
สัปดาห์นี้ต้นแก้วในบ้านให้ดอกออกมามาก บางปีก็ให้ดอกมากบางปีก็แทบไม่มีดอก "แก้ว" (เฉยๆ) ดอกไม้สามัญประจำบ้านอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมปลูกกันเป็นปกติในหลายบ้าน หลายจังหวัดทั่วทั้งประเทศไทย อาจด้วยคำว่า "แก้ว" ตามความเข้าใจของคนไทยมักหมายถึงสิ่งที่ดีงาม เช่น ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว เป็นต้น
ต้นแก้วเป็นต้นไม้ราคาถูก ให้ผลตอบแทนเกินมูลค่า ยิ่งโตตัดแต่งรูปทรงให้สวยงามยิ่งดูดี เลี้ยงง่ายตายยาก ออกดอกได้ไม่ต้องพึ่งปุ๋ย ดอกแก้วเป็นช่อดอกแน่นสีขาวสวยส่งกลิ่นหอมแรงมีเอกลักษณ์ ดอกแก้วมีน้ำหวานมาก มวลหมู่แมลงชอบมาก ต้นแก้วมีประโยชน์หลายรูปแบบ นอกจากใช้ชื่นชมความงามของดอกแล้ว ต้นแก้วเป็นไม้ยืนต้นขนาดไม่ใหญ่มากใบค่อนข้างแน่นทึบมีขนาดเล็กสีเขียวสวยงาม อาจใช้เพื่อพรางสายตา ทำแนวรั้วหรือตัดแต่งเป็นรูปทรงให้สวยงามได้ตามใจชอบ














วันนี้ได้ "ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู" มาเป็นนายแบบถ่ายภาพให้อย่างคุ้นเคย ไม่หนีไปไหน หลงมัวเมาในรสชาดน้ำหวานที่หอมหวานจากดอกแก้วและดอกเข็มขาวจนลืมตาย
ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู
ชื่อสามัญ Common rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pachliopta aristolochiae วงศ์ : ผีเสื้อหางติ่งขนาด : 80-110 mm.
ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ปีกกว้างกว่า ส่วนท้องมีขนาดใหญ่เพราะมีไข่อยู่มาก จุดสีชมพูสีจืดกว่าตัวผู้เล็กน้อย ตัวเต็มวัย(ระยะผีเสื้อ) มีอายุประมาณ 10-17วัน
แก้ว
Murraya paniculata, ชื่อวงศ์: RUTACEAE
ชื่อสามัญ: Orang Jessamine, China Box Tree, Andaman Satinwood, Chinese Box-woodชื่อพื้นเมืองอื่น: กะมูนิง (มลายู ปัตตานี) แก้วขาว (กลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก (เหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง) และ ตะไหลแก้ว (เหนือ)ถิ่นกำเนิด: จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน
แหล่งที่พบ: ทุกภูมิภาคลักษณะทั่วไป:
ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกต้น สีขาว
เทา แตกเป็นร่องตามยาว
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน
ดอก ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยง ขนาดเล็ก ปลายมน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาวประมาณ1.2 ซม. เรียงซ้อนเหลื่อม ฐานรองดอกรูปวงแหวน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้แบน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียหนา ยาวประมาณ 0.7 ซม. ยอดเกสรรูปโล่ห์ ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร
ฝัก/ผล รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด
เมล็ด รูปไข่ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: ตลอดปี โดยเฉพาะฤดูฝนวิธีการปลูก สำหรับการปลูกในแปลง เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่มหรือเป็นแถวได้ และสามารถตัดแต่งทรงพุ่มได้ตามความต้องการส่วนการปลูกในกระถาง เพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก แนะควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปการดูแลรักษา ต้นแก้วต้องการแสงแดดจัด และควรรดน้ำอย่างน้อย 3 - 5 วัน/ครั้ง ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง
การใช้ประโยชน์:
- ไม้ประดับ
- สมุนไพร
- เนื้อไม้มีลายมันสวยงาม มีน้ำมันในเนื้อไม้ นิยมใช้ทำเครื่องตกแต่งในบ้าน ด้ามเครื่องมือ ด้ามปากกา เครื่องดนตรี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้
สรรพคุณทางยา:
- ใบ ใช้ปรุงเป็นยาขับระดู และยาระบายลมแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
*ดอกไม้ประจำจังหวัด สระแก้ว