0012. LATERAL THINKING : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นากยฯ ทักษิณ ชินวัตร






เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ในงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง "วิสัยทัศน์ประเทศไทยในปี 2000" ซึ่งจัดโดย สมาคมพ่อค้าไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวถึง การคิดนอกรอบว่า....

...."วันนี้ ต้องไปในแนวคิดที่เป็นการคิดนอกกรอบเดิม ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Lateral Thinking แบบทฤษฏีของ ดร.โบโน ซึ่งมาพูดเมื่อไม่กี่วันที่เมืองไทย ถ้าเรายังคิดวนอยู่ในกรอบเก่า เราก็จะมีปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ วิธีทำนายอนาคตของคนปัจจุบัน และ คนในอดีต เขาทำนายอนาคตด้วยวิธี Plot Graph เอาสถิติเก่ามาพล็อต ปีนี้เป็นอย่างนี้ ปีหน้าลากเส้นออกมา เพราะฉะนั้นปีหน้าจะเป็นอย่างนั้น อาศัยการลากเส้นนั่น ผิดครับ"




เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2545 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึง หนังสือ Lateral Thinking เขียนโดย เอ็ดวาร์ด เดอ โบโน มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การรู้จักคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกรอบ จนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน



เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2546 การประชุมเชิงปฏิบ้ติการ "การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง" ณ อาคาร คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึง ดร.เดอ โบโน อีกว่า....

...."ดร. เดอ โบโน พูดว่า คิดมิติใหม่ หลุดพ้นจากกรอบเดิมๆ ออกจากวิธีเดิมๆบ้าง แล้วเราจะพบว่า ที่ผ่านมานั้นผิดอย่างไรจะได้แก้ไข นั่นคือ สิ่งที่ผู้นำจะต้องกล้าคิด ท่านสังเกตดูไหมว่า รัฐบาลชุดนี้ คิดไม่เหมือนเดิม ถึงได้ต้องมาเปลี่ยนกันขนาดหนัก ถ้าคิดเหมือนเดิมก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง ทำงานประจำต่อไปไม่ต้องเหนื่อย"











Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 8:33:15 น.
Counter : 4133 Pageviews.

8 comments
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
Edward de Bono: Originator of Lateral Thinking

วิลาวรรณ ผคังทิว
Positioning Magazine กันยายน 2547

“You can analyse the past but you have to design the future.”

ผู้ริเริ่มแนวคิดและสร้างสรรค์คำว่า Lateral Thinking ที่ถูกใช้กันอย่างติดปากไปแทบทุกวงการ นอกจากนั้น เขาคือผู้คิดค้นทฤษฎี Six Thinking Hats ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในองค์กรขนาดใหญ่ เช่น Siemens, Bosch, British Telecom, Prudential, ABB, 3M, Ericsson, Motorola, Nokia ไปจนถึงในโรงเรียน เช่น Clayfield College ที่บริสเบน และ Low’s School ในสิงคโปร์

ด้วยความรู้พื้นฐานด้านกายวิภาค และแพทยศาสตร์ จึงมีส่วนให้ Edward de Bono มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการทำงานของสมองและระบบประสาท ประกอบกับความรู้ด้านจิตวิทยา จึงเป็นที่มาของการริเริ่มทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการคิด และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ de Bono เขียนหนังสือมาแล้ว 67 เล่ม ถูกแปลออกเป็นภาษาต่างๆ กว่า 38 ภาษา

ทฤษฎีที่เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันในวงกว้าง ได้แก่ CoRT Thinking Lessons ซึ่ง CoRT ย่อมาจาก Cognitive Research Trust ที่ค้นพบตั้งแต่ปี 1969 และมีการทำวิจัยต่อเนื่องในโรงเรียนที่มอลตา จนพัฒนาเป็นหลักสูตรสำหรับใช้ในการเรียนการสอนของโรงเรียน ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ก็เช่นกัน แม้กระทั่ง Prof. David Perkins อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ผู้เขียนหนังสือ Outsmarting the IQ ยังออกปากว่า “ความฉลาดสอนกันได้ด้วย CoRT”

ในปี ค.ศ.1970 de Bono พิมพ์หนังสือ Lateral Thinking ที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อยอดออกไปเป็นหนังสือเล่มอื่นๆ ที่ตามมา อาทิ Practical Thinking (1971), Lateral Thinking for Management (1971) และ Atlas of Management Thinking (1981) แนวคิดสำคัญของ Lateral Thinking ก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์แต่เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคนิคต่างๆ อาทิ การท้าทาย การกระตุ้นหรือยุแหย่ การใช้ Concept fans และ Concept triangles หรือการสุ่มเลือก ซึ่งจะเห็นว่าแม้แต่หนังสือ Lateral marketing ของ Philip Kotler ก็ยังได้อิทธิพลมาจากแนวคิดของ de Bono ด้วย

อีกหนึ่งทฤษฎีสำคัญของ de Bono ก็คือ The Six Thinking Hats? หมวก 6 ใบ ที่จะถูกเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การตั้งเงื่อนไขความคิดตามการเลือกใช้หมวกแต่ละใบในต่างสถานการณ์ ถูกพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพและตัดปัญหาเรื่องอีโก้ของสมาชิกในที่ประชุมได้ นอกจากนั้นเมื่อกำหนดทิศทางการคิดไปตามสีของหมวก เช่น การเลือกหมวกสีขาว ที่ต้องโฟกัสไปยังเรื่องข้อมูลที่จำเป็น หรือหมวกสีเขียว ต้องโฟกัสเรื่องไอเดียแปลกใหม่ ทุกคนจะช่วยกันระดมความคิดเฉพาะทิศทางนั้นๆ ทำให้ระดมความคิดได้เร็วขึ้น และไม่มีการโต้แย้งกัน หรือออกนอกประเด็น

นวัตกรรมทางความคิดอื่นๆ ที่เป็นผลงานของ de Bono มีอีกหลายเรื่อง อาทิ Six Action Shoes, The de Bono Code?, DATT? (Direct Attention Thinking Tools), Flowscapes, Language And Human Evolution

ปัจจุบัน de Bono ในวัย 71 ปี ยังคงทำงานและมีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ ผลิตงานเขียนออกมาอย่างต่อเนื่อง ตลอด 35 ปี เขาเดินทางไปบรรยายตามมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาต่างๆ ทั่วโลก และไม่ลืมกลับไปพัฒนาประเทศบ้านเกิด ล่าสุดร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมอลต้าพัฒนาหลักสูตรปริญญาโท Master of Arts in Creativity and Innovation ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของเขาที่ต้องการสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยคนที่รู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์

The Six Thinking Hats?

- หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและควรรู้
- หมวกสีแดง หมายถึง ความรู้สึก สัญชาตญาณ และลางสังหรณ์
- หมวกสีดำ หมายถึง การตัดสิน หรือความเห็นโต้แย้ง
- หมวกสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความสดใสและการมองโลกในแง่ดี
- หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความเป็นไปได้ต่างๆ ทางเลือก และความคิดใหม่ๆ
- หมวกสีฟ้า หมายถึง การจัดระบบความคิด

ผลงานเขียนของ Edward de Bono

The Five-Day Course in Thinking (1968) (เป็นเล่มที่กล่าวถึง L game)
The Mechanism of the Mind (1969)
Lateral Thinking (1970)
The Dog-Exercising Machine (1970)
Technology Today (1971)
Practical Thinking (1971)
Lateral Thinking for Management (1971)
Po: Beyond Yes and No (1972)
Children Solving Problems (1972)
Eureka! : An Illustrated History of Inventions from the Wheel to the Computer (1974)
Teaching Thinking (1976)
The Greatest Thinkers (1976)
Wordpower (1977)
The Happiness Purpose (1977)
Future Positive (1979)
Atlas of Management Thinking (1981)
De Bono's Course in Thinking (1982)
Tactics : The Art and Science of Success (1985)
Conflicts (1985)
Masterthinker's Handbook (1985)
Six Thinking Hats (1985)
Serious Creativity : Using the Power of Lateral Thinking to Create New Ideas (1992)
I Am Right-You Are Wrong : From This to the New Renaissance: From Rock Logic to Water Logic (1992)
The 5 Day Course in Thinking (1992)
Water Logic (1993)
Parallel Thinking : From Socratic Thinking to de Bono Thinking (1994)
Edward de Bono's Smart Thinking (1994)
De Bono's Thinking Course (1994)
Tactics : The Art and Science of Success (1995)
Sur/Petition : Creating Value Monopolies When Everyone is Merely Competing (1995)
Mind Pack (1995)
Lateral Thinking : Creativity Step by Step (1996)
Edward de Bono's Textbook of Wisdom (1996)
Seis Sombreros para pensar (1996)
Teach Yourself How to Think (1996)
How to be More Interesting (1998)
Simplicity (1999)
Super Mind Pack (2000)
Six Thinking Hats (2000)
The de Bono Code Book (2001)
Teach Your Child How to Think (2003)

Website

//www.edwarddebono.com/Default.php
//www.edwdebono.com/index.html
//www.wordiq.com/definition/Edward_DeBono
//www.sixhats.com/
//www.mindtools.com/pages/article/newTED_07.htm
//home.um.edu.mt/create/
//www.spaceforideas.uk.com/html/reportDeBono.shtml
โดย: Edward de Bono: Originator of Lateral Thinking (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:8:35:45 น.
  
จาก กระดานข่าว ตำรวจภูธรภาค 7
ขอเชิญทุกท่านร่วมตั้งกระทู้เพื่อสอบถาม เสนอแนะ แสดงความคิดเห็น


Edward de Bono นักจิตวิทยาผู้โด่งดัง ใช้เครื่องมือนี้สำหรับฝึกผู้บริหาร ไม่ให้มองอะไรเพียงมุมเดียว ฝรั่งเรียกว่า Square Head

หลักการคือ ในการคิดเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ให้คิดให้ครบทุกแง่มุม โดยมุมสำคัญมี 6 มุม ด้วยการสมมติว่า มีหมวก 6 ใบให้เลือกใส่ คือ สีแดง เขียว เหลือง ขาว ดำ ฟ้า

ถ้าเมื่อไรจินตนาการว่าใส่หมวกสีแดง ให้คิดแบบ .. ใช้หัวใจคิด หรือคิดตามความรู้สึก คิดอะไรก็พูดไปแบบนั้น

ถ้าใส่หมวกสีเขียว ให้คิดแบบ .. มีทางเลือกอื่นไหม มีแนวทางใหม่ๆ แปลกๆ ไหม คิดแบบสร้างสรรค์

ถ้าใส่หมวกสีเหลือง คือ .. ทำแบบนี้ แบบนั้น แล้วได้ประโยชน์อะไร มีข้อดีอะไร มีกำไรไหม คุ้มค่าไหม มองโลกในแง่ดี

ถ้าใส่หมวกสีขาว คือ .. เอาตัวเลขมาดูซิ คุยกันด้วยตัวเลข มีข้อมูลสนับสนุนไหม ไม่ใช้ความรู้สึก ไม่โลภ และไม่กลัวจนเกินไป

ถ้าใส่หมวกสีดำ คือ .. มองโลกในแง่ร้ายบ้าง มีข้อเสียอยู่ตรงไหน มองแบบขวานผ่าซาก

และหมวกสีฟ้า คือ .. การมองแบบองค์รวม แบบสรุปผล กำหนดแนวคิดขั้นต่อไป แบบคุมเกม


หมวกที่ผู้บริหารของไทยไม่ค่อยจะมีคือ หมวกสีขาว ( ข้อมูล ) และหมวกสีฟ้า ( คุมเกม ) ส่วนหมวกที่ใช้กันประจำคือ สีแดง สีเหลือง ส่วนพวกที่ใส่หมวกสีดำจนเคยตัว คือพวกที่ไม่กล้าทำอะไร พวกศิลปินจะชอบใส่หมวกสีแดง พวกนักการตลาด นักประดิษฐ์ จะใส่หมวกสีเขียว และผู้ที่มีวิสัยทัศน์ดี จะใส่หมวกสีเหลือง

นอกจากเรื่องหมวก 6 ใบ แล้ว Bono ยังมีเรื่องรองเท้า 6 สี คือ

รองเท้าสีดำ .. สำหรับสถานการณ์ที่คงเส้นคงวา เป็นกิจจะลักษณะ เป็นทางการ เป็นการเป็นงาน ( formal ) มีความชัดเจนแน่นอน เช่น ทำ ISO

รองเท้าสีขาวหรือรองเท้าผ้าใบเล่นกีฬา .. สำหรับสถานการณ์ที่ยังไม่ชัดเจน ต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ยังไม่มีการตัดสินใจ และพร้อมจะกระโดดถอย

รองเท้าสีน้ำตาล .. คือการทำแบบลองผิดลองถูกไปก่อน การบริหารแบบนี้เรียกว่า การบริหารแบบลูกทุ่ง

รองเท้าสีส้มหรือรองเท้าผจญเพลิง .. เหมาะกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำโดยไม่ต้องคิดมาก กำไร-ขาดทุนหรือเสียหายว่ากันทีหลัง เพราะกำลังจะตายอยู่แล้ว ฟางเส้นเดียวก็ต้องเกาะไว้ก่อน

รองเท้าสีชมพูหรือรองเท้าฟองน้ำ .. ใช้กับสถานการณ์ที่ค่อยๆ ย่องเดินเบาๆ ทำอะไรรุนแรงไม่ได้ ต้องเกรงใจกัน กลัวผิดใจกัน

รองเท้าสีม่วง .. คือรองเท้าเผด็จการ ไม่ต้องฟังเสียงใคร สั่งการเลยทันที แบบนี้ ถ้าดีก็ดีไปเลย ถ้าร้ายก็ดิ่งลงนรกไปเหมือนกัน


อย่างไรก็ตาม Bono กล่าวว่า รองเท้าทั้ง 6 สีนี้ ใส่พร้อมกันได้ หรือจะเปลี่ยนบ่อยๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม อย่าใช้อย่างใดอย่างหนึ่งนานเกินไป แต่ถ้าไม่ใส่รองเท้าซะเลย ก็จะกลายเป็นพวกเพ้อเจ้อ เพ้อฝันไป

TIP ..

Words & Ideas can change the world.

ถ้อยคำและความคิด เปลี่ยนแปลงโลกได้.

Resource:
จาก กระดานข่าว ตำรวจภูธรภาค 7
โดย: เรื่อง .. Lateral Thinking (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:8:38:19 น.
  
วันอังคารที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗
พบกันทุกวันอังคาร

สัปดาห์นี้คงต้องให้เนื้อที่กับการประชุมปฏิรูปการศึกษายุคใหม่ หรือที่ฯพณฯนายกรัฐมนตรีพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้ให้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Beyond Educational Reform เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคมที่ผ่านมา พวกเราได้มีโอกาสรับฟังวิสัยทัศน์ของ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านผู้อ่านคงมีโอกาสติดตามทางสื่อมวลชนแล้ว และเร็วๆ นี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จะได้จัดพิมพ์เผยแพร่ ตลอดจนจัดทำซีดีเผยแพร่ต่อไป
ดิฉันจึงขอหยิบยกเฉพาะประเด็นหลักที่เป็นแนวทางพัฒนางานมาขยายผลต่อดังนี้
 เริ่มจากจุดเน้นเรื่องการปฏิรูปที่ใจ ที่จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท่านให้ความสำคัญ โดยแสดงความเห็นว่าที่ผ่านมาเราเน้นเรื่องโครงสร้างและกฎหมายมาก แม้เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็น แต่ไม่เพียงพอ ต้องเน้นที่ใจ ที่จิตวิญญาณ เน้นที่สาระมากกว่าที่รูปแบบ
 สิ่งที่ท่านย้ำว่าเป็นแก่นของการปฏิรูปการศึกษาคือ การพัฒนาให้เด็ก เกิดพัฒนาการทางกาย ทางสมอง และทางจิตที่ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้ และจะต้องช่วยให้นักเรียน เรียนแล้วให้รู้ให้เข้าใจ มิใช่เพียงท่องจำให้ได้คำตอบ ครูต้องไม่ห่วงในเรื่อง “หน้าตา” แต่ต้อง มีเมตตาธรรมเปิดใจกว้างรับฟังเด็ก พร้อมที่จะเรียนรู้กับเด็ก หากเด็กรู้มากกว่า เก่งกว่า ไม่ต้องรู้สึกเสียหน้า แต่ให้เกิดความภาคภูมิใจ
 การศึกษาต้องดูแลให้เด็กทุกคนเข้าถึงโอกาสที่จะพัฒนาทั้งสามด้านโดยไม่มีความเสียเปรียบ ด้วยวิธีการต่างๆ โดยเน้นคำว่า Access for ALL ซึ่งเป็นประเด็นหลักในการประชุมเอดส์โลก แต่ในกรณีนั้นหมายถึงการเข้าถึงยาที่จะช่วยบรรเทาอาการ ส่วนการศึกษาท่านหมายถึง การเข้าถึงโอกาสที่จะได้รับการพัฒนา
 การปรับระบบให้เกิดความยืดหยุ่นคล่องตัว พยายามคิดนอกกรอบ ยึดโอกาสและประโยชน์ที่เด็กจะได้รับมากกว่ารูปแบบและระเบียบต่างๆ
 เอื้ออำนวยให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเรียนอย่างเต็มที่ โดยจัดเงินทุนในระดับการศึกษาพื้นฐานและจัดระบบการกู้ยืม Income Contingency Loan ที่จะเริ่มในระดับอุดมศึกษา โดยให้นักศึกษาทุกคนมีโอกาสกู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน และยังไม่ต้องใช้คืนจนกว่าจะทำงานและ

/มีเงินเดือน....
มีเงินเดือนถึงระดับที่กำหนดไว้ ท่านรัฐมนตรีอดิศัย โพธารามิก ได้อธิบายต่อในช่วงบ่ายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เป็นการกู้เงินที่ผู้เรียนจะหาได้มาในอนาคตมาใช้ และดิฉันเปรียบเทียบเองว่าคงเหมือนกับการกู้เงิน ช.พ.ค. มาใช้ก่อนเสียชีวิต
 ใช้เทคโนโลยีมาเสริมการพัฒนาครู โดยเฉพาะการเผยแพร่ตัวอย่างการเรียนการสอนที่ดี เพราะจะต้องเร่งยกระดับความรู้ความสามารถของครู โดยไม่สามารถรอครูพันธุ์ใหม่
 ทุกองค์กรต้องมีความคล่องตัวที่จะบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักคิด นอกกรอบ รัฐบาลจะกระตุ้นและเสริมการแข่งขันโดยจัดสรรเงินให้นักเรียนเพื่อเลือกสถานศึกษา แทนการจัดสรรให้สถานศึกษา เพื่อเลือกนักเรียน
 ท่านได้เน้นการทำงานแบบ Mass Customization คือการปรับรูปแบบ การทำงานให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม แต่ไม่ใช่จำกัดเฉพาะกลุ่มเล็กๆกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ตามแบบโครงการนำร่องที่เราคุ้นเคยทั่วไป แต่ให้ขยายไปยังกลุ่มที่กว้างขึ้นและเป็นมวลชนให้ได้ เช่นโรงเรียนในฝัน ซึ่งเป็นตัวอย่างของการเริ่มเฉพาะกลุ่ม แต่มากพอ กระจายพอที่จะเป็นฐานในการขยายงานต่อไป
 ในเรื่องการเรียนการสอน ท่านเน้นเรื่องความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยทำงานร่วมกับผู้ชำนาญด้านสมอง ด้านประสาท และให้การคิดแบบ Parallel thinking ไม่ใช่มุ่งแต่ การคิดแบบ Linear thinking อย่างเดียว ท่านได้ขยายความว่า เป็นการจัดการเรียนการสอน ที่ไม่ควรเน้นวิชาเป็นหลัก แต่เน้นประเด็น หัวข้อ ที่จะบูรณาการและเชื่อมโยงไปสู่วิชาต่างๆ
 การปรับห้องสมุดให้มีกิจกรรม มีชีวิตชีวา ส่งเสริมให้มี e-book ให้ค้นคว้ามากมายและยังได้ชื่นชมศูนย์การเรียนชุมชนที่ กศน. ได้มาจัดแสดง
 ท่านนายกฯ ได้เตือนว่า เมื่อก่อนเชื่อว่า Information is power แต่ปัจจุบัน เพียง Data และ Information ยังไม่สามารถนำมาซึ่งอำนาจได้ แต่ต้องนำมากลั่นกรอง สังเคราะห์ ให้เกิดเป็น Knowledge หรือ ความรู้ และสั่งสมจนเกิดเป็น Wisdom หรือ ปรีชาญาณ
เชื่อว่าผู้ที่ได้ฟังหรืออ่าน คงเกิดแนวความคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้มากมาย
ดิฉันขอขยายความเฉพาะเรื่องการคิดนอกกรอบ ซึ่งภาษาอังกฤษ จะใช้คำว่า Thinking outside the box กับการคิดแบบ Paraell thinking (คิดคู่ขนาน) ซึ่งบางครั้งใช้คำว่า Lateral thinking (คิดแบบแตกแขนง)
/การคิดแบบ....

การคิดแบบ “Thinking outside the box” ภาษาไทยใช้คำว่า “คิดนอกกรอบ” นั้น เป็นความพยายามที่จะให้ลองคิดทางเลือกหลายๆ ทางที่แปลก ใหม่ อาจจะดูเสี่ยง และไม่สมเหตุ สมผลบ้าง เพราะพวกเราจะถูกสอนมาจนเคยชิน ให้คิดตามฟอร์ม ยึดเหตุยึดผล ไม่มีอัตราการเสี่ยง จนไม่สามารถคิดอะไรที่แปลกใหม่ได้
ในหนังสือ “Getting the Buggers to Think” เสนอแนะวิธีสอนให้นักเรียนคิดนอกกรอบไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
 ให้ฝึกคิดว่า “ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า......” และให้คิดสถานการณ์ที่แปลกๆ เหนือความคาดหมายเช่น รถสามารถใช้น้ำทะเลแทนน้ำมัน นักเรียนอาจเสนอแนวทางตั้งปั๊มน้ำทะเล หรืออื่นๆ ได้อีกมากมาย ดิฉันเคยเห็นหนังสือวาดภาพ และระบายสีของต่างประเทศที่มีแนวคิดนี้ แทนที่ จะนำเสนอรูปภาพสำเร็จรูปให้เด็กระบายสี เขาจะเขียนเป็นโจทย์ให้นักเรียนต่อเติม หรือ คิดขึ้นมาเอง เช่น ให้ออกแบบบ้านสำหรับคนแคระ ออกแบบแสตมป์วันเด็ก ฯลฯ
 นำเสนอข้อคิดเห็นที่แหวกแนวและพิสดาร ทุกนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่มักจะเกิดจากความคิดที่แหวกแนว และไม่น่าเป็นไปได้ เช่น การไปเดินบนดวงจันทร์ แรกๆ คนฟังแล้วคงคิดว่าเป็นการฝันเฟื่อง เป็นไปไม่ได้ ลองให้นักเรียนหัดคิดทั้งความคิดที่สมเหตุสมผล และแหวกแนวคู่ขนานกัน
 ฝึกให้หาคำตอบและทางเลือกหลาย ๆ ทาง มากกว่ามีคำตอบเดียว
 ฝึกให้ใช้สมองในส่วนที่อาจไม่ได้ใช้มากนัก เช่น ให้ลองใช้วิธีขีดเขียน วาดภาพ การแสดงละครบทบาทสมมุติ แทนการใช้ภาษาในการสื่อสารคำตอบ
 หัดให้ฝันกลางวันบ้าง บ่อยครั้งคำตอบดีๆ ได้มาจากความฝัน เพราะเวลาเราหลับสมองส่วนที่เป็นเหตุและผลไม่ได้ปฏิบัติการเต็มที่ ปลดปล่อยจิตใต้สำนึกได้มีบทบาทมากขึ้น แม้เราจะไม่สามารถให้เด็กฝันได้ที่โรงเรียน แต่อาจเปิดโอกาสให้ได้ฝันกลางวันด้วยการให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ติดอยู่ในกรอบบ้าง
 ยอมให้มีการเสี่ยงและการผิดพลาดได้บ้าง เพราะเราสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาด ความคิดที่สร้างสรรค์มักจะเกิดจากปัญหามากกว่าความสำเร็จ จึงควรสร้างบรรยากาศที่ผู้เรียนจะรู้สึกสบายใจ ไม่ต้องกลัวผิด ไม่ต้องกลัวเพี้ยน


/นำสิ่ง....
 นำสิ่งที่เหนือความคาดหมายเข้ามาสู่การเรียนการสอนบ้าง นักเรียนแต่ละคนมาโรงเรียนคาดจะว่าจะพบเห็นสิ่งเดิมๆ ถ้าเกิดได้เห็นสิ่งที่ไม่คาดฝัน อาจกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องง่ายๆ เช่น การจัดโต๊ะเก้าอี้ใหม่ หรือมีอุปกรณ์ใหม่ หรือ เริ่มจากเพลง (ในการประชุมปฏิรูปการศึกษายุคใหม่ อาจารย์ทองดี แย้มสรวล ครูแห่งชาติได้เล่าเรื่องการสอนฟิสิกส์โดยเริ่มการนำเข้าบทเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เริ่มจากการเล่น จานร่อน หรือการนำภาพยนตร์ เรื่องคนเหล็กซึ่งเป็นเรื่องหุ่นยนต์ที่ถูกทำลายแต่สามารถกลับคืน สู่สภาพเดิมได้มาฉายให้ดูก่อนสอนเรื่องวัสดุศาสตร์)
สำหรับการคิดแบบ Lateral Thinking หรือการคิดแบบแตกแขนง เป็นการคิดนอกกรอบ ที่นำเสนอโดย Edward de Bono เช่นเดียวกัน เป็นความพยายามที่คิดด้วยวิธีการที่ต่างไปจาก Linear Thinking หรือ การคิดแบบตรรก ด้วยเหตุด้วยผล เป็นขั้นตอน เป็นระบบ จากลำดับที่หนึ่ง ต้องไปสู่ลำดับที่สองเท่านั้น จนในที่สุดถึงทางตันที่ไปไหนต่อไม่ได้ แต่ถ้าลองเปิดใจให้กว้าง มองสถานการณ์จากมุมมองที่ต่างไป เราอาจเห็นทางเลือกที่ไม่ได้คิดมาก่อน
แท้จริงแล้วนักเรียนของเราจำนวนไม่น้อย มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถคิดอะไรในแนวทางที่เป็น Lateral Thinking ยกตัวอย่างจากการประกวด Talk Show ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมเยาวชนในงานประชุมนานาชาติเรื่อง AIDS นักเรียนที่มาประกวดมีความสามารถในการนำเสนอ เรื่อง AIDS ที่เปี่ยมด้วยอารมณ์ขัน และความคิดที่หักมุม ต่างไปจากการประกวดสุนทรพจน์ ซึ่งจะเน้นการนำเสนอที่เป็นทางการ ถ้อยคำที่สละสลวย แทบจะเป็นรูปแบบเดียวกัน ปฏิกิริยาจากผู้ฟัง Talk Show จะต่างจากการฟังสุนทรพจน์มาก
สำหรับการสอนให้นักเรียนได้พัฒนาจากการหา Data ไปสู่ Information และ Knowledge โดยในการประชุมปฏิรูปการศึกษายุคใหม่ โรงเรียนดรุณสิกขาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนที่คุณพารณ อิศรเสนา ได้สนับสนุนให้สอนตามแนว Constructivism ได้มานำเสนอตัวอย่างการเรียนรู้ เรื่องการแบ่งเซลล์ โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ – ๔ ที่เริ่มจากการค้นคว้า หาข้อมูล แล้วนำมาวางแผนที่จะนำเสนอ จากนั้น จึงปั้นด้วยดินน้ำมัน พร้อมเขียนคำบรรยาย แล้วถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล และตัดต่อ จนนำเสนอเป็นเรื่องทางคอมพิวเตอร์ หรือ โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี ได้นำเสนอการสอน เรื่อง เบญจศีล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่เริ่มจากการให้นักเรียน หาข่าวเชิงลบ Data จากนั้นให้วิเคราะห์ว่าข่าวนั้นเกิดจากการ ผิดศีลข้อใด (Information) และนำไปเปรียบเทียบกับข้อวิเคราะห์ของพระสงฆ์ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การเสนอแนะแนวทางแก้ไข

/คงยังมีอีก....
คงยังมีอีกหลายเรื่องที่จะพูดคุยต่อเนื่องจากปาฐกถาพิเศษของท่านนายกรัฐมนตรี แต่สำหรับวันนี้ได้ใช้เวลาไปพอสมควรแล้ว
เรื่องต่อไปที่ขอแจ้งให้ทราบคงจะเป็นกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับครอบครัวที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามไปเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ขณะนี้ ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่จะมีผลใช้บังคับในไม่ช้า ผู้สนใจดูสรุปสาระสำคัญ ที่ //www.ed.law.net
งานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยสถาบันบ้านเรียนไทยพบว่า มี ๕๗ ครอบครัวจัดการเรียนการสอนอยู่ มีเด็ก ๗๖ คน หากสนใจในรายละเอียดอาจศึกษาแนวทางการจัดได้จากรายงาน การวิจัย เรื่องสภาพการณ์และฐานข้อมูลการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในสังคมไทย ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาควรศึกษาหน้าที่ที่จะทำความเข้าใจ ในกฎกระทรวง และให้คำแนะนำ ความสนับสนุน
เท่าที่ทราบ ครอบครัวที่เลือกจัดการศึกษาโดยครอบครัวจะมีเหตุผลใน ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน กล่าวคือ
 ครอบครัวมีแนวคิดที่ชัดเจนในการจัดการศึกษาสำหรับลูก และอาจไม่เห็นด้วย ไม่พอใจกับหลักการแนวคิดในการจัดการศึกษาที่มีอยู่ หรือ
 ลูกไม่ชอบโรงเรียน มีปัญหากับโรงเรียน หรือ
 ลูกมีคุณลักษณะเฉพาะ เช่น เป็นเด็กอัจฉริยะ เด็กพิการ

ในกรณีแรกรัฐบาลควรสนับสนุนให้สามารถจัดได้ โดยสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ควรสนับสนุนให้นักเรียนได้มาเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ มาจัดกิจกรรม หรือใช้ทรัพยากรร่วมกัน สำหรับเด็กสองกลุ่มหลัง ควรแนะนำในการหาโรงเรียนที่เหมาะสม หรือประสาน ให้โรงเรียนได้รับทราบ และดูแลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จากการวิจัยพบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่ต้องการการสนับสนุน จากองค์กรเครือข่ายการศึกษาบ้านเรียน ในเรื่องแนวทาง หลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหว การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความช่วยเหลือในกรณีที่จำเป็น ในขณะที่ครอบครัวต้องการ การสนับสนุนจากภาครัฐ ในเรื่องการรับรองทางกฎหมายให้เท่าเทียมกับนักเรียนในระบบโรงเรียน


/การส่งเสริม....

การส่งเสริมสนับสนุนในทุกด้าน และการทำความเข้าใจกับสังคม ในเรื่องการศึกษาโดยครอบครัว ส่วนความต้องการการสนับสนุนจากสถานศึกษา(โรงเรียน) นั้น ครอบครัวต้องการโอกาสที่จะให้เด็กของตนเข้าไปมีส่วนร่วมในบางวิชา/ บางกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน คำแนะนำจากครูที่เชี่ยวชาญในบางวิชา ความเข้าใจของผู้บริหารและครู รวมทั้งหลักสูตรพิเศษสำหรับเด็ก
สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ขอเชิญไปชมงานศิลป์ของแผ่นดิน ซึ่งจัดอยู่ที่ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเวทีสวนอัมพร หากไปชมสุดยอดฝีมือที่พระที่นั่งอนันตสมาคมจะ เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท แต่รับรองคุ้มค่า เป็นโอกาสของชีวิตที่จะได้ชม ทั้งอาคารที่งดงาม และงานศิลปะที่สวยงาม และประณีตเหนือความคาดฝัน หากเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จะคุ้มค่ามาก สำหรับนักเรียนที่เล็กลงมา อาจไปชมที่เวทีสวนอัมพรเดิมที่มีกิจกรรมมากมาย และไม่เสียค่าใช้จ่าย
สัปดาห์นี้ขอนำเสนอข้อมูลบางประการเกี่ยวกับ Accelerated Learning (AL) ที่ติดค้างไว้เมื่อวันอังคารที่ ๖ กรกฎาคม ในเรื่องของสี ดังนี้
ในคู่มือ Accelerated Learning หรือ AL มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับสีที่น่าสนใจว่า สมอง จะให้ความสนใจแก่สีที่สว่างไสว สดใส เคลื่อนที่ได้ และมีลักษณะเด่น แตกต่างกับสิ่งอื่นรอบข้าง (ไม่ทราบว่าเป็นเหตุผลที่ควายไล่ขวิดคนใส่เสื้อสีแดงด้วยหรือไม่) ฉะนั้นสมองจะเพ่งไปยังสิ่งกระตุ้น เร้าที่มีลักษณะดังกล่าว เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ทั้งยังส่งผลในเรื่องของความรู้สึก และความทรงจำด้วย งานวิจัยของ Eric Jensen ในหนังสือ Brain Based Learning and Teaching รายงานว่า
สีแดง กระตุ้นให้เกิดความสนใจ หากผู้เรียนขี้วิตก กังวล จะทำให้ เครียดได้ แต่ถ้าผู้เรียนมีลักษณะสวบสุขุม จะกระตุ้นให้ กระปรี้กระเปร่าได้
สีเหลือง ทำให้เกิดความระมัดระวัง เครียด เป็นสีแรกที่สมองจะถอดรหัส
สีฟ้า ทำให้สงบ สบายใจ ลดความเครียด มีความรู้สึกที่ดี
สีเขียว ทำให้สงบสติอารมณ์
สีน้ำตาล ทำให้รู้สึกมั่นคง ลดความเหนื่อยล้า
สีแดง ไม่มีผลทางใดทางหนึ่ง
สีมืด ลดความเครียด รู้สึกสงบ
สีสว่าง พลัง ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งยังเป็นสีกระตุ้นความวิตกกังวล และความรุนแรง
/ดังนั้น....
ดังนั้น ทุกสีจึงมีทั้งแง่บวกและลบ และในชั้นเรียน เมื่อผสมผสานกับประสบการณ์ของแต่ละคน ภูมิหลังของแต่ละคนและการเรียนรู้ ตลอดจนสภาพทางจิตใจ ก็อาจมีผลที่ยิ่งแตกต่างไป
อย่างไรก็ตาม ผู้สอนควรเลือกสีที่จะช่วยเสริมเติมประเด็น เช่น ในการสอนเรื่อง การดับกับไฟ ซึ่งมีสูตร Stop (หยุด) Drop (ทิ้งตัวลง) Roll กลิ้งตัว ผู้เขียนเสนอให้ใช้ Stop สีแดง , Drop สีน้ำตาล เพราะเป็นสีของดิน Roll สีดำเพราะอธิบายถึงการดับไฟ
ควรระมัดระวังไม่ใช้สีเขียว กับสีแดงเพราะ ผู้เรียนที่ตาบอดสีจำแนกแยกแยะไม่ได้ ควรใช้ สีฟ้า หรือสีเทา สำหรับกระดาษสอบ สีขาวสำหรับบทเรียนใหม่ ๆ
ในการเรียน Power Point ควรหลีกเลี่ยงสีที่ทำให้เกิดความเครียด การใช้ปากกาสี บนพื้น ๆ เรียบ ๆ แม้จะดูไม่ทันสมัยแต่จะอ่านงาน และไปเบนความสนใจจากสาระของเนื้อหา
นอกจากนี้ เราอาจใช้สีช่วยย้ำประเด็น ซึ่งจะช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วและเสริมความทรงจำ สียังช่วยในการประสานสมองข้างซ้ายและขาว และส่งสัญญาณไปยังสมองส่วนหน้า
ขอฝากเป็นข้อมูลเพื่อนำไปประกอบการวางแผนใช้สีในห้องเรียน และในชีวิตต่อไป
พบกันใหม่อังคารหน้า


คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

Resource:
//www.moe.go.th/tuesday/tuesday200747.doc
โดย: Beyond Educational Reform (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:8:48:39 น.
  
คิดแนวข้างสำหรับนักบริหาร (LATERAL THINKING FOR MANAGEMENT)



คิดแนวข้างสำหรับนักบริหาร (LATERAL THINKING FOR MANAGEMENT)

ผู้แต่ง/แปล : EDWARD DE BONO / ยุดา รักไทย และคณะ :แปล
ISBN : 9749352785
Barcode : 9789749352786
ปีพิมพ์ : 1 / 2548
ขนาด (w x h) : 145 x 210 mm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 286 หน้า
ราคาปกติ : 250.00 บาท
ราคาพิเศษ : 200.00 บาท (ลดถึง %) เฉพาะสั่งซื้อทางเว็บไซต์เท่านั้น
โดย: คิดแนวข้างสำหรับนักบริหาร (LATERAL THINKING FOR MANAGEMENT) (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:8:51:05 น.
  


มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”.
นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ.
ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?

สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35

โดย: จาก http://midnightuniv.org/midnightuniv/newpage72.htm (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:9:06:15 น.
  


มนุษย์ต่างแสวงหาความคิดสร้างสรรค์กันไปทั่ว ไม่ว่าจะหน่วยงานใด ทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์กรประชาชน ต่างค้นหาความคิดสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาและเพื่อการค้นพบใหม่ๆ ด้วยการคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ จึงเสนอบทความที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อันจักนำไปใช้ประโยชน์ทางสังคมอย่างกว้างขวางต่อไป



เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เกรียวกราวพอสมควรชื่อว่า Parallel thinking หรือแปลเป็นไทยว่า”ความคิดคู่ขนาน ของ Dr’ Edward de Bono ออกวางตลาด ต่อจากนั้น ดูเหมือนจะได้รับข่าวคราวเสมอเกี่ยวกับ การจะพัฒนาความคิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ? มีการอบรมเรื่องของ mind mapping เพื่อสังเคราะห์ไอเดียต่างๆ ทำให้เห็นภาพว่า สังคมไทยมีความตื่นตัวในเรื่องนี้กันพอสมควร

สำหรับความเรียงชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นมาจากและความคิดของผู้เขียน และจากบทความหลายชิ้นของ Melvin D. Saunders อย่างเช่น Improving Your Creative Thinking Skills, Creativity and Creative Thinking, How creative thinking technique works, Ways to kill and ways to help an idea เป็นต้น ซึ่ง Saunders เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีผลงานทางด้านนี้ ซึ่งจะกระตุ้นให้เรากล้าคิดในหนทางที่แตกต่าง เช่น การใช้ความคิดจากมุมองที่ต่างออกไป คิดแบบทำลายกฎเกณฑ์เก่าๆ คิดแบบเล่นๆ หรือใช้จินตนาการทุกชนิดเพื่อทำให้เกิดความเป็นไปได้ และเขายังเสนอหนทางที่จะได้มาซึ่ง ความคิดหรือไอเดียใหม่ๆ อย่างเช่น ใช้วิธีการสุ่มต่างๆ เช่น การสุ่มด้วยภาพ การสุ่มด้วยคำ หรือกระทั่งการสุ่มด้วย website (ลองเปิด website ที่ไม่เคยคิดว่าจะเปิดดูมาก่อน) รวมไปถึงการนำเอาไอเดียตั้งแต่สองไอเดีย ที่ไม่เคยรวมกันมาก่อน มาสังเคราะห์เข้าด้วยกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นที่มาของการได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์

เราจะปรับปรุงทักษะความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ?

…กล่าวกันว่า ความคิดสร้างสรรค์และการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา เป็นกิจกรรมสองอย่างที่เกี่ยวแขนไปกันไป. หลายปีมาแล้ว Dr. Edward de Bono, นักจิตวิทยา และนักค้นคว้าทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ส่งเสริมเรื่องของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า lateral thinking (ความคิดข้างเคียง).

ความคิดแนวตั้ง(verticle thinking) จะปฏิบัติการต่อเมื่อเราพยายามที่จะแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยเริ่มต้นจาก ขั้นตอนทางตรรกะขั้นหนึ่งไปสู่ขั้นตอนต่อไปเพื่อบรรลุผลของการแก้ปัญหา. ส่วนความคิดข้างเคียง(lateral thinking)นั้น จะวาดภาพ แบบแผนทางความคิดซึ่งมากับการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการที่ไม่เป็นไปตามวิธีการเดิมๆ(unorthodox methods) หรือการเล่นเกมส์กับข้อมูล.

…การขยายความสามารถทางสมองหรือการใช้ความคิดด้วยความคิดสร้างสรรค์ สามารถปรับปรุงขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติ. ยกตัวอย่างเช่น เราจะใช้ไม้ขีดไฟ 6 ก้านบนโต๊ะ สร้างสามเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้านเท่ากันได้อย่างไร? หลังจากที่ใช้ความพยายามอย่างหนักและไม่ประสบผลสำเร็จในลักษณะสองมิติ ในไม่ช้าเราก็จะเรียนรู้ว่า การทำให้มันเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าสี่ด้านในรูปสามมิติ เป็นหนทางเดียวที่บรรลุผลสำเร็จได้. ดังนั้น จงหัดคิดแบบเถื่อนๆ(think wild)เสียบ้าง. ความหมายของคำว่าคิดแบบเถื่อนๆมิได้หมายความว่าป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม แต่มีนัยะว่าให้เราใช้จินตนาการทุกชนิดของความเป็นไปได้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ imagine all kinds of possibility และหาหนทางอีกทางหนึ่ง(alternative)มาแก้ปัญหา, รวมไปถึงสิ่งที่เราคิดว่ามันทำไม่ได้หรือน่าหัวเราะด้วย. ยกตัวอย่างเช่น พยายามคิดถึงความตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นปกติเท่าที่คิดขึ้นมาได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา จากนั้นก็ลงมือทำมันอย่างจริงจังและประณีต

นอกจากนี้ ในหลายๆสถานการณ์ที่มีการเผชิญหน้า หรือในที่ประชุม…ถ้าเผื่อว่าเรามีความเห็นอย่างหนึ่ง และอีกคนมีความเห็นตรงข้ามกันกับเรา, ให้เราพยายามจินตภาพถึงความคิดเห็นของคนๆนั้นดูทีในเชิงกลับกัน. จดบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความเห็นของเขาจึงใช้การได้; ต่อจากนั้นลองบันทึกถึงเหตุผลทั้งหมดว่า ทำไมความคิดเห็นของเขาจึงใช้การไม่ได้; และในท้ายที่สุด จดบันทึกถึงสิ่งที่ไม่เข้าประเด็นหรือสอดคล้อง. ผู้คนเป็นจำนวนมากต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ที่ยากลำบากโดยการไม่ลงรอยกันในการอธิบาย, การกล่าวหากัน และการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง, แทนที่จะ ควบคุมความคิดของพวกเขาต่อการกระทำ และการตัดสินใจว่าอะไรสามารถทำได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว.

เราเคยทราบไหมว่า…มากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลกได้ถูกทำขึ้นมาโดยผ่าน”การค้นพบโดยบังเอิญ” (serendipity) หรือการค้นพบบางสิ่งขณะที่กำลังค้นหาบางสิ่งอยู่; และให้จำไว้ว่า, สิ่งนี้ได้ทำให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงโอกาสอันหนึ่ง เมื่อมันเสนอตัวของมันเองออกมา. ในภาวะฉุกเฉิน ผู้คนมีแนวโน้มที่จะตกอกตกใจหรือบ้าคลั่ง แทนที่จะใช้หัวสมองเพื่อกำหนดตัดสินใจถึงทางเลือกต่างๆของพวกเขา.

สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดหนึ่งของคนเราซึ่งควรแก้ไขให้ถูกต้องก็คือ …ผู้คนส่วนใหญ่มักยึดถือความคิดเห็น หรือทัศนะต่างๆของตนเอาไว้ ทั้งนี้เพราะ พวกเขาได้ถูกบล๊อคเอาไว้ด้วยอารมณ์ความรู้สึกหรือเหตุผลในเชิงอคติต่างๆ. การที่เราจะขยับขยายแนวคิดของเราออกไปให้กว้างขวางเพื่อคลุมถึงความคิดเห็นในทางตรงข้ามจากจุดยืนของเรา, บ่อยครั้งจะต้องปลดเปลื้องพันธนาการจากการถูกบล๊อคเช่นนี้ให้ได้และให้เร็ว(ลบอคติออก และไม่ใช้เรื่องอารมณ์ความรู้สึกมาเป็นพันธนาการ). ขณะที่สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มนำโลกไปสู่อาชญากรรม, การติดยาเสพติด และการมีหนี้สิน, ญี่ปุ่นกลับมีอาชญากรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและไม่ค่อยมีผู้ติดยาเสพติด , มีความสามารถที่จะชำระหน ี้และเป็นชาติที่มีการศึกษาในโลก. เราคิดกันไหมว่า เหตุผลต่างๆในเชิงอคติและอารมณ์ความรู้สึกทำให้ทางการสหรัฐบล๊อคตนเองจากการเรียนรู้จากตัวอย่างของญี่ปุ่น หรือมันมีเหตุผลอื่นๆหรือ ?

…พอพูดกันมาถึงตรงนี้ ลองทดลองกับเพื่อนของเราที่มีสมมุติฐานหรือความเห็นในเชิงตรงข้าม เพื่อดูว่ามันนำพาเราไป ณ ที่ใด. เปิดใจของเราให้กว้างและคิดแบบเถื่อนๆ.

การคิดแบบวิภาษวิธี และการคิดด้วยสมองซีกขวา

นอกจากการใช้ความคิดในแบบข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการในการปรับปรุงทักษะของการใช้ความคิดสร้างสรรค์อีก 2 วิธี ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องราว เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆได้คือ การคิดแบบวิภาษวิธี และ การคิดด้วยสมองซีกขวา

อันแรก, เป็นการคิดในแบบวิภาษวิธี(dialectic) ซึ่งมีโครงสร้างแบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่ ข้อสรุปเดิม(thesis), การต่อต้านข้อสรุปเดิม(anti-thesis), และการสังเคราะห์ข้อสรุปเก่ากับใหม่(synthesis). ในที่นี้จะลองยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ ชาวประมงคนหนึ่งใช้วิธีการจับปลาแต่เดิมๆมาตลอด แต่ตอนนี้เขามีครอบครัวและมีคนที่ต้องเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น การจับปลาในแบบเดิมๆจึงไม่พอกิน จะทำอย่างไรถึงจะพอกิน. ออกไปหาปลาไกลขึ้นหรือ-เรือก็เล็กเกินไป แทนที่จะจับปลาก็เป็นการปล่อยปลาแทน จับแล้วนำมาปล่อยในกระชังเลี้ยงดู ดังนั้นเขาจึงได้ปลาเพิ่มขึ้น

อันที่สอง, การคิดด้วยสมองซีกขวา. เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองส่วนบนของคนเรา ซึ่งตามปกติแล้ว สมองในส่วนซีกซ้ายจะทำหน้าที่ครอบงำสมองส่วนซีกขวาอยู่ตลอดเวลา จนกล่าวได้ว่า เรามีโอกาสใช้สมอง ซึ่งทรงประสิทธิภาพของคนเราเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะนับแต่สังคมได้มาถึงยุคแห่งการใช้เหตุผล (สมองซีกซ้าย), สมองที่เกี่ยวข้องกับจินตนาการและอารมณ์ความรู้สึก(สมองซีกขวา)เกือบจะไม่ถูกนำมาใช้เลย เพื่อคิดแบบสร้างสรรค์ หรือคิดแก้ปัญหาต่างๆ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการทำงานของสมองส่วนบนทั้งสองซีก(ซ้ายและขวา)ว่า มันทำงานแตกต่างกันอย่างไร? เพื่อว่าเราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์

สมองซีกซ้าย 1.เป็นเรื่องของสติปัญญาแบบเหตุผล, 2.เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเลข, 3.เป็นการคิดแบบนามธรรม, 4.คิดเป็นเส้นตรง, 5.เป็นเรื่องของการวิเคราะห, 6.ไม่เกี่ยวกับ้จินตนาการ, 7.คิดแบบต่อเนื่องตามลำดับ, 8.เป็นเรื่องของวัตถุวิสัย, 9.เกี่ยวข้องกับคำพูด

สมองซีกขวา 1. เป็นเรื่องของสหัชญาน(ไม่เกี่ยวกับเหตุผล) 2.เป็นเรื่องของการอุปมาอุปมัย, 3.เป็นการคิดแบบรูปธรรม, 4. คิดอิสระไม่เป็นเส้นตรง, เห็นภาพทั้งหมด, 5.เป็นเรื่องของการสังเคราะห์, 6.ใช้จินตนาการ, 7. คิดไม่เป็นไปตามลำดับ มีความหลากหลายดชื่อมต่อหลายมุม, 8.เป็นเรื่องของอัตวิสัย, 9.ไม่เกี่ยวกับคำพูด, เห็นเป็นภาพ

แม้ว่าจากการจำแนกจะเห็นว่า สมองส่วนบนซีกซ้ายและขวาจะมีลักษณะที่ตรงข้ามกัน แต่ความจริงแล้วมันเสริมกัน เพื่อให้ความคิดของเราสมบูรณ์มากขึ้น แทนที่จะใช้ความคิดหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น การคิดด้วยสมองซีกขวา จึงเป็นการคิดในแบบที่มาเสริมหรือช่วยให้เราคิดได้มากขึ้น


โดย: http://midnightuniv.org/midnightuniv/newpage72.htm (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:9:07:50 น.
  
อะไรคือการสร้างสรรค์ ?




อะไรคือการสร้างสรรค์ ?

การสร้างสรรค์คือ การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งนั้นไม่เคยทีอยู่มาก่อน, ทั้งผลผลิตอันหนึ่ง, หรือกระบวนการอันหนึ่งหรือความคิด-ไอเดียอันหนึ่ง.

อะไรบ้างที่จัดอยู่ในข่ายของการสร้างสรรค์. ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่มามาก่อนให้มีขึ้นมา. การประดิษฐ์สิ่งซึ่งมีอยู่ใน ณ ที่ไหนที่ใดสักแห่งหนึ่งแต่เราไม่รู้ว่ามีมันอยู่แล้ว. การคิดค้นกระบวนการใหม่อันหนึ่งขึ้นมาเพื่อกระทำบางสิ่งบางอย่าง. การประยุกต์กระบวนการที่มีอยู่ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วเข้าสู่ความต้องการอีกครั้ง. การพัฒนาวิธีการใหม่อันหนึ่งเกี่ยวกับการมองไปยังบางสิ่งบางอย่าง. การนำมาซึ่งไอเดียหรือความคิดใหม่ ทำให้มันดำรงอยู่ หรือมีอยู่ขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิธีการมองของใครคนใดคนหนึ่งที่มองบางสิ่งบางอย่างไป

พวกเราทั้งหลายต่างก็สร้างสรรค์กันทุกวัน เพราะเราเปลี่ยนแปลงไอเดียหรือความคิดซึ่งเรายึดถือเกี่ยวกับโลกรอบตัวเราต่างๆอยู่เสมอ. การสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่ถึงขนาดการพัฒนาบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาให้กับโลก แต่มันอาจจะเกี่ยวข้องกับพัฒนาการบางสิ่งบางอย่างให้ใหม่ขึ้นมาเล็กๆน้อยๆเพื่อตัวของเราเอง. เมื่อเราเปลี่ยนแปลงตัวของเราเอง, โลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันกับเรา ทั้งการที่โลกได้รับผลกระทบโดยการกระทำที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของเรา และในวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เราได้มีประสบการณ์กับโลก.

ความคิดสร้างสรรค์จึงมีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการผลิตสินค้า การสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ กระบวนการที่คิดขึ้นมา และการบริการที่ดีขึ้น. เราคาดหวังกันว่า การสร้างสรรค์นั้นจะช่วยเราในหลายๆด้าน, เช่น องค์กรของเราดีขึ้น, ลูกค้า หรือคนที่รับบริการจากเรามีความสุขมากขึ้น โดยผ่านการปรับปรุงขึ้นมาใหม่นี้ในด้านคุณภาพและปริมาณที่ผลิตออกมา

อะไรคือความคิดสร้างสรรค์ ?

ความคิดสร้างสรรค์คือกระบวนการอันหนึ่ง ซึ่งเราใช้เมื่อเรามีไอเดียใหม่ๆ. มันเป็นการผสมผสานเของไอเดีย หรือความคิดต่างๆซึ่งไม่เคยผสมรวมตัวกันมาก่อน. การระดมสมอง(brainstorming) เป็นรูปแบบหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์: มันทำงานโดยการรวบรวมไอเดียต่างๆที่กู่ก้องดังออกมาโดยใครบางคน ผสมรวมกันกับของเราเพื่อสรรค์สร้างไอเดียใหม่อันหนึ่ง. คุณได้ใช้ประโยชน์ไอเดียนั้นของคนอื่นในฐานะแรงกระตุ้น. ไอเดียใหม่ต่างๆได้รับการก่อตัวขึ้นมา โดยการผสมรวมตัวของไอเดียที่มีอยู่ในใจเรา กับไอเดียที่ดังขึ้นของคนอื่น

โดยไม่มีการใช้เทคนิคพิเศษใดๆ ความคิดสร้างสรรค์ก็ยังคงเกิดขึ้นมา แต่โดยปกติแล้ว มันจะเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ; ความบังเอิญหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำให้เราคิดถึงบางสิ่งบางอย่างในหนทางที่แตกต่าง และเราได้ค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์. ความเปลี่ยนแปลงบางอย่างมันเกิดขึ้นมาอย่างช้าๆโดยผ่านการใช้ความคิดสติปัญญาอันบริสุทธิ์และความก้าวหน้าเชิงตรรก. การอาศัยความก้าวหน้าโดยความบังเอิญหรือในเชิงตรรก หลายครั้ง ต้องใช้เวลานานมากสำหรับการผลิตเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุง

ดังนั้น การใช้เทคนิควิธีพิเศษ, ความคิดสร้างสรรค์อันละเอียดอ่อนประณีตสามารถถูกนำมาใช้ได้เพื่อพัฒนาไอเดียใหม่ๆ. เทคนิคดังกล่าวจะช่วยทำให้ หรือไปบังคับให้เกิดลำดับการณ์อันกว้างขวางของการผสมผสานไอเดีย เพื่อจุดประกายความคิดใหม่ๆและกระบวนการใหม่ๆ. การระดมสมองเป็นหนึ่งในเทคนิคพิเศษเหล่านี้ แต่ตามขนบประเพณี แล้ว มันจะเริ่มต้นด้วยไอเดียที่ไม่ธรรมดา(start with un-original ideas).

ด้วยปฏิบัติการ, ความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง(การค้นหาอยู่เสมอ, การตั้งคำถาม และการวิเคราะห์ ที่พัฒนาได้โดยผ่านการศึกษา, การฝึกฝนและการรู้ตัวของเราเอง) ได้เกิดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา. ความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง(ongoing creative thinking)ทำให้ ทั้งความบังเอิญและความคิดสร้างสรรค์ที่ตั้งอกตั้งใจเกิดขึ้นมาได้มากที่สุด. ความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องต้องใช้เวลา และปฏิบัติการอย่างใจจดใจจ่อเพื่อกลายมาเป็นทักษะที่สมบูรณ์ และในไม่ช้า ความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ก็จะกลายมาเป็นท่าที ไม่ใช่เรื่องของเทคนิคอีกต่อไป

ทำอย่างไร เทคนิคความคิดสร้างสรรค์จึงจะทำงาน ?

ไอเดียใหม่ๆเกิดขึ้นมา เมื่อมีไอเดียตั้งแต่สองไอเดียขึ้นไปบังเอิญหรือตั้งใจให้มันมาผสมกัน อย่างที่มันไม่เคยรวมตัวกันมาก่อน. เทคนิคการใช้ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นการจัดหาวิธีการเพื่อรวมไอเดียทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างประณีต ซึ่งตามปกติ เราไม่เคยคิดข้ามไอเดียพวกนั้นมาก่อนหรือคิดถึงมันว่าจะเป็นไปได้. แต่อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากประการแรกที่เกิดขึ้นมาก็คือ จะหาทางให้ไอเดียนั้นๆผสมกันได้อย่างไร. และข้อยุ่งยากประการที่สองคือจะพัฒนาไอเดียใหม่นั้นให้มันใช้การได้ได้อย่างไร

ข้อยุ่งยากประการแรกจะถูกช่วยเหลือได้ โดยการใช้เทคนิคความคิดสร้างสรรค์อย่างตั้งอกตั้งใจเพื่อมุ่งทำให้ไอเดียใหม่เหล่านั้นมันผสมกันได้. การที่คอมพิวเตอร์มิได้รับอิทธิพลใดๆจากมนุษย์, มันจึงเป็นเพื่อนคู่ใจที่สมบูรณ์สำหรับการจัดหาไอเดียต่างๆซึ่งเราไม่เคยคิดผสมกันมาก่อน มารวมมันเข้าด้วยกัน. เทคนิคความคิดสร้างสรรค์แบบนี้ถูกนำมาใช้เพื่อน้อมนำไอเดียต่างๆซึ่งมนุษย์ไม่เคยได้คิดรวมกัน เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดของตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์บนโลกนี้กันทุกคน และมนุษย์มีเงื่อนไขความตีบตันด้วย

การะดมสมองในอดีตทำให้เราเชื่อมั่นว่า คนอื่นๆก็เพียงพอแล้วสำหรับการกระตุ้นสนับสนุนเราให้คิดในหนทางที่แตกต่าง. แต่อันที่จริงนั้นยังไม่พอ และสามารถทำให้เราต้องเผชิญหน้าหรือต่อสู้กับความคิดต้นตออันนั้น. หรือถ้าเผื่อว่า เราระดมสมองกับผู้คนที่เราทำงานด้วยเสมอๆ เป็นไปได้ที่เราจะได้ไอเดียเก่าๆ ทั้งนี้เพราะเรารู้แล้วเกี่ยวกับ…และทำงานร่วมกับไอเดียเดิมๆมากมายและก็มีประสบการณ์ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันมากไป. ดังนั้น การระดมสมองแบบแผนเดิมจึงเป็นไปได้ที่เราจะไม่ได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ กับคนเดิมๆที่ทำงานร่วมกัน และแต่ละคนก็มีแรงกระตุ้นแบบเดิมๆเป็นข้อจำกัด.

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับความก้าวหน้าในการระดมสมอง: คอมพิวเตอร์จะไม่มีแนวคิดล่วงหน้า(not have the pre-conceptions) หรือมีอคติ ซึ่งจะทำให้เราเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษ ในฐานะนักจัดหาหรือเตรียมการเกี่ยวกับแรงกระตุ้นใหม่ๆ ที่แตกต่างและจะจุดประกายไอเดียใหม่ๆให้ปะทุขึ้นมา

แม้ว่าไอเดียใหม่ๆมันจะไม่มีคุณค่าขึ้นมาทันทีในเวลานี้ แต่การเกิดขึ้นมาของความคิดใหม่เป็นสิ่งสำคัญในการระดมสมองพวกนั้น ถ้าเราเก็บเอาไว้ มันก็จะเป็นประโยชน์ต่อมาได้ในภายหลัง หากว่ามันมีคุณค่าสำหรับเราจริงๆ.

อะไรคือเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ ที่จะนำมาใช้ได้บ้าง ?

เทคนิคการได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ข้างล่างนี้ เราจะต้องฝึกเอาไว้เสมอ ทั้งหมดนี้จะนำเสนอแรงกระตุ้นใหม่ๆสดๆให้กับความคิดใหม่ๆของเราได้. เราสามารถที่จะนำมันมาใช้ในการระดมสมองเพื่อให้กำเนิดไอเดียที่แปลแตกต่างอย่างง่ายๆ

Random Word (การสุ่มคำ)

Random Picture (การสุ่มด้วยภาพ)

False Rules (กฎเกณฑ์ที่ผิดพลาด)

Random Website (การสุ่มเวบไซท์)

Scamper (กระโดดโลดเต้น หรือการเล่น)

Search & Reapply (ค้นหาและลองประยุกต์ใหม่)

Challenge Facts (ท้าทายข้อเท็จจริง)

Escape (หลบหนี หลบเลี่ยง)

Analogy (การอุปมาอุปมัย)

Wishful Thinking (ความคิดให้สมปรารถนา)

Thesaurus (ใช้พจนานุกรมศัพท์คำพ้อง)

โดย: อะไรคือการสร้างสรรค์ ? (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:9:12:00 น.
  
วิธีการฆ่าความคิดและวิธีการส่งเสริมความคิด



วิธีการฆ่าความคิดและวิธีการส่งเสริมความคิด

เป็นเรื่องง่ายมากที่จะฆ่าความคิดยิ่งกว่าการสนับสนุนความคิด และเปลี่ยนมันให้เป็นทางออก หรือวิธีการแก้ปัญหาอันเป็นประโยชน์. ให้เราระมัดระวังอย่าไปทำลายไอเดียของผู้คน หรือทำให้พวกเขาหยุดที่จะบอกอะไรกับเรา และพูดคุยกับคนอื่นๆ

เป็นเรื่องยากมากจริงๆที่จะรับฟังเรื่องเกี่ยวกับไอเดียความคิดเห็นต่างๆ เมื่อใครบางคนบอกกับเราเกี่ยวกับความคิดอันหนึ่งที่เขามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าไอเดียอันนั้นดูเหมือนว่าจะฟังดูโง่ๆและไม่ทำงาน(ไม่ได้เรื่อง). แต่จำไว้เสมอว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนไม่ปรารถนาที่จะนำเสนอไอเดียที่เลวๆในภาวะปกติ และเราควรจะพยายามทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกเลยว่า ทำไมพวกเขาจึงบอกกับเราเกี่ยวกับความคิดอันนั้น. เป็นไปได้ที่บางสิ่งบางอย่างในไอเดียนั้น จะเป็นประโยชน์กับเรา. และในอีกทางหนึ่ง เราจะมีโอกาสที่จะช่วยเหลือเขาให้เข้าใจว่า ทำไมความคิดอันนั้นมันจึงไม่ทำงาน.

วิธีการหาไอเดีย ด้วยคำพูดของเราเองบางอย่าง

ที่เสนอมานั้นมันเป็นความคิดที่ดี, แต่…, (หรือ) ในทางทฤษฎีนั้นมันฟังดูดี, แต่…

ในทางปฏิบัติ, ความคิดนั้นมันดูเป็นเรื่องของอนาคตมากเกินไป

โอ้...ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการ(ชอบ)มันหรอก

ที่เสนอมานั้น ต้นทุนสูงเกินไป (หรือ) ไม่มีงบประมาณแล้ว,บางทีอาจรอไปปีหน้า

ไม่ต้องเริ่มต้นอะไรใหม่อีกแล้ว (หรือ) เราโต้เถียงกันมากไปแล้ว

ที่พูดมามันต้องศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านี้ (หรือ) เรื่องนี้ขอให้เราไปสำรวจมาก่อน

อันนี้สวนกันกับนโยบายบริษัท(หรือ องค์กร)ของเรา

ที่พูดมานั้น มันไม่ได้เป็นงานในหน้าที่รับผิดชอบของคุณ

นั่นมันไม่เป็นปัญหาสำหรับเรา

เรื่องนี้ยากมากต่อการจัดการ (หรือ) เราไม่เคยทำแบบนั้นมาก่อนเลย

ถ้ามันดีมาก ทำไมจึงไม่มีใครเสนอมันไปแล้วล่ะ

ถึงต่อไปข้างหน้า ผู้คนก็จะยังไม่พร้อมสำหรับมันอยู่ดี

นั่งลงก่อน พักสักครู่

มีใครแล้วบ้างที่พยายามทำมันจนสำเร็จขึ้นมา

เราเคยทำมาแล้ว แต่มันไม่ทำงาน(ไม่ได้เรื่อง)

คำพูดต่างๆเหล่านี้ มักจะไปตัดทอนโอกาสในการแสดงความคิดหรือการเสนอไอเดียของคนอื่นๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดบรรยากาศของการสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ดังนั้น จงตรองดูว่า สิ่งที่จะพูดไปนั้น จะไปตัดทอนความคิดหรือไอเดียของคนอื่นหรือไม่ ?

หนทางที่สนับสนุนไอเดีย

ใช่, และ…(พูดสนับสนุน), ดูมันน่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาก

ฟังและพยายามทำความเข้าใจว่า ทำไมมันจึงถูกนำเสนอ

อย่าไปขัดจังหวะ จนกว่าเขาจะเสนอจนจบ, ปล่อยให้พวกเขาก่อรูปไอเดียขึ้นมา

นั่นเป็นไอเดียที่ดี หรือประเด็นสำคัญ ข้อคิดเห็นที่เยี่ยม, ว่าต่อ…

ยอดมาก, พยายามต่อไป…

ต้องการทรัพยากรใดบ้าง ที่ต้องใช้ในการทำมันขึ้นมา

ที่เสนอมา เราสามารถทำให้มันทำงานได้อย่างไร ช่วยเล่าให้ฟังต่อหน่อยซิ

ให้พยายามและทดสอบมันดู

ที่เสนอมานั้น ทำให้มันเป็นแผนในเชิงปฏิบัติเลยได้ไหม ?

อะไรที่ผมสามารถช่วยได้สำหรับการทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นมาได้

สิ่งที่ฟังดูเป็นเพียงส่วนเล็กๆของไอเดีย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีในสถานการณ์ปัจจุบัน

ทำอย่างไร เราจึงจะชักจูงคนอื่นๆให้เชื่อมั่นได้

ข้างต้นนี้หวังว่า เราจะเห็นถึงหนทางต่างๆอันมากมายซึ่งสามารถที่จะช่วยสร้างไอเดียความคิดขึ้นมา. สิ่งเหล่านี้เป็นการส่งเสริมสนับสนุนไอเดียความคิด โดยไม่ต้องกล่าวคำว่าเห็นด้วย หรือว่าเราจะทำมัน เพียงแต่ระมัดระวังอยู่เสมอสำหรับตัวของเราเองที่จะเสนอไอเดียอันหนึ่งลงมาเร็วเกินไป โดยไม่เข้าใจเหตุผลในเชิงบวกต่างๆสำหรับการที่มันถูกนำเสนอ

ไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับบรรยากาศในการระดมสมอง

เนื้อที่ส่วนนี้อุทิศให้กับบรรยากาศในการระดมสมองที่ช่วยให้ความคิดใหม่ๆผุดขึ้นมาได้ ทดลองเอาไปปฏิบัติ และดูว่ามันทำงานไหม หรือไม่ก็ใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการระดมสมองที่เราเคยทำๆกัน

ใช้วิดีโอเทปหรือเครื่องบันทึกเสียง(ไม่โจ่งแจ้งเกินไปจนทำให้รู้สึกเกร็ง)เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวต่างๆ เพื่อไม่ให้ไอเดียใดหลุดรอดไปได้.

หรี่ไฟลงเพื่อให้บรรยากาศในห้องทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายหรือเป็นการพักผ่อน

มีตุ๊กตาหรือของเล่นที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นไอเดียและทำให้พวกเรารู้สึกผ่อนคลาย

ใช้ห้องที่อยู่นอกสำนักงานที่เราทำงานประจำเพื่อผลที่จะเกิดมาพิเศษใหม่ๆ

มีห้องเตียมไว้อีกห้องเพื่อฟื้นความสดใหม่ขึ้นมา และส่งเสริมให้ผู้คนได้พบปะและพูดคุยกันในช่วงพัก

ปิดสายโทรศัพท์หรือเคลื่อนย้ายมันออกไปจากห้อง จะได้ไม่มีอะไรมารบกวนหรือทำลายบรรยากาศ

ปิดม่านลง หากว่าข้างนอกมันมีสิ่งรบกวนทำให้เขวไปได้

เปิดเพลงเบาๆที่กระตุ้นอารมณ์ หรือลองสุ่มเพลงจาก CD สักสองแผ่น

จัดให้มีหนังสือพิมพ์เก่า เทปกาว กรรไกร เชือก เพื่อว่าใครที่มีไอเดียจะทดลองสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ตามที่เขาคิดให้เป็นรูปเป็นร่าง

มีดินสอสี หรือปากกาเมจิกอยู่ทั่วๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้ทันที

สร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดการหัวเราะ บรรยากาศแบบเล่นๆ มักก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆอยู่เสมอ

ให้ผู้คนยืนบ้างนั่งบ้างตามความสะดวกสบาย หรือถ้าเคยนั่งประชุมก็ยืนประชุม

หันหน้าออกนอกกำแพงแทนที่จะหันหน้าเข้าหากำแพง

การสร้างบรรยากศใหม่ๆข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า สไตล์การระดมสมองและเทคนิคดังกล่าว สามารถเปลี่ยนแปลงพลิกแพลงไปได้ เพื่อทำให้มันมีชีวิตชีวา การระดมสมอง ไม่ควรเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ หรือมีรูปแบบตายตัว ลองเปลี่ยนแปลงมันไปเรื่อยๆแล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง

โดย: วิธีการฆ่าความคิดและวิธีการส่งเสริมความคิด (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:9:13:09 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด