13 มีค 57 กุ่มบก - Temple plant " ต้นกุ่มบก" ไม้ล้อมปลูกไว้หลายปี ช่วงนี้กำลังให้ดอกมาอีกครั้งทำให้จำได้ว่ายังมีภาพถ่ายการให้ดอกครั้งแรกตั้งแต่ปลายปีก่อน ครั้งแรกของกุ่มต้นนี้ที่ให้ดอกและเป็นครั้งแรกที่เราเคยเห็นดอกกุ่ม
ต้นกุ่มมีสองชนิดคือ กุ่มบก และกุ่มน้ำ กุ่มบกจะมีใบออกกลมมนมากกว่ากุ่มน้ำใบเป็นช่อ แตกใบเป็น 3 ใบย่อย
ดูจากภาพใบของต้นกุ่มคงต้องอร่อยพอควร มีรอยแมลงเจาะกินแทบทุกใบ
กุ่มบก ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาวนวล ในดอกมีเกสรตัวผู้สีม่วงยื่นออกมาเป็นฝอยเล็กๆ กลีบดอกแบนป้านมี 4 กลีบ ดอกเมื่อเริ่มบานจะมีสีเขียวอ่อน และต่อมาจะเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นสีขาวนวล แต่เมื่อบานเต็มที่จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองในที่สุด ช่อดอกมองดูคล้ายฝูงผีเสื้อกำลังเกาะบนยอดของต้น ดอกมีกลิ่นหอม และยามออกดอกต้นกุ่มบกจะออกดอกเต็มต้น จึงมีสีสันสวยงามและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
เกสรดอกกุ่มบกคงมีน้ำหวานอยู่มาก ฝูงผีเสื้อหลายสีบินวนเวียน เขียนบันทึกของวันนี้ สำหรับท่านผู้เยี่ยมชมหรือผู้เปิดผ่านมา ดอกไม้และภาพถ่ายในสวนนำมาแบ่งปันกันชม ไม่ถนัดความรู้เรื่องต้นไม้สักเท่าไหร่ ชื่นชมแต่ความสวยงามของต้นไม้และดอกไม้ สิ่งที่พยายามปรับปรุงอยู่เสมอคือ ภาพถ่ายให้สามารถถ่ายทอดความสวยงามของต้นไม้ใบไม้ตามสไตล์ชอบของตนเองค่ะ ขอบคุณที่หลายท่านทิ้งข้อความไว้ เจ้าของบ้านอาจไม่ค่อยได้เขียนตอบ เยี่ยมชม หรือทักทาย แต่ขอขอบคุณทุกท่านและระลึกถึงน้ำใจไมตรีของพี่ๆน้องๆเพื่อนๆอยู่เสมอค่ะ กุ่มบก ชื่อภาษาอื่น sacred garlic pear ,temple plant, บางครั้ง เรียก spider tree เนื่องจากเกสรตัวผู้ที่ยื่นยาวคล้ายขาแมงมุม , Balai Lamok, abiyuch, barna, varuna, and bidasi. เป็นพืชพื้นเมืองของ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิค ผลของกุ่มบกรับประทานได้ น้ำหวานของดอกดึงดูดนกและแมลงหลายชนิด โดยเฉพาะ ผีเสื้อ The pierid butterfly (Hebomoia glaucippe) ชื่ออื่น ๆ : กุ่ม (เลย) กุ่มน้ำบก (ชลบุรี) ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร
นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ อโนมทัสสีพุทธวงศ์, สิขีพุทธวงศ์ และปิยทัสสีพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 10 พระนามว่า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม, พระพุทธเจ้าองค์ที่ 23 พระนามว่า พระสิขีพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือนเต็ม และ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 16 พระนามว่า พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 เดือนเต็ม ทั้งสามพระองค์จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้กุ่ม เช่นเดียวกัน ต้นกุ่ม (ต้นกุ่มบก) ในภาษาบาลีเรียกว่า ต้นกักกุธะ หรือ ต้นกกุธะ เป็นพันธ์ไม้ในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ชาวฮินดูเรียกกันว่า มารินา ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้านำผ้าบังสกุลห่อศพมามณพาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) ไปทรงซัก เมื่อซักเสร็จแล้วก็มาที่ที่ผ้าบังสกุลดังกล่าว พฤกษเทวาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้น้อมกิ่งต้นกุ่มให้ต่ำลงเพื่อให้เป็นที่ตากจีวร โดย: มณี IP: 118.172.52.186 วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:9:32:06 น.
*นางมณพาสี ในอามกสุสาน
โดย: มณี IP: 118.172.52.186 วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:9:34:36 น.
|
บทความทั้งหมด
|
งานปอยส่างลองเป็นงานบวชเณรลูกแก้ว จัดช่วงกลางเดือนเมษายนเป็นประเพณีทางศาสนาที่สวยงามมาก โดยจะมีการแต่งองค์ทรงเครื่องของผู้ที่เตรียมตัวจะบวชเณรงดงามราวกับเจ้าชาย และมีการจัดซุ้มเฉลิมฉลองเป็นเวลาหลายวันก่อนบวชเณร ในงานนี้จำเป็นต้องมีผักกุ่มให้ได้ ต่อให้ช่วงนั้นราคาแพงแค่ไหนคนไทยใหญ่ก็ยอมจ่าย และยังเชื่อว่าการกินผักกุ่มดองในเดือนสี่ ขึ้นสิบห้าค่ำจะทำให้ คุ้มไปทั้งปีไม่เจ็บไม่ป่วย การกินผักกุ่มในเดือนสี่นี้ก็เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีความพร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูทำไร่ไถนาในหน้าฝนที่กำลังจะเข้าเยือนนั่นเอง
ผักกุ่มเป็นไม้มงคลของคนไทยใหญ่ที่นิยมปลูกไว้ในบ้าน โดยเชื่อว่าจะคุ้มกินคุ้มใช้ไม่ขาดเหลือ ซึ่งความเชื่อนี้คล้ายกับคนไทยบ้านเราที่ถือว่าผักกุ่มเป็นไม้มงคลเช่นกัน โดยนิยมปลูกในทิศตะวันตกเชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวมีฐานะ มีเงินเป็นกลุ่มเป็นก้อนดั่งชื่อของต้นไม้
ต้นกุ่ม มี ๒ ชนิดคือ ต้นกุ่มบก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crateva adansonii DC.subsp.trifoliata (Roxb.) Jacobs และ ต้นกุ่มน้ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crateva magna (Lour.) DC. และ Crateva Religiosa Forst.f. คนไทยสมัยก่อนนิยมกินเป็นอาหารและใช้เป็นยารักษาโรค โดยนำใบอ่อนและดอกอ่อนที่ออกในช่วงฤดูฝน มาดอง ต้ม นึ่ง หมกก่อนแล้วจึงนำไปรับประทาน กุ่มทั้งสองมีสรรพคุณทางยาเหมือนกัน สามารถใช้แทนกันได้ สรรพคุณที่กล่าวไว้ในตำรายาไทยคือ
เปลือก...ใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง คุมธาตุ ขับผายลม ขับน้ำดี ขับนิ่ว แก้บวม แก้อาการสะอึก แก้อาเจียน บำรุงไฟธาตุ กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ใช้เป็นยาระงับประสาท และยาบำรุง
แก่น...ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร โรคนิ่ว บำรุงเลือด
ราก...ใช้ขับหนอง บำรุงธาตุ
ใบ...ใช้ขับลม เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ฆ่าพยาธิ แก้โรคผิวหนังและกลากเกลื้อน แก้ไข้ตัวร้อน ขับเหงื่อ เจริญอาหาร
ดอก...เป็นยาเจริญอาหาร แก้เจ็บคอ แก้ไข้
//www.plengpakjai.net/index.php?topic=4118.0;wap2