ชาวยูเครนส่วนหนึ่งลี้ภัยสงครามมาอยู่ที่เกาะสมุย. ตัดข้อความออกบ้างเอาแค่พอเห็นภาพ
มีชาวยูเครนหนีสงครามมาอาศัยพักอยู่ค่ะ เจ้าของโรงแรมคิดค่าห้องคืนละ 200 ด้วยความเมตตา และจัดงานสงกรานต์ที่ผ่านมาให้พอได้คลายเศร้า ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง เพราะผู้ชายไม่ว่าจะเป็นพ่อ แฟน พี่ชาย น้องชาย ของพวกเค้า ถูกเกณฑ์ไปรบในสงครามแบบไม่ทราบชะตากรรม พวกเค้าเดินทางมาที่นี่ด้วยความยากลำบาก เพราะการคมนาคมก็มีปัญหา และจะต้องอยู่ที่นี่จนกว่าสงครามจะสิ้นสุด ซึ่งไม่รู้เมื่อไหร่
ตามรูป เจ้าของโรงแรมนิมนต์พระมาสวดให้ศพผู้เสียชีวิต
“ตอนที่นิมนต์พระอาจารย์ ทำพิธีให้ และพระอาจารย์มอบเงินเพื่อช่วยเหลือ ตอนแรกพวกเขางงๆ ไม่รับ พออธิบายเหตุผล ทุกคนต่างซึ้งใจ จนน้ำตาคลอเบ้า หลายคนบอกว่า เค้าสนใจศาสนาพุทธ จะศึกษาศาสนพุทธให้มากกว่าที่เป็นอยู่”
วันก่อนเราเอามะม่วงไปให้ “หัวหน้ากลุ่มชาวยูเครน ฝากขอบคุณ (พอดีตอนที่เอามะม่วงมาให้ เธออยู่ข้างนอก) เธอซึ้งใจ กับน้ำใจคนไทย คิดไม่ถึงว่าคนไทยจะมีความเมตตา และมีน้ำใจแบบนี้ พระพุทธศาสนาตามประวัติไม่เคยอ้างศาสนาเพื่อก่อสงคราม
    'ปูติน' เปรียบเทียบตัวเองเหมือน 'ปีเตอร์มหาราช' อดีตกษัตริย์รัสเซีย อ้างจุดประสงค์ก่อสงครามยูเครนไม่ต้องการยึดดินแดนคนอื่น แต่เพื่อชิงดินแดนตัวเองคืน และเพื่อปกป้องความมั่นคงของรัสเซีย นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ให้ความเห็นล่าสุดเมื่อวานนี้ (9 มิ.ย.) โดยเปรียบการตัดสินใจบุกยูเครนของตัวเองว่า ไม่ต่างกับสมัยที่ซาร์ปีเตอร์มหาราช หรือจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียบุกสวีเดนเมื่อปี ค.ศ. 1700-1721 ผู้นำรัสเซียระบุว่า การที่ซาร์ปีเตอร์มหาราชตัดสินใจประกาศให้นครเซนต์ปีเตอร์เบิร์กเป็นเมืองหลวงของรัสเซีย ในตอนนั้นก็ไม่มีใครยอมรับว่าดินแดนตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทุกคนในสมัยนั้นก็คิดว่าเป็นดินแดนของสวีเดนทั้งสิ้น ประธานาธิบดีปูตินยังกล่าวถึงสงครามยูเครนอีกว่า เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้อง เอาดินแดนกลับคืนมา และสร้างความแข็งแกร่งอีกครั้ง หลังจากที่รัสเซียผ่านบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่ต้องยอมถอย แต่เราต้องเอาความแข็งแกร่งกลับคืนมาและเดินหน้าต่อไป ขณะที่สถานการณ์ทางภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งเป็นสมรภูมิหลักในขณะนี้ ล่าสุดเมืองเซเวโรโดเนตสค์ ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญถูกกองทัพรัสเซียควบคุมพื้นที่เกือบทั้งหมดแล้ว ขณะที่นายโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนระบุว่า ฝ่ายยูเครนยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แต่ก็ย้ำว่าการต่อสู้ในเมืองเซเวโรโดเนตสค์ จะเป็นจุดสำคัญที่จะชี้ชะตาภูมิภาคดอนบาสทั้งหมด https://www.facebook.com/workpointTODAY/photos/a.153956988306921/1943643416004927/
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1703191833360748&set=a.234892240190722รัสเซีย ยูเครน : " ปีเตอร์มหาราช" ต้นแบบ ผู้นำจักรวรรดิรัสเซียใน อุดมคติของปูติน - BBC News ไทย https://www.youtube.com/watch?v=PiWuOv1vPbIคนส่วนใหญ่มีคนที่เป็นไอดอลของตน โลกปัจจุบันคิดแบบนั้นล่ะยุ่งตายห่า  ยุ่งยังไง เช่น สยามก็เคยยึดถึงศรีโสภณ (เขมร) ก็ต้องเอาคืน ฯลฯ สามจังหวัดชายแดนใต้เขาก็ว่าเคยเป็นดินแดนมลายูเขาก็จะเอาคืน (ยุ่งตายกันทุกวัน) โลกปัจจุบันเขาขีดเขตแดนกันแล้วทำไมต้องย้อนกลับไปที่จุดนั้นให้ผู้คนล้มตายอีกเล่า  ปูตินชี้สุด ‘ภูมิใจ’ กับกองทัพรัสเซียในยูเครน
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย กล่าวในวันที่ 21 มิถุนายนว่า เขาภูมิใจกับการกระทำของทหารรัสเซียในยูเครน ซึ่งกองกำลังรัสเซียกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินปฏิบัติการทางทหาร
“เราภูมิใจที่ในระหว่างการปฏิบัติการพิเศษทางทหาร นักสู้ของเราได้แสดงความกล้าหาญ ความเป็นมืออาชีพ เฉกเช่นวีรบุรุษตัวจริง” ปูตินกล่าวผ่านการถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ระหว่างการหารือร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยทหาร
คิดผิดทำผิดชีวิตเปลี่ยน

นาโต (Nato) ย่อมาจาก องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation) ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรด้านการทหารที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1949 โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ คือ เบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ
ชาติสมาชิกได้ทำข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันกรณีที่สมาชิกถูกโจมตีด้วยอาวุธ
วัตถุประสงค์ดั้งเดิมของนาโต คือ เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจากรัสเซียที่แผ่ขยายอำนาจเข้าไปในยุโรป ช่วงหลังสงครามโลกในปี 1955 รัสเซียได้ตอบโต้องค์การนาโต ด้วยการก่อตั้งพันธมิตรทางทหารของตัวเองขึ้นในหมู่ชาติคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกที่เรียกว่า องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (Warsaw Pact)
หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 อดีตชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ ก็ได้หันไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 30 ประเทศ
#รัสเซียมีปัญหาอะไรกับนาโตและยูเครน
ยูเครนเคยเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต ที่มีพรมแดนติดกับทั้งรัสเซีย และสหภาพยุโรป (อียู)
#ปัจจุบันยูเครนยังไม่ได้เป็นสมาชิกองค์การนาโต แต่เป็น "ประเทศหุ้นส่วน" ซึ่งหมายความว่า อาจจะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในอนาคต
อย่างไรก็ตาม รัสเซียต้องการให้บรรดาชาติมหาอำนาจตะวันตกรับประกันว่า จะไม่รับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต ทว่านี่เป็นข้อเรียกร้องที่ชาติตะวันตกไม่ยอมรับ
นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัสเซีย โดยระบุว่า สหรัฐฯ มีหลักการที่ชัดเจน ซึ่งรวมถึงเรื่องอธิปไตยของยูเครน และสิทธิที่ยูเครนจะเลือกเข้าร่วมกลุ่มด้านความมั่นคงต่าง ๆ เช่น นาโต
ยูเครนมีประชากรเชื้อสายรัสเซียอยู่จำนวนมาก ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างแน่นแฟ้นกับรัสเซีย และในเชิงยุทธศาสตร์ รัฐบาลรัสเซียมองว่า ยูเครนเปรียบเสมือนสวนหลังบ้านของตนเอง
#นาโตจัดการปัญหารัสเซีย-ยูเครน อย่างไรในอดีต
ตอนที่ยูเครนขับประธานาธิบดีที่สนับสนุนรัสเซียลงจากอำนาจเมื่อต้นปี 2014 รัสเซียได้ใช้กำลังผนวกเอาดินแดนในคาบสมุทรไครเมีย ทางภาคใต้ของยูเครนเข้าเป็นของตนเอง นอกจากนี้ ยังให้การหนุนหลังกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินดินที่เข้ายึดพื้นที่เป็นวงกว้างทางภาคตะวันออกของยูเครน
นาโตไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในเรื่องดังกล่าว แต่ตอบโต้ด้วยการส่งทหารเข้าประจำการในหลายประเทศแถบยุโรปตะวันออกเป็นครั้งแรก โดยมีกองกำลังนานาชาติขนาดเท่ากองพันประจำการอยู่ในเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ รวมทั้งมีกองกำลังนานาชาติขนาดเท่ากองพลน้อย ประจำการอยู่ในโรมาเนีย นาโตยังได้ขยายอาณาเขตการรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศแถบทะเลบอลติกและยุโรปตะวันออก เพื่อคอยสกัดเครื่องบินรัสเซียที่บินล่วงล้ำน่านฟ้าของชาติสมาชิก
รัสเซียระบุว่า ต้องการให้นาโตถอนกองกำลังเหล่านี้ออกไป
ตามลูกพี่ไปติดๆ
ชาวยูเครนเดินเท้าหนีสงคราม มีกระเป๋าใบเดียวติดตัว https://www.youtube.com/watch?v=vI6UPPImIKcครอบครัวไหนที่ทุนทรัพย์น้อย ก็หนีวนๆอยู่ในประเทศ รัสเซียยิงขีปนาวุธมาตรงนี้ ไม่ตายก็หนีไปตรงโน้น บ้านช่องพังทะลายไม่ตายก็สร้างเอาใหม่  สิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ ราชวงศ์โรมานอฟ หรือ ‘The House of Romanov’ เป็นราชวงศ์ที่มีความเก่าแก่มากเพราะเป็นราชวงศ์ที่ปกครองรัสเซียนานถึง 304 ปี ซึ่งพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (Nicholas II) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ และถือเป็นจุดจบระบบราชานิยมในประเทศรัสเซีย ในปี 1894 รัสเซียสูญเสียพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ในวัย 49 พรรษา ส่งผลให้พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ต้องขึ้นครองราชย์ในเวลาอันรวดเร็ว นักประวัติศาสตร์ต่างพูดถึงพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่ค่อยดีนัก ขาดความเด็ดขาด ไม่มีความเป็นผู้นำ ตัดสินใจพลาดหลายครั้ง และนำรัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงอภิเษกกับจักรพรรดินี อเล็กซานดรา เฟโดโอรอฟนา (Alexandra Feodorovna) และให้กำเนิดแกรนด์ดัชเชสทั้ง 4 พระองค์ การให้กำเนิดพระธิดา 4 พระองค์ในเวลาไล่เลี่ยกันส่งผลให้เกิดความเครียดต่อครอบครัวเป็นอย่างมากเนื่องจากขาดผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ ท้ายที่สุด ทั้งสองก็มีพระโอรสนามว่า อเล็กเซย์ (Alexei) แต่ภายหลังตรวจพบว่าพระโอรสป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมของราชวงศ์ยุโรป ขณะที่เพศหญิงมักจะเป็นพาหะโรคเท่านั้น การที่อเล็กเซย์ป่วยเป็นโรคเลือดไหลไม่หยุดทำให้ครอบครัวนี้ตกอยู่ในความมืดและทุกข์ระทมอีกครั้ง เนื่องจากแกรนด์ดยุคเกือบเสียชีวิตเพราะหกล้มและเลือดไหลไม่หยุดมาหลายต่อหลายครั้ง ดังนั้นราชวงศ์โรมานอฟจึงตัดสินใจเก็บเรื่องนี้เป็นความลับและขังตัวเองอยู่ในวังคอยระวังไม่ให้รัชทายาทได้รับบาดเจ็บ โดยมีข้ารับใช้คอยดูแลตลอดเวลาเพื่อไม่ให้หกล้มหรือมีรอยฟกช้ำ ต่อมา จักรพรรดินีอเล็กซานดราได้รู้จักกับ นักบวชอย่าง กริกอรี รัสปูติน (Grigori Rasputin) ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหายนะราชวงศ์โรมานอฟ เพราะรัสปูตินสามารถบรรเทาอาการป่วยให้รัชทายาทได้ ดังนั้น รัสปูตินจึงมีอิทธิพลต่อจักรพรรดินีอเล็กซานดราเป็นอย่างมาก เพราะเขาเป็นคนเดียวที่สามารถรักษาชีวิตรัชทายาทได้ ภายหลังพระเจ้าซาร์อนุญาตให้รัสปูตินเข้ามาอาศัยในราชวังได้ นับจากวันนั้นราชวังก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปราวกับว่าราชสำนักถูกผูกขาดการตัดสินใจไว้ในมือของจักรพรรดินีอเล็กซานดราและรัสปูติน โดยพระเจ้าซาร์แทบไม่สามารถควบคุมหรือตัดสินใจอะไรเองได้แม้กระทั่งยามสงคราม นอกจากนี้จักรพรรดินีอเล็กซานดรายังควบคุมพระเจ้าซาร์ผ่านทางจดหมายโดยอ้างคำสั่งจากรัสปูตินอีกด้วย ขณะนั้นเองเป็นช่วงเวลาที่ รัสเซียทำสงครามกับญี่ปุ่น และพ่ายแพ้ให้ญี่ปุ่น ประชาชนต้องอยู่ในสภาวะสงคราม ประกอบกับสภาพอากาศที่ย่ำแย่ จึงเกิดความทุกข์ยากลำบากเป็นอย่างมาก ในปี 1905 จึงเกิดการปฏิวัติของประชาชนขึ้น โดยประชาชนได้รวมตัวกันในวันอาทิตย์เพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อพระเจ้าซาร์ แต่พระเจ้าซาร์กลับให้ทหารยิงปืนใส่ประชาชน ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า ‘Bloody Sunday’ หลังจากการตัดสินใจผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าของ พระเจ้าซาร์ และเขาตัดสินใจนำประเทศรัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลให้ประชาชนขาดอาหาร อดอยาก และสภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลต่อการทำเกษตรกรรม ในขณะที่คนในราชวงศ์ และเจ้าขุนมูลนายต่างๆ ต่างสุขสบายไม่ขาดอาหารการกิน แต่ประชาชนกลับต้องอดอยากและล้มตายเรื่อยๆ นอกจากนี้ คนในราชสำนักยังเชื่อฟังนักบวชอย่างรัสปูตินเป็นอย่างดี จนภายหลังมี ผู้อาสากำจัดรัสปูตินให้แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายได้ ในปี 1917 การปฏิวัติได้ก่อตัวขึ้นโดยมี วลาดีเมียร์ เลนิน (Vladumir Lenin) เป็นผู้นำการปฏิวัติจากพรรคบอลเชวิค (BolSevic) ทำการปฏิวัติประเทศโดยเปลี่ยนจักรวรรดิรัสเซียมาเป็น ‘สหภาพโซเวียต’ และปกครองโดยระบบคอมมิวนิสต์ โดยมี ค้อนและเคียวเป็นสัญลักษณ์แทนความยากจน และการถูกกดขี่ของประชาชนหลังจากการชุมนุมขับไล่ซาร์ และราชวงศ์โรมานอฟ ส่งผลให้พระเจ้าซาร์ประกาศสละราชบัลลังก์ และถูกนำตัวไปกุมขังที่ คฤหาสน์อิปาเตียฟ (Ipatiev House) 17 กรกฎาคม 1918 กลางดึกวันนั้นมีคำสั่งประหารชีวิตทั้งครอบครัวที่ห้องใต้ดิน โดยจักรพรรดินีอเล็กซานดรา และแกรนด์ดัชเชสล้วนใส่เครื่องเพชรเย็บติดกับชุดโดยหวังว่าจะเป็นเงินใช้จ่ายยามที่หลบหนีได้ แต่เครื่องเพชรเหล่านี้ได้กลายเป็นเกราะกันกระสุน ดังนั้น จึงเกิดการกระหน่ำกระสุนยิงซ้ำๆ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนเสียชีวิตแล้วจริงๆ วันดังกล่าวจึงถือเป็นจุดสิ้นสุด ระบบราชานิยมในประเทศรัสเซียhttps://www.facebook.com/photo/?fbid=5389605431153914&set=a.408395959274911 ทำไม สหภาพโซเวียต ถึงล่มสลายhttps://www.youtube.com/watch?v=Z9Avmg_S-gYจากคนกลุ่มหนึ่งก่อตั้งประเทศเรียกกันว่า รัสเซีย ... แล้วก็มารวมๆกันเป็น โซเวียต ... จากโซเวียตกลับมาเป็นรัสเซียอีก ครั้นเมื่อกลับมาเป็นรัสเซียดังเดิมแล้ว เขาคือรัสเซียจะกลายเป็นอะไรอีกไหม ? ติดตาม ปูกับพรรคพวกกำลังพาไป (ไหน) ? ซึ่งก็แล้วแต่ผู้นำ ทำไมโลกต้องการให้ส่งธัญพืชออกจากยูเครน การที่รัสเซียปิดท่าเรือต่าง ๆ ของยูเครน ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น และเกิดการขาดแคลนอาหารจำนวนมากในประเทศที่ยากจนที่สุดบางส่วนของโลก
ธัญพืชที่ตกค้างอยู่ในยูเครนมีมากแค่ไหน
มีธัญพืชราว 20 ล้านตันที่ยูเครนต้องการส่งออก ตกค้างอยู่ในประเทศ
ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ระบุว่า ปริมาณธัญพืชที่ตกค้างอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 75 ล้านตัน หลังการเก็บเกี่ยวในปีนี้
สงครามที่เกิดขึ้นทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีนี้จะลดน้อยลง
ลอรา เวลส์ลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางอาหารที่ชาทัม เฮาส์ (Chatham House) ระบุว่า ปกติแล้ว ยูเครนผลิตธัญพืชได้ 86 ล้านตัน โดยอาจจะมีธัญพืชมากขึ้น 30% ของจำนวนที่ผลิตได้ ไม่ได้รับการเก็บเกี่ยว
Create Date : 20 พฤษภาคม 2565 |
|
0 comments |
Last Update : 17 สิงหาคม 2565 16:40:46 น. |
Counter : 177 Pageviews. |
|
 |
|