ในทางธรรมปฏิบัติ ท่านจึงสอนหลัก “สมดุล” เอาไว้โดยเตือนว่า สมาธิต้องเข้าคู่กับความเพียร ศรัทธาต้องเข้าคู่กับปัญญา และสมาธิ ความเพียร ศรัทธา ปัญญา ต้องอยู่ในสายตาของ “สติ” เพราะ “สติ” คือตัวจัดปรับให้องค์ธรรมทุกข้อเกิด“ดุลยภาพ” ศรัทธามากไปก็กลายเป็นงมงาย ปัญญามากไปก็กลายเป็นหยิ่งทะนง หลงตัว หยาบกระด้าง อหังการ เพียรมากไปก็กลายเป็นเคร่งเครียด ฟุ้งซ่าน สมาธิมากไปก็กลายเป็นดำดิ่งนิ่งลึก ติดอยู่ในความสุขจากความสงบ ต่อเมื่อองค์ธรรมทุกข้อถูกปรับให้พอดี โดยมีสติเป็นพี่เลี้ยงดุลยภาพทางกาย ทางจิต ทางปัญญาจึงจะเกิดขึ้น และนั่นก็คือจุดเริ่มของการรู้แจ้งเห็นจริง ในสัจธรรมหรือต้นทางของมรรคผลนิพพาน
Create Date : 18 มกราคม 2568 |
Last Update : 18 มกราคม 2568 8:59:09 น. |
|
0 comments
|
Counter : 31 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|