Ploy Journey Journal.........Welcome to my world
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
10 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 

จันทบุรี.. มีดีอย่าบอกใคร Epi.4: บ้านเสม็ดงาม และอู่ต่อเรือพระเจ้าตาก



ความเดิมตอนที่แล้ว: จันทบุรี.. มีดีอย่าบอกใคร Epi.3 : ชุมชนริมน้ำจันทบูรณ์



เรามาเสม็ดงามกันทำไมหน่ะเหรอ ก็เพราะเรามาตามหามะม่วงเสม็ดงามที่เป็นตัวก๊อปของอกร่องนั่นไง แต่ยังไงๆ ยัยพลอยก็ขอยกย่องอกร่อง ลูกอวบแบน หอมมากๆ ที่สุด ถึงแม้ว่าใครจะว่าว่า อิฉันเป็นพวกคนโบราณก็ตามเหอะ แต่อิฉันก็ยังชอบแบบ Original ไม่เคยเปลี่ยนใจและเปลี่ยนแปลง ถึงแม้จะเป็นทุเรียนเป็นร้อยสายพันธุ์ก็มิเคยชนะ ก้านยาวและชะนี ทุเรียนในดวงใจของอิฉันไปได้เลย 


ต้นมะม่วงเสม็ดงาม




ลูกเสม็ดงาม ที่ยังอยู่บนต้น 555 ได้ติดไม้ติดมือกลับบ้าน .. ว่าแต่จะขายแพงไปไหนคะ..ป้า




ไปเที่ยวอู่ต่อเรือพระเจ้าตากต่อ เมื่อขับรถผ่านก็เจอกลุ่มทอเสื่อกก ที่มีชื่อเสียงของเมืองจันทน์หลายที่ คุณเพื่อนเคยเป็นลูกค้าคุณป้าท่านนี้เลยจอดแวะทักทาย 




นั่งคุยกะป้าไป ป้าก็หวีไปบ่นไป ถึงเรื่อง ค่าแรง 300 บาท ไม่มีคนจะมาทำเสื่อกันแล้ว  




เมื่อเหลือบไปเห็นถังขยะคุณป้า.. อุ๊ต๊ะ สีสันน่ารักจริง




ป้าสานเองย้อมเอง ป้ายบอกทางของทางหลวงก็มีประโชยน์เยี่ยงนี้เอง... ไว้ไห้ป้าตากกก 555 



กก




กกใกล้ๆ




ผลิตภัณฑ์ของคุณป้า





มาถึงอู่ต่อเรือพระเจ้าตาก


ประวัติความเป็นมา


อู่ต่อเรือพระเจ้าตากสิน ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เป็นอู่ต่อเรือเมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชในปี 2310 เมื่อหน่วยโบราณคดีใต้น้ำ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ขุดค้นซากเรือและตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดีตามริมฝั่งอ่าว พบแอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะคล้ายอู่เรืออยู่หลายแห่ง พร้อมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ของเรือโบราณ ซึ่งสัมพันธ์กับพระราชพงศาวดารธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาส (เจิม) บันทึกไว้ความว่า ก่อนที่พระเจ้าตากจะยกทัพไปตีพม่า ได้ต่อเรือประมาณร้อยลำที่เมืองจันท์ โดยเฉพาะบริเวณวัดเสม็ดงามซึ่งอยู่ไม่ไกล นอกจากนี้ยังมีการพบตอไม้ตะเคียนทองอันเป็นวัสดุหลักที่คนโบราณนิยมใช้ต่อเรือเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ที่อู่ต่อเรือพระเจ้าตากสินมีโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ เรือเสม็ดงาม เป็นเรือสำเภาท้ายตัด หรือเรือฟูเจี้ยน ทำด้วยไม้ ยาว 24 เมตร กว้าง 7-8 เมตร มีร่องรอยการตอกหมันและยาชัน ภายในเรือพบเศษภาชนะ เชือกป่าน ขวานเหล็ก และถ้วยชามจีนคุณภาพต่ำ สันนิษฐานว่าเป็นเรือสำเภาที่ต่อขึ้นในจีนใช้แล่นค้าขายอยู่ตามหัวเมืองชายทะเลอ่าวไทย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ปัจจุบันเรือลำนี้อยู่ในแอ่งเพื่อรักษาสภาพเรือไว้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวเรือ แต่กำลังมีการพัฒนาให้น้ำใสเพื่อมองให้เห็นตัวเรือได้

cr: //www.eculture.rbru.ac.th/showdata.php?viewid=22


ด้านในมีศาลพระเจ้าตาก ซึ่งสวยหรูดูแพงมาก 




ด้านบนศาลท่าน



ด้านบนมีพระแก้วมรกตจำลอง




และรูปหล่อท่านหลวงพ่อเขียน วัดกะทิง ที่มรณภาพไปแล้ว




ศาลท่านสวยจริงๆค่ะ





กระถางธูป... เอิ่ม  ใหญ่ไปไหมคะ




ด้านหน้าหันเข้าหาทะเล วิวสวยงามมากค่ะ  เป็นที่ฟื้นฟูสัตว์น้ำและทะเล  มีเรือใหญ่ลอยลำจอดอยู่



ป่าชายเลน




ใกล้กันมีคุณลุงขายพระเครื่อง ซึ่งแกรคุยเก่งมากกกก คุณลุงแกรเป็นคนกทม.แต่ย้ายมาอยู่ที่นี่เพราะได้เสียกะผู้หญิงที่เป็นคนที่นี่ ก็เลยย้ายมา 555 แกรก็พูดตรงดี Blar blar blar... 





ด้านข้างศาลพระเจ้าตาก มีไม้ตะเคียนทองต้นใหญ่ 



ยาวมาก




และมีศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง ท่านสวยเหมือนนางแบบ และถ้าเป็นสมัยโบราณนั้นท่านน่าจะเป็น fashion idal ได้เลย ชุดเครื่องแต่งกายมีครบทุกสี




ที่มาของต้นตะเคียนทอง


แต่เดิมตะเคียนทองขนาดใหญ่นี้อยู่ในเพื้นที่บ่อกุ้งฝั่งตรงข้ามของนายณรงค์ ภักดีผล นายณรงค์เล่าว่า ตอนขุดบ่อกุ้งก็ไม่พบต้นตะเคียนนี้ แต่เพราะแรงดันของดินหรืออภินิหาริย์อย่างไรก็เหลือเดา ทำให้ต้นตะเคียนต้นนี้ขึ้นมาปรากฎให้เห็นเหนือผืนดิน จากนั้นการเลี้ยงกุ้งก็ไม่เคยได้ผล โดยลำพังตนเองจะยกออกไปก็คงไม่มีปัญญา  เห็นเป็นตะเคียนทองขนาดใหญ่ ความยาวถึง 17 วา หรือ 34 เมตร  เนื่องด้วยกำลังมีการดำเนินการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน ถวายแด่องค์สมเด็นพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นเรือนไทยไม้สักทองขนาดใหญ่ ซึ่งตระกูลแตงอ่อนนำโดยคุณอัครชัย และคุณณัฐปัจพล แตงอ่อน เป็นผู้สมทบเงินค่าก่อสร้างรายใหญ่ในการก่อสร้างครั้งนี้  จึงมีความต้องการจะนำเอาต้นตะเคียนต้นนี้ไปถวายต่อองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้ขอกำลังทหารจากค่ายตากสินส่วนหนึ่ง พร้อมชาวบ้านทั่วไป ชักลากดึงตะเคียนใหญ่ขึ้นมาโดยไม่ยากนัก 


 เหตุที่นำต้นตะเคียนใหญ่มาถวายแด่พ่อตากนั้น เนื่องจากพระองค์ท่านได้ใช้ไม้ชนิดนี้นำมาทำการต่อเรือรบ นับเป็นร้อยลำเพื่อเดินทางไปกู้ชาติ จึงเห็นสมควรว่าจะนำมาถวาย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ท่าน กอรปกับต้นตะเคียนต้นนี้ มีขนาดใหญ่เหมาะแก่การบำรุงรักษาไว้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาตลอดจนผู้ที่สนใจได้มาชมหรือศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาจเป็นไปได้ว่าต้นตะเคียนนี้คือต้นที่พระองค์โค่นมาทำการต่อเรือเพื่อเดินทางไปกู้ชาติ แต่ด้วยมรสุมร้ายสงบลง พระองค์จึงมิต้องออกเรือเพื่อกู้ชาติ ตะเคียนยังมิได้ทำการต่อเรือ จึงเหลือไว้เป็นหลักฐานให้เราได้เห็นถึงทุกวันนี้

cr://www.touronthai.com/article/996



ด้านหน้ามีแผนที่การเสียแผ่นดินของประเทศสยามอยู่ ทั้งหมด 14 ครั้ง




อ่านแล้วก็รู้สึกเศร้าใจ  ลองอ่านกันดูนะคะ




ตรงจุดนี้ธรรมชาติทั้งบกและทะเลอุดมสมบูรณ์มาก



























อ่านแล้วให้ความรู้สึกยังไงกันบ้างคะ สะเทือนใจใช่ไหมคะ..



ด้านหลังศาลเป็นกลุ่มทอเสื่อ




เครื่องกรอ




ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม





บ่ายแล้วจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ เกรงรถจะติดมหาศาล ขากลับแวะจัดขนมเปี๊ยะวีรนุช ที่แกลง



ทำสดใหม่




Homemade




มีใส้หลากหลาย ถั่ว  ถั่วไข่เค็ม  งาดำ  ทุเรียน  พุทรา และอื่น ชิมช๊อปตามชอบ อร่อยดีค่ะ




กลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ 



Ploy Journey Journal 





 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2560
0 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2560 11:36:04 น.
Counter : 2403 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สมาชิกหมายเลข 3271775
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Hi guys, I'm "Ploy" who always have full of bucket list. It is because the world is gigantic, so step out 'n explore its. I write, i-dive, i-trek, i-run, i-yoga, i-blog, and I love good food. Let's follow the dream. สวัสดีค่ะ ชื่อ"พลอย"ค่ะ เป็นพวกชีวิตมีแต่บวก ไม่มีลบ Bucket list เต็มตลอดเวย์ อะไรๆก็เป็นลิสต์ที่ต้องทำก่อนตายสำหรับยัยพลอยทั้งนั้น (ก็โลกนี้มันกว้างใหญ่จะตายไป!) ไหนๆก็ได้เกิดมาบนโลกสวยงามใบนี้แล้วหนิ คิดแล้วจะรออะไร...เก็บกระเป๋า ก้าวเท้าออกมา โลกรอเราอยู่ (หรือความอยากรอเราอยู่) พลอยชอบขีดๆเขียนๆ, วิ่ง, โยคะ, ดำน้ำ, เทรค, และทุกทริปจะขาดไม่ได้เลยคือ อาหารอร่อย. มาออกเดินทางตามความฝันกับ "พลอย เจอนี่ เจอนั่น" ด้วยกันนะคะ... : )
New Comments
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3271775's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.