รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
5 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
วิธีการปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียนเป็นสมถะหรือวิปัสสนา

มีคำถามเข้ามาที่ผมเรื่องการปฏิบัติแนวหลวงพ่อเทียน
แต่ก่อนอื่น ผมขออธิบายก่อนในเรื่อง

*** การรับรู้ด้วยจิต และ การรับรู้ด้วยขันธ์ ****
ว่าการรู้ 2 อย่างนี้ต่างกันอย่างไรก่อน

สมมุติว่า ท่านอาบน้ำในฤดูหนาวที่อากาศกำลังหนาวเย็น พอน้ำกระทบกายเท่านั้น
ท่านจะรู้สึกได้ถึง

การกระทบของน้ำกับร่างกาย และ รู้สึกได้ถึงอุณหภูมิที่เกิดขึ้น นี่เป็นการ
รับรู้ด้วยจิต

แต่พอท่านรู้สึกถึงอุณหภูมิที่รู้สึกได้ปั๊บ ท่านก็ร้องออกมาว่า..หนาว...
การที่ท่านรู้ว่า ..หนาว.. นี่แหละครับ คือการรู้ด้วยขันธ์ เพราะ
เมื่อเกิดการกระทบสัมผัสเข้าแล้ว ก็จะเกิดแปลความหมายการสัมผัส
การแปลความหมายนี้ มาจากที่เรียนรู้มาจากทางโลก เช่น ผู้ใหญ่
อาการแบบนี้ อุณหภูมิแบบนี้ เขาเรียกว่า หนาว

ถ้าจะให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ก็คือ การรับรู้ด้วยจิต จะเหมือนการรับรู้แบบเด็กทารก
ที่เขาก็รู้สึกได้ ถ้าน้ำเย็นไปกระทบกายเขา เขาก็รู้สึกได้แบบผู้ใหญ่ เพียงแต่เด็กทารก
ยังไม่รู้จักว่า สิ่งที่รู้สึกแบบนั้น เขาเรียกกันว่า ..หนาว..

แนะนำอ่านเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้นที่

รู้ขบวนการ (ปรมัตถ์) รู้เนื้อความ (สมมุติ)

สภาวะปรมัตถ์ ซ่อนอยู่ใน สภาวะสมมุติ



******
คำถามที่ถามเข้ามา มีว่า


1. ผมได้สนทนากับพระท่านที่เรียนอภิธรรม
ถามผมว่าปฏิบัติเช่นไร
ผมก็ว่า ขยับมือสายหลวงพ่อเทียน
แกว่า ขยับมือเป็นสมถะ เพราะมี ...
(เป็นศัพท์เทคนิคทางอภิธรรม ผมจำไม่ได้)
ประมาณว่ามีเจตนาอะไรซักอย่าง

ผมก็ว่า ขยับมือต่างกับการเดินจงกรมตรงไหน
แกว่า เดินเพื่อคลายทุกข์ของกาย ...


- ถาม อ.ว่า ความเป็นจริงแล้วขยับมือ14จังหวะ
ก็เป็นการเจริญสติแน่นอน แต่หากจะเป็นสมถะ
แล้วจะเป็นลักษณะใดครับ

*********************
>>>>>> ความเห็นของผมมีดังนี้ครับ

ก่อนอื่น ผมขออธิบายความหมายของสมถะและวิปัสสนาตามที่ผมเข้าใจดังนี้

สมถะ คือ อาการที่จิตใจสงบจาก.นิวรณ์ 5. ถ้าท่านเพียงรู้สึกตัว จิตใจเฉย ๆ สบาย ๆ
ไม่คิดอะไรในหัว นั่นแหละครับ ท่านสงบจากนิวรณ์ 5 แล้ว จะเห็นว่า มันพื้น ๆ อย่างนี้เองครับ
บางท่านไม่เข้าใจจุดนี้ พอพระบอกว่า ทำสมถะ ก็คิดว่า ต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วก็ลงมือทำ ทำ และ ทำ... พอเกิดความคิดว่าต้องทำหรือเกิดความอยากที่จะต้องทำ นั่นแหละครับ จิตใจฟุ้งซ่านแล้ว ไม่สงบแล้ว ยิ่งทำ ยิ่งไม่สงบ

ผมได้บอกถึงกฏ 3 ข้อที่ว่า
เพียงรู้สึกตัว เฉย ๆ สบาย ๆ ไม่คิดไม่อะไร ไม่อยากต้องการอะไร นั่นแหละสงบแล้ว เป็นสมถะเรียบร้อยแล้ว

แต่ปัญหาของนักภาวนา ก็คือ จะรักษาอย่างไรให้มันต่อเนื่อง ในอาการของสมถะที่ผมบอกไว้ในกฏ 3 ข้อ ซึ่งก็คือ ต้องหมั่นฝึกฝนครับ ฝึกเจ้ากฏ 3 ข้อนี้แหละ ฝึกแบบสบาย ๆ เมื่อฝึกไป ก็จะคุ้นเคยมากขึ้น แล้วการต่อเนื่องจะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามความชำนาญ

ทีนี้ ตามธรรมชาติของจิตใจ เมื่ออยู่ในสภาวะสมถะแบบที่ผมเขียนก็คือ เพียงรู้สึกตัว เฉย ๆ สบาย ๆ ไม่คิดอะไร ไม่อยากต้องการอะไร จิตใจจะสามารถรับรู้การกระทบสัมผัสได้เอง ซึ่งนักภาวนาไม่ต้องทำอะไรเลย แต่จิตใจทำงานเองโดยอัตโนมัติของเขาเอง เช่น สมมุติว่าท่านกำลังอ่านเรื่องนี้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ขอให้ท่านใช้มือ ลูบไปลูุบมาบนโต๊ะดูซิครับ ท่านอ่านไปด้วย มือที่ลูบโต๊ะก็รู้สึกถึงการสัมผัสกับโต๊ะได้ด้วย จริงไหมครับท่าน ทั้งนี้เป็นเพราะว่า จิตใจเขาทำงานเอง เมื่อท่านยังรู้สึกตัวได้ดีอยู่นั่นเอง

ทีนี้คำว่า วิปัสสนานา คืออะไร ..
วิปัสสนา คือ การรับรู้ตามความเป็นจริงด้วยจิตใจครับ ซึ่งง่าย ๆ ก็คือ การรับรู้ความเป็นจริงของ ขันธ์ 5 ของอายตนะ ของตัวจิตใจ เองว่า นั่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน <<<< ซึ่ง Keyword ก็คือ วิปัสสนาเป็นการรับรู้ด้วยจิตใจ ไม่ใช่การรับรู้ด้วยขันธ์ (อ่านเรื่องข้างบนที่เขียนไว้ก่อนคำถาม)

ทีนี้ในการฝึกแบบหลวงพ่อเทียน ในขณะที่ฝึกด้วยความรู้สึกตัว ที่จิตใจสบาย ๆ ไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะนั้นเป็นสมถะครับ เพราะใจสงบอยู่ แต่เมื่อนักภาวนารู้สึกได้ถึงการกระทบสัมผัส รู้ถึงการสั่นไหวที่เกิดขึ้นของมือที่เคลื่อน มือที่ลูบตามลำตัว ในขณะที่จิตใจเป็นสมถะนั้น ขณะนั้นเป็นวิปัสสนา (แบบอ่อน ๆ ) พร้อมกันไปในขณะเดียวกัน คือ รับรู้ได้ถึงความเป็นธาตุของกายที่เป็น.ลม.--->> ที่รู้สึกได้ถึงการเคลื่อนการไหว + รับรู้ได้ถึงความเป็นธาตุของกายที่เป็น.ดิน. ที่รู้สึกได้ถึงการสัมผัสลำตัวที่เป็นอาการอ่อนแข็ง

ซึ่งการรับรู้แบบนี้ จะเรียกกันตามความนิยมว่า การเจริญสติ หรือ การเจริญสติสัมปชัญญะ

การเกิดขึ้นของสมถะและวิปัสสนา(แบบอ่อน ๆ )นี้เป็นความรู้สะสมครับ มันจะสะสมพลังงานจิตทีละนิด และ สะสมความรู้ของจิตที่ละนิด เมื่อมากเข้า จิตจะตื่นตัวมากขึ้น จนถึงระดับหนึ่ง ก็จะเกิดการโผล่งตัวของจิต อันเป็น วิปัสสนาปัญญาอย่างแท้จริง

อ่านเรื่อง
ความรู้จากการภาวนา-ภาวนามยปัญญา



ที่นี้มาถึงคำถามที่ว่า ถ้าเป็นสมถะ เป็นสมถะลักษณะใด

เรื่องสมถะนี้ นักภาวนาส่วนใหญ่ มักเข้าใจว่า คือการทำให้จิตนิ่ง ตัวแข็ง ไม่ไหวติง เพื่อไม่รับรู้อะไรเลย นั่นก็ถูกครับ แต่มันเป็นสมถะแบบฤาษีชีไพร ที่ไม่ใช่สมถะเพื่อการเตรียมตัวใช้ในวิปัสสนาแบบพุทธครับ

ที่พระรูปนั้นบอกว่าเป็นสมถะ ถ้ามีเจตนา ท่านพูดถูกต้องครับ เพราะเจตนานี่เป็นความอยากในจิตใจ เป็นหนี่งในความคิดในสังขารขันธ์ครับ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่เข้าใจแล้วฝึกด้วยความอยากในจิตใจ เช่น อยากจะเคลื่อนมือ อยากจะเดิน อยากจะรู้การสัมผัสที่เกิดขึ้นในขณะฝึก อยากจะรู้การเคลื่อนไหวของมือ สิ่งเหล่านี้คือ ความคิดทั้งสิ้น จึงเป็นสมถะครับ

แต่ถ้าคนที่เข้าใจแล้วฝึก ไม่ว่าแบบไหน เขาต้องฝึกด้วยจิตใจที่เฉย ๆ สบาย ๆ ไม่มีความอยากจะเดิน ไม่มีอยากจะเคลื่อนมือ ไม่อยากจะรู้สัมผัส ซึ่งบางอาจารย์บอกว่า ฝึกเหมือนทำเล่น ๆ ไม่จริงจัง หรือ ฝึกด้วยกฏ 3 ข้อที่ผมได้กล่าวไว้นั่นเอง

ในการฝึกแบบหลวงพ่อเทียนนั้น จะมี 15 จังหวะ โดยนับท่าเริ่มต้นเป็นจังหวะ 1 คือ การนั่งเฉยๆ เตรียมพร้อม ท่านี้สำคัญมาก แต่คนมักมองข้ามไป เพราะคิดว่า หลวงพ่อเทียนคือการเคลื่อนมือ พอบอกว่าให้ฝึก ก็เคลื่อนมืออย่างรวดเร็วปานประหนึ่งเครื่องยนต์ Turbo Twin Cam 16 Valve (ผมเห็นคนใหม่ที่ฝึกเคลื่อนมือแบบรวดเร็วแบบนี้เป็นส่วนมาก) การฝึกแบบหลวงพ่อเทียนนี้ ไม่ใช่ว่า ต้องการรอบการเคลื่อนมือให้ได้มาก ๆ นะครับ

การฝึกแบบหลวงพ่อเทียนนั้น จังหวะที่ 1 นั่งเฉย ๆ เตรียมตัวนี้แหละครับ นักภาวนาต้องนั่งเฉยๆ **** เพื่อปรับตัวให้มีความรู้สึกตัว + จิตใจที่เฉย ๆ สบาย ๆ **** ก่อนการเคลื่อนมือ พอนักภาวนารู้สึกได้ถึงจิตใจแบบจังหวะที 1 แล้ว ก็เคลื่อนมือช้า ๆ สบาย ๆ ไปจังหวะที่ 2 คือ พลิกมือขึ้น แล้วก็ให้หยุดอีก การหยุดอีก ก็คือ จะเหมือนกับจังหวะที่ 1 อีก คือ ให้นักภาวนาตั้งหลักใหม่ ให้สังเกตดูอาการ รู้สักตัว เฉย ๆ สบาย ๆ พอตั้งหลักได้แล้วก็เคลื่อนไปจังหวะ 2 แล้วก็หยุดอีก ให้นักภาวนาตั้งหลักใหม่อีก คือ ให้สังเกตรู้สึกตัว เฉยๆ สบาย ๆ ฝึกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

สำหรับนักภาวนามือใหม่ส่วนมาก พอจังหวะ 1 คือ นั่งเตรียมตัว เมื่อรู้สึกตัวได้แล้ว พอพลิกมือขึ้นเพื่อไปจังหวะ 2 เท่านั้น ส่วนมากจะเกิดเผลอแว๊บหนึ่งทันที นี่เป็นเพราะจิตยังไม่มีกำลังพอ ซึ่งนักภาวนาถ้ารู้สึกได้ว่า เกิดเผลอแว๊บหนึ่งเมื่อกี้นี้ ถ้ารู้อย่างนี้ดีนะครับที่เกิดเผลอแล้วรู้สึกได้ ไม่ใช่ไม่ดี
พอเผลอแล้วก็ช่างมัน ให้ตั้งหลักใหม่ คือ รู้สึกตัวใหม่ แล้วก็ฝึกต่อไป เรื่อย ๆ
ถ้าเผลอแว๊บอีก ก็ตั้งหลักใหม่อีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ดัวยความรู้สึกตัว จิตใจ เฉย ๆ สบาย ๆ

คนที่ไม่เข้าใจ พอเผลอปั๊ป ก็คิดว่าไม่ดีเลย ก็เลยเกร็ง เลยจ้อง พยายามทำอะไรไม่ให้เกิดเผลอ นี่คือเกิดเจตนาหรือเกิดความอยากในจิตใจ <----- นี่แหละครับสิ่งที่ไม่ดี ที่นักภาวนาต้องไม่ทำอย่างนี้


แนะนำอ่านเรื่องเพิ่มเติมครับ

สมถะ วิปัสสนา ในแนวทางที่ตำราไม่กล่าวถึง ภาค 2

การเห็นขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน เป็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นด้วยจิตรู้เท่านั้น

******************************************************
2. การที่ผม(พึ่งเริ่มกลับมา)ขยับมือ14 จังหวะ
อีกครั้ง
(เนื่องจาก เคยทำแล้วแน่นหน้าอก)
แต่เพราะล่าสุดไป สุคะโตมา
ได้สนทนากับ พระอ.ท่านนึง
ท่านว่า ให้ทำสบายๆ ก็เลยลองทำอีกครั้ง

ยังรู้สึกมีแน่นๆ ในช่วงแรกบ้าง
หลังจากนั้น ก็คลายๆ ไปได้

- ถาม ไม่ทราบว่า การขยับมือของผมนั้น
ควรทำเช่นไรต่อครับ หากจะทำในรูปแบบ

****************
ความเห็นของผมมีดังนี้

การแน่นหน้าอก หรือ เวียนหัว ส่วนมากเกิดจากการเกร็ง การตั้งใจที่มากเกินไป ไม่ผ่อนคลาย หรือ เพ่งมือที่กำลังเคลื่อนไปมา

การฝึกฝนนั้น สมควรทำสบาย ๆ ช้า ๆ เหมือนทำเล่น ๆ อย่างที่ผมอธิบายในข้อ 1 ไปแล้ว คือ เตรียมตัวให้รู้สึกตัวที่สบาย ๆ ในท่า 1 แล้วเคลื่อนไปยังท่า 2 แล้วหยุด แล้วต่อไป แต่ทุกจังหวะ ต้องทำเหมือนทำเล่น ๆ ทำสบายๆ ผ่อนคลาย อย่าให้มีความอยากในจิตใจ ถ้าเผลอ ก็เริ่มใหม่ครบ


*****************************
สรุป การฝึกฝนนั้น จะเป็น สมถะก็ได้ จะเป็นสมถะ + วิปัสสนา(อ่อน ๆ ) ก็ได้
อยู่ที่ว่า ผู้ฝึกเข้าใจในการฝึกหรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจ เกือบทั้งหมด จะอยู่ที่สมถะครับ


Create Date : 05 มิถุนายน 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 14:47:02 น. 4 comments
Counter : 1214 Pageviews.

 
การปฏิบัตินั้น การสร้างสัมมาสติ เพื่อต่อต้านแรงอำนาจของตัณหา

ดังนั้น การปฏิบัติ อย่าได้ไปสร้างตัณหาขึ้น


โดย: นมสิการ วันที่: 5 มิถุนายน 2554 เวลา:8:33:54 น.  

 
ขอบคุณอย่างสูงครับ คุณนมสิการ


โดย: หมีติดปีก IP: 101.109.1.66 วันที่: 5 มิถุนายน 2554 เวลา:9:55:11 น.  

 
ขอบคุณมากครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.0.125 วันที่: 5 มิถุนายน 2554 เวลา:10:12:38 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:14:54:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.