space
space
space
 
มกราคม 2568
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
17 มกราคม 2568
space
space
space

นายแพทย์ (จิตแพทย์) ท่านนี้พูดเข้าหลักพุทธธรรมภาคปฏิบัติทางจิตใจ โรคซึมเศร้ากับการฝึกสติ ช่วยให้
นายแพทย์  (จิตแพทย์)  ท่านนี้พูดเข้าหลักพุทธธรรมภาคปฏิบัติทางจิตใจ 

โรคซึมเศร้ากับการฝึกสติ ช่วยให้สามารถจัดการกับความคิดและอารมณ์ทางลบ

นพ.พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ จิตแพทย์  โรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital แนะนำการฝึกจิตให้ควบคุมสติสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความคิดและอารมณ์ทางลบ เกิดการตระหนักรู้ถึงอารมณ์ และมีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้น

อาการของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการเศร้าเกือบทั้งวัน เป็นติดต่อกันนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ร่วมกับมีอาการหมดความสนใจ ในกิจกรรมที่เคยชอบทำ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นเช้ากว่าปกติ รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย รู้สึกไร้ค่า หรือรู้สึกผิด สมาธิจดจ่อ หรือความจำลดลง ความสามารถในการคิดหรือตัดสินใจลดลง หากมีอาการรุนแรงก็อาจจะมีความคิดทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้

โรคซึมเศร้ากับการฝึกสติ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าอาจเป็นไปได้ทั้งจากปัจจัยด้านพันธุกรรม ปัจจัยด้านความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม รวมไปถึงปัจจัยด้านบุคลิกภาพ และความสามารถในการจัดการกับความเครียด โดยแนวทางหลักของการรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบัน ยังคงเป็นการรักษาด้วยยา และการทำจิตบำบัด ซึ่งหนึ่งในการทำจิตบำบัดได้แก่การรักษาด้วยการฝึกสติในโปรแกรม mindfulness based cognitive therapy (MBCT) ซึ่งพบว่า วิธีการนี้ ใช้ได้ผลดี โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือว่ามีการกลับกำเริบซ้ำของโรคซึมเศร้าหลายครั้ง เพราะปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาวะซึมเศร้ายังคงอยู่ต่อเนื่องได้แก่ภาวะคิดวกวนเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านลบที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต เรียกภาวะนี้ว่า rumination ส่วนการฝึกสติ (Mindfulness) จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ และสังเกตเห็นความคิดว่าเป็นเพียงความคิด และไม่จำเป็นต้องคิดต่อ ซึ่งจะทำให้ภาวะ rumination ลดลง

ความหมายของสติ

การฝึกสติ หมายถึง การฝึกรับรู้ร่างกายและจิตใจ ในปัจจุบัน ทีละขณะ โดยไม่ตัดสิน ซึ่งการอยู่กับปัจจุบัน จะทำให้ผู้ฝึกสติรู้ทันความคิดวกวนได้มากขึ้น ลดการคิดถึงเรื่องราวร้าย ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และไม่กังวลไปกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคต ส่วนการไม่ตัดสิน จะทำให้ผู้ฝึกสามารถรับรู้ความคิด อารมณ์ ได้ตามความเป็นจริงมากขึ้น เพราะความคิดตัดสิน เช่น มองว่าเราเป็นคนไม่ดีหรือเป็นคนไร้ค่า หรือโลกนี้ช่างโหดร้ายเหลือเกิน ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นหรือดำรงต่อไป

ประโยชน์ของการฝึกสติ

ในแง่จิตวิทยา พบว่าการฝึกสติจะช่วยให้ผู้ฝึกมีการตระหนักรู้ถึงอารมณ์ และมีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้น ทำให้ลดความคิดวกวนที่นำความทุกข์ใจมาให้ สามารถเห็นความคิดเป็นเพียงความคิดและไม่คิดต่อ รวมถึงลดการตัดสินตัวเองและคนอื่น ทำให้เกิดความรู้สึกเข้าใจและเห็นใจผู้อื่นมากขึ้นด้วย นอกจากนั้น การฝึกสติสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของสมองได้ งานวิจัยพบว่าผู้ที่ฝึกสติอย่างสม่ำเสมอมีการทำงานที่เพิ่มขึ้นในสมองส่วนหน้าผาก (prefrontal cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการควบคุมอารมณ์ ในขณะที่สมองส่วนอะมิกดาลา (amygdala) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางอารมณ์เชิงลบและความเครียดก็ทำงานที่ลดลง ทำให้ผู้ฝึกสติมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์มากขึ้น และสามารถจัดการกับความเครียดได้ดีขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการกลับกำเริบซ้ำ


วิธีการฝึกสติ
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1) การฝึกสติในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การสังเกต ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร การมีสติระหว่างเดินไปทำงาน การรับรู้ความหงุดหงิดเวลาไม่ได้ดั่งใจ รวมถึงการรับรู้ว่ามีความคิดวกวน หรือความทุกข์ในเกิดขึ้น

2) การฝึกสติในรูปแบบ เป็นการแบ่งเวลาว่างสักช่วงหนึ่งในแต่ละวันมาฝึกการนั่งสังเกตลมหายใจ (การนั่งสมาธิ) หรือฝึกซ้อมโดยการเดินกลับไปกลับมา  (เดินจงกรม)  การฝึกสติทั้ง 2 ลักษณะ มีความสำคัญและจำเป็น เพราะจะช่วยให้สติแข็งแรงและว่องไว  ไม่เผลอจมไปกับความคิดหรืออารมณ์นานจนเกินไป

สรุป

โรคซึมเศร้าเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิดและความสามารถในการทำงานของผู้ป่วย และหากปล่อยไว้นานอาจจะรุนแรงจนถึงมีความคิดฆ่าตัวตายได้  การฝึกสติเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความคิดและอารมณ์ทางลบ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตใจและสมอง และยังป้องกันการกำเริบซ้ำของโรคซึมเศร้าได้ด้วย.


- สารสำคัญของสติปัฏฐาน

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=29-10-2023&group=82&gblog=85

     อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า  การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติ สัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิดแล้วก่อปัญหาขึ้นได้

     การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน นี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน  นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิตวิเคราะห์ ของจิตแพทย์  (Psychiatrist)  สมัยปัจจุบัน และประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า  เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติเพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะไม่วิจารณ์ความเห็นนั้น แต่จะขอสรุปสาระสำคัญของการเจริญสติปัฏฐานตามแนวความคิดเห็นแบบใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้


235 ทำให้เป็นทำให้ถูกวิธี   11


Create Date : 17 มกราคม 2568
Last Update : 17 มกราคม 2568 10:46:38 น. 0 comments
Counter : 44 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space