0086.THE UNDERDOG ADVANTAGE : : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร





The Underdog Advantage: Using the Power of Insurgent Strategy to Put Your Business on Top
By Morey, David and Miller, Scott
How insurgents rule markets today, and how your business can join the revolution

After over 25 years of working with top companies, David Morey and Scott Miller have found that the largest corporations are at their best when they act small--not as an arrogant incumbent, but a hungry insurgent. The Underdog Advantage analyzes the success of this model and shows how even great companies often stray from the insurgent path--and end up paying the consequences.

A battlefield manual for business leaders of every stripe, The Underdog Advantage uses fascinating and instructive case studies to explore insurgency principles and show you how to:

Instill and maintain an underdog attitude and move faster, think smarter, and welcome change as an opportunity
Develop hyperaggressive marketing, communications, and competitive strategies
Create a down-and-dirty culture of insurgency and foster a winning attitude among all staff members


เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2547 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้แนะนำหนังสือเล่มใหม่อีกเล่ม....

ก่อนเข้าวาระการประชุม พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ในช่วงนี้มีภารกิจมาก ทำให้ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ แต่ ระหว่างนี้กำลังอ่านหนังสือชื่อ The UNDERDOG Advantage หรือ แปลว่า "ข้อได้เปรียบของคนที่ตกเป็นเบี้ยล่าง" ....

...นาย จักรภพ เพ็ญแข กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญ กล่าวถึงคนที่อยู่ในฐานะเสียเปรียบ จะมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง โดยมีการเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะว่า เมื่อคนตัวเล็กที่ต้องต่อสู้กับคนที่ตัวใหญ่กว่า และ มีอำนาจมากกว่าจะต้องทำอย่างไร....

....นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหนังสือชื่อ The FORTUNE AT THE BOTTOM OF THE PYRAMID ให้กับ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร โดยหนังสือเล่มนี้มีสาระสำคัญ คือ ทำอย่างไรที่จะสร้างโอกาส สร้างอนาคต ให้กับชนชั้นล่างๆ ได้ลืมตาอ้าปากได้



Create Date : 11 มีนาคม 2551
Last Update : 11 มีนาคม 2551 15:18:51 น.
Counter : 1880 Pageviews.

3 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
No. 1259 สาระเกือบมี (ตอนทำงานที่ใหม่ ถูกลองดี) ไวน์กับสายน้ำ
(1 ม.ค. 2567 05:58:05 น.)
  


THE UNDERDOG ADVANTAGE: ใช้ความเสียเปรียบพลิกกลับมาเป็นโอกาสสร้างชัยชนะให้สูงสุดต่อองค์กร

ผู้แต่ง/แปล : DAVID MOREY / สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล :แปล
ISBN : 9749535340
Barcode : 9789749535349
ปีพิมพ์ : 1 / 2548
ขนาด (w x h) : 145 x 210 mm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 224 หน้า 1
ราคาปกติ : 180.00 บาท
ราคาพิเศษ : 153.00 บาท (ลดถึง %) เฉพาะสั่งซื้อทางเว็บไซต์เท่านั้น
โดย: THE UNDERDOG ADVANTAGE: ใช้ความเสียเปรียบพลิกกลับมาเป็นโอกาสสร้างชัยชนะให้สูงสุดต่อองค์กร (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:15:20:44 น.
  
ปีที่ 5 ฉบับที่ 11
print this | email friend


บางกอกแอร์เวย์ส The Exotic Destination Advantage
ถ้ากลยุทธ์ The Underdog Advantage เป็นเนื้อหาที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในหมู่ของผู้เป็นรองในธุรกิจแต่ละ Category อยู่ในขณะนี้ น่าจะบอกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกันอย่างมาก เคยเกิดมาก่อนที่ฝรั่งจะเขียนหนังสือเล่มนี้ออกมา แถมเป็นการเกิดในประเทศไทยด้วยซ้ำ โดยบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด หรือ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส กว่า 3 ทศวรรษมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มเส้นทางบินกรุงเทพฯ-เกาะสมุยอย่างเป็นทางการ




ในวันนั้นหรือแม้กระทั่งวันนี้ ถ้าคิดจะทำธุรกิจสายการบิน เพียงเงยหน้าขึ้นไปมองหมายเลข 1 อย่าง บมจ.การบินไทย หรือ สายการบินไทย ต่อท้ายด้วยสายการบินแห่งชาติ ดูเหมือนจะต้องมีคำถามต่อไปว่า จะแข่งขันกับสายการบินใหญ่หมายเลข 1 อย่างไร ม.ล.นันทิกา วรวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ยอมรับตรงๆ ในเรื่องการเปรียบเทียบกับคู่แข่งเชื้อชาติและสัญชาติเดียวกันว่า

“กับการบินไทยเราไม่เปรียบเทียบเพราะเขาเป็น Global Network ซึ่งใหญ่มากทั่วโลก ของเราเป็น Network แค่เอเชียเท่านั้น แต่เราก็ถามตัวเองว่าเราจะ Position ตัวเองอย่างไร เราจะขายอะไรในฐานะที่เป็น Airline ที่ต้องบอกว่าตอนนั้นมีการบินไทย และเราเท่านั้น เวลานั้นเราเป็นน้อง เล็กน้องเดี่ยวเพราะมีเราคนเดียว”

เนื้อหาของตำรา The Underdog Advantage จะมีกฎอยู่ข้อหนึ่งที่บอกว่า ในฐานะมวยรอง คุณไม่สามารถที่จะเล่นในตลาดเดียวกับผู้นำได้เลย สิ่งที่ต้องทำคือ หาตลาด Niche ที่แตกต่าง จับกลุ่มเป้าหมายอื่นที่เบอร์ 1 ไม่สนใจ เพื่อให้ธุรกิจของตนเองบริการได้โดยไม่เจ็บตัว

ตามกฎระเบียบจากทางราชการบอกไว้ชัดเจนว่า เอกชนรายใดเข้าสู่ตลาดธุรกิจการบินพาณิชย์ของไทย จะต้องทำการบินในลักษณะบริการเสริม หรือ Feeder Service ให้แก่สายการบินของรัฐคือการบินไทย นั่นคือ บินได้เฉพาะเส้นทางที่การบินไทยหยุดบิน หรือไม่เคยทำการบิน หรือไม่มีเที่ยวบินโดยตรง ความหมายคือ ห้ามบินทับเส้นทางที่การบินไทยทำการบิน

ดังนั้น ใครก็ตามที่จะเข้ามาทำธุรกิจนี้ย่อมต้องรู้ตัวเป็นอย่างดีว่า ตกเป็นรองหมายเลข 1 ตั้งแต่วันที่คิดไว้แล้ว ซึ่งบางกอกแอร์เวย์สก็รับรู้สภาพที่จะต้องเกิดขึ้น นับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียน บจ.การบินกรุงเทพ ปี 2527 (จากเดิมคือ บจ.สหกลแอร์ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2511)

เมื่อไม่มีทางเลือกเกี่ยวกับเส้นทางบิน การคิดให้แตกต่างแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาด ย่อมต้องหาทางออกสำหรับเบอร์ 2 ประเดิมด้วยเลือกเส้นทางที่ท้องถิ่นมีศักยภาพในการท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้เส้นทางบินใหม่กรุงเทพฯ-เกาะสมุย มาพร้อมสนามบินของตนเอง ส่วนลูกค้าที่ใช้บริการเป็นชาวต่างประเทศถึง 90% ที่ต้องการบินตรงไปชื่นชมเกาะสวรรค์ดังกล่าว ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ

พร้อมกันนั้น นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้อำนวยการใหญ่ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ได้ขยายเส้นทางบินไปยังเมืองวัฒนธรรมระดับมรดกโลกอย่างสุโขทัย จากนั้นบินตรงไปยังนครวัด หลวงพระบาง ต่อเนื่องด้วยฮอยอานแห่งเวียดนาม ส่วนจีนก็บินไปที่ซีอาน กุ้ยหลิน ขณะเดียวกันก็เปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ-ตราด เพื่อมุ่งไปยังเกาะช้าง และเกาะอื่นๆที่อยู่ชายแดนด้านตะวันออกของไทย

“ทุกแห่งที่บางกอกแอร์เวย์สบินไป ถือเป็นอัญมณีแต่ละประเทศและเดินทางไปยาก ในอดีตจะเดินทางไปแต่ละครั้งจะต้องไปต่อเครื่อง แต่เมื่อใช้บริการของเรา เราบินตรง จุดมุ่งหมายเราคือพานักท่องเที่ยวไปยังอัญมณีแห่งเอเชีย...นี่คือสิ่งที่เราบินไม่เหมือนสายการบินอื่นๆ ไม่เหมือนสายการบินหมายเลข 1 ของไทย เพราะมีจุดยืนที่ถูกต้องในการบินไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่ไปได้ยาก” ม.ล.นันทิกา ขยายความต่อถึงการเลือกเอกลักษณ์ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

ต้องไม่ปฏิเสธว่าความเล็กกว่าของเบอร์รอง ตลอดจนถึงการมองกลยุทธ์ทางธุรกิจให้แตกต่าง ช่วยทำให้ปรับตัวได้รวดเร็วหลายต่อหลายเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องบินลำใหม่เพื่อให้เหมาะกับแต่ละเส้นทางบิน จัดเป็นเรื่องที่หมอปราเสริฐเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะต้องเดินทางด้วยเครื่องบินมากที่สุด ทั้งนี้ฝูงบินทั้งหมดภายใต้แบรนด์บางกอกแอร์เวย์ส ล้วนเป็นเครื่องบินใหม่เพิ่งถอยจากโรงงาน เมื่อใช้ครบ 5 ปี ก็จัดการเปลี่ยนนำเครื่องใหม่มาแทนที่ ทั้งหมดนี้เป็นการยอมจ่ายแพงในครั้งแรก แต่แทบจะไม่เสียค่าบำรุงรักษาเครื่องเลย หรือหากจะเสียก็ย่อมน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับการซื้อเครื่องบินมือสองหรือมือสามมาบิน

เรื่องต่อมาที่เจ้าของสายการบินแห่งนี้เลือกทำควบคู่ไปกับเส้นทางบินคือ การทำธุรกิจสนามบินควบคู่กันไป โดยเฉพาะสนามบินสมุยที่กล่าวถึงตอนต้น นับเป็นบ่อเงินบ่อทอง เพราะมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 6.1 แสนคนต่อปี ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาข้อมูลจากสายการบินไทยแอร์เอเชีย ได้กล่าวถึงจำนวนผู้โดยสารภายในประเทศเดินทางโดยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จำนวน 851,839 คน หรือ 11% (รองจากการบินไทยมีผู้โดยสาร 6,089,957 คน หรือ 82.5%) ส่วนต่างประเทศสนามบินที่เสียมเรียบ (ที่ตั้งนครวัด) ได้สร้างรายได้จำนวนไม่น้อยเช่นกัน ส่งผลให้บริษัทมีผลกำไรจากธุรกิจกว่า 200 ล้านบาท

จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อต้นปีนี้เกิดกระแส Low Cost Airline ประเดิมด้วยไทยแอร์เอเชีย ต่อด้วยนกแอร์ ส่งผลให้ผู้บริโภคออกอาการงงๆ กับสายการบินต้นทุนต่ำ และว่ากันว่ามีบางส่วนกระทบไปถึงบางกอกแอร์เวย์ส ทั้งๆที่สายการบินแห่งนี้ค่อนข้างวางตำแหน่งอย่างชัดเจนมาตลอด 3 ทศวรรษ คือไม่แข่งกับพี่ใหญ่ และไม่ลงมาแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำ แต่เมื่อสนามแข่งขันของสายการบินในประเทศร้อนระอุเช่นนี้ ประกอบกับอายุอานามของบางกอกแอร์เวย์สก็ผ่านมาถึง 30 ฝน จึงถึงเวลาที่ควรจะปรับเปลี่ยนจุดยืนของตนเองให้ชัดเจน ซึ่งเป็นที่มาของ Boutique Airline หรือความประทับใจแห่งเอเชีย ม.ล.นันทิกา กล่าวเพิ่มเติม




“Boutique ความหมายภาษาอังกฤษ Specialize Product , Small Business ที่มี Specialize Product ในตัว เช่น Boutique เล็กๆ อาจจะขาย Brand เดียว ซึ่งอาจจะเป็น Boutique ของดีไซเนอร์เจ้าของร้าน จากความหมายตรงนั้นกลับมามองสายการบินเราก็ถือว่านี่แหละใช่ เราเป็น Airline เล็กไม่ใช่ Airline ใหญ่ และเรามี Specialize Product ที่เป็น Service ของเราไม่เหมือนคนอื่น เรามีเลานจ์ใหม่ๆให้ผู้โดยสาร มีเครื่องบินใหม่ มีอาหารบนเครื่อง เราจึงให้ Brand ของเราเป็น Boutique Airline มีความเป็น Trendy ปัจจุบันยังไม่มีสายการบินใดในโลกที่เรียกตนเองว่า Boutique Airline”

ปัจจุบันบางกอกแอร์เวย์สมีเครื่องบินทั้งสิ้น 13 ลำ แบ่งเป็นเครื่องบิน ATR 72-200 ขนาด 70 ที่นั่ง จำนวน 2 เครื่อง ATR 72-500 ขนาด 70 ที่นั่ง จำนวน 7 เครื่อง จากประเทศฝรั่งเศส และเครื่องบิน Boeing 717-200 Twinjet ขนาด 125 ที่นั่ง จำนวน 4 เครื่อง จากอเมริกา ซึ่งถือเป็นสายการบินแรกในภูมิภาคเอเชียที่นำเครื่องบิน Boeing 717-200 มาให้บริการ

ส่วนอีกธุรกิจหนึ่งของบางกอกแอร์เวย์ส คงจะไม่พ้นเลานจ์ใน Airport ที่ดอนเมืองจะมีพื้นที่ให้เป็นที่เด็กเล่น มีบริการเครื่องดื่มร้อนเย็นและอาหารว่าง ที่สุโขทัยมีพิพิธภัณฑ์ ไปนั่งปั้นเครื่องดินเผา ที่ตราดกำลังจะสร้าง Terminal ตัวจริง ส่วนที่ใช้อยู่ขณะนี้ยังเป็น Terminal ชั่วคราว สำหรับที่สมุย Terminal ใหม่ในปีหน้าจะขยายออกไปเหมือนคอมเพล็กซ์ ผู้โดยสารใช้ความสุขอย่างเต็มที่ โดยจะมี Relax Corner มีสระว่ายน้ำ มีบริเวณออกกำลังกายระหว่างรอขึ้นเครื่องบิน

จัดเป็น Advantage ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ เพราะเมื่อมาถึงเวลานี้ไม่ได้แข่งขันกับหมายเลข 1 ที่ประกบอยู่ด้านบนเพียงอย่างเดียว หากถูกประกบด้านล่างด้วยการท้าชิงจากสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา ทุนต่างชาติจะมาลงทุนบินในไทย 8 สายการบิน แยกเป็นกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ 2 สาย คือ ไทเกอร์แอร์เวย์ส และเจ็ตสตาร์ กลุ่มทุนอินเดีย 2 สายคือ เจ็ตเอเชีย และแอร์ซาฮาร่า สายการบินคาร์โก้ จากกลุ่มทุนฟิลิปปินส์ 2 สาย คือ แปซิฟิกอีสต์เอเชีย คาร์โก้ และเอเชียโอเวอร์ไนต์เอ็กซ์เพรส สายการบินขนส่งผู้โดยสารและคาร์โก้ 2 สาย จากกลุ่มทุนสาธารณรัฐประชาชนจีน 1 สาย คือ เสิ่นเจิ้นแอร์ไลน์ และกลุ่มทุนบังกลาเทศ 1 สาย คือ จีเอ็มจี

“สายการบินต่อไปเป็นเกมของนักลงทุนที่มีเงินมาก อยากทำธุรกิจนี้ ซื้อเครื่องบินมา แต่ไปรอดหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง บางกอกแอร์เวย์สพัฒนาธุรกิจนี้มานาน ถึงเวลาต้องขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ ในภาวะการแข่งขันรุนแรง” ผู้อำนวยการใหญ่ บางกอกแอร์เวย์ส เล่าถึงการมุ่งไปหาธุรกิจอื่น ในขณะที่เบอร์ 1 ยังไม่มีนโยบาย Extend แบรนด์ นอกจากการขยายเส้นทางการบินระหว่างประเทศใหม่ๆ รวมถึงให้บริการ “บ้านลอยฟ้า” อย่างประทับใจในชั้นธุรกิจและชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนเครื่อง เพื่อเดินทางไปทั่วโลก ต้องการความสะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน

ส่วนยุทธศาสตร์ใหม่ของสายการบินพระรอง จะขยายการลงทุนสร้างเครือข่ายโรงแรม บูติก 4-5 แห่ง ณ เมืองท่องเที่ยว ที่เส้นทางบินของบางกอกแอร์เวย์สบินตรงถึงวันละ 7 เที่ยวต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ตัวโรงแรมย่อมจะเจาะกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวในตลาด Niche สอดคล้องกับ Destination ที่มีความ Unique นอกจากนี้บริษัทยังเน้นให้ความสำคัญในการหารายได้ 4 กลุ่มหลัก คือ

1.ค้นหาเส้นทางการบินใหม่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในการท่องเที่ยว เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้เปิดเส้นทางกรุงเทพฯ-เสิ่นเจิ้น ส่วนปลายเดือนตุลาคมเปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ-มัลดีฟส์ ซึ่งเกาะสวรรค์แห่งนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นใช้บริการ 50% ส่วนเกาหลี 20%

2.เพิ่มจำนวนฝูงบิน มีแผนนำเข้าเครื่องแอร์บัส 320 ขนาด 162 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ ในปลายปีนี้ ส่วนปี 2548 จะนำเข้าเครื่องบินโบอิ้ง 1 ลำ และแอร์บัส 1 ลำ รวมเบ็ดเสร็จบริษัทมีเครื่องบินให้บริการทั้งสิ้น 17 ลำ

3.การบริหารสนามบิน ด้วยฝีมือการบริหารสนามบินตนเอง จึงได้รับมอบหมายบริหารสนามบินในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย ภายใน 2 ปี เริ่มจากเมืองมะริด ประเทศพม่า ต่อด้วยเกาะกง กัมพูชา อีกประเทศหนึ่งเป็นจีน ส่วนที่ดำเนินการบริหารงานไปแล้วคือสนามบินอู่ตะเภา คู่กับการทำธุรกิจร้านค้าปลอดอากร 3 ปี

4.การบริการในสนามบิน เริ่มที่สนามบินสุวรรณภูมิ บริษัทได้สิทธิ์ทำโครงการหลัก 3 ประเภทคือ ครัวการบิน คลังขนส่งสินค้า และเคาน์เตอร์เช็คอินผู้โดยสาร ทั้งนี้ประมาณการว่าจะได้รับสัมปทานดังกล่าว 20 ปี โดยคาดว่าระยะสั้นจะขาดทุน 2 ปี ส่วนช่วงที่เหลือ 18 ปีจึงจะสร้างกำไร

นี่คือ Advantage ก้าวต่อไปของสายการบินหมายเลข 2 ของไทย บางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งในปีหน้ามีเงินจะใช้ลงทุนอยู่แล้วประมาณ 2,500 ล้านบาท จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตบางกอกแอร์เวย์ส จะต้องเข้าเป็นสมาชิกในตลาดหลักทรัพย์แน่นอน เพราะเป็นธุรกิจระดับนานาชาติ

Resource:
//www.brandage.com/issue/cs_detail.asp?id=1298
โดย: บางกอกแอร์เวย์ส The Exotic Destination Advantage ถ้ากลยุทธ์ The Underdog Advantage เป็นเนื้อหา.. (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:15:23:04 น.
  
กลยุทธ์ เอ็มเปย์ ฉบับ Underdog Advantage


โดย Business Thai [22-8-2006]

บริการรับชำระค่าสินค้า-บริการเฟื่อง ยอดค่าธรรมเนียมเพิ่ม 5,000-7,000 ล้านบาทต่อปี ส่งผลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ขอชิงส่วนแบ่งการตลาด เปิดบริการเพิ่มรายได้ โทรศัพท์มือถือร่วมแข่ง สื่อออนไลน์อินเทอร์เน็ต จุดขายลดภาระใบเสร็จ แบบกระดาษขายความสะดวก ประหยัดเวลา ทันสมัย

การจ่ายค่าบริการสาธารณูปโภคทุกรูปแบบกำลังเปลี่ยนไปจากที่เคยพัฒนาไปสู่ตู้เอทีเอ็ม กับการหักยอดจากบัญชีธนาคารที่มีค่าธรรมเนียมหมุนเวียน เดือนหนึ่งๆ สูงกว่า450-600 ล้านบาท หรือปีละ 5,000-7,000 ล้านบาทที่มีใบเสร็จใบแจ้งหนี้สูงถึง 30-40 ล้านใบต่อเดือน หรือปีละ360-480 ล้านใบ เริ่มหันมาสู่รูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น และมีแนวโน้มอัตราการเติบโต แบบก้าวกระโดดอย่างน่าสนใจ...โดยมีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดคือ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ของกลุ่มทรู ที่ครองส่วนแบ่งอยู่ประมาณ 80% ส่วนรายที่ 2 และ 3 รวมกันสัดส่วนไม่ถึง 20%
เอ็กซเรย์......!!!อุตสาหกรรมเปย์เมนต์ทั้งนี้

จากการจำนแนกจำนวนบิลตามกลุ่มสินค้า และบริการผ่านระบบเปย์เมนต์หลักๆมีอยู่ 4 ประเภท
ประกอบด้วย

1.ค่าสาธารณูปโภครายเดือน อาทิ ค่านํ้าค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่และค่าโทรศัพท์ทางไกล รวมกันเฉลี่ยประมาณ10 ล้านบิล 2.ค่าชำระบัตรเครดิต ของธนาคารต่างๆ รวมกันเฉลี่ย 10 ล้านบิล 3.ค่าชำระสินค้าเงินผ่อน อาทิ อิออนเฟิร์สซ้อย ฯลฯ ทั้งแบบ 6 เดือน 8 เดือนหรือ 12 เดือน เฉลี่ยรวมกันมากกว่า 10-15 ล้านบิลและถือเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 4.ค่าประกันชีวิตและประกันภัย สองหมวดทั้งแบบรายปี และรายเดือน คือสัดส่วนตลาดบิลล์ที่เหลือดังนั้น จะเห็นว่า อุตสาหกรรมบิลที่แม้จะเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการเพียง 10-15 บาทต่อ ใบ แต่ก็ได้สร้างรายได้ให้กับผู้เล่นในตลาดได้จำนวนไม่น้อยเลย ขณะที่เม็ดเงินหมุนเวียนหรือค่าชำระสินค้าปีละไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท!!! โดยจุดที่รับชำระในอดีตมีเพียง 3 จุด คือ
1.ชำระตามจุดบริการ อาทิ ธนาคารเคาน์เตอร์เซอร์วิส ฯลฯ

2.การหัก จากบัญชีธนาคารโดยตรงหรือบัญชีบัตรเครดิต

3.ชำระผ่านตู้เอทีเอ็ม

แต่ขณะนี้ มีบริการใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งจุดคือบริการรับชำระค่าสินค้า ผ่านระบบโมบายเปย์เมนต์ หรือผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือซึ่งมีผู้ให้บริการ 2 รายคือ เอ็มเปย์ สำหรับลูกค้าเอไอเอส ที่มี อยู่ 17 ล้านราย และทรูมันนี่ สำหรับลูกค้าทรูในอนาคตเชื่อว่า จะเป็นบริการที่จะเข้ามาพลิกอุตสาหกรรมบิลล์จากเดิม สู่การชำระผ่านมือถือมากขึ้นแน่นอน!!! (อ่านกรณีศึกษาญี่ปุ่นประกอบ) ด้วย ข้อได้เปรียบในเรื่องความสะดวกและประหยัดหลายอย่าง

เคาน์เตอร์เซอร์วิส“ต้นกล้า”ธุรกิจเก็บเศษเงิน

คำพังเพยไทยๆ “เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” ดูจะเป็นคำเปรียบเปรยที่เหมาะสมที่สุด สำหรับ“ธุรกิจเก็บเศษเงิน” จากลูกค้า ที่เข้ามาชำระค่าสินค้าหรือบริการ ที่เมื่อก่อนเป็นแค่เพียง“หน่อบริการ” หน่วยหนึ่งของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ที่รู้จักกันดีชื่อในชื่อ “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” เพื่อเสริมงานบริการภายในร้านให้ครบวงจรมากที่สุดเท่านั้นหากแต่วันนี้หน่อบริการเล็กๆ ดังกล่าวกลับกลายเป็น “ ต้นกล้า” ทางธุรกิจที่เบ่งบานออกดอกผล จากยอดชำระเพียงเดือนละ 3,500 บิล ในปี 2537 ที่ให้บริการเป็นครั้งแรก พุ่งทะยานถึง 8.8 ล้านบิลต่อเดือน ในปัจจุบันจากสถิติการเก็บรวบรวม ข้อมูลสภาพตลาดรวมธุรกิจรับชำระค่าสินค้าและบริการของเมืองไทย ของบริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิสจำกัด ระบุว่า มีอัตราเติบโตโดยรวม 20-30% มีจำนวนบิลต่อเดือนประมาณ 150 ล้านบิลต่อ เดือน และมีเงินจากค่าบริการของการชำระสินค้าประมาณ 1 พันล้านบาทต่อเดือน ซึ่งมากกว่าตัวเลขที่ เอมเปย์ ประเมิน

แรงปะทะ!! จากยุคโมบายล์โฟน

แต่ผลจากการเติบโตของตลาดเฉลี่ยปีละ 20-30% ได้ทำให้บริษัทยักษ์หลายแห่งต่าง“กระโจน” เข้ามาสู่ธุรกิจแห่งนี้ เพราะทนความ “เย้ายวน” ของผลตอบแทนที่นับวันจะ “พอกพูน” มูลค่า มากขึ้นทุกทีปัจจุบันตลาดธุรกิจรับชำระค่าบริการในเมืองไทย นอกเหนือจากเจ้าตลาดอย่างแบรนด์เคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ครองส่วนแบ่ง71%ส่วนที่เหลือจะเป็นแบรนด์ของ เพย์แอทโพส ของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด, เพย์โพสของบริษัทเบญจจินดา จำกัด และธนาคารต่างๆทว่า กลุ่มที่น่าสนใจมากกว่านั้น ก็คือผู้เล่นรายใหม่ในกลุ่มโทรคมนาคม ที่ให้บริการผ่านโมบายล์เปเมนต์ อาทิ ทรู มันนี ของกลุ่มทรู, เพลย์ สเตชัน และเอ็มเปย์ ของค่ายเอไอเอส, เอ็มโพสต์ ของกสท., โฟน เพย์เมนต์ของบริษัทอาร์.เอ็น.ที กรุ๊ป จำกัดผู้ท้าชิงรายใหม่ ได้ใช้ความเหนือชั้นของเทคโนโลยี ผ่าน “มือถือ” ที่ในวันนี้ มือถือไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือ “การโทรเข้าออก” อีกต่อไป แต่เปรียบเสมือนปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิตคนรุ่นใหม่ ที่รวมเอาไลฟต์สไตล์ความบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง, ฟังเพลง, แชตเน็ต,ถ่ายรูปแน่นอนว่า จุดขาย ที่ผู้เล่นใหม่เหล่านี้ชูขึ้นก็คือ เทคโนโลยี การบริการที่รวดเร็วสะดวกสบาย เพียงใช้แค่ “ปลายนิ้วสัมผัส”การชำระค่าบริการต่างๆ ก็จะจบสิ้นลงไป ไม่ว่าตัวผู้ใช้จะอยู่ที่ใด โดยไม่ต้องไปชำระ ณ จุดบริการอีกต่อไปค่ายยักษ์สื่อสารเหล่านี้ ต่างเชื่อลึกๆ ว่าด้วยพฤติกรรมของคนที่เสพมือถือจนกลายเป็นปัจจัยที่ 5 จะทำให้ “โมบายล์โฟน” เป็น ช่องทางใหม่ของธุรกิจรับชำระค่าสินค้าและบริการ ที่จะเข้ามาแทนที่ ระบบการชำระณ จุดขาย แบบเดิม ในอนาคตอันใกล้!!!แม้วันนี้จะเป็นรองอยู่หลายขุมแต่ก็มีข้อได้เปรียบอยู่หลายอย่าง
เปิดกลยุทธ์แข่งรายใหม่

นายคมสัน บุพนิมิตร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทแอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด บริษัทลูกของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)หรือเอไอเอส กล่าวว่า บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อทำธุรกิจให้ บริการรับชำระเงินค่าสินค้า และบริการเติมเงินบัตรวัน-ทู-คอลในอนาคตธุรกรรม ที่ทำผ่านระบบเอ็มเปย์จะไม่ได้แตกต่างไปจากบริการเปย์เมนต์ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสเจ้าตลาดให้บริการอยู่ขณะนี้ อาทิ ชำระค่าใช้สาธารณูปโภค อย่างนํ้า ไฟฟ้า โทรศัพท์ บัตรเครดิต ฯลฯโดยเขามองว่า Mobile Payment ไม่ได้เป็นแค่ Counter Service เท่านั้น แต่เป็นมากกว่าและเชื่อว่าในอนาคจะมีผู้หัน มาใช้บริการมากขึ้น เพราะในขณะนี้อุตสาหกรรมบิล ยังมีภาวการณ์เติบโตที่สูงมาก และลูกค้าเองก็ต้องการวิธีการ หรือจุดชำระที่จะต้องไปชำระบิลต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งอีกช่องทางหนึ่งที่ลูกค้า สามารถเลือกชำระได้ คือ การหักผ่านบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิต หรือไปที่ตู้เอทีเอ็มซึ่งในบางครั้งก็มีข้อจำกัดบ้างส่วนทางเลือกล่าสุดก็คือ Mobile Payment!!! ทั้งนี้ ระบบของ mPAY มีจุดเด่นที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องกดจำนวนเงิน ลูกค้าก็สามารถกดยืนยันการจ่ายได้เลยทันที จุดเด่นของบริการเอ็มเปย์ คือ มีการส่ง sms มาให้ลูกค้าทราบก่อน และเตือนอีกครั้งในวันสุดท้าย (Due Date) เวลากดจ่ายก็ไม่ต้อกดจำนวนเงิน โดยมีระบความปลอดภัยด้วยการให้ลูกค้ากด PIN ของตัวเองก่อนจ่ายทุกครั้งนอกจากนี้ ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง ต่อแถว ณ Counter Service ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายด้วย ระบบมีการเตือนทั้งเริ่มต้น และวันสุดท้ายอีกครั้งนายคมสันตั้งข้อสังเกตว่า เนื่องจากเป็นนวัตกรรมใหม่ ลูกค้ายังต้องการการเรียนรู้ ดังนั้น บริษัทจึงเลือก Target ที่ชอบเรื่องเทคโนโลยี โดยเลือกจากลูกค้าเอไอเอสที่ชอบช้บริการเสริม จากนั้นทำการติดต่อและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการเอ็มเปย์ให้ลูกค้า และชักจูงลูกค้าให้ ทดลองใช้ ซึ่งเมื่อลูดค้าใช้แล้วจะรู้ได้เลยว่ามีความแม่นยำ สะดวก และปลอดภัย“วิธีการจูงใจก็มีทั้งการยกเว้น ค่า ธรรมเนียมไม่เสียค่า sms และให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าอย่างเช่น หากลูกค้าเติม เงินในเอไอเอสวัน-ทู-คอล! 300 บาท จะได้รับทันที50 บาท (โปรโมชันปัจจุบัน) และหากจ่ายด้วยเอ็มเปย์ก็จะได้รับเพิ่มอีก 10% รวมเป็นลูกค้าจะได้รับเงินค่าโทร 380 บาท”ถึงวันนี้เอ็มเปย์มี ลูกค้าทั้งสิ้น 1 ล้านราย จากทรานแซกชันที่เข้ามา 3 ล้านรายและในอนาคตเชื่อว่าจะเติบโต และคาดว่าลูกค้าเอไอเอส 10% จะหันมาใช้บริการนี้!!!ข ณ ะ ที่ น า ย อ ติ รุฒ โตทวี แ ส น สุ ข กรรมการผู้จัดการบริษัททรู มันนี่ จำกัดบริษัทลูกของทรู คอร์ปอเรชันกล่าวว่า จากการเปิดบริการอย่างเป็นทางการมาเมื่อ3 เดือนที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาในระบบแล้วกว่า 2.5 แสนราย และsลาย ปีจะเพิ่มเป็น 5 แสนราย โดยเตรียมจับมือกับวีซ่า เพื่อให้จุดบริการและรับบัตรทรูมันนี่มีจำนวนมากขึ้น
ปรับตัวสู้....ช่องทางเดิมยังมีอนาคต

“ผมมองเห็นการเกิดขึ้นของบริการรับชำระค่าบริการในรูปของโมบายล์โฟนเกิดขึ้นมาได้แล้วประมาณ 1 ปีที่ผ่านมาได้แล้วนะไม่ว่าจะเป็นเอ็มเปย์ หรือโฟน เพย์เมนต์พวกเราต่างติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพยายามตรวจสอบว่า การเกิดขึ้นมาของพวกเขาจะมีผลกระทบอะไรต่อเราบ้างหรือไม่ แต่หลังจาก 1 ปีผ่านไปจนกระทั่งถึงทุกวัน ผมพบว่า ยอดใช้บริการของเรา กลับเติบโตต่อเนื่อง 20-30% มิหนำซํ้ายอดชำระต่อบิลต่อเดือนของเรายังพุ่งทะลุเป้า ปีที่ผ่านมาตั้งเป้า 7.7 ล้านบิลเราทำได้ 8.1 ล้านบิล ปีนี้เราเชื่อว่าจะได้มากว่า 8.8 ล้านบิลแน่นอน” นายภู เมธมนูพิบูลย์ ผู้จัดการทั่วไป สำนักปฏิบัติการสำนักการตลาดและพัฒนาธุรกิจเคาน์เตอร์เซอร์วิส กล่าวกับ “บิสิเนสไทย” อย่างมั่นใจยังซับซ้อนอยู่ ดังนั้นช่วงนี้จึงไม่ใช่จังหวะและเวลาที่ดี อีก ประการหนึ่งเราไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทมือถือ จึงต้องหาพันธมิตรจากค่ายมือถือมาศึกษาร่วมกัน”เขายอมรับว่า มีแผนที่จะผนึกกับทรูเพื่อเปิดให้บริการช่องทางสำหรับมือถือหากแต่ทรูกลับลง มือทำเองก่อน โดยอ้างถึงสถานการณ์แข่งขันที่รุนแรงของตลาดโทรคมนาคม อย่างไรก็ดี ภูเมธบอกว่าในปีหนาคงจะเห็นภาพตรงนี้ชัดเจนขึ้นว่าเคานเตอร์เซอร์วิสจะเลือกใคร เพราะเขาเชื่อว่า ด้วยมูลค่าการเติบโตของยอดรับชำระบริการที่สูงถึง 8.8 ล้านบิลต่อเดือน โดยมีสินค้าและบริการเข้ามาร่วมด้วยกว่า 100 บริษัทน่าจะทำให้เคาน์เตอร์เซอร์วิส ยังมีศักยภาพที่พอจะทำให้ใครต่อ ใครสนใจอยากจะเข้ามาร่วมงานด้วยกระนั้นในด้านช่องทางใหม่ ที่จะเปิดเพิ่มขึ้นเป็นทางเลือกใหม่ๆ นั้น แม่ทัพเคาน์เตอร์เซอร์วิส เปิดเผยว่า ในสิ้นปีนี้จะเปดิ บริการรับชำระคาบริการผานอิน เทอร์ น็ตโดยลงทุนค่าซอฟต์แวร์ไปประมาณ5ล้านบาท“จากการจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยแล้ว แม้จะยังมีจำนวนไม่มาก แต่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ เนื่องจากมีอัตราเติบปีหนึ่ง ประมาณ 20-30% ประกอบกับด้วยเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ราคาเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ถูกลง เราเลยเตรียมการที่จะเป็นผู้เปิดตลาดในช่องทางดังกล่าวนี้เป็นเจ้าแรก” สยายปีกต่างประเทศปัจจุบันเคาน์เตอร์เซอร์วิส มีจำนวนทั้งสิ้น 4,800 สาขา ในเซเว่น 3,000 สาขาสาขานอกร้านเซเว่น 1,800 สาขา คาดว่าสิ้นปี จะขยายครบ 5,000 สาขาในปีนี้และมีแผนที่จะ ขยายให้ครบ 8,000 สาขาภายในอีก 5 ปีในปีที่ผ่านมาเคาน์เตอร์เซอร์วิสมีรายได้กว่า 810 ล้านบาท จากผู้มาใช้บริการจำนวน8.1 ล้านบิล ครองอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 71% รองลงมาคือ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) และปีนี้คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก 20% ทั้งนี้กลุ่มธุรกิจที่ลูกค้านิยมมาชำระค่าบริการนั้นมีอยูด่ ว้ ยกัน3กลุม่ ใหญ่คือกลุม่ สาธารณูปโภคกลุ่มบัตรเครดิต และกลุ่มเช่าซื้อสินค้า โดยอัตราการให้บริการนั้น จะอยู่ที่ 10- 30 บาทแล้วแต่ละรายการเคาน์เตอร์เซอร์วิส พยายามเปิดบริการ ใหม่ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเป็นจุดชำระเงินค่าเทอมให้กับสถาบันการศึกษา,การบริจาคเงินให้มูลนิธิ และล่าสุดบริษัทวางแผนที่จะขยายบริการในรูปของการชำระค่าไฟฟ้าที่เกินดิววันครบชำระ ให้สามารถมาชำระไดท้ ี่เคาร์ตอรเซอรวิสทุกสาขาคาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ภายในเดือนกันยายนนี้จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นในประเทศ ได้ทำให้ทีมบริหารเคาน์เตอร์เซอร์วิส เริ่มมองหาความ ท้าทายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นั่นคือ การสยายปีกไปต่างประเทศ“กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทในต่างประเทศ เงื่อนไขข้อตกลง บริการอะไรพันธมิตรเอเชียและอเมริกา การที่จะไปตรงนั้นไปได้ หลายอย่างไปทั้งลักษณะรับชำระค่าบริการแบบเคาน์เตอร์เซอร์วิสไปเลย หรือไปลักษณะเข้าไปเสริมจุดแข็งให้กันและกัน เชื่อมกันได้หรือไม่ อีกหลายอย่าง ยังไม่สรุปเซ็นสัญญากัน 100% ปีนี้ จะได้เห็นการจับมือกับพันธมิตรต่างประเทศแน่นอน อาจจะเป็นโมเดลการให้บริการแบบนี้ หรือให้บริการใหม่ มากหรือน้อยนั้นอีกเรื่อง เนื่องจากเราต้องการขยับขยายสู่การสร้างความสะดวก ใหม่เพิ่มขึ้น อะไรที่สามารถสร้างความสะดวกให้กับลูกค้าเราได้จะมากน้อยก็จะพิจารณา ถ้ามากก็มาเร็ว ตามลำดับความสำคัญ” ภูเมธแย้มทิ้งท้าถ้าอย่างนั้น เกิดอะไรขึ้นกับโมบายล์เปย์ เมนต์พวกนี้ !อะไรคือสาเหตุที่ยังทำให้คนไทยนิยมชำระค่าสินค้าและบริการในช่องทางเดิมอยู่?ภูเมธยอมรับว่า การชำระค่าสินค้าและบริการในรูปของโมบายล์เปย์เม้นต์เป็นเทรนด์ใหม่ ที่กำลังได้ รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นแต่ทว่า หากดูถึงยอดชำระในแต่ละเดือนแล้วยังมีจำนวนน้อยอยู่มาก และคนส่วนใหญ่ในประเทศก็ยังนิยมที่จะชำระค่าบริการในรูปแบบเดิมๆ อยู่รวมทั้งประเทศอื่นๆ ทั่วโลก“พฤติกรรมของคนไทยนั้น ยังนิยมใบเสร็จที่เป็นลายลักษณ์อักษร มากกว่าที่จะใช้ระบบออนไลน์ เพราะตรวจสอบยาก และยังเป็นเรื่องใหม่ ที่ผ่านมาแนวคิดดังกล่าวนี้ได้เคยมีหลายค่าย พยายามที่จะทำ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก อย่างไรก็อาจจะมีผู้คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะวัยรุ่น หรือคนรุ่นใหม่ นิยมใช้บริการนี้ แต่ก็ยังกระจุกตัวในวงแคบๆ ดังนั้นธุรกิจรับชำระค่า บริการณ จุดขายในเมืองไทยยังไปได้ดีอยู่ เชื่อผมเถอะ” ผู้บริหารคนหนึ่งของเพย์พอยต์กล่าวเสริม
“บลั๊ฟกลับ”ปัญหาโมบายล์เปย์เม้นต์อื้อ

ผู้จัดการทั่วไป เคาน์เตอร์เซอร์วิส สรุปว่า ปัญหาของการชำระสินค้าและบริการผ่านโมบายเปย์เม้นต์ที่ยังไม่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง มีอยู่ทั้งหมด 2 ประการคือ 1.ปัญหาจากสัญญานการให้บริการทุกวันนี้ แม้แต่การโทรติดต่อกันในลักษณะปกติ สัญญานก็ยังไม่สามารถที่จะรับฟังได้ชัดเจน บางครั้งก็ไม่สามารถรับสัญญานได้ หรือบางครั้งก็โทรไม่ติด เนื่องจากการแข่งขันทางโปรโมชันราคาของค่ายมือถือจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีค่ายใดที่จะกล้าเป็นผู้ลงทุนสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อ 2.แม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ หากแต่ขั้นตอนในการดำเนินการยุ่งยากพอสมควรอาทิ เริ่มตั้งแต่การสมัครเป็นสมาชิก ที่ผู้ใช้บริการต้องกรอกเอกสารยินยอม การหักบัญชีออมทรัพย์ ณ สาขาของ ธนาคาร พร้อมระบุเลขหมายโทรศัพท์ จะต้องโทรศัพท์ เข้ามาลงทะเบียนแบบออนไลน์ บางครั้งในการกดข้อมูลในการชำระ อาจจะกดผิดกดถูกต้องระมัดระวัง ถ้าใส่เบอร์ผิดก็กลัวว่าจะจ่ายเงิน ไม่ถูกปลายทาง หรือถ้าหักบัญชี ก็สู้ให้สินค้าหรือบริการนั้นหักบัญชีไปโดยตรงก็อาจจะสะดวกกว่า “แรกๆ คนอาจจะสนใจ เพราะเป็นของใหม่ แต่หลังจากนั้น เมื่อพบว่าขั้นตอนต่างๆยุ่งยาก เทคโนโลยียังซับซ้อน เมื่อเทียบกับการไปชำระสินค้าและบริการ ณ จุดขาย ที่เซเวนอีเลฟเว่น ซึ่งจะจุนของเรามีมากกว่า4,800 สาขาทั่วประเทศ ทั้งในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และนอกร้าน โดยสินปีนี้ คาดว่าจะครบ 5,000 สาขา พอไปถึงก็มีพนักงานบริการให้เสร็จเรียบร้อย และยังมีบิลรับชำระที่ชัดเจน”
เผยไต๋เตรียม Synergy ทรู

อย่างไรก็ตาม ในฐานะเจ้าตลาด และผู้บุกเบิกธุรกิจนี้ ภูเมธ ก็ไม่ได้ประมาทถึงคู่แข่งในกลุ่มของโมบายล์โฟนในวันข้างหน้าอาจจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น หากพวกเขาสามารถแก้ไขจุดบกพร่อง ของตัวเองลงได้“แน่นอน ที่ผ่านมาทีมงานเราได้มีการศึกษาไว้แล้วว่าในอนาคต เราจะรับมือพวกเขาอย่างไร ก่อนหน้านี้เราก็เคยมีความคิดที่จะให้บริการผ่านช่องทางมือถือเหมือนกันแต่ศึกษา อย่างลึกซึ้งแล้ว พบว่า เทคโนโลยียังซับซ้อนอยู่ ดังนั้นช่วงนี้จึงไม่ใช่จังหวะและเวลาที่ดี อีกประการหนึ่งเราไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัทมือถือ จึงต้องหาพันธมิตรจากค่ายมือถือมาศึกษาร่วมกัน” เขายอมรับว่า มีแผนที่จะผนึกกับทรูเพื่อเปิดให้บริการช่องทางสำหรับมือถือหากแต่ทรูกลับลงมือทำเองก่อน โดยอ้างถึงสถานการณ์แข่งขันที่รุนแรงของตลาดโทรคมนาคม อย่างไรก็ดี ภูเมธ บอกว่าในปีหนา คงจะเห็นภาพตรงนี้ชัดเจนขึ้นวา เคานเ ตอร์เซอร์วิสจะเลือกใคร เพราะเขาเชื่อว่า ด้วยมูลค่าการเติบโตของยอดรับชำระบริการที่สูงถึง 8.8 ล้านบิลต่อเดือน โดยมีสินค้าและ บริการเข้ามาร่วมด้วยกว่า 100 บริษัทน่าจะทำให้เคาน์เตอร์เซอร์วิส ยังมีศักยภาพที่พอจะทำให้ใครต่อใครสนใจอยากจะเข้ามาร่วมงานด้วยกระนั้นในด้านช่องทางใหม่ ที่จะเปิดเพิ่มขึ้นเป็นทาง เลือกใหม่ๆ นั้น แม่ทัพเคาน์เตอร์เซอร์วิส เปิดเผยว่า ในสิ้นปีนี้จะเปดิ บริการรับชำระคา บริการผา นอินเทอร์ น็ตโดยลงทุนค่าซอฟต์แวร์ไปประมาณ5ล้านบาท“จากการจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใน เมืองไทยแล้ว แม้จะยังมีจำนวนไม่มาก แต่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ เนื่องจากมีอัตราเติบปีหนึ่งประมาณ 20-30% ประกอบกับด้วยเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ราคาเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ถูกลง เราเลยเตรียมการที่จะเป็นผู้เปิดตลาดในช่องทางดังกล่าวนี้เป็นเจ้าแรก”
สยายปีกต่างประเทศ

ปัจจุบันเคาน์เตอร์เซอร์วิส มีจำนวนทั้งสิ้น 4,800 สาขา ในเซเว่น 3,000 สาขาสาขานอกร้านเซเว่น 1,800 สาขา คาดว่าสิ้นปี จะขยายครบ 5,000 สาขาในปีนี้และมีแผนที่จะขยายให้ครบ 8,000 สาขาภายในอีก 5 ปีในปีที่ผ่านมาเคาน์เตอร์เซอร์วิสมีรายได้กว่า 810 ล้านบาท จากผู้มาใช้บริการจำนวน8.1 ล้านบิล ครองอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 71% รองลงมาคือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) และปีนี้คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก 20% ทั้งนี้กลุ่มธุรกิจที่ลูกค้านิยมมาชำระค่าบริการนั้นมีอยูด่ ว้ ยกัน3กลุม่ ใหญ่คือกลุม่ สาธารณูปโภคกลุ่มบัตรเครดิต และกลุ่มเช่าซื้อสินค้า โดยอัตราการให้บริการนั้น จะอยู่ที่ 10- 30 บาทแล้วแต่ละรายการเคาน์เตอร์เซอร์วิส พยายามเปิดบริการใหม่ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเป็นจุดชำระเงินค่าเทอมให้กับ สถาบันการศึกษา,การบริจาคเงินให้มูลนิธิ และล่าสุดบริษัทวางแผนที่จะขยายบริการในรูปของการชำระค่าไฟฟ้าที่เกินดิววันครบชำระให้สามารถมาชำระไดท้ ี่เคาน์ตอรเซอรวิสทุกสาขาคาดวาจะเห็น เป็นรูปธรรมได้ภายในเดือนกันยายนนี้จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นในประเทศ ได้ทำให้ทีมบริหารเคาน์เตอร์เซอร์วิส เริ่มมองหาความท้าทายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นั่นคือ การสยายปีกไปต่างประเทศ “กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทในต่างประเทศ เงื่อนไขข้อตกลง บริการอะไรพันธมิตรเอเชียและอเมริกา การที่จะไปตรงนั้นไปได้หลายอย่างไปทั้งลักษณะรับชำระค่าบริการแบบเคาน์เตอร์
เซอร์วิสไปเลย หรือไปลักษณะเข้าไปเสริมจุดแข็งให้กันและกัน เชื่อมกันได้หรือไม่ อีกหลายอย่าง ยังไม่สรุปเซ็นสัญญากัน 100% ปีนี้จะได้เห็นการจับมือกับพันธมิตรต่างประเทศ แน่นอน อาจจะเป็นโมเดลการให้บริการแบบนี้ หรือให้บริการใหม่ มากหรือน้อยนั้นอีกเรื่อง เนื่องจากเราต้องการขยับขยายสู่การสร้างความสะดวกใหม่เพิ่มขึ้น อะไรที่สามารถสร้างความสะดวกให้ กับลูกค้าเราได้จะมากน้อยก็จะพิจารณา ถ้ามากก็มาเร็ว ตามลำดับความสำคัญ” ภูเมธแย้มทิ้งท้าย

Resource:กลยุทธ์ เอ็มเปย์ ฉบับ Underdog Advantage
โดย: กลยุทธ์ เอ็มเปย์ ฉบับ Underdog Advantage (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:15:25:15 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด