0018. THE ATTENTION ECONOMY : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร





เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2544 นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐากถาเรื่อง "อนาคตประเทศไทยที่ผมอยากเห็น" เนื่องในวันประชุมสามัญประจำปีของสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัลพลาซ่า กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า...

..."อนาคตผมจึงอยากเห็นการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนคำงถึง Efficiency ให้มากที่สุด มีหนังสือออกมาอีกฉบับหนึ่ง เรียกว่า Thw Attention Economy (ความใส่ใจในเศรษฐกิจ) ตอนนี้กำลังวางขายอยู่ เขียนโดย ดาเวนพอร์ต และ เบ็ค เขาพูด Efficiency ออกไปอีกทางหนึ่ง เขาบอกว่าวันนี้ข้อมูลความรู้มีมากมายไปหมด ใครก็รู้อย่างชั้นนี้ เขาเรียกว่า Awareness เรามีแต่ Awareness เรายังขาดการนำสิ่งที่เป็นประสบการณ์เป็นความรู้ เป็นตัวเลขทั้งหลายนำมาวิเคราะห์หยิบมาใช้ให้ถูกและใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้อย่างเต็มที่ ตรงขั้นนี้เรียกว่า Attention Economy ที่เราพยายามจะทำเรื่องของผู้ว่าราชการจังหวัดในลักษณะของ CEO นั้น สรุปแล้วจังหวัดของเราไม่มีเจ้าภาพ เมื่อไม่มีเจ้าภาพ ผู้ว่าราชการจังหวัดถูกมองว่าเป็นตัวแทนของมหาดไทย เกษตรจังหวัดเป็นตัวแทนของเกษตร ต่างคนต่างเป็นตัวแทนของแต่ละกระทรวง เท่ากับย้ายกระทรวงไปอยู่ในจังหวัด โดยไม่มีเจ้าภาพ ในรัฐบาลยังมีนายกเป็นเจ้าภาพ เมื่อไม่มีเจ้าภาพ ก็คือไม่มี Attention เมื่อไม่มี Attention ก็ไม่เกิด Proper Economy เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องหาเจ้าภาพ"

"เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับปรุงระบบบริหารการจัดการใหม่ เพื่อให้การเคลื่อนตัวของประเทศมีความเร็วที่เร็วกว่าเดิม นี่คือสิ่งที่อยากจะเห็น อยากจะเห็นต่อเนื่องจากเมื่อครู่นี้ Attention Economy R (Research) and D (Development) , S (Science) and T (Technology) พวก Internet พวก SIS (Geographical Information System) ทั้งหลาย ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด วันนี้เราใช้แต่กระจัดกระจายอยู่กันคนละที่คนละทาง ไม่มีเจ้าภาพที่จะรวมพลังสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่มีการบอกผู้บริหารทั้งหลายว่า สิ่งเหล่านี้ Available เพื่อให้ท่านใช้ประกอบในการทำ Attention Economy คนยังไม่รู้ว่าเรามี GIS แล้ว เราทำอะไรได้บ้าง GIS สามารถใช้ในเรื่องของการจัดวางตำแหน่งเจ้าหน้าที่ได้ เพราะเราจะได้ดูว่าตำแหน่งของประชากรอยู่ตรงไหน มากน้อยเพียงใด นั่น คือ การมองภาพทางภูมิศาสตร์ คือ Geographical Information System เรื่องของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี"




เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2544 นายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อ "เศรษฐกิจประเทศไทยในสถานการณ์โลกใหม่" ต่อที่ประชุมหอการค้าทั่วประเทศ จังหวัดเชียงราย มีข้อความเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้อีกว่า...

..."ผมมีหนังสืออีกเล่มหนึ่ง คือ The Attention Economy คือ เราจะต้องให้ความละเอียด สนใจศึกษาลงไปลึกแล้วเราจะเห็นช่องทางในเศรษฐกิจอีกมากมาย แต่ ถ้าเราผิวเผิน มันก็ผิวเผินอยู่อย่างนั้น ฉะนั้น วันนี้ผมจึงมี TTR คือ มีผู้แทนการค้าไปทำหน้าที่เสริมรัฐมนตรี เพราะรัฐมนตรีไปไม่ไหวหรอกครับ ทุกๆที่ วันนี้ตลาดโลกยังมีอีกมาก ผมจึงคิดในแง่บวกว่า ผมไม่เคยคิดว่าประเทศไทยหมดความหวัง"


... of the Attention Economy is the ...


เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2545 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการประชุมเอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศในสหภาพยุโรป ณ โรงแรมเดอะรอยัล แลนคาสเตอร์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ....

...."การที่จะต้องมีการบูรณาการในการคิด มีบูรณาการในการมองปัญหา ในการวางยุทธศาสตร์ในการทำงานร่วมกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเจ้าภาพ คือ การมีประธานของเรื่อง ประธานต้องมี Authority ต้องมีอำนาจพอสมควร ไม่มีก็ทำไม่ได้ เพราะสังคมไทยยังคงเป็นสังคมแบบนี้อยู่ จำเป็นมากที่ต้องมีเจ้าภาพเพราะเป็นคนคิด กำหนดกลยุทธ์ และ เป็นคนที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในปัญหาทั้งหมด เหมือนที่เราใช้ Attention Economy นั่นเอง ซึ่งตราบใดที่เราให้ความสนใจ ให้ความละเอียดต่อการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่าง มะพร้าว คือ ถ้าให้ Attention เข้าไป มันใช้ประโยชน์ได้ทั้งลูก แต่ถ้าไม่มี Attention มาก ก็กินแค่น้ำมะพร้าวแล้วโยนที่เหลือทิ้ง ผมชอบใช้เนื้อมะพร้าวพอใช้เนื้อเสร็จผมก็ทิ้ง แต่พอมีคนบอกว่ามันมีคุณค่ามากกว่านั้น ก็เอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกชิ้นของมัน เพราะฉะนั้น ถ้ามีเจ้าภาพ ทุกคนก็จะได้ Attention ถ้าไม่มี ทุกคนก็จะบอกว่าไม่ใช่เรื่องของผม ผมทำเรื่องของผมเสร็จแล้วก็เสร็จ ระบบเจ้าภาพ ระบบ CEO จึงต้องมี และ เมื่อมีเจ้าภาพแล้ว ก็ยังสามารถที่จะให้คำแนะนำ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขได้"


... the old Attention economy, ...



เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2545 นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อ ง"เศรษฐกิจไทยในสถานการณ์โลกใหม่" ในพิธีมอบเข็มและประกาศเกียรติคุณให้กับนักเรียนทุกนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2545 ณ ห้อง กมลทิพย์บอลรูม โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ มีข้อความดังต่อไปนี้....

...."มี หนังสือเล่มหนึ่ง เขาเรียกว่า The Attention Economy หนังสือเล่มนี้ดี ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ คือ มีมะพร้าวลูกหนึ่ง เราดื่มน้ำแล้วก็ทิ้ง แต่ถ้าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจก็ควรต้องใช้ประโยชน์ทั้งลูก แต่การใช้ประโยชน์ทั้งลูกนั้นต้องคำนึงถึงเวลา ความพยายามที่ใส่เข้าไปว่าคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มก็ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจ ถ้าคุ้กก็ใส่เข้าไป นั่นคือสิ่งที่เขาเรียกว่า Attention Economy คือ เอาใจใส่กับเรื่องที่น่าจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ให้ทำต่อไป ทำให้ดี ทำให้ละเอียด ทำให้มาก ทำให้คุ้มค่า ต้องเอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการที่ได้มากของตัวเลข ถ้าตัวเลขมีความชัดเจน มันต้องบอกอะไรบางอย่าง"



... of the Attention Economy, ...

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 นายกรัฐมนตรีปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูชาติ" ในโอกาสครบรอบ 20 ปี สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ ไบเทค กรุงเทพมหานคร ฯพณฯ ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า .....

....."มีหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า The Attention Economy คือ ถ้าเราให้ความสนใจ ความละเอียดในความเข้าใจปัญหา และ เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ แก้ปัญหาและทำตรงน้นให้ดี ก็จะเกิดเศรษฐกิจในจุดนั้นเพิ่มขึ้น เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจขึ้น ก็ยกตัวอย่าง มะพร้าว 1 ลูก ท่านจะเฉาะน้ำดื่ม แล้วทิ้งไป ก็จบไป ถ้าท่านให้ความสนใจมากว่านั้น คือ ทานเนื้อ เอากะลามาใช้ประโยชน์ได้ มันใช้ได้ทั้งหมดเหมือนกันครับ"




เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายในโอกาสตรวจเยี่ยมการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ ห้องปฏิบัติการ ชั้น 3 การรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนรองเมือง กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า...

...."ผมอยากเห็นการรถไฟแห่งประเทศไทยปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Self Financing ช่วยเหลือตนเองได้ และ บริการประชาชนในระดับที่ประชาชนรับได้ ผมดูแล้วว่าท่านได้แก้ไขปัญหามากมาย เฉพาะอย่างยิ่งตรงกับหนังสือเรื่อง The Attention Economy ซึ่งความจริงแล้วการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรที่ทันสมัย เพราะเป็นองค์กรต้นๆที่ใช้คอมพิวเตอร์ แต่ปรากฏว่าระบบการบริหารข้อมูล (Management Information System : MIS) แย่มาก จนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยทราบ เป็นเพราะระบบ MIS แย่ ฉะนั้น ระบบ MIS ต้องดีไม่อย่างนั้นท่านแก้ไขปัญหาตรงนี้ไม่ได้เลย ท่านจะใช้ Attention Economy ไม่ได้ ถ้าท่านไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน การที่จะมานั่งขันนอตทีละตัวแล้วมองภาพรวมไปพร้อมๆกัน ซึ่งต้องมีความสมดุลในทุกๆเรื่อง

"เรื่อง Rolling Stock หลังจากที่มีการบริหารจัดการอย่างดีแล้ว โครงสร้างพื้นฐานรองรับอย่างเหมาะสมแล้ว ที่เขาลาดชันสูง แก้ไขได้ไหม คุ้มค่าไหม หลังจากที่ใช้ Attention Economy แล้ว มีข้อมูลแล้ว บริหารจัดการดีเรียบร้อยแล้ว ต้องถามว่า Rolling Stock หลังจากระบบดีแล้ว ใช้ความต้องการเป็นตัวกำหนดแล้ว Rolling Stock ที่มีอยู่ พอไหม คุณภาพต้องแก้ไขขนาดไหน อย่างไร คือ ยืดอายุการใช้งานได้แค่ไหน เพราะเราไม่มีสตางค์และคุ้มค่าไหม ถ้าไม่คุ้มค่า ก็ต้องเปลี่ยน คือ ต้องถามก่อนว่ายังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่หรือไม่ ถ้ามี ก็ยืดอายุการใช้งาน ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องยืดอายุการใช้งาน นี่คือหลักวิธีคิด"





Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 21:32:29 น.
Counter : 1544 Pageviews.

8 comments
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
  
ผู้มีอุปการคุณโปรดทราบ : The Attention Economy Understanding The New Currency Of Business.



ชื่อหนังสือ ผู้มีอุปการคุณโปรดทราบ : The Attention Economy Understanding The New Currency Of Business.
โดย Thomas H. Davenport & John C. Beck / โสภาพรรณ รัตนัย : แปล
สำนักพิมพ์ เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส จำกัด
ราคา 299 ฿
จำนวน 408 หน้า
จำหน่ายโดย บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ซ จำกัด
ISBN 974825453-4

ปัญหาสำคัญที่สุดในโลกธุรกิจปัจจุบันไม่ใช่เรื่องของการแข่งขัน การขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ หรือ ภาวะเศรษฐกิจพันผวนอีกต่อไป

แต่เป็นปัญหาการขาดแคลน "ความใส่ใจ" จำไว้เสมอว่าขายผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ ก็ตามสิ่งแรกที่ควรคำนึงก็คือจะดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้หันมาสนใจ สิ่งที่คุณกำลังนำเสนอและกลายเป็นลูกค้าของคุณตลอดจนการบริหารการรักษาความสนใจใส่ใจที่ว่านี้คงอยู่กับธุรกิจของคุณตลอดไปได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ

โดย: ผู้มีอุปการคุณโปรดทราบ : The Attention Economy Understanding The New Currency Of Business. (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:35:15 น.
  
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544

ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy

ส า ร บั ญ

๏ ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

๏ การใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ลูกค้าเกิดความใส่ใจ และ ความใส่ใจข้อมูลที่จำเป็นต่อธุรกิจ

๏ โครงสร้างของความใส่ใจ

๏ อี-คอมเมิร์ซกับความใส่ใจ

๏ ภาวะผู้นำ : การกำหนดทิศทางความใส่ใจ

๏ ยุทธศาสตร์ : ความใส่ใจข้อมูลภายใต้กรอบวิธีการต่างๆ

๏ โครงสร้าง : การเน้นที่แง่มุมบางแง่เกี่ยวกับธุรกิจ

๏ อนาคตของนโยบายธุรกิจแบบเน้นที่ความใส่ใจ

เ นื้ อ ห า โ ด ย ย่ อ

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนเข้าออกบริษัทเป็นจำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่พึงตระหนักหรือคิดใคร่ครวญให้ดีก็คือ คุณใส่ใจกับข้อมูล เหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพของข้อมูล ลองถามตัวเองว่าคุณเคยพลาดข้อมูลสำคัญก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับ ธุรกิจหรือไม่ คุณพบว่าตัวเองไม่มีเวลาอ่านหรือศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด เพราะวันๆ มัววุ่นอยู่กับข้อมูลฉาบฉวยในอีเมลหรือ วอยซ์เมล ใช่หรือไม่

โทมัส เอช ดาเวนพอร์ต (Thomas H.Davenport) และจอห์น ซี เบ็ค (John C. Beck) แห่งบริษัทที่ปรึกษา Accenture บอก ในโลกที่อุดมไปด้วยข้อมูลนั้น เราไม่ได้ขาดแคลนความรู้ความสามารถ หรือเทคโนโลยีแต่อย่างใด สิ่งที่ขาดไปคือความใส่ใจข้อมูลอย่างจริงจัง ต่างหาก

หนังสือเล่มนี้จึงแนะกลยุทธ์ต่างๆ เกี่ยวกับความใส่ใจข้อมูล ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดยมีประเด็นนำเสนอดังนี้

1. ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่ความใส่ใจ ข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้เขียนกล่าวถึงหน่วยพื้นฐาน 6 ประการของ การไหลเวียนของข้อมูลที่ต้องใส่ใจ และแนะวิธีใช้หน่วยเหล่านี้กับ การใส่ใจข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดความใส่ใจ ความสามารถของเว็บ จะเข้ามาช่วยธุรกิจหรือบริษัทที่ต้องใส่ใจลูกค้า อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามามีส่วนในการกลั่นกรองและจัดการข้อมูลได้

3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความใส่ใจและมีผลกระทบกับ อี-คอมเมิร์ซ ความใส่ใจอย่างเกาะติดเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ ประสบความสำเร็จ

. ความใส่ใจมีผลต่อภาวะผู้นำอย่างไร ผู้นำต้องสามารถ กำหนดทิศทางในความใส่ใจของตนให้เกิดประโยชน์ พร้อมไปกับ กำหนดทิศทางในความใส่ใจของผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกค้า โดย อาศัยข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับธุรกิจและลูกค้า

ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

ธุรกิจเปรียบได้กับเครื่องจักรที่ขับ เคลื่อนไปด้วยความใส่ใจข้อมูลเฉพาะบาง อย่างในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แรงงานนับเป็น กำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไป เมื่อถึงยุคข่าวสาร เรายอมรับว่า ความรู้คืออำนาจ แต่ในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ความใส่ใจข้อมูลกลับ เป็นทรัพยากรสำคัญที่ผลักดันกิจการไปข้างหน้า การตระหนักรู้ว่าความใส่ใจข้อมูลเป็นสิ่งมีค่า และการกำหนดทิศทางของความใส่ใจ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการรู้ว่าเราสามารถ จัดการกับความใส่ใจข้อมูลได้เช่นเดียวกับการ จัดการทรัพยากรอื่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจยุคนี้

หากพิจารณาจากตารางจะพบว่า กระบวนการของความใส่ใจข้อมูลเริ่มต้นจากการตระหนักถึงประเด็นข้อมูลบางประเด็น จาก นั้นมีการจำกัดขอบข่ายข้อมูลให้แคบลง จนกลายเป็นความใส่ใจซึ่งเราจะคัดสรรเฉพาะประเด็นสำคัญๆ ไว้ และขั้นต่อมาคือการตัด สินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ภายหลังจากไตร่ตรองข้อมูลอย่างรอบด้านแล้ว ทั้งนี้หากขาดขั้นที่ 1 และ 3 แล้วย่อมไม่มีความใส่ใจ เกิดขึ้น ส่วนในขั้นสุดท้ายจะมีการดำเนินการอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับระดับของความใส่ใจข้อมูล

หน่วยพื้นฐาน 6 ประการ

แนวคิดในเรื่องความใส่ใจข้อมูลทางธุรกิจนั้นเป็นแนวคิดที่กว้าง ในขณะที่ความเชื่อมโยงระหว่างโฆษณาและความใส่ใจลูกค้า นั้นค่อนข้างชัดเจน แต่ผู้นำองค์กรธุรกิจก็ยัง จำเป็นต้องจัดการกับความใส่ใจซึ่งมีหลาย ระดับด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความใส่ใจข้อมูล ของตัวผู้นำเอง ความใส่ใจข้อมูลของพนักงาน ที่มุ่งในเรื่องการสร้างกำไรหรือความใส่ใจข้อมูล ขององค์กรโดยภาพรวมเพื่อสนองความต้อง การของลูกค้า มีหน่วยพื้นฐาน 6 ประการที่มีการเคลื่อนไหวไหลเวียนในเรื่องของความใส่ใจข้อมูล แต่ละหน่วยเน้นให้เห็นความมุ่งมั่นภายใน ใจที่ต่างกันไป และมีคู่ตรงข้ามกันดังนี้

‘ จำใจกับอาสา ความใส่ใจอาจมีแรง ผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็นหรือความอยากหลีกให้พ้นจากการเรียกร้องต่างๆ ของภาวะแวดล้อม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนมักใส่ใจกับสิ่งที่จำเป็นต้องใส่ใจ พอๆ กับที่มีความใส่ใจในสิ่งที่ต้องการจะใส่ใจ

‘ หลีกหนีกับดึงดูด เรามักใส่ใจกับบางสิ่งบางอย่างเพื่อหลีกหนีให้พ้นจากเรื่องที่ไม่ดี หรือ เป็นด้านลบ ขณะเดียวกันก็ใส่ใจกับบางสิ่งเพราะเราคิดว่าจะนำสิ่งที่ดีงามมาให้โฆษณาเด็กนั่งใน ยางรถมิชลินได้เหมือนขับรถยนต์เป็นโฆษณาที่ซ่อนการสื่อความหมายว่าเด็กอาจจะเสี่ยงอันตราย หากใช้ยางรถยี่ห้ออื่น นี่เป็นตัวอย่างแบบหลีกหนี ส่วนรถยนต์ที่ไม่มีชื่อเสียงด้านความปลอดภัย อาจหันไปใช้สิ่งดึงดูดใจเช่นรูปลักษณ์ของรถยนต์แทน

‘ เปิดเผยกับปิดบัง ความใส่ใจอย่างเปิดเผยเป็นไปโดยรู้ตัว มีการมุ่งเน้นประเด็นและเห็นได้ชัดแจ้ง เป็นลักษณะเดียวกับเมื่อคุณเขียนรายงานหรือศึกษาข้อมูล แต่ขณะเดียวกันสมอง ของคุณก็อาจมีความใส่ใจกับเรื่องอื่นๆ อีกนับสิบซึ่งซ่อนอยู่ด้วย

ดังนั้น ความใส่ใจข้อมูลจึงเกิดขึ้นจากการระดมความใส่ใจที่เกิดจากหน่วยพื้นฐาน ดังกล่าวทั้งหมดอย่างสุดโต่งพร้อมๆ กัน อันจะนำมาซึ่งประสบการณ์ที่เป็นตัวกำหนดช่วงเวลา อันมีค่าและสนุกสนานในชีวิต ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมาเอง โดยการแสวงหาหรือสร้างมันขึ้นมาก็ตาม

การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ลูกค้าเกิดความใส่ใจ และความใส่ใจข้อมูลที่จำเป็นต่อธุรกิจ

มาตรฐานของสิ่งที่จะทำให้เราสนใจได้นั้นถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง เพราะอาจเปลี่ยน แปลงได้ในชั่วเวลาข้ามวัน ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนการแทรกรูปการ์ตูนเข้าไปในงานพรีเซ็นเตชันของโปรแกรมเพาเวอร์พอยต์นั้นเป็นสิ่งน่าตื่นตาตื่นใจ แต่เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เรียกภาพสารพัดชนิด จาก clip art ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ วิธีการจูงใจแบบนี้จึงกลายเป็นเรื่องพื้นๆ ไปเสียแล้ว

การจะแข่งขันกับผู้อื่นในยามนี้ ทั้งผู้บริหารและพนักงานจึงต้องทุ่มเทกายใจให้กับการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความใส่ใจให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเครื่องมือที่เป็นวิดีโอ อุปกรณ์เสียง คุณภาพ สูง ไฮเปอร์เท็กซ์ ฯลฯ เราจำเป็นต้องแยกหมวดข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการ และนิสัยใจคอของลูกค้าเป็นรายๆ ยิ่งทำให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเท่าไร จะยิ่งทำให้เกิดความใส่ใจมาก ขึ้น อย่างเช่นอีเมลที่ส่งกราดไปทั่วนั้นทำความรำคาญให้คนเป็นจำนวนมาก แต่ข้อมูลที่เลือกสรร ให้กับลูกค้าเฉพาะรายจะทำให้น่าสนใจได้มากกว่า

นอกจากนั้นแล้ว การใช้เทคโนโลยียังมี ด้านที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือการกลั่นกรองข้อมูลที่ ไม่สำคัญออกด้วย ซึ่งผู้ใช้หรือ user แต่ละรายควรได้ตัดสินใจคัดเลือกข้อมูลได้เอง เพราะลำพังเทคโนโลยีเองนั้นจะไม่สามารถกลั่นกรองข้อมูลที่ควรใส่ใจได้ ผู้ใช้จึงต้องให้เวลา และความ ใส่ใจกับข้อมูลด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากอีเมล โทรศัพท์ หรือทีวีก็ตาม

โครงสร้างของความใส่ใจ

อะไรที่ทำให้เราเกิดความใส่ใจได้ตั้งแต่เริ่มแรก และจะรักษาความใส่ใจให้ต่อเนื่อง ได้อย่างไร โครงสร้างความใส่ใจดังต่อไปนี้จะช่วยให้คำตอบได้

‘ เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา รูปแบบ โทน หรือระดับ การเกี่ยวข้อง ล้วนแต่ช่วยให้ความใส่ใจข้อมูลมีต่อเนื่องต่อไป

‘ เล่าเรื่อง เราถูกตรึงกับภาพยนตร์หรือนิยายได้ก็เพราะเราต้องการรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นในเรื่องและตัวละครจะประสบกับอะไรบ้าง หากคุณบอกเล่าเรื่องบางอย่าง กลุ่มผู้ฟังจะคงอยู่กับคุณ

‘ อย่าหยุดนิ่ง หากต้องการให้ผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมายใส่ใจคุณตลอด คุณควรขยับขยาย ประเด็นใหม่ๆ บ้าง เช่นหากคุณกำลังดูรายการทีวี นั่นเป็นโอกาสดีที่จะดูโฆษณาไปด้วย

‘ เปลี่ยนเส้นทาง การที่ทีวี วิทยุและเว็บประสบความสำเร็จสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่องทางสื่อสารเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปสู่ช่องรายการอื่นได้ง่าย ถือเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนไหวของความใส่ใจด้วย

อี-คอมเมิร์ซกับความใส่ใจการเกาะติดลูกค้า

บริษัทที่หันไปขายสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ตอาจประสบความสำเร็จ หรือล้มหาย ตายจากไปได้เนื่องจากความใส่ใจของลูกค้า ความเชื่อมโยงระหว่างความใส่ใจกับอี-คอมเมิร์ซนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย แต่การบริหารหรือจัดการกับความใส่ใจ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั้นยังต้องศึกษากันอีกมาก คุณสมบัติจำเพาะของอินเทอร์เน็ต เช่นการ search ข้อมูล การ ระบุตัวบุคคลแบบเจาะจง และมัลติมีเดีย ล้วนแต่เหมาะกับการสร้างความใส่ใจให้กับลูกค้า แต่ ความสามารถขององค์กรธุรกิจที่จะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ยังมีน้อย การเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะในประเด็นการทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ ใส่ใจสินค้าและคงรักษา ความใส่ใจดังกล่าวต่อไป การสร้างเว็บไซต์ให้ลูกค้า "เกาะติด" นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะเป็นการทำให้ลูกค้าแวะเวียนมาที่ไซต์บ่อยๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จแต่อย่างใด

สิ่งชี้วัดการเกาะติด

การเกาะติดสามารถวัดได้จากมาตรวัด 3 อย่างคือ จำนวนเวลารวมที่ใช้ในไซต์ จำนวน ครั้งของการแวะเวียนเข้ามาที่ไซต์ต่อลูกค้ารายหนึ่ง และจำนวนหน้าที่แต่ละคนเปิดเข้าไปชมในไซต์ มาตรวัดการเกาะติดแต่ละอย่างจะเหมาะกับสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ไซต์ ที่เน้นอี-คอมเมิร์ซพยายามขายสินค้าทางเว็บอาจมีจำนวนผู้เข้ามาในไซต์มาก แต่พึงระวังปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้เวลาในไซต์ นานเกินไปจนทำให้เกิดปัญหากับการไหลเวียนข้อมูล

ไซต์ที่จะสร้างการเกาะติดได้อย่างดีเยี่ยมจะต้องมีกลยุทธ์ 4 อย่าง คือ ตรงกับความต้องการ มีการมัดใจ สร้างชุมชน และมีความ สะดวก ดังต่อไปนี้

ตรงกับความต้องการ

ไซต์ที่จะดึงลูกค้าไว้ได้อย่างเหนียว แน่น จะต้องมีข้อมูลตรงกับความต้องการของ ลูกค้า กล่าวคือ

‘ มี content ที่สนองความต้องการ ของ user ได้เต็มที่ เช่น เที่ยวบิน TWA 800 เกิดตกโดยไม่ทราบสาเหตุ สายการบินจะต้อง ปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีการนำร่องการบิน ที่ทันสมัยขึ้น TWA รู้ว่าจะมีผู้เข้ามาดูข้อมูลในไซต์ จึงต้องให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการได้

‘ มีขอบเขตที่เหมาะสม โดยการจัด content ทั้งด้านลึกและด้านกว้างให้ลงตัว เช่น user ของ eBay ควรเลือกหัวข้อเด่นที่น่าสนใจ ได้อย่างหลากหลาย แต่ต้องไม่มากจน user รู้สึกว่าต้องเฟ้นหาสิ่งที่ต้องการอย่างลำบากยากเย็น











นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544

ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy
















ส า ร บั ญ

๏ ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

๏ การใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ลูกค้าเกิดความใส่ใจ และ ความใส่ใจข้อมูลที่จำเป็นต่อธุรกิจ

๏ โครงสร้างของความใส่ใจ

๏ อี-คอมเมิร์ซกับความใส่ใจ

๏ ภาวะผู้นำ : การกำหนดทิศทางความใส่ใจ

๏ ยุทธศาสตร์ : ความใส่ใจข้อมูลภายใต้กรอบวิธีการต่างๆ

๏ โครงสร้าง : การเน้นที่แง่มุมบางแง่เกี่ยวกับธุรกิจ

๏ อนาคตของนโยบายธุรกิจแบบเน้นที่ความใส่ใจ

เ นื้ อ ห า โ ด ย ย่ อ

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนเข้าออกบริษัทเป็นจำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่พึงตระหนักหรือคิดใคร่ครวญให้ดีก็คือ คุณใส่ใจกับข้อมูล เหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพของข้อมูล ลองถามตัวเองว่าคุณเคยพลาดข้อมูลสำคัญก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับ ธุรกิจหรือไม่ คุณพบว่าตัวเองไม่มีเวลาอ่านหรือศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด เพราะวันๆ มัววุ่นอยู่กับข้อมูลฉาบฉวยในอีเมลหรือ วอยซ์เมล ใช่หรือไม่

โทมัส เอช ดาเวนพอร์ต (Thomas H.Davenport) และจอห์น ซี เบ็ค (John C. Beck) แห่งบริษัทที่ปรึกษา Accenture บอก ในโลกที่อุดมไปด้วยข้อมูลนั้น เราไม่ได้ขาดแคลนความรู้ความสามารถ หรือเทคโนโลยีแต่อย่างใด สิ่งที่ขาดไปคือความใส่ใจข้อมูลอย่างจริงจัง ต่างหาก

หนังสือเล่มนี้จึงแนะกลยุทธ์ต่างๆ เกี่ยวกับความใส่ใจข้อมูล ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดยมีประเด็นนำเสนอดังนี้

1. ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่ความใส่ใจ ข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้เขียนกล่าวถึงหน่วยพื้นฐาน 6 ประการของ การไหลเวียนของข้อมูลที่ต้องใส่ใจ และแนะวิธีใช้หน่วยเหล่านี้กับ การใส่ใจข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดความใส่ใจ ความสามารถของเว็บ จะเข้ามาช่วยธุรกิจหรือบริษัทที่ต้องใส่ใจลูกค้า อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามามีส่วนในการกลั่นกรองและจัดการข้อมูลได้

3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความใส่ใจและมีผลกระทบกับ อี-คอมเมิร์ซ ความใส่ใจอย่างเกาะติดเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ ประสบความสำเร็จ

4. ความใส่ใจมีผลต่อภาวะผู้นำอย่างไร ผู้นำต้องสามารถ กำหนดทิศทางในความใส่ใจของตนให้เกิดประโยชน์ พร้อมไปกับ กำหนดทิศทางในความใส่ใจของผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกค้า โดย อาศัยข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับธุรกิจและลูกค้า

ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

ธุรกิจเปรียบได้กับเครื่องจักรที่ขับ เคลื่อนไปด้วยความใส่ใจข้อมูลเฉพาะบาง อย่างในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แรงงานนับเป็น กำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไป เมื่อถึงยุคข่าวสาร เรายอมรับว่า ความรู้คืออำนาจ แต่ในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ความใส่ใจข้อมูลกลับ เป็นทรัพยากรสำคัญที่ผลักดันกิจการไปข้างหน้า การตระหนักรู้ว่าความใส่ใจข้อมูลเป็นสิ่งมีค่า และการกำหนดทิศทางของความใส่ใจ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการรู้ว่าเราสามารถ จัดการกับความใส่ใจข้อมูลได้เช่นเดียวกับการ จัดการทรัพยากรอื่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจยุคนี้

หากพิจารณาจากตารางจะพบว่า กระบวนการของความใส่ใจข้อมูลเริ่มต้นจากการตระหนักถึงประเด็นข้อมูลบางประเด็น จาก นั้นมีการจำกัดขอบข่ายข้อมูลให้แคบลง จนกลายเป็นความใส่ใจซึ่งเราจะคัดสรรเฉพาะประเด็นสำคัญๆ ไว้ และขั้นต่อมาคือการตัด สินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ภายหลังจากไตร่ตรองข้อมูลอย่างรอบด้านแล้ว ทั้งนี้หากขาดขั้นที่ 1 และ 3 แล้วย่อมไม่มีความใส่ใจ เกิดขึ้น ส่วนในขั้นสุดท้ายจะมีการดำเนินการอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับระดับของความใส่ใจข้อมูล

หน่วยพื้นฐาน 6 ประการ

แนวคิดในเรื่องความใส่ใจข้อมูลทางธุรกิจนั้นเป็นแนวคิดที่กว้าง ในขณะที่ความเชื่อมโยงระหว่างโฆษณาและความใส่ใจลูกค้า นั้นค่อนข้างชัดเจน แต่ผู้นำองค์กรธุรกิจก็ยัง จำเป็นต้องจัดการกับความใส่ใจซึ่งมีหลาย ระดับด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความใส่ใจข้อมูล ของตัวผู้นำเอง ความใส่ใจข้อมูลของพนักงาน ที่มุ่งในเรื่องการสร้างกำไรหรือความใส่ใจข้อมูล ขององค์กรโดยภาพรวมเพื่อสนองความต้อง การของลูกค้า มีหน่วยพื้นฐาน 6 ประการที่มีการเคลื่อนไหวไหลเวียนในเรื่องของความใส่ใจข้อมูล แต่ละหน่วยเน้นให้เห็นความมุ่งมั่นภายใน ใจที่ต่างกันไป และมีคู่ตรงข้ามกันดังนี้

‘ จำใจกับอาสา ความใส่ใจอาจมีแรง ผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็นหรือความอยากหลีกให้พ้นจากการเรียกร้องต่างๆ ของภาวะแวดล้อม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนมักใส่ใจกับสิ่งที่จำเป็นต้องใส่ใจ พอๆ กับที่มีความใส่ใจในสิ่งที่ต้องการจะใส่ใจ

‘ หลีกหนีกับดึงดูด เรามักใส่ใจกับบางสิ่งบางอย่างเพื่อหลีกหนีให้พ้นจากเรื่องที่ไม่ดี หรือ เป็นด้านลบ ขณะเดียวกันก็ใส่ใจกับบางสิ่งเพราะเราคิดว่าจะนำสิ่งที่ดีงามมาให้โฆษณาเด็กนั่งใน ยางรถมิชลินได้เหมือนขับรถยนต์เป็นโฆษณาที่ซ่อนการสื่อความหมายว่าเด็กอาจจะเสี่ยงอันตราย หากใช้ยางรถยี่ห้ออื่น นี่เป็นตัวอย่างแบบหลีกหนี ส่วนรถยนต์ที่ไม่มีชื่อเสียงด้านความปลอดภัย อาจหันไปใช้สิ่งดึงดูดใจเช่นรูปลักษณ์ของรถยนต์แทน

‘ เปิดเผยกับปิดบัง ความใส่ใจอย่างเปิดเผยเป็นไปโดยรู้ตัว มีการมุ่งเน้นประเด็นและเห็นได้ชัดแจ้ง เป็นลักษณะเดียวกับเมื่อคุณเขียนรายงานหรือศึกษาข้อมูล แต่ขณะเดียวกันสมอง ของคุณก็อาจมีความใส่ใจกับเรื่องอื่นๆ อีกนับสิบซึ่งซ่อนอยู่ด้วย

ดังนั้น ความใส่ใจข้อมูลจึงเกิดขึ้นจากการระดมความใส่ใจที่เกิดจากหน่วยพื้นฐาน ดังกล่าวทั้งหมดอย่างสุดโต่งพร้อมๆ กัน อันจะนำมาซึ่งประสบการณ์ที่เป็นตัวกำหนดช่วงเวลา อันมีค่าและสนุกสนานในชีวิต ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมาเอง โดยการแสวงหาหรือสร้างมันขึ้นมาก็ตาม

การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ลูกค้าเกิดความใส่ใจ และความใส่ใจข้อมูลที่จำเป็นต่อธุรกิจ

มาตรฐานของสิ่งที่จะทำให้เราสนใจได้นั้นถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง เพราะอาจเปลี่ยน แปลงได้ในชั่วเวลาข้ามวัน ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนการแทรกรูปการ์ตูนเข้าไปในงานพรีเซ็นเตชันของโปรแกรมเพาเวอร์พอยต์นั้นเป็นสิ่งน่าตื่นตาตื่นใจ แต่เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เรียกภาพสารพัดชนิด จาก clip art ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ วิธีการจูงใจแบบนี้จึงกลายเป็นเรื่องพื้นๆ ไปเสียแล้ว

การจะแข่งขันกับผู้อื่นในยามนี้ ทั้งผู้บริหารและพนักงานจึงต้องทุ่มเทกายใจให้กับการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความใส่ใจให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเครื่องมือที่เป็นวิดีโอ อุปกรณ์เสียง คุณภาพ สูง ไฮเปอร์เท็กซ์ ฯลฯ เราจำเป็นต้องแยกหมวดข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการ และนิสัยใจคอของลูกค้าเป็นรายๆ ยิ่งทำให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเท่าไร จะยิ่งทำให้เกิดความใส่ใจมาก ขึ้น อย่างเช่นอีเมลที่ส่งกราดไปทั่วนั้นทำความรำคาญให้คนเป็นจำนวนมาก แต่ข้อมูลที่เลือกสรร ให้กับลูกค้าเฉพาะรายจะทำให้น่าสนใจได้มากกว่า

นอกจากนั้นแล้ว การใช้เทคโนโลยียังมี ด้านที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือการกลั่นกรองข้อมูลที่ ไม่สำคัญออกด้วย ซึ่งผู้ใช้หรือ user แต่ละรายควรได้ตัดสินใจคัดเลือกข้อมูลได้เอง เพราะลำพังเทคโนโลยีเองนั้นจะไม่สามารถกลั่นกรองข้อมูลที่ควรใส่ใจได้ ผู้ใช้จึงต้องให้เวลา และความ ใส่ใจกับข้อมูลด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากอีเมล โทรศัพท์ หรือทีวีก็ตาม

โครงสร้างของความใส่ใจ

อะไรที่ทำให้เราเกิดความใส่ใจได้ตั้งแต่เริ่มแรก และจะรักษาความใส่ใจให้ต่อเนื่อง ได้อย่างไร โครงสร้างความใส่ใจดังต่อไปนี้จะช่วยให้คำตอบได้

‘ เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา รูปแบบ โทน หรือระดับ การเกี่ยวข้อง ล้วนแต่ช่วยให้ความใส่ใจข้อมูลมีต่อเนื่องต่อไป

‘ เล่าเรื่อง เราถูกตรึงกับภาพยนตร์หรือนิยายได้ก็เพราะเราต้องการรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นในเรื่องและตัวละครจะประสบกับอะไรบ้าง หากคุณบอกเล่าเรื่องบางอย่าง กลุ่มผู้ฟังจะคงอยู่กับคุณ

‘ อย่าหยุดนิ่ง หากต้องการให้ผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมายใส่ใจคุณตลอด คุณควรขยับขยาย ประเด็นใหม่ๆ บ้าง เช่นหากคุณกำลังดูรายการทีวี นั่นเป็นโอกาสดีที่จะดูโฆษณาไปด้วย

‘ เปลี่ยนเส้นทาง การที่ทีวี วิทยุและเว็บประสบความสำเร็จสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่องทางสื่อสารเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปสู่ช่องรายการอื่นได้ง่าย ถือเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนไหวของความใส่ใจด้วย

อี-คอมเมิร์ซกับความใส่ใจการเกาะติดลูกค้า

บริษัทที่หันไปขายสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ตอาจประสบความสำเร็จ หรือล้มหาย ตายจากไปได้เนื่องจากความใส่ใจของลูกค้า ความเชื่อมโยงระหว่างความใส่ใจกับอี-คอมเมิร์ซนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย แต่การบริหารหรือจัดการกับความใส่ใจ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั้นยังต้องศึกษากันอีกมาก คุณสมบัติจำเพาะของอินเทอร์เน็ต เช่นการ search ข้อมูล การ ระบุตัวบุคคลแบบเจาะจง และมัลติมีเดีย ล้วนแต่เหมาะกับการสร้างความใส่ใจให้กับลูกค้า แต่ ความสามารถขององค์กรธุรกิจที่จะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ยังมีน้อย การเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะในประเด็นการทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ ใส่ใจสินค้าและคงรักษา ความใส่ใจดังกล่าวต่อไป การสร้างเว็บไซต์ให้ลูกค้า "เกาะติด" นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะเป็นการทำให้ลูกค้าแวะเวียนมาที่ไซต์บ่อยๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จแต่อย่างใด

สิ่งชี้วัดการเกาะติด

การเกาะติดสามารถวัดได้จากมาตรวัด 3 อย่างคือ จำนวนเวลารวมที่ใช้ในไซต์ จำนวน ครั้งของการแวะเวียนเข้ามาที่ไซต์ต่อลูกค้ารายหนึ่ง และจำนวนหน้าที่แต่ละคนเปิดเข้าไปชมในไซต์ มาตรวัดการเกาะติดแต่ละอย่างจะเหมาะกับสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ไซต์ ที่เน้นอี-คอมเมิร์ซพยายามขายสินค้าทางเว็บอาจมีจำนวนผู้เข้ามาในไซต์มาก แต่พึงระวังปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้เวลาในไซต์ นานเกินไปจนทำให้เกิดปัญหากับการไหลเวียนข้อมูล

ไซต์ที่จะสร้างการเกาะติดได้อย่างดีเยี่ยมจะต้องมีกลยุทธ์ 4 อย่าง คือ ตรงกับความต้องการ มีการมัดใจ สร้างชุมชน และมีความ สะดวก ดังต่อไปนี้

ตรงกับความต้องการ

ไซต์ที่จะดึงลูกค้าไว้ได้อย่างเหนียว แน่น จะต้องมีข้อมูลตรงกับความต้องการของ ลูกค้า กล่าวคือ

‘ มี content ที่สนองความต้องการ ของ user ได้เต็มที่ เช่น เที่ยวบิน TWA 800 เกิดตกโดยไม่ทราบสาเหตุ สายการบินจะต้อง ปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีการนำร่องการบิน ที่ทันสมัยขึ้น TWA รู้ว่าจะมีผู้เข้ามาดูข้อมูลในไซต์ จึงต้องให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการได้

‘ มีขอบเขตที่เหมาะสม โดยการจัด content ทั้งด้านลึกและด้านกว้างให้ลงตัว เช่น user ของ eBay ควรเลือกหัวข้อเด่นที่น่าสนใจ ได้อย่างหลากหลาย แต่ต้องไม่มากจน user รู้สึกว่าต้องเฟ้นหาสิ่งที่ต้องการอย่างลำบากยากเย็น

‘ update ไซต์ให้สม่ำเสมอ ความต้อง การของ user นั้นไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเว็บนั้นรวดเร็วมาก ไซต์ทางด้านการเงินที่ประสบความสำเร็จคือ ไซต์ที่มีการ update ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เช่นไซต์/ด้านหุ้นจะต้องมีราคาหุ้นล่าสุดเป็นฐาน

‘ นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการไซต์ที่มีลูกค้าเกาะติดจะต้องมีสิ่งที่สามารถอวดอ้างได้ว่าเด่นกว่าไซต์ของคู่แข่ง เช่น Amazon.com คุยว่าเป็นไซต์ที่มีสินค้าให้เลือกได้มากที่สุดในโลก ส่วนเครือข่าย 1-JOBS จัดให้ตัวเอง เป็นบริการรับสมัครงานทางอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุด เป็นต้น



โดย: ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:39:38 น.
  
ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy

...( ต่อ )...











นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544

ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy
















ส า ร บั ญ

๏ ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

๏ การใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ลูกค้าเกิดความใส่ใจ และ ความใส่ใจข้อมูลที่จำเป็นต่อธุรกิจ

๏ โครงสร้างของความใส่ใจ

๏ อี-คอมเมิร์ซกับความใส่ใจ

๏ ภาวะผู้นำ : การกำหนดทิศทางความใส่ใจ

๏ ยุทธศาสตร์ : ความใส่ใจข้อมูลภายใต้กรอบวิธีการต่างๆ

๏ โครงสร้าง : การเน้นที่แง่มุมบางแง่เกี่ยวกับธุรกิจ

๏ อนาคตของนโยบายธุรกิจแบบเน้นที่ความใส่ใจ

เ นื้ อ ห า โ ด ย ย่ อ

ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลเวียนเข้าออกบริษัทเป็นจำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่พึงตระหนักหรือคิดใคร่ครวญให้ดีก็คือ คุณใส่ใจกับข้อมูล เหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพของข้อมูล ลองถามตัวเองว่าคุณเคยพลาดข้อมูลสำคัญก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับ ธุรกิจหรือไม่ คุณพบว่าตัวเองไม่มีเวลาอ่านหรือศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด เพราะวันๆ มัววุ่นอยู่กับข้อมูลฉาบฉวยในอีเมลหรือ วอยซ์เมล ใช่หรือไม่

โทมัส เอช ดาเวนพอร์ต (Thomas H.Davenport) และจอห์น ซี เบ็ค (John C. Beck) แห่งบริษัทที่ปรึกษา Accenture บอก ในโลกที่อุดมไปด้วยข้อมูลนั้น เราไม่ได้ขาดแคลนความรู้ความสามารถ หรือเทคโนโลยีแต่อย่างใด สิ่งที่ขาดไปคือความใส่ใจข้อมูลอย่างจริงจัง ต่างหาก

หนังสือเล่มนี้จึงแนะกลยุทธ์ต่างๆ เกี่ยวกับความใส่ใจข้อมูล ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร โดยมีประเด็นนำเสนอดังนี้

1. ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่ความใส่ใจ ข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้เขียนกล่าวถึงหน่วยพื้นฐาน 6 ประการของ การไหลเวียนของข้อมูลที่ต้องใส่ใจ และแนะวิธีใช้หน่วยเหล่านี้กับ การใส่ใจข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดความใส่ใจ ความสามารถของเว็บ จะเข้ามาช่วยธุรกิจหรือบริษัทที่ต้องใส่ใจลูกค้า อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเข้ามามีส่วนในการกลั่นกรองและจัดการข้อมูลได้

3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความใส่ใจและมีผลกระทบกับ อี-คอมเมิร์ซ ความใส่ใจอย่างเกาะติดเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ ประสบความสำเร็จ

4. ความใส่ใจมีผลต่อภาวะผู้นำอย่างไร ผู้นำต้องสามารถ กำหนดทิศทางในความใส่ใจของตนให้เกิดประโยชน์ พร้อมไปกับ กำหนดทิศทางในความใส่ใจของผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกค้า โดย อาศัยข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับธุรกิจและลูกค้า

ความใส่ใจข้อมูลคืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

ธุรกิจเปรียบได้กับเครื่องจักรที่ขับ เคลื่อนไปด้วยความใส่ใจข้อมูลเฉพาะบาง อย่างในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แรงงานนับเป็น กำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไป เมื่อถึงยุคข่าวสาร เรายอมรับว่า ความรู้คืออำนาจ แต่ในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ความใส่ใจข้อมูลกลับ เป็นทรัพยากรสำคัญที่ผลักดันกิจการไปข้างหน้า การตระหนักรู้ว่าความใส่ใจข้อมูลเป็นสิ่งมีค่า และการกำหนดทิศทางของความใส่ใจ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการรู้ว่าเราสามารถ จัดการกับความใส่ใจข้อมูลได้เช่นเดียวกับการ จัดการทรัพยากรอื่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจยุคนี้

หากพิจารณาจากตารางจะพบว่า กระบวนการของความใส่ใจข้อมูลเริ่มต้นจากการตระหนักถึงประเด็นข้อมูลบางประเด็น จาก นั้นมีการจำกัดขอบข่ายข้อมูลให้แคบลง จนกลายเป็นความใส่ใจซึ่งเราจะคัดสรรเฉพาะประเด็นสำคัญๆ ไว้ และขั้นต่อมาคือการตัด สินใจว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ภายหลังจากไตร่ตรองข้อมูลอย่างรอบด้านแล้ว ทั้งนี้หากขาดขั้นที่ 1 และ 3 แล้วย่อมไม่มีความใส่ใจ เกิดขึ้น ส่วนในขั้นสุดท้ายจะมีการดำเนินการอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับระดับของความใส่ใจข้อมูล

หน่วยพื้นฐาน 6 ประการ

แนวคิดในเรื่องความใส่ใจข้อมูลทางธุรกิจนั้นเป็นแนวคิดที่กว้าง ในขณะที่ความเชื่อมโยงระหว่างโฆษณาและความใส่ใจลูกค้า นั้นค่อนข้างชัดเจน แต่ผู้นำองค์กรธุรกิจก็ยัง จำเป็นต้องจัดการกับความใส่ใจซึ่งมีหลาย ระดับด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความใส่ใจข้อมูล ของตัวผู้นำเอง ความใส่ใจข้อมูลของพนักงาน ที่มุ่งในเรื่องการสร้างกำไรหรือความใส่ใจข้อมูล ขององค์กรโดยภาพรวมเพื่อสนองความต้อง การของลูกค้า มีหน่วยพื้นฐาน 6 ประการที่มีการเคลื่อนไหวไหลเวียนในเรื่องของความใส่ใจข้อมูล แต่ละหน่วยเน้นให้เห็นความมุ่งมั่นภายใน ใจที่ต่างกันไป และมีคู่ตรงข้ามกันดังนี้

‘ จำใจกับอาสา ความใส่ใจอาจมีแรง ผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็นหรือความอยากหลีกให้พ้นจากการเรียกร้องต่างๆ ของภาวะแวดล้อม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คนมักใส่ใจกับสิ่งที่จำเป็นต้องใส่ใจ พอๆ กับที่มีความใส่ใจในสิ่งที่ต้องการจะใส่ใจ

‘ หลีกหนีกับดึงดูด เรามักใส่ใจกับบางสิ่งบางอย่างเพื่อหลีกหนีให้พ้นจากเรื่องที่ไม่ดี หรือ เป็นด้านลบ ขณะเดียวกันก็ใส่ใจกับบางสิ่งเพราะเราคิดว่าจะนำสิ่งที่ดีงามมาให้โฆษณาเด็กนั่งใน ยางรถมิชลินได้เหมือนขับรถยนต์เป็นโฆษณาที่ซ่อนการสื่อความหมายว่าเด็กอาจจะเสี่ยงอันตราย หากใช้ยางรถยี่ห้ออื่น นี่เป็นตัวอย่างแบบหลีกหนี ส่วนรถยนต์ที่ไม่มีชื่อเสียงด้านความปลอดภัย อาจหันไปใช้สิ่งดึงดูดใจเช่นรูปลักษณ์ของรถยนต์แทน

‘ เปิดเผยกับปิดบัง ความใส่ใจอย่างเปิดเผยเป็นไปโดยรู้ตัว มีการมุ่งเน้นประเด็นและเห็นได้ชัดแจ้ง เป็นลักษณะเดียวกับเมื่อคุณเขียนรายงานหรือศึกษาข้อมูล แต่ขณะเดียวกันสมอง ของคุณก็อาจมีความใส่ใจกับเรื่องอื่นๆ อีกนับสิบซึ่งซ่อนอยู่ด้วย

ดังนั้น ความใส่ใจข้อมูลจึงเกิดขึ้นจากการระดมความใส่ใจที่เกิดจากหน่วยพื้นฐาน ดังกล่าวทั้งหมดอย่างสุดโต่งพร้อมๆ กัน อันจะนำมาซึ่งประสบการณ์ที่เป็นตัวกำหนดช่วงเวลา อันมีค่าและสนุกสนานในชีวิต ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมาเอง โดยการแสวงหาหรือสร้างมันขึ้นมาก็ตาม

การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ลูกค้าเกิดความใส่ใจ และความใส่ใจข้อมูลที่จำเป็นต่อธุรกิจ

มาตรฐานของสิ่งที่จะทำให้เราสนใจได้นั้นถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยครั้ง เพราะอาจเปลี่ยน แปลงได้ในชั่วเวลาข้ามวัน ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนการแทรกรูปการ์ตูนเข้าไปในงานพรีเซ็นเตชันของโปรแกรมเพาเวอร์พอยต์นั้นเป็นสิ่งน่าตื่นตาตื่นใจ แต่เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เรียกภาพสารพัดชนิด จาก clip art ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ วิธีการจูงใจแบบนี้จึงกลายเป็นเรื่องพื้นๆ ไปเสียแล้ว

การจะแข่งขันกับผู้อื่นในยามนี้ ทั้งผู้บริหารและพนักงานจึงต้องทุ่มเทกายใจให้กับการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความใส่ใจให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเครื่องมือที่เป็นวิดีโอ อุปกรณ์เสียง คุณภาพ สูง ไฮเปอร์เท็กซ์ ฯลฯ เราจำเป็นต้องแยกหมวดข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการ และนิสัยใจคอของลูกค้าเป็นรายๆ ยิ่งทำให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเท่าไร จะยิ่งทำให้เกิดความใส่ใจมาก ขึ้น อย่างเช่นอีเมลที่ส่งกราดไปทั่วนั้นทำความรำคาญให้คนเป็นจำนวนมาก แต่ข้อมูลที่เลือกสรร ให้กับลูกค้าเฉพาะรายจะทำให้น่าสนใจได้มากกว่า

นอกจากนั้นแล้ว การใช้เทคโนโลยียังมี ด้านที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือการกลั่นกรองข้อมูลที่ ไม่สำคัญออกด้วย ซึ่งผู้ใช้หรือ user แต่ละรายควรได้ตัดสินใจคัดเลือกข้อมูลได้เอง เพราะลำพังเทคโนโลยีเองนั้นจะไม่สามารถกลั่นกรองข้อมูลที่ควรใส่ใจได้ ผู้ใช้จึงต้องให้เวลา และความ ใส่ใจกับข้อมูลด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากอีเมล โทรศัพท์ หรือทีวีก็ตาม

โครงสร้างของความใส่ใจ

อะไรที่ทำให้เราเกิดความใส่ใจได้ตั้งแต่เริ่มแรก และจะรักษาความใส่ใจให้ต่อเนื่อง ได้อย่างไร โครงสร้างความใส่ใจดังต่อไปนี้จะช่วยให้คำตอบได้

‘ เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา รูปแบบ โทน หรือระดับ การเกี่ยวข้อง ล้วนแต่ช่วยให้ความใส่ใจข้อมูลมีต่อเนื่องต่อไป

‘ เล่าเรื่อง เราถูกตรึงกับภาพยนตร์หรือนิยายได้ก็เพราะเราต้องการรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นในเรื่องและตัวละครจะประสบกับอะไรบ้าง หากคุณบอกเล่าเรื่องบางอย่าง กลุ่มผู้ฟังจะคงอยู่กับคุณ

‘ อย่าหยุดนิ่ง หากต้องการให้ผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมายใส่ใจคุณตลอด คุณควรขยับขยาย ประเด็นใหม่ๆ บ้าง เช่นหากคุณกำลังดูรายการทีวี นั่นเป็นโอกาสดีที่จะดูโฆษณาไปด้วย

‘ เปลี่ยนเส้นทาง การที่ทีวี วิทยุและเว็บประสบความสำเร็จสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่องทางสื่อสารเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปสู่ช่องรายการอื่นได้ง่าย ถือเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนไหวของความใส่ใจด้วย

อี-คอมเมิร์ซกับความใส่ใจการเกาะติดลูกค้า

บริษัทที่หันไปขายสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ตอาจประสบความสำเร็จ หรือล้มหาย ตายจากไปได้เนื่องจากความใส่ใจของลูกค้า ความเชื่อมโยงระหว่างความใส่ใจกับอี-คอมเมิร์ซนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย แต่การบริหารหรือจัดการกับความใส่ใจ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั้นยังต้องศึกษากันอีกมาก คุณสมบัติจำเพาะของอินเทอร์เน็ต เช่นการ search ข้อมูล การ ระบุตัวบุคคลแบบเจาะจง และมัลติมีเดีย ล้วนแต่เหมาะกับการสร้างความใส่ใจให้กับลูกค้า แต่ ความสามารถขององค์กรธุรกิจที่จะจัดการกับสิ่งเหล่านี้ยังมีน้อย การเข้าสู่อี-คอมเมิร์ซจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะในประเด็นการทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจ ใส่ใจสินค้าและคงรักษา ความใส่ใจดังกล่าวต่อไป การสร้างเว็บไซต์ให้ลูกค้า "เกาะติด" นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะเป็นการทำให้ลูกค้าแวะเวียนมาที่ไซต์บ่อยๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จแต่อย่างใด

สิ่งชี้วัดการเกาะติด

การเกาะติดสามารถวัดได้จากมาตรวัด 3 อย่างคือ จำนวนเวลารวมที่ใช้ในไซต์ จำนวน ครั้งของการแวะเวียนเข้ามาที่ไซต์ต่อลูกค้ารายหนึ่ง และจำนวนหน้าที่แต่ละคนเปิดเข้าไปชมในไซต์ มาตรวัดการเกาะติดแต่ละอย่างจะเหมาะกับสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ไซต์ ที่เน้นอี-คอมเมิร์ซพยายามขายสินค้าทางเว็บอาจมีจำนวนผู้เข้ามาในไซต์มาก แต่พึงระวังปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้เวลาในไซต์ นานเกินไปจนทำให้เกิดปัญหากับการไหลเวียนข้อมูล

ไซต์ที่จะสร้างการเกาะติดได้อย่างดีเยี่ยมจะต้องมีกลยุทธ์ 4 อย่าง คือ ตรงกับความต้องการ มีการมัดใจ สร้างชุมชน และมีความ สะดวก ดังต่อไปนี้

ตรงกับความต้องการ

ไซต์ที่จะดึงลูกค้าไว้ได้อย่างเหนียว แน่น จะต้องมีข้อมูลตรงกับความต้องการของ ลูกค้า กล่าวคือ

‘ มี content ที่สนองความต้องการ ของ user ได้เต็มที่ เช่น เที่ยวบิน TWA 800 เกิดตกโดยไม่ทราบสาเหตุ สายการบินจะต้อง ปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีการนำร่องการบิน ที่ทันสมัยขึ้น TWA รู้ว่าจะมีผู้เข้ามาดูข้อมูลในไซต์ จึงต้องให้ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการได้

‘ มีขอบเขตที่เหมาะสม โดยการจัด content ทั้งด้านลึกและด้านกว้างให้ลงตัว เช่น user ของ eBay ควรเลือกหัวข้อเด่นที่น่าสนใจ ได้อย่างหลากหลาย แต่ต้องไม่มากจน user รู้สึกว่าต้องเฟ้นหาสิ่งที่ต้องการอย่างลำบากยากเย็น

‘ update ไซต์ให้สม่ำเสมอ ความต้อง การของ user นั้นไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเว็บนั้นรวดเร็วมาก ไซต์ทางด้านการเงินที่ประสบความสำเร็จคือ ไซต์ที่มีการ update ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เช่นไซต์/ด้านหุ้นจะต้องมีราคาหุ้นล่าสุดเป็นฐาน

‘ นำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการไซต์ที่มีลูกค้าเกาะติดจะต้องมีสิ่งที่สามารถอวดอ้างได้ว่าเด่นกว่าไซต์ของคู่แข่ง เช่น Amazon.com คุยว่าเป็นไซต์ที่มีสินค้าให้เลือกได้มากที่สุดในโลก ส่วนเครือข่าย 1-JOBS จัดให้ตัวเอง เป็นบริการรับสมัครงานทางอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุด เป็นต้น

การผูกมัดใจ

ไซต์ที่จะมัดใจลูกค้าไว้ได้จะต้องมีสิ่งต่อไปนี้

‘ ลักษณะ interactive การคลิกอาจ เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆ และจัดเป็นอินเตอร์แอคทีฟแบบหนึ่ง แต่การจะมัดใจลูกค้า ต้องมีลักษณะอินเตอร์แอคทีฟที่ก้าวหน้ากว่านั้น เช่น ผู้อ่าน Atlantic Monthly สามารถส่งความคิดเห็นต่อบทความในหนังสือ กลับไปยังบอร์ดข่าวสารที่ชื่อ "Post and Ripost" และกลับไปอ่านบอร์ดข้อมูลเพื่อดูว่า มีผู้อื่นแสดงทัศนะอื่นเพิ่มเติม

‘ การแข่งขัน ไซต์ด้านเกมต้องเสนอการแข่งขันเป็นจุดขาย แต่มีเว็บไซต์อย่าง Disney.com หรือ Football365.com ที่นำเสนอ รูปแบบการแข่งขันในลักษณะอินเตอร์แอคทีฟ ซึ่งทำให้ผู้ชมสนใจและหวนกลับมาที่ไซต์อีก

‘ มูลค่าการผลิต ในขณะที่มีเว็บไซต์มากมายให้เลือกเปิดอ่าน การนำเสนอมูลค่า การผลิตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง อย่าง Racing Green ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายเสื้อผ้าของอังกฤษ นำเสนอแคตาล็อกสินค้าในเว็บไซต์ โดยใช้ความโดดเด่นในแง่ของคุณภาพของแคตาล็อก สร้างความเป็นต่อคู่แข่ง

‘ การบอกเล่าเรื่องราว คุณจะต้อง หาวิธีนำเสนอข้อมูลที่ทำให้ผู้ชมเว็บไซต์จดจำ ได้ โดยอาจพัฒนา content ขึ้นเอง หรือใช้ฐานจาก user รายอื่น

สร้างชุมชน

ไซต์ที่ทำให้ลูกค้าเกาะติดได้ต้องสร้าง ชุมชนในหมู่ลูกค้าขึ้นด้วยวิธีการดังนี้


ร่วมสร้างสรรค์ ไซต์อย่าง Schwab และ Fidelity จัดทำ content โดยอาศัยข้อมูล การลงทุนของลูกค้าเป็นพื้นฐาน ส่วน When. com ก็สร้างไซต์ขึ้นโดยมี user เป็นผู้ช่วยให้ข้อมูลด้วย เป็นต้น

‘ การจัดข้อมูลเฉพาะ เป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมสร้างสรรค์ แต่ขึ้นอยู่กับการกลั่นกรอง และจัดการกับข้อมูลมากกว่าที่จะเน้นแต่การได้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก user อย่างเช่น ไซต์ Premier Pages ของเดล ยอมให้ลูกค้าของบริษัทคัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนทิ้งไปได้ เป็นต้น

‘ การนำเสนอข้อมูลให้เป็นรายบุคคล Amazon.com และ Buy.com ประสบความสำเร็จ เพราะมุ่งเจาะลูกค้าเป็นรายบุคคล โดย มีการส่งคำอวยพรในเทศกาลต่างๆ ถึงลูกค้า เป็นรายๆ การส่งอีเมลเสนอขายสินค้าก็จัดทำ โดยอิงกับข้อมูลการซื้อสินค้าคราวก่อนเป็นฐาน

‘ ความภูมิใจและการรับรู้ Amazon ให้ลูกค้าไดัมีส่วนจัดอันดับสินค้าเพื่อสร้างความ ภาคภูมิใจและการรับรู้เกี่ยวกับสินค้า ความสะดวก

ไซต์ที่ทำให้ลูกค้าเกาะติดได้ต้องอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าโดย

‘ ทำให้มีการดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งการดาวน์โหลดข้อมูลทำได้เร็วเท่าไร ลูกค้าจะยิ่งใช้เว็บไซต์นั้นมากขึ้น

ส่งข้อมูลในรูป bite-sized นี่เป็นตัวอย่างความสำเร็จของไซต์ของหนังสือพิมพ์ USA Today ที่สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบนี้ได้ และเหมาะอย่างยิ่งกับข้อมูลที่มี user เป็นฐานกว้างแต่มีระดับ ของความใส่ใจไม่มากนัก

ภาวะผู้นำ การกำหนดทิศทางความใส่ใจ

หนังสือธุรกิจส่วนใหญ่มักกล่าวถึงภาวะผู้นำ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงาน ในลักษณะต่างๆ แต่น้อยเล่มนักที่จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้นำที่ประสบความ สำเร็จกับความใส่ใจ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีวิธีบริหารงานแบบมีความใส่ใจมา เป็นเวลานาน มีอยู่หลายคนด้วยกัน อาทิ ฟอร์ด (Ford) วัตสัน (Watson) มอริตะ (Morita) เวลช์ (Welch) และเกตส์ (Gates)

แม้ว่าการบริหารงานแบบมีความใส่ใจจะมีความสำคัญและได้รับการยอมรับมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ผู้นำก็ต้องหาวิธีในการกำหนดทิศทางของความใส่ใจ ซึ่งจะต้องอาศัยหลัก 4 ข้อ ดัง ต่อไปนี้

1. กำหนดจุดมุ่งเน้นของความใส่ใจ

2. ทำให้เป็นที่สนใจอย่างเหมาะสม

3. กำกับทิศทางความใส่ใจของผู้ที่ปฏิบัติงานตามคุณ

4. รักษาระดับความใส่ใจของลูกค้าไว้

กำหนดจุดมุ่งเน้นของความใส่ใจ

ความใส่ใจมีการเคลื่อนไหวในทิศทางจากผู้นำไปสู่ลูกน้องผู้ปฏิบัติงานและต่อไปยังลูกค้า มีงานวิจัยระบุว่าผู้นำที่มีความตระหนักเกี่ยวกับตัวเอง จะประสบความสำเร็จในการกำกับทิศทางความใส่ใจของผู้อื่น วิธีการปรับหรือกำหนดจุด มุ่งเน้นของความใส่ใจอาจทำได้โดย

‘ บอกเล่าให้ผู้อื่นได้รับรู้ว่าคุณมีความใส่ใจกับประเด็นใดอยู่บ้าง นี่เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณมีความตระหนักเกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น

‘ กำหนดเป้าหมายของความใส่ใจ เพื่อให้เห็นว่าในอนาคตคุณจะใส่ใจกับสิ่งใดบ้าง

‘ ยอมรับฟังความเห็นคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนฝูง หรือลูกน้อง เพราะพวกเขาอาจมีความคิดเห็นที่ดีกว่าตัวคุณก็เป็นได้


ทำตนให้เป็นที่สนใจอย่างเหมาะสม

ผู้นำของ Sony คือ โนบูยูกิ อิเดอิ (No-buyuki Idei) ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงด้วยการทำให้ตนเองเป็นที่สนใจ ในเวลาที่เหมาะสม (โปรดดูล้อมกรอบ) และรู้จักวิธีหลีกเลี่ยงการเป็นที่สนใจที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นไปโดยสัญชาตญาณหรือโชคก็ตาม ความสามารถดังกล่าวก็เป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตในองค์กรสู่ตำแหน่งผู้นำ

กำกับทิศทางความใส่ใจของผู้ที่ปฏิบัติงานตามคุณ

นำจำเป็นต้องมีผู้ตามที่มีความใส่ใจกับความเชื่อและปฏิบัติตามความเชื่อในด้านอาชีพ การงานนั้น หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงาน ความใส่ใจของผู้นำก็ไร้ประโยชน์ และแม้ว่าผู้นำจะกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความใส่ใจในเรื่องต่างๆ ตามต้องการแล้ว สิ่งที่ยากยิ่งในขั้นต่อไปก็คือ การรักษาระดับความใส่ใจนั้นไว้อย่างต่อเนื่อง

สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการกำกับทิศทางของความใส่ใจก็คือการยอมรับว่าคุณ ไม่สามารถควบคุมจุดเน้นของแต่ละคนได้ คุณอาจควบคุมเวลาในการทำงานของพนักงาน ในองค์กร กำหนดตำแหน่งที่นั่งทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้วพนักงานต่างกำหนดทิศทาง ความใส่ใจในงานด้วยตนเอง

ผู้นำมีหน้าที่สร้างแรงจูงใจพนักงาน โดยการสร้างบริบทที่เป็นประโยชน์ต่อข้อมูล โดยการคัดเลือกและจัดข้อมูลให้เข้าที่เข้าทาง เลือกว่าจะมุ่งเน้นที่เรื่องใดและจะทำอย่างไร กับสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ วิธีหนึ่งที่ ทำได้ก็คือ กลั่นกรองข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวน มากและคัดส่วนที่ไม่เป็นประโยชน์ทิ้งไป จอห์น บราวน์ (John Brown) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริติช ปิโตรเลียม เคยสั่งการให้ผู้บริหารระบบข้อมูลกำจัดแอพพลิเคชันภายในระบบขององค์กรทิ้งไปครึ่งหนึ่ง นอกจากนั้น ผู้นำส่วนงานอื่นก็ทำการจำกัด จำนวนผู้รับอีเมลของบริษัทลง เนื่องจากเห็นว่าการส่งอีเมลออก ไปมักเป็นการเบี่ยงเบนความใส่ใจมากกว่าจะ เป็นการมุ่งเน้นความใส่ใจกับการงาน

รักษาระดับความใส่ใจของลูกค้าไว้

ถึงคุณจะทำให้พนักงานมีความใส่ใจกับการงานที่คุณกำหนดทิศทางไว้ได้ 100% เต็ม แต่ธุรกิจก็อาจล้มเหลวได้หากคุณรักษาระดับความใส่ใจของลูกค้าไว้ไม่ได้ ผู้นำจึงต้องกำหนดตำแหน่งของสินค้าหรือบริการใน ความคิดอ่านของลูกค้า และรักษาความใส่ใจ ให้คงไว้เพื่อให้ลูกค้าหวนกลับมาใช้สินค้า หรือบริการต่อไปอีก ทั้งนี้ ผู้นำมีวิธีทำให้ลูกค้าเกิดความใส่ใจด้วยวิธีการต่างกันไปอาทิ

‘ แคมเปญ "ยางที่ขับขี่ได้หลายรูปแบบ" ของมิชลิน ใช้การสร้างความใส่ใจแบบหลีกหนี

‘ พิเรลลีใช้รูปลักษณ์และคุณสมบัติที่โดดเด่นเป็นจุดขาย

‘ โค้กใช้สโลแกน "ต้องโค้กซิ" ในงานโฆษณาที่ชวนลูกค้าให้ดื่มโค้กทุกครั้งที่กระหายน้ำ

ยุทธศาสตร์ความใส่ใจข้อมูลภายใต้กรอบวิธีการต่างๆ

ในการกำหนดยุทธศาสตร์ ผู้นำควรหยุดพักความใส่ใจกับงานเฉพาะด้านแล้วใส่ใจกับ ประเด็นในระยะยาว ส่วนผู้บริหารที่ดูแลงานประจำวันก็จะต้องถูกโน้มน้าวให้มีความใส่ใจกับ ยุทธศาสตร์

เมื่อจะกำหนดยุทธศาสตร์ คุณจะต้องเลือกสรรทางเลือกที่สมเหตุสมผลและมีศักยภาพ ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และแต่ละทางเลือกจะนำคุณไปสู่ทิศทางที่ต่างกันไป ทางออกในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่มีความใส่ใจเป็นแกนอาจเริ่มด้วยการตั้งคำถามเหล่านี้

‘ เราควรกำหนดจุดมุ่งเน้นของความใส่ใจในเรื่องส่วนแบ่งตลาดหรือความสามารถในการทำกำไรหรือไม่

‘ เราควรกำหนดจุดมุ่งเน้นของความใส่ใจในเรื่องการเติบโต จากธุรกิจที่ดำเนินอยู่หรือจาก การแตกแขนงธุรกิจออกไป

‘ เราควรกำหนดจุดมุ่งเน้นของความใส่ใจในเรื่องคู่แข่งทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ มาก น้อยเพียงไร

‘ เทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรที่เราควรกำหนดจุดมุ่งเน้นของความใส่ใจในองค์กร

‘ เราจะเพิกเฉยกับโอกาสในการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินในระหว่างการดำเนินยุทธศาสตร์ หรือเราควรกำหนดมุมมอง ในเรื่องนี้ไปด้วย

ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของหาทางเลือกที่ถูกต้องเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของมุมมองที่จะใช้ ยุทธศาสตร์ด้วย กล่าวคือ ใครเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ เมื่อไรจึงจะใช้ยุทธศาสตร์ ทั้งนี้ แม้ว่า คุณจะมองยุทธศาสตร์ได้จากมุมมองต่างๆ กัน แต่คุณไม่อาจใส่ใจกับมุมมองทั้งหมด ได้พร้อมกัน จึงต้องกำหนดขอบข่ายหรือกรอบทางยุทธศาสตร์เพียงหนึ่งหรือสองกรอบเท่านั้น

สิ่งที่ควรใส่ใจอีกประการหนึ่งคือ การแตกยุทธศาสตร์ออกเป็นประเด็นย่อย โดยทั่วไปแล้ว ยุทธศาสตร์มักเริ่มต้นจากผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนด แล้วแตกประเด็นย่อยไปสู่ส่วนอื่นๆ ภายในองค์กร วิธีการนี้ใช้ได้กับบางองค์กรก็จริง แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าผู้บริหารระดับสูง ไม่ใช่ผู้ที่นำเสนอแนวคิดแปลกใหม่ได้เสมอไป การให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ด้วยอาจทำให้ได้มุมมองใหม่ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น จากเลขานุการ หรือพนักงานระดับปฏิบัติการก็ตาม

เมื่อกำหนดยุทธศาสตร์แล้ว สิ่งต่อมาก็คือการสื่อสารให้ทุกส่วนงานในองค์กรมีความ ใส่ใจกับยุทธศาสตร์และทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงขึ้น โดยจะต้องอาศัยช่องทางการสื่อสาร ต่างๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงยุทธศาสตร์ ดังกล่าว และให้พนักงานแต่ละคนยอมรับความสำคัญของยุทธศาสตร์และปฏิบัติตามยุทธศาสตร์นั้นด้วย


โครงสร้าง : การเน้นที่แง่มุมบางแง่เกี่ยวกับธุรกิจ

โครงสร้างองค์กรเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับ การกำหนดจุดมุ่งเน้นของความใส่ใจ โดยจะต้องเลือกเพียงบางแง่มุมขึ้นมา เช่น วิธี หนึ่งที่จะให้พนักงาน ลูกค้า และคนภายนอกเห็นว่า บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพก็คือ การตั้งหน่วยงานด้านคุณภาพขึ้น แม้โครงสร้างอาจไม่ใช่หนทางที่จะนำความใส่ใจไปสู่เป้าหมาย แต่เมื่อมีความใส่ใจเป็นพื้นแล้ว จะเกิดการสร้างหนทางอื่นๆ เพื่อไปสู่เป้าหมาย (เช่น การประเมินความสามารถการจ่ายค่าตอบแทน การสื่อสาร เป็นต้น)

โครงสร้างที่เลือกใช้อาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งต่อไปนี้

1. โครงสร้างแบบเน้นผลิตภัณฑ์เป็นแกน เป็นโครงสร้างของบริษัทที่ผลิตสินค้าหลายชนิด แต่ละชนิดมีกลุ่มลูกค้าและตลาดต่างกัน

2. โครงสร้างแบบเน้นพื้นที่เป็นแกน เป็นโครงสร้างของ บริษัทที่ต้องทำธุรกิจในตลาด เป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ กัน

3. โครงสร้างแบบเน้นหน้าที่เป็นแกน เป็นโครงสร้างที่เน้นความใส่ใจไปที่ประเด็นทาง เทคนิคเฉพาะเช่น ด้านการตลาด การเงิน การ ผลิต เป็นต้น เมื่อธุรกิจประสบปัญหาที่สลับซับซ้อน การแก้ปัญหาด้วยมุมมองทั่วไปไม่อาจใช้ได้ จำเป็นต้องใช้โครงสร้างแบบหน้าที่ซึ่งอาศัยผู้ชำนาญการเฉพาะด้านมาแก้ปัญหาเป็นจุดๆ ไป


การปรับเปลี่ยนจุดมุ่งเน้น

แม้ว่าโครงสร้างองค์กรหนึ่งๆ จะมีเพียงด้านเดียว แต่ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่ระดมและ กำหนดทิศทางในการใส่ใจกับธุรกิจเสียใหม่ หากจำเป็นต้องทำเพื่อให้ธุรกิจก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่น หากต้องปรับเปลี่ยนทิศทางจากการเน้นที่ผลิตภัณฑ์ไปสู่การเน้นที่การทำตลาดในเชิงพื้นที่ แน่นอน ว่าการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นจะต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก

อย่างไรก็ตามมีนักคิดด้านการบริหารบางรายเสนอว่า แทนที่จะบริหารธุรกิจตามโครง สร้างของผลิตภัณฑ์ พื้นที่หรือหน้าที่ของธุรกิจ เราควรหันไปใช้การบริหารกระบวนการของธุรกิจ ทั้งหมด หรือ process management มากกว่า โดยเฉพาะหากมองจากมุมมองการบริหารที่มุ่งเน้นความใส่ใจด้วยแล้วจะพบว่า การที่จะมุ่งใส่ใจธุรกิจในด้านใดด้านหนึ่งโดยละเลยสิ่งที่เคยให้ ความใส่ใจมานั้นทำได้ยาก วิธีการบริหารแบบมุ่งเน้นทั้งกระบวนการทำได้โดย

‘ เชื่อมโยงการบริหารกระบวนการเข้ากับการริเริ่มระบบข้อมูล

‘ ให้ผู้บริหารอาวุโสเป็นผู้ริเริ่มชักชวน

‘ ประเมินผลและให้รางวัลพนักงาน ตามผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก


โดย: ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:48:44 น.
  
ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy
..( ต่อ ๗ )

การปรับเปลี่ยนจุดมุ่งเน้น

แม้ว่าโครงสร้างองค์กรหนึ่งๆ จะมีเพียงด้านเดียว แต่ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่ระดมและ กำหนดทิศทางในการใส่ใจกับธุรกิจเสียใหม่ หากจำเป็นต้องทำเพื่อให้ธุรกิจก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่น หากต้องปรับเปลี่ยนทิศทางจากการเน้นที่ผลิตภัณฑ์ไปสู่การเน้นที่การทำตลาดในเชิงพื้นที่ แน่นอน ว่าการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นจะต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก

อย่างไรก็ตามมีนักคิดด้านการบริหารบางรายเสนอว่า แทนที่จะบริหารธุรกิจตามโครง สร้างของผลิตภัณฑ์ พื้นที่หรือหน้าที่ของธุรกิจ เราควรหันไปใช้การบริหารกระบวนการของธุรกิจ ทั้งหมด หรือ process management มากกว่า โดยเฉพาะหากมองจากมุมมองการบริหารที่มุ่งเน้นความใส่ใจด้วยแล้วจะพบว่า การที่จะมุ่งใส่ใจธุรกิจในด้านใดด้านหนึ่งโดยละเลยสิ่งที่เคยให้ ความใส่ใจมานั้นทำได้ยาก วิธีการบริหารแบบมุ่งเน้นทั้งกระบวนการทำได้โดย

‘ เชื่อมโยงการบริหารกระบวนการเข้ากับการริเริ่มระบบข้อมูล

‘ ให้ผู้บริหารอาวุโสเป็นผู้ริเริ่มชักชวน

‘ ประเมินผลและให้รางวัลพนักงาน ตามผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก


อนาคตของนโยบายธุรกิจแบบเน้นที่ความใส่ใจ

ปัจจุบันผู้บริหารองค์กรธุรกิจต่างตระหนักว่าเทคโนโลยีข้อมูลนั้น มีข้อจำกัดในแง่ที่ไม่สามารถกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่จำเป็นทิ้งไป และมุ่งเน้นความใส่ใจไปที่ข้อมูลสำคัญเท่านั้น แนวโน้ม ของนโยบายทางธุรกิจในอนาคตจะเป็นไปดังนี้

‘ บริษัทอาจมีนโยบายที่เข้มงวดในเรื่องการกำหนดว่าใครที่สามารถส่งข้อมูลให้กับพนักงานได้บ้าง แทนที่พนักงานจะมัวเสียเวลากับการเฝ้าดูข้อมูลที่ไม่สำคัญที่ไหลผ่านเข้ามา ต่อไป การเข้าถึง email address ของบริษัทอาจมีการจำกัดวงให้แคบลง

‘ ผู้บริหารอาจจะป็นคนชี้แนะให้พนักงานรู้ว่าควรใช้เวลาหลังเลิกงานเท่าไร ในการใส่ใจ กับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการงานของตน

‘ ผู้บริหารจะเป็นผู้ชี้แนะให้พนักงานรู้ว่าควรใส่ใจกับประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการงานมากน้อยเพียงใดในระหว่างเวลางาน โดยเฉพาะในยุคที่มีโฆษณาในอินเทอร์เน็ตมากมาย

‘ บริษัทจะเป็นผู้ชี้แนะแก่พนักงานว่าควรใส่ใจกับประเด็น หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานเป็นการเฉพาะมากน้อยเพียงไร ซึ่งจะเป็นการบังคับให้ฝ่ายบริการมีการตรวจสอบว่า ได้มอบหมายให้พนักงานทำงานและมีความใส่ใจกับงานอย่างเหมาะควรหรือไม่

‘ บริษัทจะจัดตั้ง "เขตปลอดข้อมูล" หรือระบุช่วงเวลาที่พนักงานจะเพ่งสมาธิกับการทำงานโดยไม่กังวลกับอีเมลหรือโทรศัพท์รบกวน ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องยากแต่บริษัทหลายแห่งจะเริ่มใช้นโยบายดังกล่าว

CEO ของโซนี่กับการใช้ประโยชน์จากสร้างความน่าสนใจ

โนบูยูกิ อิเดอิ (Nobuyuki Idei) ก้าวขึ้นเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของโซนี่โดยการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานของบริษัทมาตลอด จนกระทั่ง เมื่อถึงเวลาที่จะเรียกความสนใจจากผู้อื่น จึงก้าวออกมาและรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง โดยก้าวข้ามหน้าผู้บริหารระดับสูงอีกหลายคน อิเดอินั้นต่างจากผู้บริหารคนอื่นตรงที่ ไม่ได้เติบโตในสายงานในสำนักงานใหญ่ของโซนี่ เขาทำงานโดยอยู่นอกญี่ปุ่นเป็น ส่วนใหญ่ โดยเปิดสำนักงานสาขาในฝรั่งเศสเมื่อปี 1968 และควบตำแหน่งการดูแลกิจการในสวิตเซอร์แลนด์ไปด้วย เขาทำงานอย่างเงียบๆ แต่มีช่องทางการสื่อสาร ที่รายงานผลงานโดดเด่นมาตลอด ทำให้เป็นผลงานที่โดดเด่นแต่ไม่โด่งดัง เมื่ออิเดอิเห็นว่าความสามารถในการบริหารของเขาสอดคล้องกับความต้องการของบริษัท เขาจึงก้าวออกมาและทำให้กรรมการบริหารของโซนี่สนใจในตัวเขา โดยเฉพาะในแง่ที่สามารถผลักดันกิจการ "โคลัมเบีย มิวสิก พิคเจอร์" ที่เทกโอเวอร์ มาให้ประสบความสำเร็จ เขาจึงเป็นผู้บริหารระดับสูงของโซนี่เพียงคนเดียวที่ไม่ได มีพื้นฐานมาจากสายงานอิเล็กทรอนิกส์ แต่สามารถนำเอาสายงานทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์กับด้านบันเทิงมาผนวกกันอย่างลงตัวจนทำกำไรให้บริษัท ความสามารถในการสร้าง จุดสนใจให้กับตนเอง ทำให้อิเดอิแซงหน้าผู้บริหารระดับสูงถึง 15 คนขึ้นไปรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และยังเป็นผู้ที่เปิดกว้างในแง่สไตล์การบริหารงานที่มุ่งมั่น และไม่ยึดติดกับแบบแผนเดิมๆ เพื่อใช้กับโซนี่โดยรวม

แจ๊ค เวลช์กับยุทธศาสตร์เป็นที่หนึ่ง

มีผู้บริหารน้อยรายที่จะทำได้อย่างแจ๊ค เวลช์ แห่งเจเนอรัล อิเล็กทริก ในแง่ของการสื่อสารให้พนักงานทั้งองค์กรได้รับรู้และเข้าถึงยุทธศาสตร์ของ องค์กร เวลช์รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีอีตั้งแต่ปี 1981 เขาประกาศท้าทายแผนกงานต่างๆ ของบริษัทว่าจะต้องเร่งผลักดันตนเอง ให้เป็นที่ 1 หรือ 2 ในธุรกิจแขนงนั้นภายในปี 1990 มิฉะนั้นก็ให้เลิกกิจการไปเสียเลย แม้ว่าฟังดูเป็นเป้าหมายง่ายๆ แต่กลับต้องใช้ยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหา ต่างๆ อีกมากมาย และการที่เวลช์ประกาศจะเป็นที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น ในแขนงธุรกิจที่ดำเนินอยู่ ทั้งนี้ก็เพราะต้องการให้กิจการมีส่วนต่างกำไร มากพอที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวทางการเงิน เพื่อครองตลาดส่วนใหญ่ไว้ในท้ายที่สุด


Resource://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1848
โดย: ธุรกิจในยุคแห่งความใส่ใจข้อมูล The Attention Economy (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:51:43 น.
  
"ทักษิณ" อ่าน อ่าน "ทักษิณ"
รายงาน ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 23 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3621 (2821)

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับที่ผ่านมาได้ทำการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับ "พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" ในช่วง 3 ปีกว่าของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีช่วงทั้งขาขึ้นและขาลงปรากฏว่ามีหนังสือออกมาขายกว่า 50 ปก เรียกได้ว่าไปร้านหนังสือร้านไหนก็ต้องเห็นหน้า "ทักษิณ"

ในอีกด้านหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังเป็นผู้จุดกระแสให้นักการเมือง รัฐมนตรี ข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการศึกษา สนใจใคร่เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ของนักคิดรุ่นใหม่ๆ ทั่วโลก

โดยประเดิมด้วยการเอาหนังสือ As The Future Catches You เขียนโดย Juan Enriquez แนะนำต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นครั้งแรก เมื่อ 3 กันยายน 2545 จนถึงกลางปี 2546 ก็มีการแปลเป็นภาษาไทย ในชื่อ "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ" โดยชวนิต ศิวะเกื้อ, สมสกุล เผ่าจินดามุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อมุ่งไปในอนาคตที่รวดเร็วมาก

จากนั้นก็พรั่งพรูออกมาอีกหลายเล่ม เช่น

Rethinking the Future เขียนโดย Ronan Gibson ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนต้องปรับกระบวนความคิดตามให้ทัน ซึ่งเป็นที่มาของสโลแกนพรรคไทยรักไทย "คิดใหม่ ทำใหม่"

The Mystery of Capital เขียนโดย Hernando de Soto อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเปรู เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ "ทักษิณ" เอามาใช้จนฮือฮามากในเมืองไทย

Lateral Thinking เขียนโดย Edward de Bono เนื้อหาเกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกรอบจนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน

Business @ The Speed of Thought เขียนโดย Bill Gates ผู้สร้างไมโครซอฟท์ผงาดโลก ทักษิณแนะนำว่าหนังสือเล่มนี้จะฝึกในการเลือกใช้ข้อมูล และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายตระหนักในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน

Primal Leadership : Realizing the Power of Emotional Intelligence เขียนโดย Daniel Goldman, Richard Boyatzis and Annie McKee แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ผู้ที่ทำให้โลกรู้จักคำว่า "อีคิว" หรือ "ความฉลาดทางอารมณ์"

Execution : The Discipline of Getting Things Done เขียนโดย Larry Bassidy และ Ram Charan นายกฯทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือทางธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานและเป็นขั้นตอน นำเอาสิ่งที่คิดฝันไปปฏิบัติให้เป็นความจริง

What the Best CEOs Know : 7 Exceptional Leaders and Their Lessons for Transforming any Business เขียนโดย Jeffrey A. Krames พ.ต.ท.ทักษิณยกหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาประกอบวาระ ครม.เรื่องผู้ว่าฯซีอีโอ

Winning the Merger Endgame : A Playbook for Profiting From Industry Consolidation เขียนโดย Graeme K. Deans, Fritz Kroeger และ Stefan Zeisel เนื้อหาแนะนำถึงการรวมภารกิจทั้งหมดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ แนะนำผู้บริหารต้องดูที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่เหมาะสม คือต้องกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอื้ออำนวยให้แก่วงการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอย่างเหมาะสม

It"s Alive : The Coming Convergence of Information, Biology, and Business เขียนโดย Chris Meyer, Stan Davis เป็นหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทุกอย่างเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ดังนั้น จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย

Leading at the Speed of Growth : Journey from Entrepreneur to CEO เขียนโดย Katherine Catlin หนังสือจะกล่าวถึงการตั้ง องค์กรใหม่ๆ ที่จะต้องมีผู้นำที่เป็นผู้กระทำเอง และเป็นคนที่ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในองค์กร เมื่อองค์กรพัฒนาไปอีกขั้นก็จะเป็นผู้ที่มอบหมายงานให้ผู้อื่นไปปฏิบัติ และเมื่อพัฒนาต่อไปก็จะเป็นผู้กำหนดทิศทางองค์กรว่าจะไปในทิศทางใด

Ten Deadly Marketing Sins : Signs and Solutions เขียนโดย Philip Kotler นักการตลาดชื่อดัง ซึ่งเคยมาแสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมมนา CEO forum ในหัวข้อ Marketing Thailand และ Marketing Move ในเมืองไทย

"พุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จักในทางการเมือง" ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้เขียนเอง เป็นเล่มเล็กๆ ราคาแค่ 25 บาท และเคยนำไปปาฐกถาเมื่อครั้งตั้งพรรคไทยรักไทยใหม่ โดย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่าได้ศึกษาธรรมะจากหนังสือของท่านพระพุทธทาสแล้วเห็นว่า เป็นหลักปรัชญาชั้นสูง ทำความเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจแล้วนำมาปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ทำให้ปล่อยวางเรื่องต่างๆ ได้มาก ถ้าไม่มีหลักธรรมะยึดเหนี่ยว การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย คงไม่ลุล่วงมาได้ถึงทุกวันนี้

Mind Into the 21st Century หรือ "พลังจิตในศตวรรษที่ 21" เขียนโดย John Kehoe นายกฯทักษิณแนะนำว่า หนังสือเล่มนี้ชี้ความจริงว่า การทำงานทุกอย่างไม่มีการแยกส่วน แต่เป็นเรื่องขององค์รวมทั้งสิ้น

และเล่มสุดท้ายที่นายกฯทักษิณ แนะนำล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา คือ Underdog Advantage หรือ "ข้อได้เปรียบของคนที่ตกเป็นเบี้ยล่าง" เขียนโดย David Morey และ Scott Miller โดยปรารภในที่ประชุม ครม.ว่า กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ในยามที่รัฐบาลขาลงเช่นนี้ควรจะอ่านหนังสือเล่มนี้ หนังสือกล่าวถึงคนที่อยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจะมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง เมื่อคนตัวเล็กต้องต่อสู้กับคนตัวใหญ่กว่าและมีอำนาจมากกว่าจะทำอย่างไร

ต้องยอมรับว่าโลกแห่งการเรียนรู้จากหนังสือสามารถย่อโลกและความคิดของคนทั่วโลกได้อย่างกระชับและมีองค์ความรู้ ใครที่อยากรู้ทันทักษิณยิ่งจะต้องอ่านหนังสือที่ทักษิณอ่าน

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6


--------------------------------------------------------------------------------

"ทักษิณ" อ่าน ภาค 2 "ต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด"

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 27 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3622 (2822)

เมื่อฉบับที่แล้ว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้นำเสนอรายงานหนังสือที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แนะนำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อ่านและนำเสนอในการแสดงปาฐกถาในวาระต่างๆ แต่ตกหล่นหนังสือที่น่าสนใจไปหลายเล่ม จึงขอนำเสนอต่อในภาค 2

"The Third Wave" ของ "Alvin Toffler" ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดว่าด้วยความพยายามการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเริ่มตั้งแต่ฟิวเจอร์ช็อก คลื่นลูกที่สาม และอำนาจใหม่ โดย "ทักษิณ" กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 ยุค ยุคที่ 1 เป็นสังคมเกษตร ต่อมายุคที่ 2 เป็น การทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและคุณค่าของมนุษย์ และยุคที่ 3 จะเป็นยุคที่เรียกร้องสิ่งที่ดีงามจากยุคที่ 2 กลับคืนมา เป็นยุคไฮเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ต้องปรับปรุงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และให้ความสำคัญเรื่อง "ความปลอดภัยในอาหาร" ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่อง "จีเอ็มโอ" อันเป็นปัญหาที่คนไทยกำลังทั้งตกใจและสงสัยระคนกันอยู่ในขณะนี้

หนังสือเล่มนี้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยแล้วชื่อ "คลื่นลูกที่สาม" แต่ไม่ทราบว่ายังมีวางขายอยู่อีกหรือไม่

"The Guru Guide" เขียนโดย Joseph H. Boyett และ Jimmie T. Boyett "ทักษิณ" มองว่าเป็นหนังสือที่พูดถึงผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ สามารถเป็นผู้นำในการเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเก่งในการนำเสนอ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ของตนเองให้คนในองค์กรได้รับรู้และนำไปปฏิบัติได้

"The Attention Economy" ซึ่ง "ทักษิณ" บอกว่า ในวันนี้ข้อมูลความรู้มีมากมาย แต่เรายังขาดนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์มันอย่างเต็มที่ มันเป็นกระบวนการที่เรียกว่า attention economy หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Thomas H. Davenport และ John C. Beck

"Judo Strategy" เขียนโดย David B. Yoffie และ Mary Kwak เป็นหนังสือว่าด้วยกลยุทธ์ในการแข่งขัน เหมาะสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ทักษิณอธิบายว่า นักยูโดเขาไม่ผลีผลามปะทะคู่แข่ง วิเคราะห์ดูท่าทีของคู่แข่ง ฉะนั้นจะต้องมองว่าคู่แข่งมีอะไรแข็ง แล้วความแข็งของคู่แข่งทิ่มแทงตัวเอง"

"The Math Gene" เป็นหนังสือที่ "ทักษิณ" แนะนำกับครู โดยบอกว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธุ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์สูง ควรส่งเสริมให้เด็กคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Keith J. Devlin

"The Responsibility Virus" เขียนโดย Roger L. Martin ทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือที่ช่วยให้ผู้นำใช้ความสามารถของผู้บังคับ บัญชาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งจะมีเครื่องมืออยู่ 4 อย่าง คือ 1.เปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันโดยเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแต่ละคนเทียบกัน เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดจากกลุ่ม 2.การจัดกรอบความคิดเพื่อหลีกเลี่ยงหรือออกจากการตกอยู่ในสภาวะของการรับผิดชอบมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

3.แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน สนับสนุนและร่วมมือเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และ 4.กำหนดลักษณะของผู้นำกับผู้ตามใหม่ ให้มองเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมมือกันในการดำเนินงานแทน

เช่นเดียวกับหนังสือ The Power of Minds at Work ซึ่งเขียนโดย Karl Albrecht ซึ่งทักษิณชี้ว่า ผู้บริหารควรใช้ปัญญาของคนในองค์กรรวมกัน และนำปัญญาสะสมของคนในองค์กรมาทำงานร่วมกัน โดยมีจุดเริ่มต้นคือมีวิสัยทัศน์ที่เห็นพ้องต้องกัน มีความกระหายอยากจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

และอีกเล่มหนึ่งที่แนะนำด้านการบริหารที่น่าสนใจ คือ Re-imagine เขียนโดย Thomas J. Peters และ Tom Peters

ทักษิณเห็นว่า "ในการบริหารองค์กรจะต้องใช้จินตนาการ จะต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด จะแปลกประหลาดเกินจริงหรือเหลือเชื่อบ้างก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยๆ ปรับให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะโลกปัจจุบันไม่นิ่งอยู่กับที่ ผู้นำจะต้องมีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีจินตนาการเชิงบวก จะทำให้องค์กรถึงเป้าหมายในเวลาที่รวดเร็ว"

ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลก

Resource:
//www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/article2004sep23p7.htm
โดย: "ทักษิณ" อ่าน อ่าน "ทักษิณ" (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:53:51 น.
  
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง "มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ"
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2544
ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ปาฐกถาพิเศษ โดย ฯพณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
(ถอดข้อความจากเทปบันทึกเสียง)


ขอบคุณ อ.ดร.วัฒนชัย พงษ์นาค ที่ได้ส่งสรุปประเด็นไปที่บ้าน พอดีกำลังจะออกจากบ้าน ได้รับทันเวลาพอดี ที่สรุปประเด็นวันนี้เลยได้ทราบว่าที่ประชุมได้พูดกันนานแล้วว่าเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ผมดีใจที่ได้มาพบกับผู้ที่เป็นนักการศึกษาอยู่ในวงการศึกษา และผู้สนใจการศึกษามาอยู่รวมตัวกันอยู่ที่นี่ และแน่นอนครับเป็น Ph.D. กันหลายคน ผมกำลังมองว่าโลกข้างหน้าเป็นโลกของการใช้สมองและหันมามองในห้องนี้ มันต้องเป็นเรื่องเอาสมองมาใช้รวมกันแล้วต้องเป็นเรื่อง แต่สำคัญอยู่ที่การจะระดมสมองเหล่านี้อย่างไร คือการ organize การ manage การสร้าง requisite อย่างไรเท่านั้น สมองเหล่านี้แหละเป็นสมองที่สร้างชาติ วันนี้เราคงมองเห็นว่า ทุกองค์กรมีคนหลายระดับและหลายส่วน ถ้าแยกระดับสมอง แน่นอนครับ การศึกษา โอกาสในการเรียนรู้เป็นระดับสูง เพราะฉะนั้น พวกท่านทั้งหลายเป็นระดับซึ่งประเทศกำลังจ้องมองอยู่ว่าจะใช้พวกท่านมาช่วยประเทศได้อย่างไร นี่คือสิ่งที่ผมจ้องและผมพูดตลอดเวลาระหว่างทำ Campaign เลือกตั้งระหว่างเตรียมการเลือกตั้งมา 2 ปีกว่า ผมทำการบ้านเยอะ ผมเล็งไปทั้งหมดที่สมองของคนที่อยู่ในสถาบันการศึกษาของชาติ ซึ่งวันนี้สมองเหล่านี้ใช้น้อย หลายคนพออยู่นานเข้า เริ่มเป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิตเหมือนที่อาจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต ชอบพูด คือเป็นการ Assembly Line คือ ตื่นเช้ามามีตารางการสอนก็เดินเข้าไปสอน สอนเสร็จก็กลับบ้าน ถึงเวลาก็มาสอน เริ่มเป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิตแล้ว เสียดาย เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะมาพูดกันว่า

ผมมองท่านอย่างไร และตัวท่านเองจะพัฒนาตัวเองอย่างไร พัฒนาเด็กอย่างไร พัฒนาสถาบันอย่างไร เราคิดกันตรงนั้นผมเองก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะว่ามีคนเขียน Speech ให้ก็หลายคน ผลสุดท้ายผมเขียนมาหน้าเดียวนี่ แล้วจะลองพูดให้ท่านฟังดู ไม่รู้ว่าฟังจะเข้าใจหรือเปล่า ลองฟังดูก็แล้วกันนะ

คือก่อนอื่นในฐานะท่านอยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งหลาย และวันก่อนนี้ อ.สุมณฑา อ.พรชัย ไปนั่งคุยกับผมเรื่องออกนอกระบบ เราเอาตรงนี้ก่อนดีไหม

ผมมองอย่างไรกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย ไม่รู้ท่านเอามาเผยแพร่หรือยัง พูดหรือยัง ยังนะ เดี๋ยวผมจะพูดให้ฟังว่าผมคิดอย่างไร ผมคิดก่อนนะ

ผมมอง Model 2 Model 3 มารวมกันให้เป็นหนึ่ง Model หนึ่ง มองแบบภาคธุรกิจ มองภาพธุรกิจปุ๊บ ผมมองมหาวิทยาลัยควรเป็น Wholly Own Subsidiary ของรัฐบาล เหมือนกับเป็น 1 SBU (Strategic Business Unit) ที่มี Autonomy ในการบริหารจัดการด้วยตัวเองแน่นอน ยังเป็นของรัฐบาล ยังเป็นคนของรัฐบาล ยังเป็นองค์กรของรัฐบาล แต่เพียงมี Autonomy ในการบริหารจัดการตัวเอง แล้วก็มองไปอีก Model หนึ่ง Model ของ State University ทั้งหลายแบบมหาวิทยาลัยในอเมริกา ก็คือว่า เป็นองค์กรเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ที่จะสามารถจัดการศึกษาในราคาที่ไม่สูงนัก ในส่วนที่เป็นการศึกษาทั่วไปซึ่งรัฐจะเข้าไป Subsidize ในจำนวนหนึ่งที่เหมาะสมเมื่อ Subsidize แล้ว มหาวิทยาลัยก็ไปจัดการบริหารกันเอง โดยใช้เงินที่รัฐบาล Subsidize ส่วนหนึ่งและเงินที่พึงจะมีรายได้จากการเป็นมหาวิทยาลัย เช่น จากการเรียนการสอนในระดับ Graduate School หรือทำวิจัยอะไรก็แล้วแต่ Whatever Training ทั้งหลายก็เป็นรายได้ ซึ่งเอาไปรวมกัน และแน่นอนรายได้ของท่านทั้งหลายเป็นรายได้ที่มาเป็น Term ระหว่างช่วง Term ไม่มีรายได้ เกิดรายจ่าย เงินไม่พอ หมุนไม่ได้ ก็ทำ OD ไว้ให้ท่านเสีย ท่านก็มี OD ทิ้งไว้กับธนาคารกรุงไทย ท่านก็มี revolving fund ของท่าน แล้วท่านก็บริหารของท่าน จัดการกันเอง จัดระบบโครงสร้างเงินเดือนกันเอง แล้วสำนักงบประมาณจะไปยุ่งกับชีวิตท่านนิดเดียว คงคำนวณว่า สูตรนี้ Subsidize เท่าไร แล้วก็มีหน้าที่จ่ายไป หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของท่าน ท่านจะโดนตัดน้ำ ตัดไฟก็เป็นเรื่องของท่าน เพราะว่าท่านบริหารไม่เป็น อย่างนั้นช่วยไม่ได้ ท่านจะต้องจัดการของท่านเองแล้วจากนั้น นั่นคือหลักที่ผมมองในเชิงหลักของการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย แล้วถามว่า บางคนที่ชีวิตไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงนี่ มีอยู่ไหม ในทุกสถาบัน มีครับ เพราะว่าทุกวันนี้ในเมืองแถว Delaware บริเวณรอบนอกของอเมริกานี้ พวกนี้ยังไม่ยอมต่อน้ำ ต่อไฟ ยังอยากเป็นเมืองชนบทอย่างเดิม แล้วก็ที่ Singapore ก็มีชาวนาอยู่คน มีกระต๊อบอยู่ มีที่ทำนาปลูกผักของแกเล็ก ๆ แล้วแกก็ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ยังมีอย่างนี้อยู่ เพราะฉะนั้น ในโลกของมหาวิทยาลัยจะมีบางคนที่ไม่ยอมออกจากระบบราชการยังอยากเป็นราชการอยู่จะทำอย่างไร ก็ใครใคร่เป็นข้าราชการก็เป็นต่อไป ไม่บังคับกัน โดยมี Transition ให้ แน่นอน ช่วงนั้นก็หมายความว่า คนที่จะรับราชการก็ต้องกินเงินเดือนแบบราชการนะครับ ไม่ใช่ว่ายังรับราชการแต่จะกินเงินเดือนแบบมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยก็เป็นข้าราชการ แต่เป็น ข้าราชการประเภทใหม่ ไม่ใช่เป็นข้าราชการ ซี 1 2 3 4 5 คนละส่วนกันกับที่ผมมอง และที่ผมคุยกับทีมของ อ.สุมณฑา ตั้งใจจะมาพูดกับผมเลยตรงนี้บอกไม่มีอะไรจะพูดแล้ว ตรงกันก็สรุปแล้วคือว่า ผมต้องการให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งไปบริหารจัดการกันเอง ที่คณะบริหารธุรกิจก็มี คณะบริหารรัฐกิจก็มี เต็มไปด้วยคนที่เรียนมาสอนชาวบ้านมาแล้ว ไปบริหารเองไม่ได้ก็ให้รู้กันซิ ก็เที่ยวสอนชาวบ้านเขาหมด ส่งไปเป็นนักเรียนเป็นผู้จัดการบริษัท เรามีอาจารย์สอนกันใหญ่ แต่ปรากฏว่าแค่องค์กรของตัวเองบริหารไม่ได้ก็สมควร อันนี้ต้องไปจัดการกันเอง ปรากฏว่าคนที่จบมา Doctor ก็เยอะ ปริญญาโทก็เยอะ มานั่งอยู่ตรงนั้น เอาทฤษฎีทั้งหมดมาบริหารสร้างองค์กรมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรตัวอย่างซิ

Good Governance คืออะไร เอาเลย ว่ากันเต็มที่เลย แบบของ Merit System คืออะไรว่าไปเลย Democracy คืออะไรกันก็ว่ากันไปเลย คุณว่าของคุณเอง มี Check and Balance ในระบบ แต่ห้ามแบ่งพวกนี่ สังคมไทยนี่กลัวจริง ๆ แบ่งพวกวันนี้ทำอย่างกับอยู่กันคนละชาติเอามารวมกัน ในอเมริกาคนมาจากต่างชาติเขามารวมกันในอเมริกา เขายังไม่แบ่งพวกกันเลย ไอ้นี่ของเราเกิดมาจากนี่หน้าก็ไทย เสียงก็ไทย ก็ยังมานั่งทะเลาะกันเอง แค่เป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ก็จะเอากันตาย ตรงนี้ไม่มีเราแบ่งหน้าที่กันทำ เรามีระบบการถ่วงดุลหน้าที่ตามองค์กรที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่แบ่งพวก แล้วเราช่วยกันสร้างองค์กร รักองค์กรให้มาก รักองค์กร รักชาติ แล้วมันก็จะไปได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่การมองออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยนั้น วัตถุประสงค์ของเราเพื่ออะไรครับ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารการจัดการในทางการศึกษา ซึ่งมันเป็นลักษณะพิเศษ ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองก็ดี หรือฝ่ายข้าราชการประจำที่ไม่ได้ทำงานด้านการศึกษา ไปนั่งบอกว่าคุณต้องทำอย่างนั้น คุณต้องทำอย่างนี้ มันไม่ได้ เพราะว่าไม่รู้จริง คนที่รู้จริงคือคนที่อยู่ในวงการของเขา รู้จริงแล้วพูดกัน แล้วก็คิดกัน และทำกันให้ดี แล้วก็ทำกันไป แต่ว่าแน่นอนท่านจะไม่ใช่เป็นคนที่อยู่คนเดียวอิสระ ท่านต้องรับการ Subsidize เงินจากรัฐบาล ท่านต้องมีระบบการตรวจสอบ ท่านต้องมีระบบตรวจสอบมาตรฐานอะไร ตรงนั้นเป็นธรรมชาติที่ท่านรับได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เราต้องการประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ บริหารทางวิชาการของท่าน แล้วเดี๋ยวเราจะมาพูดกันเรื่องวิชาการและการวิจัยอีกที

นั่นคือ สิ่งที่เราอยากเห็น อยากเห็นท่านสอนเด็กได้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ท่านบริหารกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วอยากให้ท่านทั้งหลายที่มีความรู้แล้วไปรวมกันอยู่เนี่ย ได้ใช้พลังของตัวเองอย่างสุด ๆ พลังสมอง และพลังงานที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ไม่อยากให้ท่านมีหน้าที่เพียงตื่นเช้ามาก็ไปสอนหนังสือตามวิชาที่ตัวเองได้รับมอบมาให้สอน แล้วกลับบ้านไป พอถึงเวลาก็มาสอนพอถึงเวลาก็ออกข้อสอบ แล้วก็ตรวจข้อสอบแล้วก็จบกัน มันไม่พอครับ ชีวิตคนเรามีค่ามากกว่านั้น สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เยอะ ยิ่งคนเรียนหนังสือมามาก ยิ่งต้องทำอะไรมาก เมื่อคืนก่อนผมอ่านหนังสือเรื่อง Attention Economy หนังสือออกใหม่ The Attention Economy : Understandinng the New Currency of Business) เขียนโดย Thomas Davenport เป็น Consultant ชื่อดัง และ นาย John Beck เขาพูดถึงเรื่องว่า โลกของเรามีข้อมูลเยอะ เรียกว่า มี Information Rich Society เยอะจนเราไม่มีการให้ Attention มันเพียงพอ แล้วเราก็ใช้ประโยชน์จากมันน้อย แล้วได้ประโยชน์จากมันน้อย แล้วเราก็เสียหาย เขาบอกว่า Attention ตัวเดียว สามารถ Make or Breake Organization ได้เลยนะ เพราะฉะนั้นสังคมไทยในวันนี้ ท่านเห็นไหมว่าผมให้ Attention ท่านมาก หนังสือยังไม่ได้อ่าน ผมให้ Attention กับ Management ของประเทศชาติมาก กับ Information ของประเทศมาก ตั้งแต่เข้ามาได้มีการทำ Workshop เพื่อระดมสมอง ต้องการรู้จริง แล้วตัดสินใจ ถ้าผมไม่ให้ความสนใจกับรายละเอียดของความรู้จริง ผมจะตัดสินใจไม่ได้

ช่วงเป็นอย่างนี้ ภาษาคือ ต้อง Awareness ก่อน จาก Awareness มาถึง Attention แล้วมา Action จาก Awareness ถึง Action จะทำให้การมองแคบลง ละเอียดขึ้น จาก Attention สู่ Action เป็นกระบวนการตัดสินใจ เพราะฉะนั้น ต้องละเอียดรอบคอบ รู้จริง รู้ชัด มากขึ้น เพราะฉะนั้น เรื่องของมหาวิทยาลัยในวันนี้เรากำลังมีอะไรเยอะแยะไปหมด เก่ง ๆ ดี ๆ มารวมกัน เสร็จแล้วเรากำลังให้ Attention ตรงนี้น้อยเกินไป เราไม่สามารถทำ Economy บนความเป็น Resourceful หรือความเป็นทรัพยากรที่สำคัญของมหาวิทยาลัยได้ไม่พอเพียง ซึ่งมันสามารถทำได้เยอะ ผมถึงบอกว่าวันนี้เราเป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยมากประเทศหนึ่ง มีครูอาจารย์มากประเทศหนึ่ง แต่ว่าเราได้ Utilize เขาด้านเดียว คือด้านบอกให้เขาไปสอนแล้วให้เด็กได้ประกาศนียบัตรออกมา เรากำลังไม่ได้ใช้มาก เพราะฉะนั้นวันนี้พอการเป็นมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้วผมต้องการไปใช้ ไปรวมพลังกันตรงนี้ แล้วเอาพลังตรงนี้มาช่วยกัน วันนี้ท่านเห็นไหมว่าทำไมผมทำเรื่องของ CEO จังหวัด นั่นคือ เรื่องของ Attention Economy ผมเพิ่งอ่านหนังสือเมื่อ 2 วันนี้เอง หนังสืออาจจะออกมาก่อน 3 - 4 เดือน แต่ว่าผมไม่ได้อ่าน เพิ่งอ่านเมื่อ 2 วันนี้ ทำให้รู้ว่า การให้ Attention ในทุกเรื่อง จะเกิดประสิทธิภาพมโหฬารในเรื่องเศรษฐกิจอย่างเรื่องของจังหวัดก็เช่นกัน ถือเป็นการมาให้ข้อมูลต่าง ๆ ของทุกฝ่ายที่มีข้อมูลคนละแห่ง แล้วไม่ได้รวมกัน เอามารวมกัน มาขึงรวมกัน จะทำให้เห็นชัดเจนว่า จะวางยุทธศาสตร์อย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร เหมือนที่ท่านรวมกันอยู่นี้ เอาความรู้ทั้งหลายมา Share กัน แสดงว่าท่านมี Awarenessก่อนแล้วว่าเรามีปัญหาอะไรบ้าง (โว้ย) เราควรจะมาคุยกันบ้างละ ท่านรู้หมดแล้ว แต่รู้ห่าง ๆ แล้วที่ท่านมาตรงนี้แสดงว่าท่านมี Attention แล้ว process ต่อไป ท่านกำลังจะทำ Attention ถ้ายิ่งมี Attention ละเอียดเท่าไร ดีเท่าไร Action ก็จะออกมามีผลดีเท่านั้น นี่คือสิ่งที่กำลังจะบอกว่าการออกนอระบบนั้น ในที่สุดแล้วจะต้องเกิดผลต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อชาติอย่างมหาศาล เพราะฉะนั้น เมื่อออกไปแล้วมันเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเฉพาะท่านเองผิด เงินเดือนสูง ขั้นผิด เงินเดือนสูงขึ้นนั้นเป็น By-product เป็นผลพลอยได้ที่ท่านจะสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้แก่เยาวชนของชาติ และให้แก่ประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ตรงนั้นต่างหากที่เป็นตัวสุดท้าย บรรทัดสุดของการออกนอกระบบของท่าน แล้วตรงจุดนั้น ท่านจะมีความสำเร็จในองค์กรของท่าน แล้วท่านจะภูมิใจในองค์กรของท่าน ในอนาคตของท่าน ผมอยากพูดถึงเรื่องการพัฒนาระบบการเรียนการสอน วันนี้เรายอมรับไหมว่าเด็กของเรามีปัญหาหลายอย่าง อย่างที่ 1 เด็กของเราวันนี้คิดไม่ค่อยเป็น ไม่รู้เกิดจากอะไร ผมไม่วิเคราะห์ ไม่วิจารณ์ว่าเกิดจากอะไร แต่ที่แน่ ๆ เขาคิดไม่เป็น การคิดไม่เป็นมันจะแสดงออกตรงคำสองคำที่มีความแตกต่างกัน คำว่า copy กับ apply คนคิดไม่เป็นคือ copy คือลอกเลียนแบบ คนที่คิดเป็นประยุกต์ บางคนที่ชอบลอกเลียนแบบคนอื่นนั้นแล้วโดยไม่ประยุกต์ หรือคนที่เอาทฤษฎีเมืองนอก ไปเรียนเมืองนอก ได้ A มาถึงท่องแม่นเลย จำแม่นเลย พอมาถึงเมืองไทยก็ copy เป๊ะเลย ตรงนี้เรียกว่าคิดไม่เป็น ท่านที่เรียนปริญญาเอกได้ Ph.D. เขาให้ Doctor of Philosophy เพราะอะไรครับ เพราะว่าตอนเรียนต้องเรียนเข้าไปถึงรากลึก เรียนประวัติที่มาของทฤษฎีแต่ละเรื่อง เรียนให้รู้จริงในเรื่องนั้น ๆ การให้รู้จริงในเรื่องนั้น ๆ คือการพัฒนาปรัชญา แนวคิดออกมา ฉะนั้น วันนี้ถ้าคนเข้าใจปรัชญา เข้าใจทฤษฎีปรัชญา ที่มาของการคิดในทฤษฎีนั้น ๆ แต่ละเรื่อง เรียนให้รู้จริงในเรื่องนั้น ๆ การให้รู้จริง เมื่อนำมาใช้จะเป็นการประยุกต์ใช้ ไม่ใช่ลอกมาใช้ เพราะว่าสภาพแวดล้อมที่มาของแต่ละทฤษฎีไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าประยุกต์ใช้ไม่เป็นก็เสร็จกัน ไปลอกเลียนแบบ ทีนี้ ถามว่า เด็กวัยรุ่นวันนี้ถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ ก็เพราะว่าเลียนแบบ Fashion เมืองนอกเห็นญี่ปุ่นก็เลียนแบบญี่ปุ่น เมื่อก่อนเห็นแบบอเมริกันก็เลียนแบบอเมริกัน ตอนวัย 13 ขวบ ก็เลียนแบบอเมริกัน ใส่กางเกงขาถึงปิดหัวเข่านิดหน่อย ใส่ร้องเท้า Nike เดิน แล้วก็เล่น Skateboard พอมา 16-17 ก็ย้อมผม Style ญี่ปุ่น ลอกเลียนแบบเลย Copy มาเลย Apply ไม่เป็น ความจริงมัน Apply ให้เข้าบรรยากาศไทย ๆ ก็ได้ เมื่อก่อน Copy แบบใส่เสื้อ Jacket หนา บ้านเราร้อนจะตาย เพราะ Fashion กำลัง Copy นั่นคือสิ่งที่เรากำลังถามว่าการศึกษาของเรากำลังเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนนี้ เราต้องมานั่งคิดว่ามันเกิดอะไรขึ้น ผมไม่อยากเห็น เด็กระดับมหาวิทยาลัยต้องท่องจำ ผมก็ยังเห็นเด็กท่องจำอยู่ ฉะนั้นอยากให้เรียนในเชิงของความคิด ผมจะเล่าให้ฟัง ผมไปเรียนปริญญาโทเมืองนอก ตอนเรียนพี่ไทยนั่งฟังเป็น ผู้ฟังที่ดีจริง ๆ ส่วนฝรั่งไม่อ่านหนังสือ มันพูดอย่างเดียว พูดตลอด ซักครู ถามครู แต่คนไทยจดไม่พูด ไม่ใช่ภาษาไม่ดีนะ แต่เราไม่ค่อยพูดของเขาพูดตลอด พบว่าการเรียนแบบ Seminar Course การสัมมนา กลับได้ความรู้ที่แตกฉานกว่า เพราะฉะนั้น ผมไม่รู้วิธีการเรียนการสอน เราคงต้องมาถามกันว่า โลกข้างหน้าไปตรงไหน เราก็พูดว่าเราจะไป Knowledge Base Economy ละ Knowledge Base Society ละ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความคิดเป็น รักการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต จึงเป็นหัวใจสำคัญ ถ้าเราตีบทตรงนี้ให้แตก เรียนรู้ตลอดชีวิตคืออะไร การคิดเป็นคืออะไร แล้วเราจะไปสอนอย่างไร ผมพยายามจะโยนคำถามไว้ เพราะผมไม่ใช่นักการศึกษา แล้วท่านไปคิดต่อว่า มันทำอย่างไร เพราะฉะนั้น ในหมู่ครู อาจารย์ ท่านต้องพูดกันอย่างจริง ๆ ว่า ท่านคิดอย่างไรกับการสอนให้เด็กคิดเป็น Share กันเลยครับ อย่าอายกัน ผมนี้เวลาไม่รู้ไม่อายเลยนะ เมื่อก่อนประชุมกับลูกน้องไม่รู้ผมถามตรง ๆ เลย ที่นี้เราเพื่อนเรา Peer กัน ไม่ต้องอายกันเลย คุยกันเลยจริง ๆ ผลสุดท้ายเราจะได้ Idea ออกมา เพราะว่าท่านทั้งหลายมีสมองดี ๆ มากมายมารวมกัน ถ้านั่งกล้าพูดกันจริง ๆ มันออก ความคิดเหล่านี้ออก ท่านอาจออกแล้วก็ได้ ผมกำลังคิดว่าเราจะสร้างเด็กอย่างไร ให้เด็กเป็นคนที่รักการเรียนรู้ ก่อนอื่นอาจารย์ต้องรักการเรียนรู้ด้วย สำคัญที่อาจารย์รักการเรียนรู้ ถ้าไม่รักการเรียนรู้ จะถ่ายทอดไม่ได้ วันนี้ครูอาจารย์เรามีหลายระดับ ครูชั้นปริญญาตรีมาเป็นครูก็มี โทก็มี เอกก็มี ครูจะเริ่มตรงไหนไม่สำคัญ ความรู้เรียนทันกันหมด สำคัญตรงที่ครูที่สอนมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นคนที่รักการสอน รักเด็กลูกศิษย์ อยากให้ลูกศิษย์ดี ถ้าอย่างนี้ใจมาก่อนแล้วนะครับ สภาพแวดล้อมของสถาบันการศึกษา สอนให้เรารักการเรียนรู้ แล้วเราจะรักการเรียนรู้ไปเอง แล้วเราจะพัฒนาตัวเราไปเอง ถ้ามีการปฏิสัมพันธ์ มีลักษณะโต้ตอบ พูดคุยกับเด็ก ครูจะรู้สึกว่าวันนี้เรารู้น้อยไปแล้วต้องอ่านเพิ่มอีก แต่ถ้าสอนแบบชนิดมาถึงให้ Lecture เสร็จแล้วแยกย้ายกันไป ครูก็ไม่พัฒนาตัวเอง เด็กก็ไม่พัฒนาตนเอง เด็กจะกลับไปท่อง จดกลับไปท่อง ลอก Lecture กันแล้วไปท่อง บางทีก็โรเนียวแจกกัน แต่ขณะเดียวกันครูก็ไม่มีความรู้สึกว่าไม่มีใครมาพูดคุยกับตัวเองบ้าง ตัวเองก็สอนข้างเดียว แล้วก็คิดว่าที่พูดไปเขาเข้าใจกันแล้วละ ผมพูดดีที่สุดแล้ว เพราะว่าผมเปิดตำราที่ผมเรียนมาผมสอบได้ A มา แต่สิ่งที่พูดมานั้นมันไปอีกหลายขั้นตอนแล้วเราไม่ได้เรียนรู้ เพราะฉะนั้นการรักการเรียนรู้ของครูและของเด็กมันไปด้วยกัน และเรียนรู้ไปจากกันและกัน นักเรียนเรียนจากครูเป็นการเรียนไปด้วยกันเป็นสิ่งที่ทำได้ดีมาก ๆ ถ้าหากว่าเราทำได้

( มีต่อ )
โดย: "มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ" (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:55:23 น.
  
"มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ"
( ต่อ )

ทีนี้ คือมันต้องกลับมาถามว่าโลกข้างหน้าที่เราจะกลับมา Knowledge Base นี้ Basic พื้นฐานเขามองอะไรบ้าง เขามองแน่ เขามองที่ Global Literacy แน่นอน มองว่านักเรียนคนที่จบการศึกษาไปแล้ว หรือคนที่จะทำมาหากินในโลกข้างหน้าได้นี่จะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษ ต้องมีความรู้ทาง Internet ทางวัฒนธรรมนานาชาติ เพราะฉะนั้นนักเรียนก็ต้องรู้ ครูก็ต้องรู้ เพราะฉะนั้นท่านที่เป็นอาจารย์ทั้งหลายที่จะพัฒนาตัวเองนั้น ท่านทั้ง 3 ข้อนี้ ท่านต้องพัฒนาด้วย ท่านต้องพัฒนาภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา แต่ต้องพัฒนาต่อเรื่องของ Internet บางคนไม่เล่นก็ต้องเล่น เพราะว่าเราสามารถเข้าหาแหล่งความรู้อะไรได้มากมายไปหมด แล้วในที่สุดก็คือ เรื่องของวัฒนธรรมนานาชาติ เพื่อจะได้รู้จัก Apply การเรียนวัฒนธรรมนานาชาติเพื่อ Apply เพราะไม่งั้นเราจะไม่รู้สิ่งที่เกิดขึ้นนานาชาติมีความแตกต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งอาจนำมาใช้กับอีกประเทศหนึ่งได้หรืออาจไม่ได้ จึงอยากให้ทั้งอาจารย์และนักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาไปด้วยกันในส่วนนี้ พอจะพัฒนาส่วนนี้ไปด้วยกันผมเป็นห่วง ห้องสมุดของไทย ระบบห้องสมุดไทย ช่วยคิดให้ผมหน่อยเถอะ ผมพร้อมจะลงทุนเรื่องห้องสมุด แต่ผมอยากให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต ไม่ใช่ลงทุนแล้วตายคือซื้อหนังสือใส่ครั้งแรกแล้วหยุด แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมเชื่อว่าท่านทั้งหลายที่ไปเมืองนอกเมืองนามาเห็นห้องสมุดเมืองนอกแล้ว คิดว่าจะทำอย่างไรให้มีห้องสมุดแบบนั้นในเมืองไทย ผมพร้อมลงทุน เพราะว่ารัฐบาลนี้พร้อมจะลงทุนพัฒนาสมองคนเต็มที่ เพราะว่าเรากำลังมองว่าข้างหน้าจะเกี่ยวข้าวขาย ทำน้ำตาลขาย ทำอะไรที่เราจะทำอย่างเดียว ด้านเดียวไม่พอใช้หนี้ ถ้าจะพอใช้หนี้ ต้องพัฒนาอีกหลายชั้น นั่นคือ เอาสมองเป็นตัวหลัก เพราะฉะนั้น วันนี้อยากจะลงทุนด้านสมองให้มากที่สุด นั่นห้องสมุดทำอย่างไรจะทำให้เด็กไทยชอบเข้าห้องสมุด ทำอย่างไรจะทำให้อาจารย์ชอบเข้าห้องสมุดด้วย ผมอยากเห็นอยากได้ห้องสมุดที่มีชีวิต

วันนี้ถ้ามหาวิทยาลัยทั้งหลายจะบอกว่าจะขอลงทุนพัฒนาห้องสมุดตัวเอง ถ้า Project Sound งบกลางยังพอมีอยู่เดี๋ยวให้

ปัญหาคือ พวกท่านจะต้องไปคิดว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้ห้องสมุดของท่านมีชีวิต เท่านั้นละผมบอกไม่ถูก แต่ว่าพอท่านเขียนโครงการมาผมวิจารณ์ได้ แต่ให้คิดเองคิดยังไม่ออก ฉะนั้นไปดูเถอะ ห้องสมุดต้องตั้งแถวที่เด็กวัยรุ่นไป ตั้งแข่งกับสถานบันเทิงได้ไหม มันเป็นสถานบันเทิงอีกแบบ ผมจึงใช้คำว่าเรียนให้สนุกเล่นให้มีความรู้ คนเราเล่นมีความรู้ก็เล่นได้นะ เรียนแล้วสนุกก็เรียนได้ มันสำคัญอยู่ที่ทัศนคติในการที่จะบอกว่าให้มันสนุกอย่างไร หรือทัศนคติว่าเล่นให้มีความรู้ มันก็จะเล่น แต่สิ่งที่ได้ความรู้ เข้าไปเล่น Internet ก็มีความรู้ได้ ตรงนั้น ท่านต้องช่วยคิด ผมมีหน้าที่สนับสนุน ผมมีหน้าที่โยนคำถามให้ท่าน แล้วท่านช่วยคิด เพราะผมคิดแข่งกับท่านไม่ได้ เพราะว่าท่านเก่งกว่าผม แต่ผมมีหน้าที่สนับสนุน

วันนี้ ท่านบอกกว่าตั้งห้องสมุดที่ชุมชนเมืองสักที ตึกสำนักงานที่ NPL ซึ่งมาทำห้องสมุดได้ไหม ผมพร้อมแต่ต้องบอกผมว่าจะทำอย่างไรให้มันมีชีวิต แบบเกิดแล้วตายผมไม่เอา เกิดแล้วมันโต มันมีชีวิต เป็นสิ่งที่อยากเห็น มันจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ เรื่องของในต่างประเทศ มี Socket มี Modem เสียบ Internet Line เข้าได้เลย แทบจะมีทุกที่ แล้วก็เด็กนักศึกษาในต่างประเทศ มี Lap Top ตัวนึง Note Book ตัวนึง หิ้วไปไหนก็เข้า Key check mail ตลอด เพราะว่าครูในต่างประเทศเขาส่ง mail ให้ นักเรียนตลอด ส่ง mail เป็นการบ้าน มี Assignment ให้ แล้วเข้ามาก็มาพูดกัน เพราะฉะนั้น ครูในยุคใหม่มีหน้าที่ท้าทายเด็กให้คิด และครูก็คิดไปด้วยและเรียนรู้ไปด้วย ฉะนั้น การศึกษาข้างหน้า เรื่องครู อาจารย์ อยากให้พัฒนาตรงนี้ พอมาถึงตรงนี้อยากพูดเรื่องของหลักสูตร

การปฏิรูปการศึกษาใหม่นี้ เราพูดถึงการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เราพูดถึงเรื่องการเทียบโอนความรู้ แสดงให้เห็นว่าท่านพร้อมไหมที่จะให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนข้ามคณะ ข้ามมหาวิทยาลัย เทียบโอน โดยตาม พ.ร.บ.ทำได้ ในมหาวิทยาลัยเมืองนอกก็เริ่มมีอย่างโครงการ Fifty Kay ของ USC ก็ให้คนที่มีประสบการณ์ทำงานมาไปเทียบความรู้ เทียบปั๊บตีหน่วยกิตให้ แล้วเรียนต่อตามนั้น ซึ่งในอนาคตตรงนี้ต้องมี เพราะฉะนั้นท่านต้องคิดออกนอกกรอบมหาวิทยาลัยเดิม ๆ เมื่อท่านออกเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ ท่านต้องคิดนอกกรอบเดิม ๆ การบริหารการศึกษา การเรียนการสอน ท่านต้องคิดนอกกรอบให้ได้ และในอนาคตข้างหน้า เช่นกันเราจะสร้างคนที่เป็น Generalist มากขึ้น Generalist ทุกวันนี้ไม่ได้สร้างแต่ต่อไปต้องสร้าง เพื่อให้ Basic กับเขาในการที่จะคิดทุกเรื่อง นั่นคือ ต้องให้โอกาสเด็กได้เรียนในวิชาต่าง ๆ ที่เขาชอบ ที่เขาถนัดมากขึ้น เพราะฉะนั้นวิชาบังคับจะน้อยลงเรื่อย ๆ ยกเว้น พวก Professional Degree ทั้งหลาย Even Professional Degree เขาก็พยายามที่จะให้ไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นมากขึ้น เพราะว่าต้องการให้คนรู้มากกว่าหนึ่งทาง เพราะในอนาคตวิชาต่าง ๆ เหล่านี้จะเริ่มมาเจอกัน เมื่อเริ่มมาเจอกันจะเกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้น ยกตัวอย่างวิชาที่ผมเรียน ประมาณ 30 ปีที่แล้วเป็นวิชาที่ใหม่มาก และเป็นวิชาที่ยังไม่มี คือ Criminal Justice มันไม่มี พอไม่มีมันก็เรียนในคณะ Social Science บ้าง คณะ Law บ้าง บางทีก็เรียนทางด้านบริหารธุรกิจบ้าง เรียนที่คณะ Education บ้าง เลยเป็นลักษณะของ Interdisciplinary Programme ไปให้เรียนวิชานั้นนิด นี่หน่อยแล้วเรียกว่าเป็น Criminal Justice ตอนหลังมีคนเรียนมากขึ้นก็ตั้งเป็นคณะใหม่ขึ้นมา แต่ก่อนที่จะเป็นคณะต้องอาศัยคณะโน้นนิด นี่หน่อย เพราะฉะนั้นผมก็เลยได้เรียนทฤษฎี Management จากคณะบริหารธุรกิจ ผมได้เรียน Research Methodology จากคณะ Education เรียนปัญหาของ Social Science จากคณะสังคม เรียน Psychology Guidance จากพวก Education เรียนผสมผสาน เรียนกฎหมายจากกฎหมาย ทำให้เป็นวิชาใหม่ขึ้นมา เพราะฉะนั้นในอนาคตข้างหน้าการสร้าง Generalist จะต้องสร้างมากขึ้น ถ้าต้องการให้เขาเหล่านั้นโตขึ้นเป็นนักบริหารได้

วันนี้อีกวันที่อยากจะฝากคือปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยในอดีต เราใช้ Model ที่เขาเรียก East-Asia Economic Model คือใช้ Model ทางเศรษฐกิจของประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คือเป็นการมุ่งเรื่องการเชิญชวนลงทุนจากต่างประเทศ แล้วก็มุ่งผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ได้สร้างความแข็งแกร่งของตัวเราเองแล้ว บรรดาบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ก็มาตั้งบริษัทในประเทศไทยเรามากมาย ลูกเถ้าแก่ที่พ่อไม่มีการศึกษาทั้งหลาย แต่พอสำเร็จทางธุรกิจก็ส่งลูกไปเรียนหนังสือดี เรียนจบกลับมาแทนที่จะทำธุรกิจของพ่อ เพราะพ่อทำด้วยการลองผิดลองถูกเพราะไม่มีการศึกษา แต่กลับไปเป็นลูกจ้างบริษัทใหญ่ สิ่งที่ได้รับก็คือได้รับวิชาบริหารจัดการ แต่ไม่ได้รับความเป็นผู้ประกอบการ ฉะนั้น สายเลือดเถ้าแก่จางหายไปเรื่อย ผลสุดท้ายคนที่เป็นเถ้าแก่มักจะมีการศึกษาไม่ค่อยสูงนัก คนมีการศึกษาสูง ๆ กลับไปเป็น Salary Man หมด อันนี้ คือประเทศไทยในช่วงการพัฒนาที่ผ่านมา และวันนี้พอมีกองทุนหมู่บ้านมีธนาคารประชาชน เริ่มเกิดผู้ประกอบการใหม่ที่ไม่มีการศึกษาอีกรอบหนึ่ง คือ ชาวบ้านที่ไปขายของ ซื้อของไปขาย ซึ่งควรอย่างยิ่งที่จะให้มีผู้ประกอบการที่มีการศึกษามาก ๆ เพราะว่าคนเหล่านี้มีหลักวิชาในการบริหาร ฉะนั้น การสร้างของมหาวิทยาลัย ต้องคิดถึงเรื่องของการสร้าง Entrepreneur ต่าง ๆ ฉะนั้น การสอนตรงนี้ควรคิดเรื่องการสร้าง Entrepreneur ขึ้น สร้างผู้ประกอบการขึ้นใหม่ โดยการเรียนการสอนที่ถูกต้อง ถูกหลัก ฝากเป็นการบ้านไว้

องค์บริหารของมหาวิทยาลัยมี 2 ส่วน คือ ส่วน Actual อีกส่วนคือ Virtual ทำไมคิดอย่างนั้น

Actual นี้แน่นอน ท่านมองเป็นคณะ แผนก ฝ่ายไม่เป็นไร แต่ Virtual ท่านเอาคนซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์ไปสอนตรงนั้นตรงนี้ มาช่วยเป็นคนช่วยคิด ทำในเรื่องต่าง ๆ เหมือนกับเป็น Ad hoc หรือเป็น องค์กรซ้อนองค์กรอีกทีหนึ่ง

องค์กรปกติของมหาวิทยาลัยก็ว่ากันไป แต่องค์การการบริหาร องค์กรการวางยุทธศาสตร์ ควรจะเป็นองค์กรที่ใช้คนจากที่เป็นคนเก่ง ๆ อยู่แล้วในมหาวิทยาลัยที่กระจายกันอยู่ในองค์กรนั้น ยืมมาเป็นองค์กรลอยข้างบนอีกชั้นหนึ่ง เพื่อจะได้ใช้คนทำงานได้ 2 มิติ เพราะว่าเสียดายที่เอาคนเก่ง ๆ มารวมกันแล้วได้ใช้พลังเขาน้อยเกินไป นั่นคือ สิ่งที่ผมต้องการจะบอก คือ ต้องการให้ใช้พลังตรงนี้ให้มาก ที่สุด อยากจะให้ท่านได้มีโอกาสสร้างองค์กรที่เป็น Actual และ Virtual ให้มากขึ้น แล้วนอกนั้นยังไม่พอนะครับ ถ้าเป็นถึงวิจัย ยังสามารถข้ามมหาวิทยาลัยได้อีก เป็น Virtual อีกชั้น ข้ามมหาวิทยาลัยเลย ถ้าเป็นองค์กรทางวิจัย ซึ่งจะขอพูดเรื่องวิจัยนิดหน่อยว่า เรื่องวิจัยเคยคิดไว้ช่วงระหว่างตั้งพรรคว่ามองถึง Resource ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ วันนี้เราอยากเห็นการวิจัยที่องค์กรทางวิจัยต่าง ๆ นั้นเป็นองค์กรที่ใช้ Resource จากมหาวิทยาลัยให้มากที่สุด เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยจะมีรายได้อีกส่วนคืองานวิจัย แต่อยากให้ดู Model ของ MIT เขาทำ Media Labs เป็น Model ที่ตั้งหน่วยงานขึ้นในมหาวิทยาลัยคล้าย ๆ เป็นลักษณะไปรับจ้างทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วไปคิดเรื่องใหม่ ๆ ก็จะมีคนมาทำ แล้วก็ให้ Incentive กับนักวิจัยด้วย นักวิจัยก็ได้ Incentive คือ เป็นเจ้าของ Patent ร่วมกับทางมหาวิทยาลัย แล้วรายได้มาแบ่งกันจะทำให้มี Incentive ที่อยากทำ เพราะว่าวันนี้ผมคิดว่ายังมีนักวิจัยที่เก่ง ๆ แต่ไม่มีโอกาสทำ ไม่มีทุนวิจัย ไม่มี Challenge ไม่เปิดโอกาส เพราะฉะนั้น ท่านช่วยคิดแล้วมาบอกผมว่าท่านต้องการโอกาสอย่างไรถึงจะเอาพวกท่านทั้งหลาย ได้ใช้สมองของท่านมาทำวิจัยอะไรมากขึ้นกว่านี้ วิจัยต้องเป็นวิจัยที่ซ่อมรากภูมิปัญญาของไทย และต่อยอด ถ้าไม่ซ่อมรากวันนี้ฐานจะไม่แน่น ซ่อมรากสิ่งที่เป็นประโยชน์ ภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยกับวิถีชีวิตในการสร้างชีวิตสร้างอาชีพให้แก่สังคมไทย ท่านไปทำตรงนี้แล้วต่อยอดคือ ท่านต้องรู้จริงว่าโลกเขาเป็นอย่างไร โลกต้องการอะไร เมื่อซ่อมรากและต่อยอดได้ วิจัยนั้นจะเป็นวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยตรง แต่แน่นอนครับยังมีวิจัยอีกระดับหนึ่งที่ไม่เป็นวิจัยที่มองแค่ประเทศไทย เป็นวิจัยที่ Sophisticate กว่านั้นถ้าเรามีความรู้กว่านั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่า Basic แล้วผมอยากให้เป็นการวิจัยที่ซ่อมรากภูมิปัญญาแล้วต่อยอดให้ได้ เพราะฉะนั้น ในวันนี้ มีของดี ๆ เยอะในประเทศไทยแต่ขาดการวิจัยที่ถูกต้องแม้กระทั่งเรื่องของอาหาร วันนี้ทั่วโลก เขาต้องการบริโภคสิ่งที่เป็น Story เป็น Health conscious มากขึ้น ฉะนั้นการวิจัยนี้จะเป็น story ที่บอกถึง Health ที่จะบอกถึง Story ดี ๆ ที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่โลกกำลังต้องการ ตลาดกำลังต้องการ เพราะฉะนั้นท่านคงจะช่วยได้เยอะ ในการคิดเรื่องของการวิจัย ขณะเดียวกันการแข่งขันของโลกข้างหน้า การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ทางภาษีก็มีมากขึ้น เขากันเราแต่เรากันเขาไม่ได้ เพราะว่าเราไม่มีความรู้ที่จะตอบ แล้วบางครั้งอย่างยกตัวอย่างง่าย ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยก็ทำอะไรไม่ได้ไม่รู้ว่าเพราะอะไร ยกตัวอย่างหมูเนื้อแดง เราก็พูดกันจังว่ามันเป็นอันตราย เป็นสารก่อมะเร็ง แล้วก็ยังขายกันต่อเหมือนเดิม แล้วตายไปก็ไปงานศพ เพราะฉะนั้นวันนี้ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายรัฐบาลต้องคิดร่วมกัน ทำร่วมกัน แล้วก็จัดการแก้ปัญหาสิ่งที่เป็นปัญหา อย่ารับรู้แล้วไม่ทำอะไร ต้องช่วยกันแก้ ผมคนเดียวจะคิดทุกเรื่องคง ไม่ไหว บางทีคิด ๆ ไป Chemical ทางสมองมัน Blind เหมือนกัน มันล้า บางทีก็ต้องพัก อยากให้ท่านทั้งหลายคิดแทนผมบ้าง คิดแล้วบอกมาเลย E-mail ผมมีแจ้งมาเลย ผมรับเรื่องราวร้องทุกข์ก็เป็น //www.ระฆัง.thaigovernment.or.th ปรากฏว่าเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับยาเสพติด เรื่องผู้มีอิทธิพล วันหนึ่งเป็นร้อย วันก่อนให้ตำรวจไปจับตาม E-mail ปรากฏว่าจับได้จริง ๆ หมื่นเก้าเกือบสองหมื่นตัว ยังไม่ได้แคะที่มันเป็น ที่บอกว่ามันเป็น Furniture ถ้าแคะออกมาได้ก็ประมาณสองหมื่นกว่าตัว ผมกำลังคิดว่า สองหมื่นกว่าตัวในขณะที่โลกทางด้าน Electronics กำลังมีปัญหาอยู่นี้ แล้วบริษัท Electronics ในประเทศไทยก็มีเยอะแยะ ผมว่าประกอบในประเทศไทย ผมรับรองเลยว่าราคาถูกนิดเดียว และซื้อมันจากที่เดียวเลย ให้ซื้อจากส่วนกลางซื้อที่เดียวแล้วก็ OEM แจกไปหมด ดีไม่ดีได้ 2 เท่า ผมไม่ตัดเงินหรอก สมมติเงินตั้งมาตัวนึง 7 หมื่น ถ้าผมซื้อได้ 3.5 หมื่น ผมซื้อ Double เลย แล้วให้สถานศึกษา/มหาวิทยาลัยเอาไปใช้กัน กำลังดูอยู่

Technology เป็นสิ่งจำเป็น แต่ว่าอย่าไปหลงเฉพาะตัว T I มาก่อน T I ของเราไม่มี มีแต่ T ผลสุดท้ายตั้งอยู่ที่โต๊ะ แมงมุงหยากไย่เกาะ I ถึงจะได้ใช้ T เพราะฉะนั้น IT จำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นการใช้เครื่องมือทางการเรียนการสอนใหม่ ผมไม่รู้มีอะไรบ้าง ขอให้ใช้ให้เป็น อย่าให้แผนกจัดซื้อจัดหาเป็นคนคิด ต้องแผนกสอนเป็นคนคิด คนสอนคนที่จะใช้เครื่องมือทางการเรียนการสอนเป็นคนคิด ถ้าให้แผนกจัดซื้อจัดหาเป็นคนคิดไม่ได้ ผิด นี่สำคัญ เหมือนสำนักงบประมาณวางงบ ในอดีตหลายปีมาแล้ว ไม่ใช่เวลานี้ วางงบโดยพ่อค้าเป็นคนวาง Spec. ให้ และงบตามพ่อค้า มันไม่ได้ บางทีซื้อของก็เหมือนกันซื้อของตาม Spec. พ่อค้า ต้องผู้ใช้เป็นคนกำหนดว่าต้องการอะไร แล้วค่อยไปดูว่าของมันมีอะไรบ้าง ที่มีอยู่แล้วก็เลือกใช้ งั้นก็เรื่อง Technology ผมสนับสนุนและอยากให้ใช้ คือวันนี้ผมสรุปเลย Bottom Line ก็คือว่า อยากเห็นเด็กไทยฉลาด อยากเห็นคนฉลาดที่สอนเด็กไทยฉลาดขึ้น แล้วก็อยากให้คนที่สอนเด็กไทยให้ฉลาดนั้น ทำตัวอย่างโดยการจัดองค์กรมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรตัวอย่างชั้นหนึ่ง แล้วก็ยังไม่พออีก เพราะสมองเหลือเยอะ พลังเหลือเยอะ เรียนจบมายังทำไม่เต็มที่ได้แต่สอนหนังสือ แล้ววันนี้คนที่เกษียณแล้วและมีผลงานทางวิจัย เป็นอาจารย์ชั้นดี น่าจะเก็บไว้เป็นอาจารย์ต่อนะ ทำไม Professor เมืองนอก แต่เขาไม่ให้มาบริหารแล้ว ให้เป็น Professor อยู่นี้ ทำไม Professor เมืองนอก 60 กว่าปียังสอนหนังสือ 70 ก็สอนหนังสือ บางคน 80 บางคนยังนั่งสอนหนังสือ แต่คนพวกนี้ไม่ใช่ 80 อายุนะ เขาอ่านหนังสือตลอดนะ แต่สำคัญของเราก็ต้องเหมือนกันนะ ถ้าให้เกษียณแล้วเพราะไม่อ่านหนังสือแล้ว ต้องให้เกษียณตั้งแต่อายุ 50 ถ้าใครจบมาแล้วเกิน 5 ปี แล้วไม่พัฒนาตัวเองหมดเลย ให้ Doctor ก็หมด เดี๋ยวนี้ความรู้มันพัฒนาเร็วจริง ๆ เร็วมากก็ผมดูนี่หนังสือออกมาเดือน ๆ ผมต้องนั่งอ่านเดือนหนึ่งประมาณ 6 - 7 เล่ม ไม่งั้นผมโง่ ผมกลัวโง่ พอมาพูดกับท่าน ถ้าเอาอะไรไม่รู้มาพูดท่านก็รำคาญตาย แต่ผมก็พูดไม่ค่อยเป็นเรื่องนี้ แต่มีความตั้งใจอยากจะเห็นอย่างนี้ มอบการบ้านให้ท่าน ท่านไปคิดกันมาแล้วผมมีหน้าที่สนับสนุน เอางั้นนะฮะ ผมมีหน้าที่สนับสนุนพวกท่าน แล้วพวกท่านช่วยกันคิดกันมา แล้วคิดเนี่ยขอให้รวมกันคิด อย่าแบ่งกลุ่มคิด เอ้! ไอ้นี่อย่าให้มันรู้มันไม่ใช่พวกเรา เขาชอบค้านเรา อย่าไปคิดอย่างนั้น นี่! หันมาเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเถอะ เชื่อผมเถอะ สถาบันการศึกษานี่ขอเป็นตัวอย่าง ความสามัคคี เด็กจะได้เห็น แล้วนักการเมืองจะได้เรียนแบบบ้าง หันหน้าเข้าหากันเถอะ วันนี้ผมบอกสื่อมวลชนว่าตื่นขึ้นมาเห็นข่าวบ้านเมืองสับสนวุ่นวายทะเลาะกันตลอด ความจริงประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่หรอก แต่คนที่เป็นข่าวทั้งหลายและที่ทะเลาะกันแล้วเป็นข่าว สับสนไปหมด ซึ่งไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีเลย คนไทยกำลังต้องการกำลังใจ วันนี้คนประมาณ 9 ล้าน 9 แสนคน มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 30 บาท ซึ่งไม่พอเพียงต่อการซื้ออาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการที่ต้องการอย่างน้อย ขั้นต่ำ เขาเรียกว่า คนจน แล้วเรายังมานั่งทะเลาะกัน ให้เขาดู แทนที่จะมาให้กำลังใจเขาต่อสู้ชีวิต กลับมาสร้างสิ่งที่มันไร้สาระ บางคนก็รู้สึกทุรนทุรายจะตายให้ได้ เหมือนกับตัวเองยากจนเหลือเกิน ความจริงก็ขับรถ Benz อยู่ ซึ่งควรจะต้องคิดถึงคนส่วนรวมบ้าง ผมเลยอยากขอสถาบันการศึกษาว่า ผมอยากให้ท่านออกนอกระบบ แต่ไม่ใช่บอกว่านี้ต้องเลิกไปไหนก็ไป ไม่ใช่นะครับ ผมต้องการให้ท่าน เดี๋ยวเมื่อวาน อ.กฤษณะพงศ์ เรียกว่า Autonomize ใช่ไหม หรือ อ. พรชัย Autonomize พวกท่านคือให้ท่านมีอิสระจัดการ โดยท่านจะต้องบริหารจัดการกันเอง หลักประชาธิปไตยเขาบอกว่า คนที่เป็นตัวแทนของประชาคมนั้น ๆ มีหน้าที่ที่จะไปจัดระเบียบ ทำให้ประชาคมนั้นอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่มีการรังแกกันหรือเอาเปรียบซึ่งกันและกัน และเพื่อให้องค์กรนั้นคิดร่วมกันทำร่วมกันเพื่อสร้างเสริมองค์กรนั้นให้เข้มแข็งหรือแข็งแรงขึ้น นั่นคือหลักประชาธิปไตย เป็นประชาคมมหาวิทยาลัย ท่านก็ไปจัดประชาคมของท่าน เมื่อท่านได้รับเลือกขึ้นมาเป็นอธิการบดี คณบดี เป็นคณะผู้บริหาร ท่านก็ทำหน้าที่ของท่าน เพื่อส่วนรวมในองค์กรนั้น เพื่อจัดระบบจัดระเบียบให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่น่าอยู่ อยู่แล้วมีความสุข อยู่แล้วสร้างสรรค์ ให้ประชาคมนั้นสร้างสรรค์มาก ๆ เพราะฉะนั้นท่านไปคิดของท่านเอง เพราะว่าไม่มีใครบอกท่านได้ดีไปกว่าท่านบอกท่านเอง แต่ว่าหลักการก็คือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบของการบริหารมหาวิทยาลัยที่เป็นอุปสรรคในการออกนอกระบบ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย จะรับมาแก้หมด เรื่องของกติกาของสำนักงบประมาณได้บอกสำนักงบประมาณไว้แล้วว่าชีวิตท่านจะง่ายลงกับมหาวิทยาลัย เพียงแต่ท่านคำนวณมาให้ถูกว่าจะ Subsidise เป็นอย่างไร แล้วมี Unit เท่าไร ปีนี้ Unit เท่าไร ก็คูณเท่านั้น แล้วเอาตังค์จ่ายไปเท่านั้นแล้วเลิกกัน แล้วท่านไปบริหารการเงินของท่านเองท่านมีคณะ Finance มีคณะ Accounting เพราะฉะนั้นสอนมาเยอะแล้วต้องปฏิบัติด้วย ไปทำ Finance บริหารจัดการให้ดีนะครับ ท่านจะไปทำแบบไหนท่านว่ามาเลย รัฐบาลจะเปิด Credit line ให้ท่าน ที่ธนาคารกรุงไทย เอาไปเลย มหาวิทยาลัยขณะนี้กี่ร้อยล้านทำไป ท่านจะมี Revolving Fund จัดการของท่านเอง แล้วหลังจากนั้นท่านจะ Grow แล้วจะเห็นเลยครับว่า ฝีมือใครเป็นอย่างไรจะเห็นชัดเลย แล้ววันนี้ฝีมือคนคนเดียวเอาไม่อยู่หรอก ต้องระดมกันเอามาใช้ เอาคณะต่าง ๆ เอาอาจารย์ชั้นดีทั้งหลาย ตำรากี่เล่มเปิดเลยเป็นองค์กรตัวอย่างท่านทำไปเราจะสนับสนุน มีกฎหมายอะไรที่ยุ่งกับชีวิตท่านมาก บอกมาจะแก้ให้

ท่าน ปี '45 ออกไปซะ เตรียมให้พร้อม ส่วนใครที่ยังไม่พร้อมอยากเป็นข้าราชการเหมือนเดิม เดี๋ยว รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยก็ไปดูว่าจะดูแลเขาอย่างไร จะย้ายมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือเปล่า ไม่หรอก เพียงแต่ว่ามีระบบตามกฎหมายให้ถูกต้อง แต่ก็ยังทำอยู่ที่เดิมนั่นแหละ ก็หมายความว่าจะจัดการอย่างไรก็ว่ากันแต่ก็ไม่มีปัญหา วันนี้ถ้าใครบอกไม่อยากออก ใครยังอยากรับราชการอยู่ก็ไม่เป็นไร รับรองว่าเหลือนิดเดียว เชื่อเถอะ แต่ถ้าบอกไม่ได้ต้องออกไปให้หมด รับรอง ไม่ออก นี่ธรรมชาติมนุษย์ไปซื้อของในตลาดยังมีอีกเยอะไม่เป็นหรอกรอคิว พอพวกจะหมดแล้วนะ รับรองแย่งกันซื้อหมด มันเป็นธรรมดา
โดย: "มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ" (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:56:40 น.
  
"มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ"
( ต่อ )

ฝากเรื่องงานวิจัย หลังจากที่ท่านทำไปแล้วไปคิดเรื่องวิจัยครับ เพราะว่าเราต้องการอยู่ในโลกนี้มี Innovation อยู่ตลอดเวลา เราต้องมี New Knowledge เกิดขึ้นจากการวิจัย ท่านต้องวิจัยให้ได้ความรู้ใหม่ ๆ เป็นคำตอบทางวิทยาศาสตร์ วิจัยทางสังคมที่ชอบทำ Questionnaire ทั้งหลาย ขอให้ท่านไปเปิดตำราดูด้วย รู้จักคำว่า Test Reliability Coefficient หรือ Validity Coefficient ด้วย ชอบตั้ง คำถามอะไรที่ไม่ Reliable แล้วก็สรุปเรียบร้อยจบ แล้วไปดู Sampling Theory ให้ดี เปิดให้ครบก่อน จะทำ ผมขออย่างเดียวว่านักวิชาการจะต้องใช้วิชาการเพื่อให้ความรู้แก่สังคม วันนี้สังคมไทยกำลังต้องการความรู้ที่ถูกต้อง อย่าได้เอาความรู้ที่ไม่ถูกต้องเผยแพร่ เพราะว่ามันเป็นการ Abuse อาชีพของท่าน ทุกอาชีพมี Professionalism ข้อหนึ่งที่ Attach ไปกับคำที่ Quality ว่า เป็น Professionalism นั้น คือ Professional Ethic Ethic ของนักวิจัยนั้นต้องซื่อสัตย์ต่อผลงานวิจัยของตนเอง เพราะฉะนั้นต้อง ซื่อสัตย์ถูกต้องตามหลักวิชาการ Basic ของ Develop Test Instrument ก็คือ Reliability Validity Coefficient Test กันให้ดีก่อนที่จะออกมา เพราะฉะนั้น วันนี้บางสถาบันเหตุเกิดปั๊บ ถามปั๊บ ตอบปั๊บ รู้ทันทีไม่รู้ว่า Valid หรือเปล่า ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมกระแส ไม่ได้เป็นสังคมความรู้ ถ้าสังคมกระแสมันหวือหวาทั้งวัน มันหัวใจเต้น วุบวับ วุบวับ เป็นโรคหัวใจกันหมด ขอฝากตรงนี้ไว้ และขอฝากเด็กไทยว่าเด็กไทยวันนี้ Basic ท่านกำลังสอนเขาวันนี้ต้องอีกหลายปีกว่าเขาจะหาย เขาถูกพัฒนามาจากการเรียนการสอนที่ให้เขาท่องจำ เพราะฉะนั้นกว่าเขาจะรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตท่านต้องใช้ความพยามยามในขั้นอุดมศึกษาให้มาก เพื่อให้เขารักการเรียนรู้ก่อนที่จะให้เขารักการเรียนรู้ ท่านต้องรักการเรียนรู้ให้เขาดูก่อน ถ้าท่านยังเป็นนัก Lecture ห้องเรียนเปิดมาก็ Lecture ไม่ปฏิสัมพันธ์ใน Class (ชั้นเรียน) ยากที่ทั้งท่านและนักเรียนจะเป็นคนที่พัฒนาการเรียนรู้ ต้องขอการทำกิจกรรมเสริมความรู้จะช่วยทำให้เด็กคิดเป็นและคิดแบบองค์รวมเป็น และฝากอีกเรื่องคือ วิชาที่ท่านสอนที่จะทำให้เด็กสามารถเป็นผู้ประกอบการเองได้นั้น ท่านพยายามให้คำแนะนำด้วย เพื่อว่าวันนี้เรามีกองทุน Venture Cap มีกองทุนร่วมทุนทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว มีธนาคาร SME เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นอยากให้คนมีความรู้ก้าวเข้าไปสู่การลองผิดลองถูก และที่สำคัญมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง เป็นเรื่องเขียนธรรมดาชื่อว่า Dare To Fail = กล้าล้มเหลว เพราะฉะนั้นเด็กไทยวันนี้ต้องสอนให้เขารู้ว่าอย่าไปกลัวพลาด พลาดแล้วลุกขึ้นมาใหม่ ต้องบอกเขาว่าตอนที่เขาหัดเดินเขาต้องล้มก่อนทั้งนั้น ไม่เคยมีใครหัดเดินแล้วไม่ล้ม คนที่เป็นนักธุรกิจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้เขาไม่ได้เล่าด้านมืดของเขาให้ฟังเท่านั้นเอง แต่ความจริงแล้วทุกคนผ่านชีวิตที่ลำบากมาทั้งนั้น ไม่ใช่อยู่ ๆ จับมาแล้วสำเร็จเลย ส่วนใหญ่ลองผิดลองถูกกันมาทั้งนั้น

ขอให้ท่านสร้างเด็กไทยตรงนี้ด้วย สุดท้ายเรื่องของ Technology เรื่องของห้องสมุดผมสนับสนุนอยากเห็นอยากให้มันมีชีวิตมีความต่อเนื่อง ไม่อยากให้ทำแล้วลงทุนครั้งเดียวแล้วเลิกกัน คือ รัฐบาลนี้ไม่ใช่รัฐบาลจัดซื้อจัดหา แล้วชักเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นต้องการใช้เงินที่มีจำกัดอย่างมีความต่อเนื่อง รัฐบาลมองตัวเองเป็นลักษณะของการ Investment มากกว่าของการเป็น Spending ถ้าการเป็น Spending คือใช้ให้หมดตามปีงบประมาณแล้วเลิกกัน แต่ Invest คือมอง Longterm Return กลับมาสู่สังคมโดยตรงโดยอ้อมแล้วแต่ เพราะฉะนั้นการศึกษาไม่ว่าห้องสมุด Technology ถือว่าเป็น Investment ไม่เป็น Spending เพราะฉะนั้นท่านต้องคิดในมิตินี้ด้วย อย่าคิดแต่มิติรัฐบาลจะใช้เงินไม่ใช่มิตินั้น หวังว่าเรา Together กัน เราจะช่วยกัน Build Future ของประเทศไทยของเด็กไทย ผมมีหน้าที่สนับสนุนท่านจากนี้ไปอย่างน้อย ๆ ก็ผมพูดได้แล้ววันนี้ก็คือครบ 4 ปี เมื่อก่อนพูดไม่ได้ เพราะว่ายังไม่รู้จะเป็นอย่างไร

วันนี้ พูดได้เลยว่าจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2547 ต้นปี 2548 ผมจะอยู่กับท่านจะ Support ท่าน เพื่อให้ท่านสร้างเด็กไทย สร้างองค์กร สถาบันการศึกษาไทยให้เข้มแข็งให้เป็นที่ซึ่งเปลี่ยนเลย เปลี่ยนจากสิ่งที่ผ่านมาในอดีตเลย มันไม่มีอะไรช้าเกินแก้ วันนี้ท่านเอาไปเลย เตรียมการไว้เลย ปีหน้าออกนอกระบบแล้วสุด ๆ ไปเลย ไม่ต้องไป Break สมองมีเท่าไรใช้เต็มที่ สำคัญคือ รวมพลังสมองให้ได้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ฟังคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการศึกษาพูด ก็เดี๋ยวผมคงต้องไปประชุม กตร. ที่ กทม. บ่าย 2 โมง คงไม่ได้อยู่ทานข้าวกับท่าน ขอขอบคุณทบวงมหาวิทยาลัยที่จัดรายการนี้ขึ้นทำให้ท่านได้มาใกล้ชิดกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น ต่อไปคงช่วยกันสร้างระบบการศึกษาไทย ขอบคุณที่เชิญผมมาครับ สวัสดีครับ ผู้ดำเนินรายการ

กราบขอบคุณ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ที่ได้มาปาฐกถาพิเศษ กราบเรียนเชิญอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี มอบพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นที่ระลึก และขอกราบเรียนเชิญท่านประธาน ปอมท. ดร.วัฒนชัย พงษ์นาค มอบพระพุทธชินราชจำลอง เพื่อเป็นสิ่งสิริมงคลแด่ท่านนายกรัฐมนตรี

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน คงได้ทราบประเด็นต่าง ๆ ที่ ฯพณฯ ได้แสดงปาฐกถาพิเศษให้กับพวกเราชาวอุดมศึกษา คงกระจ่างชัดในทุกประเด็น ไม่ว่าเรื่องออกนอระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลด้านการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร ด้านการวิจัย ด้านของ Technology ทุกประเด็น พวกเราคงจะได้ชัดเจนคาดว่าเราคงจะได้นำไปทำให้เกิดเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

Resource:
//www.ku.ac.th/kunews/conference/edu_taksin.html
โดย: "มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ" (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:21:58:47 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด