0090. THE 8th HABIT FROM EFFECTIVENESS TO GREATNESS: 1 ใน109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร




เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 รายการ "นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน ครั้งที่ 186" การพูดครั้งนี้เป็นการพูดคุยกับประชาชนจากเมืองซานดิเอโก ประเทศชิลี เนื่องจากต้องไปประชุมเอเป็ค...

นายกรัฐมนตรี ได้พูดเกี่ยวกับแนวความคิดการสร้างภาวะผู้นำตอนหนึ่งว่า

"วันพุธที่ผ่านมา (17 พฤศจิกายน 2547) ตอนเที่ยงผมได้เลี้ยงอาหารกลางวัน Dr. Stephen R. Covey คนนี้เป็นปรมาจารย์ระดับโลกด้านการสร้างความเป็นผู้นำ และ เป็นคนแต่งหนังสือขายดีอันดับหนึ่งเรื่อ 7 Habits of High Effective People และ The 8th Habit : From Effectiveness to Greatness......



Create Date : 11 มีนาคม 2551
Last Update : 11 มีนาคม 2551 16:43:32 น.
Counter : 1701 Pageviews.

4 comments
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
  
The 8th Habit: From Effectiveness to Greatness
Stephen R. Covey



Description Dr. Anderson's review

In the more than fifteen years since its publication, the classic The 7 Habits of Highly Effective People has become an international phenomenon with over fifteen million copies sold. Tens of millions of people in business, government, schools, and families, and, most important, as individuals have dramatically improved their lives and organizations by applying the principles of Stephen R. Covey's classic book.

The world, though, is a vastly changed place. The challenges and complexity we all face in our relationships, families, professional lives, and communities are of an entirely new order of magnitude.

Being effective as individuals and organizations is no longer merely an option -- survival in today's world requires it. But in order to thrive, innovate, excel, and lead in what Covey calls the new Knowledge Worker Age, we must build on and move beyond effectiveness. The call of this new era in human history is for greatness; it's for fulfillment, passionate execution, and significant contribution.

Accessing the higher levels of human genius and motivation in today's new reality requires a sea change in thinking: a new mind-set, a new skill-set, a new tool-set -- in short, a whole new habit. The crucial challenge of our world today is this: to find our voice and inspire others to find theirs. It is what Covey calls the 8th Habit.

So many people feel frustrated, discouraged, unappreciated, and undervalued -- with little or no sense of voice or unique contribution. The 8th Habit is the answer to the soul's yearning for greatness, the organization's imperative for significance and superior results, and humanity's search for its "voice." Profound, compelling, and stunningly timely, this groundbreaking new book of next-level thinking gives a clear way to finally tap the limitless value-creation promise of the Knowledge Worker Age. The 8th Habit shows how to solve such common dilemmas as:

People want peace of mind and good relationships, but also want to keep their lifestyle and habits.
Relationships are built on trust, but most people think more in terms of "me" -- my wants, my needs, my rights.
Management wants more for less; employees want more of "what's in it for me" for less time and effort.
Businesses are run by the economic rules of the marketplace; organizations are run by the cultural rules of the workplace.
Society operates by its dominant social values, but must live with the consequences of the inviolable operation of natural laws and principles.
Covey's new book will transform the way we think about ourselves and our purpose in life, about our organizations, and about humankind. Just as The 7 Habits of Highly Effective People helped us focus on effectiveness, The 8th Habit shows us the way to greatness.
โดย: The 8th Habit: From Effectiveness to Greatness (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:16:46:46 น.
  
อ่าน 'อุปนิสัยที่ 8'สอนผู้นำ ไปสร้างผู้นำ

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มีนาคม 2548 11:16 น.


ในที่สุดหนังสือเล่มล่าสุด 'The 8th HABIT : From Effectiveness to Greatness' ของสตีเฟ่น อาร์ โควีย์ ก็ได้รับการเรียบเรียงใหม่เป็นฉบับภาษาไทย โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย แห่งสำนักพิมพ์ดีเอ็มจีเป็นที่เรียบร้อยแล้วในชื่อหนังสือว่า 'อุปนิสัยที่ 8 จากประสิทธิผลสู่ความยิ่งใหญ่'

ดนัยกล่าวถึงเนื้อหาของอุปนิสัยที่ 8 ไว้ว่า เป็นเรื่องของการค้นหาเสียงภายในตนเอง ซึ่งเป็นเสียงที่ทำให้เราแสดงวิสัยทัศน์ วินัย ไฟในตัว และมโนธรรมออกมา จากนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นค้นพบเสียงภายในตัวเขาด้วยเช่นกัน

หลักสำคัญของอุปนิสัยที่ 8 ต้องการบ่งบอกว่า ทุกคนล้วนมีพรสวรรค์ 3 ประการที่ติดตัวมาแต่เกิด ได้แก่ เสรีภาพและอำนาจในการเลือกกฎแห่งธรรมชาติหรือหลักการซึ่งเป็นสากล ไม่ขึ้นกับกาลเวลาและชัดเจนในตนเอง และความสามารถ 4 ประการที่ทำให้เราเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กาย จิตใจ สติปัญญา และมโนธรรม ดังนั้นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ คือ ผู้นำที่ได้นำพรสวรรค์เหล่านี้มาพัฒนาตนเอง

ดนัยขยายความให้ฟังว่า เมื่อคนมีเสรีภาพในการเลือก ย่อมสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นผู้นำหรือไม่ ดังนั้นผู้นำจึงไม่ใช่สิ่งที่มาพร้อมกับตำแหน่ง แต่เป็นสิ่งที่คนเลือกจะเป็น แล้วเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ทำให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม และหัวใจของการสร้างความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ก็ไม่ได้มาจากอำนาจ แต่มาจากความสามารถในการสื่อสารของผู้นำที่ชัดเจน ที่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจในผู้อื่นก่อน ไม่ใช่มองจากมุมของผู้นำ

สำหรับจุดด่นของหนังสือเล่มนี้ โควี่ย์ได้รวบรวมประสบการณ์ที่เป็นตัวอย่างของผู้ที่นำ 7 อุปนิสัยไปปฏิบัติแล้วเกิดผลอย่างไร มาถ่ายทอดในหนังสือเล่มใหม่นี้ด้วย

พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพคริม กรุ๊ป จำกัด แสดงทัศนะเพิ่มเติมว่า 7 อุปนิสัย ที่โควีย์นำเสนอไปก่อนหน้านี้ถือเป็นพื้นฐานของการสร้างภาวะผู้นำในตนเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล แต่อุปนิสัยที่ 8 จะเกี่ยวข้องกับการสร้างประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรมากขึ้น

เพราะโควีย์ต้องการบ่งบอกให้ผู้นำในองค์กรต่างๆ รู้ว่า การสร้างแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจให้กับผู้อื่น ผู้นำต้องเข้าใจความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคแห่งปัญญา ไม่ใช่ยุคของอุตสาหกรรมอีกต่อไป ยุคนี้เป็นยุคที่คนมีการศึกษา มีความคิด คนสามารถจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ ขึ้นอยู่กับตัวของเขาเองเป็นคนกำหนด ไม่ได้อยู่ที่เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่องค์กรจัดหามาให้ อยู่ที่ว่าคุณจะชนะใจในเรื่องที่เขามีความรู้ ความสามารถ แล้วดึงศักยภาพเหล่านั้นของเขามาใช้ได้อย่างไร

ผู้นำในหลายองค์กรยังขาดทักษะที่จะเป็นผู้นำของคนเหล่านี้ จึงทำให้เขาไม่สามารถสร้างทีมเวิร์คที่ดี หรือสร้างให้พนักงานให้มีเป้าหมายเดียวกัน ทำให้คนยังไม่ทุ่มเทให้กับองค์กร อีกทั้งผู้นำบางคนยังติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ ในยุคของอุตสาหกรรม

ดังนั้นแม้จะมีการพูดว่าทรัพยากรคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็ยังเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น หนังสือเล่มนี้จึงย้ำอีกครั้งว่า ถ้าคิดแบบนั้น ก็ต้องทำแบบนั้นด้วย แล้ววิธีที่จะรักษาคนซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรต้องทำอย่างไร และจะสร้างแรงจูงใจเขาให้ทุ่มเท และทำงานให้กับองค์กรด้วยความเต็มใจต้องทำอย่างไร ซึ่งก็จะโยงใยไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร เพราะคนจะทุ่มเท และรู้จักทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นผลมาจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้องค์กรมีความไว้วางใจระหว่างลูกน้องและหัวหน้าสูง

พรทิพย์ย้ำอีกครั้งว่า หนังสือเล่มนี้มี 2 ประเด็น คือ การค้นพบเสียงของตนเอง และช่วยคนอื่นค้นพบเสียงของเขา ถ้าผู้นำช่วยผู้อื่นค้นพบเสียงของเขาเองได้ เขาจะเดินไปได้เอง ไม่จำเป็นต้องกำหนดกฎระเบียบหรือกติกาอะไรมาบังคับ เพราะเขายินดีจะทำเอง และเป็นการทำงานด้วยใจ

เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือได้แสดงให้เห็นว่า หลักของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนมีรากฐานมาจากการพัฒนาตนเอง ดังนั้นการเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ ทางสำนักพิมพ์ดีเอ็มจีจึงได้ร่วมกับมูลนิธิใสสะอาด และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดโครงการประกวดคำขวัญ ในหัวข้อ 'อุปนิสัยที่ดี 8 ประการของคนไทย' เพื่อสนับสนุนกระแสสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาวุฒิภาวะผู้นำ โดยผ่านการกลั่นกรองความคิด เพื่อค้นหาอุปนิสัยที่ดีในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกลับคืนสู่สังคม

แม้โครงการนี้จะเปิดรับผลงานของบุคคลทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่สำหรับดนัย การจัดกิจกรรมนี้เพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหม
โดย: [0 3] ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
ายของหนังสือเล่มนี้ไปยังนักศึกษาระดับอุดมศึกษา อีกทั้งรูปแบบของกิจกรรมก็อยู่ในความสนใจของคนวัยนี้ ซึ่งเขามองว่า แก่นของหนังสือจะสามารถปลูกฝังภาวะผู้นำให้เกิดได้ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเรียน

"การตั้งหัวข้ออย่างนี้ เพื่อให้เกิดการนำไปคิดต่อว่าอุปนิสัยที่ดีของตัวเราควรมีอะไร เพื่อให้เรากลับมาประเมิน วิเคราะห์ตนเอง ให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง อะไรคือข้อด้อยของสังคมในปัจจุบัน อะไรคือข้อดีของเรา เข้าใจตัวเราก่อน ซึ่งขณะนี้ระบบการศึกษาส่วนใหญ่มักจะไปเน้นเกี่ยวกับความรู้อย่างอื่น ที่ไม่ใช่ความรู้เกี่ยวกับตัวเอง" ดนัยกล่าว

Resource:
//www.pantown.com/board.php?id=7268&area=1&name=board6&topic=18&action=view
โดย: อ่าน 'อุปนิสัยที่ 8'สอนผู้นำ ไปสร้างผู้นำ (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:16:47:40 น.
  
Resource:ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและการศึกษาไทยในทศวรรษหน้า"


ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและการศึกษาไทยในทศวรรษหน้า" ในโอกาสเป็นประธานมอบทุนการศึกษาโครงการ "พี่เกื้อกูลน้อง" ณ หอประชุมสุนันทานุสรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ


ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและการศึกษาไทยในทศวรรษหน้า"

ในโอกาสเป็นประธานมอบทุนการศึกษาโครงการ "พี่เกื้อกูลน้อง"

ณ หอประชุมสุนันทานุสรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม 2547 เวลา 09.00 น.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย โพธารามิก)

อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (รศ.ดร. ดิลก บุญเรืองรอด)

คณะกรรมการสภาประจำสถาบัน

ผู้มีจิตศรัทธา

นักเรียน นักศึกษา ครูและอาจารย์ที่เคารพรัก



วันนี้ ผมดีใจที่ได้มาที่นี่ เพราะผ่านทุกวัน แต่ไม่ค่อยได้แวะ เพราะผมผ่านไปทำงาน วันนี้ได้เห็นการยิ้ม ความเต็มใจต้อนรับของนักศึกษา ครู อาจารย์ และข้าราชการทุกท่าน ผมรู้สึกขอบคุณ และดีใจที่ท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายได้มาร่วมกันสนับสนุนบริจาค เพื่อทุนการศึกษา ไม่เพียงมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้งเด็กนักเรียนในโรงเรียนรอบๆ บริเวณ แห่งนี้ ต้องถือว่าเป็นน้ำใจ เพราะพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ไม่มีทานอะไรที่จะยิ่งใหญ่เท่ากับทานทางปัญญา ดังนั้น การให้ทุนการศึกษาคือการให้ทานทางปัญญา

ผมได้ถามเด็กๆ ที่มารับทุนว่า คุณพ่อทำอะไร บางคนก็บอกว่า พ่อเป็นคนขับรถที่ทำเนียบรัฐบาล พ่อเป็นคนขับรถรับจ้าง ขับรถแท็กซี่ บางคนพ่อรับจ้าง บางคนพ่อป่วย พ่อเลิกกับแม่ นี่คือปัญหาที่สังคมจะต้องช่วยกันอุ้มชู เพราะว่าเรามีภาวะของการพัฒนาที่ผิดพลาดและขาดตอน ทำให้มีช่องว่างของการพัฒนามาก ฉะนั้น คนที่อยู่ในภาวะเกื้อกูลคนอื่นได้ เป็นสิ่งที่น่ารักในสังคมไทย สังคมอื่นไม่ค่อยมี สังคมเราเป็นสังคมที่มีน้ำจิตน้ำใจ มีความเอื้ออาทรต่อกัน

หัวข้อที่จะให้ผมพูดในวันนี้ค่อนข้างกว้าง ครอบจักรวาล คือ "ทิศทางเศรษฐกิจและการศึกษาไทยในทศวรรษหน้า" ผมคงจะพูดสั้นๆ ย่อๆ ถ้าถามว่าเศรษฐกิจไทยจะไปตรงไหน เพื่อที่จะเป็นทิศทางให้ท่านได้รู้ และกลับมาว่าการศึกษาจะเป็นอย่างไร วันนี้ เราฟื้นจากเศรษฐกิจก็จริงอยู่ แต่ฟื้นในภาวะที่กำลังเผชิญกับการแข่งขันมากมาย รอบทิศทาง จึงประมาทไม่ได้เลย ท่านเห็นไหมว่ามีภัยคุกคามในหลายรูปแบบเกิดขึ้นในระหว่างช่วงที่ผมมาเป็นนายกรัฐมนตรี เหตุการณ์การก่อการร้ายที่ขับเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรด เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นสิ่งที่ช็อคทั้งโลก การท่องเที่ยวหยุดชะงัก ภาวะอุตสาหกรรมการบินพังทลาย กว่าจะฟื้นกันขึ้นมาได้ หลังจากนั้นก็มีสงครามอัฟกานิสถาน สงครามอิรัก โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) โรคไข้หวัดนก หรือ Avian Influenza และเหตุการณ์ภาคใต้ และราคาน้ำมันแพง สิ่งเหล่านี้เป็นภัยต่อเศรษฐกิจ ถ้าหากว่าเราไม่แข็งแรง เราไม่สามารถที่จะวางแผนยุทธศาสตร์ในการปะทะได้ จะอันตรายมาก ถ้าหากเพิ่งฟื้นไข้ใหม่ๆ ถ้าเจอโรคแทรกอย่างนี้ ปกติแล้วร่วง แต่ความที่เราตื่นตัว ความที่เราเป็นโรคที่เห็นอะไรแล้ว ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน จึงทำให้ไม่หมักหมม

เมื่อเรามาทบทวนว่าประเทศไทยข้างหน้าจะเป็นอย่างไร โลกข้างหน้า "คน" เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ธุรกิจก็ดี ประเทศก็ดี ถ้ามองเห็นเรื่องคนเป็นค่าใช้จ่าย รับรองขาดทุนทุกที่ ต้องมองเห็นว่าเรื่องของคนเป็นเรื่องของการลงทุน การลงทุนที่จะสร้างคน ถ้าใครไม่คิดที่จะลงทุนเพื่อสร้างคน องค์กรนั้น ประเทศนั้น ไปไม่รอด ถ้าให้คนไม่มีคุณภาพอยู่ในสังคมมากๆ หรืออยู่ในองค์กรของตนเองมากๆ นั่นคือการกัดกร่อนความก้าวหน้า ฉะนั้น เรื่องการพัฒนาคน จึงเป็นเรื่องของการลงทุนระยะยาว

ประเทศไทยมีดีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ เรื่องที่หนึ่งคือธรรมชาติและภูมิศาสตร์ของเรา เราสามารถใช้ธรรมชาติหรือดินน้ำลมไฟปั้นเงินได้ แต่เวลานี้เครื่องพิมพ์แบงค์นี้ก็เริ่มเสื่อม เพราะบางคนไม่รู้ เขานำเครื่องพิมพ์แบงค์มาให้ก็ไม่รู้ว่าเครื่องอะไรก็ถอดเหล็กไปขายทีละชิ้น วันนี้ต้องไปขอรับซื้อเหล็กคืนมา แพงหน่อยก็ไม่เป็นไร ก็คือการฟื้นธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย เพราะดินน้ำลมไฟยังปั้นเงินได้อยู่ นั่นคือด้านของเกษตรยังปั้นเงินได้อยู่และเป็นการปั้นเงินที่มี local content สูงมาก ภาคอุตสาหกรรมยังมี local content ไม่สูง ฉะนั้น เรื่องของเกษตรเป็นเรื่องที่จะต้องดูแลกันต่อไป และยังคิดว่าเป็นตัวทำเงิน

ถ้าท่านดูตัวเลขการส่งออก ท่านจะเห็นว่าเราส่งออกในปี พ.ศ. 2547 เกือบ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เราได้ดุลประมาณไม่ถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เราส่งออกสินค้าเกษตรประมาณ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เราได้คนนำเงินมาใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว อีก 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สรุปได้ว่าคนที่มาเที่ยวในประเทศไทย เพราะเรามีธรรมชาติ มีวัฒนธรรม และเราส่งสินค้าเกษตร ทั้งสองด้านมีมูลค่ามากกว่าเกินดุลบริการด้วยซ้ำ ซึ่งเข้าใจว่าดุลบริการปีนี้เราจะได้ประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฉะนั้น อุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ต้อง ปรับปรุงขนาดใหญ่ เพราะว่าอุตสาหกรรมนี้ที่เราส่งออก ถ้าเปรียบได้ว่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีกำไรไม่มาก ดังนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นอนาคตก็คือ "มนุษย์" ที่เราจะส่งออกพลังสมอง คือความสามารถในการคิดค้น ทักษะ คือสิ่งที่ติดอยู่ในสายเลือดของคนไทย สุนทรียะ ทักษะ วัฒนธรรม และมีความชำนาญ

เครื่องพิมพ์แบงค์ที่ใหญ่ที่สุดคือธรรมชาติและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมของไทย อีกส่วนคือส่วนของความเป็นมนุษย์คนไทยที่มีอยู่ 63 ล้านคน ฉะนั้น สรุปได้ว่าจะต้องลงทุนใน 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือลงทุนฟื้นธรรมชาติ สร้างระบบโครงสร้างทางด้านน้ำเพื่อการเกษตร สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตร และฟื้นแหล่งท่องเที่ยว สร้างแหล่งท่องเที่ยว ให้พอเพียง นั่นคือภาคที่หนึ่ง ภาคที่สองคือ ภาคของคน ต้องดูแลคน ต้องพัฒนาคน นำคนที่ไม่มีศักยภาพมาให้มีศักยภาพ คนที่เป็นภาระของประเทศในวันนี้ต้องเปลี่ยนให้เป็นคนที่มีพลัง ต่อประเทศ ถือว่าลงทุน

รัฐลงทุนเพื่อประเทศ เอกชนลงทุนก็ลงทุนเพื่อประเทศ เพราะประเทศคือรัฐ เอกชน และประชาชน ถ้าคนในรัฐบาลมองเห็นเรื่องรัฐเป็นเรื่องของรัฐ ไม่เข้าใจคำว่ารัฐ คือส่วนหนึ่งของประเทศ จะเสียหาย เพราะจะห่วง bottom line ด้านเดียว คือด้านรัฐ ซึ่งจะทำให้ไปไม่รอด ฉะนั้น บางทีรัฐลงทุนแล้วเอกชนได้ประโยชน์จากการลงทุนโดยภาพกว้าง ไม่ใช่เจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นลักษณะของเอกชนได้โอกาส ซึ่งจะเป็นประโยชน์ เพราะรัฐได้เก็บภาษี จากเอกชนในการประกอบธุรกิจได้มากกว่าผู้ถือหุ้นพึงจะได้รับจากบริษัทนั้นๆ ฉะนั้น การที่รัฐ เปิดโอกาสให้กับเอกชนในการสร้างความเข้มแข็งนั้น เป็นเรื่องปกติที่ต้องทำ

เราจึงบอกได้ว่าเศรษฐกิจข้างหน้าเน้นไป 3 แนวทาง แนวทางที่หนึ่ง คือด้านการเกษตร อาศัยเครื่องพิมพ์แบงค์ที่มีอยู่แล้วคือดินน้ำลมไฟ ธรรมชาติของเรา แนวทาง ที่สองคือเศรษฐกิจที่ใช้ความชำนาญ ความมีสุนทรียะของสายเลือดคนไทย ความเป็นไทย อันได้แก่ อาหาร สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้าด้านหัตถกรรม ด้านบริการทั้งหลายเป็นสิ่งที่ใครก็สู้ประเทศไทยไม่ได้ จัดงานประชุมระดับโลก ใครมาเจอประเทศไทยติดหมดทุกคน รับรองว่าไม่มีประเทศใดสู้ประเทศไทยได้ เพราะเรามีความเป็นไทยที่ไม่สามารถจะตีราคาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือชั้นกว่าคนอื่น แนวทางที่สามคือการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมฐานความรู้ การเตรียมตัวเข้าแข่งขันในเศรษฐกิจที่อาศัยความรู้ ฉะนั้น การต้องพัฒนาสมองของเด็กไทยวันนี้ เพราะอนาคตของชาติคืออนาคตที่ฝากไว้กับเด็กในวันนี้ ถ้าเราจะรำคาญเด็ก เราจะมองว่าเด็กรุ่นนี้ส่ง SMS (Short Message Service) เด็กรุ่นนี้พูดถึงเรื่องการแต่งตัว เราจะต้องพยายามทำอย่างไรจึงจะพัฒนาเขาให้มีศักยภาพ

วันนี้ถูกต้องแล้ว ไม่มีสตางค์เรียนต้องทำให้เรียนให้ได้ ลงทุนกับเขาไปเถิด เพราะอนาคต เขาคือคนหนึ่งที่จะสร้างผลผลิตให้กับประเทศ อย่าให้เขาโดนหลอก ต้องส่งเสริมให้เขาได้เรียนหนังสือ นั่นคือต้องเตรียมตัวไว้สำหรับการเป็น Knowledge based Economy ซึ่งไม่ใช่เพียงการดูแลเด็กปัจจุบัน แม้กระทั่งเยาวชนที่โตแล้วหรือผู้ใหญ่ในวันนี้ ก็ต้องมายกเครื่องกันใหม่ เพราะเราต้องยอมรับว่าผู้ใหญ่ในวันนี้คือผลผลิตของการศึกษาที่ล้าสมัยและช้าต่อการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงในวันนี้ และคิดว่าผู้ใหญ่ต้องฉลาดกว่าเด็กผิด เพราะผู้ใหญ่ในวันนี้ก็ต้องพัฒนาตนเอง

การศึกษาไทยในอดีตที่ต่อมานานมากที่ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงไปประมาณ 15 ปีนี้ เราควรจะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาประมาณสัก 15-20 ปีที่ผ่านมา แต่เปลี่ยนไม่ได้ เพราะว่า การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยนั้น ต้องการการเมืองที่เข้มแข็งและรู้จริง ถ้าเข้มแข็งแต่รู้ไม่จริงจะเปลี่ยนก็เสียหาย หรือรู้จริงแต่ไม่เข้มแข็งก็เปลี่ยนไม่ได้ ฉะนั้นการเมืองที่ไม่เข้มแข็งไม่สามารถชนะการเปลี่ยนแปลงได้เพราะระบบราชการต้องยอมรับว่าเป็นระบบที่แข็ง เปลี่ยนยาก เพราะเป็นระบบที่สะสมมานาน

แต่การเปลี่ยนนั้น ผมเชื่อว่าวันนี้ข้าราชการทุกคนตระหนักว่าต้องเปลี่ยนแต่ยังไม่ค่อยมั่นใจต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะห่วงอนาคตตนเองว่าเปลี่ยนแล้วอนาคตของตนเองจะแย่ลงหรือไม่ ฉะนั้น ทุกคนจึงยังไม่เต็มที่ แต่เชื่อว่าใน 4 ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วกว่า 4 ปีที่ผ่านมามาก และจะเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากในประเทศไทย

เรื่องที่เราจะเตรียมตัวเข้าสู่ยุคการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้นั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า วันนี้ผมจะพบกับบรรดาสภาอาจารย์ทั้งหลายของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ผมจะบอกให้รู้ว่าถ้าวันนี้ยังไม่ตระหนักถึงเรื่องสหวิทยาการ หรือ multidisciplinary ยังคิดว่าคณะใครคณะมัน หรือความรู้ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จะสามารถนำ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้นั้น ไม่จริง เพราะความรู้แต่ละวิชาตันหมดแล้ว แต่ความรู้ที่ไม่ตันคือความรู้ที่มากกว่าหนึ่งวิชามารวมกัน วันนี้รับรองว่าตำราที่นำมาอ่าน ถ้าสมมติว่าเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นสาขาเดียว แล้วนำแต่เรื่องสาขาตัวเองมาพูด รับรองว่าอ่านประมาณ 3 วัน ก็หมดแล้ว ไม่มีอะไรให้เรียนแล้ว เพราะตันหมดแล้ว

แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ในโลกนี้เป็นลักษณะการเรียนรู้ร่วมกัน ลักษณะ cross disciplinary คือการข้ามวิชา ข้ามคณะ ถ้าเมื่อไรอาจารย์ คณบดี หวงวิชากัน นี่คือกำแพงของข้าใครอย่ายุ่ง รับรองว่าคณะนั้น นับวันจะฉลาดน้อยลงๆ เพราะไม่ทันคนอื่น

ความรู้ใหม่เกิดจาก multidisciplinary ทั้งนั้น โลกยุคข้างหน้าที่ Stan Davis และ Christopher Meyer เขียนในเรื่อง "It's Alive" บอกว่าเป็นยุคที่เราจะต้องเข้าสู่ Molecular Economy วิทยาศาสตร์ในห้องทดลองจะถูกพัฒนาและประยุกต์เป็นเทคโนโลยี จากเทคโนโลยีจะนำมาเป็นธุรกิจ ฉะนั้น วิชาต่างๆ ถูกนำมารวมกันแล้ว Molecular Science ประกอบวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร รวมกันเป็น Information and Communication Technology หรือ ICT ซึ่งเข้าแทรกไปในวิชาอื่น เช่น Bio-technology เข้าไปใน Medical Science เข้าไปในเคมี เข้าไปในหลายวิชา ฉะนั้น Molecular Science ประกอบด้วย Nano-technology ซึ่งยังเข้าไปในวิชาฟิสิกส์ เข้าไปใน Bio-technology

ดังนั้น วิชาต่างๆ ปะปนกันหมด เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ และการจะเตรียม ความรู้ใหม่ๆ ได้ ทุกคนจะต้องไม่เป็นตัวกูของกู ต้องไม่มีอัตตาสูง ถ้าอัตตาสูงเมื่อไรก็ไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ไม่สามารถที่จะได้ความรู้เพิ่มเติมได้ ฉะนั้น ทางวิชาการนั้น อัตตาเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทางวิชาการละอัตตาได้เมื่อไร วิชาการนั้นมีแต่พัฒนามากขึ้น

ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทย หนึ่ง เกษตรยังคงเป็นเรื่องหลักที่จะต้องทำ ต่อไป แต่เกษตรจะถูกต่อยอดด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะถูกผสมผสานด้วยเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรม เป็น Agro-Industry มีการพัฒนาเทคนิคการถนอมอาหาร เทคนิคการทำบรรจุภัณฑ์ การผลิตในลักษณะ mass production การควบคุมคุณภาพ การได้สุขอนามัย ทั้งหลาย จะต้องถูกนำมาทางด้านนี้ทั้งหมด ไม่ใช่เกษตรธรรมดา เพราะเกษตรสามารถพัฒนา ให้ทันสมัยได้

ฉะนั้น นี่คือฐานกำลัง สตางค์ของประเทศส่วนหนึ่ง แล้วเงินทั้งหมดจะลงไปที่ ชาวบ้าน คือเกษตรกร หมายถึงผู้ที่มีลูกมาก เพราะมีจำนวนมาก ซึ่งหมายถึงอนาคตของชาติถ้าพ่อแม่ไม่พอจะกินตั้งแต่วันนี้ อนาคตของชาติก็จะไม่มีคุณภาพตั้งแต่วันนี้ ฉะนั้น จึงต้อง ย้อนไปที่นั่น เพื่อจะให้อนาคตของชาติที่เป็นลูกเกษตรกร ลูกคนทำงาน ลูกผู้ใช้แรงงานทั้งหลาย ให้เขามีคุณภาพตั้งแต่วันนี้

สอง คือคนที่มีศิลปะ มีความรู้ ความสามารถนั้น จะถูกพัฒนาเข้าสู่การบริการที่มีระดับ ไม่ใช่บริการที่ไม่มีระดับ เพราะจะได้ทำมาหากินกับการท่องเที่ยว ดังนั้น ใน 3-4 ปีข้างหน้า ประเทศไทย การท่องเที่ยวจะดีขึ้นมาก หลังจากเปิดสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว ท่านจะเห็นว่า ยอดการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยจะเป็นลักษณะก้าวกระโดด และการที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยมาก แสดงว่ามีคนมาบริโภคอาหารและซื้อของในประเทศถึงที่นี่ โดยไม่ต้องเสียค่าขนส่ง ส่งออกโดยไม่ต้องส่งออก ส่งออกอาหารใส่ท้องนักท่องเที่ยวไป คนละ 10-20 กิโลกรัม สมมติว่า 20 ล้านคน จะประมาณ 200-300 ล้านกิโลกรัม เท่ากับหลายตันโดยไม่ต้องเสียค่าขนส่ง ส่วนที่สาม คือการพัฒนาคนที่จะเข้าไปสู่ระบบการใช้สมองในการเป็น นักวิทยาศาสตร์ เป็นนักบริหาร

กลับมาที่การศึกษา วันนี้ มีแต่คนบอกว่าความสามารถทางสติปัญญา หรือ IQ (Intelligent Quotient) ของเด็กไทยต่ำลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งว่าเด็กไทยวันนี้หูตึงมากกว่าเด็กสมัยก่อน นั่นคือ โลกพัฒนามากเท่าใด มลภาวะทางเสียงยิ่งมาก เท่านั้น ซึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น รถยนต์ เมือง และแน่นอนเด็กสมัยนี้ฟังเพลงไม่ดังไม่สนุก ถ้าหูตึงจะทำให้ความสามรถในการรับรู้ลดลง สมมติว่าคนที่เก่งเท่ากัน มีสมาธิดีเท่ากัน แต่หูตึงไม่เท่ากัน ความสามารถในความเข้าใจที่ครูบรรยาย หรือการรับรู้ จะลดลง สังเกตได้ว่า คนที่หูไม่ค่อยดีเท่าไรจะเสียงดัง เหมือนผม ดังนั้น เรื่องหูตึงเป็นสิ่งไม่ดี

ใน 4 ปีข้างหน้า ผมจะพัฒนาเรื่อง IQ เด็กโดยตรง และผมเชื่อว่าจากนี้ไปอีก 10ปี IQ ของเด็กไทยจะสูงขึ้นจากวันนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 เพราะว่า IQ มีปัญหาตั้งแต่ เรื่องของการตั้งครรภ์ การดูแลครรภ์ และการดูแลเด็กแรกเกิด แน่นอนว่า IQ มีสองส่วน ส่วนหนึ่งคือเรื่องของพันธุกรรม แต่อีกส่วนหนึ่งสามารถพัฒนาได้ มนุษย์ที่เกิดมามีเซลล์สมองหรือ neuron ประมาณ 100,000 ล้านเซลล์ แต่ลิงมีประมาณ 1,000 ล้านเซลล์ และหนูมีประมาณ 5 ล้านเซลล์ เมื่อเซลล์สมองส่วนใดที่ไม่ได้ใช้จะตายไป ส่วนใดที่ใช้จะเข้มแข็งขึ้น เช่นเดียวกับมีดที่ทิ้งไว้ไม่ลับให้คม จะมีสนิมขึ้น

คนก็ไม่ต้องห่วงว่าถ้าใช้สมองมากแล้วเซลล์สมองจะหมด แต่ส่วนที่มีปัญหาคือไปเครียดกับปัญหา การใช้สมองมากกับการเครียดเป็นคนละเรื่อง การเครียดคือการแบกปัญหาไว้ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เมื่อเครียดก็จะทำให้เส้นเลือดในสมองแตก เช่นเดียวกับที่ ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า "จิตวุ่นปัญญาหาย จิตว่างปัญญามี" ปรากฏว่าเขาทำกายภาพในสมอง พบว่าถ้าจิตวุ่นหรือเครียดจะมีเคมีเข้าไปขวางช่องทางที่เข้าสู่เซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองรับรู้ ได้น้อยลง ซึ่งตรงกันทั้งทางพุทธศาสนาและทางวิทยาศาสตร์

ฉะนั้น การศึกษาเรื่องสมองในอดีตและปัจจุบันไม่เหมือนกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เรื่อยมา การศึกษาเซลล์สมองกว้างขวางมาก และเครื่องมือสมัยใหม่ ความรู้สมัยใหม่ เรื่องของ ICT เรื่อง Nano-technology เข้าไปผสมผสานกับเรื่องของ Medical-science หรือ Bio-science ซึ่งทำให้ความเข้าใจเรื่องสมองของมนุษย์เปลี่ยนไป

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องดูแลเด็ก เพื่อให้พัฒนาการทางสมองสอดคล้องกับการเรียนรู้ ที่เราใช้คำว่า "Brain based Learning" เราสามารถศึกษาได้ว่าสมองมนุษย์ มีหลายส่วน ส่วนใดทำหน้าที่อะไร เปรียบเสมือนในสมองมนุษย์มีคอมพิวเตอร์หลายตัว โดยมอบหมายให้ทำหน้าที่ในแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน เมื่อก่อนเราพูดว่าสมองซีกซ้ายคือ micro สมองซีกขวาคือ macro สมองซีกขวาถ้าใช้มากแสดงว่ามีวิสัยทัศน์ แต่ถ้าใช้สมองซีกซ้ายมากแสดงว่าไม่มีวิสัยทัศน์ ความจริงแล้ว ไม่มีสมองส่วนใดที่ทำงานตามลำพัง เพราะมีตัวเชื่อมโยงคือ “ซินแนปส์” (synapse) ซึ่งจะทำให้การฝึกสมอง การใช้สมองหลายส่วนในเวลาเดียวกัน ทำให้ ขีดความสามารถในการใช้สมองของมนุษย์ต่างกัน การฝึกเหล่านี้คือการคิดเชื่อมโยง ถ้าใครยังคิดว่าอะไรคือตัวของตัวเอง ไม่ได้ เพราะโลกคือส่วนหนึ่งของจักรวาล ประเทศไทยคือส่วนหนึ่งของโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คือส่วนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาไทย และส่วนหนึ่งของประเทศไทย ส่วนหนึ่งของการสร้างเด็กไทย ต้องมองให้ได้อย่างนี้ เพราะจะทำให้เราเดินได้ถูกทาง แต่ถ้ามองเพียงว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาวันนี้ มีครูอาจารย์ นักศึกษาจำนวนเท่านี้ แล้วเราจะไม่รู้จักใคร วันนี้คงไม่มีใครมาให้ทุนการศึกษา

ดังนั้น ความคิดเชื่อมโยงเป็นเรื่องสำคัญ โลกยุคใหม่ เด็กไทยจะต้องกล้าคิดเชื่อมโยง ผมมีลูกตอนที่ผมไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา จึงไม่มีพ่อแม่คอยสอนการดูแลครรภ์ ผมจึงไปเข้าโรงเรียนที่สอนตั้งแต่การดูแลครรภ์ การฝึกหายใจเวลาครรภ์ใหญ่ๆ ต้องนอนอย่างไรเพื่อให้ไม่หายใจอึดอัด และทำอย่างไรจึงจะคลอดง่าย การเลี้ยงดูลูกแต่ละช่วงเป็นอย่างไร มีตำราขาย ตอนนี้คนต่างจังหวัดไม่มีปู่ย่าตายายคอยดูแลเหมือนเมื่อก่อน เพราะทุกคนแยกตัวออกมาเป็นครอบครัวอิสระหมด ฉะนั้น สิ่งที่เป็นความชำนาญในสมัยก่อนก็เริ่มหายไป การเลี้ยงดูเด็กจึงเริ่มมีปัญหาตั้งแต่เล็กๆ

ดังนั้น วันนี้เราจะเข้าไปดูกันตั้งแต่ต้น ดูตั้งแต่เรื่องของการฝากครรภ์ โดยให้ความรู้ว่าการจะตั้งท้องต้องตรวจเลือด จนกระทั่งถึงเรื่องการดูแลเด็กระหว่างอยู่ในครรภ์ สมองของเด็กเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ พ่อแม่พูดคุยกับลูกคือการเติมข้อมูลในสมอง เมื่อคลอดออกมาแล้ว อย่าคิดว่าเขาไม่รู้เรื่อง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เรียนรู้ด้านสุนทรียะ ภาษาได้ดีมาก เด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีสามารถสอนภาษาได้หลายภาษา

ดังนั้น การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องของแนวทางด้านวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาสมอง และต้องเติมข้อมูล หลักสูตรทั้งหลายต้องเติมให้ตรงกัน เพราะเรื่องนี้เป็นนวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในระบบการศึกษาไทย จะมีนวัตกรรม 2 ระดับเกิดขึ้น ระดับที่หนึ่งคือการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามพัฒนาการของสมอง และการเรียนรู้ในลักษณะเรียนทีละวิชาเพื่อให้สมองบางส่วนรับเป็นชิ้นๆ นั้น ไม่ได้ประสิทธิภาพ ดังนั้น การเรียนรู้ ในยุคใหม่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย แต่เราต้องทำคู่กัน ระดับที่สองคือระดับอุดมศึกษา และระหว่างกลางคือเรื่องทุนการศึกษา

ผมต้องการลงทุนเพื่อให้เด็กไทยทุกคนที่เกิดมาในผืนแผ่นดินไทย จะยากจนอย่างไร ถ้ามีศักยภาพเรียนได้ถึงระดับปริญญาเอก ก็จะให้เรียนแล้วไม่ต้องทุกข์ใจ มีสตางค์ ก็ชำระเอง ถ้าไม่มีสตางค์ เรามีคำว่า ICL (Income Contingent Loan) คือผูกไว้กับรายได้ ในอนาคต วันนี้ไม่สตางค์ไม่ต้องชำระ ไม่มีดอกเบี้ย เมื่อไรมีงานทำถึงระดับที่พออยู่ได้ก็จะถูกหักรายได้ แต่จะเป็นลักษณะค่อยๆ หักเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน เพื่อให้ชีวิตของเขาอยู่ได้ เช่น เขามีรายได้ 15,000 บาท จะหักเพียง 1,000 บาท ถ้าเกิน 15,000 บาทจะหักเท่าใดก็เป็นไปตามอัตราที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ ถ้าเกิดว่าเด็กคนนั้นเรียนจบมาแล้วไม่มีงานทำ แสดงว่าระบบ การศึกษาของเราใช้ไม่ได้ เขาหางานทำไม่ได้ หรือเราพัฒนาเศรษฐกิจไม่ดี ก็ยังไม่ต้องหัก สตางค์เขา เมื่อไรที่เข้าสู่ระบบการมีงานทำ เสียภาษีเมื่อไร สรรพากรมีระบบเรียกเก็บได้เลย

นี่คือระบบพี่เลี้ยงน้องโดยตรง คือรุ่นพี่สามารถทำงานจนถึงระดับที่มีรายได้แล้ว ก็ชำระคืน รัฐบาลจะนำเงินเหล่านั้นมาหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการศึกษาของรุ่นน้องต่อไป นั่นคือการหมุนเวียนของเงินก้อนใหญ่

ทุกมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันกัน เพราะระบบจะถูกแข่งขันกันหมด ถ้ามหาวิทยาลัยนี้มีปัญหา นักศึกษาสามารถย้ายมหาวิทยาลัยได้ ระบบ cross enrolment มีระบบการ transfer ซึ่งจะทำให้เกิด Freedom of Education อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สมมติว่าอาจารย์ระดับปริญญาโท อยากเรียนปริญญาเอก สามารถเข้าโปรแกรม ICL ไปเรียนปริญญาเอกเลย ถ้าต่างประเทศก็ต้องอีกเรื่องหนึ่ง สมมติว่าจากมหาวิทยาลัยราชภัฏไปเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปลงทะเบียนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นใหม่ที่มี ไมโครชิฟ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครดิตการ์ดเพื่อการศึกษาได้ทั้งหมด ฉะนั้น ผมจะทำบัญชีไว้ วันนี้ท่านมีรายได้เท่าไร สมมติว่า 30,000 บาท ไปเรียนปริญญาเอกมาแล้ว ถ้ามีรายได้ถึง 40,000 บาทเมื่อไรจึงจะเก็บเงินค่าเล่าเรียน ถ้าเกิดเสียชีวิตก่อนก็ถือว่าหักได้น้อยก็ไม่เป็นไร รัฐรับไป

เราต้องการลงทุนเรื่องคน ต้องการให้คนได้เรียนหนังสือมากๆ เพราะสมองจะวนอยู่ในประเทศไทย เดี๋ยวก็สร้างคน สร้างงาน สร้างวิชาความรู้เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่มีปัญหา นี่คือการลงทุนเรื่องคนที่จะเกิดขึ้น เด็กไทยที่ไม่ใช่ระดับมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ ICL เราจะให้ระบบทุนการศึกษา ถ้าเราพบว่าเด็กตั้งใจเรียน เด็กต้องการจะเรียน เด็กสามารถเรียนได้ แต่พ่อแม่ไม่มีสตางค์ส่ง เราจะส่งให้เรียน โดยเราจะใช้ระบบคาราวานบุกถึงบ้าน บ้านไหนเก็บลูกไว้ใช้แรงงาน ไม่ยอมให้ลูกไปเรียนหนังสือ ไม่ได้ ถึงเวลาเรียนต้องไปเรียน ให้เรียนให้ได้

โลกข้างหน้าจะ pay by talent ไม่ใช่ pay by certification .....
โดย: ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและการศึกษาไทยในทศวรรษหน้า" (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:16:53:25 น.
  
ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและการศึกษาไทยในทศวรรษหน้า"
..( ต่อ )..

โลกข้างหน้าจะ pay by talent ไม่ใช่ pay by certification ฉะนั้น เรียนไป เท่าไร ได้ประกาศนียบัตรหลายใบ แต่ทำงานไม่เป็น ท่องจำอย่างเดียวจนจบ จบมาได้ปริญญา แต่ไม่ค่อยฉลาด เงินเดือนจะน้อย โลกเปลี่ยนไปอย่างนั้น ทิศทางเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น ทุกคนต้องเตรียมตัวว่าการเรียน เรียนให้รู้ เรียนให้สนุก เพราะ pay by talent จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน นั่นคืออนาคตของโลก ไม่ใช่ของประเทศไทยอย่างเดียว แล้วประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของโลก จึงหนีไม่พ้น

หลายคนในโลกนี้เป็นมหาเศรษฐีโดยไม่จบปริญญา เพราะเขาพบทางในการทำมาหากินในระหว่างเรียนหนังสือ ดูแล้วดีกว่ารอที่จะเรียนให้จบ เพราะโอกาสเปิด เขาจึงโดดใส่โอกาส ทำไมโอกาสเปิดในต่างประเทศ ทำไมไม่เปิดในประเทศไทย เพราะในต่างประเทศมีระบบ venture capital มีมากกว่าสาขาของธนาคาร เพราะคือเจ้าของเงินที่ดูความเสี่ยงเป็น ใครเสนอโครงการแล้วเขามองแล้วเข้าท่า คุณเป็นแรงงานและสมอง ผมเป็นเงิน มาถือหุ้นร่วมกัน ทำให้ เด็กที่มีความสามารถสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ ตั้งแต่ยังไม่มีสตางค์ เพราะมีความคิด ความคิด คือเงิน ซึ่งจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ฉะนั้น ไม่ต้องรอ

มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งอายุ 9 ปี เวลาไปงานกับพ่อแม่มักจะฉีดน้ำหอมของพ่อผู้ใหญ่ว่าทำไมเด็ก 9 ปีใช้น้ำหอมของผู้ใหญ่ที่มีกลิ่นฉุนและเหม็น เมื่อเขากลับบ้านไปก็คิดมาก นำแชมพูผสมกับสบู่และอะไรอีกมากมาย แล้วในที่สุดกลายเป็นน้ำหอมกลิ่นเด็กที่เรียกว่า boy's cologne และไปหาร้านที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเจ้าของเปิดตัวและทำน้ำหอมกลิ่นดังกล่าวเป็นน้ำหอม boy's cologne เด็กคนนั้นถูกว่าเมื่ออายุ 9 ปี เก็บไปคิด อายุ 11 ปีได้สูตรน้ำหอม แม่จึงจ้างนักเคมีมาผสมเพื่อให้ได้น้ำหอมกลิ่นที่เหมาะสมกับวัยเด็ก

ความรู้ทางวิชาการเป็นเครื่องประกอบกับปัญญาที่คิดเป็น รัฐบาลสร้างองค์การบริหารและพัฒนาความรู้ ซึ่งมีหลายแท่ง แท่งที่หนึ่งเป็น Design center กำลังจะมี campaign คือ Idea เติมได้ มีไม่พอเติมได้ถ้าคิดจะเติม โดยจะมีศูนย์ Design center จะนำนักออกแบบทั่วโลกมาสร้างแรงจูงใจให้กับคนไทย เพราะคนไทยมีหัวศิลปะอยู่แล้วแต่ต้องสร้างแรงจูงใจ ต้องกระตุ้นให้เกิดความคิด ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น

อีกแท่งหนึ่งคือ Brain based Learning หรือการเรียนหนังสือให้เป็นไปตามพัฒนาการสมอง ซึ่งจะเกิดขึ้น โดยมีคาราวานบุกไปถึงบ้านเพื่อดูแลเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดให้มีการเลี้ยงดูให้ถูกต้อง และมีศูนย์จริยธรรมของ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งพยายามจะสร้างเรื่อง Good Governance เรื่องของจริยธรรม คุณธรรมให้เกิดขึ้น มีศูนย์ Live Science ของอาจารย์พรขัย มาตังคสมบัติ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และมีห้องสมุดที่เป็น Living Library ซึ่งเตรียมจะเปิดเพื่อเป็นตัวอย่างนำร่อง เป็นห้องสมุดที่มีจิตวิญญาณ เด็กๆ เข้าไปแล้วจะได้ความรู้ ได้ความเพลิดเพลิน และได้ความทันสมัยพร้อม และจะมีพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ใช่โกดังเก็บของเก่าที่ไม่ได้ให้ความรู้อะไร แต่จะให้ความรู้เรื่องชาติพันธุ์ เรื่องเผ่าพันธุ์ของไทย เพื่อให้รู้พัฒนาการต่างๆ รวมกันแล้วเป็นการลงทุนเพื่อสร้างปัญญาคนไทย นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาทำ ให้คนไทยได้มีความรู้ ให้คนไทยได้มีความรู้ใหม่ๆ ลงทุนหลายหมื่นล้านบาท เบื้องต้นผมเตรียมไว้ประมาณ 10,000 ล้านบาท โครงการเหล่านี้คือการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้และปัญญาของคนไทย ไม่เช่นนั้นเราจะสู้เขาไม่ได้

วันนี้จะมีการประชุมร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งจะมีการดำเนินการเรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรม มีหลายเรื่องที่จะต้องทำ ดังนั้น จากนี้ไปอีก 4 ปีข้างหน้า ท่านจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา อย่างมากของประเทศไทย และเชื่อเหลือเกินว่าเด็กไทยทั้งหลายวันนี้สิ่งที่เต็มอยู่ในสมองของท่านจะเริ่มคิดแล้วว่าจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร วันนี้บางคนชอบอะไร ในสหรัฐอเมริกาจะถามตนเองว่าชอบอะไร แล้วนำสิ่งที่ชอบมาทำเป็นเงินก็ได้ เพราะโอกาสข้างหน้าจะเปิดมากมาย การทำธุรกิจเกิดขึ้นง่าย การหาทุนเกิดขึ้นง่าย สิ่งที่หายากและถือว่ามีราคาที่สุดคือความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเรื่องของ แต่ละคนต้องพัฒนา

ฉะนั้น การศึกษาในรูปแบบเดิมๆ เป็นรูปแบบที่แข็งกระด้าง เป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างที่ยึดแน่นในระบบกฎหมายเดิมๆ จะค่อยๆ ผ่อนคลาย เพราะการศึกษาไม่ใช่การบังคับ แต่การศึกษาต้องเป็นความเต็มใจอยากเรียน และเป็นการเต็มใจที่เราจะต้องมีการชี้นำ จูงใจ ถ้าไม่เช่นนั้น เด็กจะไปเรียนแบบไม่อยากเรียน แต่ถ้าไม่ชี้นำ ไม่จูงใจ เด็กก็อาจจะสนุกกับชีวิตมากเกินไป จึงต้องมีวิธีการที่จัดการได้พอดีๆ แต่อย่าลืมว่าเด็กไทยมีข้อมูลในสมองมาก เพราะ neuron มีเป็น 100,000 ล้านหน่วย ซึ่งเป็นตัวเก็บข้อมูล เพียงแต่ว่าเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เก็บไว้จะทำอะไร ถ้าผู้ใหญ่เข้าใจพัฒนาการของเด็กในวันนี้

สิ่งสำคัญคือการพูดคุยกัน ซึ่ง Stephen Covey เขียนหนังสือเรื่อง The 8th Habbit from Effectiveness to Greatest ได้พูดถึงนิสัยที่ 8 คือคำว่า voice นั่นคือสิ่งสำคัญ ที่สุดคือเราจะต้องถามตัวเราให้ได้ว่าเราชอบอะไร เราอยากจะไปทางไหน และถ้าเราเป็นผู้นำจะนำพาคนในองค์กรไปทางใด ซึ่งต้องถามให้ชัดและสื่อให้ชัด ขณะเดียวกันก็ต้องถามคนในองค์กรอีกว่า เขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เขาเห็นด้วยกับทิศทางที่จะเดินไปร่วมกันหรือไม่ ดังนั้น นิสัยที่ 8 ของ Stephen Covey ซึ่งเป็นนักพัฒนามนุษย์ในด้าน leadership ความจริงก็ตรงกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

วันนี้ ถ้าสถาบันการศึกษา ระหว่างครูอาจารย์ ผู้บริหาร นักศึกษา มีการพูดคุยกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อนั้นจะได้ประโยชน์อย่างมาก อย่าไปคิดว่าครูคนหนึ่งหรืออาจารย์คนหนึ่งจะนำพาเด็ก 40-50 คนไปในทิศทางของตนเองอย่างเดียว ความจริง สิ่งที่อยู่ในสมองของเด็ก 40-50 คน รวมกันมากกว่าสิ่งที่อยู่ในสมองของครูเพียงคนเดียว ฉะนั้น การเรียนรู้ร่วมกันเป็นสิ่งที่ต้องทำ ให้เด็กพูดให้มาก ครูยุคใหม่มีหน้าที่ท้าทายเด็ก เด็กยุคใหม่ มีพลังมาก มีข้อมูลมาก จึงชอบท้าทาย ถ้าเราไม่สามารถท้าทายในสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ เขาจะไปเลือกในสิ่งที่ท้าทายอย่างไม่สร้างสรรค์ตามวิถีของเขา ถ้าไม่ดึงเขากลับโดยการท้าทายในสิ่งที่สร้างสรรค์ เมื่อนั้น เราจะเริ่มเสียเขาไป

สิ่งที่เป็นปัญหาในวันนี้คือช่องว่างระหว่างวัย หรือ generation gap ระหว่างผู้บริหาร ครูกับนักเรียน พ่อแม่กับเด็ก ช่องว่างระหว่างวัยเป็นสิ่งสำคัญ ความพยายามจะเข้าใจเขาเป็นเรื่องที่ดีที่สุด วิธีที่จะเข้าใจได้ดีที่สุดคือให้เขาพูดออกมา บางทีเขาพูดแล้วอาจจะขัดอารมณ์ของเรา เราต้องอดทน เพราะเป็นคนละยุค พวกนี้เรียกว่า mobile phone generation นิ้วโป้งนิ้วเดียวสามารถส่งข้อความได้ทั้งวัน ซึ่งเราจะต้องเข้าใจเขา เมื่อเข้าใจแล้วเราจะ handle เขาได้ง่ายมาก

ระบบการศึกษาไทยข้างหน้า สรุปได้ว่า เปิดกว้าง ไม่มีโครงสร้างมาก ให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ และนำระบบการศึกษาใหม่ๆ เข้ามาให้มากที่สุด แล้วมี 2 แนวทาง แนวทางที่เป็นทางการและแนวทางที่ไม่เป็นทางการ นั่นคือคนที่ใฝ่เรียนสามารถเข้าไปแสวงหาความรู้ที่ไม่เป็นทางการได้อย่างมากมาย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาอย่างทั่วถึง โรงเรียนทุกโรงเรียนภายใน 2 ปีข้างหน้าจะต้องมีระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตทุกโรงเรียนในประเทศไทย ต่อไปนี้ ในทุกมหาวิทยาลัยจะต้องติด wild file อินเตอร์เน็ตตัวเดียวจะนำไปใช้ตรงไหนก็ได้ มุมไหนก็ได้ เพราะคอมพิวเตอร์นับวันจะถูกลงต่อไปโทรศัพท์มือถือจะกลายเป็นคอมพิวเตอร์ไปแล้ว ขณะนี้กำลังจะเข้ามาคือ wild max ซึ่งสามารถใช้ได้ถึง 50 กิโลเมตร ดังนั้น campus ใหญ่ขนาดไหนก็สบายมาก cross campus ยังสบายมาก นั่นคือสิ่งที่กำลังมา

รัฐบาลจะสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างเต็มที่ ห้องทดลองที่ล้าสมัยจะเพิ่มให้มี ทางวิทยาศาสตร์จะสนับสนุนเต็มที่ รัฐพร้อมจะลงทุนเพื่อการศึกษาเพราะถือว่าการลงทุนเพื่อคนเป็นการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย สังเกตไหมว่ารัฐบาลของผมจะลงทุนเรื่องคนมาก ในเรื่องของการให้โอกาสมนุษย์มากกว่าการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่โครงสร้าง พื้นฐานต้องทำควบคู่กันไป ถ้าไม่ทำ เมื่อคนพัฒนาถึงจุดหนึ่ง โครงสร้างพื้นฐานรองรับไม่พอ ก็ไปไม่ได้ ฉะนั้น ต้องควบคู่กัน แต่จะเน้นให้ความสำคัญกับคนเป็นเรื่องที่สำคัญ

ผมมั่นใจว่าคน 63 ล้านคน จะเป็นคนที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งคนพิการก็พยายามจะทำให้เขาช่วยเหลือตนเองให้ได้ คนไม่มีบ้านก็ต้องมีบ้าน คนไม่มีที่ดินทำกินก็ต้องให้มีที่ดินทำกิน เพราะอย่าให้เขาตื่นมาแล้วคิดว่าไม่น่าตื่นเลย ถ้าเมื่อไรคนคิดเช่นนี้ จะอันตราย เราจะต้องทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าอยากไปทำงาน กระฉับกระเฉง สนุกมาก เรื่องที่ค้างอยู่น่าทำ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนประเทศเป็นไปด้วยดี ก็คงจะพูดกว้างๆ เพียงเท่านี้ เพราะไม่อยากจะลงรายละเอียดถึงวิธีการมากนัก เพราะวันนี้มีนักการศึกษาทั้งนั้น เดี๋ยวจะพูดผิด

ผมขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งสำหรับการต้อนรับ ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สภาประจำสถาบัน และอาจารย์ รวมทั้งนักศึกษา ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนประสพผลสำเร็จในชีวิต ผมจะทำหน้าที่อย่างเดียวคือเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้การสร้างชีวิต สร้างอนาคตของตนเองและครอบครัวให้เต็มที่ตามศักยภาพของเขา ขอบคุณ สวัสดีครับ



-------------------------------------------------



ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก

อภิญญา ตันติรังสี /ถอดเทป/พิมพ์

ดวงฤดี รัตนโอฬาร /ตรวจ





โดย: ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและการศึกษาไทยในทศวรรษหน้า" (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:16:54:29 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด