รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
การฝึกเดินจงกรม ที่ได้อธิบายไว้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2554

วันนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4 ท่าน ผมได้อธิบายถึงอริยสัจจ์ 4 เพื่อการปรับความเข้าใจในเรื่องของการรู้ทุกข์แบบอริยสัจจ์ข้อที่ 1 และ การละตัณหาแบบอริยสัจจ์ข้อที่ 2 เพื่อนำเข้าสู่วิธีการเดินจงกรมที่สอดคล้องกับอริยสัจจ์ 4

หลักการเดินจงกรมที่ได้บรรยายไว้ คือ การฝึกสัมมาสติที่รู้ตัวทั่วพร้อม โดยรู้ทั่วๆ ในทุกอายตนะที่ได้รับการสัมผัสแต่จิตไม่ไหลออกจากฐานเข้าไปยึดกับการรู้ เมื่อเริ่มเดิน ให้เดินตามธรรมชาติของนักภาวนา ไม่มีการบริกรรมกดข่มใด ๆ ให้ใช้กฏ 3 ข้อในการเดิน โดยให้เดินไปในระยะที่ไม่ยาวนัก
เมื่อสิ้นสุดทางจงกรม ให้หมุนตัวกลับ ในจังหวะที่หมุนตัวกลับนี้ ให้สังเกตถึงอาการที่มีการกระฉอกหรือกระเพื่อมเกิดขึ้นจากอาการที่เป็นปรกติอยู่ โดยให้ฝึกการรับรู้อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

เมื่อนักภาวนาเข้าใจอาการกระฉอกหรือกระเพื่อมจากอาการที่ปรกติแล้ว ในเวลาในชีวิตจริง ก็ให้สังเกตอาการกระฉอกหรือกระเพื่อมนี้ไปด้วยเสมอ ๆ ก็เป็นการฝึกไปในตัว

การเดินจงกรมวิธีนี้ไม่ยาก แต่ที่ยากอยู่ที่ความเข้าใจในอริยสัจจ์ข้อ 1 และ 2 ที่นำมาใช้ในขณะเดินจงกรม และยากที่จะเข้าใจอาการกระฉอกหรือกระเพื่อมเมื่อเดินหมุนกลับตัว ซึ่งทุก ๆ ท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถรับรู้อาการกระฉอกนี้ได้ทุกท่าน

สรุปการเดินจงกรมวิธีนี้

1..ให้เข้าใจอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1 และ 2 ให้ดีก่อน แล้วจึงมาฝึกรู้ด้วยสัมมาสติ
2..ให้เดินตามปรกติ อย่าดัดแปลงเสริมแต่งการเดิน อย่าเดินยาวเกินไป อาจเดินหยุุด เดินหยุดก็ได้ เพื่อให้คงความรู้สึกตัวได้อยูุ่ แล้วสังเกตอาการกระฉอก/กระเพื่อมที่เกิดขึ้นในขณะที่หมุนตัวกลับ
3..ในกรณีที่มีความคิดเกิดขึ้นในระหว่างเดิน อย่าตามความคิดไป/อย่าไปยึดความคิด ให้คงรักษาสัมมาสติต่อไปเรื่อย ๆ ในการเดิน
4..อาการเผลอ มักเกิดได้ง่ายในจังหวะหมุนตัวกลับ อาการเผลอนี้ก็คือ อาการกระฉอกเช่นกัน
ทีมันต่างออกไปจากการไม่เผลอ การรู้ว่าเผลอในขณะหมุนตัวก็เป็นการรู้ทีใช้ได้เช่นกัน
5..การฝึกเดินแบบนี้ ใช้ได้ตลอดเพราะเป็นการพัฒนากำลังจิตและทำให้เกิดสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นอันเป็นการสร้างเหตุเพื่อการรู้แจ้งในธรรมต่อไป


Create Date : 31 ธันวาคม 2554
Last Update : 25 มกราคม 2555 20:19:08 น. 20 comments
Counter : 1683 Pageviews.

 
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เมตตาเสียสละเวลามาอธิบายการเดินจงกรมเพื่อเพิ่มกำลังจิตให้เกิดสัมมาสติเพื่อการรู้แจ้งในธรรมต่อไปค่ะ

ซึ่งถ้าอาจารย์ไม่ชี้ให้เห็นสภาวะ. ด้วยความด้อยปัญญาคงไม่สามารถเห็นได้เอง
การปฏิบัติก็คงล่าช้าตามไปด้วย. จะเพียรฝึกฝนตามที่ท่านได้สอนให้ในวันนี้ค่ะ

เนื่องในดิถีขึ้นปีใหม่นี้. ขอคุณพระศรีรัตนตรัยและกุศลที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วในทุกภพทุกชาติจงดลบันดาลให้ท่านอาจารย์ประสบแต่สิ่งดีๆและมีสุขภาพที่แข็งแรง
ตลอดไปนะคะ

กราบท่านอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ


โดย: จิตติ IP: 124.121.66.78 วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:20:04:03 น.  

 
อยากเรียนถามค่ะ ในขณะที่เราเจริญสติในชีวิตประจำวัน บางอย่างที่กำลังดำเนินไปตามกิจวัตรเช่นนั่งทำงานเดิน นอน ปรากฏสภาวะธรรมอย่างหนึ่งคือ จะรู้สึกได้ถึงการแตกตามเนื้อตัว เปลือกตา ริมฝีปากเสียงดังเปรี๊ยะ บางทีก็นาน บางทีก็แป๊ปเดียวแล้วก็เปลี่ยนที่มาเป็นที่ขา แล้วแต่จะเป็นค่ะ และบางทีก็จะเห็นประกายไฟกระเด็นออกจากตัว คล้ายประจุไฟฟ้า พอเรากระทบหรือสัมผัสสิ่งของจะเกิดอาการไฟช็อตมีประกายไฟอย่างที่เห็น หรือเวลาที่เรานั่งทำงานอยางจดจ่อ ก็จะมีความรู้สีกแค่การกระทบเช่นเย็น แข็ง ไม่รู้สึกว่ามีแขนขาตัวตนบ่อยมาก อาการเช่นนี้มีบ้างไหมคะ


โดย: cakecode วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:21:00:26 น.  

 
เพราะบางอย่างที่เราเจอมันยังอธิบายได้เป็นเหตุเป็นผล เช่นเวลาจะไอ จะจับความรู้สึกถึงอาการที่มีลมร้อนพุ่งขึ้นมาบริเวณคอหอยลมร้อนนั้นปะทะกับผนังด้านในจนรู้สึกถีงความแห้งมากๆเหมือนเวลาที่ผิวแห้งจะเกิดอาการคันที่ผิวเช่นนั้น จนเกิดอาการระคายเคืองอยากไอ บางทีก็ไอออกมาเลยเป็นลมร้อนพุ่งออกมา บางครั้งรู้อาการได้ทันก็หยุดได้ตรงอาการคัน จึงเข้าใจว่าร่างกายต้องการน้ำเพื่อปรับสภาพอุณภูมิภายใน การที่เราสนใจรับรู้อาการต่างๆที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง คือการปฎิบัติธรรมเช่นกันหรือเปล่า


โดย: cakecode วันที่: 31 ธันวาคม 2554 เวลา:21:22:37 น.  

 
ตอบ คุณ cakecode

อาการที่รู้สึกถึงได้มีหลายอย่าง บางคนอาจมีอะไรแปลก ๆ ที่ไม่เหมือนคนอื่น แต่ถ้ารับรู้ได้โดยไม่มีการจงใจไปรู้ถึงมันก็เป็นการระลึกรู้ของสติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีครับ

เรื่องที่คุณเล่ามาทั้งหมด ผมไม่เคยมีประสบการณ์อย่างนั้นเลย แต่อย่าไปกังวลใจ เพราะอย่างที่ว่า แต่ละคนมีประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันได้ครับ

การพบกับสภาวะธรรมต่าง ๆ นั้น ล้วนเกิดจากการพัฒนาของกำลังแห่งสัมมาสติที่มีกำลังมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ของนักภาวนาครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 1 มกราคม 2555 เวลา:0:43:41 น.  

 
ด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัย จงบรรดาลให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง

กระผมขอให้อาจารย์มีกำลังใจที่จะสอนทางหลุดพ้นแก่มนุษย์ผู้มืดบอด ด้อยปัญญา(เช่นกระผม) ขอให้อาจารย์อย่าเพิ่งเบื่อที่จะสอน นะครับ

_/l\\_ สวัสดีปีใหม่ครับ


โดย: Littleyogi IP: 223.207.9.67 วันที่: 1 มกราคม 2555 เวลา:9:16:36 น.  

 
ตราบใดที่ผมยังทำประโยชน์ในโลกใบนี้ได้ ผมคงทำไปเรื่อย ๆ ครับ

รอสถานที่อีกนิดครับ ถ้าบ้านหนังสือเรียบร้อย ผมคงจะแจ้งกิจกรรมครั้งที่ 3 ให้ทราบต่อไป


โดย: นมสิการ วันที่: 1 มกราคม 2555 เวลา:20:31:44 น.  

 
ขอบพระคุณมากคะ

ชอบตรงที่อาจารย์แนะนำให้ดู อาการกระฉอก อาการกระเพื่อมที่เกิดขึ้น

อาจารย์มีบทความเรื่องการเดินจงกรมบ้างไหมคะ



โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:2:55:02 น.  

 
ขอบคุณท่านนมสิการมากครับ


โดย: [D]-hunter IP: 223.207.157.206 วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:6:19:53 น.  

 
ตอบคุณอาณาจักรสีเขียว

เรื่องเดินจงกรม มีบทนี้บทเดียว ที่ผมเขียนมาโดยเฉพาะ แต่มีบทอื่น ๆ ที่มีการกล่าวแทรกไว้ภายใน แต่ผมจำไม่ได้ว่าอยู่ที่ใดบ้าง

การเดินจงกรม ถ้ารู้กาย คือ รู้การสั่นไหวในกล้ามเนื้อขาเนื่องจากการเดิน รู้การกระทบของเท้าขณะที่ก้าวลงกระทบ

ถ้ารู้จิตใจ คือ การรู้ในสภาวะที่ราบเรียบและสภาวะการกระฉอกที่เขียนไว้ในบทนี้


โดย: นมสิการ วันที่: 2 มกราคม 2555 เวลา:21:15:22 น.  

 
เรียนอาจารย์และเพื่อนๆทุกท่าน สวัสดีปีใหม่ครับ
ผมเสียใจจริงๆที่ไม่ทราบว่าอาจารย์ได้จัดกิจกรรมไปแล้ว บ้านผมน้ำท่วม ช่วงนี้พอว่างจึงต้องเข้าไปเก็บของที่บ้าน เลยไม่ค่อยได้เข้าเน็ต เลยพลาดกิจกรรมไปแล้ว

รบกวนสอบถามอาจารย์ครับ ผมจะระลึกรู้ตัวนานๆครั้ง แล้วจะมีอาการเหมือนลมวิ่งไปตามหน้า หัว แขน ขา บางทีรู้สึกเอง แต่หลายๆครั้งเหมือนตั้งใจให้รู้สึก เรียนถามอาจารย์ครับ ครั้งแรกที่รู้ตัวนี่คือสติใช่ไหม ต่อมาจิตพยายามรักษาความรู้สึกอันนี้ไว้ นี่คือการข่ม บังคับ ใช่ไหมครับ ผมปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ คือจะรู้เอง หรือรักษาความรู้สึกไว้ จิตจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน แค่รู้ว่าตอนนี้เราไม่บังคับ ตอนนี้เราบังคับ ถูกหรือเปล่าครับ

ผมจะรอกิจกรรมครั้งหน้านะครับ

ขอบคุณครับ


โดย: Pisith IP: 58.8.129.73 วันที่: 3 มกราคม 2555 เวลา:11:41:26 น.  

 


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 3 มกราคม 2555 เวลา:12:22:16 น.  

 
ตอบ คุณ pisith

1..รบกวนสอบถามอาจารย์ครับ ผมจะระลึกรู้ตัวนานๆครั้ง

>>>เรื่องความรู้สึกตัวทีนาน ๆ ครั้ง และ เผลอบ่อย นี่เป็นธรรมชาติของผู้ที่กำลังฝึกฝนครับ อย่าได้กังวลใจไปในเรื่องนี้ ถ้าเราฝึกต่อไปเรื่อย ๆ และ จิตเกิดปัญญาโผล่งในธรรมขึ้นมา ปัญญาตัวนี้ จะทำให้นักภาวนาเปลี่ยนจากรู้สึกตัวนาน ๆ ครั้ง เป็นรู้สึกตัวได้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร

2..แล้วจะมีอาการเหมือนลมวิ่งไปตามหน้า หัว แขน ขา บางทีรู้สึกเอง แต่หลายๆครั้งเหมือนตั้งใจให้รู้สึก เรียนถามอาจารย์ครับ ครั้งแรกที่รู้ตัวนี่คือสติใช่ไหม

>>>ผมไม่อยากให้คุณไปสนใจชื่อเรียกของมันนะครับ เพราะคน ๆ หนึ่ง นิยามคำว่า สติ จะไม่เหมือนกับอีกคนหนึ่ง มันจะชื่ออะไรก็ตาม นี่คืออาการที่เกิดจริง ที่จิตไปจับความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นได้

คำถามนี้ คนส่วนใหญ่จะเรียกว่า สติ ครับ ซึ่งจริง ๆ สภาวธรรมล้วนไม่มีชื่อ แต่คนไปตั้งชื่อให้เพื่อเรียกกัน

3...
ต่อมาจิตพยายามรักษาความรู้สึกอันนี้ไว้ นี่คือการข่ม บังคับ ใช่ไหมครับ

>>> ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่ข่ม ไม่ใช่บังคับ ถ้าคุณพยายามรักษาไว้เพื่อให้รู้สึกถึง ก็คือ ความตั้งใจ ครับ ไม่ใช่เสียหายอะไร แต่คนทั่ว ๆ ไป พอตั้งใจรักษาไว้ อีกไม่นานก็จะหลงลืมไปได้


4..ผมปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ คือจะรู้เอง หรือรักษาความรู้สึกไว้ จิตจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน แค่รู้ว่าตอนนี้เราไม่บังคับ ตอนนี้เราบังคับ ถูกหรือเปล่าครับ

>>>> เอาเป็นอย่างนี้ครับ ถ้าคุณจะรักษาไว้ ก็ไม่ผิดครับ แต่เดียวก็จะเผลอ นี่คือธรรมดา แต่ถ้าคุณปล่อยให้เป็นธรรมชาติ ถ้ากำลังสัมมาสติของคุณไม่แน่นพอ คุณจะเผลอนานทีเดียวกว่าจะกลับมารู้สึกตัวอีกครั้งได้ อย่างนี้ก็ไม่ผิด อยู่ที่ว่า คุณต้องการอย่างไรมากกว่า

ในความเห็นของผม ถ้าคุณกำลังฝึกฝน ผมแนะนำให้รักษาไว้ครับ แต่พอรักษาไว้ ต่อมาก็จะเผลอ พอรู้สึกตัวใหม่ ก็รักษาใหม่ แล้วก็จะเผลออีก ให้วนเวียนไปแบบนี้เรื่อย ๆ ครับ

แต่ถ้าคุณฝึกมาดีแล้ว รู้สึกตัวได้เองได้บ่อย ๆ เผลอน้อยลงมากแล้ว อย่างนี้ ก็ไม่ต้องรักษาครับ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะกำลังจิตในลักษณะอย่างนี้ค่อนข้างดีแล้วที่ไม่ค่อยเผลอ


โดย: นมสิการ วันที่: 3 มกราคม 2555 เวลา:18:31:02 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: Pisith IP: 101.108.5.148 วันที่: 3 มกราคม 2555 เวลา:20:35:57 น.  

 
กราบเรียนอาจารย์

เวลาเดินจงกรมจะยังสังเกตุใจที่กระเพื่อมไม่ค่อยได้แต่เวลาเดินแค่รู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวของกายได้มั้ยคะหรือเวลาเคลื่อนไหวมือทำจังหวะก็คอยรู้สึกว่ามีอะไรอย่างหนึ่งเคลื่อนไหวค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ


โดย: ลัดดา IP: 124.121.33.2 วันที่: 6 มกราคม 2555 เวลา:7:32:26 น.  

 
ตอบ คุณลัดดา

ที่ถามมาได้ครับ ถ้ารู้ใจไม่ได้ แต่รู้กายที่เคลื่อนไหวได้ ก็ใช้ได้ครับ
แต่อย่าไปจ้องนะครับ

ตามองเห็นอยู่ หูได้ยินเสียงอยู่ ถ้ามีลมมากระทบก็รู้สึกได้อยู่ และ ก็รู้กายที่เคลื่อนไหวได้อยู่ ถ้ารู้อย่างนี้ได้หลาย ๆ อย่าง ก็แสดงว่า ไม่ได้จ้อง


โดย: นมสิการ วันที่: 6 มกราคม 2555 เวลา:19:56:28 น.  

 
ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2555
ผมขออวยพรโดยอาราธนาคุณพระรัตนตรัย ให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ มีอายุยืนยาวนานเพื่อเผยแพร่ธรรมะปฏิบัติสืบต่อไปตลอดกาลนานเท่านานครับ


โดย: dorn IP: 223.207.230.70 วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:9:21:59 น.  

 
สวัสดีปีใหม่ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยคุ้มครองอาจารย์ให้เจริญด้วยอายุวรรณ สุขะ พละ

ได้ติดตามและปฏิบัติตามคำแนะนำมาครบ1ปีแล้ว
อาจจะฝึกไม่ต่อเนื่อง แต่ก็พบความก้าวหน้าบ้าง

อนุโมทนาและขอบพระคุณอาจารย์มากคะ


โดย: นิ่ม IP: 115.87.30.127 วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:10:39:49 น.  

 
ขอบคุณในพรปีใหม่

ขอให้ทุกท่านได้เห็นธรรม ทุกข์ลดลงด้วยเทอญ


โดย: นมสิการ วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:20:15:59 น.  

 
อาจารย์อธิบายการเดินจงกรมได้ดีมากครับ


ขออนุโมทนาครับ



โดย: พญาไท IP: 118.172.249.82 วันที่: 11 มกราคม 2555 เวลา:7:28:03 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:20:19:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.