0092. WORLD OUT OF BALANCE : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร




เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แนะนำหนังสือให้คณะรัฐมนตรีอ่านสองเล่ม และ เล่มที่สอง คือ World Out of Balance:Navigating Global Risks toSeize Competitive Advantage. (New York: McGraw-Hill, 2005) เขียนโดย Paul A. Laudicina....


โลกไร้ดุลยภาพ: World Out of Balance
เรียบเรียงโดย นาย นพเก้า ห่อนบุญเหิม
นักพัฒนาระบบราชการ 6
สำนัก ก.พ.ร
รูปแบบ file pdf. จำนวน 17 หน้า

Click
Resouce :โลกไร้ดุลยภาพ: World Out of Balance


หรือ Click
Resource:โลกที่ไร้ดุลยภาพ เรียบเรียงโดย นาย นพเก้า ห่อนบุญเหิม

หรือ Click
Resource:ความเห็นต่อโลกที่ไม่สมดุล เรียบเรียงโดย ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

หรือ Click
Resource:เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง โดย รศ.ดร. ธงชัย สมบูรณ์




Create Date : 11 มีนาคม 2551
Last Update : 11 มีนาคม 2551 19:11:10 น.
Counter : 893 Pageviews.

1 comments
๏ ... รามคำแหง แรงคำหาม ... ๏ นกโก๊ก
(2 ม.ค. 2567 14:22:51 น.)
The Last Thing on My Mind - Tom Paxton ... ความหมาย tuk-tuk@korat
(1 ม.ค. 2567 14:50:49 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
Resource:การรณรงค์ให้ข้าราชการมีจิตสำนึกในการบริการประชาชน

การสร้างความเข้าใจ การให้ความรู้ และการสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ เป็นปัจจัยหลักประการหนึ่งที่จะผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาระบบราชการไทย นับจากการปฎิรูประบบราชการ ในปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ได้มีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ทั้งในแง่ของ วิธีการคิด ที่มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ วิธีการทำงาน เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์กรสมัยใหม่ ทำงานเชิงรุกแบบบูรณาการ คล่องตัว รวดเร็ว มีขีดสมรรถนะสูง เปิดเผยโปร่งใสตรวจสอบได้ สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม



แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546 – พ.ศ. 2550) ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ได้กำหนดมาตรการในการสร้างการมีส่วนร่วมในการแสวงหากระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมใหม่ ที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบราชการ รวมทั้งระดมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำและดำเนินยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมและเผยแพร่กระบวนทัศน์ใหม่ให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมกับจัดให้มีการรณรงค์เพื่อให้บุคลากรภาครัฐพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและมีทัศนคติการทำงานโดยยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นเป้าหมาย มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบ มีความเป็นธรรม มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้บรรลุผลและรู้จักทำงานร่วมกับประชาชน ตลอดจนการสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและทักษะแก่ผู้บริหารของส่วนราชการและจังหวัดทั้งในระดับสูงและระดับกลาง ให้สามารถเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change leader) ที่มีวิสัยทัศน์ สามารถสื่อสาร ผลักดัน และขยายผลการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นทั้งองค์การได้อย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546 เห็นชอบยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
วัฒนธรรม และค่านิยม ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ

การสร้างรูปแบบกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงให้เกิดขึ้นในภาครัฐ
การเสนอแนะและจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
การเปิดโอกาสให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมเร่งรัดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม
แนวทางและการดำเนินการ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ก.พ.ร. ได้ดำเนินการ ดังนี้

1. กำหนดค่านิยมใหม่ที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยที่เรียกว่า “I AM READY” ขึ้น ซึ่งมาจาก

I = Integrity ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
A = Activeness ขยัน ตั้งใจ ทำงานเชิงรุก
M = Morality มีศีลธรรม คุณธรรม
R = Relevancy รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก ตรงกับสังคม
E = Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
A = Accountability มีความรับผิดชอบต่อผลงานสังคม
D = Democracy มีใจและการกระทบที่เป็นประชาธิปไตย มีส่วนร่วม โปร่งใส
Y = Yield มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน

2. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้ทราบถึงแนวคิด วิธีการ และประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาระบบราชการ ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่

2.1 เว็บไซต์ สำนักงาน ก.พ.ร. (www.opdc.go.th) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546
2.2 นำเสนอข้อมูลข่าวสารการพัฒนาระบบราชการ ทางรายการทางวิทยุ “รายการคิดใหม่ เมืองไทยยุคพัฒนา” FM 92.5 และ AM 819 ทุกวันอังคาร ระหว่างเวลา 18.00 – 19.00 น. ในปี พ.ศ. 2546
2.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร แนวคิด เทคนิค วิธีการ ในการพัฒนาระบบราชการร่วมทั้งการตอบปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ ในรายการทางวิทยุ “รายการ ข้อเท็จจริงวันนี้” ทางสถานีวิทยุ FM 92.5 วันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 10.00 – 11.00 น. ในปี พ.ศ. 2547
2.4 การเผยแพร่ข้อมูลความรู้ และตัวอย่างของความสำเร็จในการพัฒนาระบบราชการผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ในปี พ.ศ. 2548 - 2549 ในรายการ“ เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย” ทุกวันอังคารที่ 3 ของเดือน และรายการโทรทัศน์ในเชิงสาระบันเทิง (Edutainment) รายการ “ปฏิบัติราชการสร้างรอยยิ้ม” ความยาว 30 นาทีจำนวน 20 ตอน
2.5 นำเสนอที่มา แนวคิด วิธีการและแนวทางในการพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติ ในบทความ “มุมความรู้” และนำเสนอผลการดำเนินการพัฒนาระบบราชการของจังหวัดที่ประสบผลสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผ่านบทความ “การพัฒนาระบบราชการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” ทางหนังสือพิมพ์รายวัน รวม 7 เรื่อง
2.6 เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาระบบราชการ ผ่านทางวารสาร “จดหมายข่าว” ของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่จัดพิมพ์ราย 2 เดือน และจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e-newsletter) เดือนละ 1 ฉบับ และจัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในเรื่องต่างๆ เช่น คู่มือ ยุทธศาสตร์ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและ ค่านิยมของระบบราชการ การพัฒนาผู้นำการบริหาร การเปลี่ยนแปลง
2.7 จัดให้มีศูนย์ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ ดังนี้
เอกสาร 001 - ก้าวข้ามผ่านให้พ้นระบบการงบประมาณแบบเดิม (Beyond Budgeting)
เอกสาร 002 - ค่าธรรมเนียมในการถือครองสินทรัพย์ (Capital Charge)
เอกสาร 003 - การสร้างจินตนาการใหม่ (Re–imagine)
เอกสาร 004 - การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่
เอกสาร 005 - การสร้างคุณค่าจากสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets and Value Creation)เอกสาร
เอกสาร 006 - แผนผังเชิงยุทธศาสตร์ (Strategy Maps)
เอกสาร 007 - โลกไร้ดุลยภาพ World out of Balanceเอกสาร
เอกสาร 008 - ความคิดไร้ขีดจำกัด ปฏิวัติความคิดเพื่อพลิกโฉมองค์กร
เอกสาร 009 - เอกสารเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
เอกสาร 010 - สำนักบริหารยุทธศาสตร์ : กลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
2.8 จัดให้มีการสัมมนาเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้กับ ประชาสัมพันธ์ของส่วนราชการและประชาสัมพันธ์จังหวัด ในปี พ.ศ. 2547
2.9 จัดให้มีโทรศัพท์สายด่วน 1785 เพื่อตอบปัญหาหรือรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
3. สร้างความเข้าใจและรณรงค์ ให้บุคลากรภาครัฐได้ตระหนักถึงความคาดหวังของประชาชนต่อบริการของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงความต้องการของภาคประชาชน โดย

3.1 จัดให้มี ตราสัญลักษณ์ “ยิ้ม” และคำขวัญ “ร่วมพัฒนาระบบ ยกระดับบริการ เพื่อรอยยิ้มของประชาชน” ในการรณรงค์เพื่อรอยยิ้มของประชาชน ระหว่าง พ.ศ. 2547 – 2548
3.2 จัดทำเป็นสปอตโทรทัศน์ เรื่อง “ยักษ์” เรื่อง “ยิ้ม” และสปอตวิทยุเพลง “ยิ้ม” เป็นการสื่อให้เห็นถึงความคาดหวังของประชาชนในการติดต่อราชการ ที่ได้รับการต้อนรับด้วยรอยยิ้มสร้างความอบอุ่นและมุ่งมั่นในการให้บริการ
3.3 จัดทำเป็นสปอตโทรทัศน์ เรื่อง “ยังคอย” เพื่อสื่อให้เห็นถึงความ
เปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากการพัฒนาระบบราชการ งานบริการภาครัฐมีความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอนานเหมือนในอดีต
3.4 เพื่อเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ของงานบริการที่มุ่งประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยจัดทำเป็นสปอตโทรทัศน์ เรื่อง “ Surprise” อีกรูปแบบหนึ่งของการ ให้บริการของภาครัฐรูปแบบใหม่ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centered)ซึ่งเป็นความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มาให้บริการแบบเข้าถึงประชาชน ณ แหล่งชุมชนต่างๆ


ผลการดำเนินการปี 2546 - 2549
สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สำรวจการรับรู้และทัศนคติของข้าราชการต่อการพัฒนาระบบราชการ ในการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง (รวม 3 กลุ่ม n=1,935) ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารระดับสูง จากส่วนกลางและภูมิภาค 145 ตัวอย่าง กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร จำนวน 238 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ถูกขับเคลื่อน จำนวน 1,552 ตัวอย่าง พบว่า ข้าราชการส่วนใหญ่รับรู้และพร้อมจะดำเนินการพัฒนาระบบราชการ (ภาพที่ 1-7)

1. ข้าราชการส่วนใหญ่ รับรู้และพร้อมพัฒนาระบบราชการ จำนวน 51 %
2. มีข้าราชการที่รับรู้ แต่ไม่อยากพัฒนาระบบราชการ
จำนวน 14 %
3. มีข้าราชการที่ยังไม่รับรู้ และไม่อยากพัฒนาระบบราชการ จำนวน 27 %
4. มีข้าราชการที่ยังไม่รับรู้ แต่อยากพัฒนาระบบราชการ
จำนวน 8 %

ที่มา: สรุปผลการการวิจัยโครงการศึกษาสร้างความเข้าใจเพื่อพัฒนาระบบราชการ (19 สิงหาคม - 12 ตุลาคม 2548)
ภาพที่ 1-7 ภาพความรู้สึกโดยรวมของข้าราชการต่อการพัฒนาระบบราชการ

การดำเนินการในระยะต่อไป
สำนักงาน ก.พ.ร. ยังคงต้องดำเนินการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ เพื่อการปรับเปลี่ยนจิตสำนึกในการบริการประชาชน โดย
1. ปรับและจัดทำเนื้อหาที่ง่ายต่อการเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ ทั้งในส่วนของหลักการ แนวคิด วิธีทำงานและประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ
2. มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. เลือกใช้สื่อที่สามารถส่งเสริมการรับรู้ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
4. เสริมสร้างการเรียนรู้และกิจกรรมการมีส่วนร่วมทั้งจากภาครัฐและประชาช

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการ

1.แม้ว่าข้าราชการส่วนใหญ่จะรับรู้และยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ยังมีบางส่วนที่ยังต่อต้านและไม่มั่นใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
2. การปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและการทำงานต้องอาศัยระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจกับข้าราชการ
3. ข้าราชการบางส่วนยังไม่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการ

1. เน้นการสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรภาครัฐ ในส่วนที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน
2. สร้างการรับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการกับข้าราชการอย่างต่อเนื่อง

เพิ่มช่องทางการรับรู้ข่าวสารของข้าราชการด้วยวิธีการหลากหลาย เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างทั่วถึง
โดย: การรณรงค์ให้ข้าราชการมีจิตสำนึกในการบริการประชาชน (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:19:13:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด