0011. INNOVATION OR DIE MANAGING IN THE NEXT SOCIETY : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่านจาก นายกฯ ทักษิณ




เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2542 พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "สหัสวรรษเศรษฐกิจกับธุรกิจค้าปลีกไทย" ณ โรงแรมเซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า ...

...."สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ ประเทศไทยของเรา ไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ดร.ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง ธนาคาร เขาเป็นคนเก่งเกี่ยวกับเรื่องของการบริหาร อายุมากแล้ว แต่ยังมีข้อมูลทันสมัยมาก เขาเขียน Innovation or Die ท่านจะสร้าง นวัตกรรมใหม่ หรือ ว่าจะตาย เขาพูดถึงธนาคารว่า ในอเมริการวันนี้ ธนาคารที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพราะของเก่ามันกลายเป็นสินค้า (Commodity) คือ เริ่มไม่มี Margin พอไม่มีปั๊บจะเกิดความเสี่ยงสูง ซึ่งทำให้ธนาคารล้มได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างกำไรจากนวัตกรรมนั้นได้แทนนวัตรกรรมเก่าที่จบลง ก็เหมือนกับ S-curve"





ชื่อหนังสือ การบริหารการจัดการสังคมแห่งอนาคต : Managing In the Next Society
โดย ปีเตอร์ เอฟ. ดรัคเกอร์/ รศ.ดร.กนลา สุขพานิช ขันทปราบ : แปล
สำนักพิมพ์ เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส จำกัด
ราคา 290 ฿
จำนวน 300 หน้า
จำหน่ายโดย บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ซ จำกัด
ISBN 9748254682

หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบทความที่กล่าวถึง "การบริหารแบบดั้งเดิม" และที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ก็คือเรื่อง "เทคนิคการแก้ไขปัญหาแบบครอบจักรวาล"

เนื้อหาสำคัญของหนังสือเล่มนี้ก็คือ การกล่าวถึงกระแสของการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมในอนาคต ซึ่งจะเป็นพันธกิจสำคัญของนักบริหารในอนาคต

ในอีก 10 - 15 ปีข้างหน้านี้ องค์กรต่างๆ จะถูกคุกคามอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก และเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม จะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร ยิ่งกว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเสียอีก

หนังสือเล่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เราสามารถบริหารและจัดการกับสังคมแห่งอนาคตได้อย่างสำเร็จผล




Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 7:58:42 น.
Counter : 1387 Pageviews.

1 comments
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ประสบการณ์ ทำพาสปอร์ตที่สายใต้ใหม่ newyorknurse
(2 ม.ค. 2567 17:45:17 น.)
  
Resource:target=_blank>94 ปี ของ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ : ดนัย เทียนพุฒ


94 ปี ของ ปีเตอร์ ดรักเกอร์

94 ปี ของ ปีเตอร์ ดรักเกอร์
ดนัย เทียนพุฒ

ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เพิ่งให้สัมภาษณ์นิตยสารฟอร์จูน ฉบับเดือน ม.ค. พ.ศ. 2547 ก่อนครบวันเกิด 2 วัน ด้วยอายุ 94 ปี (ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เกิด 19 พ.ย. พ.ศ. 2452 และเพิ่งครบรอบอายุ 94 ปี) เมื่อให้สัมภาษณ์กับนิตยสารฟอร์จูน ; Straight Talk from Peter Drucker-The 94 Years old guru P.71-74)

ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นซูเปอร์กูรูด้านการจัดการ เกิดที่เวียนนา ประเทศออสเตรียเข้ารับการศึกษาในEngland จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในด้าน Public and International Law ในขณะที่ทำงานเป็นผู้สื่อข่าว นสพ.ใน Frankfurt, Germany

ในปี 1933 ศ.ดรักเกอร์ ทำงานเป็นนักเศรษฐกรที่ International Bank ในกรุงลอนดอน

พอปี 1937 ก็อพยพย้านถิ่นฐานข้ามทวีปไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทำงานด้าน นสพ.อีกครั้ง

ในปี 1942 ดรักเกอร์เป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาและการเมืองที่ Bennington College ใน Vermont และเป็นศาสตราจารย์ด้านการจัดการที่ Graduate School of New York University

ในปี 1971 เป็น Clark Professor of Social Science ที่ Claremont Graduate School ใน California

เกือบๆ 50 ปี ศ.ดรักเกอร์ เป็นที่ปรึกษาและผู้ให้คำแนะนำในด้านนโยบายและแนวโน้มธุรกิจในระยะยาวกับธุรกิจเอกชน สถาบันเอกชน องค์กรภาครัฐในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก

ปัจจุบันปีเตอร์ ดรักเกอร์ ทำงานกับมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลและโบสถ์ ซึ่งปีเตอร์ ดรักเกอร์ เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “คนทำงานที่มีภูมิรู้” (Knowledge Worker) ถ้าเราสามารถพิจารณาความโดดเด่นในแนวคิดของทฤษฎีด้านการจัดการของ ศ.ดรักเกอร์ ได้จากหนังสือต่อไปนี้

หนังสือเล่มแรกเขียนขึ้นในปี 1939 The End of Economic Man

หลังจากนั้นในปี 1940 ศ.ดรักเกอร์ได้เขียน The Future of Industrial Man and the Concept of the Corporation ในปี 1950s มีผลงานออกมาอีกคือ The Practice of Management ปี 1960s คือ Managing for Results และ The Effective Executive

The Age of Discontinuity ในปี 1970s เสนอเอนไซโครพีเดียด้านการจัดการ (Mana-gement : Tasks, Responsibilities, Practices) และในปี 1980s มีหนังสือ Managing in Turbulent Times และ The Frontiers of Management รวมถึง Innovation and Entrepreneurship

ในปี 1990s มีผลงานที่น่าสนใจมากคือ หนังสือ Managing the Non-profit Organiza-tion และ Managing for the Future

ศ.ดรักเกอร์ยังมีการเขียนนิยามและอัตชีว-ประวัติด้วยคือ Adventures of a Bystander, The Temptation To Do Good และ Last of All Possible Worlds

ในช่วงปี 2000s และ 21C (ศตวรรษ ที่ 21) มีหนังสือที่น่าสนใจคือ

1.Managing in a Time of Great Change

2.Managing Challenges for the 21st Century และ

3.Managing in the Next Society

ศ.ดรักเกอร์ให้หลักการบริหารอะไร
ศ.ดรักเกอร์ เสนอแนวคิด หลักการบริหาร 5 ประการ ที่ประกอบด้วย การกำหนดวัตถุ-ประสงค์ การจัดองค์กร การจูงใจ การสื่อสารและการกำหนดวิธีวัดผลงานรวมถึงการพัฒนาคน

ไม่ว่าจะเป็น “การแปรรูปองค์กร” (Privati-zation) ที่โด่งดัง เช่น ในบ้านเราเรียกว่า “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” ศ.ดรักเกอร์เรียกคำนี้ว่า “Reprivatization” แล้วกลายเป็นสิ่งใหม่ในการบริหารภาครัฐ หรือแม้แต่ “การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์” (MBO : Management by Objectives) ก็มาจากแนวคิดของ ศ.ดรักเกอร์

และใน Management : Tasks, Respon-sibilities, Practices ศ.ดรักเกอร์ ได้อธิบาย หลักการ 5 อย่าง ในการทำงานของผู้จัดการ ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ เกิดมาจากการบูรณา-การทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร

ทั้งหมดนี้เป็นการสรุปสิ่งที่จำเป็นในการจัดการ ซึ่งมีความชัดเจนมากกว่าหนังสือเล่มอื่นทั้งก่อนหน้าและถึงขณะนี้


ผู้จัดการ มีสิ่งแรกที่จะต้องทำคือ กำหนดวัตถุประสงค์

: เขาจะต้องกำหนดว่า วัตถุประสงค์อะไรที่เราควรมี

: เขากำหนดว่า เป้าหมายในแต่ละส่วน ของวัตถุประสงค์ที่ควรมี

: เขาทำให้วัตถุประสงค์มีประสิทธิภาพ โดยการสื่อสารกับคนของเขาเพื่อให้เกิดผลงานตามที่ต้องการ

สิ่งที่สอง คือ ผู้จัดการต้องวิเคราะห์ ตัด-สินใจและสร้างความสัมพันธ์ ผู้จัดการต้องแยกแยะงานโดยการจัดแบ่งกิจกรรมที่ต้องจัดการในงานจัดการ เขาจะจัดกลุ่มของงาน ไว้ในโครงสร้างองค์กร

ผู้จัดการคัดเลือกคนที่จะบริหารหน่วยงานและทำงาน

ต่อมา ผู้จัดการต้องจูงใจและสื่อสาร เขาบริหารทีมตามความรับผิดชอบในงานที่มีทั้งหมด

ผู้จัดการทำทั้งหมดนี้ โดยการตัดสินใจ ของลูกน้องที่ขึ้นกับค่าตอบแทน การบรรจุและการเลื่อนตำแหน่ง และสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ การสื่อสารไปยังลูกน้องกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน

สิ่งที่เป็นองค์ประกอบที่สี่ คือ การวัด- ผล เป็นงานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้จัดการผู้จัดการต้องกำหนดวิธีการวัดผลด้วยปัจจัยบางประการที่เป็นสิ่งสำคัญต่อผลงานขององค์กรและทุกคน

ผู้จัดการ วิเคราะห์ ประเมินและแปลความหมายผลงาน

ในทุกๆ งานของผู้จัดการ เขาสื่อสารใน เรื่องของการวัดผลงานกับทุกๆ คน

สุดท้าย ผู้จัดการต้องพัฒนาคน รวมทั้งตัวเขาเองด้วย

อย่างไรก็ตาม ในปี 2004 ปีเตอร์ ดรัก-เกอร์พูดถึง “คนทำงานที่มีภูมิรู้” (Knowledge Worker) และ “ผลิตภาพของคนทำงานที่มีภูมิรู้” (Knowledge Worker-Productivity) ซึ่งผู้เขียนได้สรุปไว้ในหนังสือเล่มใหม่ของผู้เขียนคือ การพัฒนามูลค่าทุนมนุษย์ (Developing Human Capital Value) วางตลาดเมื่อต้นเมษายน พ.ศ. 2547 ครับ

Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants




Last Update : 22 มกราคม 2551 17:37:01 น. 2 comments
โดย: 94 ปี ของ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:8:09:06 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Moonfleet.BlogGang.com

moonfleet
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]

บทความทั้งหมด