พฤศจิกายน 2550

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
มนุษย์ได้รู้จักประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยมานานกว่า 6,000 ปี มาแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มนักบวช ชาวอียิปต์โบราณ ที่มักจะนำเนื้อไม้บางชนิด ที่มีน้ำมันหอมระเหยมาป่นจนเป็นผงละเอียด เพื่อผสมกับผลไม้และเครื่องเทศชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้บวงสรวงเทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ยังนำยางไม้ที่มีกลิ่นหอมมาชโลมร่างกายให้เนื้อตัวมีกลิ่นหอม รวมทั้งเรียนรู้ที่จะทำน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ ไปใช้ในการเก็บรักษาซากศพมัมมี่ แม้แต่ชาวกรีก ชาวกรีก็มีการใช้นำมันหอมระเหยในการแพทย์และผสมในเครื่องสำอาง ซึ่งความรู้เหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดไป ยังชาวโรมัน ทำให้มีการใช้เครื่องหอมในพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ และกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการอาบน้ำ ซึ่งจะมีการทา น้ำมันและนวดร่างกายหลังจากที่อาบน้ำเสร็จ และยังมีชาวจีน และชาวอินเดีย ก็มีความรู้เรื่องการใช้พืชที่มีกลิ่นหอมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในตำราอายุรเวท ซึ่งหลาย ๆ รูปแบก็ยังคงได้รับการปฏิบัติสืบทอดกันมา

ปัจจุบันนี้ น้ำมันหอมระเหยเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์เพิ่มขึ้น และมีบทบาทอย่างกว้างขวาง สามารถแบ่งกลุ่มการใช้ประโยชน์ ของน้ำมันหอมระเหยหลัก ๆ ดังนั้น คือ ทางด้านการแพทย์ โดยการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้บำบัดรักษาโรค และด้านสินค้าอุปโภคบริโภค ในวงการ อุตสาหกรรมโดยการนำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วนผสมปรุงแต่งในส่วนของผลิตภัณฑ์
ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยในการบำบัดรักษาโรค

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
1. น้ำมันดอกโหระพา (Basil)/ยอดดอกและใบ
การใช้ประโยชน์
• มีกลิ่นหอมหวาน และมีกลิ่นเครื่องเทศเจือจางใช้ในเครื่องหอม
• ป้องกันการติดเชื้อ ไล่แมลง บรรเทาอาการปวด รวมทั้งโรคเก๊าท์
• ช่วยในการรวบรวมสมาธิ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ช่วยลดอาการเครียด กระวนกระวายจิตใจ อ่อนเพลียจากความกดดัน ช่วยปรุงแต่งอารมณ์ให้สดชื่นจากความเหนื่อยล้า

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
2. นำมันเบอร์กาม็อท (Bergamot) /ผิวเบอร์กาม็อท
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสดชื่น เปรี้ยว หวานในขณะ เดียวกัน
• ช่วยเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม ช่วยบำบัดอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย ป้องกันการติดเชื้อและกระจายตัวของเชื้อโรค ใช้กับโรคผิวหนังได้ ทุกชนิด
• ช่วยบรรเทาอาการหดหู่ เครียด นอน ไม่หลับจากความเครียด อาการโกรธ กระวนกระวายใจ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลาย แจ่มใส เบิกบาน

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
3. น้ำมันแครอทซี้ด (Carrot Seed) /เมล็ดต้นแครอท
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมแบบใบไม้แห้ง
• ช่วยผ่อนคลาย ทำให้สงบ เหมาะสำหรับทำสมาธิ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
4. น้ำมันแคลรี่ ซาจ (Clary Sage/ยอดดอกและใบต้นแคลรี่ซาจ
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสมุนไพร
• ช่วยให้ความรู้สึกสดชื่น กระชุ่ม กระชวย

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
5. น้ำมันยูคาลิปตัส (Eucalyptus)/ใบต้นยูคาลิปตัส
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมสดชื่น
• ช่วยดับอารมณ์ที่พุ่งพล่าน สูดดมช่วยให้จากโล่ง รักษาอาการหวัดคัดจมูก และไล่แมลง

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
6. น้ำมันแฟนเนล (Fennel) /เมล็ดต้นเฟนเนล
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นคล้ายเครื่องเทศจาง ๆ ดอกไม้ และสมุนไพร

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
7. น้ำมันแฟรงคินเซนส์ (Frankincense)/เปลือกต้นแฟรงคินเซนส์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นคล้ายเครื่องเทศจาง ๆ ดอกไม้ และสมุนไพร

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
8. น้ำมันเจอราเนี่ยม (Geranium) /ใบและดอกเจอราเนี่ยม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นเครื่องเทศ ให้ความหอมสดชื่น
• ช่วยผ่อนคลายจิตใจ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
9. น้ำมันเยอรมันคาโมไมล์ (German Chamomile) /ดอกคาโมไมล์แห้ง
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นผลไม้
• ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ บรรเทาอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ใช้นวดช่วยบำรุงผิวพรรณ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
10. น้ำมันจัสมิน (Jusmine) /ดอกมะลิ
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวานแบบดอกไม้
• ให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานละมุนละไม

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
11. น้ำมันลาเวนเดอร์ (Lavender)/ดอกลาเวนเดอร์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมสดชื่นของดอกไม้
• ผ่อนคลายความวิตกกังวล ลดความ ตึงเครียดก่อนมีรอยเดือนในสตรี
• ใช้เป็นสารแต่งกลิ่น ช่วยไล่ยุงและแมลงรบกวน

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
12. น้ำมันเลมอน (Lemon)/ ผิวมะนาว
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นมะนาวหอมสดชื่น
• ให้ความรู้สึกสดชื่น ช่วยถนอมผิว

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
13. น้ำมันเลมอนกราส (Lemongrass) /ใบตะไคร้
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหวานอมเปรี้ยว
• คืนความสดชื่น และพลังงานให้กับ ผู้เหน็ดเหนื่อยและอ่อนเพลีย

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
14. น้ำมันไลม์ (Lime)/ผิวไลม์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสดชื่น
• ช่วยกระตุ้นสภาพร่างกายและจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
15. น้ำมันมาร์โจแรม (Majoram)/ดอกและใบต้นมาร์โจแรม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นรุนแรง แต่อบอุ่นคล้ายเครื่องเทศ
• ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
16. น้ำมันเนโรลี่ (Neroli) / ดอกส้ม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวานของส้ม
• ให้ความรู้สึกอิ่มเอิบและเคลิบเคลิ้ม

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
17. น้ำมันออเรนจ์ (Orange) /ผิวส้ม
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมสดชื่น
• ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
18. น้ำมันแพทซูลี่ (Patchouli) /ใบอ่อนต้นแพทซูลี่
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นรุนแรง มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอม
• ทำให้สมองปลอดโปร่ง

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
19. น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ (Peppermint) /ยอดดอกและใบต้น เปปเปอร์มิ้นท์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมเย็นซ่า
• ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
20. น้ำมันเวทิเวอร์ท (Vetvert) /รากแห้ง
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นอบอุ่น
• ปรับสภาพสมดุลย์ในจิตใจ ทำให้จิตใจสงบ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
21. น้ำมันกระดังงาไทย (Ylang Ylang) / ดอกต้นกระดังงา
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมของพฤกษา ใช้ในเครื่องหอม
• ช่วยเสริมการเติบโตของเส้นผม ช่วยบำบัดอาการจากแมลงสัตว์กัดต่อย ป้องกันการติดเชื้อ ใช้กับผิวหนังได้ทุกชนิด
• ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด บรรเทาอาการหดหู่ นอนไม่หลับจากความ เครียด อาการโกรธ กระวนกระวายใจ ช่วยให้สดชื่น

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
22. น้ำมันโรมัน คาโมไมล์ (Roman Chamomile) /ดอกแห้ง
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นรุนแรงคล้ายผลไม้
• ช่วยทำให้ผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ใช้นวดบำรุงผิวพรรณ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
23. น้ำมันกุหลาบ (Rose) /ดอกกุหลาบ
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวานละมุนละไม
• ให้ความรู้สึกถึงความเป็นผู้หญิงและความรัก

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
24. น้ำมันโรสแมรี่ (Rosemary) /ยอดดอกและใบต้นโรสแมรี่
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสมุนไพร หอมสมชื่น ติดทนนาน
• ทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
25. น้ำมันทีทรี (Tea Tree)/ ใบต้นชา
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นเครื่องเทศหอมสดชื่น
• บรรเทาอาการอักเสบ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
26. น้ำมันไทม์ (Thyme) /ใบและยอดดอกต้นไทม์
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นสดชื่นของสมุนไพร
• ดีต่อระบบหายใจ และช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
27. น้ำมันขิง (Ginger) /เหง้าขิง
การใช้ประโยชน์
• บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยทำเป็นน้ำมันนวดหรือประคบ
• บรรเทาอาการเครียด กระวนกระวาย เหนื่อยล้า ช่วยให้เกิดอาการตื่นตัว ตื่นใจ และอบอุ่น

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
28. น้ำมันพริกไทยดำ (Black Pepper) / เมล็ดพริกไทย
การใช้ประโยชน์
• ช่วยบำบัดอาการเมื่อยล้า ปวดตามข้อ ข้อเคล็ดขยับไม่ถนัด
• ช่วยให้จิตใจตื่น เสริมพลังใจ

ชนิดของน้ำมันหอมระเหย/ส่วนที่ให้น้ำมัน
29. น้ำมันจันทน์ (Sendalwood) /แก่นไม้
การใช้ประโยชน์
• กลิ่นหอมหวาน
• ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังที่แห้งและ ผมเสีย บรรเทาอาการอักเสบ
• ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ ส่งเสริมการทำสมาธิ ช่วยปรุงแต่งอารมณ์ที่หดหู่ให้สดชื่น ทำให้มีความสุข ช่วยให้นอนหลับ

การบำบัดรักษาโรคด้วยน้ำมันหอมระเหย
ในภาวะปกติแล้ว การมีสุขภาพดีนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการปรับร่างกายที่มี สรีรวิทยา ซึ่งมีปกติให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง ในทางสิ่งแวดล้อมของร่างกาย ปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ สรีรวิทยาที่ดี จิตใจที่ดี และการปรับ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มีผลต่อ สุขภาพที่สมบูรณ์ของร่างกาย ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายนอกคือ ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่ง แวดล้อมนั้น จะค่อยเป็นค่อยไป ถ้าร่างกายปรับตัวได้ดีและ เหมาะสม สุขภาพร่างกายก็จะดี แต่ถ้ามีความบกพร่องในการปรับตัวของปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งก็จะกระทบต่อปัจจัยอื่น ๆ และจะนำมาซึ่ง สุขภาพที่ทรุดโทรม เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เป็นประจำ

ร่างกายของเราประกอบด้วยเซลล์หลาย ๆ เซลล์มารวมเข้าเป็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ และอวัยวะส่วนต่าง ๆ นี้จะต้องทำงานเชื่อม ประสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดภาวะสมดุลย์ (Homeostasis) ในร่างกาย ประกอบเข้ากับการมีจิตใจที่ปกติ มีระบบประสาทที่ปกติ จะเอื้อทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี และสรีรวิทยาที่ปกติในร่างกายของตัวเรานั้น จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สังคมที่เปลี่ยนไปก็ย่อมกระทบต่อ ร่างกาย การปรับตัวที่ดีจะทำให้ร่างกายสามารถอยู่รอดในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

โดยหลักใหญ่แล้ว สังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปมักจะเปลี่ยนไปในทางเจริญขึ้น และการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดสูงขึ้น ดังนั้นปัญหาหลักที่จะเกิดประการแรกก็คือ การปรับตัวของ จิตใจ จิตใจของเราจะเครียดขึ้นและประกอบกับการจัดเวลาให้ตนเองน้อยลง ก็ยิ่งทำให้เกิดความ เครียด ความล้าเพิ่มขึ้น จิตใจที่เครียดขึ้นก็จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่ไม่พึง ดังรูป ซึ่งนาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นโรคประจำตัว และโรคที่พบ บ่อยมากในคนที่ทำงานนั่งโต๊ะ นักบริหารหรือคนที่อารมณ์เครียดเป็นประจำก็คือ โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจ เป็นหวัดบ่อย ๆ ฯลฯ ซึ่งแนวทางในการรักษาโรคเหล่านี้ไม่ใช่จะด้วยยากินหรือยาฉีดเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องปรับพฤติกรรมตัวเองให้หลุดพ้นจากความ เครียดต่อเนื่อง มีเวลาออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ถูกต้อง โอกาสที่จะป้องกันตัวเองให้พ้นจากโรคเหล่านั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน เองให้ทันทีกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ต้องมีโอกาสลดความเครียดให้น้อยลง และผู้บริหารหลาย ๆ ท่านก็คิดว่า การกินยาคงจะช่วยป้องกันโรคเหล่า นี้ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจไม่ถูกต้อง ยากินเป็นเพียงสารช่วย ทำให้อาการหายใจชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

การปฏิบัติตัวเองให้มีกิจกรรมการออกกำลังกาย การลดความเครียด และการกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้โรคเรื้อรังเหล่านี้หายไป
การที่เราประกอบวิชาชีพทำงานประจำวัน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการค้าขาย พบปะ ผู้คน, เจรจากับผู้คน, หรือการทำงานที่ ต้องใช้กำลังเช่น งานก่อสร้าง, งานกสิกรรม, งานสวน จึงมีโอกาสเกิดความเครียดต่อร่างกายและจิตใจได้ทั้งสิ้น ความเครียดต่อร่างกายก็อาจแสดงออกด้วยการ เจ็บปวด, เมื่อยล้า โดยเฉพาะในนักกีฬา น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ผสมกับการนวดไทย และผ่อนคลายก็สามารถบำบัดและทุเลาอาการด้านการปวด, เมื่อยล้า ได้อย่างดี ส่วนความเครียดต่อจิตใจ ซึ่งเป็นความเครียดที่สะสม ซึ่งถ้ามีความโกรธ, เกลียด และอิจฉา เข้าร่วมด้วยแล้วความเครียดก็จะมากขึ้นไปอีก และส่ง ผลต่อร่างกายในด้านที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคนอนไม่หลับ, โรคปวดท้อง ย่อยอาหารไม่ดี, โรคเบาหวาน และอื่น ๆ อีกมากมาย โรงพยาบาลส่วนใหญ่ก็มักจะจ่ายยานอนหลับเพื่อทำให้นอนหลับ ซึ่งไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ แท้จริงแล้วความเครียดจะลดลง ก็ด้วยตัวเราเอง การเข้า ใจกับปัญหาและแก้ปัญหาได้ถูกต้อง การลดทิฐิของตัวเอง ทำให้อารมณ์แจ่มใสขึ้นควบคู่กับการใช้น้ำมันหอมระเหยที่ช่วยในด้านผ่อนคลาย โดยการสูดดม กลิ่น จะเข้าทางเนื้อเยื่อจมูกผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง ช่วยทำให้คลื่นสมองเปลี่ยนไปในแนวทางทำให้สงบ มีความสดชื่นในอารมณ์ก็สามารถช่วยทำให้ความ เครียดลดลง โรคต่าง ๆ ก็ทุเลาลง ผู้ที่ทำน้ำมันหอมจะได้ประโยชน์จากกลิ่นที่จะจรรโลกบรรยากาศที่บ้านให้หอมสดชื่น และนำพาให้จิตใจแจ่มใสเบิกบาน หมู่บ้านในต่างประเทศที่ทำน้ำมันหอมระเหย จะมีแต่คนที่สุขภาพแข็งแรง ปราศจากการทะเลาะขัดแย้ง คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีอารมณ์ที่เบิกบาน ไม่เคร่ง เครียด มีความเอื้ออาทร, จิตใจแจ่มใส, ยิ้มแย้ม และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีโรคที่เกิดจากความเครียด คนส่วนใหญ่อายุยืน เพราะไม่มีโรคภัย

ในประเทศไทยเราสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ แจ่มใสเบิกบาน ตัวอย่างได้แก่ ดอกส้ม, กุหลาบ, กระดังงา ถ้าใช้ลดความกังวล ทำให้จิตใจร่าเริง ก็จะสกัดจากตะไคร้, น้ำมันยูคาลิปตัส, มะลิ, กระดังงา ฯลฯ

การบำบัดรักษาด้วยน้ำมันหอมระเหย
การบำบัดด้วยนำมันหอมระเหย ปัจจุบันเริ่มมีการนำมาใช้อย่างแพร่ หลายในต่างประเทศ ทั้งในโรงพยาบาลศูนย์และสุขภาพแนวใหม่ ทั้งนี้เพราะเป็นแนวทางใหม่ที่ประชาชน สามารถนำมาใช้เพื่อทำให้ร่างกายฟิต, สดชื่น และแข็งแรง โดยไม่ต้องพึ่งพายาเคมีที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย

ในต่างประเทศแบ่งการรักษาด้วย Aroma เป็น 5 กลุ่มประโยชน์คือ
กลุ่มที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจเป็นการเพิ่มบรรยากาศ ในห้องนอน ห้องทำงาน การอาบน้ำ และการนวดทั่วไป เป็นการใช้มาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ เป็นภูมิปัญญาของประเทศในแถบตะวันออกกลาง อินเดีย และแพร่หลายในแถบยุโรปและกระจายไปทั่วโลกรวมทั้ง ประเทศไทย

กลุ่มที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ (Cosmetic aroma therapy) เริ่มใช้กันตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว เพื่อชโลมให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง หอมสดชื่น ลดการเหี่ยวย่น

กลุ่มที่ใช้ในกลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิตใจ (psycho–aroma therapy) น้ำมันหอมระเหยเข้าทางร่างกาย โดยการสูดดม และจะไปมีผลต่อโสตประสาท อารมณ์ และสุนทรียภาพทางชีวิตโดยเฉพาะในการผ่อนคลายจากความเครียดในชีวิตประจำวัน ทำให้อารมณ์แจ่มใส สามารถ เผชิญปัญหาที่ยาก ๆ ในชีวิตประจำวัน คนไข้บางคนที่มีอารมณ์หดหู่ หม่นหมอง ก็อาจช่วยได้โดยการ สูดดมน้ำมันหอมระเหย ที่ทำให้สดชื่นจากกลิ่น

กลุ่มที่ใช้ในการนวด (Aroma therapy massage) ผลทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายพร้อมกับการนวดที่ถูกต้อง
กลุ่มที่ใช้ในการแพทย์สมัยใหม่ (Medical aroma therapy) ปัจจุบันในต่างประเทศ มีศูนย์บำบัดโรคสมัยใหม่ด้วย หลักการ aroma therapy การบำบัดมีทั้งการให้ทางปาก ดมทางจมูก และบำบัดโรคต่าง ๆ อาทิเช่น โรคปวด โรคเกี่ยวกับภูมิต้านทาน โรคที่มีผลจาก ความเครียด

Aroma therapy กับการแพทย์แผนใหม่
ในต่างประเทศแพทย์หลายท่าน ได้พยายามคิดค้นและนำเอา Aroma มารักษาร่วมกับการแพทย์แผนใหม่ ตัวอย่างโรคที่อาจนำเอา Aroma มารักษาร่วมด้วย เช่น
การติดเชื้ออักเสบในช่องหูส่วนนอกจากแบคทีเรียและเชื้อรา เชื้อราที่เท้า
ใช้นำมันจากเบอกามอท คาโมมาย เพื่อช่วยทำให้นอนหลับ
ใช้น้ำมันจากซินนามอน เลมอน ที่มีฤทธิ์กระตุ้น ทำให้สดชื่น
ใช้ Tea tree หรือ Lavender รักษาโรคผิวหนังแพ้ง่าย
ใช้ Tea tree, bergamot, chamomile รักษาสิวในวัยรุ่น
ใช้ Tea tree, lavender, bergamot รักษาผลอักเสบเรื้อรัง
ใช้ Lemon, grapefruit, pine, rosemary รักษาปวดข้อเท้า ข้อมือ
ใช้ Rosemary, black pepper รักษาปวด กล้ามเนื้ออักเสบ
ใช้ Lavender, ylang ylang, chamomile, jasmine รักษาความดันโลหิตสูง
ปัจจุบันนี้ การใช้น้ำมันหอมระเหยได้มีการแพร่หลายอย่างมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะประโยชน์ในตัว ของน้ำมันหอมระเหยเองใช้ง่าย แทบปราศจากผลข้างเคียงต่อ ร่างกาย เป็นสารธรรมชาติไม่สะสม ชาวต่างประเทศที่รู้จักน้ำมันหอมระเหยมานานแล้ว เวลาเข้ามาเที่ยวเมืองไทยก็จะซื้อกลับไปคราวละมาก ๆ เพราะราคาถูกกว่าบ้านเขาหลายเท่า การพัฒนาศาสตร์ทางด้านน้ำมันหอมระเหยและการแพทย์แผ่น ไทย จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วยความ เร็วเร็ว และได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริงจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะมีผลช่วยลดความเจ็บป่วย ของประชาชนได้อย่างมากมาย ประหยัดเงินตราที่ต้องใช้ยาเคมีในการรักษา และที่สำคัญก็คือประเทศไทยเป็นฐานผลิต ผลิตได้ง่าย มีวัตถุดิบมาก ต้นทุนถูก สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างดีมาก ที่สำคัญก็คือต้องควบคุมคุณภาพและบ่งบอกถึงประโยชน์การใช้สอยให้ ถูกต้องในอนาคตจะเป็นสินค้าที่นำเงิน ตราเข้าประเทศได้มากมายและมีส่วนช่วยทำให้เกษตรกรและชาวไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

กลิ่นหอมจากแหล่งต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อจิตใจ และอารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเวลาที่เราได้รับกลิ่นแล้ว โมเลกุลของกลิ่นจะถูกส่งไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า ลิมบิคซิสเต็ม ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเรียนรู้ ความจำ อารมณ์ ความหิว และอารมณ์เพศ ให้ร่างกายแปล ความหมายออกมาว่าเป็นกลิ่นอะไร มีความหมายอย่างไร และควรจะตอบโต้อย่างไรกับกลิ่นนั้น ๆ เช่น สูดดมให้ชื่นใจ หรือจะหันหน้าหนีไป

กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยจะช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นโดฟีน ที่ช่วยลดความเจ็บปวด สารเอนเซปฟาลีน ที่ทำให้ มีอารมณ์ดี และสารเซโรโทนินที่ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสงบเยือกเย็นและผ่อนคลายลงได้ และเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัสบางชนิดมีฤทธิ์เป็นยากระตุ้น หรือเป็นยานอนหลับ จึงถูกนำเอามาใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเรียกว่า “การบำบัดด้วยเครื่องหอม” หรือ Aromatherapy อโรมาเทอราพี มีความหมายรวมถึงการบำบัดรักษาร่างกายและปรุงแต่งอารมณ์ด้วยกลิ่น เพื่อหวังให้เกิดผลทั้งต่อร่างกาย จิตใจ และความรู้สึก เนื่องจากกลิ่นหอมสามารถช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้เพราะน้ำมันหอมระเหยมีสรรพคุณในการช่วยทำให้จิตในเบิกบาน สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ผ่อนคลายและทำให้สงบ อโรมาเทอราพีมีผลทางบวกกับอารมณ์ น้ำมันหลาย ๆ ตัว ช่วยปรับอารมณ์ที่ขุ่นหมองให้ดีขึ้น บางชนิดช่วยยก ระดับจิตใจ มีกำลังใจ บางชนิดช่วยให้เคลิบเคลิ้มเป็นสุข ทำให้ร่างกายเกิดความสมุดลย์ได้

นอกเหนือจากจะใช้ในการบำบัดรักษาแล้ว น้ำมันหอมระเหยยังถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอีกมากมายหลายชนิด อาทิ แต่งกลิ่นในผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นส่วนผสมในน้ำหอม เครื่องใช้อุปโภคต่าง ๆ เช่น สบู่ แชมพู แป้ง โลชั่น ยาสีฟัน น้ำมันใส่ผม ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้ง เพื่อ ให้เกิดความรู้สึกสบายและสดชื่นหลังการใช้มากยิ่งขึ้น ทางด้านการแพทย์ก็มีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำหรับปรุงรสยาให้ดีขึ้น แม้แต่ในทางการเกษตรก็ยัง นำไปใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดีด้วย

หลักการบำบัดรักษาด้วยเครื่องหอม

เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยประกอบขึ้นด้วยโมเลกุลที่มีขนาดเล็ก จึงต้องนำเข้าสู่ร่างกายโดยแทรกซึมผ่านทางชั้นผิวหนังและการรับกลิ่น กระบวนการแปลความหมายทางสมองจึงจะสั่งการไปยังระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน ต่าง ๆ ให้ร่างกายหลั่งสารที่จำเป็นออกมาจนเกิดประสิทธิภาพต่อทั้งร่างกายและจิตใจในที่สุด เราอาจแบ่งวิธีการบำบัดรักษาด้วยเครื่องหอมตามการนำไปใช้ ได้แก่
การสูดดมโดยตรง เป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยอย่างง่าย และมี ประสิทธิภาพดี ทำได้โดย เปิดฝาขวดแล้วสูดกลิ่นโดยตรง หรือใช้สำลี ผ้าเช็ดหน้า ชุบน้ำมันหอมจากขวดแล้วสูดดม เช่น กลิ่นยูคาลิปตัส ใช้แก้อาหารหวัด แพ้อากาศ

การสูดดมจากไอระเหย ทำได้ 2 วิธีคือ หยดน้ำมันหอมระเหย 5 – 10 หยด ลงในอ่างน้ำที่มีไอร้อนแล้วสูดดม แต่เพื่อ ป้องกันไม่ให้ไอน้ำฟ้งกระจายและได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรใช้ผ้าคลุมศีรษะเหนืออ่างน้ำร้อน วิธีนี้เหมาะที่จะใช้ในการบรรเทาไข้หวัดได้เป็นอย่างดี
อีกวิธีหนึ่ง ได้แก่ การทำให้ไอระเหยกระจายไปทั่วท้องหรือบริเวณที่ต้องการ โดยหยดน้ำมันหอมระเหยลงในเตาต้มที่มีน้ำ อยู่ 1/3 ส่วน พร้อมทั้งจุดเทียนเอาไว้ใต้เตา เมื่อน้ำร้อนขึ้น ไอน้ำจะพากลิ่นหอมระเหยไปทั่วบริเวณ ทำให้บรรยากาศดีขึ้น และยังช่วยบำบัดอาการคัดจมูก ภูมิแพ้ นอนไม่หลับ คลายเครียดได้ ในประเทศญี่ปุ่น มีการใช้กลิ่นส้มหรือกลิ่นกุหลาบในที่ทำงาน ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานดีขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด

การใช้เป็นน้ำมันทาผิวและผสมกับเครื่องสำอาง โดยดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ชนิด ต่าง ๆ เพื่อบำรุงใบหน้า ผิวกาย และเส้นผม

การอาบหรือแช่น้ำ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย และได้ความรู้สึกสดชื่นดีที่สุด เพียงเติมน้ำมันหอมระเหยประมาณ 20 – 30 หยอด ลงในอ่างน้ำอุ่น โดยไม่ต้องเติมสบู่ จากนั้น จึงแช่ตัวประมาณ 20 นาที ความร้อนจากน้ำจะช่วยในการดูดซึมผ่านผิวหนัง และการสูดไอหอมระเหยไป พร้อม ๆ กัน และนอกจากน้ำมันหอมระเหย จะช่วยชำระล้างสิ่งอุดตันในรูขุมขนแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายสดชื่นสบายตัว กล้ามเนื้อคลายความเมื่อยล้า และทำให้ จิตใจสงบลงได้มากด้วย

การนวด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะใช้น้ำมันประกอบกับการสัมผัส ซึ่งผิวหนังจะมีพื้นที่ในการดูดซับน้ำมัน เอาไว้ได้มาก ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น วิธีใช้ให้เจือจางน้ำมันหอมระเหย 10 หยด ลงในน้ำมันที่เป็นกระสายยา 20 มิลลิลิตร แล้วจึงนำมานวดตามที่ ต้องการ

การประคบน้ำร้อนและประคบเย็น ผสมน้ำมัน หอม 12 หยดลงในอ่างน้ำร้อน แล้วนำผ้าขนหนูลงไปแช่บิดให้แห้ง หมาด ใช้ประคบบริเวณที่ปวดเมื่อยหรือเป็นตะคริว หรือแช่ผ้าขนหนูในน้ำเย็นบิดให้แห้งแล้วนำมาวางบนศีรษะช่วยบรรเทาอาการบวมหรือปวดศีรษะ

การทำสเปรย์ฉีดตัวหรือดับกลิ่น โดยหยดน้ำมันหอมประมาณ 150 หยด ลงไปขวดสเปรย์ที่บรรจุน้ำสะอาดหรือน้ำ กลั่นบริสุทธิ์ 100 ซีซี ใช้ฉีดพรมร่างกายเพื่อความสดชื่นของผู้คนรอบข้างหรือสร้างบรรยากาศในห้องก็ได้
น้ำมันหอมระเหยเหมาะที่จะใช้บำบัดอาการบางอย่างได้ดีมากกว่าที่จะใช้เพื่อการรักษาโรคที่ร้ายแรง เนื่องจากน้ำมันหอม ระเหยจะถ่ายเทพลังงานจากพืชมาสู่ร่างกายของเรา กลิ่นที่หอมจะช่วยปรับสมดุลย์ของร่างกายและจิตใจ และถ่ายทอดไปสู่ส่วนที่ควบคุมอารมณ์ในที่สุด น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค

ฆ่าเชื้อ น้ำมันหอมระเหยสามารถ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค รวมทั้งเชื้อราและยีสต์บางชนิด จึงเหมาะที่จะใช้เป็นยาทาภายนอก ใช้รักษาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ ใช้เป็นยากวาดคอ กลั้วคอ รักษาหลอดลมอักเสบ หรือผสมอาหารเป็นตัวยากันเสีย เช่น น้ำมันหอมระเหยจากอบเชย กานพลู เบอร์กามอท ไทม์ การบูร ลาเวนเดอร์ และยูคาลิปตัส

บรรเทาอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร เช่น น้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นชัน จะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย ช่วยขับน้ำดี ส่วนน้ำมันหอมระเหย จาก เปราะหอมและขมิ้นชัน ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก แก้อักเสบ น้ำมันหอมระเหยช่วยระงับอาการอักเสบได้ โดยใช้เป็นยาขี้ผึ้งทาผิวหนังที่อักเสบ แผลไฟไหม้ และบาด แผล ใช้เป็นยาผงสำหรับใช้ภายในรักษาอาการอักเสบที่เยื่อบุของระบบทางเดินอาหาร เช่น น้ำมันคาโมไมล์
คลายความเครียด ความเครียดมีผลต่อร่างกายเหมือนกับการตกใจหรือความกลัว เพราะจะทำให้การเต้นของหัวใจและ การหมุนเวียนของโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
ลดการระคายเคือง น้ำมันหอม ระเหยบางตัวเช่น น้ำมันไพล น้ำมันสนสองใบ การบูร และยูคาลิปตัส จะกระตุ้นให้เดการไหลเวียนของเลือด ทำให้เกิดความร้อนและมีอาการชาเล็กน้อย จึงเหมาะที่จะใช้ในผลิตภัณฑ์แก้อาการเคล็ดขัดยอก ปวดบวม เช่น ในกรณีของยูคาลิปตัสนั้น ถ้าใช้นวดกล้ามเนื้อ กลิ่นหอมก็ยังจะผ่านจมูกเข้าสู่ปอดและ หลอดลม ทำให้คลายอาการคัดจมูก หรือหายใจไม่สะดวกได้ด้วย


ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย
แม้ว่าน้ำมันหอมระเหยจะเป็นสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติ แต่ก็ไม่ควร นำมาใช้โดยไม่เจือจางก่อน โดยเฉพาะถ้าหากได้รับน้ำมันหอมระเหยทางปาก จะทำให้มีผลต่อระบบย่อยอาหารได้ เพราะน้ำมันหอมระเหยจะถูกดูดซึมเข้าไป ในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง อาจไปกระตุ้นที่ระบบน้ำย่อย การหายใจ การไหลเวียนโลหิต และการย่อยอาหารได้ ดังนั้น ก่อนนำมาใช้ จำเป็นต้องละลายให้เจือ จางกับน้ำนกระสายยาเสียก่อน และระวังอย่าให้น้ำมันหอมระเหยสัมผัสบริเวณตาหรือผิวหนังที่อ่อน ทางที่ดีควรมีการทดสอบกับผิวหนังก่อนใช้ โดยเจือจาง กับน้ำมันที่เป็นกระสายยา แล้วทาลงบนผิวหนังบริเวณท้องแขนด้านใน หากพบว่าเกิดผื่นแดง คัน ระคายเคือง หรือทำให้ผิวหนังไหม้ควรหยุดใช้ทันที

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันหอมระเหยในผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค ซิฟิลิส งูสวัด เริม จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคจิต ผู้ที่นอนไม่หลับ เครียด กังวล ซึมเซา หรือมีประจำเดือนมาไม่ปกติ จะมีอาการดีขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วย โรคลมชัก และในช่วงก่อนอาบแดด เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ในปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยสั่งซื้อเครื่องหอมจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท เพราะเพียงแค่ปี 2540 เรานำเข้า เครื่องหอมถึงกว่า 3500 ล้นบาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการเกษตรอุตสาหกรรม ทำให้อุตสาหกรรมอาหารเกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้กลิ่นมาเติม แต่งรสชาติอาหารให้เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้บริโภค รวมไปถึงอุตสาหกรรม เครื่องอุปโภคด้วย

แนวโน้มธุรกิจน้ำมันหอมระเหย
กลิ่นหอมต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมมากมาย โดยที่มนุษย์ไม่ได้สังเกตเลยว่า ตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน เป็นต้นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ อาหารมื้อเช้า กลางวัน ค่ำ ขนม นม เนย ฯลฯ ก็ล้วนแต่งกลิ่นทั้งนั้น เป็นอันว่าวันทั้งวันมนุษย์ต้องเจอกับกลิ่นเป็นตัวแทรกอยู่เสมอ
ในยุคปัจจุบันนี้วัตถุที่ให้กลิ่นนั้นย่อมมีอยู่ในพรรณพืชต่าง ๆ หลายชนิดในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะกลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่ ได้จากพืชที่เรียกว่าน้ำมันหอมะระเหย (Essential Oil) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในวงการด้านอุตสาหกรรมและด้านการแพทย์

ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ความหลากหลาย ของพันธุ์พืชซึ่งมีมากหมาย ถ้าให้ความสนใจมุ่งพัฒนาให้ถูกทาง ต้องยอมรับความจริงว่าจุดแข็งของประเทศไทย คือ เกษตรกรรม เพราะความหลากหลายของ พันธุ์พืช คือ ศักยภาพของผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย ประเทศไทย ยังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีที่สุด สินค้าเกษตรเป็นอันดับ 1 ของโลกหลายชนิด พืชที่นำมา ผลิตน้ำมันหอมระเหยมีอยู่ประมาณ 2,000 กว่าชนิดทั่วโลก ในจำนวนนี้มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 400 ชนิด เป็นข้อพิสูจน์ถึงความอุดมสมบูรณ์ของ ประเทศไทย

ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกพรรณไม้หอมชนิดต่าง ๆ มากมาย และมีสภาพเกษตรเหมาะสมอีกทั้งสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี ประกอบกับค่าจ้างแรงงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำและรัฐบาลยังให้การสนับสนุนการแปรรูปสินค้าการเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเป้าหมายของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และ 8 หากประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันหอมระเหยทดแทนได้ นอกจากเศรษฐกิจจะดีขึ้นแล้ว แรงงานในประเทศจะ ได้บริโภคสิ่งที่ดีมีประโยชน์มากขึ้น
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องหอมต่าง ๆ ของไทย เช่น ครีม โลชั่น โคโลญจ์ แชมพู น้ำหอม และส่วนปรุงแต่งกลิ่นอาหารสำเร็จ รูป ได้มีการผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมในปริมาณมาก และมีคุณภาพดีเพื่อส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกและนำเข้า น้ำมันหอมระเหยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2538 มีการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องหอมมูลค่า 442.63 ล้านบาท ประเทศที่สั่งซื้อจากประเทศไทยมากที่สุดคือ ประเทศฮ่องกง มีมูลค่า 406.02 ล้านบาท ด้านการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องหอมของไทยในปี 2538 มีมูลค่า 245.30 ล้านบาท ประเทศที่ไทยนำเข้ามากที่สุดคือ ประเทศฮ่องกง มีมูลค่า 98.40 ล้านบาท
การส่งออกและนำเข้าน้ำมันหอมของไทย

ในปัจจุบันนี้ น้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่ประเทศไทยได้สั่งนำเข้าจาก ต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าเครื่องหอมของประเทศไทย ตกปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมทั้งเครื่องบริโภค-อุปโภค อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง ผงซักฟอก ยาสูบ เบียร์ สบู่ นมสด ไอศกรีม ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ในประเทศมากกว่า 200 แห่ง โรงงานเหล่านี้มีความจำเป็นต้อง ใช้น้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมต่าง ๆ เพื่อแต่งเติมรสชาติ แต่งกลิ่น เป็นผลให้เกิดความพึงพอใจของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยพันธ์ไม้นานาชนิด ที่ให้ทั้งดอกมีกลิ่นหอมมาก ใบ ผิวของผล แก่นต้น เปลือก ราก ที่ให้กลิ่นหอมออกมาได้น้ำมันที่ให้มีประโยชน์มากในอุตสาหกรรม ผลิตเครื่องหอมต่าง ๆ นำมาสกัดได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดี ย่อมส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมเครื่องหอมจาก ธรรมชาติขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศให้เป็นเกษตรอุตสหกรรมแบบครบวงจร โดยเริ่มต้นจากฝ่ายเกษตรเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ฝ่ายโรงงานสกัดเปลี่ยน วัตถุดิบเป็นน้ำมันหอมระเหย หรือแยกน้ำมันออกตามองค์ประกอบทางเคมี ขั้นต่อไปก็ผ่านไปยังผู้ชำนาญการทางตลาด หรือทางเศรษฐศาสตร์และบัญชี เข้ามา เกี่ยวข้องเพื่อหาต้นทุนผลิตและขายตลาด ตลอดจนควบคุมราคาน้ำมันหอมระเหยที่ผลิตได้ให้มีราคาเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประโยชน์ทั้งเกษตรกรและผู้ผลิต การผลิต น้ำมันหอมระเหย นอกจากจะเป็นการทดแทนการนำเข้าแล้ว ยังเพิ่มมูลค่าการส่งออกด้วย ถ้าประเทศไทยได้มีการทดลอง ค้นคว้า และลงทุนอย่างจริงจัง เชื่อแน่ว่า อุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil Industry) และอุตสาหกรรมเครื่องหอม (Fragrance Industry) จะเป็นอุตสาหกรรมชนิดใหม่ที่จะสร้าง รายได้เข้าสู่ประเทศอย่างแน่นอน และเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นผลทำให้ประชากรของประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

น้ำมันหอมระเหยสารจากธรรมชาติเพื่อสุขภาพสู่ธรุกิจ

• พรรณพืชที่ให้กลิ่นหอมและลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์
• ประเภทของน้ำมันหอมระเหย
• กรรมวิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย
• ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย
• การบำบัดรักษาโรคด้วยน้ำมันหอมระเหย
• แนวโน้มธุรกิจน้ำมันหอมระเหย

ขอขอบคุณ //members.fortunecity.com/ornamental/oil-2.htm
เพื่อนที่สนใจตามไปอ่านแบบเต็มๆได้ที่นี้ค่ะ






Create Date : 13 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 11 มีนาคม 2552 0:53:53 น.
Counter : 11326 Pageviews.

7 comments
  
สุขสันต์วันอังคารค่ะ
สุขสันต์วันอังคารค่ะ
สุขสันต์วันอังคารค่ะ
สุขสันต์วันอังคารค่ะ
สุขสันต์วันอังคารค่ะ
โดย: โสดในซอย วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:53:37 น.
  


แวะมาเยี่ยมกันครับและเอาภาพ Concert มาฝากครับ

LINKIN PARK Live in BANGKOK

อยากดูแบบบรรยากาศแบบเต็มๆ คลิกที่รูปได้เลยครับ

โดย: มิสเตอร์ฮอง วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:2:17:27 น.
  
ดีครับ เป็นประโยชน์มาก แต่ยาวจัง ขอ Copy ไป Print อ่านแล้วกันนะครับ
โดย: ภูสูง วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:34:01 น.
  
ยาวมาก แต่มีประโยชน์มากค่ะ เราชอบน้ำมันหอมระเหยอยู่ด้วยค่ะ จะ print ไปอ่านเป็นความรู้นะคะ ขอบคุณค่ะ^^
โดย: rasaja วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:53:24 น.
  
ชอบมากเลยคะ ว่าตอนไปเมกา จะขนไปด้วย คริๆ
โดย: Cute_Panisara วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:15:32:14 น.
  
ขอบคุณมากๆๆๆๆ เบยค่าาาาาาาาาาาาาาสำหรับข้อมูล
โดย: hello hey!!! IP: 171.7.161.59 วันที่: 2 มิถุนายน 2556 เวลา:11:24:35 น.
  
snbbet.com เราคือเว็บไซต์เล่นคาสิโนออนไลน์และพนันกีฬาออนไลน์ ชั้นนำ ที่ได้มาตราฐานและเป็นที่ไว้ใจของนักเล่นคาสิโนออนไลน์
โดยทางเรามีทีมงานมืออาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ไว้คอยบริการท่านตลอด 24 ชั่วโมง ทางเรามีเกมส์พนันที่หลากหลาย
อาทิเช่น ไพ่บาคาร่า รูเล็ต ไฮโลว์ กำถั่ว เกมส์สล็อตออนไลน์ และพนันกีฬา อื่นๆอีกมากมาย สนใจเป็นสมาชิกกับทางเรา มีโปรโมชั่นดีๆ รอท่านอยู่มากมาย
สมัครเป็นสมาชิกสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Tel.0840000570-3
ทาง LINE ID : snbbet3
หรือช่องทางการ Chat ผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
https://galaxyslot.snbbet.com
โดย: snbbet.com IP: 192.99.14.36 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2557 เวลา:0:46:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yai_tuayoong
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Free Web Counter
New Comments