รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
ฝีกจิตให้รู้กายด้วยการไม่ยึดมั่น เพื่อการไม่ยึดมั่นในจิตปรุงแต่ง

ท่านที่ไม่สบายใจ กังวลใจ ว่า สิ่งที่ตนเองกำลังฝึกด้วยกฏ 3 ข้อนั้น ไม่มีความก้าวหน้าแต่อย่างใด ขอให้อ่านเรื่องนี้ครับ เพื่อความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

1..ทุกข์ เกิดได้อย่างไร

ในธรรมชาตินั้น ทุกข์ คือ การแปรเปลี่ยน ไม่มีสถานะคงที่ สิ่งเหล่านี้ได้แก่ ขันธ์ 5 ในทางภาษาพระ ท่านจะเรียกว่า.รูป. ซึ่งบางท่านจะพูดว่า รูป นั้น ไม่คงที่ มันแปรเปลี่ยน มันเป็นทุกข์

ทุกข์ในรูป นั้นมันเกิดตลอดเวลา แต่ทว่า คนที่ไม่ได้ฝึกฝน ไม่ได้ฟังพระธรรมจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ

ในอริยสัจจ์ 4 พระพุทธองค์ท่านทรงสอนว่า ทุกข์อริยสัจจ์ นั้นให้.รู้.

เมื่อขันธ์ 5 มีการแปรเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ ร่างกายนั้นก็ย่อมมีการแปรเปลี่ยน มีแก่ลง มีเหี่ยวย่น มีเจ็บป่วย มีตาย สิ่งเหล่านี้ ทำให้คนทั่ว ๆ รู้สึกถึงความน่าสพีงกลัวในทุกข์ของร่างกาย

เมื่อเกิดทุกข์ในร่างกาย จิตใจที่ไม่ได้ฝึกฝนที่ยังอุดมเต็มเปี่ยมไปด้วยแรงยึดมั่นถือมั่นคือ ตัณหา ก็จะยึดมั่นในทุกข์ของร่างกาย แต่เมื่อเกิดทุกข์ของร่างกาย ก็มักจะมีทุกข์ของจิตใจ คือ การปรุงแต่งทางใจตามมาด้วย ก็เลยเกิดการยึดมั่นด้วยแรงตัณหาทั้งร่างกายและจิตใจ การยึดมั่นด้วยตัณหานี่แหละคือ เหตุแห่งทุกข์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 2 ว่า เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา เพราะการเข้าไปยึดมั่นในทุกข์ของร่างกายหรือทุกข์ของจิตปรุงแต่งเข้า

2..ทุกข์ดับได้อย่างไร

นี่คือสิ่งที่เข้าใจได้ยากยิ่งสำหรับคนทั่ว ๆ ไป บางครั้งได้ไปฟังคนกล่าวธรรมก็มักพูดว่า เหตุอยู่ที่ไหน ให้ไปดับที่นั่น ซึ่งการพูดแบบลอย ๆ นี้ไม่ได้ช่วยให้ผู้ฟังมีปัญญามากขึ้นเลยในการดับทุกข์ที่ตนเองกำลังเป็นทุกข์อยู่นั้น

ดังในข้อ 1.. ทุกข์ของขันธ์ 5 นั้นเป็นทุกข์อริยสัจจ์ ย่อมเกิดอย่างแน่นอน แต่มันเป็นไตรลักษณ์ การดับทุกข์นั้น ไม่สามารถดับทุกข์อริยสัจจ์ได้ แต่ต้องดับที่ตัณหา คือ การยึดมั่น ยึดติดในทุกข์ของจิตใจต่างหาก

ถ้าสามารถดับตัณหาได้แล้ว จิตใจจะไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในทุกข์ของขันธ์ 5

ทุกข์อริยสัจจ์นั้นยังเกิดอยู่ร่ำไป แต่เมื่อจิตใจไร้ตัณหาเสียแล้ว จิตใจจะไม่เข้าไปยึดในทุกข์ของขันธ์ 5 เลย กล่าวคือ เมื่อจิตไม่ไปยึด ก็จะไม่ทุกข์ไปกะทุกข์อริยสัจจ์ของขันธ์ 5

ข้อนี้ผมจะเปรียบให้ท่านเห็นภาพ การไม่ยึดและการยึดว่าเป็นทุกข์และไม่ทุกข์เป็นอย่างไร

ในบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้อยู่ คนที่เป็นเจ้าของบ้านจะดิ้นรนและเป็นทุกข์อย่างมาก นี่คือการยึดติดในบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้ แต่เหล่าคนดูแถวนั้นจะไม่รู้สึกเป็นทุกข์เลย เพราะบ้านไม่ใช่บ้านเขา เขาจะไม่ทุกข์แบบเจ้าของบ้าน เพราะคนดูไม่ยึดติดในบ้านนั้น

ในวัดแห่งหนึ่งที่เหล่าโยคีกำลังนั่งสมาธิกันอย่างเอาเป็นเอาตาย โยคีบางคน เมื่อสุนัขในวัดเห่าเสียงดัง ก็เกิดอาการหงุดหงิดในจิตใจเป็นอย่างมากในเสียงเห่านั้น นี่เพราะว่าการยึดติดในเสียง แต่โยคีบางท่าน ก็ไม่ยึดติดในเสียงเห่าทั้ง ๆ ที่ได้ยินเสียงเช่นกัน โยคีที่ไม่ยึดติดก็จะไม่ทุกข์เพราะเขาไม่ยึดติดในเสียงนั้น สุนัขเห่าเป็นเรื่องของสุนัข โยคีไม่เกี่ยวด้วย

3..การดับตัณหาเกิดได้อย่างไร

ตัณหานั้นเกิดเพราะจิตขาดกำลังของสติสัมปชัญญะ นี่คือข้อหลักในการดับตัณหา ถ้าโยคีฝึกจิตให้มีสติสัมปชัญญะ ก็สามารถดับตัณหาลงได้ ยิ่งกำลังแห่งสติสัมปชัญญะตั้งมั่นมากเท่าใด ตัณหาก็ไม่สามารถโงหัวขึ้นมาผยองได้อีกเลย

ผลแห่งสติสัมปชัญญะที่เข้าไปดับตัณหาได้ในแต่ละครั้ง จะมีผลแห่งการตื่นตัวของตัวจิตเองให้มากขึ้น การตื่นตัวมากขึ้นของตัวจิตนี้เอง จะเป็นสิ่งที่ไปทำลายอวิชชาให้ราบคาบอย่างหมดสิ้นต่อไป

ท่านจะเห็นว่า การเฝ้ารู้ทุกข์ด้วยสติสัมปชัญญะ คือ การทำลายตัณหาด้วยกำลังของสัมมาสมาธิ แต่เมื่อมีการทำลายล้างตัณหาได้บ่อย ๆ ยิ่งบ่อยยิ่งดี ผลก็คือ การตื่นตัวขึ้นของจิต เมื่อจิตตื่นตัวถึงขีดสุด อวิชชาก็ถูกทำลายล้างสิ้น อันเป็นการดับทุกข์ขั้นสูงสุดด้วยปัญญาทางพุทธศาสนา

ดังนั้น เมื่อใครก็ตามที่เฝ้าปฏิบัติ แล้วไม่เห็นทุกข์อริยสัจจ์ เฝ้าแต่กดข่มจิตไม่ให้ทุกข์เกิด มีแต่ความสงบสุขด้วยสมาธิกดข่ม เขาจะไม่มีทางทำลายล้างตัณหาได้เลย ซึ่งนี่ไม่ใช่การดับทุกข์แบบพุทธศาสนา

การดับทุกข์แบบพุทธนั้น ทุกข์มีแต่ไม่ยึดด้วยตัณหา
การดับทุกข์ไม่ใช่แบบพุทธ หนีทุกข์ด้วยการกดข่ม แต่ไม่ได้ล้างตัณหาเลย

4..การฝึกสติสัมปชัญญะทำได้อย่างไร

การฝึกฝนสติสัมปชัญญะ ก็ตรงตัว ก็คือการฝึกให้จิตไม่ยึดมั่นถือมั่นในทุกข์ของขันธ์ 5 ผมเคยเขียนบทความไว้ในเรื่อง การปฏิบัติแบบกำปั้นทุบดิน ( //www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=17-12-2010&group=13&gblog=32 ) ก็คือการฝึกที่ตรง ๆ ไม่อ้อมค้อมเลย

4.1 เมื่อต้องการฝึกไม่ให้จิตมีความยึดมั่นถือมั่น ก็.อย่า.ฝึกด้วยความอยากรู้ อยากเห็น
4.2 เมื่อต้องการฝึกไม่ให้จิตยึดมั่นในทุกข์ของขันธ์ 5 ก็ใช้ขันธ์ 5 นี้แหละตอนที่เป็นทุกข์อริยสัจจ์อยู่ให้จิตไปรับรู้เข้าแบบไม่ยึดติด
4.3 เมื่อสติสัมปชัญญะสามารถดับตัณหาลงได้ ก็ให้ฝึกพร้อมด้วยความรู้สึกตัว

ในแง่การฝึกฝน จะมีหลายสำนักเป็นอันมากทีมีอุบายการฝึกต่าง ๆ ออกไป ซึ่งอุบายเหล่านั้น ถ้าเหล่าโยคีเข้าใจในหลักการและเหตุผล ก็จะฝึกอย่างถูกต้องและได้ผลดี ถ้าไม่เข้าใจเลย ก็จะฝึกไม่ได้ผลออกมา

ในสภาพปรกตินั้น ทุกข์อริยสัจจ์เกิดตลอดเวลาอยู่แล้วดังในข้อ 1 ที่เขียนไว้ ผมจะเขียนขยายให้เห็นภาพได้มากขึ้นว่าในการฝึกเป็นไปได้อย่างไร

สมมุติว่า การฝึกคือการเดินจงกรม เมื่อท่านฝึกเดินจงกรมด้วยกฏ 3 ข้ออยู่นั้น
ขอให้ท่านสังเกตดู

ตา มองเห็นได้ไหม ถ้าท่านไม่สนใจในภาพที่มอง ตาก็มองเห็นได้ แต่ถ้าท่านสังเกตเล็กน้อย ท่านจะเห็นว่า ภาพที่ท่านกำลังมองแบบไม่จดจ้องนั้นจะแปรเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา

หู ท่านก็ยังได้ยินเสียง และเสียงที่ได้ยิน ก็แปรเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา มีเสียงต่าง ๆ มากมาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลงไป บางท่านก็ได้ยินเสียงวี๊ด ๆ ในหูของตนเองด้วย

ร่างกาย เมื่อท่านเดิน มีการขยับเคลื่อนไหวของร่างกาย มีการสั่นไหวของร่างกายตามกล้ามเนื้อตลอดเวลาทีเดิน เดินมาก ๆ ก็ร้อนขึ้น เมื่อมีลมมาโดนการก็เย็นวาบ นี่คืออาการวูบวาบที่เกิดตลอดเวลาในร่างกาย ที่ท่านสมควรรับรู้เองด้วยการใช้กฏ 3 ข้อในการฝึกฝน

จิตใจละ ถ้าไม่มีอะไร จิตใจท่านจะว่างเปล่า ที่ยากจะรู้สึกได้สำหรับคนใหม่ๆ แต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการฝึกแต่อย่างใด เพราะ ท่านรู้สึกได้ถึงอาการของร่างกายในการเดินจงกรมอยู่แล้ว (ซึ่งก็คือ การรู้ทุกข์อริยสัจจ์ด้วยการไม่ยึดมั่นในทุกข์นั้น ) แต่ถ้าท่านฝึกชำนาญด้วยการรู้ทุกข์อริยสัจจ์ของกายในการเดินจงกรม เมื่อกำลังสติสัมปชัญญะสูงและตั้งมั่นมากขึ้น ท่านจะรู้อาการของจิตใจได้ด้วยเช่นกัน

เพียงท่านฝึกเดินจงกรมด้วยกฏ 3 ข้อดังกล่าว ท่านรู้กายแล้ว จิตท่านก็ไม่ยึดมั่นในร่างกายด้วย ท่านฝึกอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ฝึกมาก ๆ สติสัมปชัญญะจะเพิ่มมากขึ้นแล้วจิตใจของท่านก็สามารถจะต่อสู้กับตัณหาได้

กล่าวคือ เมื่อกำลังสติสัมปชัญญะสูงขึ้นที่สามารถต่อกรกับตัณหาได้ การไม่ยึดมั่นถือมั่นของทั้งร่างกายและจิตใจก็จะเกิดขึ้นได้เองด้วยเหตุแห่งสติสัมปชัญญะที่มีพลังสูง

5..รู้ได้อย่างไรว่า สู้กับตัณหาได้

ท่านจะรู้ว่า สามารถสู้กับตัณหาได้ ก็คือ อาการยึดติดจะใช้เวลาสั้นลงไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ท่านเคยหงุดหงิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจเป็นวันหรือหลาย ๆ วันกว่าจะสงบ เมื่อท่านมีกำลังสติปสัมปชัญญะมากขึ้น เวลาที่ยึดติดก็จะสั้นลงไป ยิ่งฝึกมากกำลังจิตยิ่งมาก เวลาแห่งการยึดติดก็ยิ่งสั้่นลงไปเรื่อย ๆ

ถ้ากำลังจิตดีมาก ๆ พอเกิดอาการปุับ มันจะดับลงทันทีทันใดคล้ายสายฟ้าแลบทีเดียว

การยึดติดนาน ก็คือ ตัณหายังกล้า ถ้าสั้นลง ก็คือ แรงของตัณหาก็ด้อยลงแต่แรงของสติสัมปชัญญะก็กลับมากขึ้น อันเป็นขบวนการผกผันของตัณหาและสติสัมปชัญญะที่เป็นไปเองตามธรรมชาติของจิตใจ

6..แล้ว จิตรู้ ละ

เรื่องจิตรู้นั้น ถ้ากำลังของสติสัปชัญญะดีขึ้น จิตรู้ จะแยกของเขาเอง โยคีไม่ต้องไปทำอะไร แต่ว่า ใหม่ ๆ โยคีอาจไม่รู้จักจิตรู้ เพราะไม่เคยเห็น แต่ก็ไม่ต้องไปกังวล เมื่อถึงเวลา จิตรู้จะโผล่เด่นขึ้นมาเอง แล้วโยคีจะเห็นแล้วเข้าใจเอง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นหลัก ที่ประเด็นหลักการวัดผลนั้น ขอให้ดูจากข้อ 5 ที่เขียนไว้

คงเป็นประโยชน์สำหรับการทบทวนการฝึกนะครับ ถ้าจะให้ดี ก็ขอให้ฟังเสียงกิจกรรมครั้งที่ 1 ประกอบด้วย เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น





Create Date : 26 มิถุนายน 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 14:46:28 น. 12 comments
Counter : 1250 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 49.48.171.41 วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:7:26:22 น.  

 
อนุโมทนาครับ


โดย: ลุง 'บุรีราช' IP: 125.27.180.157 วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:7:36:51 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ สำหรับเนื้อหาสาระดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันคะ


โดย: ไลลา วอร์ด (laila ward ) วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:7:39:21 น.  

 
ในความเห็นของผม
ขอโทษอาจจะไม่เหมือนเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวครับ

ประโยค
== ขันธ์ 5 ในทางภาษาพระ ท่านจะเรียกว่า.รูป. ซึ่งบางท่านจะพูดว่า รูป นั้น ไม่คงที่ มันแปรเปลี่ยน มันเป็นทุกข์

ขันธ์ 5 เป็น รูป ในภาคความคิด อยู่ข้างในไม่ใช่ กายภาพ
(กายภาพเห็นชัดอยู่แล้วว่ามันไม่คงที่แน่ เห็นง่ายสัมพัสได้
บอกได้พิสูจน์ง่าย ใช้ความเชื่อได้ ไปดูศพเอาก็ได้ พระบอกก็ได้
คนที่เราเชื่อจริงๆ บอกแค่คำเดียว ก็เชื่อได้)

แต่ ขันธ์จริงแล้ว เป็น***ความคิด***ของ รูป

ยากที่จะเห็น

เมื่อ เราสามารถ เห็นทันความคิด
ไปยึดติดกับ รูป โดยการฝึกสติ

ความยากอยู่ที่ ความยึดมั่นถือมั่นในตัวเองว่า ความคิดเราเอง
มันจะไม่ใช่ได้ยังไงเนี่ย ดูไปดูไปแล้วจะตกใจว่า ไม่ใช่แฮะ
เราไม่ได้อิสระจากมันจริงๆ มันอยากจะเกิดก็เกิด

มันอยากจะดับก็ดับ มีความทุกข์ ก็วนเวียนเกิดอยู่นั่นแหละ
ติดเหนียวเชียวโผล่บ่อยเชียว

นั่นแหละเมื่อไหร่ตกใจว่า ไม่ใช่แฮะ เราจะคลายความยึดติดของ
ความคิดข้างใน ทำให้ แม้แต่ข้างนอกก็ย่อมไม่ยึดติด

แต่ถามว่า เราจะเลิกคิดเลยเมื่อเราไม่ยึดติด ก็ไม่
มนุษย์ คิดตลอดเวลาไม่มีหยุดจนตาย แต่เราจะทัน
และไม่ยึดติดกับมันอีกเลย เพราะเราพบประสบการณ์
นั้นแล้ว

สรุปคือ การฝึกสติเท่านั้น ชอบข้อเขียน blog นี้มากครับ
ติดตามเสมอ เป็นกำลังใจให้ร่วมกันครับ


โดย: billy IP: 119.46.176.222 วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:10:21:02 น.  

 
ขอบคุณบทความดี ๆ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้เริ่มเดินทาง ในการไว้ตรวจสอบการฝึกฝนของตนเอง ติดตามอ่านบทความตลอดค่ะ เข้ามาบ่อยเรียกได้ว่าทุกวันเพื่อคอยบทความใหม่ ๆ แต่ไม่ค่อยได้โพสความคิดเห็น ตั้งแต่เริ่มฝึกแล้วมาเจอบล๊อก ได้อะไรจากบล๊อกนี้มาก ด้วยความขอบคุณจริง ๆ ค่ะ


โดย: สิริพร IP: 118.173.198.65 วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:13:46:34 น.  

 
จิต สร้าง ขันธ์ ขึ้นมา นี่คือความเป็นจริง
ส่วนจะเรียกว่า รูป หรือ ความคิดของจิต นี่เป็นเพียงคำเรียกชื่อกันให้เข้าใจที่เป็นสมมุติบัญญัติ แต่เนื้อแท้ในทางปรมัตถ์ มันคือสิ่งเดียวกัน

ในทางตำราทางพุทธศาสนา ได้มีการบัญญัติศัพท์ไว้แล้วว่า รูป คือ สิ่งที่ย่อยยับแตกสลายได้

ส่วนคำว่า ความคิด เป็นบัญญัติศัพท์ของคนรุ่นปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ในตำราทางศาสนา


โดย: นมสิการ วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:14:26:52 น.  

 
ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์นมสิการ เป็นอย่างสูง ที่ได้นำความรู้จากการปฏิบัติมาแนะนำและยกตัวอย่างให้เข้าได้เป็นอย่างดี ผมติดตามอ่านพร้อมตรวจสอบการปฏิบัติของตัวเองไปด้วยในตัว ผมขออนุญาตินำข้อความและภาพไปนำเสนอต่อให้กับคนที่สนใจนะครับ ผมเองก็อยู่ในค่ายเรียนรู้กายใจ ที่ทีมงานพื้นที่ชีวิติไปถ่ายทำนั่นเอง

นับถืออาจาร์มาก


โดย: สมมุติว่าชื่ออริยะ IP: 101.51.86.80 วันที่: 27 มิถุนายน 2554 เวลา:20:17:39 น.  

 
สาธุครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.207.158.110 วันที่: 28 มิถุนายน 2554 เวลา:17:16:10 น.  

 
อนุโมทนาแและขอบคุณคะ


โดย: Nim IP: 124.122.38.202 วันที่: 28 มิถุนายน 2554 เวลา:20:07:45 น.  

 
อนุโมทนา สาธุ ครับ อ่านแล้วสะใจเช่นเคย


โดย: ทำไม่เป็น IP: 115.87.182.129 วันที่: 29 มิถุนายน 2554 เวลา:15:48:22 น.  

 
อนุโมทนาค่ะ
ดีใจที่ได้มาเจอบลอคนี้


โดย: คนเหนือ IP: 223.207.113.3 วันที่: 11 สิงหาคม 2554 เวลา:20:11:03 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:14:52:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.