พหุวัฒนธรรมแบบไหน
นายกอลยูบี จะเรเสะ อิหม่ามมัสยิดบ้านปากบาง สะท้อน ว่า “พหุวัฒนธรรมนั้นเรารับได้ แต่มิใช่ชาวบ้านชอบแกงส้ม ท่านชอบแกงเหลืองแล้วนำมารวมกัน ด้วยหลักศรัทธาของชาวบ้านมุสลิมนั้นมีความอ่อนไหวเรื่องสิ่งเคารพในชุมชน ยิ่งมาสร้างขนาดใหญ่โตมโหฬาร แม้ท่านจะสร้างในที่ดินที่ท่านอาจจะมีสิทธิ์ แต่ก็อยากให้ท่านคำนึงถึงการมาอยู่ร่วมกันกับชุมชนมุสลิม ซึ่งที่นี้ที่เขาได้มีฉันทามติร่วมกันโดยขอให้ท่านถอยเสีย” ผู้นำศาสนาอีกท่าน จะทำหนังสือถึงนายนิพนธ์ บุญญามณี พร้อมแนบรายชื่อชาวบ้าน และผู้นำศาสนา ขอให้ท่านช่วยอีกแรงในการช่วยล๊อบบี้ภายในกับ TPI และหวังว่าท่านในฐานะรัฐมนตรี และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์จะมีข่าวดีมาบอกชาวบ้าน แต่หากไม่สามารถทำได้ เราก็พร้อมใจกันไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยหน้า
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3877712592454737&set=gm.1045977199360563
ชาวบ้านระบุ มุสลิมมีความอ่อนไหวเรื่องรูปเคารพในชุมชนว่าซั่น จริงๆนะใช่แกล้งว่า ก็ในเมื่อมันอ่อนไหวต่อรูปเคารพสะขนาดนั้น แล้วไปสร้างมัสยิดในถิ่นพุทธทั่วไทย ซึ่งก็มีวัดมีโบสถ์มีพระพุทธรูปทำไมสร้างได้ ไม่อ่อนไหว แต่กลับแข็งแกร่งเพียรสร้างเอาสร้างเอา  นครพนมก็ไปสร้าง ซึ่งที่นั่นก็มีพระธาตุพนมอยู่ก่อนแล้ว พูดให้ตรงใจดำก็ว่า เป็นการยึดครองโดยอ้างวัฒนธรรมของตัว ประมาณว่าพวกข้าอยู่แล้วพวกอื่นอย่าเข้ามาอยู่ร่วม นี่คือการยึดครองโดยอ้างวัฒนธรรม แบบนั้นมันจะเป็นพหุวัฒนธรรมได้ยังไงเล่าท่านผู้เจริญ อาจมีคำถามว่า แล้วพวกแกจะให้พวกข้าทำยังไงว่ะ อาจตอบว่า เราก็ต้องเปิดกว้างให้เป็นพหุวัฒนธรรมดังความหมายของศัพท์นั่น แล้วอยู่ร่วมกันใครจะนับถืออะไรก็สร้างรูปเคารพของตนไป เช่น มีศาลเจ้า มีเจ้าแม่กวนอิม มีมัสยิด มีโบสถ์ ฯลฯ ใครนับถืออะไรก็เดินไปที่นั่นๆ นี่ความหมาย พหุวัฒนธรรม ตามรูปศัพท์ พหุ พหู. มาก มากกว่าหนึ่ง (พหูพจน์) เอก. หนึ่ง (เอกพจน์) ที่ชายหาดสมิหรา 
วันนี้วันที่ 4 สิงหาคม 2565 คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาร่วมกับชาวมุสลิมตำบลสะกอม อ เทพา สงขลา ร่วมกันละหมาดคัดค้านการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม อ้างว่าเป็นชุมชนมุสลิมอยู่กันเยอะ
Create Date : 28 เมษายน 2565 |
|
0 comments |
Last Update : 8 สิงหาคม 2565 7:06:13 น. |
Counter : 340 Pageviews. |
|
 |
|