056. THE BLIND MEN AND THE ELEPHANT : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร








David Schmaltz

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2546 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชมเชยข้าราชการ และ หน่วยงานต่างๆ ที่ช่วยกันจัดการประชุมเอเปก (APEC) ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง จึงพิสูจน์ได้ว่าข้าราชการไทยเรามีความสามารถและคุณภาพ เพียงแต่ขาดผู้นำที่มีความสามารถเท่านั้น นายกรัฐมนตรีจึงได้กล่าวถึงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Blind Men and The Elephant ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับธรุกิจ และ ความเป็นผู้นำในการบริหาร โครงการที่ล้มเหลวผู้นำจะโทษทีมงานไม่ได้ ผู้นำที่ดีจะต้องมีขีดความสามารถบริหารทีมงานได้ทุกประเภท เพื่อให้ทีมทำงานจนบรรลุเป้าหมายของโครงการให้ได้

หนังสือ The Blind Men and the Elephant ของ David A. Schmaltz เล่มนี้ ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว โดย ปรียาธร พิทักษ์วรรัตน์ ใช้ชื่อภาษาไทยว่า บริหารโปรเจคท์ให้สัมฤทธ์ผล: แบบตาบอดคลำช้าง




บริหารโปรเจคท์ให้สัมฤทธิ์ผล : แบบ ตาบอดคลำช้าง
The Blind Men and the Elephant : Master Project Work

ชื่อหนังสือ บริหารโปรเจคท์ให้สัมฤทธิ์ผล : แบบ ตาบอดคลำช้าง : The Blind Men and the Elephant : Master Project Work
โดย David A. Schmaltz/ ปรียาธร พิทักษ์วรรัตน์ : แปล
สำนักพิมพ์ อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง
ราคา 225 ฿
จำนวน 208 หน้า
จำหน่ายโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ISBN 974-91903-9-4



ตำนานเรื่อง "ตาบอดคลำช้าง" - เล่าถึงชายตาบอดหกคน ที่ต้องร้าวฉานกัน เพราะพูดถึง "ช้าง" แบบ "คนละเรื่องเดียวกัน" มาเป็นอุปมาอุปมัยถึง การบริหารงานแบบโปรเจคท์

ผู้เขียนระบุสาเหตุอันแท้จริง ซึ่งเป็นรากเหง้า ของความลำบากยากเข็ญต่างๆ ในการทำงานโปรเจคท์อย่างคมคายว่า คือ "ความไม่ลงรอยกัน"

หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องราวต่างๆ ในโลกแห่งชีวิตจริง ให้เราได้เห็นว่า อิทธิพลที่แฝงเร้นอยู่ในตัวตนภายในของเราแต่ละคน เป็นสิ่งที่เราควบคุมได้อยู่หมัด ทั้งยังบอกถึงวิธีทำลายล้างข้ออ้างต่างๆ ที่อาจเป็นกับดักที่กักกันเรา ไว้กับงานที่ไร้ซึ่งความหมาย









Create Date : 10 มีนาคม 2551
Last Update : 10 มีนาคม 2551 9:56:02 น.
Counter : 2947 Pageviews.

2 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
  


David Schmaltz is a consultant, teacher, writer, speaker and experienced project manager. His book, The Blind Men and the Elephant; Mastering Project Work (Berrett-Koehler, 2003) describes projects as conversations rather than scripted performances, and provides the means for effectively coping with this reality. One of David's consultancy missions is to provide options for approaching projects that work well in the most challenging organizations.

David is the founder of True North, pgs Inc., an internationally recognized consultancy that specializes in leadership development, project management, "project community", and the strategies for organizational success in the face of change or crises.

David is called upon for guidance by Fortune 500 companies from all parts of the globe. True North helps executives, project managers and workers, leaders and entire organizations increase productivity, growth and overall satisfaction.

David and his business partner, Amy Schwab, are available to create a personalized presentation or development program for your top executives and leaders.

Call David and Amy at 509.527.9773 for more information.

Or, visit their web site at
www.projectcommunity.com.

David A. Schmaltz's profile page



Welcome
2:19 PM PDT, June 1, 2006
Welcome readers of The Blind men and the Elephant, Mastering Project Work. I very sincerely appreciate your presence in the world.

The question I always have when I speak with someone who has read my book is the same question I had when I received the first comments back from the pre-publication reviewers. That question was, and is, "What book did you read?"

Most everyone who has commented on the book seems to me to have gotten something different out of their experience. Something quite personal. Often, something fairly indescribable.

I might have anticipated this outcome. Since I wrote the book, as I say in the introduction, not to tell anyone how to do anything, but to share my story. Curious how others have found their story in parts of mine. Curious what constitutes a match for others.

I appreciate being recognized as the author of their experience when their experience was a good one, but I know that they actually authored their experience. I just authored the book. That reading it might have sparked a moment of authorship in a reader, humbles me.

What book did you read, anyway?

Resource:
David A. Schmaltz's Amazon Blog
โดย: David Schmaltz (moonfleet ) วันที่: 10 มีนาคม 2551 เวลา:9:38:34 น.
  


จาก
บริหารโปรเจกต์ให้สัมฤทธิ์ผล : แบบตาบอดคลำช้าง
วันที่ 2006-12-06 13:26:46 โดย
จำนวนผู้อ่าน 342 คน เศรษฐกาญจน์ อนุวัตรวงศ์
sedthakharn@se-ed.com

งานโปรเจกต์ที่ประสบความสำเร็จนั้น มักจะเกิดขึ้นได้จากการที่ทีมงานทุกคนร่วมกันต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนามร่วมกัน ซึ่งแต่ละคนในทีมงานนั้นเปรียบเสมือนจิกซอว์แห่งความสำเร็จที่นำไปต่อเข้ากับผู้ร่วมโปรเจกต์คนอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต้องกัน และได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นภาพรวม แต่ก่อนที่จะนำไปผนวกรวมกันนั้น ผู้ร่วมโปรเจกต์แต่ละคนต่างก็มีจินตนาการเป็นของตนเองว่าผลสรุปแห่งความสำเร็จที่ได้นั้นจะต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ แล้วแต่ใจของแต่ละคนจะคิดไปต่าง ๆ นานา เปรียบเสมือนคนตาบอด บ้างก็ว่าความคิดของตนถูก แต่ของคนอื่นนั้นผิด บางครั้ง ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำโปรเจกต์ก็มักจะสรุปเอาความคิดของตนเองเป็นหลัก แล้วทำให้ผู้ร่วมโปรเจกต์คนอื่นคล้อยตาม เห็นผิดเป็นถูกไป จึงยากนักที่จะทำให้โปรเจกต์ประสบความสำเร็จ


ชายตาบอดคนแรกคลำได้ข้างลำตัวช้างแล้วทึกทักว่า ช้างคือกำแพง ขวางกั้นระหว่างตนเองกับสิ่งที่มีความหมาย ชายตาบอดอีกคนตีความว่า งาช้างคือทวน ซึ่งชายชาติทหารพึงต้องออกสู่สมรภูมิ ส่วนอีกคนหนึ่งคิดว่า งวงช้างคืองู ที่ไม่ควรมีผู้ใดไว้ใจมัน ชายอีกผู้หนึ่งตีความว่า ขาช้างน่าจะเป็นต้นไม้ ที่จะค้ำจุนความมานะพยายามของเขา ชายตาบอดอีกคนตีความว่า หูช้างเป็นดังพัด ที่จะช่วยกระพือโหมให้ถ่านติดไฟลุกแดง และชายคนสุดท้ายตีความได้ว่า หางช้างก็คือเชือก ที่จะผูกมัดรัดตรึงทุกอย่างเอาไว้ด้วยกัน

ตาบอดคลำช้าง จึงเป็นเรื่องราวที่เปรียบเทียบ โดยเล่าถึงชายตาบอด 6 คน ที่ต้องร้าวฉานกันเพราะพูดถึง ช้างในแบบ คนละเรื่องเดียวกัน มาเป็นอุปมาอุปไมยถึงการบริหารงานโปรเจกต์และระบุว่าสาเหตุอันแท้จริงซึ่งเป็นรากเหง้าของความลำบากยากเข็ญต่าง ๆ ในการทำงานโปรเจกต์ไว้อย่างคมคายว่าคือ ความไม่ลงรอยกัน ของกลุ่มคนที่ต้องร่วมงานในโปรเจกต์เดียวกัน แต่ไม่สามารถเล็งเห็นความหมายหรือคุณค่าจากงานนั้น ๆ ร่วมกันได้ ซึ่งหมายถึงการที่ชายตาบอดแต่ละคนไม่สามารถสร้าง การตีความร่วม (Common Interpretation) จากประสบการณ์ที่ทุกคนมีร่วมกันได้ ภาพช้างจริง ๆ จึงไม่ปรากฏ ผลสรุปที่ได้ก็คือการหลับหูหลับตาเถียงกัน เฉกเช่น งานโปรเจกต์หลาย ๆ งานที่ผมเชื่อว่าหลายท่านในที่นี้เคยประสบมานั่นเองครับ


ดังนั้น หนังสือเรื่อง บริหารโปรเจกต์ให้สัมฤทธิ์ผล : แบบตาบอดคลำช้าง เล่มนี้ จะเป็นทางออกซึ่งแนะนำว่าจะทำอย่างไรได้บ้างที่จะลอยลำข้ามอุปสรรคขวากหนามในการการบริหารงานโปรเจกต์ไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง โดยใช้รูปแบบการเล่าเรื่องที่แตกต่างจากหนังสือการบริหารงานโปรเจกต์ทั่วไป รวมถึงการสอดแทรกความหมายจากการตีความของชายตาบอดได้อย่างน่าสนใจ หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้มีหน้าที่บริหารงานโปรเจกต์ นักบริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องคนและสมาชิกในทีมงาน หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทุกท่านครับ


บริหารโปรเจกต์ให้สัมฤทธิ์ผล : แบบตาบอดคลำช้าง

Blind Men and the Elephant : Mastering Project Work

ผู้เขียน : David A. Schmaltz

แปลและเรียบเรียง : ปรียาธร พิทักษ์วรรัตน์

บรรณาธิการ : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

จัดจำหน่ายโดย : ซีเอ็ด

ราคา : 225 บาท

โดย: บริหารโปรเจกต์ให้สัมฤทธิ์ผล : แบบตาบอดคลำช้าง (moonfleet ) วันที่: 10 มีนาคม 2551 เวลา:9:58:49 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด