รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
16 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
มาทำความเข้าใจเรื่องการเพ่งกัน

ผมเข้าไปอ่านในกระทู้นี้
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11325813/Y11325813.html

มีประเด็นที่น่าจะทำความเข้าใจในเรื่องการเพ่งครับ

1..เพ่ง ปฏิบัติแบบนี้ถูกหรือผิด

เรื่องนี้จะมีเงื่อนไข 3 อย่างครับ คือ

1.1 ถ้านักภาวนามือใหม่ ที่กำลังจิตยังไม่ตั้งมั่น ไม่รู้จักจิตตัวเองว่าเป็นอย่างไร
ถ้าไปเพ่งสิ่งใด จิตจะไหลออกจากฐานไปยึดติดในสิ่งที่ต้องการจะรู้ทันที
ตัวอย่างเช่น

ถ้านักภาวนามือใหม่กำลังอ่านหนังสือใน blog ของผมนี้อยู่ ขณะที่กำลังอ่าน ตาจะต้องเพ่งไป
ที่ตัวหนังสือ จิตเกิดความอยากอันเป็นตัณหา จิตจะวิ่งออกจากฐานไปยังตัวหนังสือทันที อย่างนี้เรียกว่า จิตไหลออก หรือ จิตส่งออก อย่างนี้ผิดหลักของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ครับ

ที่นิยมกันในยุคนี้ ที่เป็นการเพ่งกันแบบ ข้อนี้ ก็มี

เพ่งไปที่ปลายจมูก เพื่อต้องการรู้ลม
เพ่งไปที่เท้า เพื่อต้องการรู้การกระทบที่เท้า
เพ่งไปที่ท้อง เพื่อต้องการรู้ท้องพองยุบ
เพ่งไปทีมือ เมื่อเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน
เพ่งไปที่กายทั้งกาย เพื่อต้องการรู้อิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน
เพ่งเข้าไปในความว่างในอากาศ

ผมไม่ได้บอกว่า การปฏิบัติเพื่อรู้ลม รู้การกระทบ นั้นผิดนะครับ แต่ถ้ารู้แบบนี้คือผิดของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ
แต่ถ้าการรู้ลม รู้กระทบ ที่ถูกแบบสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ต้องรู้แบบข้อ 1.2 ข้างล่างนี้

1.2 ถ้าป็นนักภาวนามือใหม่ ที่เพ่งเข้าไปใน มโนทวาร หรือ จะเรียกว่า ให้รู้สึกเข้าไปในจิต หรือ ว่าให้รู้สึกถึงการกระทบสัมผัส อย่างนี้ไม่ผิดครับ
ผมยกตัวอย่างให้เข้าใจ เช่น ในฤดูหนาว ในขณะที่รู้สึกถึงความเย็นที่สัมผัสได้
หรือ ในขณะเดินจงกรม รู้สึกไปถึงการสั่นไหวที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเดิน

ในการฝึนฝนสัมมาสติ สัมมาสติ นักภาวนาต้องฝึกให้รับรู้ความรู้สึกแบบนี้เสมอ ๆ
เพราะเมื่อฝึกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จิตจะมีกำลังตั้งมั่นขึ้นมา

1.3 ในนักภาวนามือเก่าที่ชำนาญมากและมีจิตตั้งมั่นด้วยสัมมาสมาธิ เขาจะเห็นตัวจิตของเขาเองอยู่เสมอ ไม่ว่าเขาจะเพ่งแบบ 1.1 หรือ 1.2 จิตของเขาก็ยังตั้งมั่นอยู่ ไม่ไหลออกจากฐานเลย อย่างนี้ไม่ผิดครับ การจะเข้าถึงระดับนี้ได้ จะมาจากการฝึกฝนแบบ 1.2 จนชำนาญ



2..ผิด หรือ ไม่ผิด จากสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ดูที่่ตรงไหน

ผิดหรือไม่ผิด ดูที่ว่า จิตไหลออกจากฐานที่ตั้งแล้วไปยึดติดในสิ่งที่ถูกรู้หรือไม่
ถ้าไหลออกแล้วไปยึดติด อย่างนี้ผิด
ถ้าไม่ไหลออก อย่างนี้ไม่ผิด


3.. จุดพลาดของนักภาวนามือใหม่ คือ ไม่รู้จักการเพ่งเข้าไปรู้สึกใน มโนทวาร แต่กลับไปเพ่งภายนอกแล้วจิตไหลออกแบบ 1.1 ถ้าเพ่งแบบนี้ ก็เป็นการเพ่งแบบฤาษีไป จิตจะไม่มีทางตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ และการหลุดพ้นก็จะไม่สามารถเป็นไปได้

มีการพูดกันบ่อย ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ว่า

ถ้าไม่มีศีล ก็ไม่มีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีปัญญา

คำพูดแบบนี้ เป็นการพูดแบบลอย ๆ ถ้าคนฟังไม่รู้จัก ศีล ไม่รู้จักสมาธิ อย่างแท้จริงว่ามีอาการ
หน้าตาอย่างไร ก็่ไม่อาจจะเข้าใจอะไรที่ถูกต้องได้เลยในเรื่องของปัญญา
และมักจะไปตีความกันเอาเองว่า ศีล คือ อย่างนี้ อย่างนี้
สมาธิคือการเพ่งอย่างนี้ อย่างนี้
ปัญญาคือการคิดพิจารณาด้วยสมอง อย่างนี้ อย่างนี้

ถ้าเข้าใจอย่างนี้ละก็ หลงทางตั้งแต่ต้นแล้วครับ
และไม่มีทางเดินตรงทางเข้าสู่อริยมรรคได้เลย

4..การภาวนานั้น เราต้องการละตัณหา จะละได้เพราะกำลังสัมมาสมาธิที่มีกำลังตั้งมั่นเป็นอย่างดี
เพราะ เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างแท้จริงได้แล้ว ตัณหาไม่อาจเกิดได้ เพราะ 2 อย่างนี้มันอยู่ตรงกันข้ามกัน เหมือน มืดและสว่าง ที่ไม่อาจเกิดพร้อมกันได้

ท่านจะเห็นว่า การสร้างสัมมาสมาธิแบบพุทธ ที่เป็นแบบ 1.2 มันต่างจากสมาธิแบบเพ่งแบบฤาษี 1.1 ท่านเพียงแยกความต่างให้ออก ให้เข้าใจได้ตรง เดินแบบ 1.2 ไปเสมอ ๆ แล้่วผลจะออกมาได้เอง คือ ศีล สัมมาสมาธิ ปัญญา

5.. เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างแท้จริง นักภาวนาจะเห็นจิตอยู่เสมอ เห็นจิตไม่ไหลออกจากฐานเลย จิตจะไม่เป็นดวง ไม่รู้อยู่ที่ไหน มีแต่สภาพรู้ที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลานิจนิรันดร์



Create Date : 16 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 25 มกราคม 2555 20:30:01 น. 11 comments
Counter : 1120 Pageviews.

 
เลื่อนกิจกรรมครั้งที่ 3 ออกไปก่อนครับ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย
สำหรับวันใหม่ ผมจะประกาศให้ทราบต่อไป


โดย: นมสิการ วันที่: 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา:8:07:11 น.  

 


โดย: biocellulose วันที่: 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา:8:31:45 น.  

 
แวะมาเยี่ยมชม ขอบคุณค่ะ.....................


โดย: tadatul วันที่: 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา:10:35:15 น.  

 
อนุโมทนาสาธุคะ


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.245.208 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2554 เวลา:20:52:50 น.  

 
ขอบคุณครับ มือใหม่ครับพอเข้าใจเรื่องการเพ่งแบบ 1.2 ได้ดีขึ้น เพราะตอนนี้รู้สึกได้ว่าเพ่งแบบ 1.1 บ่อย(เพราะต้องการหยุดละความคิด เผลอ)จนรู้สึกเครียดเกร็งตึงศรีษะ


โดย: ืNum IP: 61.19.90.30 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:39:37 น.  

 
ไม่รู้นะคะคุณนมสิการ
ยอมรับว่าช่วงแรกเพ่งพองยุบแถมจิตยังไม่แข็งแรงเลยโลภตอนแผ่เมตตาอีก
ประมาณว่าจะแผ่แบบกว้าง ๆ ไปทั่ว ๆ โรมุก็ทำไปตามนั่น
แล้วไงล่ะ
ตอนนั้นเหนื่อยแทบขาดใจยิ่งกว่าวิ่งรอบสนามฟุตบอลอีกอะ
ถึงขั้นต้องวิ่งออกไปอ้วก

หลัง ๆ กลายเป็นเพ่งว่าจิตตัวเองมันเป็นยังไง
ก็กลายเป็นดู+เค้นให้ได้ว่าม้นรู้สึกไงกันแน่
จนกลายเป็นมึนหัวไปซะงั้น

ไม่รู้อะ เหมือนเวลาปฏิบัติไปจุดหนึ่งแล้วที่เขาบอกว่าจิตละเอียดขึ้น
มันก็เลยเห็นอาการที่ลึกกว่าปกติหรือเปล่าล่ะคะ
(ประมาณว่า แค่นั่งเฉย ๆ เมื่อก่อนรู้สึกแค่ชา แต่ตอนนี้กลายเป็นว่ารู้สึกร้อนไปด้วยอะ)


โดย: rommunee วันที่: 18 พฤศจิกายน 2554 เวลา:20:36:55 น.  

 
ตอบคุณ rommunee

ในการภาวนานั้น การเห็นลึกลงไปอย่างที่เล่ามาเรื่องชา เรื่องร้อน
มันไม่ใช่เป็นการบอกว่า ภาวนาแล้วก้าวหน้าครับ

ความก้าวหน้าในการภาวนาจะอยู่ที่ว่า รู้แล้วละได้ หรือ ไม่
ซึ่งจะตรงกับอริยสัจจ์ 4 ที่ว่า ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ

การเห็นจิตละเอียดตามที่คนพูด ๆ กันทั่วๆ ไปก็เช่นกัน
คนที่ไม่เคยเห็นจิต ก็จะเข้าใจไปเองว่า จิตละเอียด คืออย่างนี้อย่างนี้
แต่นี่คือการคิดจินตนาการเอาเองครับ

ตัวจิตจริง ๆ มีสภาวะแห่งความว่าง ไม่มีละเอียด ไม่มีหยาบ
แต่จิตปรุงแต่งจะมีแรงมีอ่อนขึ้นกับสิ่งที่เข้ากระทบ
เช่นคนที่เขาโกรธมาก ไม่พอใจมาก เขาก็จะรู้สึกได้ถึงความไม่พอใจที่เกิดขึ้น แต่ถ้าเขาเพียงหงุดหงิดนิดหน่อย เขาก็จะรู้สึกว่ามันเบากว่า แต่นี่ไม่ใช่ตัวจิต มันเป็นจิตปรุงแต่งครับ

ในความเห็นของผม อย่าได้ไปสนใจจิตละเอียดหรือจิตหยาบ แต่ควรสนใจฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิที่ตรงทางเท่านั้น เมื่อเกิดสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น แรงตัณหาจะอ่อนแล้วการละได้หรือไม่ยึดติดจะเกิดขึ้นได้เอง


โดย: นมสิการ วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:7:03:40 น.  

 
ขอบพระคุณมากคะ อ่านบทความแล้ว

ลงชื่อคะ (^/\\^)


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา:6:22:13 น.  

 
กราบเรียนถามคะ เพื่อนดิฉัน เวลาทำงานเขาจดจ่อมากจนขนาดว่าเรียกยังไงก็ไม่ได้ยิน เขาว่าเป็นแบบนี้มานานแล้ว เขาว่าตัวเองมีสมาธิสูงแบบนี้เรียกว่าอะไรคะ
ควรแก้ไขหรือไม่
และแก้ไขยังไง
ขอบพระคุณคะ


โดย: ณิชกมล IP: 183.88.49.132 วันที่: 10 ธันวาคม 2554 เวลา:8:32:21 น.  

 
ตอบ คุณณิชกมล

อาการเพื่อนของคุณนั้นเป็นสมาธิแบบฤาษีครับ หรือ สมาธิจดจ่อ
สมาธิแบบนี้ ไม่ใช่สัมมาสมาธิครับ เพราะการจดจ่อ คือ การยึดติด
ส่วนสัมมาสมาธินั้น เป็นสมาธิที่ไม่่ยึดติด

ควรแก้ไขหรือไม่ ?

ผมแนะนำอย่างนี้ครับ

ผู้ที่กำลังฝึกตนทียังต้องทำงานมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ เวลาทำงาน ก็ใช้สมาธิแบบฤาษีไปก่อนครับ เพราะถ้าไม่ใช้สมาธิแบบฤาษี ก็จะทำงานทางโลกไม่ได้ครับ

แต่ทว่า.. เวลาที่ไม่ได้ทำงาน เช่นมีเวลาว่างในตอนเช้า กลางวัน เย็น วันหยุดที่ไม่ได้ทำงาน ก็ควรฝึกฝน สัมมาสติ สัมมาสมาธิเข้าไว้ การฝึกฝนสัมมาสติ สัมมาสมาธิในเวลาไม่ทำงาน เราจะเพิ่มความเคยชินใหม่เรื่องสัมมาสติ สัมมาสมาธิขึ้นมา

ตอนนี้ เราจะมี 2 อย่างคือทั้งสมาธิฤาษี และ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
การที่เรามีสมาธิ 2 อย่างนี้ พอสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เริ่มคุ้นเคยมากขึ้น
เพราะเราฝึกอยู่ในเวลาไม่ทำงาน แต่ก็ต้องใช้เวลานานครับ เช่น 1 ปี หรือ มากกว่า อาการสมาธิจดจ่อจะเริ่มลดลง ถึงแม้ว่า สมาธิจดจ่อลดลงไป แต่ก็ยังคงทำงานได้เช่นเดิมอยู่

ให้เวลากับตนเอง อย่าเร่งร้อน เพราะการเป็นฆราวาสต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ เราต้องใช้เวลามากกว่าพวกนักบวชกว่าที่สัมมาสติ สัมมาสมาธิจะคุ้นเคยมากขึ้น

อย่าใจร้อนนะครับ ค่อยเป็นค่อยไป ขอให้ฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาฺธิได้ถูก
ละก็ สามารถเข้าถึงธรรมได้แน่ เพียงแต่ว่า อาจใช้เวลานานสักหน่อย


โดย: นมสิการ วันที่: 10 ธันวาคม 2554 เวลา:18:36:00 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:20:30:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.