0030. THE MATH GENE : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร





เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 นายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดงาน BCC Fair กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ อิมแพค เมืองทองธานี มีข้อความตอนหนึ่งว่า.....

...."ผมอ่านหนังสือเล่มหนึ่งมีชื่อ The Math Gene เขาพูดถึงว่า ความจริงคนที่เป็นนักศิลปะ เป็นนักภาษา ไม่ได้หมายความว่า จะต้องอ่อนคณิตศาสตร์เสมอไป เพียงแต่การพัฒนาตั้งแต่แรกที่เกิดจากความชอบหรือไม่ชอบ คนที่เป็นนักศิลปะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนที่เป็นนักคณิตศาสตร์ก็เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์สูง ดังนั้น ครูต้องตระหนักตรงนี้ว่า การที่เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ อย่าไปคิดว่าเด็กเกเรเสมอไป บางครั้งเด็กอาจจะอยากคิดแตกต่าง ถ้าเป็นการคิดแตกต่างที่คิดสร้างสรรค์ต้องส่งเสริม นั่นคือ ส่งเสริมการคิดแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ถ้าไม่เช่นนั้นเด็กจะไม่มีทางออก แต่อย่าให้เด็กคิดแตกต่างที่ไม่สร้างสรรค์เท่านั้น"






เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในโอกาสเป็นประธานการประชุมเรื่อง "หลักสูตรใหม่ เด็กไทยพัฒนา : หัวใจปฏิรูปการศึกษา" ณ ห้องประชุม สถาบันราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร มีข้อความตอนหนึ่งว่า....

...." วันนี้ ผมอยากจะฝากเรื่องหลักสูตร ผมอ่านหนังสือเรื่อง The Math Gene คือ นักวิจัย หรือ คนเขียนเขาบอกว่า เดิมทีเดียวเขาเป็นคนไม่ชอบคณิศาสตร์อย่างแรงเพราะไม่ชอบครูผู้สอน เขาจึงเลี่ยงไปเรียนภาษา ตอนหลังเขาวกกลับมาเรียนคณิตศาสตร์ ปรากฏว่าเขาเรียนได้ดี เดี๋ยวนี้เขาเป็นนักคณิตศาสตร์เป็นดอกเตอร์ทางคณิตศาสตร์ จากเดิมที่ไม่ชอบแล้วหันไปเรียนภาษา แล้วเขาวิเคราะห์ และ พบว่าเป็นยีนตัวเดียวกันที่เก่งภาษาและเก่งคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ยีนคนละตัว แต่ ว่าปัญหาคือตอนเร่มต้น"



เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง ขณะที่กำลังสาธิตการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่นักเรียนชั้ย 5/5 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ซึ่งการสาธิตนี้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในโครงการอบรมครูทางไกล "สอนอย่างไรให้ถึงฝัน" ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 26 กันยายน 2546





... tells how his math students ...



Create Date : 06 มีนาคม 2551
Last Update : 6 มีนาคม 2551 11:52:35 น.
Counter : 1673 Pageviews.

7 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
  


The Math Gene
How Mathematical Thinking Evolved and Why Numbers Are Like Gossip
by Keith Devlin
Reviewed by Carl D. Mueller

This book is a fascinating and thought-provoking exposition of the development of the human ability to think mathematically. Of course we do not know (and probably cannot ever know) precisely how we humans developed our mathematical ability, and Devlin acknowledges this fact. Nevertheless, the book lays out a quite plausible sequence of events which could have led to the acquisition of the ability to think mathematically. Keith Devlin is a fine writer (as evidenced by the fact that the Joint Policy Board for Mathematics awarded him the 2001 JPBM Communications Award for his many contributions to public understanding of mathematics), and this latest book continues his string of well-written books.

Before one can address the evolutionary origins of the capacity for mathematical thought, one must of course define what is meant by "mathematics" and "mathematical thought." Unfortunately, most adults never get much beyond arithmetic and algebra in their mathematical education and are therefore left with a false impression of what mathematics is and what mathematicians do. If the typical adult opens an advanced mathematics book, he or she is likely to be turned off by the flood of symbols and may well believe that mathematics is nothing more than the symbols they see on the page. As Devlin says in the book, "Modern mathematics books are awash with symbols, but mathematical notation no more is mathematics than musical notation is music." Many people think that mathematics is somehow the study of and manipulation of numbers (a colleague of mine from another department often jokingly asks me whether we mathematicians have discovered any new numbers lately). Of course, as most people reading this review already know, there is a difference between arithmetic/numerical ability and mathematical ability. As Devlin says, "Mathematics is not about numbers, but about life. It is about the world in which we live. It is about ideas. And far from being dull and sterile, as it is so often portrayed, it is full of creativity." The book goes on to paint a pretty good picture of what mathematicians think of as mathematics. For this reason alone, I would recommend this book to those who are curious about what it is that mathematicians do. Hint: We don't spend much time discovering new numbers.

From the book: "One of my aims in this book is to convince you of just how remarkable and powerful — and uniquely human — language and mathematics are. ... Along the way, I shall examine the questions of what exactly is mathematics, what exactly is language, and how they arose. I shall also consider a third, distinctly human faculty: our ability to formulate — and follow — complicated plans, worked out in advance, incorporating various alternatives to be followed, depending on how things turn out at the time. ... This last human ability ... is, in essence, the source of the other two (mathematics and language). Arguably, therefore, it is the most important of all. ... The principal claim of this book is ... that the feature of our brains that enables us to use language is the same feature that makes it possible for us to do mathematics." If this claim is true (and the book makes a strong case), then since nearly all individuals have the demonstrated capacity to use language, it follows that these same individuals have the capacity to do mathematics.

After getting the reader up to speed about what he means by mathematics and mathematical thought, Devlin describes four levels of abstract thought: level 1 abstraction involves thinking about objects that are perceptually accessible in the immediate environment, level 2 abstraction involves thinking about familiar objects which are not perceptually accessible, level 3 abstraction involves thinking about real objects which have not previously been encountered or imaginary variations of real objects (for example, a unicorn is a variation of a horse which none of us has actually seen but which we can nonetheless think about), and level 4 abstraction involves thinking about objects which are entirely abstract and is where mathematical thought takes place. He points out that while many species of animals are capable of level 1 abstraction and a few are capable of level 2 abstraction, only humans seem to be capable of level 3 and level 4 abstraction. He argues rather convincingly that the critical development which gave the human brain the capacity for language and mathematical thought was one of increased abstraction rather than one of increased complexity.

Briefly, the road to mathematical ability (in Devlin's view) may have gone something like the following. First, brain size steadily increased over a period of about 3.5 million years. The driving force for this development was the richer view of the world, the greater range of responses to stimuli, and the more effective means of communication (a developing protolanguage) which were made possible by the larger brain. Second, the structure of the brain changed to give it the capacity for symbolic thought, language, the ability to formulate complex plans, etc. It is not obvious that all of these capacities (his list is even longer) are related, but, again, he gives a very plausible argument that a single change in the brain could account for all of them. He also gives evidence from the archaeological record that all of these capacities arose at essentially the same time.

So, how does the development of a capacity for language give rise automatically to a capacity for mathematical thought? To help us understand this part of his argument, Devlin first tells us the primary use of language. "[Sociolinguists and psycholinguists] have found that, on average, roughly two-thirds of all conversations are taken up with social matters — who is doing what with whom and whether it's a good thing or not, problems within relationships and how to handle them, and problems and activities at work, school, or in the family. In short, gossip." After a reasonable argument that gossip (and the sense of group membership imparted by gossip) is what gave language an evolutionary foothold, Devlin points out that each of us acquires and maintains a large amount of information about other individuals (names, backgrounds, interests, relationships, etc.). Furthermore, we are able to routinely access this information and use it to understand or predict their behavior, pass judgement, etc. Importantly, we do all of this without effort. We do not stay up late trying to memorize facts about those we interact with, we simply file the information away for ready use. The same is true for those who get caught up in a soap opera. They know vast amounts of information about the various characters in the soap and about how those characters fit together. They do not work hard to memorize this information, it simply gets filed away as they watch. Mathematics is not so different from this. In Devlin's words: "Mathematics studies the properties of, and relationships between, various objects, either real objects in the world (more accurately, idealized versions of those real objects) or else abstract entities that the mathematician creates. ... We have discovered the secret that enables mathematicians to be able to do mathematics: a mathematician is someone for whom mathematics is a soap opera. ... The characters in the mathematical soap opera are not people but mathematical objects — numbers, geometric figures, groups, topological spaces, and so forth. The facts and relationships that are the focus of attention are ... mathematical facts and relationships about mathematical objects." He goes on to say that "mathematicians are not born with an ability that no one else possesses. ... Whatever it is that causes the interest, it is that interest in mathematics that constitutes the main difference between those who can do mathematics and whose who claim to find it impossible."

I have tried to share some of what Keith Devlin has written about so well in this enlightening book, but I urge interested readers to read the book for themselves. This book will likely be well received by a wide audience, and it would certainly find a comfortable home in any library.

โดย: The Math Gene (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:10:31:15 น.
  
What is Mathematics ?



สำหรับคำถาม “ คณิตศาสตร์คืออะไร ? ” นั้น การพยายามตอบหรือให้คำจำกัดความ ดูจะเป็นเรื่องท้าทายและสุ่มเสี่ยงต่อการวิพากษ์วิจารณ์ ทว่าการพยายามให้ความหมายแม้จะไม่มีทางหาความสมบูรณ์แบบพบก็ตาม ก็ยังดูประหนึ่งว่าเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่ท้าทายชวนคิดอยู่ไม่น้อย ยิ่งในโลกหลังยุคสมัยใหม่ ( Post – modern ) ที่มีอิทธิพลของแนวคิดปรัชญาหลังยุคสมัยใหม่อบอวลอยู่อาจจะมีผู้มองว่าความพยายามในการให้นิยามความหมายของอะไรก็ตามดูจะเป็นเรื่อที่มีสาระน้อย และเป็นความพยายามที่จะแช่แข็งความหมาย อีกทั้งจำกัดเนื้อหาสาระของเรื่องนั้น ๆ


กระนั้นก็ตาม ในฐานะที่เป็นกิจกรรมทางปัญญา การพยายามตอบคำถามที่ว่า “ คณิตศาสตร์คืออะไร ? ” ได้ผ่านมาหลายยุคสมัย ก่อนที่แนวคิดหลังยุคสมัยใหม่จะมาถึง ดังเช่นถ้าคำตอบของคณิตศาสตร์คือ การศึกษาในเรื่องจำนวนและตัวเลข คำตอบเช่นนี้คงทันสมัยและเพียงพอแก่การอธิบายในช่วง 2,500 ปีที่แล้ว ที่พอจะพบหลักฐานเกี่ยวกับตัวเลขทางคณิตศาสตร์ของชาวอียิปต์โบราณ ชาวบาบิโลเนียน และชาวจีน

ยิ่งสำหรับชาวกรีกแล้ว พวกเขาเน้นที่เรขาคณิต คณิตศาสตร์ของพวกเขาก็คือ จำนวนและรูปทรง หลังจากยุคกรีก แม้ความรู้ทางคณิตศาสตร์จะก้าวหน้าในหลาย ๆ ส่วนของโลก ดังเช่นที่มีชื่อเสียงในแถบอาระเบียและจีน ลักษณะของคณิตศาสตร์ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อนิวตัน ( Newton ) ชาวอังกฤษและไลบ์นิทซ์ ( Leibniz ) ชาวเยอรมัน ต่างก็พัฒนาแคลคูลัสขึ้นมา ซึ่งโดยสารัตถะของแคลคูลัสแล้ว คือการศึกษาในเรื่องการเปลี่ยนแปลง ( Change ) และการเคลื่อนที่ ( Motion ) ด้วยเทคนิคใหม่นี้ ทำให้นักคณิตศาสตร์สามารถศึกษาการตกสู่พื้นโลกของวัตถุ การทำงานของจักรกล การไหลของของเหลว การขยายตัวของก๊าซ การเติบโตของพืชและสัตว์ รวมไปถึงการกวัดแกว่งของผลกำไร พูดง่าย ๆ คณิตศาสตร์สมัยใหม่ขยายขอบเขตไปสู่การศึกษาในเรื่อง จำนวน รูปทรง การเคลื่อนที่ ความเปลี่ยนแปลงและมิติพื้นที่ ( Space ) ฯลฯ

จวบจนยุคปัจจุบัน การจัดแบ่งประเภทในการศึกษาคณิตศาสตร์อาจจำแนกได้ถึง 60 – 70 หัวข้อวิชาทีเดียว อีกทั้งบางหัวข้อยังแยกย่อยแตกแขนงออกไปอีก ดังเช่นวิชา Algebra หรือ Topology

ท่ามกลางความหลากหลายดังเช่นในทุกวันนี้คำถามว่า “ คณิตศาสตร์คืออะไร ? ” นักคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ถ้าหากจะต้องตอบคำถาม จะให้คำตอบเช่นไร ในหนังสือ THE MATH GENE ของ Keith Devlin ให้คำตอบที่น่าสนใจว่า คณิตศาสตร์คือศาสตร์ที่ว่าด้วย รูปแบบ / แบบแผนต่าง ๆ ( the science of patterns ) แม้จะฟังดูแล้วมีมิติที่กว้างไกลและดูมีลักษณะเป็นการครอบจักรวาลไปบ้าง หรือมีลักษณะเป็น blanket theory อยู่บ้าง

การศึกษาคณิตศาสตร์สำหรับ Devlin ก็คือ การพยายามอธิบายถึงโครงสร้าง ความสัมพันธ์ ระเบียบ รูปแบบ / แบบแผนต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวและที่อยู่ในมโนทัศน์ เท่าที่มนุษย์จะสามารถรับรู้ได้ทั้งในเชิงนามธรรมและรูปธรรม โดยอาศัยภาษาทางคณิตศาสตร์มาอธิบาย

รูปแบบ / แบบแผนที่หลากหลายแตกต่างกันนำไปสู่ความหลากหลายในแขนงสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีจำนวนศึกษารูปแบบ / แบบแผนของจำนวนและการนับ เรขาคณิตศึกษาถึงรูปแบบ / แบบแผนของรูปทรง แคลคูลัสทำให้เราสามารถอธิบายรูปแบบ / แบบแผนของการเคลื่อนที่ ตรรกศาสตร์ศึกษาถึงรูปแบบ / แบบแผนของการให้เหตุผล ทฤษฎีความน่าจะเป็นเกี่ยวข้องกับรูปแบบ / แบบแผนของโอกาส ทอพอโลยี ( Topology ) นั้นศึกษารูปแบบ / แบบแผนของการปิดล้อมและการวางตำแหน่ง ( closeness and position )

ด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ รูปแบบ / แบบแผนต่าง ๆ โดยนักคณิตศาสตร์ สามารถนำไปศึกษาสิ่งใด ๆ ก็ได้ในธรรมชาติ เช่น รูปแบบ / แบบแผนที่สมมาตรกันของดอกไม้ แบบแผนที่ซับซ้อนของเงื่อนปมต่าง ๆ ( knots ) วงโคจรของกระสวยอวกาศที่โคจรนอกโลก แบบแผนของลายจุดบนแผ่นหนังของเสือดาว รูปแบบ / แบบแผนการลงคะแนนเสียงของประชาชนในเขตเลือกตั้ง แบบแผนของผลลัพธ์เชิงสุ่มในการทอยลุกเต๋าหรือรูเล็ต แบบแผนของเสียงที่มนุษย์เห็นว่าเป็นเสียงดนตรี

อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในทศวรรษที่ 1950 Noam Chomsky นักคณิตศาสตร์ นักภาษาศาสตร์และเป็นอีกหลาย ๆ นัก ซึ่งในปัจจุบันมีบทบาทอย่างสูงในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมืองของโลก ได้ใช้คณิตศาสตร์เพื่อให้ “ มองเห็น ” สิ่งที่มองไม่เห็น นั่นคือ รูปแบบ / แบบแผนเชิงนามธรรมของคำต่าง ๆ ที่ประกอบกัน ซึ่งเรายอมรับว่าเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้เปลี่ยนวิชาภาษาศาสตร์จากสาขาที่คลุมเครือมาสู่ความรุ่งเรืองแบบวิทยาศาสตร์

เมื่อคณิตศาสตร์คือการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจถึงรูปแบบ / แบบแผนซึ่งทำให้เรามอง “ เห็น ” ในสิ่งที่มองไม่เห็น บางครั้งทำให้เราสามารถมอง “ เห็น ” ถึงอนาคตกาลได้ด้วย แม้ว่าอาจจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ดังเช่น ทฤษฎีความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์ ทำให้เราสามารถพยากรณ์ผลลัพธ์ของการเลือกตั้ง เราสามารารถใช้แคลคูลัสพยาการณ์อากาศในวันพรุ่งนี้ นักวิเคราะห์ตลาดหุ้น ใช้ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์อธิบายพฤติกรรมของตลาดหุ้น บริษัทประกันภัยใช้สถิติและความน่าจะเป็นเพื่อคำนวณแนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุในปีที่จะมาถึง เพื่อกำหนดเบี้ยประกันภัยให้สอดคล้อง กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นความพยายามที่จะให้ความหมายของคณิตศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าการให้นิยามความหมายเช่นนี้เราคงต้องตระหนักว่า “ ความหมายของคณิตศาสตร์คืออะไร ” หาได้มีความคงตัวดังเช่นค่าคงตัวบางจำพวกในวิชาคณิตศาสตร์ไม่ เพราะว่าพัฒนาการของคณิตศาสตร์มิได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ความหมายของคณิตศาสตร์ที่ว่า คือ ศาสตร์ว่าด้วยรูปแบบ / แบบแผนต่าง ๆ จึงรอการตรวจสอบและการพิสูจน์ผิด ( falsification ) อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผู้แต่ง : ธัญลักษ์ เหลืองวิสุทธิ์
แหล่งข้อมูล : วิชาการดอทคอม
โดย: What is Mathematics ? (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:10:41:30 น.
  
ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “สมอง…เครื่องมือทรงพลังสู่แนวหน้า”

ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เรื่อง “สมอง…เครื่องมือทรงพลังสู่แนวหน้า”

ในโอกาสเป็นประธานเปิดสถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.) หรือ

National Institute for Brain-Based Learning (NBL)

ในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2548 เวลา 09.30 – 10.45 น.

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.รุ่ง แก้วแดง)

ประธานคณะกรรมการบริหาร สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

ประธานกรรมการบริหาร สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร)

ผู้บริหาร และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน



วันนี้ผมรู้สึกยินดีมากที่สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ของเราได้เริ่ม หลังจากที่ได้เตรียมการกันมานาน ได้ฤกษ์เปิดตัวในวันนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นการเปิดตัวธรรมดา แต่เป็นความพร้อมที่จะทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเตรียมเรื่องของถุงรับขวัญ และเรื่องของคาราวานที่จะไปช่วยกันพัฒนาเด็กในชุมชนต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศด้วย โดยนำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่ ผมคิดว่าบังเอิญจังหวัดเชียงใหม่มีความพร้อมที่จะนำร่องในหลายลักษณะ มีทั้งมหาวิทยาลัยอยู่ที่นั่น มีทั้งอนุบาลชั้นดีอยู่ที่นั่น มีทั้งระบบการศึกษาที่อยากจะไปดูไปเห็นไปให้รู้

ผมต้องขอขอบคุณทุกๆ ฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ญ. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ผู้อำนวยการ สวร. และ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิทยาการการเรียนรู้ และคณะกรรมการ ซึ่งได้มาทำเรื่องนี้อย่างจริงจังและขะมักเขม้นมาก

ท่านทั้งหลายคงจะงงว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร บังเอิญว่าผมเป็นคนชอบตั้งคำถาม ได้ตั้งคำถามมานานว่า การที่เราคิดวิธีการให้การศึกษาเด็กถูกต้องหรือไม่ ผมมีความรู้สึกลึกๆ (Gut feeling) ว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าเด็กไทยระยะหลังเรียนจบไปแล้ว คิดไม่เป็น จบไปแล้วทำงานไม่ได้ และพอสักอายุ 20-30 ปี เมื่อถูกถามเรื่องบูรณาการ ก็ไม่เข้าใจ บูรณาการไม่เป็น เพราะเราอยู่ใน กระบวนทัศน์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม คือเป็นลักษณะหลักการ Assembly line approach Division of labor ที่แบ่งงานกันทำ แยกกันอย่างชัดเจน ใครทำเรื่องใดก็ทำเรื่องเดียว และทำตัวเป็นรถม้าลำปาง ใส่แว่น มองไม่เห็นอะไรเลย นั่นคือระบบการศึกษาที่ผมมั่นใจว่าผิด แต่ผิดอย่างไร ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมานั่งคุยกัน แล้วในที่สุดระบบปฏิรูปการศึกษาก็เกิดขึ้น โดยแนวคิดของรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

แต่ผมดูแล้วว่าไม่ง่าย ถ้าเราจะไปแก้ไขอะไรในองค์กรเดิมๆ ซึ่ง Rigid เป็นองค์กร ที่กระด้าง ไม่ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะมีคนจำนวนมาก ฉะนั้น เราคิดว่าถ้าเราอยากจะมีการ เปลี่ยนแปลงที่ก้าวกระโดด คงต้องดึงบางอย่างออกมาอยู่นอกองค์กรเดิม แล้วเมื่อมันเข้าที่เข้าทาง แล้วค่อยนำกลับเข้าไปยังองค์กร ไม่เช่นนั้นจะถูกวัฒนธรรมองค์กรเดิมกลืนทั้งหมด นี่คือแนวทางที่ผมคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) หรือ Office of Knowledge Management and Development (OKMD) และก็มีแท่งต่างๆ จำนวน 8 แท่ง เพื่อที่จะให้แต่ละแท่งนั้น ได้มีส่วนในการเสริมสร้างความรู้ให้กับคนในมิติต่างๆ ในรูปแบบต่างๆ เพราะเรากำลังต้องการอะไร หลายอย่างในสังคมไทยที่ขาดหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดสร้างสรรค์

เรามีปัญหาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เรามีปัญหาเรื่องการทำงานเป็นทีม เรามีปัญหาเรื่องความคิดในเชิงวิเคราะห์ เรามีปัญหาหลายจุด ซึ่งเราคิดว่าเราคงจะต้องทำพร้อมๆ กัน แต่ที่สำคัญที่สุดระหว่างผู้ที่เกิดมาแล้ว โตมาแล้ว จะแก่แล้วอย่างผม ก็แก้ไขไปในระดับหนึ่ง แต่ที่ต้องแก้ไขตั้งแต่พื้นฐานคือเด็กที่เกิดใหม่ สิ่งนี้คือที่มาของการคิดว่าทำอย่างไรจึงจะให้เด็กที่เกิดใหม่ในวันนี้ จะได้รับการดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ฉะนั้น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น เราจะต้องเข้าไปดูว่าทำอย่างไรจึงจะดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยมีส่วนช่วยให้ความรู้แก่แม่ที่จะเลี้ยงดูลูกให้ถูกวิธี

ส่วนใหญ่จะมองปัญหาเฉพาะหน้า เนื่องจากว่าเศรษฐกิจทุกวันนี้เป็นเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม ชอบหรือไม่ก็ต้องอยู่ร่วมกัน เพราะทั้งโลกเป็นเศรษฐกิจแบบนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ระบบวัตถุนิยม ระบบการแข่งขันกัน เข้ามาในชีวิต

ชีวิตไม่ได้ตั้งหลัก ไม่ได้ตั้งตัว และไม่คิดถึงอนาคต คิดเพียงวันนี้และพรุ่งนี้เท่านั้น คิดถึงปีหน้ายังคิดไม่ค่อยถูก ฉะนั้น เด็กก็จะถูกเลี้ยงดูมาแบบที่ไม่ได้คิดว่าจะโตมาอย่างไร ไปตายเอาดาบหน้า นี่คือภาวะที่นับวันคนไทยจะแย่ลง ถ้าเราไม่ทำอะไรในวันนี้

ผมมองว่าในอนาคตข้างหน้า ประเทศใดจะมีน้ำมันมาก มีทองคำมาก มีอะไรก็แล้วแต่ สู้มีมนุษย์ฉลาดไม่ได้ ถ้ามีมนุษย์จำนวนมากและฉลาดสามารถซื้อทองคำได้ ซื้อน้ำมันซื้อได้ ซื้อป่าไม้ได้ เพราะสมองมนุษย์มีอำนาจมากกว่าอย่างอื่นทั้งหมด แต่ถ้าเราสร้างมนุษย์จำนวนมากและเป็นภาระส่วนใหญ่ สมองไม่ดี การเลี้ยงดูทำให้เติบโตมาไม่ดี เป็นสิ่งที่อันตราย ฉะนั้น เราจึงต้องมาดูว่าเด็กที่เราจะดูแลนั้น เราจะดูแลกันอย่างไร

ในอดีต การศึกษา เราก็ให้นักการศึกษาคิด ซึ่งไม่พอ เดี๋ยวนี้การจัดหลักสูตรการศึกษาต้องใช้ทั้งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักประสาทวิทยา ผู้มีความเข้าใจในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง ซึ่งการวิจัยต่างๆ มีมากมาย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีพัฒนาการในการวิจัยเรื่องความเข้าใจของสมองดีขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก สมัยก่อนท่านคงจำได้ Sigmon Floyd คือบิดาที่คิดกันว่าเรื่องของความเข้าใจในการพัฒนาการของสมองมนุษย์ว่า สมองจะหยุดเติบโตเมื่ออายุ 6 ปี 12 ปี แต่เดี๋ยวนี้บอกว่าไม่ใช่แล้ว ส่าสุด Dr.Giedd คนที่ทำวิจัยด้วยการถ่ายภาพเซลล์สมอง สังเกตเซลล์สมองทั้งหลายร่วมกับนักวิจัย ชาวแคนาดา ผลปรากฏชัดเจนว่าสมองจะเติบโตต่อไปอีกจนถึงอายุ 25 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่อายุเกิน 12 ปีไปแล้ว จะสร้าง synapse ที่เป็นตัวเชื่อมสมองแต่ละส่วน ซึ่งจะพัฒนาต่อไปได้ การเติบโตทางวุฒิภาวะ (maturity) ช่วงนี้สำคัญ นั่นคือการเรียนรู้เริ่มชัดเจนขึ้น

ฉะนั้น เมื่อการเรียนรู้ชัดเจนขึ้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะมาดูกันว่า เราจะใส่ข้อมูลเข้าไปในสมองเด็กอย่างไร เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนา คือ CPU มนุษย์ และ CPU คอมพิวเตอร์ มีความเหมือนและความต่าง ความเหมือนคือว่า CPU ต้องการซอฟต์แวร์ที่ดีเพื่อให้ทำงานได้ดี และ CPU มีความสามารถบรรจุ (capacity) อยู่จำนวนจำกัด แต่ส่วนใหญ่เราใช้ไม่ค่อยเป็น ถ้าเราพัฒนาโดยใส่ซอฟต์แวร์ที่ดีหรือ จัดลำดับเรียงซอฟต์แวร์ใหม่ garbage in , garbage out ที่เขาพูดกัน เราจะทำอย่างไรจึงจะนำข้อมูลและซอฟต์แวร์ที่ดีใส่เข้าไป เช่นเดียวกับสมองมนุษย์ เพราะสมองมนุษย์เหมือน CPU หลายก้อน ไม่ใช่ CPU เดียว และเป็นการทำงานหลายส่วนพร้อมกัน (multi tasking) ไม่ใช่การทำงานเป็นส่วนๆ (single tasking) แต่กระบวนการเรียนรู้ของเราสอนให้เด็กเรียนแบบทีละส่วน (single tasking) ซึ่งถ้าท่านจำได้ว่าคอมพิวเตอร์ PC สมัยรุ่นแรกที่ออกมาเป็นลักษณะการทำงานระบบเดียว (single tasking computer) ภายหลังพัฒนาเป็นการทำงานหลายระบบ (multi tasking) ขึ้นมา เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ multi tasking ธรรมดา เป็นการทำงานหลายส่วนซับซ้อนขึ้น ส่วนสมองมนุษย์เป็น multi tasking , multi processor คือมี CPU หลายตัวอยู่ในนี้ และ CPU แต่ละตัวถูกเชื่อมกันด้วยเส้นใยประสาท ที่เรียกกันว่า synapse

ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจ เราสามารถที่จะใส่อะไรได้มาก สมัยโบราณบอกว่า สมองของลูก อย่าให้ใช้มาก เดี๋ยวจะแย่ แต่จากการศึกษาพบว่า เซลล์สมองมนุษย์ที่มีเป็นแสนล้านเซลล์ สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ ใช้เท่าไรก็ไม่หมด ไม่เคยมีเซลล์สมองมนุษย์ที่ตายไป จนถึงตายแล้วเซลล์สมองยังเหลืออยู่ ฉะนั้น เซลล์สมองมีมากพอ ใช้มากๆ ได้เลย ใช้มากเท่าไรก็เก่งเท่านั้น แต่ไม่ได้ใช้เป็นความเครียด เพราะเครียดแล้ว สารเคมีที่จะผ่านเข้าเซลประสาท (neuron) ถูกสกัด จะทำให้เกิดเช่นเดียวกับ พระพุทธทาสกล่าวไว้ว่า "จิตวุ่นปัญญาหาย จิตว่างปัญญามี" คือ ถ้าจิตวุ่นจะทำให้สารเคมีที่เข้าไปใน เซลประสาท (neuron) ไม่ปกติ จึงคิดไม่ออก สมองก็ไม่ bright ไม่เฉียบ แต่ถ้าจิตว่างสมองเฉียบ หมายความว่าสารเคมีไหลเวียนได้ปกติ

ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าเราเข้าใจผิดทั้งหมดว่า ตอนเด็กเริ่มเกิดมา เรียนอนุบาล อย่าให้ เรียนมาก อย่าให้เรียนคณิตศาสตร์ ให้ไปสังคม ตอนนี้สังคมมาก ไปดิสโกเทคทุกคืน ความจริงแล้ว เพราะเรายังไม่เข้าใจ เราใช้แต่ความรู้สึก ประเทศเราบริหารด้วยความรู้สึกมานาน ถึงเวลาที่ต้องบริหาร ด้วยศาสตร์ ฉะนั้น ทุกองค์กรต้องบริหารด้วยศาสตร์ แล้วเราเป็นผู้ใหญ่ เราเลี้ยงดูเด็กด้วยความรู้สึก ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าคนมีประสบการณ์ที่ดีอย่างหนึ่ง ก็ถ่ายทอดไปอย่างหนึ่ง คนมีประสบการณ์ไม่ดี อย่างหนึ่ง ก็จะถ่ายทอดไปอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นใช้ศาสตร์เถิด แล้ววันนี้ศาสตร์ในประเทศไม่พอ ศาสตร์ในสากลก็มีมากพอ และการเข้าหาศาสตร์ต่างๆ
โดย: ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “สมอง…เครื่องมือทรงพลังสู่แนวหน้า” (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:10:43:24 น.
  
..( ต่อ )..
ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “สมอง…เครื่องมือทรงพลังสู่แนวหน้า”


และการเข้าหาศาสตร์ต่างๆ ในวันนี้ ก็เข้าได้ง่ายขึ้นมาก ฉะนั้น จึงถึงเวลาที่เรา จะต้องกลับมาถามกันว่า เราจะทำอย่างไรกับเด็กไทย

อย่างแรกของนโยบายในรัฐบาลนี้คือ ประกาศกันว่าจะให้ถุงรับขวัญกับเด็กไทยที่คลอด ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป สาเหตุที่เลือกวันที่ 28 กรกฎาคม ก็คือ เป็นวันคล้าย วันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร และการกำหนดระยะเวลาช่วงเวลาที่พร้อมคือเดือนที่พร้อม ก็พร้อมในเดือนกรกฎาคม จึงเริ่มแจก ในวันดังกล่าว เราจะแจกครอบครัว บางคนที่ลูกคนที่สองเกิดในช่วงเวลานี้ แต่ลูกคนแรกยังไม่เคยได้ เราก็จะให้ แต่เกิดลูกคนที่สาม เคยได้รับเมื่อลูกคนที่สอง เราก็จะไม่ให้แล้ว เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด จะให้ครอบครัวละ 1 ชุด แต่จะให้ในโอกาสที่ครอบครัวนั้นมีเด็กแรกเกิดเป็นครั้งแรกที่ยังไม่เคยได้รับ ถุงรับขวัญ

ถุงรับขวัญเป็นการสะท้อนถึงความเข้าใจเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก แต่ละชิ้นจะมีความหมายในตัวเองว่า เราต้องการสร้างให้เด็กได้เรียนรู้อะไร แล้วหลักสูตรแต่ละชั้นเราจะเปลี่ยนแปลงไป โดยที่คำนึงว่าช่วงวัยใดจะเรียนอะไร ผมมีหนังสือเล่มหนึ่งที่ซื้อมานานก่อนที่จะเข้าใจเรื่อง Brain-Based Learning คือเรื่อง The Math Gene บอกว่าในคนทุกคนมียีนที่สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้ แต่เราไม่ค่อยได้ใช้ และยีนที่ใช้เรียนคณิตศาสตร์กับยีนที่ใช้เรียนภาษาเป็นยีนตัวเดียวกัน คนที่เรียนภาษาได้ต้องเรียนคณิตศาสตร์ได้ เพราะบางคนที่เรียนภาษาได้คิดว่าเรียนคณิตศาสตร์ไม่ได้ พอมาเรียนคณิตศาสตร์ก็เป็น นักคณิตศาสตร์ชั้นดีได้ แต่เพราะความที่กลัวว่าเป็นคนละเรื่องกันจึงไม่เรียน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด แล้วความเข้าใจในสมัยก่อน สมองข้างซ้าย สมองข้างขวา เป็นความเข้าใจที่ล้าสมัย เพราะความจริง สมองข้างซ้ายและสมองข้างขวาใช้คู่กัน บางคนคิดว่าถ้าใช้สมองข้างซ้ายจะเป็นคนละเอียด micro man สมองข้างขวาจะเป็น macro man ความจริงต้องใช้ทั้ง macro และ micro จึงต้องมาคิดกันว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะปรับปรุงหลักสูตรตั้งแต่เด็กแรกเกิด เพราะสมองต้องการการเรียนรู้ตลอดเวลา เด็กเรียน การมองเห็นตั้งแต่เกิด รู้ระยะ ความลึกต่างๆ เรียนภาษาจากการที่พ่อแม่พูด ได้ยินเสียง สมองก็เริ่ม แปลความจากภาษาพูด ภาษาไทย ภาษาเกิดของเขา แล้วภาษาอื่นเขาจะเรียนได้ทั้งหมด ฉะนั้น เด็กตอนเล็กๆ จะเรียนภาษาได้ดี จะให้เรียนภาษาอะไรก็เรียนได้หมด สมองจะรับได้เร็ว ถ้ามายัดเยียด ตอน 50 ปีอย่างผม มาสอนภาษาจีน ผมเรียน 5 ปี แต่เด็กตัวเล็กๆ จะใช้เวลาเรียนเพียง 5 เดือน ใช้เวลาเพียง 5 เดือนจะเก่งกว่าผมที่ต้องใช้เวลา 5 ปี เพราะความสามารถในการรับรู้ได้เปลี่ยนไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่

ผมอยากเห็นเด็กไทยได้มีการศึกษาอย่างน้อย 12 ปี แต่ 12 ปีนี้ ผมไม่ได้บอกว่า เด็กจะต้องเรียนจบขั้นอุดมศึกษาทั้งหมด เรียนสามัญทั้งหมด ไม่จำเป็นเลย เด็กอาจจะเรียนสายอาชีพ เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เรียนอะไรก็แล้วแต่ แต่ต้องมีการเรียนในอายุเบื้องต้นในช่วงอายุที่เขาควรได้เรียน ต้องให้เขาเรียน สมองเขายังรับได้ ต้องให้เขาเรียนมากๆ หลังจากนั้นแล้วเมื่อครบ 12 ปีแล้ว ถ้าบางคนจะเรียนต่อ เขาก็เลือกเรียนในสิ่งที่เขาถนัด หรือเลือกเรียนที่เขามีปัจจัยสนับสนุนเอง (afford) ได้ ซึ่งต่อไปเราจะทำให้การเรียนนี้สามารถ afford ได้ ฉะนั้น เรื่องการเรียน 12 ปีนี้จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน

อย่างที่สองคือ ผมอยากให้คนที่อยู่ในภาคแรงงานได้มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาความรู้พอกพูนให้กับตนเอง อย่างน้อยปีหนึ่งเรียนประมาณ 2 สัปดาห์ก็ยังดี เรากำลังจะก้าวเข้าสู่สังคม ฐานความรู้ ถ้าเราไม่ให้เรียนรู้ก็จะลำบาก เราจะพยายามให้เยาวชนเข้าสู่ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างน้อยร้อยละ 50 เพราะวันนี้น้อยมากเพียงร้อยละ 20-30 เราต้องการให้ถึงร้อยละ 50 แล้วเราจะพยายามขยายการจ้างงานให้ได้ปีละ 700,000 อัตราทุกปี นั่นคือ จะต้องมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โต ถ้าไม่โตคนจบมาใหม่จะไม่มีงานให้ทำ GDP growth หมายความว่าการขยายธุรกิจเกิดขึ้น การขยายการจ้างงานเกิดขึ้น และเรื่องสำคัญคือต้องทำให้คนไทยพ้นความยากจนให้ได้

ผมอยากจะสร้างให้สังคมไทยได้เข้าใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหลาย พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องบัวในโคลนตม บัวใต้น้ำ บัวปริ่มน้ำ บัวพ้นน้ำ ผมจะพยายามนำข้อมูลเหล่านี้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาเข้ากับศาสตร์ในปัจจุบัน สมัยก่อนนี้ Alvin Toffler บอกว่า “สารสนเทศคือขุมพลัง” (Information is power) ตอนนี้บอกว่าไม่ใช่ ต้อง “ศาสตร์หรือองค์ความรู้คือพลัง” (Knowledge is power) แต่ผมกำลังจะบอกว่าสิ่งที่จะมาต่อจากนี้ไปคือปัญญา หรือภูมิปัญญา (Wisdom) เมื่อก่อนนี้ทุกคนต้องมีข้อมูล (data) เดี๋ยวนี้ data คือขยะธรรมดา แล้วพัฒนาขึ้นมาเป็นสารสนเทศ (information) วันนี้ information เป็นขยะอีกแล้ว เพราะใครๆ ก็มี information แต่เมื่อมีการวิเคราะห์ information เป็นและใช้มากๆ ก็จะเกิดเป็นความรู้ (knowledge) แล้วความรู้เมื่อใช้บ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นปัญญา (wisdom) ต่อไปนี้ การจ้างงานด้วยการจ่ายโดยประกาศนียบัตรซึ่งเป็นพื้นฐานของความรู้จะเริ่มมีความหมายน้อยลงในโลกภาคธุรกิจ เขาจะเริ่มจ่ายตามความสามารถเฉพาะ (talent) ท่านจะเห็นว่า Bill Gate ไม่จบการศึกษาอย่างเป็นทางการ Michael Dell ไม่จบเช่นกัน แต่ความที่เขามีปัญญา มีความสามารถเฉพาะ (talent) เขาสามารถไปได้ไกลมาก แต่สิ่งเหล่านี้เกิดจากกระบวนการนอกเหนือจากการเรียนรู้

เด็กที่เก่งต่างกันเป็นเพราะยีนของมนุษย์ที่เกิดมา ความจริงแล้ว พระเจ้าสร้างมนุษย์ มาเพียงคร่าวๆ สร้างมาอย่างหยาบ หลังจากนั้นต้องอยู่ที่กระบวนการเรียนรู้ และการเลี้ยงดูให้เติบโตมา ของแต่ละคน เพราะกระบวนการเรียนรู้และการเลี้ยงดูให้เติบโตมาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จิตวิทยา ในความเข้าใจมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญว่ามนุษย์ถูกเลี้ยงดูมาอย่างไร จึงจะเข้าใจกัน และเรื่องของสมอง ก็เช่นกัน ถ้าเราเข้าใจเขา เราเข้าใจพัฒนาการสมอง และเข้าใจการเลี้ยงดูของสมอง ผมเชื่อเหลือเกินว่า เราจะสร้างเด็กไทยรุ่นใหม่ออกมา เป็นเด็กที่มีขีดความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี เพราะเราจะใส่เข้าไป ตามลำดับอย่างถูกต้อง เพื่อให้ศักยภาพของสมองดูดซับสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและมีระบบ

นี่คือทั้งหมดที่ สวร. จะทำ เริ่มต้นก็คือทำเรื่องถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด เรื่องที่สองก็มีคาราวานเข้าไปดูการเลี้ยงดู การสอนการเลี้ยงดูเด็กให้กับครอบครัว เพื่อจะให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ถูกต้อง ต่อไปก็คือจะมีการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อที่จะพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปตามพัฒนาการของสมอง ฉะนั้น สวร. จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างเด็กในอนาคตได้เป็นอย่างดี ผมหวังว่าทุกๆ ท่าน และกระทรวง ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อที่จะให้การเรียนรู้นั้นได้รับพัฒนาอย่างเต็มที่

ผมดูเรื่องถุงรับขวัญ นักวิชาการของ สวร. พยายามที่จะพัฒนาเรื่องเพลงกล่อมเด็ก ทำอย่างไรจึงจะได้เพลงไทยที่มีลักษณะคล้ายเพลงของโมสาร์ทที่ได้วิเคราะห์กันว่ามีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็กนั้น จะดูว่าควรเป็นเพลงไทย แต่กำลังวิจัยเพื่อให้ได้เพลงไทยที่ดี ผมจำความได้สมัยผมเด็กๆ ที่บ้านของผมมีลูกมาก แม่ของผมตั้งท้อง 11 ท้อง รอด 9 คน เสียชีวิตไป 2 คน ผมเป็นท้องที่ 3 แต่เป็น ลูกคนที่ 2 ผมจำได้ว่าระยะหลังผมช่วยแม่เลี้ยงน้อง ผมเห็นโมบายที่แม่บอกว่าใช้ตั้งแต่ผมเกิด สมัยก่อนเป็นโมบายแบบไขลาน และเป็นเสียงเพลง แล้วนอนไกวเปล แม่ของผมไม่ได้ร้องเพลง เพียงแต่ฮัมเพลง ผมจึงร้องเพลงไม่เก่ง แต่ผมชอบฟังเพลงมาก ผมมีข้อเสียมากคือไม่สามารถจำเนื้อเพลงได้ นักวิเคราะห์ ทางสมองต้องอธิบายให้ผมฟังว่า ผมมีปัญหาอะไร ผมเป็นคนที่จำอะไรก็ได้ แต่จำเนื้อเพลงไม่ได้ แต่เด็กต่างจังหวัดทำไมมีความกระตือรือร้น เพราะพ่อแม่ปล่อยให้เล่นเต็มที่ไม่ค่อยห่วงว่าจะหกล้ม จึงซนและมีความกระตือรือร้น ในสมัยเด็กผมถูกให้เรียนมาก ผมเรียนคณิตศาสตร์และไม่ค่อยได้เรียนภาษา เนื่องจากว่าอยู่ต่างจังหวัด ครูของผมชื่อครูควาย สอนภาษาไม่ได้ สอนได้เฉพาะภาษาไทย และสอนคณิตศาสตร์ ให้เรียนได้โดยที่ถ้าเด็กเรียนได้จะให้เรียนไม่เลิก ทั้งบวก ลบ คูณ หาร ผมจำได้ว่าสัปดาห์ สุดท้ายก่อนจะเข้าเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ผมเรียนหารยาว เพราะผมไม่ได้เรียนภาษา เมื่อผมจะเข้ามงฟอร์ดก็ไปเรียนภาษา ผมเรียนภาษาอังกฤษตอนประถมศึกษาปีที่ 3 คือเรียนช้าไปหน่อย เรียน A B C D เพื่อจะเข้ามงฟอร์ด ภาษาพอได้แต่ผมคิดว่าคณิตศาสตร์ของผมดีกว่า เป็นสิ่งที่ผมต้องการให้ นักวิชาการรู้ และช่วยวิเคราะห์ผมด้วย

ผมกำลังจะบอกว่าการที่เรากำลังเข้าใจว่าเด็กควรจะเรียนให้น้อย มีสังคมให้มากนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่กลับมาดูเรื่องของพัฒนาการสมองว่า ช่วงปีใดสมองพัฒนาอย่างไร อายุเท่าไรควรจะให้เรียนอะไร นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด เช่นเดียวกับที่อาจารย์จันทร์เพ็ญฯ บอกผมว่าเด็ก เมื่ออายุถึง 6 ปี ถ้าอ่านตำราภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ปรากฏว่าสามารถให้ท่องศัพท์ได้ถึง 10,000 ตัว นั่นคือวิธีการสอนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ต่อไปนี้เรากำลังจะเปลี่ยนครั้งใหญ่ ผมขอให้ท่านทั้งหลายที่มีแต่ความเชื่อความรู้สึกส่วนตัว (gut feeling) ได้เข้าใจศาสตร์และยอมรับศาสตร์ ผมดีอยู่อย่างหนึ่งตรงที่ผมชอบเรียนรู้ ้เรื่องใหม่ๆ คือใครที่นำเรื่องใหม่ๆ ที่มีศาสตร์มีเหตุมีผลมาให้ ผมรับได้ทันที ผมจะไม่ค่อยโต้แย้งกับ วิชาใหม่ๆ ที่ยังไม่รู้ จนผมพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ ผมจึงจะเปลี่ยน แต่ผมจะมีแนวโน้ม tendency ในการ ที่จะรับฟังเรื่องใหม่ๆ ได้เร็ว และชอบ

ผมจึงอยากจะให้ท่านผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายได้เข้าใจว่า ระบบการเรียนรู้ต้องเปลี่ยน และความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการสมองเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ระบบใหม่ ให้ได้ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าพูดมากเกินไปก็จะอายพวกหมอด้านสมองด้านประสาทวิทยา (neuro) ที่อยู่ ที่นี่หลายคน ผมมีความรู้เหมือนเป็ด คือได้อย่างละหน่อยแต่ไม่ลึก แต่ที่แน่ๆ คือเข้าใจทุกคน ทุกภาค ที่มีความรู้เฉพาะทาง และอยากให้คนเหล่านี้มารวมตัวกัน เพื่อที่จะสร้างศาสตร์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับ สังคมไทย เพราะวันนี้ศาสตร์ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดจากการปรับเปลี่ยน convert ของความรู้ ในสาขาต่างๆ เข้าหากัน จะเป็นศาสตร์ใหม่ๆ เกิดขึ้น และศาสตร์ใหม่ๆ ต้องเกิดขึ้นในประเทศไทย ถ้าประเทศไทยยังคิดว่าจะแยกส่วนกันอยู่เรื่อยๆ นั้น ผมคิดว่าประเทศไทยของเราจะล้าหลัง จึงอยากให้ ผู้ใหญ่ในวันนี้ได้ช่วยกันเปิดใจกว้าง วางรากฐานที่ดีให้กับลูกหลานของเราตั้งแต่วันนี้

ผมยังบอกกระทรวงศึกษาธิการด้วยซ้ำไปว่าระบบการศึกษานอกโรงเรียนควรจะเป็น เครื่องมือที่ดี แต่การศึกษานอกโรงเรียนสามารถใช้ครูจากกรมสามัญ จากสายอาชีวะ เข้ามาร่วมได้ เพื่อที่จะไปไล่ล่าเด็กที่อยู่ในวัยควรเรียนต้องมาเรียน เด็กที่อยู่ในวัยควรเรียนต้องเข้ามาสู่ระบบการศึกษา ให้หมด จะเป็นการศึกษาในแบบหรือนอกแบบได้ทั้งนั้น แต่ขอให้เขาได้เข้าสู่ระบบการศึกษา และถ้าเราทำ ทุกมิติพร้อมๆ กัน หนึ่ง เข้าใจเรื่องพัฒนาการสมอง ปรับหลักสูตรให้สอดคล้อง สอง เข้าใจปัญหาสังคมของประเทศ และพยายามให้คนได้มีโอกาสได้เรียนในทุกภาวะที่เขาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ต้องทำงานไปเรียนไป สาม ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของสาขาต่างๆ องค์กรต่างๆ เพื่อสร้างเสริมเด็กให้ได้ สี่ ครู โดยเฉพาะ ครูในมหาวิทยาลัยซึ่งมีเสรีภาพมาก แต่ไม่ให้เสรีภาพกับเด็กเลย อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีเสรีภาพของ ตัวเองมาก ใครก็แตะไม่ได้ ปกครองไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันกลับไม่ให้เสรีภาพการเรียนรู้กับเด็ก สอบเข้าคณะนี้คุณต้องเรียนอย่างนี้ เลือกทิ้งไม่ได้ ย้ายคณะไม่ได้ ผมคิดว่าอิสระ (freedom) ในการศึกษา (education) สำคัญมากกว่า

ฉะนั้น การศึกษาต้องมีเสรีภาพมาก จะต้องให้เด็กได้เรียนรู้หลายๆ วิชา เพราะในโลก ข้างหน้าต้องเป็น multidiscipline เป็นความรู้สหวิทยาการ ความจริงถ้ามีเสรีภาพอย่างสุดๆ กำหนดเลยว่าคนจะจบปริญญาตรี 144 หน่วยกิต ต้องเรียนวิชาหลัก (major) นี้เท่านี้หน่วยกิต นอกนั้นมีเสรีภาพ ในการเลือก แล้วเด็กจบไปจะมีความฉลาดมาก เพราะรู้หลายเรื่อง ไม่ต้องใส่แว่นแบบรถม้าลำปาง ฉะนั้น ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องให้เสรีภาพในการศึกษา ให้เสรีภาพ (liberty) ทางการศึกษาแก่เด็ก เด็กจะได้เรียนอย่างมีความสุข ไปเลือกเรียนในสิ่งที่เขาชอบ และเขาอยากจะแสวงหา บางคนอยากจะรู้ว่า เศรษฐศาสตร์เป็นอย่างไร ขอไปลงเรียนสักคอร์สได้หรือไม่ ทั้งๆ ที่เรียนวิศวกรรม ถามว่าเด็กที่เรียนทางวิศวกรรมไปเรียนเศรษฐศาสตร์ได้ ไม่เป็นอันตรายอะไรเลย สมมติว่าเด็กเกิดเรียนการบริหารการจัดการ แต่อยากเรียนวิชากายวิภาค (anatomy) ในคณะวิทยาศาสตร์ เด็กคนนี้เก่งเรื่องการบริหารองค์การทันที เพราะเข้าใจเรื่องกายวิภาค (anatomy) จะเข้าใจคำว่าการทำงานแยกแบบมีส่วนร่วม (interdependent) เข้าใจเรื่องทฤษฎีระบบ (system theory) เป็นอย่างดี ใครจะคิดว่ากายวิภาค (anatomy) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ (management) นี่คือสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจ เรายังห่างไกลความเข้าใจว่าความรู้ในโลกนี้มีมากจริงๆ ฉะนั้น การให้เสรีภาพแก่เด็กจึงเป็นเรื่องสำคัญ

แต่แน่นอนเด็กต้องติดอาวุธ (equip) ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องตั้งแต่เล็กๆ เมื่อสมองได้รับการพัฒนาที่ถูกต้อง สมองที่มีอยู่หลายเซลล์จะถูกใช้งานได้อย่างเต็มที่ การฝึกสมองเหมือนกับการสร้างซอฟต์แวร์ให้กับมนุษย์ ถ้าสมองแต่ละก้อนเหมือน CPU และ synapse เหมือน fiber optic ที่เชื่อมกันอยู่ สมองสามารถสร้างได้ทั้ง hardware และ software ถ้าใช้ hardware มากๆ ก็จะเกิดการพัฒนาของเซลล์สมอง ขณะเดียวกันก็ฝึกวิธีคิด ฝึกการใช้สมองร่วมกันในแต่ละก้อน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้าง เมื่อสร้างแล้ว พอเด็กโตขึ้นมาอีกหน่อย เด็กจะเก่งมาก ผมเชื่อว่าถ้าเราทำอย่างนี้ อีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า ย้อนกลับมาดู เราจะเห็นว่าเด็กไทยรุ่น 20 ปีข้างหน้าจะฉลาดมาก เพราะมีอำนาจทางสมองสูง มีวิธีคิด
โดย: ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “สมอง…เครื่องมือทรงพลังสู่แนวหน้า” (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:10:45:46 น.
  
..( ต่อ / ตอนจบ

ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “สมอง…เครื่องมือทรงพลังสู่แนวหน้า”


....เพราะมีอำนาจทางสมองสูง มีวิธีคิด ที่สามารถวิเคราะห์ได้ สามารถคิดความเชื่อมโยงได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างได้ ไม่ได้บอกว่ายีนเท่านั้น เพราะยีนเป็นเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งเกิดจากการเรียนรู้และพัฒนาการ

ผมขอขอบคุณทุกๆ ท่าน นักวิชาการทุกท่านที่ได้มาช่วยกันคิดเรื่องนี้ และมาช่วยสร้าง เด็กไทยยุคใหม่ ให้เป็นเด็กไทยที่คิดเป็น ฉลาด ใช้พลังสมองอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างอนาคตเขา และในที่สุด รวมๆ ก็คืออนาคตของชาตินั่นเอง สำคัญว่าผู้ใหญ่ในวันนี้ ต้องเปิดใจกว้าง รับการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ไปสู่อนาคตที่ดีของประเทศ ขอขอบคุณครับ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก

อภิญญา ตันติรังสี /ถอดเทป/พิมพ์

จินตนา จ้อยจุมพจน์ /ตรวจ

โดย: ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “สมอง…เครื่องมือทรงพลังสู่แนวหน้า” (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:11:09:17 น.
  
"The Math Gene"

เป็นหนังสือที่ "ทักษิณ" แนะนำกับครู โดยบอกว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธุ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์สูง ควรส่งเสริมให้เด็กคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Keith J. Devlin

"The Responsibility Virus" เขียนโดย Roger L. Martin ทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือที่ช่วยให้ผู้นำใช้ความสามารถของผู้บังคับ บัญชาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งจะมีเครื่องมืออยู่ 4 อย่าง คือ

1.เปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันโดยเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแต่ละคนเทียบกัน เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดจากกลุ่ม

2.การจัดกรอบความคิดเพื่อหลีกเลี่ยงหรือออกจากการตกอยู่ในสภาวะของการรับผิดชอบมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

3.แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน สนับสนุนและร่วมมือเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และ

4.กำหนดลักษณะของผู้นำกับผู้ตามใหม่ ให้มองเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมมือกันในการดำเนินงานแทน

เช่นเดียวกับหนังสือ The Power of Minds at Work ซึ่งเขียนโดย Karl Albrecht ซึ่งทักษิณชี้ว่า ผู้บริหารควรใช้ปัญญาของคนในองค์กรรวมกัน และนำปัญญาสะสมของคนในองค์กรมาทำงานร่วมกัน โดยมีจุดเริ่มต้นคือมีวิสัยทัศน์ที่เห็นพ้องต้องกัน มีความกระหายอยากจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

และอีกเล่มหนึ่งที่แนะนำด้านการบริหารที่น่าสนใจ คือ Re-imagine เขียนโดย Thomas J. Peters และ Tom Peters

ทักษิณเห็นว่า "ในการบริหารองค์กรจะต้องใช้จินตนาการ จะต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด จะแปลกประหลาดเกินจริงหรือเหลือเชื่อบ้างก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยๆ ปรับให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะโลกปัจจุบันไม่นิ่งอยู่กับที่ ผู้นำจะต้องมีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีจินตนาการเชิงบวก จะทำให้องค์กรถึงเป้าหมายในเวลาที่รวดเร็ว"

ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น

โดย: "The Math Gene" (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:12:03:43 น.
  
"ทักษิณ" อ่าน อ่าน "ทักษิณ"
รายงาน ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 23 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3621 (2821)

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับที่ผ่านมาได้ทำการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับ "พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" ในช่วง 3 ปีกว่าของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีช่วงทั้งขาขึ้นและขาลงปรากฏว่ามีหนังสือออกมาขายกว่า 50 ปก เรียกได้ว่าไปร้านหนังสือร้านไหนก็ต้องเห็นหน้า "ทักษิณ"

ในอีกด้านหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังเป็นผู้จุดกระแสให้นักการเมือง รัฐมนตรี ข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการศึกษา สนใจใคร่เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ของนักคิดรุ่นใหม่ๆ ทั่วโลก

โดยประเดิมด้วยการเอาหนังสือ As The Future Catches You เขียนโดย Juan Enriquez แนะนำต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นครั้งแรก เมื่อ 3 กันยายน 2545 จนถึงกลางปี 2546 ก็มีการแปลเป็นภาษาไทย ในชื่อ "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ" โดยชวนิต ศิวะเกื้อ, สมสกุล เผ่าจินดามุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อมุ่งไปในอนาคตที่รวดเร็วมาก

จากนั้นก็พรั่งพรูออกมาอีกหลายเล่ม เช่น

Rethinking the Future เขียนโดย Ronan Gibson ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนต้องปรับกระบวนความคิดตามให้ทัน ซึ่งเป็นที่มาของสโลแกนพรรคไทยรักไทย "คิดใหม่ ทำใหม่"

The Mystery of Capital เขียนโดย Hernando de Soto อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเปรู เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ "ทักษิณ" เอามาใช้จนฮือฮามากในเมืองไทย

Lateral Thinking เขียนโดย Edward de Bono เนื้อหาเกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกรอบจนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน

Business @ The Speed of Thought เขียนโดย Bill Gates ผู้สร้างไมโครซอฟท์ผงาดโลก ทักษิณแนะนำว่าหนังสือเล่มนี้จะฝึกในการเลือกใช้ข้อมูล และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายตระหนักในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน

Primal Leadership : Realizing the Power of Emotional Intelligence เขียนโดย Daniel Goldman, Richard Boyatzis and Annie McKee แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ผู้ที่ทำให้โลกรู้จักคำว่า "อีคิว" หรือ "ความฉลาดทางอารมณ์"

Execution : The Discipline of Getting Things Done เขียนโดย Larry Bassidy และ Ram Charan นายกฯทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือทางธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานและเป็นขั้นตอน นำเอาสิ่งที่คิดฝันไปปฏิบัติให้เป็นความจริง

What the Best CEOs Know : 7 Exceptional Leaders and Their Lessons for Transforming any Business เขียนโดย Jeffrey A. Krames พ.ต.ท.ทักษิณยกหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาประกอบวาระ ครม.เรื่องผู้ว่าฯซีอีโอ

Winning the Merger Endgame : A Playbook for Profiting From Industry Consolidation เขียนโดย Graeme K. Deans, Fritz Kroeger และ Stefan Zeisel เนื้อหาแนะนำถึงการรวมภารกิจทั้งหมดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ แนะนำผู้บริหารต้องดูที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่เหมาะสม คือต้องกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอื้ออำนวยให้แก่วงการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอย่างเหมาะสม

It"s Alive : The Coming Convergence of Information, Biology, and Business เขียนโดย Chris Meyer, Stan Davis เป็นหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทุกอย่างเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ดังนั้น จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย

Leading at the Speed of Growth : Journey from Entrepreneur to CEO เขียนโดย Katherine Catlin หนังสือจะกล่าวถึงการตั้ง องค์กรใหม่ๆ ที่จะต้องมีผู้นำที่เป็นผู้กระทำเอง และเป็นคนที่ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในองค์กร เมื่อองค์กรพัฒนาไปอีกขั้นก็จะเป็นผู้ที่มอบหมายงานให้ผู้อื่นไปปฏิบัติ และเมื่อพัฒนาต่อไปก็จะเป็นผู้กำหนดทิศทางองค์กรว่าจะไปในทิศทางใด

Ten Deadly Marketing Sins : Signs and Solutions เขียนโดย Philip Kotler นักการตลาดชื่อดัง ซึ่งเคยมาแสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมมนา CEO forum ในหัวข้อ Marketing Thailand และ Marketing Move ในเมืองไทย

"พุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จักในทางการเมือง" ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้เขียนเอง เป็นเล่มเล็กๆ ราคาแค่ 25 บาท และเคยนำไปปาฐกถาเมื่อครั้งตั้งพรรคไทยรักไทยใหม่ โดย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่าได้ศึกษาธรรมะจากหนังสือของท่านพระพุทธทาสแล้วเห็นว่า เป็นหลักปรัชญาชั้นสูง ทำความเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจแล้วนำมาปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ทำให้ปล่อยวางเรื่องต่างๆ ได้มาก ถ้าไม่มีหลักธรรมะยึดเหนี่ยว การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย คงไม่ลุล่วงมาได้ถึงทุกวันนี้

Mind Into the 21st Century หรือ "พลังจิตในศตวรรษที่ 21" เขียนโดย John Kehoe นายกฯทักษิณแนะนำว่า หนังสือเล่มนี้ชี้ความจริงว่า การทำงานทุกอย่างไม่มีการแยกส่วน แต่เป็นเรื่องขององค์รวมทั้งสิ้น

และเล่มสุดท้ายที่นายกฯทักษิณ แนะนำล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา คือ Underdog Advantage หรือ "ข้อได้เปรียบของคนที่ตกเป็นเบี้ยล่าง" เขียนโดย David Morey และ Scott Miller โดยปรารภในที่ประชุม ครม.ว่า กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ในยามที่รัฐบาลขาลงเช่นนี้ควรจะอ่านหนังสือเล่มนี้ หนังสือกล่าวถึงคนที่อยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจะมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง เมื่อคนตัวเล็กต้องต่อสู้กับคนตัวใหญ่กว่าและมีอำนาจมากกว่าจะทำอย่างไร

ต้องยอมรับว่าโลกแห่งการเรียนรู้จากหนังสือสามารถย่อโลกและความคิดของคนทั่วโลกได้อย่างกระชับและมีองค์ความรู้ ใครที่อยากรู้ทันทักษิณยิ่งจะต้องอ่านหนังสือที่ทักษิณอ่าน

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6


--------------------------------------------------------------------------------

"ทักษิณ" อ่าน ภาค 2 "ต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด"

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 27 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3622 (2822)

เมื่อฉบับที่แล้ว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้นำเสนอรายงานหนังสือที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แนะนำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อ่านและนำเสนอในการแสดงปาฐกถาในวาระต่างๆ แต่ตกหล่นหนังสือที่น่าสนใจไปหลายเล่ม จึงขอนำเสนอต่อในภาค 2

"The Third Wave" ของ "Alvin Toffler" ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดว่าด้วยความพยายามการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเริ่มตั้งแต่ฟิวเจอร์ช็อก คลื่นลูกที่สาม และอำนาจใหม่ โดย "ทักษิณ" กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 ยุค ยุคที่ 1 เป็นสังคมเกษตร ต่อมายุคที่ 2 เป็น การทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและคุณค่าของมนุษย์ และยุคที่ 3 จะเป็นยุคที่เรียกร้องสิ่งที่ดีงามจากยุคที่ 2 กลับคืนมา เป็นยุคไฮเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ต้องปรับปรุงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และให้ความสำคัญเรื่อง "ความปลอดภัยในอาหาร" ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่อง "จีเอ็มโอ" อันเป็นปัญหาที่คนไทยกำลังทั้งตกใจและสงสัยระคนกันอยู่ในขณะนี้

หนังสือเล่มนี้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยแล้วชื่อ "คลื่นลูกที่สาม" แต่ไม่ทราบว่ายังมีวางขายอยู่อีกหรือไม่

"The Guru Guide" เขียนโดย Joseph H. Boyett และ Jimmie T. Boyett "ทักษิณ" มองว่าเป็นหนังสือที่พูดถึงผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ สามารถเป็นผู้นำในการเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเก่งในการนำเสนอ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ของตนเองให้คนในองค์กรได้รับรู้และนำไปปฏิบัติได้

"The Attention Economy" ซึ่ง "ทักษิณ" บอกว่า ในวันนี้ข้อมูลความรู้มีมากมาย แต่เรายังขาดนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์มันอย่างเต็มที่ มันเป็นกระบวนการที่เรียกว่า attention economy หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Thomas H. Davenport และ John C. Beck

"Judo Strategy" เขียนโดย David B. Yoffie และ Mary Kwak เป็นหนังสือว่าด้วยกลยุทธ์ในการแข่งขัน เหมาะสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ทักษิณอธิบายว่า นักยูโดเขาไม่ผลีผลามปะทะคู่แข่ง วิเคราะห์ดูท่าทีของคู่แข่ง ฉะนั้นจะต้องมองว่าคู่แข่งมีอะไรแข็ง แล้วความแข็งของคู่แข่งทิ่มแทงตัวเอง"

"The Math Gene" เป็นหนังสือที่ "ทักษิณ" แนะนำกับครู โดยบอกว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธุ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์สูง ควรส่งเสริมให้เด็กคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Keith J. Devlin

"The Responsibility Virus" เขียนโดย Roger L. Martin ทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือที่ช่วยให้ผู้นำใช้ความสามารถของผู้บังคับ บัญชาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งจะมีเครื่องมืออยู่ 4 อย่าง คือ 1.เปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันโดยเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแต่ละคนเทียบกัน เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดจากกลุ่ม 2.การจัดกรอบความคิดเพื่อหลีกเลี่ยงหรือออกจากการตกอยู่ในสภาวะของการรับผิดชอบมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

3.แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน สนับสนุนและร่วมมือเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และ 4.กำหนดลักษณะของผู้นำกับผู้ตามใหม่ ให้มองเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมมือกันในการดำเนินงานแทน

เช่นเดียวกับหนังสือ The Power of Minds at Work ซึ่งเขียนโดย Karl Albrecht ซึ่งทักษิณชี้ว่า ผู้บริหารควรใช้ปัญญาของคนในองค์กรรวมกัน และนำปัญญาสะสมของคนในองค์กรมาทำงานร่วมกัน โดยมีจุดเริ่มต้นคือมีวิสัยทัศน์ที่เห็นพ้องต้องกัน มีความกระหายอยากจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

และอีกเล่มหนึ่งที่แนะนำด้านการบริหารที่น่าสนใจ คือ Re-imagine เขียนโดย Thomas J. Peters และ Tom Peters

ทักษิณเห็นว่า "ในการบริหารองค์กรจะต้องใช้จินตนาการ จะต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด จะแปลกประหลาดเกินจริงหรือเหลือเชื่อบ้างก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยๆ ปรับให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะโลกปัจจุบันไม่นิ่งอยู่กับที่ ผู้นำจะต้องมีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีจินตนาการเชิงบวก จะทำให้องค์กรถึงเป้าหมายในเวลาที่รวดเร็ว"

ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6

โดย: ทักษิณ" อ่าน อ่าน "ทักษิณ" (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:12:04:24 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด