0037. EXECUTION : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร




เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 นายกรัฐมนตรีได้แนะนำ หนังสือ Execution:The Discipline of Getting Things Done เขียนโดย ลาร์รี่ บอสลิตี้ และ แรม ชาแรน เป็นหนังสือทางธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานและเป็นขั้นตอน นำเอาสิ่งที่คิดฝันไปปฏิบัติให้เป็นความจริง....

..."อยากแนะนำให้อ่าน เพราะเป็นหนังสือธุรกิจที่ผมนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และ จะนำหลักการนี้มาอบรมให้กับคณะรัฐมนตรี"

หนังสือเล่มนี้ แสดงให้เห็นว่า ต้องทำอย่างไร จึงจะทำให้งานบรรลุไปได้อย่างสมบูรณ์ และ ส่งต่อได้อย่างเป็นผล ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดต้องมีคือกฏ (Execution) ....




เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 นายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษเรื่อง "แนวคิดในการบริหารราชการแผ่นดิน" ให้แก่นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการบริหารการปกครองระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 6 ณ ห้องประชุมสุขุมนัยประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จังหวัด นนทบุรี ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ว่า...

..."มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Execution เขาบอกว่า การบริหารเป็นวินัยของการนำความคิดมาเป็นการทำงาน ไม่ใช่ว่ามี Strategy แต่ว่าไม่มีสำนึก ไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการบริหาร Execution (การปฏิบัติการ) เป็นเทคนิค เป็นวิชาพิเศษ เพราะฉะนั้น คนระดับ Middle Management จนถึง Top Management จะต้องเข้าใจคำว่า Execution พูดไปสั่งไป แต่ execute (ปฏิบัติการ) ไม่ได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ งานก็ไม่เดิน ฉะนั้น การบริหารงานแผนใหม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้าง เขาเรียกว่า Execution of Supporting Culture คือ ทุกคนจะต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อให้งานเสร็จตามแผนตามยุทธศาสตร์ที่มี ต้องช่วยกันเพราะฉะนั้นทุกอย่างมันอยู่คน กลยุทธ์เป็นสิ่งจำเป็น แต่ คนจำเป็นมากกว่า"






หนังสือ Execution นั้น ร้าน เอเชียบุ๊คส์ ได้ช่วยสรุปสาระประเด็นหลักในหนังสือที่นักธุรกิจจำเป็นต้องอ่านไว้ 5 ประการ คือ

1. การจัดลำดับงานก่อนหลังในการทำงาน และ จำตารางให้ชัดเจน
2. การมอบหมายงานให้ถูกคน และ ถูกกลุ่ม คือ กลุ่มที่เรามั่นใจว่าจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การจัดลำดับขั้นตอนในการทบทวนผลงาน
4. การวัดผลงานของพนักงาน
5. นำหัวข้อหลักๆ ข้างต้นมาเชื่อมโยงถึงกัน ตั้งแต่การจัดลำดับงานก่อนหลังไปจนถึงการวัดผลงานของพนักงาน



Execution มีความหมายหลายอย่าง เช่น การประหารชีวิต การทำให้สัมฤทธิ์ผล ผลดำเนินงานตามแผน การบริหาร และ การขับเคลื่อน
ผู้เขียนอ้างว่า Execution ซึ่งในที่นี้จะแปลว่า การให้สัมฤทธิ์ เป็นวิชา (Discipline) หรือ ศาสตร์ของการทำงานซึ่งทั้งสองรวบรวมขึ้นเป็นครั้งแรก เขากล่าววา ทั้งที่ศาสตร์นี้มีความสำคัญยิ่ง แต่ผู้บริหารจำนวนมากมักไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือ มักไม่ให้ความสำคัญ ทำให้ประสบความล้มเหลว

หนังสือ แบ่งเป็น 3 ภาค ด้วยกัน
ภาคแรก อธิบายความหมายศาสตร์
ภาคที่สอง กล่าวถึงส่วนประกอบพื้นฐานอันได้แก่ พฤติกรรมของผู้นำ หลักการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และ การคัดสรรคนให้เหมาะสมกับงาน
ภาคที่สาม นำเสนอกระบวนการของการทำให้สัมฤทธิ์ซึ่งประกอบด้วย ด้านบุคคล ด้านยุทธศาสตร์ และ ด้านการปฏิบัติงาน



Create Date : 06 มีนาคม 2551
Last Update : 6 มีนาคม 2551 21:23:26 น.
Counter : 2923 Pageviews.

7 comments
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ประสบการณ์ ทำพาสปอร์ตที่สายใต้ใหม่ newyorknurse
(2 ม.ค. 2567 17:45:17 น.)
  
THE DISCIPLINE OF GETTING THINGS DONE


โดย บิสิเนสไทย [7-5-2003]

เป็นความโชคดีที่ได้อ่านบทความของทางกระทรวงมหาดไทยได้สรุปสาระสำคัญจากหนังสือเรื่อง EXECUTION : THE DISCIPLINE OF GETTING THINGS DONE ซึ่งเป็นหนังสือดี อีกเล่มหนึ่งที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ท่านนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ของเราแนะนำให้คณะรัฐมนตรีอ่าน

ชื่อเรื่องได้ถูกแปลเป็นไทยว่า “การบริหารงานสู่ความสำเร็จ:วินัยในการทำงานให้บรรลุผล” เห็นว่ามีประโยชน์จึงขออนุญาตนำบางส่วนของบทความมาเล่าสู่กันฟัง และเป็นประเด็นที่จะคุยกันในวันนี้

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงปัญหาบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่นิตยสารชั้นนำของอเมริกา คือ FORTUNE ได้จัดอันดับว่าเป็น 500 บริษัทชั้นแนวหน้าของประเทศที่ประสบปัญหาบริหารงาน

โดยในปี 2000 ผู้บริหารบริษัท (CEOs) จำนวน 40 คน จาก 200 บริษัทอันดับแรกในบัญชีนี้ (20%) ถูกไล่ออกหรือถูกบีบให้ลาออก

เนื่องจากบริหารงานผิดพลาด ในปี 2001 !!

คาดว่าในปี 2002 ปัญหานี้ก็ยังคงเกิดขึ้นในบริษัทชั้นนำเหล่านี้ อีก

ผู้เขียนได้สรุปว่า ปัญหาน่าจะมาจากการเกิดช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้น (Gap between Promises and Results) ช่องว่างที่เกิดขึ้นมาจากขาดการเชื่อมโยง ระหว่างความคาดหวังกับผลการ ทำงาน ทุกคนรู้ว่าจะต้องบริหารงานให้บรรลุผล แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร

เมื่อการบริหารงานของบริษัทเกิดความไม่ราบรื่น ผู้นำของบริษัทต้องตระหนักอยู่เสมอว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับวัฒนธรรมของบริษัทได้อย่างไร

พื้นฐานการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคือ การเชื่อมโยงรางวัลกับผลการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์กรต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อะไรคือสิ่งที่องค์กรมีความภาคภูมิใจ คาดหวัง และต้องการให้รางวัล

องค์กรต้องสื่อให้พนักงานทุกคนได้รู้และตระหนักว่า อะไรคือคุณค่าและการให้ความสำคัญ ที่พนักงานทุกคนต้องทำงานให้สำเร็จ หากบริษัทให้รางวัลและแต่งตั้งพนักงานให้ได้เลื่อนระดับจากการบริหารงานด้วยความสำเร็จ วัฒนธรรมขององค์กรก็จะเปลี่ยนแปลงไป

บริษัทต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพบุคลากร(The Quality of Their People) เพราะบุคลากรขององค์กรเป็นทรัพยากรหลักในการสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมให้องค์กร การตัดสินใจ ประสบการณ์ และขีดความสามารถบุคลากร คือ ตัวชี้ความแตกต่างระหว่างความล้มเหลวและความสำเร็จ

บ่อยครั้งที่ผู้นำเหล่านี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับบุคลากร เพราะมัวแต่ไปให้ความสำคัญกับเรื่องที่ทำอย่างไรให้บริษัทใหญ่ขึ้น ก้าวสู่ระดับสากล เหนือกว่าคู่แข่งคนอื่น ทำให้มองข้ามคุณภาพของบุคลากร ที่แท้จริงแล้วเป็นตัวชี้วัดความแตกต่างที่สำคัญสุดในการแข่งขันเชิงธุรกิจ แต่จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าชี้ให้เห็นว่า การคัดเลือกบุคลากรที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างข้อได้เปรียบที่ยั่งยืนในการแข่งขัน (Elusive Sustainable Competitive Advantage)

คนประเภทใดที่ต้องหามาทำงาน

1.คนที่ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดกำลังใจ (They Energize People)

2.คนที่สามารถตัดสินใจในเรื่องยากๆ ได้ (They’re Decisive on Tough Issues)

3. คนที่ทำงานสำเร็จโดยผ่านคนอื่น ( They Get Things Done Though Others)

4. คนที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ( They Follow Through)

บทความดังกล่าวจะตอกย้ำว่าเราต้องให้ความสำคัญต่อคุณภาพของคน ตั้งแต่การคัดเลือก การพัฒนาและการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้รู้ว่าคนที่ทำงานสำเร็จจะต้องได้รางวัล

ที่บอกว่าจะนำเอาบทความนี้มาเชื่อมโยงกับเรื่องที่คุยกัน คือเรื่องนี้ทำให้นึกถึงประสบการณ์ที่มักเจอ

นั่นคือ หลากหลายผู้คนในการทำงาน !

คนที่ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดกำลังใจ เวลาเข้าไปวางระบบบัญชีให้กับองค์กรต่างๆ ซึ่งนักบัญชีมีความสามารถมากในการทำบัญชีด้วย Excel ต่อมามีการผลัดใบคือเจ้าของกิจการรุ่นลูกเข้ามาบริหาร และมาเห็นระบบบัญชีคอมพิวเตอร์แบบไทย ๆ ก็ตกใจและเสนอให้นำโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปมาใช้ในการทำบัญชี

เป็นที่รู้อยู่ว่าไม่มีโปรแกรมบัญชีใดในโลกนี้ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ 100 % แต่ถ้าภาพรวมออกมาคือได้ข้อมูลถูกต้อง รวดเร็ว ลดการทำงานซ้ำซ้อน ถือว่าสอบผ่านหลายๆ ครั้งที่การวางระบบแทบจะไปไม่รอด

เพราะการทำงานขาดคนที่ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดกำลังใจ มีแต่การต่อต้านของพนักงานบัญชีที่ไม่มีความยืดหยุ่นการทำงาน ตั้งป้อมทุกอย่าง เช่น รายงานบางอย่างที่ Excel ทำได้แต่โปรแกรมบัญชีอาจจะทำไม่ได้ในรูปแบบเดียวกัน แต่เป็นรูปแบบอื่นที่มีข้อมูลครบถ้วนเหมือนกัน

คนทำงานประเภทนี้มักดึงจุดเหล่านี้มาเป็นปัญหา และพยายามไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง

คนที่สามารถตัดสินใจในเรื่องยากๆ ได้ การเข้าไปวางระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ ให้กิจการต่างๆ เรามักเห็นว่าความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าถ้ากิจการนั้นมีผู้นำที่สามารถตัดสินใจในเรื่องยากๆ ได้ เขาก็จะกล้าหักดิบด้วยการตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของวัตถุประสงค์หลักคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้กิจการมีระบบบัญชีที่ดีและให้มองข้ามปัญหาหยุมหยิมเล็กๆ น้อยออกไป บางครั้งเขาก็จะใช้ความเด็ดขาดเป็นไม้ตายคือถ้าทีมนี้ทำไม่ได้ต้องเปลี่ยนทีมใหม่

คนที่สามารถตัดสินใจในเรื่องยากๆ ได้ การเข้าไปวางระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ ให้กิจการต่างๆ เรามักเห็นว่าความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าถ้ากิจการนั้นมีผู้นำที่สามารถตัดสินใจในเรื่องยากๆ ได้ เขาก็จะกล้าหักดิบด้วยการตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของวัตถุประสงค์หลักคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้กิจการมีระบบบัญชีที่ดีและให้มองข้ามปัญหาหยุมหยิมเล็กๆ น้อยออกไป บางครั้งเขาก็จะใช้ความเด็ดขาดเป็นไม้ตายคือถ้าทีมนี้ทำไม่ได้ต้องเปลี่ยนทีมใหม่

วิธีนี้มักจะใช้ได้ผลเพราะไม่มีใครอยากตกงาน

คนที่ทำงานสำเร็จโดยผ่านคนอื่นลักษณะของคนประเภทนี้หาได้ยากในวงการบัญชี เพราะคนส่วนใหญ่มักจะชอบแบกงานไว้ที่ตัวเองหรือรู้สึกว่าใครก็ทำงานได้ไม่ดีเท่ากับตัวเอง เราจะมีนักบัญชีจำนวนมากที่ติดอยู่กับวังวนของปัญหานี้โดยเฉพาะในระดับหัวหน้างานที่ดูเหมือนทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำแต่งานไม่เคยเสร็จทันเวลาเพราะ “ไม่กระจายงาน”

ที่จริงเป็นการสำคัญผิดอย่างมากที่ระดับหัวหน้างานจะยังทำงานจุกจิกอยู่ เพราะหน้าที่ของเขาคือ การปิดบัญชีให้ได้ทันการณ์ และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาทางพัฒนากิจการให้เจริญยิ่งขึ้น

หากบทความนี้มีประโยชน์กับท่าน ขอยกความดีนี้กับผู้แต่งหนังสือ ท่านนายกฯ ที่แนะนำให้อ่าน และกระทรวงมหาดไทยที่ได้จัดทำบทสรุปนี้มา

Resource:
//www.businessthai.co.th/content.php?data=405770_Business
โดย: THE DISCIPLINE OF GETTING THINGS DONE (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:02:25 น.
  
เรื่อง สรุปสาระสำคัญจากหนังสือ

EXECUTION : THE DISCIPLINE OF GETTING THINGS DONE

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้แนะนำให้คณะรัฐมนตรี
และผู้บริหารได้อ่านหนังสือเรื่อง EXECUTION : THE DISCIPLINE OF GETTING THINGS DONE
โดย LARRY BOSSIDY & RAM CHARAN with CHARLES BURCK
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 นั้น

กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำเอกสารสรุปสาระสำคัญจากหนังสือดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว

รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย


การบริหารงานสู่ความสำเร็จ: วินัยในการทำงานให้บรรลุผล
(THE DISCIPLINE OF GETTING THINGS DONE)

LARRY BOSSIDY & RAM CHARAN With CHARLES BURCK


เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงปัญหาของบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา
ที่นิตยสารชั้นนำของอเมริกา คือ FORTUNE ได้จัดอันดับว่าเป็น 500
บริษัทชั้นแนวหน้าของประเทศ 500 บริษัท ที่ประสบปัญหาในการบริหารงาน
โดยในปี 2000 ผู้บริหารบริษัท (CEOs) จำนวน 40 คน จาก 200
บริษัทอันดับแรกในบัญชีนี้ (20%) ถูกไล่ออกหรือถูกบีบให้ลาออก


เนื่องจากบริหารงานผิดพลาด ในปี 2001 และคาดว่าในปี 2002
ปัญหานี้ก็ยังคงเกิดขึ้นในบริษัท ชั้นนำเหล่านี้ ผู้เขียนได้สรุปว่า ปัญหาน่าจะมาจาก
กลยุทธ์ของ CEOs เหล่านี้น่าจะผิดพลาดอันเกิดจากไม่สามารถสร้างให้กลยุทธ์ที่ว่านี้บรรลุผลได้
นั่นก็คือ สิ่งที่ CEOs คาดว่าจะเกิดกลับไม่เกิด อันเนื่องมาจากองค์กรไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุผล
หรืออาจเกิดจากผู้นำองค์กรประเมินสิ่งท้าทายที่มีต่อบริษัทผิด-พลาด หรืออาจเกิดจากทั้งสองประการควบคู่กันไป
หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เกิดช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้น
(Gap between Promises and Results) องค์กรเหล่านี้ตระหนักดีว่าจะต้องรับกับความเปลี่ยนแปลง
ที่จะเกิดขึ้นให้ได้ และต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ให้เป็นโอกาสของบริษัทตน
แต่บริษัทชั้นนำเหล่านี้ก็ยังคงสร้างความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนทำลายความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยตัวของตัวเอง

ช่องว่างที่เกิดขึ้นมาจากกการขาดการเชื่อโยง ระหว่างความคาดหวังกับผลการทำงาน
ทุกคนรู้ว่าจะต้องบริหารงานให้บรรลุผล แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร
การบริหารสู่ความสำเร็จต้องเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธและเป้าหมายของบริษัท
และบริษัทจะเปลี่ยนแปลงได้ก็โดยผู้นำทั้งหมดของบริษัท
จะต้องนำกระบวนวิธีบริหารสู่ความสำเร็จ (Discipline of Execution) มาใช้ในทุกระดับเท่านั้น

มีหลักการ 3 ประการในการบริหารสู่ความสำเร็จ ได้แก่

1. การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นหลักการสำคัญ และต้องบูรณาการกับกลยุทธ์ของบริษัท

2. การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นงานหลักของผู้นำทางธุรกิจ

3. การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมองค์กร


การบริหารงานสู่ความสำเร็จไม่ใช่กลวิธีในการทำงาน
แต่กลวิธีในการทำงานเป็นหัวใจของการทำงานสู่ความสำเร็จ
( Execution is not tactics but tactics are central of executions)
ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับขีดความสามารถขององค์การในการบริหารงานสู่ความสำเร็จ
โดยเป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการแสวงหาวิธีที่จะทำความสำเร็จให้เกิดขึ้นอย่างไร
และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์กับการปฏิบัติ


ทั้งนี้ต้องมีการสร้างความเป็นผู้นำใน 7 พฤติกรรมที่จำเป็น ได้แก่

1. รู้จักพนักงานและธุรกิจของตนเป็นอย่างดี

2. ยืนหยัดยึดมั่นในความเป็นจริง (ไม่หลอกตัวเอง)

3. เข้าใจทะลุปรุโปร่งในเป้าหมายและลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย

4. ทำตามที่วางแผนไว้

5. ให้รางวัลคนที่ทำให้สำเร็จ

6. เพิ่มพูนขีดความสามารถของพนักงาน

7. รู้จักตนเอง

การเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานกระทำได้โดยผ่านการสอนงาน
และการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงาน โดยมีหลักการ 4 ประการ ดังนี้

1. ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง อย่าหลอกตัวเอง

2. สำรวจตนเองให้รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง

3. รู้จักนำตนเอง

4. รู้จักผ่อนปรนตามสถานการณ์


เมื่อการบริหารงานของบริษัทเกิดความไม่ราบรื่น
ผู้นำของบริษัทต้องตระหนักอยู่เสมอว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
กับวัฒนธรรมของบริษัทได้อย่างไร ต้องตระหนักว่า สิ่งที่เป็นนามธรรม (Soft Stuff)
คือ ความเชื่อและพฤติกรรมของคน ก็มีความสำคัญเท่าๆกันกับ สิ่งที่เป็นรูปธรรม (Hard Stuff)
คือ โครงสร้างขององค์กร นั่นก็คือ ฮาร์ดแวร์ขององค์กร (โครงสร้างและกลยุทธ์)
จะเปล่าประโยชน์หากไม่มีซอฟแวร์ (ความเชื่อและพฤติกรรม)


พื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็คือ
การเชื่อมโยงรางวัลกับผลการปฏิบัติงานและการทำให้

การเชื่อมโยงนี้มีความโปร่งใส
(Linking rewards to performance and making the linkages transparent)
วัฒนธรรมองค์กรต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อะไร คือสิ่งองค์กรมีความภาคภูมิใจ คาดหวัง
และต้องการให้รางวัล องค์กรต้องสื่อให้พนักงานทุกคนได้รู้และตระหนักว่า
อะไรคือคุณค่าและการให้ความสำคัญ ที่พนักงานทุกคนต้องทำงานให้สำเร็จ
หากบริษัทให้รางวัลและแต่งตั้งพนักงานให้ได้เลื่อนระดับจากการบริหารงานด้วยความสำเร็จ
วัฒนธรรมขององค์กรก็จะเปลี่ยนแปลงไป


หากเข้าใจซอฟแวร์ทางสังคมในการบริหารงาน ผู้นำองค์กรก็จะเชื่อมโยงตนเองเข้ากับวิถีชีวิต

ประจำวันขององค์กร ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหรือดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมองค์กรคือ
พฤติกรรมของผู้นำนั่นเอง จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรก็ โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้นำ

โดยสามารถวัดความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม ได้จากการวัดความเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมส่วนบุคคลของผู้นำ และผลการบริหารงานเชิงธุรกิจจะสร้างองค์กร
ที่บริหารงานสู่ความสำเร็จๆได้ ผู้นำต้องแสดงออกอย่างชัดเจนในการสร้างสรรค์
และสนับสนุนซอฟแวร์ทางสังคมที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่องค์กรปรารถนา

บริษัทต่างๆควรให้ความสำคัญกับ คุณภาพบุคลากร (The Quality of Their People)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้นำ(The Leadership Pool) เพราะบุคลากรขององค์กรเป็นทรัพยากร
หลักในการสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมให้กับองค์กร การตัดสินใจ ประสบการณ์ และ
ขีดความสามารถของบุคลากร คือ ตัวชี้ความแตกต่างระหว่างความล้มเหลวและความสำเร็จ


ผู้นำที่มักอวดอ้างว่าตน “เห็นบุคลากรเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด”
( People are our Most Important Asset) มักเป็นพวกที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ
การแต่งตั้งคนให้ตรงกับงาน (Choosing the Right People for the Right Jobs) เท่าไรนัก
คนพวกนี้รวมถึงองค์กรที่เขาบริหารไม่มีแนวคิดที่ชัดเจนว่างานในแต่ละตำแหน่งต้องการคนประเภทใด
และคนประเภทใดที่เหมาะสม ที่มาดำรงตำแหน่งนั้น ผลก็คือ บริษัทเหล่านี้ไม่ได้จ้าง
เลื่อนตำแหน่ง และพัฒนาบุคลากรที่ดีที่สุดที่ตรงกับความต้องการของผู้นำองค์กร

บ่อยครั้งที่ผู้นำเหล่านี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับบุคลากร เพราะมัวแต่ไปให้ความสำคัญกับ
เรื่องที่จะทำอย่างไรให้บริษัทใหญ่ขึ้น ก้าวสู่ระดับสากลเหนือกว่าคู่แข่งคนอื่น
ทำให้มองข้ามคุณภาพของบุคลากร ที่แท้จริงแล้วเป็นตัวชี้วัดความแตกต่างที่สำคัญสุดในการแข่งขันเชิงธุรกิจ
แต่จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าชี้ให้เห็นว่า การคัดเลือกบุคลากรที่ถูกต้องเหมาะสม
เป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างข้อได้เปรียบที่ยั่งยืนในการแข่งขัน
(Elusive Sustainable Competitive Advantage)


เหตุผลที่บุคลากรที่เหมาะสมไม่ได้ดำรงตำแหน่งที่ถูกต้อง เพราะ

1. ผู้นำองค์กรที่ขาดความรู้ ความสามารถ ( Lack of Knowledge )
และมองโลกในแง่ร้าย (Focus on the Wrong Criteria)

2. ผู้นำที่ขาดความกล้าหาญ (Lack of Courage)

3. โดนครอบงำจากปัจจัยความพอใจส่วนตัว (Psychological Comfort Factor)

4. ขาดความมุ่งมั่น (Lack of Personal Commitment)



คนประเภทใดที่ต้องมาหางานทำ

1. คนที่ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดกำลังใจ (They Energize People)


2. คนที่สามารถตัดสินใจในเรื่องยากๆได้ (They’re Decisive on Tough Issues)


3. คนที่ทำงานสำเร็จโดยผ่านคนอื่น ( They Get Things Done Though Others)


4. คนที่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ( They Follow Through)

Resource://intania55.com/Mr.Uraken/note030.htm
โดย: เรื่อง สรุปสาระสำคัญจากหนังสือ (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:05:24 น.
  
"ทักษิณ" อ่าน อ่าน "ทักษิณ"
รายงาน ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 23 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3621 (2821)

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับที่ผ่านมาได้ทำการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับ "พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" ในช่วง 3 ปีกว่าของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีช่วงทั้งขาขึ้นและขาลงปรากฏว่ามีหนังสือออกมาขายกว่า 50 ปก เรียกได้ว่าไปร้านหนังสือร้านไหนก็ต้องเห็นหน้า "ทักษิณ"

ในอีกด้านหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังเป็นผู้จุดกระแสให้นักการเมือง รัฐมนตรี ข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการศึกษา สนใจใคร่เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ของนักคิดรุ่นใหม่ๆ ทั่วโลก

โดยประเดิมด้วยการเอาหนังสือ As The Future Catches You เขียนโดย Juan Enriquez แนะนำต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นครั้งแรก เมื่อ 3 กันยายน 2545 จนถึงกลางปี 2546 ก็มีการแปลเป็นภาษาไทย ในชื่อ "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ" โดยชวนิต ศิวะเกื้อ, สมสกุล เผ่าจินดามุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อมุ่งไปในอนาคตที่รวดเร็วมาก

จากนั้นก็พรั่งพรูออกมาอีกหลายเล่ม เช่น

Rethinking the Future เขียนโดย Ronan Gibson ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนต้องปรับกระบวนความคิดตามให้ทัน ซึ่งเป็นที่มาของสโลแกนพรรคไทยรักไทย "คิดใหม่ ทำใหม่"

The Mystery of Capital เขียนโดย Hernando de Soto อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเปรู เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ "ทักษิณ" เอามาใช้จนฮือฮามากในเมืองไทย

Lateral Thinking เขียนโดย Edward de Bono เนื้อหาเกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกรอบจนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน

Business @ The Speed of Thought เขียนโดย Bill Gates ผู้สร้างไมโครซอฟท์ผงาดโลก ทักษิณแนะนำว่าหนังสือเล่มนี้จะฝึกในการเลือกใช้ข้อมูล และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายตระหนักในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน

Primal Leadership : Realizing the Power of Emotional Intelligence เขียนโดย Daniel Goldman, Richard Boyatzis and Annie McKee แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ผู้ที่ทำให้โลกรู้จักคำว่า "อีคิว" หรือ "ความฉลาดทางอารมณ์"

Execution : The Discipline of Getting Things Done เขียนโดย Larry Bassidy และ Ram Charan นายกฯทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือทางธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานและเป็นขั้นตอน นำเอาสิ่งที่คิดฝันไปปฏิบัติให้เป็นความจริง

What the Best CEOs Know : 7 Exceptional Leaders and Their Lessons for Transforming any Business เขียนโดย Jeffrey A. Krames พ.ต.ท.ทักษิณยกหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาประกอบวาระ ครม.เรื่องผู้ว่าฯซีอีโอ

Winning the Merger Endgame : A Playbook for Profiting From Industry Consolidation เขียนโดย Graeme K. Deans, Fritz Kroeger และ Stefan Zeisel เนื้อหาแนะนำถึงการรวมภารกิจทั้งหมดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ แนะนำผู้บริหารต้องดูที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่เหมาะสม คือต้องกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอื้ออำนวยให้แก่วงการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอย่างเหมาะสม

It"s Alive : The Coming Convergence of Information, Biology, and Business เขียนโดย Chris Meyer, Stan Davis เป็นหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทุกอย่างเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ดังนั้น จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย

Leading at the Speed of Growth : Journey from Entrepreneur to CEO เขียนโดย Katherine Catlin หนังสือจะกล่าวถึงการตั้ง องค์กรใหม่ๆ ที่จะต้องมีผู้นำที่เป็นผู้กระทำเอง และเป็นคนที่ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในองค์กร เมื่อองค์กรพัฒนาไปอีกขั้นก็จะเป็นผู้ที่มอบหมายงานให้ผู้อื่นไปปฏิบัติ และเมื่อพัฒนาต่อไปก็จะเป็นผู้กำหนดทิศทางองค์กรว่าจะไปในทิศทางใด

Ten Deadly Marketing Sins : Signs and Solutions เขียนโดย Philip Kotler นักการตลาดชื่อดัง ซึ่งเคยมาแสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมมนา CEO forum ในหัวข้อ Marketing Thailand และ Marketing Move ในเมืองไทย

"พุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จักในทางการเมือง" ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้เขียนเอง เป็นเล่มเล็กๆ ราคาแค่ 25 บาท และเคยนำไปปาฐกถาเมื่อครั้งตั้งพรรคไทยรักไทยใหม่ โดย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่าได้ศึกษาธรรมะจากหนังสือของท่านพระพุทธทาสแล้วเห็นว่า เป็นหลักปรัชญาชั้นสูง ทำความเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจแล้วนำมาปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ทำให้ปล่อยวางเรื่องต่างๆ ได้มาก ถ้าไม่มีหลักธรรมะยึดเหนี่ยว การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย คงไม่ลุล่วงมาได้ถึงทุกวันนี้

Mind Into the 21st Century หรือ "พลังจิตในศตวรรษที่ 21" เขียนโดย John Kehoe นายกฯทักษิณแนะนำว่า หนังสือเล่มนี้ชี้ความจริงว่า การทำงานทุกอย่างไม่มีการแยกส่วน แต่เป็นเรื่องขององค์รวมทั้งสิ้น

และเล่มสุดท้ายที่นายกฯทักษิณ แนะนำล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา คือ Underdog Advantage หรือ "ข้อได้เปรียบของคนที่ตกเป็นเบี้ยล่าง" เขียนโดย David Morey และ Scott Miller โดยปรารภในที่ประชุม ครม.ว่า กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ในยามที่รัฐบาลขาลงเช่นนี้ควรจะอ่านหนังสือเล่มนี้ หนังสือกล่าวถึงคนที่อยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจะมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง เมื่อคนตัวเล็กต้องต่อสู้กับคนตัวใหญ่กว่าและมีอำนาจมากกว่าจะทำอย่างไร

ต้องยอมรับว่าโลกแห่งการเรียนรู้จากหนังสือสามารถย่อโลกและความคิดของคนทั่วโลกได้อย่างกระชับและมีองค์ความรู้ ใครที่อยากรู้ทันทักษิณยิ่งจะต้องอ่านหนังสือที่ทักษิณอ่าน

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6


--------------------------------------------------------------------------------

"ทักษิณ" อ่าน ภาค 2 "ต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด"

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 27 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3622 (2822)

เมื่อฉบับที่แล้ว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้นำเสนอรายงานหนังสือที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แนะนำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อ่านและนำเสนอในการแสดงปาฐกถาในวาระต่างๆ แต่ตกหล่นหนังสือที่น่าสนใจไปหลายเล่ม จึงขอนำเสนอต่อในภาค 2

"The Third Wave" ของ "Alvin Toffler" ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดว่าด้วยความพยายามการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเริ่มตั้งแต่ฟิวเจอร์ช็อก คลื่นลูกที่สาม และอำนาจใหม่ โดย "ทักษิณ" กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 ยุค ยุคที่ 1 เป็นสังคมเกษตร ต่อมายุคที่ 2 เป็น การทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและคุณค่าของมนุษย์ และยุคที่ 3 จะเป็นยุคที่เรียกร้องสิ่งที่ดีงามจากยุคที่ 2 กลับคืนมา เป็นยุคไฮเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ต้องปรับปรุงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และให้ความสำคัญเรื่อง "ความปลอดภัยในอาหาร" ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่อง "จีเอ็มโอ" อันเป็นปัญหาที่คนไทยกำลังทั้งตกใจและสงสัยระคนกันอยู่ในขณะนี้

หนังสือเล่มนี้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยแล้วชื่อ "คลื่นลูกที่สาม" แต่ไม่ทราบว่ายังมีวางขายอยู่อีกหรือไม่

"The Guru Guide" เขียนโดย Joseph H. Boyett และ Jimmie T. Boyett "ทักษิณ" มองว่าเป็นหนังสือที่พูดถึงผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ สามารถเป็นผู้นำในการเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเก่งในการนำเสนอ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ของตนเองให้คนในองค์กรได้รับรู้และนำไปปฏิบัติได้

"The Attention Economy" ซึ่ง "ทักษิณ" บอกว่า ในวันนี้ข้อมูลความรู้มีมากมาย แต่เรายังขาดนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์มันอย่างเต็มที่ มันเป็นกระบวนการที่เรียกว่า attention economy หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Thomas H. Davenport และ John C. Beck

"Judo Strategy" เขียนโดย David B. Yoffie และ Mary Kwak เป็นหนังสือว่าด้วยกลยุทธ์ในการแข่งขัน เหมาะสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ทักษิณอธิบายว่า นักยูโดเขาไม่ผลีผลามปะทะคู่แข่ง วิเคราะห์ดูท่าทีของคู่แข่ง ฉะนั้นจะต้องมองว่าคู่แข่งมีอะไรแข็ง แล้วความแข็งของคู่แข่งทิ่มแทงตัวเอง"

"The Math Gene" เป็นหนังสือที่ "ทักษิณ" แนะนำกับครู โดยบอกว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธุ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์สูง ควรส่งเสริมให้เด็กคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Keith J. Devlin

"The Responsibility Virus" เขียนโดย Roger L. Martin ทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือที่ช่วยให้ผู้นำใช้ความสามารถของผู้บังคับ บัญชาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งจะมีเครื่องมืออยู่ 4 อย่าง คือ 1.เปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันโดยเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแต่ละคนเทียบกัน เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดจากกลุ่ม 2.การจัดกรอบความคิดเพื่อหลีกเลี่ยงหรือออกจากการตกอยู่ในสภาวะของการรับผิดชอบมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

3.แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน สนับสนุนและร่วมมือเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และ 4.กำหนดลักษณะของผู้นำกับผู้ตามใหม่ ให้มองเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมมือกันในการดำเนินงานแทน

เช่นเดียวกับหนังสือ The Power of Minds at Work ซึ่งเขียนโดย Karl Albrecht ซึ่งทักษิณชี้ว่า ผู้บริหารควรใช้ปัญญาของคนในองค์กรรวมกัน และนำปัญญาสะสมของคนในองค์กรมาทำงานร่วมกัน โดยมีจุดเริ่มต้นคือมีวิสัยทัศน์ที่เห็นพ้องต้องกัน มีความกระหายอยากจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

และอีกเล่มหนึ่งที่แนะนำด้านการบริหารที่น่าสนใจ คือ Re-imagine เขียนโดย Thomas J. Peters และ Tom Peters

ทักษิณเห็นว่า "ในการบริหารองค์กรจะต้องใช้จินตนาการ จะต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด จะแปลกประหลาดเกินจริงหรือเหลือเชื่อบ้างก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยๆ ปรับให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะโลกปัจจุบันไม่นิ่งอยู่กับที่ ผู้นำจะต้องมีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีจินตนาการเชิงบวก จะทำให้องค์กรถึงเป้าหมายในเวลาที่รวดเร็ว"

ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น

โดย: ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:07:15 น.
  
จากการทำให้สัมฤทธิ์ ถึงการเผชิญความจริง
บ้านเขาเมืองเรา : ดร.ไสว บุญมา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2547

Larry Bossidy อดีตประธาน บริษัท Honeywell International และ Ram Charan หนึ่งในบรรดาปรมาจารย์ด้านบริหารจัดการ พิมพ์หนังสือออกมาชื่อว่า Execution : The Discipline of Getting Things Done หนังสือเล่มนี้ขายดีมากจนติดอันดับ 1 ในทำเนียบหนังสือขายดีของหนังสือพิมพ์ New York Times และเป็น 1 ในหนังสือแนะนำของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร

สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสอ่านต้นฉบับอาจอ่านบทย่อ 4 ตอนชื่อ "การทำให้สัมฤทธิ์" ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ประจำวันที่ 2-23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ผู้ที่พลาดอ่านบทย่อนั้นอาจไปอ่านบทที่ 6 ของหนังสือชื่อ "คิดนอกคอก-ทำนอกคัมภีร์" ซึ่งเพิ่งพิมพ์ออกมาเมื่อต้นเดือนนี้ และ "ซีเอ็ดดูเคชั่นบุ๊คเซ็นเตอร์" จัดจำหน่าย

เมื่อเร็วๆ นี้ Larry Bossidy และ Ram Charan พิมพ์หนังสือออกมาอีกเล่มหนึ่งชื่อ Confronting Reality : Doing What Matters to Get Things Right แปลได้ว่า "การเผชิญความจริงเพื่อทำสิ่งสำคัญให้ถูก" มองจากประวัติการเขียนของทั้ง 2 คนนี้แล้ว หนังสือเล่มนี้คงขายดีเป็นเทน้ำเทท่าอีก อย่างไรก็ตามคงมีคำถามตามมาว่า หนังสือ 2 เล่มนี้แตกต่างกันมากน้อยเพียงไร เพราะชื่อเรื่องดูจะไม่ไกลกันนัก ผู้แต่งนำเหล้าเก่ามาใส่ขวดใหม่เพื่อฉวยโอกาสขายอีกครั้งหรือเปล่า

มองจากแง่บริบทของหนังสือ เรื่อง Execution พิมพ์ออกมาในระหว่างที่วงการธุรกิจในสหรัฐ อยู่ในภาวะคับขันอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจขยายตัวต่ำทำให้ความฝันของบริษัทต่างๆ ล่มสลาย เพราะไม่สามารถทำกำไรได้ตามที่คาด เมื่อผู้แต่งเอาประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ และความรอบรู้เชิงตำรามารวมกันเป็นคำแนะนำว่า ควรจะทำอย่างไรในภาวะเช่นนั้น นักศึกษา ครูบาอาจารย์ นักบริหาร และผู้อ่านทั่วไป จึงให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

ส่วนบริบทของเรื่อง Confronting Reality เป็นความกดดันอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากอานุภาพในการแข่งขันของยักษ์ใหญ่ ทั้งในรูปของบริษัทขายปลีก เช่น Wal-Mart และในรูปของประเทศ เช่น จีน

ในภาวะเช่นนี้ ผู้บริหารควรจะต้องตั้งป้อมอย่างไร และดำเนินธุรกิจในรูปไหนจึงจะประสบความสำเร็จ อีกนัยหนึ่งในเรื่อง Execution ผู้เขียนแนะนำว่าจะทำอย่างไรยุทธศาสตร์ของบริษัท จึงจะประสบผลตามเป้า ส่วนในเรื่อง Confronting Reality ผู้เขียนย้อนไปถึงตอนเขียนยุทธศาสตร์ และให้คำแนะนำว่าจะทำอย่างไร จึงจะเขียนและปรับยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

Confronting Reality แบ่งออกเป็น 4 ภาค ในภาคแรกกล่าวถึงเหตุผลว่า ทำไมผู้บริหารจำเป็นต้องเผชิญกับความเป็นจริง ไม่ใช่ฝันแบบลมๆ แล้งๆ จึงจะมีโอกาสนำกิจการไปสู่จุดหมาย ภาคสองพูดถึงวิธีการหารูปแบบหรือยุทธศาสตร์ใหม่ในการทำธุรกิจ ภาคสามเป็นบทเรียนจากผลของการศึกษาต่างๆ ภาคสุดท้ายเป็นคำแนะนำเกี่ยวกับเตรียมการเพื่อปรับเปลี่ยนองค์กร

Confronting Reality ยาว 264 หน้า ซึ่งเท่าๆ กับเรื่อง Execution แต่อ่านง่ายกว่า นอกจากนั้นตัวอย่างที่ยกมายังมีชีวิตชีวามากกว่าด้วย เนื่องจากมันเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องที่เกิดจากการสมมติคล้ายนิทานดังบางเรื่องใน Execution ตัวอย่างส่วนมากเป็นเรื่องของการนำบริษัทฝ่าฟันอุปสรรคอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของภาวะต่างๆ ไปจนประสบผลสำเร็จ

เช่น เรื่องของ Joseph M. Tucci แห่งบริษัท EMC Corp. เรื่องของ John Chambers แห่งบริษัท Cisco Systems Co. นอกจากนั้นยังมีเรื่องของบริษัท General Electric ซึ่งเคยมีผู้บริหารชั้นยอดเซียน Jack Welch และได้ผลิตผู้บริหารชั้นเซียนออกมาอีกหลายคน รวมทั้งตัวของ Larry Bossidy เอง

แต่หนังสือไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตัวอย่างของความสำเร็จอย่างเดียว หากยังเล่าเรื่องของความล้มเหลวอีกด้วย เช่น เรื่องของห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ ซึ่งกลายเป็นยักษ์ล้ม Kmart Corp. เพราะผู้บริหารไม่สามารถปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เมื่อเกิดคู่แข่งยักษ์ใหญ่ในด้านการขายปลีก เช่น Wal-Mart

ผู้เขียนแนะนำให้ผู้บริหารเผชิญกับความเป็นจริง 3 ด้าน ได้แก่ ความจริงภายนอก ความจริงภายใน และเป้าหมายทางด้านการเงิน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงภายนอก เช่น แนวโน้มในวงการธุรกิจ ความแข็งแกร่งของคู่แข่งขัน และความเป็นจริงภายใน เช่น บริษัทมีคนที่มีความสามารถเพียงพอหรือไม่ และคนเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่ ยุทธศาสตร์ของบริษัทจะต้องปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ

คำแนะนำของหนังสือไม่จำกัดอยู่ที่จะต้องเผชิญกับความจริงอย่างไร จึงจะทำให้การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เหมาะสม หากยังรวมถึงจะร่างยุทธศาสตร์อย่างไร จึงจะทำให้มันเป็นเครื่องมือสำหรับเผชิญกับความเป็นจริงด้วย

วันนี้นายกรัฐมนตรีทักษิณคงอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว และอาจจะแนะนำให้คนไทยอ่านในการประชุมคณะรัฐมนตรี ระหว่างบทความนี้รอการตีพิมพ์อยู่ก็ได้ หากนายกฯ ยังไม่แนะนำ ผมคิดว่าคณะรัฐมนตรีและผู้ที่สนใจด้านการบริหารควรรีบไปอ่านทันที เพราะมันจะมีประโยชน์มากหากนำมาใช้กันจริงๆ ทั้งในการทำงานของรัฐบาลเพื่อบริการประชาชน และการทำงานของบริษัทห้างร้านซึ่งต้องการแสวงหากำไร

ช่วงเวลากว่า 3 ปีที่นายกรัฐมนตรีแนะนำหนังสือ นโยบายและมาตรการที่รัฐบาลออกมาจำนวนมาก ขัดกับหลักการในหนังสือเหล่านั้น คำตอบว่าขัดอย่างไรมีอยู่ใน "คิดนอกคอก-ทำนอกคัมภีร์" ที่กล่าวถึงข้างต้น เรื่อง Confronting Reality มีข้อแนะนำสำหรับการเผชิญความเป็นจริง และการเขียนยุทธศาสตร์ที่ทั้งสอดคล้องกับความเป็นจริง และเอื้อให้เผชิญกับความเป็นจริงด้วย มันจึงน่าจะมีประโยชน์ต่อภาครัฐโดยเฉพาะ

เป้าหมาย นโยบาย และมาตรการจำนวนมากของรัฐบาลเป็นการฝันลมๆ แล้งๆ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งภายนอกและภายใน เป้าหมายที่มีความโดดเด่น และเป็นที่ชวนหัวของคนทั่วโลก ได้แก่ การจะขจัดความยากจนให้หมดไปจากเมืองไทยภายในปี 2552 เป้าหมายนี้ไม่มีความเป็นไปได้ เพราะวางอยู่บนฐานของการคิดฝันเอาเอง

ผู้ที่มีความรู้เรื่องการพัฒนา จึงวิจารณ์ว่า เป็นการฝันเฟื่อง การตั้งเป้าแนวนี้มีอีกมากมาย ล่าสุด ได้แก่ การจะขจัดไข้หวัดนกให้หมดไปภายใน 1 เดือนทั้งที่ยังไม่รู้ว่าสาเหตุของปัญหาคืออะไร และตัวไวรัสได้กลายพันธุ์จนทำให้มันสามารถกระโดดจากคนไปสู่คนได้แล้วหรือยัง

ยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่ไกลจากความเป็นจริงของภาวะภายนอกและภาวะภายใน มีส่วนนำไปสู่วิกฤติเมื่อปี 2540 หากรัฐบาล และคนไทยยังไม่ยอมเรียนรู้จากวิกฤติคราวนั้น ยังเขียนยุทธศาสตร์ ตั้งเป้าหมาย ดำเนินนโยบายและทำกิจการ ซึ่งไม่อยู่บนฐานของความเป็นจริง โอกาสที่จะเกิดวิกฤติอีกครั้งมีอยู่ค่อนข้างสูง

โดย: จากการทำให้สัมฤทธิ์ ถึงการเผชิญความจริง (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:07:48 น.
  


Lifestyle Update : Top 10 Business & Management Books Checklist

แรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ บางครั้งก็มาจากหนังสือดีๆ สักเล่มหนึ่ง คำถามก็คือปีนี้คุณอ่านหนังสือไปแล้วกี่เล่ม

ก่อนวางแผนว่าปีหน้าจะทำอะไรบ้าง ลองมาดูกันก่อนว่าในปีนี้หนังสือที่ได้รับการยอมรับและจัดอันดับว่าเป็นหนังสือขายดีจากเอเชียบุ้คส์นั้น คุณผ่านตามาแล้วกี่เล่ม หากยังไม่ได้อ่านสักเล่ม หรืออ่านไม่ถึงครึ่งก็ไม่ต้องตกใจ marketeer นำ 10 อันดับหนังสือธุรกิจขายดีในปีที่ผ่านมา พร้อมสรุปเนื้อหาสำคัญมาให้เลือก







คัดมาให้เลือกง่ายขนาดนี้แล้ว จะเลือกหนังสือสร้างแรงบันดาลใจต้อนรับปีใหม่ให้กับตัวเอง หรือเลือกเล่มเด็ดๆ ให้คนอื่นในวาระขึ้นปีใหม่ก็คงดีไม่น้อย







1.Ten Deadly Marketing Sins: Signs and Solutions โดย Philip Kotler



รายละเอียด กูรูการตลาดจะเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้การทำการตลาดไม่ได้ผล รวมถึงบอกวิธีการตรวจสอบว่าองค์กรใครมีสภาพ “การตลาดอ่อนแอ” พร้อมเสนอวิธีการแก้ไขสภาพเหล่านั้น



2. Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes โดย Kaplan & Norton



รายละเอียด Strategy Map พัฒนาขึ้นมาจากผลการวิจัยของผู้ที่ใช้ Balanced Scorecard นับร้อยรายทั่วโลก โดยจะช่วยให้องค์กรหรือบริษัทต่างๆ สามารถค้นพบความสัมพันธ์ของทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้กับการสร้างคุณค่าขององค์กร



3. Re-imagine!: Business Excellence in a Disruptive Age โดย Tom Peters



รายละเอียด นำเสนอมุมมองแนวคิด และรูปแบบใหม่ๆ ในการบริหารจัดการธุรกิจที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการบริหารเพื่อช่วยส่งเสริมทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ หล่อหลอมจิตวิญญาณร่วมกันของพนักงานในองค์กร



4. Execution: The Discipline of Getting Things Done โดย Bossidy Et Al



รายละเอียด ความสำคัญของการบริหารที่ผู้นำองค์กรต้องเรียนรู้ และให้ความสำคัญหากอยากให้องค์กรประสบความสำเร็จ



5. How to Become CEO: The Rules for Rising to the Top of Any Organization โดย Jeffrey J. Fox



รายละเอียด กฎเหล็ก 75 ข้อที่คัดมาแล้วว่าเฉพาะเจาะจงและ Practical มีทั้งสิ่งที่ควรทำ ควรเลี่ยง และควรพัฒนาเพิ่มเติม



6. The Toyota Way: Fourteen Management Principles from the World’s Greatest Manufacturer โดย Jeffrey Liker



รายละเอียด Toyota Way เป็นหนังสือเล่มแรกที่พูดถึงหลักการการจัดการ และปรัชญาการบริหารงานของ Toyota ซึ่งได้สร้างชื่อเสียง และความเชื่อถือให้แก่แบรนด์ดังกล่าว



7. Tools for Success: A Manager’s Guide โดย Suzanne Turner



รายละเอียด เครื่องมือแบบวันสต็อปเพื่อการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพลูกทีม และเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร



8. Warren Buffett Wealth: Principles and Practical Methods Used by the World’s Greatest Investor โดย Robert C Miles



รายละเอียด บอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการเริ่มต้นชีวิตการทำงาน บทเรียนต่าง ๆ ความลับเกี่ยวกับความสำเร็จของ Buffett



9. The Origin of Brands: Discover the Natural Laws of Product Innovation and Business Survival โดย Al & Laura Ries



รายละเอียด กล่าวถึงวิธีการสร้างแบรนด์ใหม่ โดยขยายจากแบรนด์เก่าที่มีอยู่และประสบความสำเร็จอยู่แล้ว



10. The Art of the Advantage: Strategies to Ensure the Competitive Edge โดย Kaihan Krippendorff



รายละเอียด พูดถึงหลักอุบายของจีนที่เก่าแก่ถึง 36 ศตวรรษมาแล้ว รวมถึงการนำหลักดังกล่าวมาปรับใช้กับในองค์กรและในชีวิตประจำวัน


ที่มา Asia Books New Arrivals เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2547

ฉบับที่ 58 ธันวาคม 2547


โดย: Lifestyle Update : Top 10 Business & Management Books Checklist (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:09:48 น.
  
ทำไมแผนธุรกิจพร้อมสรรพ แต่ทำไม่ได้


บทความที่นำเสนอสรุปประเด็นจากหนังสือเรื่อง Execution: the Discipline of Getting Things Done แต่งโดย Larry Bossidy และ Lam Sharan ว่าด้วยเรื่องการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จสูงสุด ผู้แต่งมีสมมติฐานว่า ผู้บริหารที่มีความเก่งฉกาจมีฝีมือเป็นที่ยอมรับ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีกลยุทธที่พร้อมสรรพ มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีทีมงานที่เข้มแข็ง และมีระบบการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งที่มีความเที่ยงธรรม แต่กลับไม่สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้


สาเหตุแห่งความล้มเหลวมีอยู่ 2 ประการ คือ

กลยุทธที่ใช้ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพราะองค์กรอาจจะไม่มีทรัพยากรเพียงพอ

มีปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนผู้นำตั้งรับไม่ทัน เกิดเป็นปัญหาบานปลายจนไม่สามารถแก้ไขได้ นำมาซึ่งความล้มเหลวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

จากมุมมองของผู้แต่งนั้น สาเหตุที่แท้จริงน่าจะมาจากสาเหตุแรกมากกว่าคือ องค์กรมีทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ไม่เพียงพอ อันได้แก่ ทรัพยากรทางด้านบุคคล ทางด้านการตลาด และการลงมือกระทำ การลงมือกระทำ (execution) ในที่นี้หมายถึง การลงมือปฏิบัติการโดยรู้ว่า กำลังจะทำอะไร ทำอย่างไร และใครจะเป็นผู้ลงมือกระทำ โดยก่อนอื่นผู้นำจะต้องต้องดูภาพรวมของตลาดก่อน ประเมินขีดความสามารถขององค์กรว่า สามารถทำได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ และมีอะไรเป็นตัวชี้วัดว่า ขณะนี้องค์กรก้าวหน้าไปถึงขั้นไหน และมีปัจจัยทั้งภายในองค์กรและภายนอกใดบ้างที่จะการเปลี่ยนแปลงเป็นอุปสรรคทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งได้เสนอวิธีในการประเมินว่า ขณะนี้กำลังมีปัญหาเกิดขึ้นในองค์กรแล้วหรือยังดังนี้

ผู้บริหารเองจะต้องศึกษากลไกต่าง ๆ ในการทำธุรกิจขององค์กรอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน ฉะนั้น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ผู้นำจึงจะสามารถจับสังเกตได้

พูดคุยกับลูกน้องเป็นระยะเพื่อตรวจดูว่า การทำงานดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะบางครั้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ลูกน้องอาจไม่กล้ารายงานหัวหน้าโดยตรงเพราะกลัวโดนตำหนิ หรือตัวลูกน้องเองอาจจะมองไม่ออกว่า ขณะนี้กำลังมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ได้เข้าไปรายงาน ฉะนั้น หัวหน้าจึงควรเข้าไปสอบถามถึงความคืบหน้าของงานด้วยตนเอง

สังเกตบรรยากาศการประชุมว่าเป็นอย่างไร เช่น มีการปะทะคารมกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้นำต้องสังเกตและแยกให้ออกว่าเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว หรือมีการให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี สิ่งนี้หัวหน้าจะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่า ภายใต้การทำงานที่เรียบร้อยและสงบสุขนั้น มีการปิดบังอำพรางเพื่อเอื้อประโยชน์ให้มีการโกงกินภายในองค์กรหรือไม่ หรือสุดท้าย หากบรรยากาศการประชุมเต็มไปด้วยลูกน้องมีที่คอยปิดบังข้อมูลซึ่งกันและกันตลอดเวลา สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า องค์กรกำลังขาดความสมัครสมานสามัคคี ควรรีบปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว เป็นต้น

นอกจากนั้น ผู้แต่งได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จจะต้องเป็นนักคิดและนักถาม เช่น ผลกำไรที่องค์กรคาดหวังนั้น จะได้มาจากผลผลิตใดของบริษัท ได้จากลูกค้ากลุ่มใด เพราะเหตุใดลูกค้าจึงจะเลือกที่จะซื้อสินค้าของเรามากกว่าสินค้าของบริษัทคู่แข่ง และในขณะนี้คู่แข่งเรากำลังออกสินค้าตัวใด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น สิ่งนี้อาจจะเกิดจากการความผิดพลาดของตัวหัวหน้าเองที่วางตัวลูกน้องในตำแหน่งหน้าที่ไม่เหมาะสม ฉะนั้น ในการมอบหมายงาน ควรเลือกคนที่มีความเชี่ยวชาญ มีความชอบ และมีความกระตือรือร้นในการทำงานชิ้นนั้น มากกว่าเลือกที่จะมอบหมายงานแก่คนที่เราพึงพอใจ

จากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้แต่งได้เสนอวิธีการแก้ไขประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยด้านบุคคล

ผู้นำหรือหัวหน้าแผนกต่าง ๆ จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ 7 ประการคือ

รู้จักลูกน้อง ผู้ร่วมงาน ธุรกิจของตนเอง การเปลี่ยนแปลงของตลาด การบริโภคของลูกค้า และกลยุทธของคู่แข่งอย่างถ่องแท้

ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และกล้าที่จะเปรียบเทียบผลงานของตนเองกับบริษัทคู่แข่ง ทั้งกับคู่แข่งที่เหนือกว่าและด้อยกว่า เป็นต้น

มีเป้าหมายที่ชัดเจน และตระหนักดีว่าสิ่งใดควรทำก่อนหลัง เป้าหมายที่ดีจะต้องมีไม่เกินสามประการ นอกจากนั้น ผู้นำจะต้องเป็นผู้ฟังที่ดีและนักสื่อความที่ดี โดยหัวหน้าจะต้องสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ลูกน้องมีความรักและศรัทธาในตัวหัวหน้าและองค์กร จนยอมทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อทำให้เป้าหมายขององค์กรเป็นจริง

มีความสนใจ และคอยติดตามงานเป็นระยะ ว่าลูกน้องทำงานมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง โดยการเข้าไปพูดคุยกับลูกน้อง และสังเกตว่า มีความผิดปกติตรงจุดใดบ้าง จะได้รีบแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

ให้รางวัลแก่คนที่มีผลงาน และรักษาคำมั่นสัญญา

สามารถเพิ่มขีดความสามารถของลูกน้องได้ โดยการสอนงานและเน้นการถามคำถามให้ลูกน้องเป็นหลัก เพื่อสอนให้ลูกน้องรู้จักคิดเองเป็น และมีการวางตำแหน่งตามลำดับความสามารถอย่างชัดเจน ลูกน้องจึงจะมีกำลังใจในการทำงาน

รู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ ไม่หวั่นไหวไปกับคำครหานินทา และมีความเชื่อมั่นว่า กำลังทำในสิ่งที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

การคัดเลือกบุคลากรสามารถประเมินได้จากประวัติการทำงานที่ผ่านมาได้ว่า ประสบความสำเร็จและล้มเหลวในด้านไหนบ้าง และผลงานที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดจากความสามารถที่แท้จริงหรือเป็นเพียงส้มหล่นคือการรับงานต่อจากพนักงานคนก่อน หรือจากหัวหน้าที่ทำไว้จนเกือบจะเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้มากน้อยเพียงใด และจากผลงานที่ผ่านมา บุคคลดังกล่าว เป็นพวกที่ชอบทำงานเอาหน้าหรือไม่ คือ เลือกทำแต่โครงการใหญ่ ๆ เพียงเพื่อสร้างภาพว่าเป็นบุคคลที่มีผลงาน และที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถในอดีตนั้น เหมาะสมกับตำแหน่งที่เราจะมอบหมายให้หรือไม่ เป็นต้น ฉะนั้น ผู้นำจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพิจารณาเรื่องการคัดสรรบุคลากร และเมื่อเลือกได้แล้ว หัวหน้าจะต้องถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของบริษัททั้งหมด ตั้งแต่ขบวนการผลิตจนกระทั่งการส่งถึงมือลูกค้า หากลูกน้องคนใดมีความสามารถเข้าสายตากรรมการ ควรเปิดโอกาสให้เข้าร่วมประชุมนัดสำคัญของเหล่าผู้บริหารระดับสูงบ้าง เพื่อศึกษาการทำงานและมุมมองของบุคคลดังกล่าว เป็นต้น เพื่อเป็นการฝึกฝนและพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ นอกจากนั้น ผู้นำควรมีการกำหนดลำดับขั้นการทำงานอย่างชัดเจนให้กับพนักงาน มีการฝึกอบรม และพนักงานที่มีความสามารถเราต้องรักษาไว้เป็ยอย่างดี อย่างไรตาม หากมีการทำผิดหรือทำงานไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการลงโทษและมีการลงชื่อรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยหัวหน้าจะต้องอธิบายเหตุและผลว่า บุคคลนั้นโดนลงโทษเพราะเหตุใด ในขณะที่ชี้แจงให้ลูกน้องทราบนั้น หัวหน้าจะต้องอธิบายด้วยน้ำเสียงสุภาพ มีความเป็นกลาง และเน้นเรื่องงานเป็นหลัก

ปัจจัยด้านกลยุทธทางการตลาด

ไม่ว่ากลยุทธจะเป็นแบบใด ทุกอย่างจะต้องจบลงที่องค์กรมีกำไรเพิ่มขึ้น มีความสามารถเหนือคู่แข่ง ลูกค้าเลือกใช้สินค้าของเราอย่างต่อเนื่อง และแนะนำเพื่อนฝูงญาติมิตรให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งเชื่อว่า กลยุทธต่าง ๆ นั้นจะสามารถนำไปปฏิบัติได้ก็ต่อเมื่อ

มีทรัพยากรต่าง ๆ ครบถ้วน และแผนดังกล่าวมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร สภาพตลาดโดยรวมเป็นอย่างไร ถ้ามีการปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง องค์กรมีแผนสำรองอะไรบ้างไว้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

การถ่ายทอดแผนงานต่าง ๆ แก่ลูกน้อง หัวหน้าจะต้องสามารถอธิบายทั้งหมดได้ภายในเวลา 20 นาที ถ้านานกว่านี้แสดงว่าหัวหน้าเองยังไม่เข้าใจถึงแผนการดังกล่าวอย่างแท้จริง จึงยังไม่ควรอธิบายให้ลูกน้องฟัง

วิธีการวางกลยุทธให้เกิดประสิทธผลสูงสุดจะต้องตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยภายนอกมีอะไรบ้างที่จะส่งผลต่อการทำธุรกิจของเรา เช่น รสนิยมของผู้บริโภค หรือแนวโน้มทางการตลาดโดยรวม เป็นต้น

ปัจจัยใดบ้างที่จะช่วยให้เรามีกำไรเพิ่มขึ้น เพราะสาเหตุใดลูกค้าถึงจะซื้อสินค้าของเรา และต้นทุนการผลิตของเราเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในกรณีที่เราจะต้องต่อรองกับบริษัทผู้ผลิตวัตุดิบเพราะต่อรองขอลดต้นทุนในการผลิตลง เราควรต่อรองโดยตรงกับผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อป้องกันการเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร อะไรคืออุปสรรคต่อการสร้างผลกำไรของเรา และเราควรจะผลิตสินค้าใหม่หรือไม่ หรือพัฒนาคุณภาพสินค้า หรือขยายฐานลูกค้าเพิ่มเติม โดยการนำสินค้าไปขายในกลุ่มลูกค้ารายใหม่แทน

ใครคือคู่แข่งของเรา คู่แข่งมีกลยุทธอะไรบ้าง มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร คู่แข่งมองเราสูงหรือต่ำกว่า และเรามีอะไรที่เหนือกว่าคู่แข่งบ้าง

ธุรกิจของเรามีการนำแผนทางธุรกิจไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ ใครคือคนที่นำไปปฏิบัติ องค์กรเรามีกำลังคนเพียงพอหรือเปล่า เรามีแผนการที่จะพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างไร เราเปิดรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าทางช่องทางใดบ้าง และเราสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้อีกหรือไม่

มีมาตรฐานใดที่ใช้ชี้วัดว่า มีความคืบหน้าในการทำงาน

เรามีแผนระยะสั้นและระยะยาวอย่างไรบ้าง และมันสอดคล้องกันหรือไม่

ปัญหาหลัก ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่คืออะไร ปัญหาเหล่านั้นเป็นตัวขัดขวางทำให้เราไม่สามารถประสบความสำเร็จหรือไม่ และเรามองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจใหม่ ๆ อะไรบ้างจากปัญหาที่เกิดขึ้น

ธุรกิจของเราสามารถกำไรได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร

Resource://www.drboonchai.com/index.php?option=content&task=view&id=188&Itemid=
โดย: ทำไมแผนธุรกิจพร้อมสรรพ แต่ทำไม่ได้ (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:11:46 น.
  
การบริหารสู่ความสำเร็จ
EXECUTION:THE DISCIPLINE OF GETTING THING THINGS DONE

แปลและสรุปความโดย รักกิจ ศรีสรินทร์

"...มีหนังสือเล่มล่าสุดที่ผมเพิ่งแนะนำไป คือ Execution เป็นหนังสือที่ Larry Bossidy อดีต CEO ของฮันนีเวลล์ (Honeywell) เขียน บอกว่าปกติเป้าหมาย (Goal) กับผลลัพธ์ (Results) ห่างกันเยอะมี Gap มาก เพราะว่ามีปัญหาเรื่อง Execution มาก Execution ต้องถือว่าเป็นหลักการ (Discipline) เป็น กระบวนการ (System Process) ที่จะต้องมีแผน มีระบบ มีการวางแผนเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือตามวิสัยทัศน์ เพราะฉะนั้นต้องสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เกิดการมองเรื่องของการบริหารงานสู่ความสำเร็จ (Execution)เป็นเรื่องที่สำคัญ

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่สอนวิธีทำให้ CEO ได้มองเรื่องของ การบริหารงานสู่ความสำเร็จ (Execution) ไปประกอบกับเรื่องของ Vision ไม่ใช่ Vision อย่างเดียว เพื่อลดช่องว่าง (Gap) ระหว่าง เป้าหมาย (Goal) กับผลลัทธ์ (Results)..." 

ก่อนที่จะเข้าสู่สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ เป็นการสมควรที่จะทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของสถานการณ์ในขณะที่เขียน และตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เอง หนังสือเล่มนี้อ้างถึงเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2544 ทำให้ประมาณว่าผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้หลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดที่นครนิวยอร์ค
สภาพการณ์ในขณะที่ผู้เขียนกล่าวถึง คือ ความล้มเหลวของบริษัทชั้นนำของอเมริกา อันเนื่องมาจากการบริหารงานของเหล่า CEOs ที่ไม่สามารถนำบริษัทชั้นนำเหล่านี้ไปสู่จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัทได้ โดยประมาณสถานการณ์ผิดพลาด มุ่งเน้นผลงานจนละเลยคน หรือแม้แต่ขาดวิสัยทัศน์หรือมีวิสัยทัศน์แต่วิสัยทัศน์ผิดพลาด
ผู้เขียนคนแรก คือ Larry Bosidy เป็นหนึ่งใน CEOs ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของโลก ที่บริหารงานให้กับบริษัท GE และบริษัท Allied Signal ทำให้ทั้งสองบริษัทกลายเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จชั้นแนวหน้า ในขณะที่ผู้เขียนอีกคนหนึ่งคือ Ram Charan เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทชั้นนำหลายแห่ง และเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทเหล่านี้
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงปัญหาชองบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่นิตยสารชั้นนำ คือ FORTUNE จัดอันดับว่าเป็น 500 บริษัทชั้นแนวหน้าของประเทศ แต่กลับประสบปัญหาในการบริหารงาน โดยในปี 2543 CEOs จำนวน 40 คน จาก 200 บริษัทอันดับแรกในบัญชีนี้ (คิดเป็น 20%) ถูกไล่ออกหรือถูกบีบให้ลาออก จากการบริหารงานผิดพลาด และในปี 2544-2545 ก็ยังคงเป็นปัญหาของบริษัทชั้นนำเหล่านี้
ปัญหามาจากกลยุทธ์ของ CEOs เหล่านี้น่าจะผิดพลาด ไม่สามารถทำยุทธศาสตร์เหล่านี้ให้บรรลุผลได้ หรือผู้นำองค์กรประเมินสิ่งท้าทายที่มีต่อองค์กรผิดพลาด หรือเกิดจากทั้งสองอย่าง นั่นคือ เกิดช่องว่างระหว่างสิ่งที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้น รู้ว่าต้องทำงานให้บรรลุผลแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
การบริหารสู่ความสำเร็จต้องเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กร องค์กรจะเปลี่ยนแปลงได้ก็โดยผู้นำทั้งหมดขององค์กรจะต้องนำกระบวนวิธีบริหารสู่ความสำเร็จมาใช้ในทุกระดับเท่านั้น
หลักการ 3 ประการในการบริหารสู่ความสำเร็จ
1. การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นหลักการสำคัญและต้องบูรณาการกับยุทธศาสตร์ขององค์กร
2. การบริหารสู้ความสำเร็จเป็นงานหลักของผู้นำทางธุรกิจ
3. การบริหารสู่ความสำเร็จเป็นองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมองค์กร
ในด้านคนนั้น ต้องมีการสร้างความเป็นผู้นำใน 7 พฤติกรรม ได้แก่
1. รู้จักพนักงานและธุรกิจของตนเป็นอย่างดี
2. ยืนหยัดยึดมั่นในความเป็นจริง (ไม่หลอกตัวเอง)
3. เข้าใจทะลุปรุโปร่งในเป้าหมายและลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย
4. ทำตามที่วางแผนไว้
5. ให้รางวัลคนที่ทำงานสำเร็จ
6. เพิ่มพูนขีดความสามารถของพนักงาน
7. รู้จักตนเอง
เมื่อการบริหารงานขององค์กรเกิดไม่ราบรื่น ผู้นำขององค์กรต้องตระหนักอยู่เสมอว่า จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับวัฒนธรรมขององค์กรได้อย่างไร ต้องตระหนักว่า สิ่งที่เป็นนามธรรม (Soft Stuff) คือ ความเชื่อและพฤติกรรมของคน มีความสำคัญเท่ากับ สิ่งที่เป็นรูปธรรม (hard Stuff) คือ โครงสร้างขององค์กร นั่นก็คือ Hardware ขององค์กร (โครงสร้างและกลยุทธ์) จะเปล่าประโยชน์หาก ไม่มี Software (ความเชื่อและพฤติกรรม)
องค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของบุคลากร (Quality of Their People) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้นำ (Leadership Pool) เพราะบุคลากรขององค์กรเป็นทรัพยากรหลักในการสร้างสรรค์ ผลงานที่ยอดเยี่ยมให้กับองค์กร ดังนั้นขีดความสามารถ ประสบการณ์ และการตัดสินใจของบุคลากรเหล่านี้ คือ ตัวชี้วัดความแตกต่างระหว่างความล้มเหลวและความสำเร็จ
เหตุที่บุคลากรที่เหมาะสมไม่ได้ดำรงตำแหน่งที่ถูกต้อง เพราะผู้นำองค์กร
1. ขาดความรู้ความสามารถและมุ่งเน้นผิดเรื่อง
2. ขาดความกล้าหาญ
3. โดนครอบงำจากความพอใจส่วนตัว
4. ขาดความมุ่งมั่น
คนประเภทที่ต้องหามาทำงาน
1. คนที่ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดกำลังใจ
2. คนที่สามารถตัดสินใจในเรื่องยากๆ ได้
3. คนที่ทำงานสำเร็จโดยผ่านคนอื่น
4. คนที่ทำตามที่ได้รับมอบหมาย
กระบวนการที่สำคัญ 3 ประการในการบริหารสู่ความสำเร็จ ได้แก่ กระบวนการคน กระบวนการยุทธศาสตร์ และกระบวนการดำเนินงาน
กระบวนการคน: ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์กับการดำเนินงาน
กระบวนการคนที่เข้มแข็งต้องมีกรอบที่ทรงพลังในการกำหนดความต้องการขององค์กรในช่วงเวลาหนึ่งๆ และวางแผนกิจกรรมที่ทำให้ความต้องการบรรลุผล จากพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่
1. ความเชื่อมโยงระหว่างแผนยุทธศาสตร์กับผลลัพธ์ระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว กับเป้าหมายของแผนปฏิบัติการ
2. พัฒนาเส้นทางอาชีพสำหรับผู้นำ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างผลสัมฤทธิ์ และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
3. วางแผนว่าต้องทำอะไรกับพวกไม่ทำงาน
4. ปรับปรุงภารกิจและจัดการทรัพยากรบุคคล
องค์กรขนาดเล็กแต่กำลังโตวันโตคืนให้ความสำคัญกับการประเมินบุคลากร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินความเป็นผู้นำ ทำให้รู้ภาพรวมของบุคลากรผู้มีคุณภาพสูง ที่สมควรได้รับการเลื่อนระดับ/เลื่อนตำแหน่ง) การส่งเสริมบุคลากร และมุ่งเน้นการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร Hardware เป็นเพียงสิ่งพื้นฐานรองรับกระบวนการคน Software ต่างหากที่ปฏิสัมพันธ์กระบวนการคนจนส่งผลตอบสนองต่อองค์กร
Software ทางสังคมที่ทำให้ระบบทำงานมีองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้
1. วัฒนธรรมความรับผิดชอบ (Culture of Accountability) ทำให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่มี คุณภาพสูง
2. ผู้นำที่ไม่เพียงเต็มใจแต่พร้อมที่จะตั้งคำถามในการประเมิน
3. วัฒนธรรมความเป็นหมู่คณะ ในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่มีความรับผิดชอบร่วมกัน
4. การให้ความสำคัญกับงานทรัพยากรบุคคล
กระบวนการยุทธศาสตร์: ที่เชื่อมโยงกับคนและการดำเนินงาน
เป้าหมายของยุทธศาสตร์ คือ เพื่อชนะใจลูกค้าและสร้างความได้เปรียบที่ยั่งยืนในการแข่งขัน น้อยคนที่จะเข้าใจว่าการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ดีต้องให้ความสำคัญกับ "ทำอย่างไรที่จะบริหารกลยุทธ์ไปสู่ความสำเร็จ" เนื้อหาและรายละเอียดของยุทธศาสตร์มาจากมันสมองของบุคลากรที่ใกล้ชิดกับการปฏิบัติงาน ผู้ที่เข้าใจตลาด ทรัพยากร และจุดอ่อน/จุดแข็งขององค์กร
เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์เป็นจริงเราต้องเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์เข้ากับกระบวนการคน เรามีบุคลากรที่เหมาะสมในจุดที่ทำให้ยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าไม่ ทำอย่างไรจึงจะหาบุคลากรเหล่านี้มาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์กับแผนปฏิบัติการ เพื่อผลักดันงานทุกด้านไปในทิศทางที่สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน นำเราไปสู่เป้าหทายที่ต้องการจะไปให้ถึง
Checklist ในการทบทวนยุทธศาสตร์
1. ที่ผ่านมาแต่ละฝ่ายทำงานประสานสอดคล้องกันหรือไม่
2. ความสามารถในการบริหารยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จมีมากน้อยเพียงใด
3. มีการมุ่งเน้นไปที่แผนยุทธศาสตร์หรือไม่ หรือต่างคนต่างทำ
4. เลือกใช้แนวคิดที่ถูกต้องหรือไม่
5. มีการเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างยุทธศาสตร์กับบุคลากรและการดำเนินงานหรือไม่
กระบวนการดำเนินงาน: ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์และคน
กระบวนการยุทธศาสตร์ระบุที่ที่ธุรกิจต้องการจะไป และกระบวนการคนระบุว่าใครจะพาธุรกิจไปที่นั่น แผนปฏิบัติการระบุทางเดินสำหรับบุคลากรเหล่านี้ แผนปฏิบัติการย่อยผลลัพธ์ระยะยาวออกมาเป็นเป้าหมายระยะสั้น และเพื่อให้เกิดผลตามเป้าหมายดังกล่าวจึงต้องมีการตัดสินใจและบูรณาการทั่วทั้งองค์กร แผนปฏิบัติการไม่ใช่การจัดงบประมาณเพื่อ "ทำให้ดีกว่าปีที่แล้ว" แต่เจาะลึกลงไปว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น
ผู้นำมีความรับผิดชอบสูงสุดในการกำกับดูแลในการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ต้องกำหนด เป้าหมาย เชื่อมโยงรายละเอียดของแผนปฏิบัติการกับบุคลากรและรวบรวมบุคลากรดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ต้องตัดสินใจอย่างเฉียบคมเมื่อเผชิญกับความเป็นไปได้และความไม่แน่นอน ต้องจัดประชุมปรึกษาหารืออย่างจริงจังในงานที่ต้องทำบนพื้นฐานความเป็นจริง ต้องสอนงานให้กับบุคลากร ในขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้บุคลากรของตนเอง ว่าคนเหล่านี้ปฏิบัติตนอย่างไร และเรียนรู้เกี่ยวกับภัยที่มองไม่เห็นซึ่งแวดล้อมกลยุทธ์อยู่ ไม่แต่เพียงผู้นำตามลำพังเท่านั้นแต่บุคลากรทั้งหมดต้องรับผิดชอบต่อการบริหารแผนกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ
ความสำคัญของความประสานสอดคล้อง
ความประสานสอดคล้องจำเป็นสำหรับความเป็นเลิศในการบริหารสู่ความสำเร็จ และช่วยเพิ่มพลังให้กับองค์กร ความประสานสอดคล้อง หมายถึง ทุกส่วนที่เคลื่อนไหวในองค์กรมีสมมุติฐานร่วมกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมภายนอกในรอบปีและมีความเข้าใจร่วมกัน มือข้างซ้ายรู้ว่ามือข้างขวากำลังทำอะไร ความประสานสอดคล้องยังรวมไปถึงการเชื่อมต่อของเป้าหมายของส่วนต่างๆ ที่ต้องพึ่งพากัน และเชื่อมโยงลำดับความสำคัญของเป้าหมายกับส่วนอื่นๆ ขององค์กร เมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงไปความประสานสอดคล้องก็ทำให้เกิดการจัดลำดับความสำคัญใหม่ และจัดสรรทรัพยากรใหม่
สมมุติฐานที่เหมาะสม: กุญแจสู่การกำหนดเป้าหมายที่เป็นจริง
การถกกันเรื่องสมมุติฐานเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทบทวนการดำเนินงาน ไม่ใช่แค่สมมุติฐานในภาพรวมเท่านั้น แต่สมมุติฐานในแต่ละด้านที่เชื่อมโยงกับผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่การทบทวนงบประมาณแบบดั้งเดิมไม่มี เราไม่สามารถกำหนดเป้าหมายที่เป็นจริงได้จนกว่าเราจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นในเรื่องสมมุติฐานเสียก่อน
การถกเถียงและการตัดสินใจเรื่องสมมุติฐานโดยเปิดกว้างเป็นส่วนสำคัญของ Software ทางสังคม สร้างความสามารถในการเป็นผู้นำธุรกิจที่บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม ในช่วงที่แสดงทัศนะและสร้างภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกและภายใน ก็หล่อหลอมความสามารถในการประสานความพยายามเพื่อการบริหารสู่ความสำเร็จให้เกิดความสอดคล้องกันไปด้วย รวมทั้งสร้างความมุ่งมั่นในการบริหารสู่ความสำเร็จ
ศิลปะในการตัดสินใจ
กลยุทธ์บางด้านมีลักษณะเฉพาะและมีแนวคิดที่ชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดความเติบโตด้านกำไรต่อธุรกิจ แต่ต้องมีการลงทุน ในบางกรณีต้องมีการตัดสินใจจากผู้นำ ผู้นำต้องมั่นใจว่าการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติมีการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนอย่างเหมาะสม หากธุรกิจต้องตัดค่าใช้จ่ายในช่วงดำเนินการ ต้องการตัดสินใจหลังจากการหารือในหมู่ CEOs ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อยุทธศาสตร์ จะจัดงบสนับสนุนด้านใด ด้านใดที่ต้องตัด หรือสามารถสร้างสรรค์ด้วยการหาแหล่งทรัพยากรใหม่ หรือจะเลื่อนโครงการไปดำเนินการปีหน้า จะเสี่ยงเกินไปหรือไม่ถ้าจะเพิ่มงบด้านโฆษณา
การตัดสินใจบางเรื่องบ่อยครั้งที่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดสินใจ เราต้องทำความเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกปัจจัย ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในขาลงฝ่ายใดควรตัดงบก้อนใหญ่ ฝ่ายใดควรตัดเพียงเล็กน้อย คำตอบอาจชัดเจน ตัดมากที่ฝ่ายทำกำไรน้อย ตัดน้อยที่ฝ่ายกำไรมาก คำตอบนี้อาจผิดก็ได้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ฝ่ายที่ทำกำไรน้อยอาจสามารถทำกำไรสูงอย่างมั่นคงในระยะยาว แต่ฝ่ายที่ได้กำไรมากอาจทำกำไรได้น้อยในระยะยาว
สรุป
เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบลง ผู้แปลได้ข้อสรุปว่าหนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก คนในที่นี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ผู้นำ (Leaders) ในที่นี้น่าจะหมายถึงเหล่า CEOs และผู้บริหารขององค์กรหรือธุรกิจ กลุ่มที่สองคือ บุคลากรขององค์กรหรือธุรกิจ โดยที่ผู้นำต้องประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอยู่เสมอ โดยต้องกำหนดเส้นทางของผู้นำคือ บุคลากรที่มีผลปฏิบัติงานดีเด่นต้องได้รับการเลื่อนตำแหน่ง และต้องให้ดำรงตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะคนเหล่านี้เป็นกำลังหลักในการสร้างผลสำเร็จให้องค์กร คนเหล่านี้เป็นผู้นำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มองคนทั้ง 2 กลุ่มเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานสู่ความสำเร็จ
ยุทธศาสตร์ที่ดีต้องมีแนวคิดและสมมุติฐานอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ทั้งยังต้องสื่อให้ทุกคนในองค์กรได้เข้าใจและยึดมั่น อย่างไรก็ตามต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์อยู่เสมอ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผู้นำที่สามารถบริหารสู่ความสำเร็จต้องบูรณาการกระบวนการทั้ง 3 กระบวนการเข้าด้วยกันอย่างสอดคล้องกลมกลืน ได้แก่ กระบวนการคน กระบวนการยุทธศาสตร์ และกระบวนการดำเนินงาน

Resource:
//www.geocities.com/vichakarn2002/execution.doc
โดย: การบริหารสู่ความสำเร็จ EXECUTION:THE DISCIPLINE OF GETTING THING THINGS DONE (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:15:45 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด