อซอฟต์แวร์ได้เท่าไหร่ คือ แนวโน้มสินค้าที่ผลิตจากสมองจะมาแรงขึ้นเรื่อย ๆ ท่านเห็นเศรษฐีรุ่นใหม่ไหม เด็กหนุ่ม ๆ ทั้งหลายที่เรียนเมืองนอก ยกตัวอย่าง การทำดาวน์โหลดเพลง ตอนอายุ 19 ปี รวยไม่รู้เรื่อง ไมเคิล แดล, สตีฟ จ๊อบ, บิวเกรต แต่ของเราหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินเต็มที่พอกินวันนี้เหลือกินพรุ่งนี้อีกวันหมด
สิ่งที่เป็นอยู่ในวันนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่ดี ดีต้องทำต่อและต้องพยายามสร้างความเข้มแข็งและคิดไปข้างหน้า สมองต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ยืดเอสปัจจุบันให้ยาวที่สุดให้หัวตกช้าที่สุด ส่วนที่ 2 คือ สมองต้องสร้างเอสใหม่ รวดเร็ว มั่นคง เพื่อที่จะมาสอดคล้องกับเอสตัวเดิม ฉะนั้นประเทศไทยในวันนี้เรื่องการส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย การได้ความรู้ใหม่ ๆ การผสมผสานของความรู้ต้องเป็นเรื่อง วาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายต้องเขามาช่วยกันในวันนี้ ช้าไม่ได้มีเวลาแค่ 10 ปี ต้องทำเพราะว่าสิ่งที่ทำให้ s ตัวใหม่นั้นก็จะต้องมี s ต่อ ๆ ไปมาสอดคล้องกัน ระบบการศึกษาปกติต้องแข็งในวันนี้ว่า ขณะเดียวกันต้องใช้เอสตัวใหม่มาเสริมด้วยระบบที่ดี ๆ แต่ต้องนำผลจากการศึกษาที่จบดีอย่างพวกท่านทั้งหลายมาช่วยกัน พวกท่านเป็น Inter Media Solution เป็น Solution ระหว่างคั่นกลาง แต่เอสใหม่อีกทีหนึ่งนั้นต้องเป็นรุ่งหลัง รุ่นนี้จะมีระบบการศึกษาที่ดีแล้วก็มีระบบพัฒนาความรู้ที่ดี ถึงจะไปได้ นี่คือ ความเป็นจริงที่ผมได้มองเห็นตระหนักถึง ผมเห็นระหว่างที่ผมจัดตั้งพรรคและจัดตั้งนโยบาย ผมใช้เงินส่วนมากในการค้นหาข้อมูลและนำวิชาการต่าง ๆ เข้ามาเพื่อค้นหาความจริงของประเทศไทยว่าคืออะไรในช่วงนั้น จนมาถึงวันที่เป็นรัฐบาลผมถึงไม่ต้องเสียเวลาศึกษา เพราะว่าเราศึกษาล่วงหน้า เรารู้แล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเราต้องการรวมหลังอย่างมาก ในขณะเดียวกันที่ผมเสนอความคิดใหม่ๆ ก็กลายเป็นว่าผมไปขัดแย้งกับนักวิชาการ เพียงแต่ว่าการที่จะเป็นภาวะผู้นำนั้นยากไม่ใช่เรื่องง่าย การเป็นผู้นำเฉย ๆ นั้นง่าย แต่ถ้าเป็นภาวะผู้นำต้องมีการผลักดันการเปลี่ยนแปลง ที่ไหนมีการเปลี่ยนแปลงที่นั่นจะมีการต้านการเปลี่ยนแปลง
ผมอยากจะให้พวกท่านทั้งหลาย ที่เป็นคนรุ่นใหม่ใหม่จบปริญญาเอกมารับช่วงในการพัฒนาประเทศ ต้องเริ่มคิด ต้องมีการบ้านสำหรับประเทศ ถ้าใครคิดดีย้อนตัวเองไม่ได้ คนนั้นเติบโตยาก คิดที่ไรก็อยู่กับเรื่องของตนเอง ภาษาธรรม เรียกว่า เป็นบุคคลซึ่งอันตรายต่อตนเอง ถ้าใครอ่านหนังสือของพระพุทธเจ้าอันตรายซึ่งตัวเรา เราจะต้องคิดย้อนตัวเองไปสู่ครอบครัว จากครอบครัวไปสู่สังคมที่เราสังกัด จากองค์กรที่สังกัดไปถึงประเทศชาติ เราก็จะทำให้องค์กรที่อยู่รอบตัวเราดีขึ้น สิ่งไหน ๆ ที่ท่านไปเรียนมาได้ใช้ทุนของรัฐบาลโดยตรงและโดยอ้อมมาตลอดนั้น เราจะต้องคิดว่าเราจะช่วยให้บ้านเมืองของเราดีอย่างไร
ความคิดของผมเกิดจากการอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม ถ้าใครคิดว่าวิชาของตนเองยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงหมด ทฤษฎีต่าง ๆ นำไปเกี่ยวพันกันได้หมด ท่านที่เรียนเรื่อง กายวิภาค แล้วท่านที่เรียนบริหาร ถ้า 2 คนนั่งคุยกันท่านจะได้นักบริหารที่ดีขึ้นมาทั้ง 2 คนนี้ เพราะฉะนั้นท่านต้องเข้าใจระบบการเชื่อมโยงของส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายมนุษย์เป็นเรื่องขององค์กรที่ไม่มีคำว่า อิสระ มีแต่คำว่า พึ่งพาซึ่งกันและกัน ฉะนั้นองค์กรต่าง ๆ จะมีการส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องความเข้าใจทางวิชาการที่มีความเชื่อมโยงอยู่มาก เวลาผมอ่านอะไรแล้วจะนำมาคิดถึงเรื่องประเทศ อย่างผมอ่านหนังสือเรื่องหนึ่ง คือ “The Power of Mind at work” เขาพูดถึงเรื่องว่า ข้อมูลดิบจะเข้าไปสู่องค์ความรู้จากปัญญา วันนี้เราหันกลับมาดูประเทศไทยก็ไม่ค่อยมีข้อมูลที่ครบ ครบก็ไม่ค่อยทันสมัย ฉะนั้นผมถึงต้องสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทำระบบ GFMS เรากำลังส่งเสริมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ทในหมู่ภาคประชาชน เพราะว่าประเทศใดขาดข้อมูลที่ทันสมัยครบถ้วนแล้วยากที่ประเทศนั้นจะรู้จริงเรื่องของตัวเอง แต่เมื่อมีองค์ความรู้มาก ๆ ก็จะเกิดปัญญา เกิดความคล่อง พอเห็นอะไรนิดหนึ่งออกเลย คือ ถ้าเห็นตัวเลขแล้วเดาได้ว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น ถ้าท่านเห็นข้อมูลบ่อย ๆ มาก ๆ นำมาเปรียบเทียบแล้วใช้บ่อย ๆ จะเกิดปัญญา จะทำให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ได้ความรู้
ผมได้เห็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง คือ “Attention Economy” เขาพูดถึงการนำเทคโนโลยี นำระบบข้อมูลเข้าไปเพิ่มประสิทธิของการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง เปรียบเทียบง่าย ๆ บ้านเรา คือ ถ้ามีมะพร้าวลูกหนึ่ง ถ้าเราเป็นคนฟุ่มเฟื่อยดูดน้ำแล้วทิ้ง แต่ถ้าเราอยากให้มีประสิทธิภาพ นั่นคือ การทานเนื้อหรือนำเนื้อมะพร้าวมาคั่นกะทิ นำความรู้ไปเติมก็มากขึ้น ถ้าท่านมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์นำไปทำคาร์บอนที่เกิดจากกะลามะพร้าวใช้ได้ทั้งลูก เวลานี้ประเทศไทยยังมีอะไรที่เราให้ความใส่ใจกับเรื่องนั้น นำความรู้สร้างประสิทธิภาพมากขึ้น ท่านทั้งหลายเหมือนทำ GNO เป็น GNO ทางทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) คือ สมมติว่าผมมีภารกิจเรื่องหนึ่ง เรื่องนี้ต้องใช้มนุษย์อย่างนี้ ผมก็ไปเชิญมาร่วมกันให้เสร็จ คล้ายภาษาอาหาร มารวมกันและสร้างภารกิจนั้นให้จบ นั่นคือ สิ่งที่ท่านทั้งหลายถูกเชิญในวันนี้ เพราะว่าอุตสากรรมเรื่องนี้ต้องการคนที่จบทางด้านนี้มาช่วยกัน ว่าเราจะต่อเอสปัจจุบันได้แค่ไหน และเราจะสร้างเอสตัวใหม่ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งต่อไปได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้สอนผม
อีกเรื่องหนึ่ง “Re Imagine” ใน Tom Peter ที่กำลังจะมาบรรยาย หนังสือเรื่อง นี้จะพูดถึงเรื่อง ผู้นำ แต่เรื่องที่ผมสนใจคือ “Think Weird” คิดอย่างประหลาด คนเก่ง ๆ ในโลกนี้คิดอย่างประหลาดกว่าที่ท่านคิดได้ สรุปแล้วเขาจะท้าทายสมองท่าน ฉะนั้นวันนี้สมองของท่านจะต้องจุดประกายไฟ สมองชั้นดีทั้งนั้นที่นั่งอยู่ที่นี้แต่ไม่ค่อยจุดประกาย ต้องคิดอย่างประหลาด ๆ และนำความคิดของพวกท่านมารวมกันว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้ประเทศไทยมีวิธีคิด มีการจัดการ สร้างความรู้ใหม่เพื่อให้เกิดการผลิตจากสมองอันดีได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้สอนให้คิดอย่างประหลาด
ถ้าท่านอยากจะตื่นตัว คือ ท่านต้องอ่านหนังสือ 3 เล่มนี้ รับรองว่าท่านอยู่เฉยไม่ได้แล้ว หนังสือ 3 เล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาไทย 2 เล่มแล้ว คือ เรื่อง Rethinking the Future เขาได้ไปนำเรื่องย่อของแต่ละคนมาลง ก็ทำให้ท่านจุดประกายมาว่าต้อง Rethink ใหม่ ต้องนำกลับมาคิดในเรื่องของการบริหารจัดการการตลาด เพราะสิ่งที่เราคิดแต่เดิมได้เปลี่ยนไปแล้ว เล่มที่ 2 As The Future Catches you (เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ) ของฮวน เอนริเกซ์ เรื่องนี้เขาพูดถึงว่า ประเทศที่เขาเฟื่องฟูในอดีต วันนี้ไม่เหลือเลย เช่น ประเทศกัมพูชามีสิ่งหนึ่งที่เป็นมหัศจรรย์ของโลกเคยเป็นสวิสเซอร์แลนด์ของประเทศอเมริกามาก่อน หลายประเทศที่เสื่อมโทรมลง เพราะการบริหารจัดการ คือรัฐบาลการเมือง ถ้าท่านจ้างคนที่ไม่เก่งมาเป็นผู้บริหารบริษัทของท่านจะขาดทุน ฉะนั้นหลายประเทศที่แย่กันไปเพราะการบริหารจัดการของประเทศ สิงค์โปร์เคยมาดูงานที่ประเทศกัมพูชา เรื่อง การวางผังเมืองที่พนมเปญ ประเทศไทยก็เช่นกันเราร่วมมือกับประเทศไต้หวันเมื่อ 40-50 กว่าปีที่แล้ว ประเทศของเราก็ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เราต้องอุ้มคนระดับล่างขึ้นมา คนจน คนที่มีการศึกษาน้อยต้องพาขึ้นมา เขาได้พูดถึงประเทศเม็กซิโก ประเทศอียิปต์ เมื่อ 200 ปีที่แล้ว เป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมาในอดีต แม้กระทั่งเอเชียเมื่อก่อนเหนือกว่าทางตะวันตกมาก เพราะความขัดแย้งในประเทศ เราต้องคิดไปข้างหน้า อดีตมองเพื่อเป็นบทเรียนไม่ใช่หลงอดีต อย่าถูกจองจำโดยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้เพื่อเป็นบทเรียนของอนาคต ศึกษาปัจจุบันให้เข้าใจและแก้ไขปัญหาพร้อมที่จะเดินต่อไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง หนังสืออีกเล่มคือ “It’s alive” ที่พิมพ์โดย คริสเตอร์เฟอร์ มายเยอร์ กับสแตนด์ เดวิส หนังสือเล่มนี้ก็บอกกับท่านให้รู้ว่า ในอดีตเราเติบโตมาในยุคอุตสาหกรรม ยุคสังคมข่าวสาร ทั้งหมดก็มาจากรากฐานของวิทยาศาสตร์ พอออกจากห้องทดลองก็มาเป็นเทคโนโลยี จากเทคโนโลยีนักธุรกิจก็นำไปใช้ ในอดีตจากยุคอุตสาหกรรมก็มาจากเรื่องของวิศวกรรม เครื่องกล ตอนหลังจะมีเรื่องของยุคสังคมข่าวสารทั้งหลาย
ยุคใหม่นี้เขาเรียกว่า Molecular Economy เป็นยุคที่เข้าสู่เศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านจุลวิทยา ซึ่งจะประกอบด้วยวิชาที่สำคัญๆ คือ 1. ICT เป็นทั้งเทคโนโลยี 2. NanoTechnology 3. Bio Technology 4. Material Science แน่นอนวิชาย่อย ๆ จะอยู่ใน 4 วิชานี้ แต่สรุปว่า ยุคข้างหน้าท่านต้องเตรียมความพร้อม เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงได้สร้างองค์กรส่งเสริมพัฒนาความรู้ขึ้นมา เป็นองค์กามหาชน ผมจะนำงบกลางปีมาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท นั้นคือสิ่งที่ผมต้องการพัฒนาความรู้นอกกรอบของการศึกษาในรูปแบบปกติ ทั้งหลายต้องมาช่วยที่จะต้องสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเด็กมาสร้างปลูกนำร่องโอกาสในยุคต่อ ๆ ไป พวกรุ่นท่านต่อจากรุ่นผม รุ่นเด็กวันนี้ต่อจากรุ่นท่าน ฉะนั้นเราต้องพาเขาเดินมาด้วยความแข็งแรง อย่างวันนี้ถ้าผมไม่สร้างคนผมก็เลิกไม่ได้ ผมต้องรีบหาคนที่สามารถทำงานได้ดีกว่าผม และมีความรวดเร็วกว่าผม รุ่นใหม่กว่าผมเข้ามาแทนผมให้ได้ นี่คือ การบริหารจัดการในแต่ละรุ่นออกไปจะต้องสร้างคนใหม่รุ่นใหม่ ๆ ออกมา แต่ไม่ใช่ต่อเพราะรับมรดก ต่อเพราะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศ การพัฒนาความรู้จึงต้องการที่จะสร้างคนไทย บางทีเราไม่รู้หรอกว่าก้อนหินแต่ที่ไหนได้เป็นเพชร เพราะฉะนั้นเราจะต้องยอมเจียระไน ก้อนหินหลาย ๆ เม็ดจนพบเม็ดเพชรขึ้นมา แน่นอนว่าบางอันเป็นเพชรชั้นดีและไม่ดี องค์กรความรู้ที่สร้างขึ้นมานี้ไม่ใช่โรงเก็บของเก่า ต้องมีชิวิต ต้องมีเรื่องราว ถ้าเดินเข้าไปแล้วเกิดความสนใจเข้าใจเรื่องราว เรื่องของชนชาติ เรื่องของความเป็นไทย แม้กระทั่งนักร้องเพลงลูกทุ่งยังมีประวัติศาสตร์ เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยยุคนั้นเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้คนได้รู้ถึงวิวัฒนาการ เพื่อจะกระโดดต่อไปข้างหน้า ห้องสมุดต้องเป็นห้องที่มีชีวิตชีวา ไม่ใช่เป็นห้องสมุดที่เก็บหนังสือเก่า ๆ ปีนี้ พ.ศ.2004 หนังสือต้องมีแล้ว ถ้าหนังสือต้องทันสมัย การปล่อยให้คนที่มีหัวศิลปะมานั่งคิด สมองของมนุษย์นำออกมาให้หมด บางครั้งต้องนั่งคิดให้มากแล้วจะได้อะไรให้กับประเทศอย่างมาก ต้องใช้สมองให้เกิดประโยชน์เป็นหนังสือเรื่อง It’s alive สอนเรามาก
เรื่องของ NanoTechnology จะเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลนี้ที่จะต้องทำและส่งเสริม ส่วน นักสสารวิทยาจะต้องเข้ามาด้วย NanoTechnology ได้แบ่งเป็น 2 สาขา คือ 1.ทางด้านฟิสิกส์ 2. ทางด้านเทคโนโลยีด้านชีวะวิทยา แต่ทางด้าน Material Science ก็นำมาใช้ได้ เช่น ทำวัสดุก่อสร้าง ทำจากฟางข้าวแข็งแรงทนทาน ฯลฯ ถามว่าประเทศไทยไม่จนถ้าขยันทำความดีก็ไม่จน มีเงินทั้งนั้นแต่ต้องนำสมองเข้าไปด้วย ถ้าด็อกเตอร์จบมาใหม่ ๆ ถ้าขยันขึ้นมาใครจะขวางประเทศไทยได้ วันนี้ไม่ใช่ว่าเราไม่มีเงิน เงินมีแต่เราต้องใช้ให้เป็น ใช้อย่างชาญฉลาด วันนี้สมมติว่า 1,000 คนในที่นี้ ถ้ามีความคิดที่จะสร้างความเจริญของประเทศไทยอย่างใหญ่ ขอลงขันมาสักแสนล้านบาทผมจะทำให้ดู ถ้าท่านเป็นนักการเงินบางคนรู้ เงินถ้ายังไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นกระดาษ เป็นเรื่องของ Trust and Confident ถ้าไม่มีต้องหาเงินทุกบาท นี่คือ ระบบของทุนนิยมที่เราต้องเข้าใจ ถ้าคนไม่เข้าใจทุนนิยมแล้วใช้ประโยชน์จาก Capital Market ไม่ได้ เหมือนกับเขาขึ้นจรวดแต่เรานั่งเกวียน อย่างเวลานี้ผมได้บอกกับรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย ตลาดทุนมีใช้ก็ไม่ใช้อยู่ ๆ อยากเป็นหนี้สาธารณะ อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไข
เรามีคำว่า IQ EQ ด็อกเตอร์คนนี้เมื่อก่อนเป็นทรัพยากรมนุษย์ ของ Motorola เขาเขียนหนังสือเรื่อง AQ, IQ คือ การวัดปรัชญา แต่ภาษิตโบราณบอกว่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เพราะว่า IQ สูงแต่มีปัญญา EQ ทำงานร่วมกับเพื่อนมนุษย์ไม่ค่อยได้ บางคนมี IQ, EQ มีแต่ขี้เกียจ ไม่มีความพยายามอุตสาหะ
AQ แบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม เปรียบเสมือนนักปีนเขาที่เดินไปถึงตีนเขา บอกว่าเหนื่อย ร้อน ไม่น่าขึ้น พวกหนึ่งที่เดินไปครึ่งทางก็เห็นวิวสวย กลางเต็นท์นอนไม่ขึ้นแล้ว อีกพวกหนึ่งคือ เขาลูกนี้น่าพิชิตให้ได้ พอไปถึงยอดเขาแล้วมีเขาที่ไหนสูงกว่านี้อีกไหมจะปีนต่อให้ดู เรียกว่า นักสู้ ฉะนั้น ท่านต้องถามตัวเองว่าท่านเป็นอะไร ท่านกำลังเป็นผู้แพ้ต้องปรับตัวใหม่ เรื่อง IQ, EQ แน่นอนถ้าท่านไม่ใช่นักบริหาร ท่าน IQ สูงแต่ว่าท่าน EQ ท่านมีปัญหาไม่อยากทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ถ้าอย่างนั้นเราสามารถหามุมให้ท่านอยู่ได้ ท่านต้องเป็นนักสู้หาวิชาความรู้ ท่านจะต้องหาความรู้โดยที่ไม่ต้องเป็นนักบริหารก็รวยได้ เป็นเจ้าของสิทธิบัตรต่าง ๆ ผมคิดว่า AQ สำคัญ ความมุ่งมั่นของ IQ และ EQ สำคัญ แต่ว่าพระพุทธเจ้าฯได้ตรัสว่า “ความพอดีเป็นสิ่งที่ดี” IQ, AQ, EQ ไม่ต้องเลอเลิศ แต่ความพอดีต้องสมดุล ความเป็นตัวท่านจะสมบูรณ์กว่า บางคนคิดเป็นและทำเป็น บางคนคิดเป็นทำไม่เป็น บางคนทำเป็นคิดไม่เป็น ฉะนั้นต้องคิดและวิเคราะห์
วันนี้สิ่งที่สำคัญคือ เรื่องคิด ต้องคิดเป็น ต้องวิเคราะห์เป็น อย่างทฤษฎีเดิมเขาบอกว่าหัวสมองข้างซ้าย ข้างขวา ทฤษฎีใหม่บอกว่า ข้างซ้ายข้างขวาอย่างเดียวไม่พอ ต้องคิดร่วมกันทั้ง 2 ด้าน ไม่ค่อยดีต้องเป็นอะไรที่รวมพลังหาความพอดี
วันนี้ท่านอาจารย์หมอประเวศจะพูดถึงเรื่อง ปัญญา ท่านคงจะพูดเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ด้วย ท่านเป็นลูกศิษย์พระพุทธทาส (ตอนมีท่านยังมีชีวิตอยู่) ผมเป็นลูกศิษย์พระพุทธธาตุตอนที่ท่านเสียชีวิตแล้ว เพราะเขานำหนังสือมาให้อ่าน อ่านอย่างมีความสุข ฉะนั้นคนที่จะเป็นคนเก่งอย่างไรต้องมีสมาธิ มีความมุ่งมั่นถึงจะทำให้สิ่งที่ท่านรู้ทั้งหลายเป็นอย่างดี ผมขอบอกว่า โลกข้างหน้า Convergence Technology and knowledge มาแรง การรวมตัวของวิชาความรู้สาขาแขนงต่าง ๆ ขึ้นมาศาสตร์ใหม่ ๆ นั้นมาแรง โดยเฉพาะท่านที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแบ่งเป็นคณะนั้น ๆ เป็นแบบโบราณ ต่อไปนี้ท่านทั้งหลายต้องทลายกำแพงทางองค์กร ทลายกำแพงของทางด้านอาณาจักร แล้วความรู้ถึงจะรวมตัวกันได้ ถึงจะได้ศาสตร์ใหม่ ๆ ทุกวิชาสามารถนำมาผสมผสานกันได้หมด ถ้าท่านทั้งหลายเรียนปริญญาเอกมา ปริญญาเอกเขาให้ ดร.อาฟีรอล โทฟี ได้บอกว่าทฤษฎีของเขาคือว่า ท่านรู้เรื่องที่ท่านเรียนจนถึงขั้นปรัชญา คือ ท่านรู้รากเหง้าของความรู้ที่ท่านเรียนมา บรรดา ดร.อาฟีรอล โทฟี แขนงหนึ่งกับอีกแขนงหนึ่งมาเจอกันน่าจะเกิดความรู้ใหม่ ๆ และยิ่งการทำวิจัยของคนหลากหลายสาขายิ่งจะได้อะไรใหม่ ๆ มาก เพียงแต่อย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเองมีอยู่มากเกินไป ปล่อยวางให้ได้และนำความรู้ที่เรียนมานั้นมารวมกัน และมานำประเทศไทย
เราต้องการมอง S ตัวใหม่ เพราะ S ตัวเก่ามีเวลาแค่ 10 ปี ถ้าอีก 10 ปีท่านยังทำอย่างนี้อยู่ถือว่าประเทศไทยล้าหลัง ผมถึงพยายามที่จะผลักดันเรื่องใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น บางทีบางครั้งคนก็ไม่เข้าใจ มองผมทีละมิติ คนที่มองอย่างนั้นผิดอย่างแรง ผมมองที่ความเชื่อมโยงของทั้งระบบ ท่านทั้งหลายที่มีความรู้มาแต่ละสาขาต้องพยายามที่จะต้องสร้างศาตร์ใหม่ ๆ จากหลากหลายสาขาที่มีความรู้มา ผมหวังว่ากิจกรรมอย่างนี้คงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมทราบจากทบวง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า เลขาอุดมศึกษาว่าได้มีการสร้างเว็บไซต์ มีระบบ เครือข่ายของการติดต่อ ผมคิดว่าเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารถึงกัน และถ้าเป็นไปได้สร้างประชาคม ประชาคมความรู้ในแขนงต่าง ๆ และการสร้างประชาคมของกลุ่มของพวกท่านทั้งหลาย ต้องเป็นประชาคมย่อยขึ้นมา ก็จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกันและจะได้มีความรู้ต่อไป
วันนี้ขอขอบคุณในความเสียสละที่คนมีความรู้ทั้งหลายที่จะช่วยชาติบ้านเมือง ขอขอบคุณครับ
**********************************
ที่มาสำนักโฆษกรัฐบาล



เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี....

และ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี...

....ได้แนะนำ หนังสือ....

ท่านสามารถอ่านบทคัดย่อ
หนังสือ The Power of Minds at Work ได้ที่
Click : //suthep.ricr.ac.th/mgnt46.pdf




Create Date : 07 มีนาคม 2551
Last Update : 8 มีนาคม 2551 5:39:19 น.
Counter : 1532 Pageviews.

3 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
The Power of Minds at Work

นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2546
The Power of Minds at Work

ความฉลาดขององค์กรกับความโง่เขลาขององค์กร

Karl Albrecht ผู้แต่งซึ่งเป็นที่ปรึกษาและนักพูดชี้ว่า บริษัทหลายๆ แห่งยังไม่รู้จักดึงสติปัญญาและความสามารถของบุคลากรในองค์กรออกมาใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย แม้ว่าบริษัทเหล่านี้อาจจะกำลังประกาศคำขวัญว่า "เรามุ่งมั่นสร้างความแตกต่าง" (โดยมีบรรทัดรองว่า "เราคงอยู่เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า") แต่ Albrecht เตือนว่าจงอย่าเชื่อ เพราะคำขวัญเหล่านั้น "เพียงแต่เขียนตามๆ กันมาให้ดูสวยหรูแต่ปราศจากความจริงใจ เพียงเพื่อจะปิดปากคนที่กำลังรู้สึกมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ธุรกิจมีแต่ความเย็นชาไร้น้ำใจ"

อาการของโรค "เสื่อมหน้าที่" ขององค์กร

มีอาการมากมายที่ส่อแสดงว่า องค์กรนั้นๆ กำลังเสื่อม หน้าที่ ตัวอย่างหนึ่งก็เช่น "โรคความตั้งใจบกพร่อง" หมายถึงการที่ผู้บริหารระดับสูงสุดไร้ความสามารถในการมุ่งเน้นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด หรือยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด หรือปัญหาที่สำคัญที่สุดเพียงประการเดียว

อาการต่างๆ เหล่านี้บ่งชี้ว่าองค์กรแห่งนั้นกำลังแสดงความโง่เขลาเบาปัญญาออกมา แทนที่จะแสดงความฉลาดขององค์กร Albrecht เขียนไว้ว่า แม้เขาจะพบบริษัทที่แสดงความโง่เขลาในจำนวนที่มากกว่าบริษัทที่มีความฉลาด แต่มิได้หมายความว่า ความฉลาดขององค์กรจะไม่มีอยู่จริง เพียงแต่ทำได้ยากทั้งยังรักษา ไว้ได้ยาก

เจ็ดประเภทของความฉลาดขององค์กร

เช่นเดียวกับความฉลาดของบุคคล ซึ่งมีอยู่ 7 ประเภท (Howard Gardner เป็นคนแรกที่ระบุว่า มนุษย์มีความฉลาดหลาย ประเภท ซึ่งคัดค้านความเชื่อที่มีมานานว่ามนุษย์มีความฉลาดทางสติปัญญาหรือ IQ เพียงอย่างเดียว) ได้แก่ ความฉลาดทาง การพูด-การใช้ภาษา ความฉลาดทางตรรกะ-คณิตศาสตร์ ความฉลาดในการรับรู้เรื่องตำแหน่ง ความฉลาดทางดนตรี ความฉลาด ทางการเคลื่อนที่หรือประสาทรับความรู้สึกและสั่งการ ความฉลาด ทางการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น และความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดขององค์กรก็มี 7 ประเภทเช่นกัน

1. การมีวิสัยทัศน์ Albrecht อธิบายว่า ทุกองค์กรจำเป็นต้องมีทฤษฎี ซึ่งหมายถึงแนวคิดหรือหลักการประการหนึ่งที่ต้องการทำให้ได้ ผู้นำขององค์กรจะต้องสามารถตอบคำถาม เช่น "ทำไมเราจึงคงอยู่?" หรือ "ทำไมโลกจึงควรยอมรับ เห็นคุณค่าและตอบแทนเราในสิ่งที่เราทำ?"

2. ความรู้สึกลงเรือลำเดียวกัน คนในองค์กรจะต้องมีความ รู้สึกว่าทุกคนมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และต้องเข้าใจบทบาทของตน ที่มีส่วนต่อความสำเร็จขององค์กร "ถ้าปราศจากความรู้สึกว่าทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว จะทำให้คนในองค์กรคิดถึงแต่ประโยชน์ ส่วนตนเป็นใหญ่" Albrecht ระบุโอกาสที่จะได้ทำสิ่งใหม่ๆ

3. กระหายความเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงคือตัวแทน ของความท้าทาย โอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น และโอกาสที่จะได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ

4. ทำด้วยใจ คือการเต็มใจที่จะให้มากกว่าที่ถูกคาดหวัง องค์กรที่มีความฉลาดข้อนี้คือ องค์กรที่มีผู้นำที่สามารถจูงใจพนักงานให้ทุ่มเทความพยายามมากกว่าปกติ

5. ความสอดคล้องต้องกัน การออกแบบองค์กรและโครงสร้างขององค์กร ตลอดจนระบบ วิธีการ กระบวนการ นโยบาย กฎระเบียบจนถึงระบบการให้รางวัล ควรจะสอดคล้องต้องกันในการผลักดันให้สมาชิกก้าวไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายขององค์กร

6. ความสามารถในการนำความรู้มาใช้ ได้แก่ความสามารถ ในการสร้าง เปลี่ยน จัดระบบ แบ่งปัน และประยุกต์ใช้ความรู้ สารสนเทศและข้อมูล รวมถึงความสามารถในการเก็บรักษาข้อมูลที่อ่อนไหว และความสามารถในการจัดหาข้อมูลได้ในเวลาที่ต้องการ

7. กดดันตัวเองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้อง ให้ฝ่ายบริหารมากดดัน แต่สมาชิกทุกคนในองค์กรจะรู้จักกดดันตัวเองในเรื่องประสิทธิภาพ


Resource:
//www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=5890


โดย: The Power of Minds at Work (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:12:42:46 น.
  
ทักษิณ" อ่าน อ่าน "ทักษิณ"
รายงาน ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 23 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3621 (2821)

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับที่ผ่านมาได้ทำการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับ "พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" ในช่วง 3 ปีกว่าของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีช่วงทั้งขาขึ้นและขาลงปรากฏว่ามีหนังสือออกมาขายกว่า 50 ปก เรียกได้ว่าไปร้านหนังสือร้านไหนก็ต้องเห็นหน้า "ทักษิณ"

ในอีกด้านหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังเป็นผู้จุดกระแสให้นักการเมือง รัฐมนตรี ข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการศึกษา สนใจใคร่เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ของนักคิดรุ่นใหม่ๆ ทั่วโลก

โดยประเดิมด้วยการเอาหนังสือ As The Future Catches You เขียนโดย Juan Enriquez แนะนำต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นครั้งแรก เมื่อ 3 กันยายน 2545 จนถึงกลางปี 2546 ก็มีการแปลเป็นภาษาไทย ในชื่อ "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ" โดยชวนิต ศิวะเกื้อ, สมสกุล เผ่าจินดามุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อมุ่งไปในอนาคตที่รวดเร็วมาก

จากนั้นก็พรั่งพรูออกมาอีกหลายเล่ม เช่น

Rethinking the Future เขียนโดย Ronan Gibson ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนต้องปรับกระบวนความคิดตามให้ทัน ซึ่งเป็นที่มาของสโลแกนพรรคไทยรักไทย "คิดใหม่ ทำใหม่"

The Mystery of Capital เขียนโดย Hernando de Soto อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเปรู เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ "ทักษิณ" เอามาใช้จนฮือฮามากในเมืองไทย

Lateral Thinking เขียนโดย Edward de Bono เนื้อหาเกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกรอบจนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน

Business @ The Speed of Thought เขียนโดย Bill Gates ผู้สร้างไมโครซอฟท์ผงาดโลก ทักษิณแนะนำว่าหนังสือเล่มนี้จะฝึกในการเลือกใช้ข้อมูล และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายตระหนักในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน

Primal Leadership : Realizing the Power of Emotional Intelligence เขียนโดย Daniel Goldman, Richard Boyatzis and Annie McKee แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ผู้ที่ทำให้โลกรู้จักคำว่า "อีคิว" หรือ "ความฉลาดทางอารมณ์"

Execution : The Discipline of Getting Things Done เขียนโดย Larry Bassidy และ Ram Charan นายกฯทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือทางธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานและเป็นขั้นตอน นำเอาสิ่งที่คิดฝันไปปฏิบัติให้เป็นความจริง

What the Best CEOs Know : 7 Exceptional Leaders and Their Lessons for Transforming any Business เขียนโดย Jeffrey A. Krames พ.ต.ท.ทักษิณยกหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาประกอบวาระ ครม.เรื่องผู้ว่าฯซีอีโอ

Winning the Merger Endgame : A Playbook for Profiting From Industry Consolidation เขียนโดย Graeme K. Deans, Fritz Kroeger และ Stefan Zeisel เนื้อหาแนะนำถึงการรวมภารกิจทั้งหมดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ แนะนำผู้บริหารต้องดูที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่เหมาะสม คือต้องกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอื้ออำนวยให้แก่วงการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอย่างเหมาะสม

It"s Alive : The Coming Convergence of Information, Biology, and Business เขียนโดย Chris Meyer, Stan Davis เป็นหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทุกอย่างเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ดังนั้น จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย

Leading at the Speed of Growth : Journey from Entrepreneur to CEO เขียนโดย Katherine Catlin หนังสือจะกล่าวถึงการตั้ง องค์กรใหม่ๆ ที่จะต้องมีผู้นำที่เป็นผู้กระทำเอง และเป็นคนที่ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในองค์กร เมื่อองค์กรพัฒนาไปอีกขั้นก็จะเป็นผู้ที่มอบหมายงานให้ผู้อื่นไปปฏิบัติ และเมื่อพัฒนาต่อไปก็จะเป็นผู้กำหนดทิศทางองค์กรว่าจะไปในทิศทางใด

Ten Deadly Marketing Sins : Signs and Solutions เขียนโดย Philip Kotler นักการตลาดชื่อดัง ซึ่งเคยมาแสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมมนา CEO forum ในหัวข้อ Marketing Thailand และ Marketing Move ในเมืองไทย

"พุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จักในทางการเมือง" ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้เขียนเอง เป็นเล่มเล็กๆ ราคาแค่ 25 บาท และเคยนำไปปาฐกถาเมื่อครั้งตั้งพรรคไทยรักไทยใหม่ โดย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่าได้ศึกษาธรรมะจากหนังสือของท่านพระพุทธทาสแล้วเห็นว่า เป็นหลักปรัชญาชั้นสูง ทำความเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจแล้วนำมาปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ทำให้ปล่อยวางเรื่องต่างๆ ได้มาก ถ้าไม่มีหลักธรรมะยึดเหนี่ยว การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย คงไม่ลุล่วงมาได้ถึงทุกวันนี้

Mind Into the 21st Century หรือ "พลังจิตในศตวรรษที่ 21" เขียนโดย John Kehoe นายกฯทักษิณแนะนำว่า หนังสือเล่มนี้ชี้ความจริงว่า การทำงานทุกอย่างไม่มีการแยกส่วน แต่เป็นเรื่องขององค์รวมทั้งสิ้น

และเล่มสุดท้ายที่นายกฯทักษิณ แนะนำล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา คือ Underdog Advantage หรือ "ข้อได้เปรียบของคนที่ตกเป็นเบี้ยล่าง" เขียนโดย David Morey และ Scott Miller โดยปรารภในที่ประชุม ครม.ว่า กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ในยามที่รัฐบาลขาลงเช่นนี้ควรจะอ่านหนังสือเล่มนี้ หนังสือกล่าวถึงคนที่อยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจะมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง เมื่อคนตัวเล็กต้องต่อสู้กับคนตัวใหญ่กว่าและมีอำนาจมากกว่าจะทำอย่างไร

ต้องยอมรับว่าโลกแห่งการเรียนรู้จากหนังสือสามารถย่อโลกและความคิดของคนทั่วโลกได้อย่างกระชับและมีองค์ความรู้ ใครที่อยากรู้ทันทักษิณยิ่งจะต้องอ่านหนังสือที่ทักษิณอ่าน

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6


--------------------------------------------------------------------------------

"ทักษิณ" อ่าน ภาค 2 "ต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด"

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 27 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3622 (2822)

เมื่อฉบับที่แล้ว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้นำเสนอรายงานหนังสือที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แนะนำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อ่านและนำเสนอในการแสดงปาฐกถาในวาระต่างๆ แต่ตกหล่นหนังสือที่น่าสนใจไปหลายเล่ม จึงขอนำเสนอต่อในภาค 2

"The Third Wave" ของ "Alvin Toffler" ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดว่าด้วยความพยายามการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเริ่มตั้งแต่ฟิวเจอร์ช็อก คลื่นลูกที่สาม และอำนาจใหม่ โดย "ทักษิณ" กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 ยุค ยุคที่ 1 เป็นสังคมเกษตร ต่อมายุคที่ 2 เป็น การทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและคุณค่าของมนุษย์ และยุคที่ 3 จะเป็นยุคที่เรียกร้องสิ่งที่ดีงามจากยุคที่ 2 กลับคืนมา เป็นยุคไฮเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ต้องปรับปรุงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และให้ความสำคัญเรื่อง "ความปลอดภัยในอาหาร" ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่อง "จีเอ็มโอ" อันเป็นปัญหาที่คนไทยกำลังทั้งตกใจและสงสัยระคนกันอยู่ในขณะนี้

หนังสือเล่มนี้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยแล้วชื่อ "คลื่นลูกที่สาม" แต่ไม่ทราบว่ายังมีวางขายอยู่อีกหรือไม่

"The Guru Guide" เขียนโดย Joseph H. Boyett และ Jimmie T. Boyett "ทักษิณ" มองว่าเป็นหนังสือที่พูดถึงผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ สามารถเป็นผู้นำในการเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเก่งในการนำเสนอ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ของตนเองให้คนในองค์กรได้รับรู้และนำไปปฏิบัติได้

"The Attention Economy" ซึ่ง "ทักษิณ" บอกว่า ในวันนี้ข้อมูลความรู้มีมากมาย แต่เรายังขาดนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์มันอย่างเต็มที่ มันเป็นกระบวนการที่เรียกว่า attention economy หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Thomas H. Davenport และ John C. Beck

"Judo Strategy" เขียนโดย David B. Yoffie และ Mary Kwak เป็นหนังสือว่าด้วยกลยุทธ์ในการแข่งขัน เหมาะสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ทักษิณอธิบายว่า นักยูโดเขาไม่ผลีผลามปะทะคู่แข่ง วิเคราะห์ดูท่าทีของคู่แข่ง ฉะนั้นจะต้องมองว่าคู่แข่งมีอะไรแข็ง แล้วความแข็งของคู่แข่งทิ่มแทงตัวเอง"

"The Math Gene" เป็นหนังสือที่ "ทักษิณ" แนะนำกับครู โดยบอกว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธุ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์สูง ควรส่งเสริมให้เด็กคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Keith J. Devlin

"The Responsibility Virus" เขียนโดย Roger L. Martin ทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือที่ช่วยให้ผู้นำใช้ความสามารถของผู้บังคับ บัญชาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งจะมีเครื่องมืออยู่ 4 อย่าง คือ 1.เปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันโดยเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแต่ละคนเทียบกัน เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดจากกลุ่ม 2.การจัดกรอบความคิดเพื่อหลีกเลี่ยงหรือออกจากการตกอยู่ในสภาวะของการรับผิดชอบมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

3.แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน สนับสนุนและร่วมมือเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และ 4.กำหนดลักษณะของผู้นำกับผู้ตามใหม่ ให้มองเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมมือกันในการดำเนินงานแทน

เช่นเดียวกับหนังสือ The Power of Minds at Work ซึ่งเขียนโดย Karl Albrecht ซึ่งทักษิณชี้ว่า ผู้บริหารควรใช้ปัญญาของคนในองค์กรรวมกัน และนำปัญญาสะสมของคนในองค์กรมาทำงานร่วมกัน โดยมีจุดเริ่มต้นคือมีวิสัยทัศน์ที่เห็นพ้องต้องกัน มีความกระหายอยากจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

และอีกเล่มหนึ่งที่แนะนำด้านการบริหารที่น่าสนใจ คือ Re-imagine เขียนโดย Thomas J. Peters และ Tom Peters

ทักษิณเห็นว่า "ในการบริหารองค์กรจะต้องใช้จินตนาการ จะต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด จะแปลกประหลาดเกินจริงหรือเหลือเชื่อบ้างก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยๆ ปรับให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะโลกปัจจุบันไม่นิ่งอยู่กับที่ ผู้นำจะต้องมีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีจินตนาการเชิงบวก จะทำให้องค์กรถึงเป้าหมายในเวลาที่รวดเร็ว"

ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6

โดย: ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:13:56:05 น.
  
Resource://thainews.prd.go.th/previewnews.php?m_newsid=254704280222&tb=N254702

28 กุมภาพันธ์ 2547
หัวข้อข่าว :. นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาเรื่องคลังสมองเพื่อการพัฒนาประเทศ

ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เรื่อง “คลังสมองเพื่อการพัฒนาประเทศ”
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 09.40 น.
****************************
กราบเรียนอาจารย์หมอประเวศ วะสี
รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ
ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาที่เคารพรักทุกท่าน

วันนี้เป็นวันที่ต้องถือว่ามีความสำคัญยิ่งของประเทศไทย ที่บรรดาผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ภายใน 10 ปี มีถึง 1,000 คน ได้มารวมกัน ณ ที่นี่ เพื่อที่จะให้ความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ ในการจะนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศ แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า ประเทศไทยคนที่มีการศึกษาสูงมีมากกระจัดกระจาย แต่ทำอย่างไรถึงจะทำให้คนที่มีการศึกษาสูงเหล่านั้นได้พัฒนาการศึกษาของเขานั้นให้เป็นความรู้ เป็นปัญญาต่อสังคม และทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นได้สร้างประชาคมของคนที่มีความรู้มาสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ผมเรียนมาจบปริญญาเอกในฐานะที่ได้ทุนรัฐบาลที่มีจิตสำนึกว่าได้นำเงินภาษีอากรมาประชาชนไปเรียน อยากจะตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน สิ่งที่ได้ปัญญามาได้ความรู้มาให้กับสังคมมากที่สุด ท่านที่เรียนหนังสือทุกคนถือว่า ได้ใช้ภาษีอากรประชาชนทั้งสิ้น แม้กระทั่งจบมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัยจุฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเรื่องที่รัฐบาลสนับสนุนทั้งนั้นถึงแม้ท่านเสียค่าเล่าเรียน รัฐบาลก็คือ ภาษีอากรประชาชน วันนี้เราจะมารวมกันว่า ทำอย่างไรเราถึงจะตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ด้วยความสามารถที่เรามีอยู่ คนเราถ้าจะตอบแทนบุญคุณในฐานะอะไรก็ได้ ผมรู้สึกดีใจที่กระทรวงศึกษาธิการและมูลนิธิคลังสมองของชาติได้ช่วยกันจัดโครงการนี้ขึ้นมา ผมต้องขอบคุณอาจารย์หมอประเวศที่ให้เกียรติมานั่งฟังบรรยาย เพราะผมเจอคนที่เป็นนักวิเคราะห์ นักคิดอันดับหนึ่งของประเทศมานั่งฟังผมอยู่
วันนี้ท่านดูประเทศไทยนั้นไปไกลมาก ยกตัวอย่าง สมัยก่อนพูดถึงทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ต่อมา จะว่าอย่างไรนั้นคือ สิ่งที่กำลังมาในอนาคต เมื่อก่อนเราพูดถึงเรื่อง Light Speed คือความเร็วแสง แต่ วันนั้นจะพูดถึง Beyond Light Speed ไปไกลกว่าความเร็วแสงแล้ว ถ้าเราพูดถึงการส่งแฟกซ์ เราสแกนถึงชั้นบิตแล้วส่งออกไป แล้วต่อไปข้างหน้าเราสแกนถึงชั้นอะตอมได้หรือไม่ เราจะส่งวัตถุ 30 มิติ เช่น เราส่งขวดน้ำทั้งขวดไปได้หรือไม่ ส่งมนุษย์ไปได้หรือไม่ พูดกันแล้วในหมู่นักวิทยาศาสตร์ Science fiction (นิยายวิทยาศาสตร์) ที่พูดกันในสมัยก่อนที่เป็นตัวการ์ตูนผ่านเข้าไปในหลอดเลือด แล้วไปรักษาโรค ตอนนี้กำลังจะพูดในอดีตเป็นจริงหมดแล้ว เราต้องมาถามประเทศเราจะทำอย่างไรดี เรากำลังจะแก้ไขปัญหาความยากจนต้องแก้ไขพร้อม ๆ กัน เราจะต้องถามว่า เราจะสู้กับโลกเข้าได้อย่างไร เขาใช้ปัญญาสร้างเศรษฐกิจ เขาคิดอะไรที่ได้มูลค่าอัตราการเจริญเติบโตของประเทศทั้งประเทศ เขามีพูดกันถึงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาแต่เราไม่มี ถ้าถามว่ามีด๊อกเตอร์มากไหมแล้วนักวิจัยหายไปไหนหมด วิจัยที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ จนสามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ไปไหนหมด สิทธิบัตรที่เราจดก็อยู่ในขั้นประถม ถามว่าเราสู้เขาไม่ได้หรือ ผมไม่เชื่อว่าด๊อกเตอร์ที่ไปเรียนทั้งหลายรับรองไม่อยู่ในชั้นที่เกณฑ์ไม่ดีกับต่างประเทศ รุ่นผมที่จบปริญญาเอกที่ไปเรียนพร้อมกันที่จบรุ่นแรกมีผมกับฝรั่งอีกคน แต่ปัญหาคือ เราขาดการรวมพลังและวางระบบเพื่อให้คนไทยนั้นได้พัฒนาสมองได้อย่างต่อเนื่อง การวิจัยเพื่อเข้าไปสู่ข้อมูลของเราอ่อนแอไปหมด ฉะนั้นวันนี้ถึงต้องอยากได้คนอย่างพวกทานต้องมาช่วยกันคิดแทน เพราะว่าท่านสมัยใหม่กว่าผม ท่านต้องช่วยผมคิด

ประเทศไทยในวันนี้ เราจะทำมาหากินอะไร อย่าลืมว่ายังมีหลายประเทศที่ชะลอดูว่าจะไปแรงไปเร็ว และเราจะช้าอยู่ต่อไปไม่ได้ ใครที่เรียนบริหารเข้าใจทฤษฎีโบราณ คือ ทฤษฎี s curve สิ่งที่เราทำมาหากินทุกวันนี้ คือ อุตสาหกรรมการเกษตรที่ไม่ซับซ้อนมากนักนี้ คือ แกนการทำมาหากินของประเทศไทยเราในวันนี้ ถามว่า S ตัวนี้หัวจะตกแล้วใช่ไหม นั่นคือ ความที่จะทำมาหากินนั้นกำลังจะร่วง วันนี้รัฐบาลนี้เข้ามาก็พยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยนำสิ่งที่เป็นความแข็งของเรายืดหัวไม่ให้ตก เพื่อที่จะตกช้าก่อนที่จะสร้างเอสตัวใหม่มาคล้อง ฉะนั้นวันนี้เราต้องทำ 2 อย่างพร้อม ๆ กันในอดีตและปัจจุบัน ทั้งอนาล็อกและดิจิตอล เรื่องของความร่วมมือข้าว ความร่วมมือของยางพาราให้เกษตรกรมีรายได้ดีก่อนแล้วเศรษฐกิจในประเทศจึงจะหมุน เกษตรกรเป็นจำนวนประชากรที่มากที่สุด วิธีดิจิตอลคือ นำเทคโนโลยีมาใส่ความแข็งของเราเพื่อจะยืดหัวไป เช่น การถนอมอาหาร การปรุงอาหาร การเก็บอาหาร ที่เป็นวิทยาศาสตร์เข้าไป ฉะนั้นทั้งสองอย่างต้องทำไปอย่างไรนั้นไม่เกิน 10 ปีอยู่ได้ ผมบอกได้เลยว่าอีก 10 ปี ข้างหน้า ถ้าเรายังจมอยู่กับการทำมาหากินอย่างนี้ เราจะเห็นอัตราการเจริญเติบโตของประเทศเริ่มตก หรือถ้าเปรียบเทียบการแข่งขันของทุกประเทศเราจะลดน้อยลง และในที่สุดเราจะถูกคนซึ่งเขาปรับมาสร้างเอสตัวใหม่ได้เร็วกว่า เอสตัวใหม่นี้ต้องเป็นเอสบนสังคมฐานความรู้ อย่าลืมว่าสินค้าที่ผลิตด้วยสมองของมนุษย์ได้เม็ดเงินใหญ่กว่าสินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติแน่นอน ท่านขายข้าวทั้งประเทศที่ดินเต็มผืนนาทำให้หมด ซื้อเครื่องบินได้กี่ลำ ซื้อซอฟต์แวร์ได้เท่าไหร่ คือ แนวโน้มสินค้าที่ผลิตจากสมองจะมาแรงขึ้นเรื่อย ๆ ท่านเห็นเศรษฐีรุ่นใหม่ไหม เด็กหนุ่ม ๆ ทั้งหลายที่เรียนเมืองนอก ยกตัวอย่าง การทำดาวน์โหลดเพลง ตอนอายุ 19 ปี รวยไม่รู้เรื่อง ไมเคิล แดล, สตีฟ จ๊อบ, บิวเกรต แต่ของเราหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินเต็มที่พอกินวันนี้เหลือกินพรุ่งนี้อีกวันหมด

สิ่งที่เป็นอยู่ในวันนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่ดี ดีต้องทำต่อและต้องพยายามสร้างความเข้มแข็งและคิดไปข้างหน้า สมองต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ยืดเอสปัจจุบันให้ยาวที่สุดให้หัวตกช้าที่สุด ส่วนที่ 2 คือ สมองต้องสร้างเอสใหม่ รวดเร็ว มั่นคง เพื่อที่จะมาสอดคล้องกับเอสตัวเดิม ฉะนั้นประเทศไทยในวันนี้เรื่องการส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย การได้ความรู้ใหม่ ๆ การผสมผสานของความรู้ต้องเป็นเรื่อง วาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายต้องเขามาช่วยกันในวันนี้ ช้าไม่ได้มีเวลาแค่ 10 ปี ต้องทำเพราะว่าสิ่งที่ทำให้ s ตัวใหม่นั้นก็จะต้องมี s ต่อ ๆ ไปมาสอดคล้องกัน ระบบการศึกษาปกติต้องแข็งในวันนี้ว่า ขณะเดียวกันต้องใช้เอสตัวใหม่มาเสริมด้วยระบบที่ดี ๆ แต่ต้องนำผลจากการศึกษาที่จบดีอย่างพวกท่านทั้งหลายมาช่วยกัน พวกท่านเป็น Inter Media Solution เป็น Solution ระหว่างคั่นกลาง แต่เอสใหม่อีกทีหนึ่งนั้นต้องเป็นรุ่งหลัง รุ่นนี้จะมีระบบการศึกษาที่ดีแล้วก็มีระบบพัฒนาความรู้ที่ดี ถึงจะไปได้ นี่คือ ความเป็นจริงที่ผมได้มองเห็นตระหนักถึง ผมเห็นระหว่างที่ผมจัดตั้งพรรคและจัดตั้งนโยบาย ผมใช้เงินส่วนมากในการค้นหาข้อมูลและนำวิชาการต่าง ๆ เข้ามาเพื่อค้นหาความจริงของประเทศไทยว่าคืออะไรในช่วงนั้น จนมาถึงวันที่เป็นรัฐบาลผมถึงไม่ต้องเสียเวลาศึกษา เพราะว่าเราศึกษาล่วงหน้า เรารู้แล้วว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเราต้องการรวมหลังอย่างมาก ในขณะเดียวกันที่ผมเสนอความคิดใหม่ๆ ก็กลายเป็นว่าผมไปขัดแย้งกับนักวิชาการ เพียงแต่ว่าการที่จะเป็นภาวะผู้นำนั้นยากไม่ใช่เรื่องง่าย การเป็นผู้นำเฉย ๆ นั้นง่าย แต่ถ้าเป็นภาวะผู้นำต้องมีการผลักดันการเปลี่ยนแปลง ที่ไหนมีการเปลี่ยนแปลงที่นั่นจะมีการต้านการเปลี่ยนแปลง

ผมอยากจะให้พวกท่านทั้งหลาย ที่เป็นคนรุ่นใหม่ใหม่จบปริญญาเอกมารับช่วงในการพัฒนาประเทศ ต้องเริ่มคิด ต้องมีการบ้านสำหรับประเทศ ถ้าใครคิดดีย้อนตัวเองไม่ได้ คนนั้นเติบโตยาก คิดที่ไรก็อยู่กับเรื่องของตนเอง ภาษาธรรม เรียกว่า เป็นบุคคลซึ่งอันตรายต่อตนเอง ถ้าใครอ่านหนังสือของพระพุทธเจ้าอันตรายซึ่งตัวเรา เราจะต้องคิดย้อนตัวเองไปสู่ครอบครัว จากครอบครัวไปสู่สังคมที่เราสังกัด จากองค์กรที่สังกัดไปถึงประเทศชาติ เราก็จะทำให้องค์กรที่อยู่รอบตัวเราดีขึ้น สิ่งไหน ๆ ที่ท่านไปเรียนมาได้ใช้ทุนของรัฐบาลโดยตรงและโดยอ้อมมาตลอดนั้น เราจะต้องคิดว่าเราจะช่วยให้บ้านเมืองของเราดีอย่างไร
ความคิดของผมเกิดจากการอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม ถ้าใครคิดว่าวิชาของตนเองยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงหมด ทฤษฎีต่าง ๆ นำไปเกี่ยวพันกันได้หมด ท่านที่เรียนเรื่อง กายวิภาค แล้วท่านที่เรียนบริหาร ถ้า 2 คนนั่งคุยกันท่านจะได้นักบริหารที่ดีขึ้นมาทั้ง 2 คนนี้ เพราะฉะนั้นท่านต้องเข้าใจระบบการเชื่อมโยงของส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายมนุษย์เป็นเรื่องขององค์กรที่ไม่มีคำว่า อิสระ มีแต่คำว่า พึ่งพาซึ่งกันและกัน ฉะนั้นองค์กรต่าง ๆ จะมีการส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องความเข้าใจทางวิชาการที่มีความเชื่อมโยงอยู่มาก เวลาผมอ่านอะไรแล้วจะนำมาคิดถึงเรื่องประเทศ อย่างผมอ่านหนังสือเรื่องหนึ่ง คือ “The Power of Mind at work” เขาพูดถึงเรื่องว่า ข้อมูลดิบจะเข้าไปสู่องค์ความรู้จากปัญญา วันนี้เราหันกลับมาดูประเทศไทยก็ไม่ค่อยมีข้อมูลที่ครบ ครบก็ไม่ค่อยทันสมัย ฉะนั้นผมถึงต้องสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทำระบบ GFMS เรากำลังส่งเสริมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ทในหมู่ภาคประชาชน เพราะว่าประเทศใดขาดข้อมูลที่ทันสมัยครบถ้วนแล้วยากที่ประเทศนั้นจะรู้จริงเรื่องของตัวเอง แต่เมื่อมีองค์ความรู้มาก ๆ ก็จะเกิดปัญญา เกิดความคล่อง พอเห็นอะไรนิดหนึ่งออกเลย คือ ถ้าเห็นตัวเลขแล้วเดาได้ว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น ถ้าท่านเห็นข้อมูลบ่อย ๆ มาก ๆ นำมาเปรียบเทียบแล้วใช้บ่อย ๆ จะเกิดปัญญา จะทำให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ได้ความรู้

ผมได้เห็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง คือ “Attention Economy” เขาพูดถึงการนำเทคโนโลยี นำระบบข้อมูลเข้าไปเพิ่มประสิทธิของการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง เปรียบเทียบง่าย ๆ บ้านเรา คือ ถ้ามีมะพร้าวลูกหนึ่ง ถ้าเราเป็นคนฟุ่มเฟื่อยดูดน้ำแล้วทิ้ง แต่ถ้าเราอยากให้มีประสิทธิภาพ นั่นคือ การทานเนื้อหรือนำเนื้อมะพร้าวมาคั่นกะทิ นำความรู้ไปเติมก็มากขึ้น ถ้าท่านมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์นำไปทำคาร์บอนที่เกิดจากกะลามะพร้าวใช้ได้ทั้งลูก เวลานี้ประเทศไทยยังมีอะไรที่เราให้ความใส่ใจกับเรื่องนั้น นำความรู้สร้างประสิทธิภาพมากขึ้น ท่านทั้งหลายเหมือนทำ GNO เป็น GNO ทางทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) คือ สมมติว่าผมมีภารกิจเรื่องหนึ่ง เรื่องนี้ต้องใช้มนุษย์อย่างนี้ ผมก็ไปเชิญมาร่วมกันให้เสร็จ คล้ายภาษาอาหาร มารวมกันและสร้างภารกิจนั้นให้จบ นั่นคือ สิ่งที่ท่านทั้งหลายถูกเชิญในวันนี้ เพราะว่าอุตสากรรมเรื่องนี้ต้องการคนที่จบทางด้านนี้มาช่วยกัน ว่าเราจะต่อเอสปัจจุบันได้แค่ไหน และเราจะสร้างเอสตัวใหม่ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งต่อไปได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้สอนผม

อีกเรื่องหนึ่ง “Re Imagine” ใน Tom Peter ที่กำลังจะมาบรรยาย หนังสือเรื่อง นี้จะพูดถึงเรื่อง ผู้นำ แต่เรื่องที่ผมสนใจคือ “Think Weird” คิดอย่างประหลาด คนเก่ง ๆ ในโลกนี้คิดอย่างประหลาดกว่าที่ท่านคิดได้ สรุปแล้วเขาจะท้าทายสมองท่าน ฉะนั้นวันนี้สมองของท่านจะต้องจุดประกายไฟ สมองชั้นดีทั้งนั้นที่นั่งอยู่ที่นี้แต่ไม่ค่อยจุดประกาย ต้องคิดอย่างประหลาด ๆ และนำความคิดของพวกท่านมารวมกันว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้ประเทศไทยมีวิธีคิด มีการจัดการ สร้างความรู้ใหม่เพื่อให้เกิดการผลิตจากสมองอันดีได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้สอนให้คิดอย่างประหลาด

ถ้าท่านอยากจะตื่นตัว คือ ท่านต้องอ่านหนังสือ 3 เล่มนี้ รับรองว่าท่านอยู่เฉยไม่ได้แล้ว หนังสือ 3 เล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาไทย 2 เล่มแล้ว คือ เรื่อง Rethinking the Future เขาได้ไปนำเรื่องย่อของแต่ละคนมาลง ก็ทำให้ท่านจุดประกายมาว่าต้อง Rethink ใหม่ ต้องนำกลับมาคิดในเรื่องของการบริหารจัดการการตลาด เพราะสิ่งที่เราคิดแต่เดิมได้เปลี่ยนไปแล้ว เล่มที่ 2 As The Future Catches you (เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ) ของฮวน เอนริเกซ์ เรื่องนี้เขาพูดถึงว่า ประเทศที่เขาเฟื่องฟูในอดีต วันนี้ไม่เหลือเลย เช่น ประเทศกัมพูชามีสิ่งหนึ่งที่เป็นมหัศจรรย์ของโลกเคยเป็นสวิสเซอร์แลนด์ของประเทศอเมริกามาก่อน หลายประเทศที่เสื่อมโทรมลง เพราะการบริหารจัดการ คือรัฐบาลการเมือง ถ้าท่านจ้างคนที่ไม่เก่งมาเป็นผู้บริหารบริษัทของท่านจะขาดทุน ฉะนั้นหลายประเทศที่แย่กันไปเพราะการบริหารจัดการของประเทศ สิงค์โปร์เคยมาดูงานที่ประเทศกัมพูชา เรื่อง การวางผังเมืองที่พนมเปญ ประเทศไทยก็เช่นกันเราร่วมมือกับประเทศไต้หวันเมื่อ 40-50 กว่าปีที่แล้ว ประเทศของเราก็ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เราต้องอุ้มคนระดับล่างขึ้นมา คนจน คนที่มีการศึกษาน้อยต้องพาขึ้นมา เขาได้พูดถึงประเทศเม็กซิโก ประเทศอียิปต์ เมื่อ 200 ปีที่แล้ว เป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรืองมาในอดีต แม้กระทั่งเอเชียเมื่อก่อนเหนือกว่าทางตะวันตกมาก เพราะความขัดแย้งในประเทศ เราต้องคิดไปข้างหน้า อดีตมองเพื่อเป็นบทเรียนไม่ใช่หลงอดีต อย่าถูกจองจำโดยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้เพื่อเป็นบทเรียนของอนาคต ศึกษาปัจจุบันให้เข้าใจและแก้ไขปัญหาพร้อมที่จะเดินต่อไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง

หนังสืออีกเล่มคือ “It’s alive” ที่พิมพ์โดย คริสเตอร์เฟอร์ มายเยอร์ กับสแตนด์ เดวิส หนังสือเล่มนี้ก็บอกกับท่านให้รู้ว่า ในอดีตเราเติบโตมาในยุคอุตสาหกรรม ยุคสังคมข่าวสาร ทั้งหมดก็มาจากรากฐานของวิทยาศาสตร์ พอออกจากห้องทดลองก็มาเป็นเทคโนโลยี จากเทคโนโลยีนักธุรกิจก็นำไปใช้ ในอดีตจากยุคอุตสาหกรรมก็มาจากเรื่องของวิศวกรรม เครื่องกล ตอนหลังจะมีเรื่องของยุคสังคมข่าวสารทั้งหลาย

ยุคใหม่นี้เขาเรียกว่า Molecular Economy เป็นยุคที่เข้าสู่เศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านจุลวิทยา ซึ่งจะประกอบด้วยวิชาที่สำคัญๆ คือ

1. ICT เป็นทั้งเทคโนโลยี
2. NanoTechnology
3. Bio Technology
4. Material Science

แน่นอนวิชาย่อย ๆ จะอยู่ใน 4 วิชานี้ แต่สรุปว่า ยุคข้างหน้าท่านต้องเตรียมความพร้อม เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงได้สร้างองค์กรส่งเสริมพัฒนาความรู้ขึ้นมา เป็นองค์การมหาชน ผมจะนำงบกลางปีมาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท นั้นคือสิ่งที่ผมต้องการพัฒนาความรู้นอกกรอบของการศึกษาในรูปแบบปกติ ทั้งหลายต้องมาช่วยที่จะต้องสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนำเด็กมาสร้างปลูกนำร่องโอกาสในยุคต่อ ๆ ไป พวกรุ่นท่านต่อจากรุ่นผม รุ่นเด็กวันนี้ต่อจากรุ่นท่าน ฉะนั้นเราต้องพาเขาเดินมาด้วยความแข็งแรง อย่างวันนี้ถ้าผมไม่สร้างคนผมก็เลิกไม่ได้ ผมต้องรีบหาคนที่สามารถทำงานได้ดีกว่าผม และมีความรวดเร็วกว่าผม รุ่นใหม่กว่าผมเข้ามาแทนผมให้ได้ นี่คือ การบริหารจัดการในแต่ละรุ่นออกไปจะต้องสร้างคนใหม่รุ่นใหม่ ๆ ออกมา แต่ไม่ใช่ต่อเพราะรับมรดก ต่อเพราะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศ การพัฒนาความรู้จึงต้องการที่จะสร้างคนไทย บางทีเราไม่รู้หรอกว่าก้อนหินแต่ที่ไหนได้เป็นเพชร เพราะฉะนั้นเราจะต้องยอมเจียระไน ก้อนหินหลาย ๆ เม็ดจนพบเม็ดเพชรขึ้นมา แน่นอนว่าบางอันเป็นเพชรชั้นดีและไม่ดี องค์กรความรู้ที่สร้างขึ้นมานี้ไม่ใช่โรงเก็บของเก่า ต้องมีชิวิต ต้องมีเรื่องราว ถ้าเดินเข้าไปแล้วเกิดความสนใจเข้าใจเรื่องราว เรื่องของชนชาติ เรื่องของความเป็นไทย แม้กระทั่งนักร้องเพลงลูกทุ่งยังมีประวัติศาสตร์ เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยยุคนั้นเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้คนได้รู้ถึงวิวัฒนาการ เพื่อจะกระโดดต่อไปข้างหน้า ห้องสมุดต้องเป็นห้องที่มีชีวิตชีวา ไม่ใช่เป็นห้องสมุดที่เก็บหนังสือเก่า ๆ ปีนี้ พ.ศ.2004 หนังสือต้องมีแล้ว ถ้าหนังสือต้องทันสมัย การปล่อยให้คนที่มีหัวศิลปะมานั่งคิด สมองของมนุษย์นำออกมาให้หมด บางครั้งต้องนั่งคิดให้มากแล้วจะได้อะไรให้กับประเทศอย่างมาก ต้องใช้สมองให้เกิดประโยชน์เป็นหนังสือเรื่อง It’s alive สอนเรามาก

เรื่องของ NanoTechnology จะเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลนี้ที่จะต้องทำและส่งเสริม ส่วน นักสสารวิทยาจะต้องเข้ามาด้วย NanoTechnology ได้แบ่งเป็น 2 สาขา คือ 1.ทางด้านฟิสิกส์ 2. ทางด้านเทคโนโลยีด้านชีวะวิทยา แต่ทางด้าน Material Science ก็นำมาใช้ได้ เช่น ทำวัสดุก่อสร้าง ทำจากฟางข้าวแข็งแรงทนทาน ฯลฯ ถามว่าประเทศไทยไม่จนถ้าขยันทำความดีก็ไม่จน มีเงินทั้งนั้นแต่ต้องนำสมองเข้าไปด้วย ถ้าด็อกเตอร์จบมาใหม่ ๆ ถ้าขยันขึ้นมาใครจะขวางประเทศไทยได้ วันนี้ไม่ใช่ว่าเราไม่มีเงิน เงินมีแต่เราต้องใช้ให้เป็น ใช้อย่างชาญฉลาด วันนี้สมมติว่า 1,000 คนในที่นี้ ถ้ามีความคิดที่จะสร้างความเจริญของประเทศไทยอย่างใหญ่ ขอลงขันมาสักแสนล้านบาทผมจะทำให้ดู ถ้าท่านเป็นนักการเงินบางคนรู้ เงินถ้ายังไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นกระดาษ เป็นเรื่องของ Trust and Confident ถ้าไม่มีต้องหาเงินทุกบาท นี่คือ ระบบของทุนนิยมที่เราต้องเข้าใจ ถ้าคนไม่เข้าใจทุนนิยมแล้วใช้ประโยชน์จาก Capital Market ไม่ได้ เหมือนกับเขาขึ้นจรวดแต่เรานั่งเกวียน อย่างเวลานี้ผมได้บอกกับรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย ตลาดทุนมีใช้ก็ไม่ใช้อยู่ ๆ อยากเป็นหนี้สาธารณะ อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไข

เรามีคำว่า IQ EQ ด็อกเตอร์คนนี้เมื่อก่อนเป็นทรัพยากรมนุษย์ ของ Motorola เขาเขียนหนังสือเรื่อง AQ, IQ คือ การวัดปรัชญา แต่ภาษิตโบราณบอกว่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เพราะว่า IQ สูงแต่มีปัญญา EQ ทำงานร่วมกับเพื่อนมนุษย์ไม่ค่อยได้ บางคนมี IQ, EQ มีแต่ขี้เกียจ ไม่มีความพยายามอุตสาหะ

AQ แบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม เปรียบเสมือนนักปีนเขาที่เดินไปถึงตีนเขา บอกว่าเหนื่อย ร้อน ไม่น่าขึ้น พวกหนึ่งที่เดินไปครึ่งทางก็เห็นวิวสวย กลางเต็นท์นอนไม่ขึ้นแล้ว อีกพวกหนึ่งคือ เขาลูกนี้น่าพิชิตให้ได้ พอไปถึงยอดเขาแล้วมีเขาที่ไหนสูงกว่านี้อีกไหมจะปีนต่อให้ดู เรียกว่า นักสู้ ฉะนั้น ท่านต้องถามตัวเองว่าท่านเป็นอะไร ท่านกำลังเป็นผู้แพ้ต้องปรับตัวใหม่ เรื่อง IQ, EQ แน่นอนถ้าท่านไม่ใช่นักบริหาร ท่าน IQ สูงแต่ว่าท่าน EQ ท่านมีปัญหาไม่อยากทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ถ้าอย่างนั้นเราสามารถหามุมให้ท่านอยู่ได้ ท่านต้องเป็นนักสู้หาวิชาความรู้ ท่านจะต้องหาความรู้โดยที่ไม่ต้องเป็นนักบริหารก็รวยได้ เป็นเจ้าของสิทธิบัตรต่าง ๆ ผมคิดว่า AQ สำคัญ ความมุ่งมั่นของ IQ และ EQ สำคัญ แต่ว่าพระพุทธเจ้าฯได้ตรัสว่า “ความพอดีเป็นสิ่งที่ดี” IQ, AQ, EQ ไม่ต้องเลอเลิศ แต่ความพอดีต้องสมดุล ความเป็นตัวท่านจะสมบูรณ์กว่า บางคนคิดเป็นและทำเป็น บางคนคิดเป็นทำไม่เป็น บางคนทำเป็นคิดไม่เป็น ฉะนั้นต้องคิดและวิเคราะห์

วันนี้สิ่งที่สำคัญคือ เรื่องคิด ต้องคิดเป็น ต้องวิเคราะห์เป็น อย่างทฤษฎีเดิมเขาบอกว่าหัวสมองข้างซ้าย ข้างขวา ทฤษฎีใหม่บอกว่า ข้างซ้ายข้างขวาอย่างเดียวไม่พอ ต้องคิดร่วมกันทั้ง 2 ด้าน ไม่ค่อยดีต้องเป็นอะไรที่รวมพลังหาความพอดี

วันนี้ท่านอาจารย์หมอประเวศจะพูดถึงเรื่อง ปัญญา ท่านคงจะพูดเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ด้วย ท่านเป็นลูกศิษย์พระพุทธทาส (ตอนมีท่านยังมีชีวิตอยู่) ผมเป็นลูกศิษย์พระพุทธธาตุตอนที่ท่านเสียชีวิตแล้ว เพราะเขานำหนังสือมาให้อ่าน อ่านอย่างมีความสุข ฉะนั้นคนที่จะเป็นคนเก่งอย่างไรต้องมีสมาธิ มีความมุ่งมั่นถึงจะทำให้สิ่งที่ท่านรู้ทั้งหลายเป็นอย่างดี ผมขอบอกว่า โลกข้างหน้า Convergence Technology and knowledge มาแรง การรวมตัวของวิชาความรู้สาขาแขนงต่าง ๆ ขึ้นมาศาสตร์ใหม่ ๆ นั้นมาแรง โดยเฉพาะท่านที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแบ่งเป็นคณะนั้น ๆ เป็นแบบโบราณ ต่อไปนี้ท่านทั้งหลายต้องทลายกำแพงทางองค์กร ทลายกำแพงของทางด้านอาณาจักร แล้วความรู้ถึงจะรวมตัวกันได้ ถึงจะได้ศาสตร์ใหม่ ๆ ทุกวิชาสามารถนำมาผสมผสานกันได้หมด ถ้าท่านทั้งหลายเรียนปริญญาเอกมา ปริญญาเอกเขาให้ ดร.อาฟีรอล โทฟี ได้บอกว่าทฤษฎีของเขาคือว่า ท่านรู้เรื่องที่ท่านเรียนจนถึงขั้นปรัชญา คือ ท่านรู้รากเหง้าของความรู้ที่ท่านเรียนมา บรรดา ดร.อาฟีรอล โทฟี แขนงหนึ่งกับอีกแขนงหนึ่งมาเจอกันน่าจะเกิดความรู้ใหม่ ๆ และยิ่งการทำวิจัยของคนหลากหลายสาขายิ่งจะได้อะไรใหม่ ๆ มาก เพียงแต่อย่ายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเองมีอยู่มากเกินไป ปล่อยวางให้ได้และนำความรู้ที่เรียนมานั้นมารวมกัน และมานำประเทศไทย

เราต้องการมอง S ตัวใหม่ เพราะ S ตัวเก่ามีเวลาแค่ 10 ปี ถ้าอีก 10 ปีท่านยังทำอย่างนี้อยู่ถือว่าประเทศไทยล้าหลัง ผมถึงพยายามที่จะผลักดันเรื่องใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น บางทีบางครั้งคนก็ไม่เข้าใจ มองผมทีละมิติ คนที่มองอย่างนั้นผิดอย่างแรง ผมมองที่ความเชื่อมโยงของทั้งระบบ ท่านทั้งหลายที่มีความรู้มาแต่ละสาขาต้องพยายามที่จะต้องสร้างศาตร์ใหม่ ๆ จากหลากหลายสาขาที่มีความรู้มา ผมหวังว่ากิจกรรมอย่างนี้คงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมทราบจากทบวง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า เลขาอุดมศึกษาว่าได้มีการสร้างเว็บไซต์ มีระบบ เครือข่ายของการติดต่อ ผมคิดว่าเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารถึงกัน และถ้าเป็นไปได้สร้างประชาคม ประชาคมความรู้ในแขนงต่าง ๆ และการสร้างประชาคมของกลุ่มของพวกท่านทั้งหลาย ต้องเป็นประชาคมย่อยขึ้นมา ก็จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกันและจะได้มีความรู้ต่อไป

วันนี้ขอขอบคุณในความเสียสละที่คนมีความรู้ทั้งหลายที่จะช่วยชาติบ้านเมือง ขอขอบคุณครับ
**********************************
ที่มาสำนักโฆษกรัฐบาล
ผู้สื่อข่าว : ฝ่ายวิทยุ
rewriter : ฝ่ายวิทยุ

โดย: หัวข้อข่าว :. นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาเรื่องคลังสมองเพื่อการพัฒนาประเทศ (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:14:42:08 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด